วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วรรณคำสอนโดยตรง::บ้านดอนเรดิโอออนไลน์

วรรณกรรมประเภทคำสอนโดยตรง

๑.  ฮีตสิบสอง(ประเพณีทำบุญในรอบ๑๒ เดือน)
       ฮีตสิบสองและคองสิบสี่  เป็นเหมือนแม่บทในการดำเนินชีวิตในสังคมอีสาน  และมีอิทธิพลเหนือจิตใจของชาวบ้านมาก  แม้ว่าต้นฉบับจะไม่ค่อยแพร่หลายนักแต่การดำเนินชีวิตประจำวันนั้นก็ยังยึดแนวในฮีต(จารีต) เป็นหลัก  ฮีตสิบสองนั้นเป็นการประพฤติปฏิบัติตามประเพณีสังคมในรอบปี  ว่าเดือนไหนทำอะไร  และทำอย่างไร  เพื่ออะไร  ตลอดทั้งปี  ส่วนคองสิบสี่  คือครรลองแห่งชีวิตสิบสี่ประการ  ที่เป็นหลักของการปกครอง  ๑๔  ข้อเพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งจารีตประเพณีและทำนองคองธรรมอันดีงานของท้องถิ่นและของบ้านเมือง คองสิบสี่เป็นแนวทางที่ใช้เป็นหลักปฏิบัติ  ๒  ประการใหญ่คือ  สำหรับบุคคลธรรมดาที่ประพฤติปฏิบัติกันอย่างหนึ่ง  และผู้ที่มีหน้าที่ในการปกครองบ้านเมืองนับตั้งแต่ข้าราชการชั้นผู้น้อยถึงชั้นผู้ใหญ่  พึงปฏิบัติกันเมื่อกล่าวถึงคองก็มักจะมีคำว่า  ฮีตเป็นคู่กันมาด้วยเสมอยากที่จะแยกขาดจากกันได้เป็นการนำเอาธรรมเข้ามาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับคองสิบสี่  ที่ท่านเจ้าคุณอริยานุวัตร  วัดมหาชัย  จังหวัดมหาสารคามได้สรุปไว้มีดังนี้คือ
    ๑)  บุญเดือนอ้าย(เดือน๑)  ทำบุญเข้ากรรม  เป็นเดือนที่พระสงฆ์เข้าอยู่ปริวาสกรรมเพื่อความบริสุทธิ์ล้างอาบัติมลทิน  ชาวบ้านก็จะมาทำบุญถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุที่เข้าอยู่ปริวาสกรรมนั้นเพื่อทำให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไป  และทางฆารวาสก็จะมีการทำบุญเลี้ยงผีต่างๆตามความเชื้อของคนโบราณที่นับถือวิญญาณดังคำกล่าวว่า
ถึงเดือนเจี่ยงนั่นให้ฝูงหมู่เจ้าเลี้ยงผีมด  ผีหมอ ผีฟ้า  ผีแถนและนิมนต์สงฆ์  พระเจ้ามาเข้ากรรมนั่นแล  ดูราฝูงเจ้าพี่น้องทั้งหลายอย่าได้ปะ(ปล่อยทิ้ง)ได้ถิ่มฮีตเก่าคองหลังเฮาเดอให้ฝูงพวกเจ้าซอยกันเฮ็ดกันทำนั่นถ่อน74ฯฮีตหนึ่งนั้นเถิงเมือเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย  ฝูงหมู่สังฆเจ้าก็เตรียมเข้าอยู่กรรม  มันหากธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน  อย่าได้ละห่างเว้นเข็ญสิข่องแล่นนำ แท้วแล้ว75
    ๒)  บุญเดือนยี่(เดือน๒)  ให้พากันทำบุญคูนลานนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์เย็นเพื่อเป็นมงคลแก่ข้าวเปลือก  เมื่อพระฉันข้าวแล้วจะทำพิธีสู่ขวัญข้าวนอกจากนี้ชาวบ้านจะเตรียมเก็บสะสมฟืนไว้หุงต้มที่บ้าน  ดังคำโบราณว่าดังนี้
เถิงฤดูเดือนยี่มาฮอดแล้ว  ให้นิมนต์พระสงฆ์องค์เจ้ามาตั้งสวดมุงคุณ(มงคล)เอาบุณคุณข้าวเตรียมเข่าป่าหาไม้เฮ็ดหลัวเฮ็ดฟืนไว้นั่นก่อนอย่าได้หลงลืมถิ่มฮีตเดิมคองเก่าเฮ่าเดอ  ฮีตหนึ่งนั้น  พอแต่เดือนยี่ได้ล้ำล่วงมาเถิงให้พากันหาฟืนสู่คนโฮมไว้  อย่าได้ไลคองนี้มันสิสูญเสียเปล่า  ข้าวและของหมู่นั้นสิหายเสี่ยงบ่ยัง  จงให้ฟังคองนี้แนวกลอนเฮาบอกอย่าเอาใดออกแท้เข็ญฮ้ายสิแล่นเถิง เจ้าเอย
    ๓)  บุญเดือนสาม  ให้พากันทำบุญข้าวจี่และทำบุญมาฆะบูชา  ดังคำกล่าวของโบราณว่าไว้ดังนี้
พอเถิงเดือนสามค่อย(คล้อย)เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่  ปั้นข้าวจี่บ่ใส่น้ำอ้อยจั่วน้อย(สามเณรน้อย)เซ็ดน้ำตา  ฮีตหนึ่งนั้นเถิงเมื่อเดือนสามได้จงพากันจี่ไปถวายสังฆเจ้าเอาแท้หมู่บุญ  กุศลยังสินำค้ำตามเฮาเมื่อละคาบ  หากธรรมเนียมจั่งชี้มีแท้แต่นาน  ให้ทำไปทุกบ้านทุกที่เอาบุญพ่อเอย  คองหากเคยมีมาแต่ปางปฐม
พุ้นอย่าได้พากันไลถิ่มประเพณีตั้งแต่เก่าบ้านเมืองเฮาสิเศร้าภัยฮ้ายสิแล่นตาม 76
    ๔)  บุญเดือนสี่(ทำบุญพระเวส)  มีการฟังเทศน์มหาชาติ  ดังคำโบราณว่า
เถิงฤดูเดือนสี่เข้าให้ทำบุญมหาชาติ  ให้เที่ยวหาดอกไม้มาไว้บูชานั้นถ่อน  อย่าสิไลลืมถิ่มโบราณของเก่า  เอาดอกไม้ถวายให้พระสงฆ์  เพิ่นจักเทศนาให้ฝูงเฮารู้บุญบาป  มีลาภล้นเหลือแท้ดังประสงค์เฮาเด77  หรือ  ฮีตหนึ่ง พอเถิงเดือนสี่ได้ให้เก็บดอกบุปผาหามาลาดวงหอมสู่คนเก็บไว้  อย่าได้ไลคองนี้เสียศรีสูญเปล่า  หาเอาตากแดดไว้ให้ทำแท้สู่คน แท้ดาย  อย่าได้ไลหนีเว้นแนวคองตั้งแต่เก่า  ไฟทั้งหลายสิแล่นเข้าเผาบ้านสิเสื่อมสูญ78
    ๕)  บุญเดือนห้า(ตรุษสงกรานต์หรือบุญสรงน้ำ)  มีการสรงน้ำพระพุทธรูปและสรงน้ำญาติผู้ใหญ่ตลอดถึงการก่อพระเจดีย์ทรายและปล่อยนกปล่อยปลา  ดังคำโบราณว่า
ฮีตหนึ่งนั้น พอเถิงเดือนห้าได้พวกไพร่ชาวเมืองจงพากันสรงน้ำขัดสีพระพุทธรูป  ให้ทำทุกวัดแท้อย่าไลม้างห่องเสีย  ให้พากันทำแท้ๆไผๆบ่ได้ว่า  ทุกทั่วทีปแผ่นหล้าให้ทำแท้สู่คน  จั่งสิสุขยิ่งล้นทำถึกคำสอน  ถือฮีตคองควรถือแต่หลังปฐมพุ้น79
    ๖)  บุญเดือนหก(ทำบุญบั้งไฟและวิสาขบูชา)  ทำบุญบั้งไฟเพื่อขอฝนจากพระยาแถนและมีการบวชนาคพร้อมกันด้วยเป็นงานสำคัญก่อนที่จะลงมือทำไรทำนา  ดังคำโบราณว่า
ฮีตหนึ่งนั้น  พอเถิงเดือนหกแล้ว  ให้นำเอาน้ำวารีสรงโสด   ฮดพระพุทธรูปเหนือใต้สุ่ภาย  อย่าได้ละเบี่ยงบ้ายปัดป่ายหายหยุด  มันสิสูญเสียศรีต่ำไปเมือหน้า  จงพากันทำแท้แนวคองฮีตเก่า  เอาไปเรื่อยๆอย่าถอยหน้าอย่าเสีย80
    ๗)  บุญเดือนเจ็ด(ทำบุญชำฮะหรือชำระ)  ชาวบ้านจะพากันทำความสะอาดบ้านเรือนเครื่องนุ่งห่ม  เจ้าเมืองจะทำพิธีถอดถอนหลักเมือง  และตอกหลักเมือง  ถ้าปรากฏว่าบ้านเมืองไม่ปกติสุขมีโจรผู้ร้าย  เกิดทุพภิกขภัย  เจ้านายทะเลาะกัน  ถือว่าชะตาเมืองขาดต้องมีการชำระไล่เสนียดจัญไรออกไป  ฉะนั้นจึงมีพิธีกรรมถอดถอนหลักเมืองเพื่อเป็นเคล็ด  แล้วตอกกลักเมืองกันใหม่ตามหมู่บ้านโดยทั่วไป  เรียกว่าหลักบ้านก็ทำพิธีเข่นนี้เหมือนกันดังคำโบราณว่า
ฮีตหนึ่งนั้น  พอเมือเดือนเจ็ดแล้วจงพากันบูชาราช  ฝูงหมู่เทพเหล่านั้นบูชาแท้สู่ภาย  ตลอดไปฮอดอ้ายอาฮักษ์ใหญ่มเหสัก  ทั้งหลักเมืองสู่หนบูชาเจ้า  พากันเอาใจตั้งทำตามฮีตเก่า  นิมนต์สังฆเจ้าชำฮะแท้สวดมนต์ให้ฝูงคนเมืองนั้นทำกันอย่าได้ห่าง  สูตรชำฮะเมืองอย่างค้างสิเสียเศร้าต่ำศูนย์  ทุกข์สิแล่นวุ่นๆ  มาโฮมใส่เต็มเมือง  มันสิเคืองคำขัดต่ำลงศูนย์เศร้าให้เจ้าทำตามนี้แนวเฮาสิกล่าว  จึงสิสุขอยู่สร้างสรรค์ฟ้าเกิ่งกัน  ทุกข์หมื่นฮ้อยชั้นบ่มีว่ามาพาน  ปานกับเมืองสวรรค์สุขเกิ่งกันเทียมได้81
    ๘)  บุญเดือนแปดทำบุญเข้าพรรษา  คือการเข้าอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนของพระภิกษุดังนั้นบุญในเดือนนี้จะมีการถวายต้นเทียนจำพรรษาและถวายผ้าอาบน้ำฝน  ดังคำโบราณว่า
ฮีตหนึ่งนั้นพอเถิงเดือนแปดได้ล้ำล่วงมาเถิง  ฝูงหมู่สังโฆคุณ เข้าวัสสาจำจ้อย  ทำตามฮอยของเจ้าพระโคดมทำก่อน  บ่ทะสอนเลิกม้างทำแท้สู่ภาย  แล้วจงพากันผ่ายหาของไปเททอด  ทำทานไปอย่าได้คร้านเอาไว้หมู่บุญ  สิเป็นของหนุนเจ้าไปเทิงอากาศ  สู่สวรรค์บ่ฮ้อนด้วยบุญนี้ส่งไป  เพิ่นจึงตรัสบอกไว้ฮีตเก่าคองหลัง  ฟังให้ดีมันคักอย่าไลเดอเจ้า  จงให้พากันเข้าทำทานตักบาตร  อย่าขาดได้ไปแท้สู่คน  โอกาสนี้ เพิ่นให้เที่ยวซอกค้น  ขุดก่นขุมบุญเอาทุนไปภายหน้าเมื่อตายไปแล้ว  เป็นแนวนำเฮาขึ้นบันได้ทองเที่ยวท่อง  ขึ้นสู่ห้องชั้นฟ้าสวรรค์พุ้นอยู่เย็น  ฝูงหมู่วิบากเว้นบ่มีว่าสิมาพาน  เนาว์วิมานแสนสุขทุกข์หายบ่มาใกล้82
    ๙)  ทำบุญเก้า(ทำบุญข้าวประดับดิน)ชาวบ้านจะนำอาหารหวานคาว  หมากพลูบุหรี่ห่อเป็นห่อมาแขวนไว้ตามต้นไม้ในวัด  ตั้งแต่เช้าตรู่ของวันขึ้น  ๑๔ ค่ำ  เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว  และถวายภัตตาหารเข้าแก่พระสงฆ์  ตรวจน้ำแผ่ส่วนบุญให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นเปรตพลี ดังคำโบราณว่า
ฮีตหนึ่งนั้นพอถึงเดือนเก้าแล้วเป็นกลางแห่งวัสสกาล  ฝูงประชาชนชาวเมืองก็เล่าเตรีมตัวพร้อม  พากนทานยังข้าวประดับดินกินก่อนทายกทานให้เจ้าพระสงฆ์พร้อมอยู่ภาย  ทำจั่งชี้บ่ย้ายเถิงขวบปีมา  พระราชาในเมืองก็จงทำแนวนี้  ฮีตหากมีมาแล้ววางลงให้ถือต่อ  จำไว้เด้อพ่อเฒ่า  หลานเว้ากล่าวจา83
    ๑๐)  ทำบุญเดือนสิบคือทำบุญข้าวสาก(สลากภัตต์)ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบจึงเรียกว่าบุญเดือนสิบ  ผู้ถวายจะเขียนชื่อของตนลงในภาชนะที่ใสของทานและเขียนชื่อลงในบาตร  ภิกษุสามเณรรูปใดจับได้สลากของใครผู้นั้นก็เข้าไปถวายของจึงเรียกว่าสลากภัตรดังคำโบราณว่า
    อีตหนึ่งนั้น  พอเมื่อเถิงเดือนสิบแล้วทายกทอดบวยบานเบิกพลีทำทานต่อมาสองซ้ำ  ข้าวสลากนำไปให้สังโฆกาทอด  พากันหวังยอดแก้วนิพพานพ้นที่สูง  ฝูงหมู่ลุงอาว์ป้าคณาเนืองน้อมส่ง  ศรัทธาลงทอดไว้ทานให้แผ่ไป  อุทิศให้ฝูงเปรตเปโต  พากันโมทนานำสู่คนจนเกลี้ยง84
    ๑๑)  บุญเดือนสิบเอ็ดคือบุญวันออกพรรษา  เป็นที่พระสงฆ์ให้โอกาสว่ากล่าวตักเตือนกันไม่ว่าอาวุโสหรือภันเตให้เตือนกันได้เรียกว่าปวารณาตัวเองให้คนอื่นชี้โทษเพื่อสำรวมระวังต่อไป  ส่วนฆราวาสก็มีการลอยเรือไฟ  ตามทีปโคมไฟนำไปแขวนไว้ตามต้นไม้หรือรั้ววัด  และถวายต้นปราสาทเผิ้ง(ปราสาทผึ้ง)และมีการแข่งเรือในบางท้องที่ด้วย  ดังคำโบราณว่า
ฮีตหนึ่งนั้นเถิงเดือนสิบเอ็ดแล้วเป็นแนวทางป่อง  เป็นช่องของพระเจ้าเคยเข้าแล้วออกมา  เถิงวัสสามาแล้วสามเดือนก็เลยออก  เฮียกว่าออกพรรษาปวารณากล่าวไว้เฮาได้เล่ามา85
    ๑๒)  บุญเดือนสิบสอง  คือบุญกฐินเริ่มตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงวันเพ็ญเดือน ๑๒  เรียกว่ากาลกฐิน  จึงเรียกเดือนนี้ว่าบุญกฐิน  ดังคำโบราณว่า
ฮีตหนึ่งนั้น  เดือนสิบสองมาแล้วลมวอยๆหนาวสั่น  เดือนนี้หนาวสะบั่นบ่คือแท้แต่หลัง  ในเดือนนี้เพิ่นว่าให้ลงทอดพายเฮือซวงกันบูชา ฝูงนาโคนาคเนาว์ในพื้น  ชื่อว่า อุพะนาโคเนาว์ในพื้นแผ่นสิบห้าสกุลบอกไว้บูชาให้ส่งสะการ  จงให้ทำทุกบ้านบูชาท่านนาโค  แล้วลงโมทนาดอมชื่นซมกันเล่น  กลางเว็นกลางคืนให้ระงมกันขับเสพ  จึงสิสุขอยู่สร้างสบายเนื้ออยู่เย็น  ทุกข์ทั้งหลายหลีกเว้นหนีห่างบ่มีพานของสามานย์ทั้งปวงบ่ได้มีมาใกล้  ไผู้ผู้ทำตามนี้เจริญขึ้นยิ่งๆทุกสิ่งบ่ได้ทั้งข้าวหมู่ของ  กรรมบ่ได้ถืกต้องลำบากในตัว  โลดบ่มีมัวหมองอย่างใดพอดี้  มีแต่สุขีล้นคองคนสนุกยิ่ง  อดให้หลิงป่องนี้เด้อเจ้าแก่ชรา86
       ประเพณีดังกล่าวมานี้ถือว่าเป็นหน้าที่ของทุกคนทุกฝ่ายที่จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังตั้งแต่เดือน ๑  จนถึงเดือนสิบสอง  ใครที่ไม่ไปช่วยงานจะถูกชาวบ้านด้วยกันตำหนิ  งานบุญทั้งสิบสองเดือนนี้จึงทำให้ชาวอีสานมีความสนิทสนมกัน  ทุกหมู่บ้านทุกคนรู้จักกันหมดด้วยจึงเป็นการสร้างสรรค์ความสมัครสมานสามัคคีระหว่างชุมชนด้วยกันเองอีกด้วย  ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม

ฺบ้านดอนเรดิโอออนไลน์




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons