วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

::ธรรมสร้อยสายคำ(ว่ายด้วยกำเนิดประเพณีต่างๆbandonradio

๑๒.  ธรรมสร้อยสายคำ(ว่าด้วยกำเนิดประเพณีต่างๆ)117
       วรรณกรรมเรื่อง “ธรรมสร้อยสายคำ”  ต้นฉบับเป็นหนังสือใบลานอักษรธรรมของวัดบ้านนาไฮ จังหวัดอุบลราชธานี  มีใจความโดยรวมว่าเป็นลักษณะที่สั่งสอนให้รู้จักขนบธรรมเนียมอันดีงามตลอดถึงกฏทางศีลธรรมต่างๆ  ท่านได้กล่าวไว้ว่านำมาจาก “มัชฌินิกายยอดธรรมเอาอ้าง  สามสิบสองสร้อยสายคำเอามาอ่าน  ทั้งมหาเถรและพระเณรหนุ่มเหน่า  ตนเจ้าให้ค่อยฟังหั่นถ่อน”  กวีท่านได้กล่าวถึงเมืองชื่อ  อติรัตน์มีพระยารัตราชเป็นผู้ครองนคร  มีพระชื่อว่า  ศิรินันทกุมาร  ต่อมาก็ได้อภิเษกสมรสกับพระนางสร้อยสายคำ  ได้พระโอรสองค์หนึ่งชื่อ นันทกุมาร  กาลต่อมาก็ได้ขึ้นครองสิริราชสมบัติแทนพระบิดา ฯ  วรรณกรรมเรื่องนี้สั่งสอนถึงระเบียบต่างๆและบ่อเกิดประเพณีต่างๆไว้ดังนี้คือ
๑๒.๑)   ประเพณีเกี่ยวกับงานศพ
    ๑)  ตายธรรมดา
        คันใผตายชราเฒ่าเจ็บเป็นไข้ป่วย        ให้เฮ็ดตามฮีตบ้านครองเฒ่าจั่งสิดี
        กุสลาก็ควรให้มาติกาจูงแห่        เข้าป่าช้าเผาเมี้ยนจูดสุม
        งันเฮือนดีให้สามคืนทานทอด        เก็บดูกเมี้ยนทานให้ส่วนบุญ
        คันแม่นทำฉันนี้จันทะคามสิเฮืองฮุ่ง    ฝูงหมู่ลุงและป้าชาวเชื้อสิอยู่เย็น ท่านเอย
    ๒)  ตายไม่ธรรมดา
        คันใผตายแขวนคอห้อยปัจจุบัน        เผิ่นให้บอกคนผู้ตายจั่งชี้บ่ควรให้จูดเผา
        กับท่านบ่ให้ฝังนอนคือหมู่        ให้เอาไม้วัดพื้นตีนเท้าฮอดหัว
        ขุดทางตั้งฝังทางยืนมันจั่งถืก        อย่าสิฝังหล่องหง่องนอนนั้นบ่ถืกครอง
        หน้าศพนั้นให้หันไปตะวันออกฯ
        คันใผตายตกน้ำให้ทำตามครองฮีต        เผิ่นให้เอาหัวขมิ้นฝนทาให้ทั่ว
        ทั้งฝุ่นผงดินใส่พร้อมผสมเข้าใส่กัน    แล้วจั่งเอาทาไว้ตามโตให้เจ็ดเทื่อ
        ทั้งลูบลงและลูบขึ้นให้เต็มแท้ทั่วโต    คันใผตายมีแนวต้องมีสัตว์ขบตาย
        ให้เอาผ้าขาวนุ่งห่มให้ศพนั้นกะจั่งควร    แล้วให้พากันข่วมสามทีสาก่อน
        จั่งให้ฝังมอดเมี้ยนอย่าป๋าให้ขวบคืน    สามปีได้จั่งทำบุญทานแจก เจ้าเอย
    ๑๒.๒)  พระราชาไม่ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมทำให้ประชาชนเดือดร้อนดังคำสอนดังนี้
        ทางพระยาบ่เที่ยงมั่นในศีลกลับโลภ    คลองศีลธรรมบ่อ่าวเอื้อไลถิ่มบ่ชา
        ความเดือดฮ้อนของประชาชนกะบ่เกี่ยว    ทศธรรมสิบบ่อ่าวเอื้อเซาย่านบ่เกรง
        ทางศีลห้าบ่มีอายย่านหย่อน        ฆ่าสัตว์กินสู่มื้อบ่มีเว็นแต่ละวัน
        มีทั้งใจโมโหฮ้ายโกธาฝูงไพร่        ชาวเมืองเกิดเดือดฮ้อนบ่มีได้อยู่เย็น
        อันว่าพระยาเจ้าบ่ตามครองทศราช        เห็นแต่ความโลภล้นเชิงซู้สู่สาว
        ทั้งกินเหล้าเมามายบ่ฮู้เมื่อ            หลงทางบุญบ่เอื้อลืมไว้บ่เอา
        การเมืองบ้านไลลาปะปล่อย        ทำแต่กรรมบาปฮ้ายธรรมนั่นบ่หล่ำแล
    ๑๒.๓)  สั่งสอนให้ญาติพี่น้องช่วยเหลือกันดังคำกลอนนี้
        อ้ายและน้องอย่าได้เคียดซังกัน        อย่าได้จำคำแข็งด่าเลวกันแท้
        อ้ายและน้องให้เจ้าค่อยนำกัน        เป็นหรือตายให้ช่วยชูกันไว้
        แพงกันไว้เจ็บเป็นให้ฮีบช่วย        อย่าได้คึดโลภเลี้ยวซังแท้แก่กัน
    ๑๒.๔)  ให้พากันรักษาศีลห้าดังคำสอนดังนี้
        คือว่าปาณานั้นบ่ให้ฆ่ามวลหมู่ชีวิต    อทินนาบ่ให้ลักโลภของเขาแท้
        กาเมบ่ให้หาเสพเล่นกามคุณผิดฮีต        เจ้าของมีอย่าใกล้ให้หนีเว้นหลีกไกล
        อันว่ามุสานั้นคำจาอย่าตั่วะหล่าย        คำสัจจะมีเที่ยงมั่นระวังไว้ใส่ใจ
        โตที่ห้าคือสุราปัญหาใหญ่        ฮอดเมรัยอย่าได้ใกล้มวลนี้สิบ่ดี
        เสียสติจริงแท้กรรมเวรบ่ได้ปล่อย        ความถ้อยฮ้ายสิไหลเข้าสู่ตัว
    ๑๒.๕)  สอนให้ระวังอายตนะหกดังคำกลอนดังนี้คือ
        อันว่าตาของเจ้าอย่าเหลียวแนมแนวบ่แม่น    ของจบงามเจ้าอย่าเอื้อเอามาเข้าใส่ใจ
        อันว่าหูของเจ้าอย่าหวังดมแต่หอมหึ่น    ทั้งของเหม็นล่วงเข้าดังเจ้าอย่าสิเอา
        อันว่าซิวหาลิ้นรักษาดีได้ถ้วนถี่        หวานขมและส้มมวลนี้อย่าได้ถือ
        อันว่ากายาเจ้ายังอ่อนกุมาร        คันเมื่อเห็นนารีหนุ่มคนองงามย่อง
        อย่าได้เอาถือมั่นสังขารมันบ่เที่ยง        ให้เจ้าปะละไว้ของนั่นบ่แน่นอนท่านเอย
        มือของเจ้าอย่าได้ไปแตะต้องของอันใดในโลก ฯ
    ๑๒.๖)  สอนให้ตั้งอยู่ในพรหมวิหารธรรมดังคำสอนนี้คือ
        อุเบกขาให้ไมตรีติดต่อ            กรุณาจงอย่าได้หวังฮ้ายต่อไผ
        เมตตานั่นมีความแพงทุกสิ่ง        อันว่าสัตว์อยู่ใต้หลุ่มฟ้ากะแพงไว้ดังกัน
        อย่าได้ทำลายม้างปาปังมันบาป        นีรพานตั้งต่อไว้เด้อท่านอย่าสิไลฯ
        ให้เอาเมตตาตั้งกรุณามุทิตาสืบต่อ        อุเบกขาต่อท้ายจ้ำอย่าสิไล
        พรหมวิหารของค่ำจอมธรรมเผิ่นสอนสั่ง    ทศพิธราชธรรมขอให้จำจื่อไว้อย่าสิลืม118
    ๑๒.๗) สอนในเรื่องสัตว์ต่างที่เข้ามาบ้านถือว่าไม่ดีและบอกวิธีแก้ไว้ด้วยดังคำสอนนี้คือ
        อันหนึ่งคันงูสิงห์งูเหลือมเข้าในเฮือนขออยู่     ท่านให้แต่งดอกไม้เทียนธูปในขัน
        อัญเชิญเจ้าพระยางูนาคราช        เอาเคราะห์เข็ญออกจากบ้านไปพร้อม
        แล้วจึงนิมนต์เจ้าภิกษุสงฆ์มาสวด        สังฆทานทอดให้บุญสิได้โชคสิมี
    ๑๒.๘)  สอนให้รู้จักรักษาศีลกินทานอย่าประมาทดังคำสอนดังนี้คือ
        ให้พากันทำบุญสร้างกฐินเททานทอด    ขุดน้ำบ่อก่อศาลารักษาศีลให้มั่น
        เมืองบ้านสิอยู่เย็น            อย่าสิไลลาถิ่มคำสอนพระพุทธบาท
        ท่ายอย่าพากันเว้นอาฮามหลวงวัดใหญ่    ให้พากันไปขาบไหว้องค์ล้ำ
        หน่อพระธรรมหั่นถ่อน            เถิงมื้อวันสำคัญตั้งเพ็งแฮมสิบห้าค่ำ
        ทั้งขึ้นแฮมแปดค่ำให้ละเว้นอย่าเมามัวหมู่กาม  สุราพร้อมเมรัยให้ตัดขาด
        การฆ่าสัตว์ใหญ่น้อยควรเว้นให้ห่างไกลท่านเอย 119
    ๑๒.๙)  สอนสามีภรรยาให้สำรวมในกามคุณดังคำกลอนนี้คือ
        คันแม่นเป็นผัวเมียแล้ว            ถือครองธรรมให้มันแม่น120
    ฮอดวันศีลวันพระตอน            พระเจ้าสอนใว้อย่าล่วงเกิน
    กามคุณเซาไว้วันเพ็งสิบห้าค่ำ        ฮอดศีลแปดให้ละเว้นเซาไว้อย่าสิทำ
    ผัวเมียนั้นไผมันให้จำจื่อ            โตกาเมในวันพระนั้นเซ่าถ่อนอย่าสิทำ
    คันแม่นไผผิดแท้ยามตายมรณาไปนั้น    ก็จักลงมุดไหม้ในหม้อแผ่นแดงท่านเอย
    พระยายมเจ้าเอาทองแดงเหล็กแท่ง    เอามาแทงบ่จ่งไว้ให้ไฟไหม้อยู่บ่เซา
    เลือดกะสิอาบย้อยไหลลงอยู่บ่ขาด        ไหลออกก้นเหม็นกุ้มหน่ายสะอางแท้
    ทนทุกข์ฮ้ายอนันต์เนกเหลือหลาย        เป็นเพราะกรรมนำไปสู่อบายมีมีเว้น
    พากันจำเอาไว้อย่าหลงไหลกามราคะ    คันแม่นได้ลูกเต้ากะศรีเศร้าหม่นหมองฯ
    ๑๒.๑๐)  สั่งสอนฮีตผัวคลองเมียดังคำกลอนดังนี้คือ121
        อันว่าผัวเมียนั่นจากันให้มันคล่อง        ความบ่ดีอย่าได้เว้ากูมึงนั่นอย่าสิมีเด้อ
        ไผผู้มีผัวแล้วอย่าจงใจเอาผัวเผิ่น        อย่ามีใจโลภเลี้ยวมีชู้ฮ่วมผัว
        คันสิไปมานั้นวาจาให้ต้านบอก        อย่าได้อำวาทไว้ให้จาต้านเปิดเผย
        ไผผู้เห็นชายชู้เขางามคึดอยากฮ่วม        มันสิเป็นบาปต้องไปหน้าบ่เสบยท่านเอย
        ผู้ผัวนั้นก็ฉันเดียวโดยดั่ง            อย่าได้คึดโลภเลี้ยวคำฮ้ายจากเมีย
        ให้เจ้าจำไว้ถ่อนหญิงชายน้อยใหญ่        ทั้งพระยาพร่ำพร้อมควรเว้นให้ห่างเวร
        คันไผจำเอาไว้เพียรทำทุกเช้าค่ำ        เขาสิสุขอยู่ล้วนเจริญขึ้นฮุ่งเฮืองแท้แหล่ว
    ความหมายคำศัพท์
    บ่หล่ำแล-ไม่ดูแล    ไลลา-หลงลืม    ปะ- ไม่สนใจ,ทิ้ง,    ฮ้าย-ชั่วร้าย,ร้าย,
    ไลถิ่ม-ทอดทิ้ง,ไม่เอา,    บ่ชา-ไม่เอาใจใส่    เซ่าย้าน-ไม่กลัว        บ่เกรง,ไม่กลัวเกรง
    สู่มื้อ- ทุกๆวัน        เว็น- เว้น    บ่- ไม่    ข้วม-ข้าม    จั่ง- จึง,จงทำ,
    ป๋า-ปล่อยทิ้งไป        ทั่วโต-ทั่วตัว    ขบ-กัด    ทื่อ-ครั้ง        จูดสุ่ม-จุดไฟ,เผาไฟ
    จั่งถืก-จึงถูกต้อง        คึด-คิด        ฮ่วม-อยู่ร่วม        ถ่อน-เถอะนะ
    เซ่า –หยุด        เมืองหลุ่ม  เมืองมนุษย์

bandonradio




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons