วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฮีตสิบสี่แบบที่ 2::ฺบ้านดอนเรดิโอออนไลน์

๒.๒)  คลองสิบสี่แบบที่  ๒  คือมีทั้งฮีตและคองมารวมกันเป็นฮีตคอง  ดังนี้คือ
    ๑)  ฮีตเจ้าคลองขุน
       คำว่า  “เจ้า”  ส่วนใหญ่เป็นพระเจ้าแผ่นดินซึ่งถือว่าเป็นผู้ปกครองบ้านเมืองที่สูงสุดในประเทศ  คือเป็นพระมหากษัตริย์ต้องปฏิบัติตามกฎมณเฑียรบาล  ทั้งทรงทศพิศราชธรรม  เช่น  พระเจ้าอู่ทอง,เจ้าอนุวงศ์เป็นต้น  ส่วนขุนหมายถึงกษัตริย์ผู้ครองเมือง  มีความหมายคล้ายกับ  “เจ้า”  เช่น  ขุนบรม  ขุนศรีอินทราทิพย์ เป็นต้น  แม้ผู้ทำงานต่างพระเนตรพระกรรณก็นิยมเรียกเช่นกัน  ดังคำกลอนโบราณว่า
        เป็นชาติเชื้อเจ้าเจื่องจอมเมือง        ปุนปองปกไพร่ไททั้งค่าย
        พลเมืองมั่นหมายใจได้เพิ่ง        ทางจักหายเดือดฮ้อนบุญเจ้าบ่เบา
        ควรที่พระเที่ยงมั่นทศพิธรรมา        ดังจักขอไขแขแต่พอเพียงน้อย
        เป็นจอมเจ้าเหนือหัวให้ฮักไพร่        เป็นใหญ่พ้องหัวหน้าให้ฮักฝูง
        เป็นผู้เฒ่าให้ฮักลูกหลานเหลน        เป็นขุนกวนให้ฮักการเมืองบ้าน
        สมสถานเบื้องเฮืองฮมย์ถ้วยทั่ว        อย่าได้ฮักผิ่งพุ้นซังพื้นบ่อดี

    ๒)  ฮีตท้าวคลองเพีย
       คำว่า  “ท้าว”  เป็นคำเรียกเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในสมัยโบราณ  เช่น  ท้าวอุปฮาด หรือเจ้าอุปราช  ท้าวราชบุตร หรือ เจ้าราชบุตร  แม้เจ้าผู้ครองเมืองบางเมืองก็เรียกว่า  “ท้าว” และลูกเจ้าเมืองก็เรียกว่า “ท้าว”เช่น ท้าวสุริยวงศ์เป็นต้น  และคำว่า  “ท้าว”เป็นคำเรียกชื่อของผู้เป็นเชื้อสายขุนนางก็มี  จะมีมากในวรรณกรรมของอีสาน  ส่วน “เพีย” เป็นคำนำหน้าข้าราชการหรือขุนนางแต่โบราณเช่นกัน  การปฏิบัติตามธรรมคลองธรรมก็คงอนุโลมตาม  “ฮีตเจ้าคองขุน” หรือตามจารีตที่ตระกูลเคยปฏิบัติมาโดยยึดหลักธรรมตามพระศาสนาเป็นที่ตั้ง  หากผู้ปกครองบ้านเมืองตลอดราชบริพารไม่ปกครองโดยธรรม  ก็จะทำให้ไพร่ฟ้าประชาชนเดือดร้อนดังคำโบราณว่า
    อันที่มีเหตุฮ้ายหลายอย่างเป็นมายามนี้        เพื่อว่าองค์ภูธรพร่ำสอนเสนาพร้อม
    ไลวางเว้นทศธรรมบ่เที่ยง                ไพร่จึงพลอยล่วงล้ำคุณแก้วบ่ถือ
    เหตุดั่งนั้นทวยเทพไอศวรรย์            ท่านผู้คอยฮักษาแวดระวังเวียงล้อม
    หลิงเห็นผิดกระบวนเบื้องคองหลังตั้งแต่ง        บ่อาจทนอยู่ได้เลยให้เกิดเข็น

    ๓)  ฮีตไพร่คลองนาย
       คำว่า “ไพร่”  หมายถึงไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินหรือประชาชนโดยทั่วไป  มีประเพณีกำหนดให้ปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมือง  และตามคำสั่งของเจ้านายมีการทำงานโยธา  และข้าราชการทหารเป็นต้น  สำหรับ “คองนาย”  ผู้เป็นนายก็ต้องปฏิบัติตามกบิลเมืองและหน้าที่  ไพร่กับนายต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  ดังคำโบราณว่า
        เป็นขุนนามบ่าวไพร่อ้อมข้าง        ก็อย่าอวดอ้างยอโต
        คันได้เป็นใหญ่แล้วอย่าลืมคุณพวกไพร่    คันว่าไพร่บ่พร้อมสีหน้าบ่เฮือง
        ไม้ลำเดียวล้อมฮั้วบ่ข่วย            ไพร่บ่พร้อมเมืองบ้านบ่เฮือง
        คันได้นั่งบ้านเป็นเอกสูงศักดิ์        อย่าได้โวๆเสียงลื่นคนทั้งค่าย
        ชื่อว่าเป็นนายนี้ให้หวังดีดอมบ่าว         หากบ่าวบ่พร้อมซิเสียหน้าเมื่อเดิน
        บัวอาศัยเพิ่งน้ำปลาเพิ่งวังตม        ไพร่กับนายก็เพิ่งกันโดยด้าม
        ได้เป็นนายแล้วให้หลิงดูพวกไพร่แด่เดอ    ไพร่บ่ย่องสีหน้าบ่เฮืองได้แหล่ว
        เป็นเจ้าให้ฮักพวกไพร่            เป็นนายใหญ่ให้ฮู้จักฮักบริวาร
        เป็นสมภารให้ฮู้จักฮักจัวน้อย        เป็นนายพันนายฮ้อยให้ฮักพลทหาร

    ๔)  ฮีตบ้านคลองเมือง
       ฮีตบ้านคองเมือง  เป็นธรรมเนียมและข้อวัตรอันพึงปฏิบัติของบ้านเมืองแต่ละท้องถิ่น  ตลอดบ้านเมืองส่วนรวมด้วยมีการอยู่ด้วยกัน  โดยยึดหลักศีลธรรมเป็นที่ตั้ง  มีความสามัคคีรักใคร่กัน  และเลี้ยงชีพในทางสุจริตเป็นต้น  เจ้าเมืองก็ต้องรู้จักปฏิบัติให้ถูกต้องตามจารีตประเพณีโบราณดังคำกลอนว่า
        เป็นพญาสร้างครองเมืองตุ้มไพร่        ให้ฮู้จักฮีตบ้านครองสร้างฮุ่งเฮือง
        ขุนใดมีใจกล้าครองเมืองเฮืองฮุ่ง        ขุนขี้ย้ายครองบ้านบ่เฮือง ฯ
    ๕)  ฮีตผัวคลองเมีย
       เป็นการสอนในการครองเรือนให้มีความสุขที่เป็นข้อปฏิบัติสำหรับสามีภรรยาที่ต้องมีความรักใคร่ต่อกัน  การประพฤติหลักของอีตผัวคองเมียนี้นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะธรรมดาทัศนะคติของคนสองคนที่มาเป็นคู่ครองกันนั้นย่อมแตกต่างกันไปตามอุปนิสัยบางคนแข็งกระด้างบ้างคนอ่อนน้อม  ดังนั้นปราชญ์อีสานจึงสอนว่าการเป็นสามีภรรยากันนั้นมันง่ายแต่จะครองรักอย่างไรจึงจะมีความสุขได้  ตามความเชื่อของคนไทยโบราณสอนว่าสามีเป็นช้างเท้าหน้าภรรยาเป็นช้างเท้าหลัง  เพราะสมัยโบราณนั้นผู้หญิงก็มีความเชื่อเช่นนั้นเป็นทุนอยู่เดิมเหมือนกันดังจะเห็นได้จากวรรณกรรมของอีสานทุกเรื่องจะอบรมสั่งสอนลูกหญิงให้เชื่อฟังผู้เป็นสามีแต่ฝ่ายเดียว  อาจเป็นด้วยเหตุก็ได้ที่ทำให้หญิงไทยชาวอีสานเป็นช้างเท้าหลังตลอดมา  แต่ในภาวะทุกวันนี้ทัศนะให้เรื่องเหล่านี้เริ่มเสื่อมลงไปตามภาวะเศรษฐกิจและบ้านเมืองที่เจริญมากขึ้นสิทธิสตรีก็เสมอกับชายทุกประการ  แต่ถึงกระนั้นก็ตามหญิงก็คือหญิง  สุภาษิตอีสานจะสอนให้ผัวเมียได้รู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับสถานภาพของตน  คือเมื่อเป็นสามีภรรยากันจะต้องรู้จักให้เกียรติกัน  เคารพญาติทั้งสองฝ่าย  ให้มีความขยันมั่นเพียรในการทำมาหากิน  ให้รักเดียวใจเดียวชื่อสัตย์ต่อกัน  ดังคำกลอนสุภาษิตโบราณอีสานสอนในเรื่องคองของสามีภรรยานี้ว่า
    ฮีตผัว
    ให้ผัวพาเมียสร้างนาสวนปลูกหว่าน    พาเมียเป็นพ่อแม่บ้านครองเย้าให้อยู่ดี
    ให้วาจาเว้าแถลงนัวเว้าม่วน        อย่าได้ซึกซากฮ่ายคำเข้มเสียดสี
    ให้เคารพชาติเชื้อสกุลฝ่ายทางเมีย    อันว่าญาติกาวงศ์วานทางฝ่ายเมียให้
    การละเล่นหวยโปเบี้ยถั่วทางนักเลง    สุราพร่ำพร้อมอย่าวอนเว้าอ่าวหา
    สินสมสร้างศฤงคารทรัพย์สิ่ง        มอบให้เมียเมี้ยนไว้ในย้าวจั่งแม่นคอง
    คลองเมีย
    กิจการบ้านให้ทางเมียเป็นใหญ่        ให้เมียเป็นแม่บ้านการสร้างซ่อยผัว
    ให้มีจาจาเว้าแถลงนัวเว้าม่วน        อย่าได้ซึมซากฮ่ายคำเข้มเสียดสี
    ให้เมียเคารพชาติเชื้อสกุลฝ่ายทางผัว    อันว่าญาติกาวงศ์วานทางฝ่ายผัวให้ค่อยยำ
                        เกรงย้าน
ให้ฮู้จักทำการเกื้อบริวารเว้าม้วน        สงเคราะห์ญาติพี่น้องเสมอก้ำเกิ่งกัน
สินสมสร้างศฤงคารทรัพย์สิ่ง        ผัวมอบให้เมียฮู้ฮ่อมสงวน
ควรที่จับจ่ายซื่อของจำเป็นสมค่า        อย่าได้จับจ่ายใช้หลายล้นสิ่งบ่ควร
    คันแม่นทำถึกต้องคองผัวเมียโบราณแต่ง     จักลุลาภได้ชยะโชคเจริญศรี
    สถาพรพูนผลซู่อันโฮมเฮ้าจักงอกงาม    เงยขึ้นอุดมผลสูงส่งเงินคำไหลหลั่งเข้า  เจริญขึ้นมั่งมี  บริบูรณ์ศรีสุขทุกข์บ่เวินมาใก้ล  นอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำสำหรับผู้เป็นสามีและภรรยาที่พึ่งยึดถือปฏิบัติดังคำกลอนโบราณสอนไว้ว่า
วัตรปฏิบัติสำหรับผู้เป็นสามี  คือ
    ขอให้เจ้าตื่นเดิกไปไฮ่ก่อนกา        ขอให้เจ้าตื่นเดิกไปนาก่อนไก่
    ให้เจ้าไปจับฮั่วอ้อมบ่อนควายเลียม    บ่าแบกเสียมทั้งไปยามส้อน
    เลยเบิ่งต้อนเบิ่งหลี่เบิ่งไซ            เห็นน้ำไหลคันนาให้ฮีบอัดเอาไว้
    ปีใดแล้งย่อมได้กินข้าวปลา        ให้เจ้ามีปัญญคึดหาเครื่องปลูก
    ทั้งส้มสูกกล้วยอ้อยของเจ้าซู่ยาม        ตามดอนนาปลูกพริกหมากเขือน้ำเต้า
    ทั้งหมากพร้าวมี้ม่วงตาวตาล        ส้มและหวานหมากพลูอย่าคร้าน
    คันเจ้าอยู่บ้านให้เบิ่งเฮือนซาน        เบิ่งสถานปักตูป่องเอี้ยม
    ให้เจ้าเยี่ยมเบิ่งข้อง แห มอง ทั้งสุ่ม    ของ    ซุมนี้แพงไว้เฮ็ดกิน
    ฝนตกรินฮำย้อยอย่าถอนกลัวขยาด    เถิงซิตกสาดพังฮองเข้าใส่โองไห
    คราดไถแอกให้หลาไนมีทุกสิ่ง        ทั้งสวิงกำพั้นฟืมพร้อมใส่กระส่วย
    ของหมู่นี้ซิซ่อยให้มีอยู่มีกิน        ผัวให้ยินดีหาอย่าไลลาคร้าน
    คันตื่นขึ้นเช้าให้เจ้าเลียบเบิ่งเฮือนตน    ลางเทื่อโจรเอาของลักมาวางไว้
    เจ้าอย่าให้ฮั่วแป่ม้างเป็นฮ่อมทลายลง    มันจักเสียของเฮาบ่ปลูกฝังเสียเสี้ยง
    ให้เจ้าเตื้องปลูกดอกซ้อนซอนดอกจำปา    ยามอยากเอาบูชาง่ายดีบ่มีฮ้อน
    ให้เจ้าปลูกต้นไม้ไว้ซ้นฮ่มแยงเงา        ยามเมื่อเฮาตายปะย่อมมีคนย่อง
    แม่นสกุณาเค้าบินมาจับอยู่ก็ดี        บุญก็ย่อมได้คุณนั้นบ่อห่อนเสีย
    อันหนึ่งให้เจ้าคึดค้าซื้อถึกขายแพง        คึดล่ำแยงหาเงินใช้ง่าย
    ขายหมากไม้แม่วัวโตควาย        ทางใดซิรวยให้เจ้าคึดฮำดูเลิงถ้อน ฯลฯ
ข้อวัตรปฏิบัติสำหรับผู้เป็นภรรยา
    แนวแม่หญิงนี้บ่มีผัวซ้อนนอนนำก็บ่อุ่น    แม่หญิงซิตั้งอยู่ได้เป็นใหญ่ใสสกุล
    ก็เพราะคุณของผัวคว่ามาแปลงสร้าง    แม่หญิงนี้ซิมีคนย้านนบนอบยำเกรงก็เพราะ
                        บุญของผัว
    แม่หญิงซิมีคนล้อมบริวารแหนแห่        ก็ย้อนผัวแท้ๆอย่าจาอ้างว่าโต
    ผัวหากโมโหฮ้ายใจไวเคียดง่าย        ให้นางเอาดีเข้าใจเว้าอย่างแข็ง
    อย่าได้แปลงความส้มขมในให้ผัวขื่น    ให้เอาดีขื่นไว้ใจเจ้าให้อ่อนหวาน
    อุปมาเปรียบได้ดั่งอ้อมันหากอ่อนตามลม  ธรรมดาว่าอ้อลมมาบ่ห่อนโค่น
    เพราะว่ามันบ่ตั้งขันสู่ต่อลม        คือดังสมเสลานัอยสอยวอยงามยิ่ง
    ก่อผัวซิฮักกล่อมกลิ้งแฝงผั้นบ่มาย        เพราะนางเป็นคนดีได้ใจบุญสอนง่าย
    บ่เป็นคนบาปฮ้ายใจบ้าด่าผัว        มีแต่ทำโตน้อมถนอมผัวโอนอ่อน
    บ่แสนงอนดีดดิ้นศีลห้าหมั่นถนอม    หาแต่แนวมาล้อมศีลธรรมคำขอบ
    เว้านอบน้อมต่อผัวนั้นซู่วัน        อันนี้ชื่อว่าเป็นหญิงมั่นในคองพุทธบาท
    เทวดากะซิย่องผิวเนื้อผ่องใส        หัวใจเจ้าเป็นหญิงสมชื่อ
    ถือคุณผัวขึ้นไว้เพียงแก้วหน่วยตา        ธรรมดาคนนี้อับจนก็ตามซ่าง
    ให้ถือคุณผัวขึ้นไว้เมื่อหน้าหากซิมีเจ้าเอย    อันหนึ่งในนาถน้อยตื่นก่อนผัวตน
    ให้ปรนนิบัติผัวบ่อนนอนหมอนมุ้ง    ยามยุงบินเข้าสมเสลาให้เจ้าไล่
    คันเดิกซอกไซ้ให้นอนใกล้หม่อผัว    เจ้าอย่าได้กลังเกรงย้านผ้าห่มคลุมหัว
    ให้ผัวนางนอนอยู่สบายหายฮ้อน        นางจงนอนลงถ้อนดอมผัวกลั้วกลิ่น
    ให้ผินหน้ามาบีบคั้นขาเส้นนวดเอ็น    เจ้าเป็นผู้ฮู้ดูหล่ำดอมผัว
    ให้เข้าครัวหาอาหารข้าวปลาวางตั้ง    กับทั้งขั้นน้ำพร้อมวางตั้งจั่งคือ
    ผ้าเซ็ดมือพร้อมบรบานทุกสิ่ง        อันว่ากินข้าวนั้นอย่าได้เฮ็ดมูมมาม
    นิ้วมืองามของเจ้าอย่าฟั่งงมกินต่อน    บ่วงและซ้อนตักแล้วค่อยกิน
    ยามเมื่อกินข้าวให้ผัวลงมือกินก่อน    ยามซินอนให้ไหว้ผัวแล้วจึงนอน
    ปรนนิบัติได้จั่งซี้ซิลุลาภได้เงินแก้วมั่งมูล    คันว่าผัวหากเดินดั้นมาแต่ทางไกล
    ขอให้นางฮีบฮับต้อนเตรียมท่าผ่อผัว    อย่าได้ทำคือบ้าผัวมาบ่อยากเบิ่ง
    ผัวมาฮอดบ้านอย่าเฮ็ดบึ้งตึงสีหน้าบ่บาน    ผัวซิพาลหาเรื่องคำแข็งโกรธด่า
    ห่าว่าเป็นแม่ฮ้างปานเสียแก้วมืดมัว    ตนตัวน้องซิเสียศรีหมองหม่น
    เพราะคนซิเว้าชาวบ้านกล่าวขวัญ        ขอให้นวลนางน้องตรองดูให้มันถี่
    ให้นางยินดีดอมเผ่าผู้ผัวแก้วแห่งตน    ให้นางนำไปเลี้ยงสนองคุณปู่ย่า
    ให้ระวังปากอย่ากล้าใจพร้อมพร่ำกาย    อย่าได้เป็นหญิงฮ้ายเกเรหลงเพศ
    ปากกล่าวต้านสูงพ้นลื่นคน        มันซิผิดหูเฒ่าสองคนปู่ย่า
    ทั้งมวลพี่น้องลุงป้าฝ่ายผัว        ขอให้นางฮักยิ่งล่ำผัวแก้วแห่งตน
    ผัวหากขวนขวายเลี้ยงแลงงายซู่ค่ำนางเอย    คำปากหวานจ้อยๆนำผัวแก้วซู้วัน
    ขอให้พันธนังติดอย่าหน่ายซังแหนงเว้น    อันหนึ่งขึ้นขั้นไดอย่าเอาตีนทึบ
    อย่าได้สืบความเพิ่นมาจา            ตาบ่เห็นอย่าได้เว้าว่าแน่
    ขอให้เจ้าเว้าแต่ในทางที่ดี            เขาบ่มีความผิดอย่าได้ป้อยด่า
    อย่าอวดอ้างตีนถีบตีนทำ            ในคำสอนห้ามไว้หลายวาท
    อย่าได้กวาดเฮือนเย้ายามกลางค่ำกลางคืน    อย่าเอาฟืนจี่หัวก้อนเส้า
    อย่ากินข้าวเขาะเช้าเขาะแลง        อย่ากินแกงผักที่ติดก้นขี้หม้อ
    ไม้ค่อล่ออย่าได้เอามาหนุ่น        อย่ากินปูนเขาะก้นขี้เถ้า
    อย่าได้คัวเอาเสื้อเช็ดปาก            อย่าตากผ้าไว้เทิงหลังคา
    ยามซินอนให้ภาวนายกมือไหว้พระ    อย่าได้เลอะละเอาอาหารเก่ามาให้ผัวกิน
    อย่ายินดีนอนสูงกว่าผัวของเจ้า        เก็บของเข้าเหมิดแล้วจั่งนอน
    เถิงตอนยามเช้าให้เตรียมขันน้ำขันท่า    ทั้งผ้าเช็ดหน้าเตรียมไว้อย่าให้ถาม
    เป็นหญิงนี้ยามเมื่อห่วนๆก้องกลองตีใกล้ซิฮุ่ง  ให้ฮีบลุกนึ่งข้าวดาไว้ใส่จั่งหัน
    ลุกมาหาไต้คีไฟให้ค่อยย่อง        มีเงินทองให้ทำบุญสร้างศิลทานเช้าค่ำ
    บุญซิซ่วยนำให้ลุลาภได้สุขถ้วนซุ่ยาม    ธรรมดาคนนี้ควรไปมาหาสู่
    ถามข่าวมวลพี่น้องวงศ์เชื้อชาติตน        ยามขัดสนหรือไข้เจ็บเป็นเอ็นอุ่น
    เจือจุนญาติพี่น้องหายฮ้อนเพิ่งเย็น ฯ
น้ำใจของเมีย
    เมียหากลุกแต่เช้าตื่นก่อนนอนหลัง    ฟังคำสอนแห่งผัวบ่ล่วงเกินความเว้า
    เถิงเวลากินข้าวให้ผัวแพงกินก่อน        เถิงวันศีลวันพระให้สมมาลาโทษ
    ให้นางคารวะแก้วผัวแพงทุกเช้าค่ำ        อย่าได้คึดหล่วงล้ำใจซื่อสุจริต
    ยามผัวไปไสมาฮับของมาต้อน        เถิงเวลาแลงเซ้าซ่อยพันพลูจีบหมาก
    หากมีญาติพี่น้องสองฝ่ายให้ถนอม    มีของกินคาวหวานให้ส่งแลงงายเซ้า
    กกก่อเหง่าวงศ์สกุลโคตรย่า        ให้บูชาอ่อนน้อมถนอมไว้อย่าแหน่ง
    ให้นางพาเผิ่นสร้างบารมีเกื้อก่อ        ตักบาตรตั้งแต่เซ้ากลางเว็นซ้ำส่งเพล
    อันนี้เป็นดั่งข้าวต้มยามเมื่อเฮาตาย        สิได้ใส่ถงพายเมื่อลุนบุญค้ำ

๖)  ฮีตพ่อคลองแม่
       พ่อแม่เป็นผู้มีพระคุณต่อลูกๆสุดจะพรรณนา  และรักลูกยิ่งกว่าสิ่งใด  ถ้าจะเปรียบก็ประดุจดวงตาดวงใจก็ไม่ผิด  พ่อแม่ทุกคนย่อมตั้งอยู่ในคลองธรรมและปฏิบัติต่อลูกหลาน  ในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ลูก  อุตสาห์เลี้ยงดูตั้งแต่เล็กจนโต  ให้ลูกได้ศึกษาเล่าเรียนความรู้ซึ่งจะช่วยให้ลูกมีสติปัญญาแนะนำเกี่ยวกับการอาชีพ  สำหรับลูกผู้ชายเมื่อมีอายุครบบวชพ่อแม่ก็จัดการบวชให้  พ่อแม่ย่อมเอื้ออาทรรักและห่วงใยลูก  สิ่งใดไม่ดีไม่งามพ่อแม่ก็แนะนำห้ามปราม  มิให้กระทำชั่วพยายามให้ตั้งอยู่ในคุณความดี  จัดหาคู่ครองที่สมควรหรือจัดแต่งงานให้ตามจารีตประเพณีและหากมีทรัพย์ก็มอบให้ลูกครอบครองแทนตนต่อไป  พ่อแม่ปฏิบัติเช่นนี้นับว่าเป็นไปตามทำนองคลองธรรมและพ่อแม่ส่วนมากก็ปฏิบัติต่อลูกเช่นนี้  ดังคำกลอนโบราณกล่าวว่า
        ยามเมื่อประสูติลูกพ้น        จากอุทรเมื่อใด
        ก็หากมีความสุข            ดังได้ชมวิมานฟ้า
        ทั้งเล่าได้เห็นหน้า        บุตรตาตนอ่อน
        ยังเล่ามีทุกข์ฮ้อน            การเข้าอยู่กรรม
        ทางผดให้เจ้าเว้น            หาฮู้เข้าใส่โต
        การทำมาหากินให้        ขยันทำทุกท่า
        อย่ามัวแต่คร้าน            อายหน้าเพิ่นหยันเจ้าแหล่ว
        เถิงว่าเฮามีของล้น        เต็มเฮือนไว้ใต้ล่าง
        บ่มีทุกข์เดือนฮ้อน        ผิวหน้ายิ่งผ่องใส
        ยูถ่างทำบุญสร้าง            ศีลทานเลี้ยงพ่อพ่อ
        บ่ให้เพิ่นเดือนฮ้อน        สรรพสิ่งอันใด
        คันเพิ่นเฒ่าแก่ได้            ลดชั่วมรณา
        เป็นการสมนาคุณ        ส่งสะการคนย่อง
        ลูกบ่ดิเพิ่นเพียรเลี้ยง        ทำการงานซ่อยพ่อแม่
        ดูแลให้สุขอยู่ล้น            เลิงเรื่อยซู่ยาม
        ครกข้าวและหาบน้ำ        การแต่งพางาย
        บ่ให้เคืองเถิงมือ            พ่อแม่ตนเพียรเลี้ยง
        ยามชราหรือเจ็บไข้        อุตสาห์เพียรบ่ให้ยาก
        ขี่เยี่ยวเพียรเซ็ดล้าง        บ่วางเฒ่าให้อยู่พลอย
        เฮ็ดคือโตยังน้อย            แทนคุณเพิ่นเลี้ยงยาก
        บางผ่องไปเที่ยวค้า        หาเงินคำมาเลี้ยงพ่อแม่
        บางผ่องเอาตนเข้าใน        คลองพุทธบาท
        อันนี้อุตตโมแท้            บุตตาในโลก
        โชคไผมีจึ่งพ้อ            หาได้แต่ละคน เจ้าเอย ฯ

๗)  ฮีตใภ้คองเขย
       คำว่า  “ใภ้”หมายถึงลูกสะใภ้รวมถึงหลานสะใภ้  ส่วน “เขย” หมายถึงลูกเขยรวมทั้งหลานเขยด้วย  แต่ตามปรกติหมายเอาเพียงลูกสะใภ้แบลูเขย  ตามธรรมเนียมชาวอีสานนิยมเอาลูกเขยมาอยู่บ้านพ่อตาแม่ยาย   คำภาษิตของภาคอีสาที่ว่า  “เอาลูกเขยมาเลี้ยงพ่อแม่เฒ่า  ปานเอาข้าวมาใส่เยี่ย”  หมายความว่าการเอาลูกเขยมาอยู่กับพ่อตาแม่ยายอุปมาดังนำข้าวมาไว้ในยุ้งฉาง  ภาษิตนี้ย่อมแสดงให้เห็นว่าการเอาลูกเขยมาเลี้ยงพ่อแม่เป็นสิ่งที่เหมาะสมและมักเป็นค่านิยมของชาวอีสานไม่น้อยเลย   ส่วนการนำเอาลูกสะใภ้มาอยู่กับปู่ย่านั้นกลับไม่ค่อยนิยมเพราะ  พ่อแม่ของฝ่ายสามีมักจะมีเรื่องทะเลาะกับลูกสะใภ้  ดังคำกล่าวที่ว่า  “เอาลูกสะใภ้มาเลี้ยงย่า  ปานเอาห่ามาใส่เฮือนซาน”  หรือ  “เอาย่าไปอยู่กับลูกสะใภ้  ปานเอาไข้ไปใส่เฮือน”  ก็เหมือนกันกับสมัยครั้งพุทธกาลที่ลูกๆต้องทิ้งพ่อแม่ของตนเพราะฟังความฝ่ายภรรยาตนเองมากพระพุทธเจ้าจึงต้องสอนวิธีการให้พราหมณ์เอาชนะลูกๆของตนเองมาแล้วหรือประวัติของตนโมคคัลลานะก็เช่นเดียวกันฟังความเมียก็เลยเสียพ่อแม่  จะด้วยอิทธิพลของวรรณกรรมเหล่านี้ก็อาจจะเป็นไปได้ที่ชาวอีสานไม่นิยมนำลูกสะใภ้ไปอยู่กับปู่ย่า  แต่ยุคสมัยผ่านไปอาจจะมีน้อยหรือไม่มีถ้าหากลูกสะใภ้ที่ดีย่อมทำตนให้เข้ากับพ่อแม่ของฝ่ายชายได้ด้วยความราบรื่น  เช่นเดียวกับลูกเขยที่อยู่กับพ่อตาแม่ยาย  แต่ถ้ามีลูกสะใภ้ดีก็จะเป็นเช่นอย่างท่านมิคารมารดาพ่อตาของนางวิสาขามหาอุบาสิกาก็ได้  ที่ลูกสะใภ้นำกลับมาสู่สัมมาทิฏฐิได้    ทั้งลูกเขยและลูกสะใภ้ก็ตามถ้าปฏิบัติตามครรลองของตนย่อมผ่อนหนักเป็นเบาได้คือ  มีความเคารพปู่ย่า  เลี้ยงดูปู่ย่าด้วยดีดุจท่านเป็นพ่อแม่ของตนเองปัญหาต่างๆก็ย่อมไม่ตามมาอย่างแน่นอน  แต่เมื่อใดทั้งสะใภ้และเขยต่างก็เมยเฉยต่อวัตรปฏิบัติของตนเองนั้นแหละปัญหาย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน  ทำอย่างไรจึงจะทำให้ท่านทั้งสองฝ่ายมีความรักและเอ็นดูตนนั้นคำสอนโบราณอีสานสอนไว้อย่างนี้ว่า
    วัตรปฏิบัติของสะใภ้
        คันว่านางมีผัวแล้ว        อย่าลืมคุณพ่อแม่
        คุณเพิ่นมีมากล้น            เพียรเลี้ยงให้ใหญ่มา
        มารดาฮ้ายให้นาง        อดทนอย่าเคียดต่อ
        คุณพ่อฮ้าย            ให้นางน้อยอย่าติง
        คันว่าผัวฮ้าย            ให้เอาดีสู้ใส่
        ปู่ย่าฮ้ายให้นาง            ก้มหมอบฟัง
        ทั้งฝ่ายพุ้นฝ่ายพี้            ใจนั้นพร่ำเสมอ
        เถิงยามเดือนห้า            กาลฤดูปีใหม่
        จัดหาดอกไม้            เทียนพร้อมใส่ขัน
        ไปวันทาไหว้            ตายายปู่ย่า
        ทั้งสมมาเฒ่าแก่ใน        หมู่บ้านซู่คนได้ยิ่งดีเจ้าเอย
    วัตรปฏิบัติของลูกเขย
        อันหนึ่งแนวเป็นเขยนี้        แนวนามเชื้อตายายพ่อแม่
        ควรซินบน้อมไหว้        ยอไว้ที่สูง
        ผลบุญตามมาค้ำ            แนนนำยู้ส่ง
    ปรารถนาอันใด            ซิลุลาภได้โดยด้ามดั่งประสงค์
    เฮาเป็นเขยเขานั้น        ควรมีใจฮักห่อ
    ฝูงพ่อแม่ชาติเชื้อ            ของเมียเจ้าทั่วกัน
    มีหญิงให้ฮู้จักปันแบ่งให้         ใจเหลื่อมทางดี
    มีงานการซ่อยกัน        ฮีบไวบ่มีช้า
    ซิไปมาก้ำทางใด            ให้เจ้าคอบ
    เวนมอบให้            เมียไว้แก่พ่อตา
    ทั้งแม่ยายพร้อม            เจรจาเว้าม่วน
    ควรบ่ควรให้เจ้า            คะนิงฮู้ซู่แนว เจ้าเอย
๘)  ฮีตป้าคลองลุง
       บรรดาป้าลุง น้า อา และพี่ นับเป็นญาติชั้นสูงอาวุโส  ควรรู้วางตนให้สมกับเป็นที่เคารพนับถือของลูกหลานและญาติพี่น้อง  มีเมตตาธรรมไม่ถือตัวโอ้อวดมีอะไรก็ช่วยสงเคราะห์เป็นที่พึ่งพาอาศัยของญาติพี่น้องลูกหลานได้  หากลูกหลานและญาติพี่น้องถูกใคร่รังแกก็อาศัยเป็นที่พึ่งพากันในยามทุกข์ยากได้  ดังคำโบราณว่า
        ฝูงเฮาผู้เป็นลุงป้า            อาวอาน้าพี่
        ให้มีใจฮักพี่น้อง            วงศ์เชื้อลูกหลาน
        คนใดมีทุกข์ฮ้อน            อ้อนแอ่วมาหา
        ซ่อยอาสาเป่าปัด            ให้ส่วงคลายหายเศร้า
        การครองย้าว            เอาศีลธรรมเป็นที่เพิ่ง
        ตามเปิงฮีตบ้าน            ปางเค้าเก่ามา
        ไผมีงานหนักหนาให้        หาทางซดซ่อย
        บรรดาลูกหลานส่ำน้อย        ดีใจล้ำอุ่นทรวงฯ

๙)  ฮีตปู่คลองย่า
       ปู่ย่าเป็นที่รักและเคารพของลูกหลาน  เปรียบประดุจด้วยเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลานดังคำโบราณอีสานว่า
            อันปู่ย่านั้นหากฮักลูกหลานดั่งเดียวหลาย
            ทั้งตายายก็ฮักลูกหลานหลายดั่งเดียวกันนั้น
            ลูกหลานเกิดทุกข์ยากไฮ้ได้เพิ่งใบบุญ
            คุณของปู่ย่าตายายหากมีหลายเหลือล้น
            ควรที่ลูกหลานทุกคนไหว้บูชายอยิ่ง
            เปรียบเป็นสิ่งสูงยกไว้ถวยเจ้ายอดคุณ
            บุญเฮาหลายแท้ที่มีตายายปู่ย่า
            เพราะว่าเพิ่นเป็นฮ่มให้เฮาซ้นอยู่เย้น ฯ

๑๐)ฮีตเฒ่าคองแก่
       เป็นแนวทางของคนชราหรือผู้สูงอายุ  ธรรมเนียมของชาวอีสานมักจะเคารพผู้อาวุโสในด้านต่างๆอาจเป็นด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ  และชาติวุฒิเป็นต้น  ดังนั้นคนเฒ่าคนแก่จะควรเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกหลานทั้งในด้ายความประพฤติและด้านจิตใจ  ดังคำโบราณอีสานว่า
        เป็นผู้เฒ่าให้ฮักลูกหลานเหลน    เป็นขุนกวนให้ฮักการเมืองบ้าน
        สมสถานเบื้องเฮิงฮมย์ถ้วนทั่ว    อย่าได้ฮักผิ่งพุ้นซังพี้บ่ดี
        อันว่าเฒ่าบังเกิดสามขานั้นฤา    หมายถึงคนวัยสูงผู้ควรถือหน้า
        ย้อนว่าเอาตนเข้าถือศีลฟังเทศน์    เถิงกับสักค้อนเท้าไปด้วยใส่ใจ
        ชาติที่เฒ่าบ่ฮู้วัตรคลองธรรม    ปาปังแถมซู่วันเวียนมื้อ
        เถิงว่าวัยชราเฒ่าหัวข่าวแข้วหล่อน  อายุฮ้อนขวบเข้าบ่มิผู้นับถือ แท้แหล่ว

๑๑)  ฮีตปีคลองเดือน
       ได้แก่การปฏิบัติตามจารีตประเพณีต่างๆ  ซึ่งนิยมจัดทำเป็นประจำทุกเดือนทั้งสิบสองเดือนตามที่กำหนดไว้ใน  “ฮีตสิบสอง”  โดยึดหลักศาสนาเป็นหลักได้แก่งานบุญในรอบ  ๑๒  เดือน  โดยเอาใส่กันจัดทำ  มิได้ละเลยนับว่าเป็นการเคารพและปฏิบัติตามประเพณีและวัฒนธรรมของชาติทางหนึ่งอีกด้วย  ซึ่งรายละเอียดได้กล่าวไว้ในฮีตสิบสองแล้ว

๑๓)  ฮีตไฮ่คองนา
       ก่อนจะลงมือทำไรทำนาของชาวอีสานในสมัยโบราณนั้น  จะต้องมีการเลี้ยงผีตาแฮก คล้ายกับพิธีพืชมงคงและก็มีการลงแขกช่วยเหลือซึ่งกันและกันพยายาลงมือให้ทันฤดูกาล  และเอาใจใส่ดูแลพืชผลของตนโดยสม่ำเสมอมิละเลยและมั่นดูแลจึงจะได้ผลผลิตที่ดี  ฮีตไฮ่คองนามีเพื่อให้คนรู้จักเตรียมการว่าควรจะทำอะไรก่อนและอะไรควรทำทีหลัง  เพราะฤดูฝนนั้นมีเวลาน้อยจึงต้องรีบทำให้เหมาะกับกาลเวลานั้นๆ  ดังคำโบราณว่า
        เดือนหกให้หว่านกล้า        เดือนห้าให้แต่งไถ่
        เฮ็ดนาอย่าแพงกล้า        ไปค้าอย่าแพงทึน
        ดำนาหล้าหัวปีบ่ทันเพิ่น        กล้าขึ้นปล้องดำได้ก็บ่งาม

๑๔)  ฮีตวัดคองสงฆ์90
       เป็นหลักสำหรับบุคคลที่จะต้องยึดถือปฏิบัติในระหว่างชาวบ้านต่อพระศาสนา  ๑๔ ประการ  คือ
๑๔.๑)  เมื่อข้าวหรือผลไม้ผลิตดอกออกผลให้นำไปถวายพระภิกษุเสียก่อนแล้วตนเองจึงบริโภคภายหลัง
๑๔.๒)  อย่าทำตาชั่งปลอมหรือแปลงตาชั่ง  อย่าปลอมแปลงเงินตรา(อย่าจ่ายเงินแดงแปงเงินกว้าง)และอย่ากล่าวคำหยาบต่อกัน
๑๔.๓)  ให้พร้อมกันทำรั้วหลักและกำแพงล้อมวัดวาอารามและบ้านเรือนของตน  กับให้ปลูกหอบูชาไว้ทั้งสี่มุมบ้านเรือน
        ๑๔.๔)  ก่อนจะขึ้นบนบ้านให้ล้างเท้าเสียก่อน
๑๔..๕)  เมื่อถึงวันพระ ๘–๑๔–๑๕ ค่ำให้ทำการคารวะเตาไฟบันใดและประตูบ้านที่ตนอาศัยเข้าออกทุกคืน
        ๑๔.๖)  ก่อนเข้านอนให้ล้างเท้าเสียก่อน
๑๔.๗)  เมื่อถึงวันพระให้เมียเอาดอกไม้ธูปเทียนทำการคารวะผัวของตน(ผัวที่ดี)  และเมื่อถึงวันอุโบสถให้จัดดอกไม้ธูปเทียนไปถวายแด่พระภิกษุกับให้ทำการคารวะบิดามารดาปู่ย่าตายายด้วย
๑๔.๘)  ถึงวันพระเดือนดับ(ข้างแรม) และวันพระเดือนเพ็ญ(ข้างขึ้น)ให้นิมนต์พระภิกษุมาสวดมนต์ที่บ้านและทำบุญตักบาตรถวายทานท่าน
๑๔.๙)  เมื่อพระภิกษุสามเณรมาบิณฑบาตอย่าให้ท่านคอย  เวลาใส่บาตรอย่าให้ถูกตัวท่านและอย่าสวมรองเท้า กางร่ม  ให้ผ้าโพกศรีษะ  หรือถือศาสตราอาวุธเวลาใสบาตร
        ๑๔.๑๐)  เมื่อพระภิกษุเข้าปริวาสกรรมให้นำดอกไม้ธูปเทียนไปถวายท่าน
๑๔.๑๑)  เมื่อเห็นพระภิกษุผ่านมาให้นั่งลงยกมือไหว้แล้วจึงพูดจากับท่าน(ในข้อนี้ผู้วิจัยยังพบว่าชาวลาวยังยึดถือปฏิบัติอย่างมั่นคงอยู่ส่วนชาวอีสานก็มีบ้างท่านเท่านั้น)
        ๑๔.๑๒)  อย่าเหยียบเงาพระภิกษุสามเณรผู้ทรงศีล
        ๑๔.๑๓)  อย่านำเอาอาหารที่ตนเหลือกินไปถวายพระภิกษุสามเณร
        ๑๔.๑๔)  อย่าเสพกามคุณในวันพระ  วันเข้าพรรษา  วันออกพรรษา  และวันสงกรานต์ควรสำรวมในเรื่องเหล่านี้บ้าง  ส่วนคองสงฆ์น่าจะเป็นกิจวัตร  ๑๐  อย่างที่พระสงฆ์ทุกรูปควรปฏิบัติดังนี้คือ
        ๑)  ลงอุโบสถ            ๖)  อยู่ปริวาสกรรม
        ๒)  บิณฑบาตเลี้ยงชีพ        ๗)  โกนผมปลงหนวดตัดเล็บ
        ๓)  สวดมนต์ไหว้พระ        ๘)  ศึกษาสิกขาบทและปฏิบัติอาจารย์
        ๔)  เทศนาบัติ            ๙)  กวาดอาวาสวิหารลานพระเจดีย์
        ๕)  รักษาผ้าครอง        ๑๐)  พิจารณาปัจจเวกขณะทั้ง
91๔

ฺบ้านดอนเรดิโอออนไลน์




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons