วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

13.ผญาภาษิตที่สะท้อนถึงระบบครอบครัว

ผญาภาษิตที่สะท้อนถึงระบบครอบครัว
เป็นคำสอนที่แสดงถึงคู่ของบุคคลที่ต้องมีหน้าที่ปฏิบัติต่อกันในสังคม  บุคคลในสังคมถ้าตั้งใจปฏิบัติตามความสัมพันธ์ต่อกันในครอบครัว ความสงบสุขย่อมจะเกิดขึ้นในแต่คู่ของบุคคลนั้น  ในปัญหาเช่นนี้  สุภาษิตอีสานจะนำมาสอนในกรณีที่เป็นหลักจรรยาบันของสังคมในครอบครัว  ซึ่งจะเน้นให้บุคคลทำหน้าที่ของตน
         การดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมของมนุษย์จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์เป็นตัวนำทางให้สมาชิกของสังคมดำเนินชีวิตไปตามครรลองที่สังคมต้องการ  เครื่องมือในการนำทางดังกล่าวจึงถูกกำหนดมาในรูปแบบบรรทัดฐานทางสังคม  ค่านิยมที่ได้รับการถ่ายทอดมา  ว่าคนเรามีการตัดสินที่จะเลือกแนวทางในการปฏิบัติของตนเองตามปัจเจกชน   ชาวอีสานให้ความสำคัญกับคำถามที่ว่า”เราควรจะเลือกมีชีวิตอยู่อย่างไร” และควรทำอย่างไร  และควรเว้นอะไร  สิ่งเหล่านี้ล้วนมีอย่างละเอียดตั้งแต่เรื่องของมารยาท  การเลือกคบคนอย่างไรจึงจะดี  และควรเลือกคนอย่างไรมาเป็นคู่ชีวิตของตนเอง  และจะปฏิบัติต่อคนประเภทต่างๆอย่างไร  เช่น  กับพ่อแม่  พ่อตาแม่ยาย  ลูกเขย  ลูกสะใภ้  และต่อพระสงฆ์  ควรจะวางตนอย่างไร  เป็นหน้าที่ของจริยธรรมจะชี้บอกทางให้  และสังคมชาวอีสานยังมีเอกลักษณ์อย่างหนึ่งคือ  เป็นชุมชุนที่ยึดถือระบบญาติมิตรมาก  เพราะความจำเป็นทางสังคมก็ดี  ทางสิ่งแวดล้อมก็ดีล้วนแต่เป็นปัจจัยเกื้อกูลกันและกันให้ชาวอีสานต้องทำอย่างนั้น  และชาวอีสานชอบแสวงหาความสงบสันติทางสังคม  ดังจะเห็นอิทธิพลของสุภาษิตอีสานซึ่งเท่าที่พบจากวรรณกรรมคำสอนต่างๆพอประมวลจริยธรรมของบุคคลต่างได้ ๖ ประการคือ
        ๑ )  บิดามารดาตามนัยแห่งสุภาษิตอีสาน
พ่อแม่เป็นผู้มีพระคุณต่อลูกๆสุดจะพรรณนา ความรักลูกยิ่งกว่าสิ่งใดประดุจดวงตาดวงใจก็ไม่ผิด  พ่อแม่ทุกคนย่อมตั้งอยู่ในคลองธรรมและปฏิบัติต่อลูกหลาน  ในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ลูก  อุตสาห์เลี้ยงดูตั้งแต่เล็กจนโต  ให้ลูกได้ศึกษาเล่าเรียนความรู้ซึ่งจะช่วยให้ลูกมีสติปัญญาแนะนำเกี่ยวกับการอาชีพ  สำหรับลูกผู้ชายเมื่อมีอายุครบบวชพ่อแม่ก็จัดการบวชให้  พ่อแม่ย่อมเอื้ออาทรรักและห่วงใยลูก  สิ่งใดไม่ดีพ่อแม่ก็แนะนำห้ามปราม  มิให้กระทำชั่วพยายามให้ตั้งอยู่ในคุณความดี  จัดหาคู่ครองที่สมควรหรือจัดแต่งงานให้ตามจารีตประเพณีและหากมีทรัพย์ก็มอบให้ลูกครอบครองแทนตนต่อไป  พ่อแม่มีพระคุณต่อลูกถึงจะด่าลูกๆบ้างก็เพื่อความหวังดีของท่าน ดังคำกลอนสุภาษิตว่า
พ่อแม่ฮักลูกเต้าเสมอดังดวงตา    เถิงซิมีคำจาด่าเซิงคำฮ้าย
เผิ่นหากหมายดีด้วยดอมเฮาจั่งฮ้ายด่า    ความปากว่าบ่แพ้หัวใจนั้นหากบ่นำ
ยามเฮามีความต้องเจ็บเป็นไข้ป่วย    เผิ่นบ่ป๋าปล่อยถิ่มเฮาไว้ถ่อเม็ดงา
มีแต่แหล่นซ้วนหน้าหาของกินมาฝาก    ยากนำลูกน้อยๆความเว้าจ่มบ่เคย 5 นุ่ม
            วรรณธรรมชาวอีสานมีระบบเครือญาติสูงซึ่งจะพบว่าบรรดาลุง ป้า น้า อา และพี่ นับเป็นญาติชั้นสูงอาวุโส  ควรรู้วางตนให้สมกับเป็นที่เคารพนับถือของลูกหลานและญาติพี่น้อง  มีเมตตาธรรมไม่ถือตัวโอ้อวดมีอะไรก็ช่วยสงเคราะห์เป็นที่พึ่งพาอาศัยของญาติพี่น้องลูกหลานได้  หากลูกหลานและญาติพี่น้องถูกใคร่รังแกก็อาศัยเป็นที่พึ่งพากันในยามทุกข์ยากได้  ดังคำโบราณว่า
    ฝูงเฮาผู้เป็นลุงป้าอาวอาน้าพี่        ให้มีใจฮักพี่น้องวงศ์เชื้อลูกหลาน
    คนใดมีทุกข์ฮ้อนอ้อนแอ่วมาหา        ซ่อยอาสาเป่าปัดให้ส่วงคลายหายเศร้า
    การครองย้าว    เอาศีลธรรมเป็นที่เพิ่ง    ตามเปิงฮีตบ้านปางเค้าเก่ามา
    ไผมีงานหนักหนาให้หาทางซดซ่อย        บรรดาลูกหลานส่ำน้อยดีใจล้ำอุ่นทรวงฯ
    คุณปู่ ย่า ย่อมเป็นที่รักและเคารพของลูกหลาน  เปรียบประดุจด้วยเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของลูกหลานดังคำโบราณอีสานว่า
    อันปู่ย่านั้นหากฮักลูกหลานดั่งเดียวหลาย    ทั้งตายายก็ฮักลูกหลานหลายดั่งเดียวกันนั้น
    ลูกหลานเกิดทุกข์ยากไฮ้ได้เพิ่งใบบุญ    คุณของปู่ย่าตายายหากมีหลายเหลือล้น
    ควรที่ลูกหลานทุกคนไหว้บูชายอยิ่ง    เปรียบเป็นสิ่งสูงยกไว้ถวยเจ้ายอดคุณ
    บุญเฮาหลายแท้ที่มีตายายปู่ย่า    เพราะว่าเพิ่นเป็นฮ่มให้เฮาซ้นอยู่เย็น ฯ
แม้แต่ผู้ที่ไม่ใช่ญาติตนเองก็ยังมีความนับถือกัน  ซึ่งจะมีทั้งคนที่มีคุณธรรมในชุมชนของตนเองก็ยังได้รับการเคารพ  โดยถือกันว่าเป็นแนวทางของการปฏิบัติต่อท่านผู้สูงอายุ  ธรรมเนียมของชาวอีสานมักจะเคารพผู้อาวุโสในด้านต่างๆอาจเป็นด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ  และชาติวุฒิเป็นต้น  ดังนั้นคนเฒ่าคนแก่จะควรเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกหลานทั้งในด้ายความประพฤติและด้านจิตใจ  ดังคำโบราณอีสานว่า
    เป็นผู้เฒ่าให้ฮักลูกหลานเหลน    เป็นขุนกวนให้ฮักการเมืองบ้าน
    สมสถานเบื้องเฮิงฮมย์ถ้วนทั่ว    อย่าได้ฮักผิ่งพุ้นซังพี้บ่ดี
    อันว่าเฒ่าบังเกิดสามขานั้นฤา    หมายถึงคนวัยสูงผู้ควรถือหน้า
    ย้อนว่าเอาตนเข้าถือศีลฟังเทศน์    เถิงกับสักค้อนเท้าไปด้วยใส่ใจ
    ชาติที่เฒ่าบ่ฮู้วัตรคลองธรรม    ปาปังแถมซู่วันเวียนมื้อ
    เถิงว่าวัยชราเฒ่าหัวข่าวแข้วหล่อน  อายุฮ้อนขวบเข้าบ่มิผู้นับถือ แท้แหล่ว
        ๒ )  ครู และ อาจารย์
        ๓ )  สามีและภรรยา
ภรรยาคือชื่อว่าเป็นช้างท้าวหลังธรรมเนียมชาวอีสานเรียกว่าธรรมเนียมของภรรย169  เป็นการสอนในการครองเรือนให้มีความสุขที่เป็นข้อปฏิบัติสำหรับสามีภรรยาที่ต้องมีความรักใคร่ต่อกัน  การประพฤติหลักของอีตผัวคองเมียนี้นับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะธรรมดาทัศนะคติของคนสองคนที่มาเป็นคู่ครองกันนั้นย่อมแตกต่างกันไปตามอุปนิสัยบางคนแข็งกระด้างบ้างคนอ่อนน้อม  ดังนั้นปราชญ์อีสานจึงสอนว่าการเป็นสามีภรรยากันนั้นมันง่ายแต่จะครองรักอย่างไรจึงจะมีความสุขได้  ตามความเชื่อของคนไทยโบราณสอนว่าสามีเป็นช้างเท้าหน้าภรรยาเป็นช้างเท้าหลัง  เพราะสมัยโบราณนั้นผู้หญิงก็มีความเชื่อเช่นนั้นเป็นทุนอยู่เดิมเหมือนกันดังจะเห็นได้จากวรรณกรรมของอีสานทุกเรื่องจะอบรมสั่งสอนลูกหญิงให้เชื่อฟังผู้เป็นสามีแต่ฝ่ายเดียว  อาจเป็นด้วยเหตุก็ได้ที่ทำให้หญิงไทยชาวอีสานเป็นช้างเท้าหลังตลอดมา  แต่ในภาวะทุกวันนี้ทัศนะให้เรื่องเหล่านี้เริ่มเสื่อมลงไปตามภาวะเศรษฐกิจและบ้านเมืองที่เจริญมากขึ้นสิทธิสตรีก็เสมอกับชายทุกประการ  แต่ถึงกระนั้นก็ตามหญิงก็คือหญิง  สุภาษิตอีสานจะสอนให้ผัวเมียได้รู้จักปรับตัวเองให้เข้ากับสถานภาพของตน  คือเมื่อเป็นสามีภรรยากันจะต้องรู้จักให้เกียรติกัน  เคารพญาติทั้งสองฝ่าย  ให้มีความขยันมั่นเพียรในการทำมาหากิน  ให้รักเดียวใจเดียวชื่อสัตย์ต่อกัน  ดังคำกลอนสุภาษิตโบราณอีสานสอนในเรื่องหน้าที่ของภรรยาไว้  ๕ ประการว่า
    ๑)  กิจการบ้านให้ทางเมียเป็นใหญ่ให้เมียเป็นแม่บ้านการสร้างซ่อยผัว
    ๒)  ให้มีจาจาเว้าแถลงนัวเว้าม่วนอย่าได้ซึมซากฮ่ายคำเข้มเสียดสี
๓)ให้เมียเคารพชาติเชื้อสกุลฝ่ายทางผัวอันว่าญาติกาวงศ์วานทางฝ่ายผัวให้ค่อยยำเกรงย้าน
๔)  ให้ฮู้จักทำการเกื้อบริวารเว้าม้วนสงเคราะห์ญาติพี่น้องเสมอก้ำเกิ่งกัน
๕)  สินสมสร้างศฤงคารทรัพย์สิ่งผัวมอบให้เมียฮู้ฮ่อมสงวน
แม่ศรีเรือนตามที่ปรากฏในคำสอนชาวอีสานนั้นยังมีอีกนัยหนึ่งคือการใช้จ่ายทรัพย์ที่สามีหามาได้นั้นจะต้องคิดถึงความคุ่มค่าของสิ่งที่จะชื่อให้เป็นประโยชน์ต่อครอบครัวมากที่สุด  ดังคำสอนที่ว่า
    ควรที่จับจ่ายซื่อของจำเป็นสมค่าอย่าได้จับจ่ายใช้หลายล้นสิ่งบ่ควร
    คันแม่นทำถึกต้องคองผัวเมียโบราณแต่งจักลุลาภได้ชยะโชคเจริญศรี
        สถาพรพูนผลซู่อันโฮมเฮ้าจักงอกงามเงยขึ้นอุดมผลสูงส่งเงินคำไหลหลั่งเข้า 
        เจริญขึ้นมั่งมีบริบูรณ์ศรีสุขทุกข์บ่เวินมาใก้ล  
    นอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำสำหรับผู้เป็นศรีภรรยาที่พึ่งยึดถือปฏิบัติตนในการครองเรือน การจะครองเรือนให้มีความผาสุขได้นั้นจะต้องมีทั้งจรรยามารยาทอันดีงามต่างๆเข้ามาประกอบด้วยคือประกอบพร้อมทั้งทางกาย  วาจา  และน้ำใจของภรรยา ซึ่งจะพบมากในคำกลอนโบราณของอีสานที่มักจะสั่งสอนลูกสาวของตนที่จะแยกครอบครัวออกไปจากพ่อแม่  ซึ่งชาวอีสานเรียกว่าข้อวัตรปฏิบัติสำหรับผู้เป็นภรรยา ดังคำสอนนี้ คือ
แนวแม่หญิงนี้บ่มีผัวซ้อนนอนนำก็บ่อุ่นแม่หญิงซิตั้งอยู่ได้เป็นใหญ่ใสสกุลก็เพราะคุณของผัวคว่ามาแปลงสร้างแม่หญิงนี้ซิมีคนย้านนบนอบยำเกรงก็เพราะบุญของผัว  แม่หญิงซิมีคนล้อมบริวารแหนแห่  ก็ย้อนผัวแท้ๆอย่าจาอ้างว่าโต  ผัวหากโมโหฮ้ายใจไวเคียดง่าย    ให้นางเอาดีเข้าใจเว้าอย่างแข็ง  อย่าได้แปลงความส้มขมในให้ผัวขื่น  ให้เอาดีขื่นไว้ใจเจ้าให้อ่อนหวาน    อุปมาเปรียบได้ดั่งอ้อมันหากอ่อนตามลม  ธรรมดาว่าอ้อลมมาบ่ห่อนโค่น    เพราะว่ามันบ่ตั้งขันสู่ต่อลม  คือดังสมเสลานัอยสอยวอยงามยิ่ง  ก่อผัวซิฮักกล่อมกลิ้งแฝงผั้นบ่มาย  เพราะนางเป็นคนดีได้ใจบุญสอนง่าย บ่เป็นคนบาปฮ้ายใจบ้าด่าผัว มีแต่ทำโตน้อมถนอมผัวโอนอ่อน  บ่แสนงอนดีดดิ้นศีลห้าหมั่นถนอม  หาแต่แนวมาล้อมศีลธรรมคำขอบ  เว้านอบน้อมต่อผัวนั้นซู่วัน   
             อันนี้ชื่อว่าเป็นหญิงมั่นในคองพุทธบาท   เทวดากะซิย่องผิวเนื้อผ่องใสหัวใจเจ้าเป็นหญิงสมชื่อ  ถือคุณผัวขึ้นไว้เพียงแก้วหน่วยตา  ธรรมดาคนนี้อับจนก็ตามซ่าง  ให้ถือคุณผัวขึ้นไว้เมื่อหน้าหากซิมีเจ้าเอย อันหนึ่งในนาถน้อยตื่นก่อนผัวตน  ให้ปรนนิบัติผัวบ่อนนอนหมอนมุ้งยามยุงบินเข้าสมเสลาให้เจ้าไล่ คันเดิกซอกไซ้ให้นอนใกล้หม่อผัว  เจ้าอย่าได้กลังเกรงย้านผ้าห่มคลุมหัว  ให้ผัวนางนอนอยู่สบายหายฮ้อน  นางจงนอนลงถ้อนดอมผัวกลั้วกลิ่น  ให้ผินหน้ามาบีบคั้นขาเส้นนวดเอ็นเจ้าเป็นผู้ฮู้ดูหล่ำดอมผัว  ให้เข้าครัวหาอาหารข้าวปลาวางตั้ง    กับทั้งขั้นน้ำพร้อมวางตั้งจั่งคือผ้าเซ็ดมือพร้อมบรบานทุกสิ่ง    อันว่ากินข้าวนั้นอย่าได้เฮ็ดมูมมาม  นิ้วมืองามของเจ้าอย่าฟั่งงมกินต่อน    บ่วงและซ้อนตักแล้วค่อยกิน  ยามเมื่อกินข้าวให้ผัวลงมือกินก่อน  ยามซินอนให้ไหว้ผัวแล้วจึงนอน  ปรนนิบัติได้จั่งซี้ซิลุลาภได้เงินแก้วมั่งมูล คันว่าผัวหากเดินดั้นมาแต่ทางไกล  ขอให้นางฮีบฮับต้อนเตรียมท่าผ่อผัว  อย่าได้ทำคือบ้าผัวมาบ่อยากเบิ่ง  ผัวมาฮอดบ้านอย่าเฮ็ดบึ้งตึงสีหน้าบ่บาน ผัวซิพาลหาเรื่องคำแข็งโกรธด่า  ห่าว่าเป็นแม่ฮ้างปานเสียแก้วมืดมัว ตนตัวน้องซิเสียศรีหมองหม่น  เพราะคนซิเว้าชาวบ้านกล่าวขวัญ  ขอให้นวลนางน้องตรองดูให้มันถี่  ให้นางยินดีดอมเผ่าผู้ผัวแก้วแห่งตน ให้นางนำไปเลี้ยงสนองคุณปู่ย่า  ให้ระวังปากอย่ากล้าใจพร้อมพร่ำกาย  อย่าได้เป็นหญิงฮ้ายเกเรหลงเพศ  ปากกล่าวต้านสูงพ้นลื่นคน  มันซิผิดหูเฒ่าสองคนปู่ย่าทั้งมวลพี่น้องลุงป้าฝ่ายผัว  ขอให้นางฮักยิ่งล่ำผัวแก้วแห่งตน ผัวหากขวนขวายเลี้ยงแลงงายซู่ค่ำนางเอย คำปากหวานจ้อยๆนำผัวแก้วซู้วัน ขอให้พันธนังติดอย่าหน่ายซังแหนงเว้น  อันหนึ่งขึ้นขั้นไดอย่าเอาตีนทึบ อย่าได้สืบความเพิ่นมาจาตาบ่เห็นอย่าได้เว้าว่าแน่  ขอให้เจ้าเว้าแต่ในทางที่ดี เขาบ่มีความผิดอย่าได้ป้อยด่า อย่าอวดอ้างตีนถีบตีนทำ  ในคำสอนห้ามไว้หลายวาท  อย่าได้กวาดเฮือนเย้ายามกลางค่ำกลางคืน อย่าเอาฟืนจี่หัวก้อนเส้า อย่ากินข้าวเขาะเช้าเขาะแลงอย่ากินแกงผักที่ติดก้นขี้หม้อ  ไม้ค่อล่ออย่าได้เอามาหนุ่น อย่ากินปูนเขาะก้นขี้เถ้าอย่าได้คัวเอาเสื้อเช็ดปาก    อย่าตากผ้าไว้เทิงหลังคา ยามซินอนให้ภาวนายกมือไหว้พระ  อย่าได้เลอะละเอาอาหารเก่ามาให้ผัวกิน อย่ายินดีนอนสูงกว่าผัวของเจ้า    เก็บของเข้าเหมิดแล้วจั่งนอน  เถิงตอนยามเช้าให้เตรียมขันน้ำขันท่าทั้งผ้าเช็ดหน้าเตรียมไว้อย่าให้ถามเป็นหญิงนี้ยามเมื่อห่วนๆก้องกลองตีใกล้ซิฮุ่ง  ให้ฮีบลุกนึ่งข้าวเอาไว้ใส่จั่งหัน  ลุกมาหาไต้คีไฟให้ค่อยย่อง  มีเงินทองให้ทำบุญสร้างศิลทานเช้าค่ำ  บุญซิซ่วยนำให้ลุลาภได้สุขถ้วนซุ่ยาม ธรรมดาคนนี้ควรไปมาหาสู่ ถามข่าวมวลพี่น้องวงศ์เชื้อชาติตนยามขัดสนหรือไข้เจ็บเป็นเอ็นอุ่น  เจือจุนญาติพี่น้องหายฮ้อนเพิ่งเย็น ฯ
    นี้คือคุณสมบัติของสตรีชาวอีสานที่ปฏิบัติต่อสามีและบุคคลๆ  ตลอดถึงมีความขยันและเอาใจใส่ในพระพุทธศาสนา และให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลและธรรมพร้อมทั้งเป็นผู้มีจิตใจอันเป็นบุญเป็นกุศล  นี้คือกุลสตรีตามทรรศนะของคำสอนอีสาน  จะพบว่าเป็นยอดหญิงอย่างแท้จริง ถ้าทำได้อย่างนี้

bandonradio




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons