วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

bandonradio :คำผญาภาษาอีสาน:บ่าวริมโขง

๔ )   ผญาภาษิต
เป็นคำสอนที่ให้คติธรรมอันลึกซึ้งแก่ชาวอีสานมาอย่างยาวนาน  และเป็นคำสอนในลักษณะเปรียบเทียบ  หรือให้ชี้ให้เห็นสัจจธรรมในการดำเนินชีวิต  ผญาภาษิตอีสานมีรากฐานมาจากคำสอนในทางพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะพุทธศาสนสุภาษิตที่มีอิทพลต่อคำผญาภาษิตอีสานเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะคนอีสานนิยมสอนบุตรธิดาของตนโดยทางอ้อม  ไม่ได้สอนโดยทางตรง  เมื่อท่านจะสอนในเรื่องใดท่านมักจะผูกเป็นคำอุปมาอุปไมย  โดยกล่าวถึงข้อเท็จจริงคือความเป็นอยู่และกิริยาอาการหรือความประพฤติของคนหรือสัตว์  ไม่ว่าในทางดีหรือทางชั่วอันเป็นไปในทางรูปธรรม  เพื่อให้เกิดแง่คิดในทางนามธรรมเป็นข้อเปรียบเทียบกับรูปธรรม  ผญาภาษิตนี้ส่วนมาจากคำสอนในหนังสือวรรณคดีเรื่องต่างๆ
สุภาษิตอีสานโดยภาพรวมจึงเกิดมาจากวรรณคดีทั้งทางศาสนาและประเพณีวัฒธรรมของชาวอีสานเป็นส่วนใหญ่  เพราะวรรณกรรมทางภาษาซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตน  คือใช้วรรณกรรมคำสอนทั้งสองสายเป็นสื่อในการสั่งสอนจริยธรรมตลอดถึงวิถีดำเนินชีวิต  ตามความเชื่อและมีการตัดสินความดีความชั่วในสังคมด้วย   ดังนั้นสุภาษิตอันเกิดจากวรรณกรรมคำสอนทั้งสองสายจึงเป็นภาพสะท้อนถึงชีวิตคนและสังคมชาวอีสาน  พอจะนำมากล่าวถึงมี  ๔ ประการใหญ่ดังนี้ คือ
๒.๑.๒  ลักษณะของพุทธภาษิต
    ลักษณะทั่วไปของพุทธศาสนสุภาษิตนั้นจัดแบ่งได้  ๒  ลักษณะ  คือ ๑.  ลักษณะทางฉันทลักษณ์  ๒.  ลักษณะทางเนื้อหา
    ๑. ลักษณะทางฉันลักษณ์
เป็นคำร้อยกรองในภาษาบาลีเรียกว่า  ฉันทลักษณะ  เป็นคำประพันธ์ที่กำหนด  ครุ  ลหุ  กำหนดจำนวนคำตามข้อบังคับของฉันท์แต่ละชนิด  ฉันท์  ๑  บท  เรียกว่า ๑ คาถา  ฉันท์  ๑ คาถา  มี  ๔  บาท  ฉันท์  ๑ บาทมี  ๘  คำ  ไม่เกิด  ๑๑  คำ  หรือ  ๑๔  คำ  ตามประเภทของฉันท์  นี้เป็นฉันท์ประเภทหนึ่งที่เรียนรู้และรู้จักกันเป็นอย่างดีในวงการภาษาบาลีในประเทศไทย  ๖  ชนิด๕  คือ (๑ )  ปัฐยาวัตรฉันท์  (๒)  อินทรวิเชียรฉันท์  (๓)  อุเปนทรวิเชียรฉันท์  (๔)  อินทรวงศ์ฉันท์  (๕)  วังสัฏฐฉันท์  (๖)  วสันตดิลกฉันท์
    อีกนัยหนึ่งแบ่งตามลักษณะของวิธีการสอนของพระพุทธเจ้า  ลักษณะเนื้อหาของพุทธภาษิต  ผู้เชียวชาญทั้งหลายได้แบ่งเนื้อหาของสุภาษิตในพระพุทธศาสนาออกเป็นประเภทต่างๆ  ตามลักษณะของรูปแบบคำสอนในพุทธศาสนาเรียกอีกอย่างว่า  “นวังคสัตถุศาสตร์”๖  คือคำสอนของพระศาสดามีองค์  ๙  พุทธพจน์มีองค์ประกอบ  ๙ อย่าง  คือ
    ๑  )  สุตะ  คือคำสั่งสอนที่เป็นพระสูตรและพระวินัย  รวมทั้งคัมภีร์ทั้งสองด้วยโดยมีลักษณะเป็นสูตร  ซึ่งประกอบไปด้วยระเบียบแบบแผนมีลำดับขั้นตอนต่างๆ  อันมีข้อธรรมเป็นลักษณะคือ จากข้อหนึ่งถึงสิบข้อ
    ๒  )  เคยยะ  คือ  คำสอนที่เป็นลักษณะทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน  ได้แก่พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด
    ๓  )  เวยยากรณะ  (ไวยากรณ์)  คือคำสอนเป็นแบบร้อยแก้วล้วนได้แก่พระอภิธรรมปิฏกทั้งหมด  และพระสูตรที่ไม่มีคาถา
    ๔  )  คาถา  คือ  คำสอนแบบร้อยกรองล้วนๆ  เช่น  ธรรมบท, เถรคาถา,  เถรีคาถา
    ๕  )  อุทาน  คือ  คำสอนที่เปล่งออกมาเป็นคำที่มีความหมายต่างๆตามสถานการณ์นั้นๆ  เช่น  สมัยเกิดความสังเวช , สมัยเกิดความปีติยินดีบ้าง  ซึ่งเป็นพระคาถา  ๘๒  สูตร
    ๖.  )  อิติวุตตกะ  เป็นเรื่อง  อ้างอิง  คือการยกมากล่าวอ้างของพระสังคีติกาจารย์ผู้รวบรวมโดยไม่บอกว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องเหล่านี้แก่ใคร  ที่ไหนชื่อพระสูตรเหล่านี้มักขึ้นต้นด้วยคำว่า  วุตตัง  เหตัง  ภควตา  (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้)  เหมือนกันหมด  จึงเรียกว่า  อิติวุตตกะ  แบ่งเป็น  ๔  นิบาตมีทั้งหมด  ๑๑๒ สูตร
    ๗  )  ชาดก  คือ  คำสอนที่กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตทั้งที่เป็นเรื่องราวในอดีตของพระพุทธเจ้าบ้าง  สาวกบ้าง เป็นธรรมภาษิตในลักษณะการเล่านิทานธรรมอยู่ในเรื่อง  ส่วนมากจะเป็นนิบาตชาดก
    ๘.  )  อัพภูตธรรม  คือคำสอนที่เป็นเรื่องราวอันน่าอัศจรรย์ใจหรือเรื่องปาฏิหาริย์
    ๙.  )  เวทัลละ  คือคำสอนที่สูงขึ้นไปตามลำดับ  อาศัยการวิเคราะห์แยกแยะความหมายอย่างละเอียด เช่นพระอภิธรรมเป็นต้น
๒  ลักษณะทางเนื้อหา
เมื่อพิจารณาถึงเนื้อหาและความหมายของพุทธธรรมแล้วอาจแบ่งได้  ๒ ลักษณะด้วยกัน  คือ  ลักษณะที่เป็นสิ่งทั้งปวงและสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
๒.๑  ลักษณะที่เป็นสิ่งทั้งปวง
ตามนัยนี้  มีความหมายปกคลุมทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล  รวมทั้งสิ่งที่เป็น สังขตะและอสังขตะ  ทั้งที่เป็นรูปและเป็นนาม  ทั้งส่วนที่เป็นโลกีย์และโลกุตตร๑
สังขตธรรม  ได้แก่สิ่งทั้งปวงที่มีปัจจัยปรุงแต่ง  ซึ่งอาจทราบได้ในลักษณะต่อไปนี้  “มีเกิดขึ้นในเบื้องต้น  เปลี่ยนแปลงไปในท่ามกลางและแตกดับไปในที่สุด”๒  อสังขตธรรมนี้ได้แก่พระนิพพาน  อันเป็นความดับทุกข์โดยเด็ดขาด  ไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยอะไรปรุงแต่งได้เลย  แต่มีลักษณะให้ทราบได้  ๓ ประการ คือ  “ไม่เกิดขึ้นปรากฏ ไม่ดับไปปรากฎ  และขณะที่ดำรงอยู่ก็ไม่มีความเปลี่ยนแปลงปรากฏ” ๓
มีข้อที่ควรทราบอีกอย่างหนึ่งคือ  สังขตธรรมนั้นหมายเอาทั้งโลกุตตรธรรม  ๘ ประการ อันมีมรรค  ๔ ผล ๔ ด้วย  ส่วนอสังขตธรรมหมายเอาพระนิพพานอย่างเดียว  ซึ่งก็จัดว่าเป็นโลกุตตรธรรมเหมือนกัน  ในพุทธศาสนาได้กล่าวถึงลักษณะของสิ่งทั้งปวงไว้หลายอย่าง  เช่น  ธรรมตา, ธรรมธาตุ, ธรรมฐิติตา, ธรรมนิยามตา, ซึ่งแต่ละคำก็เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า พุทธธรรมะคือสิ่งหนึ่งซึ่งดำรงอยู่ด้วยตัวเอง  มีความถูกต้องและเป็นอิสระในตัวเองโดยสมบูรณ์  มันเป็นกฎของจักรวาลหรือเป็นกฎเกณฑ์อันหนึ่งของธรรมชาติ  ซึ่งคงอยู่ชั่วนิรันด์และมิไดถูกสร้างขึ้นใหม่  เป็นสภาพที่มีอยู่อย่างนั้น  พระพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นก็ตาม  มิได้ทรงอุบัติก็ตาม  สภาวะที่เรียกว่า ธรรมะ  นั้น  ก็คงอยู่อย่างนั้น  มิได้เปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ดังพุทธพจน์ตรัสว่า  “สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง  สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์  และธรรมทั้งป่วงเป็นอนัตตา”๔
ทั้ง  ๓ ลักษณะนี้เรียกว่ากฎของธรรมดาหรือธรรมชาติ  ข้อหนึ่งและสองใช้กล่าวถึงธรรมชาติของสังขตธรรม  คือธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่ง  ส่วนข้อสุดท้ายใช้กล่าวถึงธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตานั้นใช้กล่าวถึงทั้งสังขตธรรมและอสังขตธรรม  ดังพุทธพจน์ที่มาในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย  เป็นหลักฐานยืนยันข้อความข้างบนนั้นได้เป็นอย่างดีคือ
“ตถาคตเจ้าจะอุบัติขึ้นก็ตาม  จะไม่อุบัติขึ้นก็ตามธรรมเหล่านี้ก็คงอยู่อย่านั้น  ตั้งอยู่อย่างนั้น  และเป็นอยู่อย่างนั้น  คือสังขารทั้งปวงไม่เที่ยง  สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์  และธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา  ธรรมเหล่านี้ตถาคตได้รู้แจ้งแทงตลอดด้วยตนเองแล้วจึงได้นำมาประกาศแก่คนอื่น”
ได้ความว่าทั้งสังขตธรรมและสังขตธรรมที่กล่าวมานั้นรวมอยู่ในคำว่า สิ่งทั้งปวงอันเป็นสภาวะที่มีอยู่เดิม  และคงอยู่อย่างนั้นพระพุทธเจ้าจะทรงอุบัติขึ้นก็ตามไม่ทรงอุบัติขึ้นก็ตาม  จะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม  สภาวะนั้นก็คงอยู่อย่างนั้น  มิได้ถูกสร้างขึ้นมิได้ถูกทำลายโดยผู้ใดผู้หนึ่ง  พระพุทธเจ้ามิได้เป็นผู้สร้างขึ้น  เป็นเพียงผู้ค้นพบแล้วนำมาสอนคนอื่นเท่านั้นดังพุทธพจน์ว่า  “พวกเธอจงพยายามทำความเพียรบากบั่นเองเถิด  เราตถาคตเป็น  แต่ผู้บอกแนวทางให้เท่านั้น”๕
๒.๒.ลักษณะที่เป็นคำสอน
ลักษณะคำสอนนี้ก็รวมอยู่ในคำว่า  สิ่งทั้งปวงนั้นเอง  พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนอย่างไรหรือมีอะไรที่พระพุทธองค์ทรงสอน  และมีสิ่งใดที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงสั่งสอน  พระพุทธเจ้าทรงรู้ทุกสิ่งทุกอย่างจึงมีพระนามว่า สัพพัญญู  แต่พระองค์มิได้ทรงสอนทุกอย่างที่พระองค์ตรัสรู้  ทรงสั่งสอนเฉพาะสิ่งที่จำเป็นในการปฏิบัติ  เพื่อความพ้นทุกข์เท่านั้น
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดรวมอยู่ในคำว่า ธรรมหรือคำว่าศาสนาซึ่งหมายเอาทั้งปริยัติ (ทฤษฎี)และปฏิบัติ และปฏิเวธคือการรู้แจ้งแทงตลอดด้วย  จะเห็นได้ว่าพุทธภาษิตนั้นเป็นคติเตือนใจของพุทธศาสนิกชนได้  จนบางครั้งสามารถเป็นกำลังใจและสามารถมีผลทำให้คนหยุดกระทำความชั่วได้นอกจากนั้นสุภาษิตก็ยังได้ชื่อว่าเป็นตัวแทนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นพระธรรมวินัย  เป็นที่พึ่งแทนพระองค์สมดังพุทธวจนะมาในมหาปรินิพพานสูตรความว่า
    “อานนท์  พวกเธอทั้งหลายอาจจะคิดว่า  พระธรรมวินัยมีพระศาสดาล่วงลับไปแล้ว  พระศาสดาของพวกเราไม่มีแล้ว,  อานนท์  พวกเธอทั้งหลายไม่ควรเข้าใจอย่างนั้นแล้ว  สำหรับพวกเธอทั้งหลายนั่นแล  จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย  ในเมื่อเราตถาคตล่วงลับไปแล้ว”๖
    พระพุทธเจ้าทรงสอนธรรมแก่ประชาชนด้วยวิธี  ๓  อย่างด้วยกัน  และวิธีการทั้ง  ๓  นี้ถือว่าเป็นหลักการสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีข้อดังนี้๗
    ๑)  พระองค์ทรงสั่งสอนเพื่อให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงในธรรมที่ควรรู้ควรเห็น
    ๒)  ทรงสั่งสอนมีเหตุผลที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
    ๓)  ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้ประโยชน์โดยสมควรแก่การปฏิบัติ
    อีกนัยหนึ่งเนื้อหาสาระแห่งพระโอวาทที่พระองค์ทรงประทานแก่พุทธบริษัทเสมอๆนั้น  ประมวลลงในหลักการ  ๓  อย่างคือ๘
    ๑ )  สั่งสอนให้เว้นจากการทำบาปทั้งปวง ทุจริต
    ๒)  สั่งสอนให้ทำกุศลทั้งปวง
    ๓)  ทำจิตให้ผ่องแผ้ว
ในคัมภีร์ทีฆนิกายกล่าวยืนยันถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธปัญหาทางอภิปรัชญา ๑๐ ประการเรียกว่า อพยากตปัญหาหรือปัญหาโลกแตก  แต่พระองค์ทรงตรัสสอนอริยสัจ  ๔ ประการเป็นคำสอนของพระองค์  คือ เรื่องทุกข์  เหตุให้ทุกข์เกิด  ความดับทุกข์ และทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์เป็นคำสอนของเราตถาคต  โปฏฐปาทะทูลถามต่อไปอีกว่าเพราะเหตุใดพระองค์จึงทรงสอนสิ่งเหล่านี้  พระพุทธเจ้าทรงตรัสอรรถาธิบายต่อไปอีกความว่า
“ที่เราสอนเรื่องนี้  เพราะมันเป็นประโยชน์  เป็นความจริง เป็นวิถีแห่งชีวิตอันประเสริฐ  ไม่ติดอยู่ในโลก  เป็นไปเพื่อดับตัณหา  เป็นไปเพื่อความสงบระงับใจ  เป็นไปเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริง  และเป็นไปเพื่อพระนิพพาน  ดังนั้นเราจึงได้นำมาสอนแก่สาวกทั้งหลาย”๙
จากพุทธพจน์นี้ชี้ให้เห็นว่า อริยสัจ ๔ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือเป็นคำสอนที่พระองค์ทรงเน้นให้เห็นถึงปัณหาชีวิตในปัจจุบันที่มนุษย์ทุกรูปทุกนามประสบอยู่สิ่งนั้นคือ ทุกข์  พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า  ชีวิตเต็มไปด้วยทุกข์ในบางครั้งที่รู้สึกว่าเป็นสุขนั้นเป็นเพียงความหลงเท่านั้น  ที่แท้แล้วสิ่งที่เรียกว่าสุขนั้น  ก็คือความทุกข์นั้นเอง  ทุกข์ดังกล่าวนี้เกิดมาจากตัณหา  เมื่อไม่มีตัณหาก็ไม่มีทุกข์อีกต่อไป  พุทธภาษิตแล้วมีลักษณะทางคำสอนดังนี้คือ
๑ )หลักคำสอนในพุทธศาสนา  เป็นหลักธรรมทางเสรีภาพที่เก่าแก่ที่สุดในโลก  มีหลักการและวิธีการอันไม่ประกอบด้วยกาลเวลา  เมื่อบุคคลประพฤติปฏิบัติตามย่อมได้ผลทันตา
๒ )  พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้เลิกละความเป็นทาสภายในใจตนเองนั้นคือ โลภะ โทสะ โมหะ
๓.)  พุทธองค์ทรงสอนให้มนุษย์ทั้งปวงอยู่กันด้วยความมีเสรีภาพไม่เบียดเบียนกัน ให้เลิกดูหมิ่นกัน  เพราะถือชาติ  วรรณะ  โคตร  โดยมองให้เห็นว่าเป็นแก่นสารแห่งชีวิต  แต่กลับสอนให้มนุษย์มองถึงฝ่ายใน  คือความมีศีลธรรมเป็นเกณฑ์ในการตัดสิ้นคนดีหรือชั่ว
    ๔.)  หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าสั่งสอนให้มนุษย์รู้จักการเสียสละ  การเว้นการฆ่าสัตว์ตลอดถึงการทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน  พุทธภาษิตเน้นวิธีการให้เกิดความสังคมสงเคราะห์  แทนการเอาเปรียบกันและกัน  และสอนให้หันมาชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาดแทนซึ่งเป็นการทำบุญที่สูงสุด
    ๕ )  พุทธพุทธเจ้ามุ่งสั่งสอนวิธีตรงเข้าหาความจริงและให้รู้จักกับความเป็นจริงของชีวิต  โดยมองว่าชีวิตมนุษย์มีความเกิดแก่เจ็บตาย เป็นกฎแห่งพระไตรลักษณ์  รวมทั้งสอนให้รู้จักดำเนินชีวิตให้ตรงไปตรงมาไม่ควรเชื้อเรื่องฤกษ์ยาม  น้ำศักดิ์สิทธิ์  แต่กับสอนให้รู้จักทำช่วยตนเองเป็นหลักสำคัญ  และสอนให้มนุษย์เข้าใจถึงการเกิดในภพต่างๆ  เพราะแรงแห่งตัณหาเป็นปัจจัย
    ๖.)  พุทธภาษิต  เป็นวิธีการสอนให้แก้ความเสื่อมทางศีลธรรม  โดยไม่มองข้ามปัญหาทางเศรษฐกิจ  สอนให้แก้ความชั่วด้วยความความดี  สอนให้แก้ที่ตัวเราเองก่อน  โดยไม่คอยเกี่ยงให้คนทั้งโลกดีหมดแล้วจึงจะดีเป็นคนสุดท้าย
๗ )  พุทธภาษิตมุ่งสอนให้มนุษย์ตระหนักถึงเรื่องของสติปัญญาในการดำเนินชีวิต  โดยให้ใช้ความรอบคอบในการแก้ไขปัญหา  ด้วยการพิจารณาให้เห็นสาเหตุแห่งทุกข์  แล้วแก้ไขให้ตรงจุด  ไม่ให้เชื้ออย่างงายไร้เหตุผล
๘ )  พุทธภาษิตมุ่งเน้นให้มนุษย์ยึดถือธรรมเป็นใหญ่  เรียกว่าธรรมาธิปไตย  ไม่ให้ยึดถือตนเป็นสำคัญ  และให้ถือการปฏิบัติเป็นสำคัญในการบูชา
๙.)  พุทธภาษิตมุ่งสอนให้มนุษย์พยายามพึ่งตนเอง  และฝึกฝนตนเองมากกว่าพึงพาผู้อื่น  เพื่อยกระดับชีวิตตนเองให้ก้าวหน้า  ไม่สอนให้รอการอ้อนวอนบวงสรวงจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์  และยึดหลักว่ามนุษย์มีกรรมเป็นของๆตน  ด้วยการทำดีได้ดีนั้นเอง
๑๐ )  พุทธภาษิตพยายามไม่สอนให้พุทธบริษัทอย่าเชื้อถือสิ่งได้ด้วยการเด่า  แต่ให้เชื่อหลักของพุทธศาสนาที่มีหลักการดีกว่า
๑๑ )  พุทธภาษิตเสนอหลักการให้มนุษย์ทำความดีงามเพราะเห็นแก่ความดี  ไม่ทำความดีเพื่อมุ่งลาภ  ยศ  สรรเสริญ  และพุทธศาสนาก็มีหลักการที่พิสูจน์ได้ทุกสมัย
๑๒ )  พุทธภาษิตต้องการให้มีความขยันหมั่นเพียร  ไม่เกียจคร้าน  ยิ่งเป็นฆราวาสย่อมต้องใช้หลักธรรมนี้ให้มาก  เพราะการครองเรือนที่มีความสุขได้ต้องมีทรัพย์เป็นเครื่องค้ำจุน  จึงจะตั้งตัวได้ดี
    ๑๓ )  พุทธภาษิตต้องการให้เอาชนะความชั่วด้วยความดี  ให้ระงับการจองเวรต่อกัน  และอย่าได้ก่อความวุ่นวายให้แก่ผู้อื่น  ให้รู้จักการผูกไมตรีต่อกัน  โดยการเอื้อเพื้อเผือแผ่แก่กันและกันคือสละสุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน  สละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ  สละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตและสุดท้ายก็สละชีวิตเพื่อรักษาธรรม
    ๑๔ )  พุทธภาษิตต้องการสอนให้มนุษย์มีความอดทน  ต่อสู้กับความลำบากต่างๆเพื่อเอาชนะอุปสรรคทั้งหลาย  ไม่เป็นคนอ่อนแอ  และขณะเดียวเมื่อมีความสุขก็อย่าได้หลง  ให้ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท  ชีวิตจึงจะพบกับความสุข  ดังนั้นพุทธภาษิตก็ยังพยายามให้คนรู้จักรักษากายวาจาและใจของตนให้เป็นปกติ 
    ๑๕ )  พุทธภาษิตต้องการเสื่อให้เห็นหลักการปกครองที่เป็นธรรม  โดยยึดหลักความละอายต่อความบาป  และความชั่วทั้งหลาย  ทั้งผู้นำรัฐและผู้ปกครองในระดับท้องถิ่นควรมีหลักธรรมอย่างนี้  พุทธศาสนาสอนให้รู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น  อย่าดูหมิ่นผู้อื่นเพราะชาติตระกูล  เพราะทรัพย์  และอย่ามีอคติต่อกัน  เจ้านายก็ให้รู้จักใช้บ่าว  ตลอดถึงการรู้จักเลือกคบกับมิตรที่ดี  เว้นบาปมิตร 
    ๑๖ )  พุทธภาษิตสอนให้ใช้ปัญญานำหน้าในการดำเนินชีวิต  และสอนให้รู้จักการศึกษา เข้าหาผู้เป็นบัณฑิต  และเว้นพาลชน  เพื่อความก้าวหน้าแห่งตน  และสอนให้รู้จักแบ่งปันกันเพื่อความผาสุขแห่งสังคม  และอย่าได้ก่อศัตรูขึ้นมาโดยถือว่ามนุษย์ทุกคนไม่มีดีที่สมบูรณ์  แต่ให้มองหาความดีของผู้อื่น  และสอนให้มองดูธรรมชาติโดยความเป็นจริง  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจะได้ไม่เป็นทุกข์  และต้องพยายามเดินตามแนวทางสายกลางย่อมเป็นประตนและผู้อื่นตลอดถึงประโยชน์สูงสุดคือพระนิพพาน
    ๑๗. )  พุทธภาษิตสอนให้ยึดปรมัตถ์ประโยชน์  อย่าหลงในสิ่งอันเป็นสิ่งสมมติอันเป็นสิ่งบัญญัติ   แต่ดูโดยรู้เท่าทัน  พยายามใช้ปัญญาเป็นเครื่องส่องทางแห่งชีวิตตน  พุทธภาษิตสอนให้รู้จักตอบแทนผู้มีพระคุณว่าเป็นสิ่งมงคล และสอนให้รู้จักหลักการดำเนินไปสู่พระนิพพาน  ว่าเป็นยอดแห่งความสุข 

bandonradio




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons