วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

::ชนะสันทะยอดคำสอน::bandonradio

๑๓.  ชนะสันทะยอดคำสอน
       วรรณกรรมเรื่องนี้น่าจะเป็นตอนที่พระเจ้าปัสเสนทิโกศลพร้อมกับพระนางมัลลิกาเทวีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า  แล้วทรงทูลถามในเรื่องพระสุบินนิมิตพระผู้มีพระเจ้าทรงตรัสพยากรณ์และก็ทรงสั่งสอนว่า  “ ปางนั้น  ปัสเสนเจ้าทงศีลบ่ให้ขาด  มีศรัทธาเที่ยงมั่นบ่ไลม้างทอดทาน  กับทั้งมัลลิกแก้วเทวีเทียมพ่าง  ปางนั้น  ศีลห้าตั้งแลงเช้าบ่ได้ไลกับทั้งศีลแปดตั้งเพียรแต่งวันอุโป122”  เป็นต้น  ในวรรณกรรมเรื่องนี้ท่านเจ้าคุณพระอริยานุวัตร  เขมจารี  ได้ปริวรรตเป็นภาษาไทยโดยโครงการของมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒมหาสารคาม  เป็นลักษณะเป็นเทศนาโวหาร ในเนื้อเรื่องได้แบ่งเป็นบั้นๆ(ตอน)  เป็นเรื่องที่นักปราชญ์ของท้องถิ่นอีสานได้นำความเชื้อ  จารีตประเพณีและคตินิยมในท้องถิ่นเข้ามาประมวลเป็นคำสอนเพื่อให้ชาวอีสานเป็นคนตั้งอยู่ในศีลธรรม  ดังนี้คือ
    ๑๓.๑)บั้นที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่พระเจ้าปัสเสนทิ์  ดังนี้คือ
        อันว่าจอมราชาเหมือนพ่อคิงเขาแท้    จิ่งให้ไลเสียถิ้มอะคะติทั้งสี่ พญาเอย
        โทสาทำโทษฮ้ายโกธากริ้วโกรธแท้เนอ    จงให้อินดูฝูงไพร่น้อยชาวบ้านทั่วเมือง
        ชาติที่เป็นพญานี้อย่ามีใจฮักเบี่ยงพญาเอย    อย่าได้คึดอยากได้ของข้าไพร่เมืองเจ้าเอย
        ละอะคะติสี่นี้ได้จึงควรสืบเสวยเมือง    ทงสมบัติครองเมืองชอบธรรมควรแท้
        อันหนึ่งจิตอ่อนน้อมคำฮ้ายแม่นบ่มี    ปากกล่าวต้านคำอ่อนหวานหูแลนา
        บ่เหล้นชู้เมียซ้อนเพิ่นแพง        บ่คึดโลภเลี้ยวลักสิ่งเอาของเพิ่นนั้น
        บ่ตั้วะบ่พางไผเพื่อนสหายกันแท้        บ่ฆ่าสัตว์ประสงค์เว้นอินดูสัตว์มากยิ่ง
        บ่คึดโลภเลี้ยวจาต้านให้เบี่ยงความ        บ่ลามกหยาบซ้าเกินฮีตครองธรรมแลนา
        บ่กินสุราเหล้าเอาต้นเว้นขาด        กรรมแปดจำพวกนี้ไผเว้นประเสริฐดี ฯ123
    ๑๓.๒)  สอนให้แผ่เมตตาไปในสัตว์โดยไม่มีประมาณ  ดังนี้คือ
        ให้หยาดน้ำไปฮอดสัพพะสัตว์แท้เนอ    ให้มันถองเถิงห้องอบายภูมิทั้งสี่
        ฝูงสัตว์ตกอยู่ในอเวจีให้เกิดในเมืองฟ้า    ให้หยาดน้ำไปเถิงเซื้อวงสาพ่อแม่แท้เนอ
        เทวดาอยู่เทิงชั้นฟ้าอินทร์พรหมพร้อมซู่องค์  สัตว์ฝูงมีกระดูกแลไม่มีกระดูกพร้อม
        กับทั้งเจ้าแม่นางธรณีฝูงหมู่ดินทรายไม้    ฝนลมฟ้ากลางหาวอากาศก็ดี
        เมฆขลานางแก้วอสูรครุฑนาคก็ดีถ้อน    อีกทั้งเผดยักษ์ฮ้ายฝูงหมู่ผีสางก็ดี
        หิมพานต์สัพพะสัตว์หยาดน้ำไปเถิงถ้วน    จิ่งอธิษฐานไปให้ยมภิบาลกุณฑ์ใหญ่
        แผ่ไปฮอดสัตว์อยู่ใต้ในหม้อแผ่นแดงนั้น    ทั้งสิบหกชั้นฟ้าเทวดาได้ซูซ่อย
        แผ่ไปเถิงศัตรูเสี่ยวแก้วประสงค์ได้ฮ่วมบุญ    ศีลทานสร้างกองบุญผายแผ่ แท้เนอ
        เทียมดั่งแม่น้ำใหญ่กว้างบ่เขินขาดวังหั้นแล้ว  ไผได้ทำบุญสร้างศีลทานทุกเช้าค่ำ
        ยำแยงทานน้อมไหว้ตนเจ้าซิฮุ่งเฮืองแท้แล้ว  ทานนั้นเฮาก็เคียงสอนให้ราชาฟังสน่อย
       ต่อจากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้นำเอาชาดกในอดีต  มาเล่าให้พระเจ้าปัสเสนท์ฟังโดยมีเรื่องย่อว่าในอดีต  ณ  เมืองพาราณสี  มีพระเจ้าพรหมทัตได้ปกครองบ้านเมืองอยู่  ต่อจากนั้นพระโพธิเจ้าถือปฏิสนธิในครรภ์ของพระเหสีพญาพรหมทัต  และมีพระนามว่า  “ชนะสันทะราช”  เมื่อทรงเจริญได้ ๑๖  ปีได้ทรงศึกษาจบไตรเพทศาตร์ที่เมืองตักสิลา  และเมื่อพญาพรหมทัตสวรรค์แล้วพระองค์ก็ทรงขึ้นครองราชสมบัติแทนพระบิดาดังข้อความนี้ คือ   “  กาลนั้น  หลายปีล้ำราชาพญาพ่อ  พระได้เถ้าแก่แล้วเลยเข้าสู่บุญชาวเมืองได้หดเจ้า  เสวยเมืองแทนพ่อ  ชื่อว่า  พญาชนะสันทะราชเจ้า  ลือล้ำทั่วแดน เจ้าเอย  เป็นต้น
    ๑๓.๓)  สั่งสอนให้ทรงตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรมดังนี้คือ
        มีทานศีลตั้งไว้ในเจ้าบ่ได้ไล        กับทั้งเมตตาตั้งไว้กรุณาสิบสิ่งนั้นแล้ว
        ตัปปังพร้อมอะโกธังบ่เชิงเคียด        อะวิหิงสาบ่กล่าวต้านคำส้มใส่ไผ
        อะวิโรธนังให้มีใจตั้งต่อ            มุทุตาช่างเว้าอุเปกขาเจ้าบ่ห่อนไห
        พระก็ทศราชแท้ตั้งอยู่ตามคอง        บ่มีใจโมโหแก่เขาขุนข้า
    ๑๓.๔)  พระยาสันทะราชสอนให้รู้จักการให้ทาน
        ไผมีเงินคำแก้วหวงแหนบ่ทานทอด    บ่ให้ขาดแต่ละมื้อประสงค์ได้ทอดทาน
        จักทุกข์จนในสงสารชาติซิมาหากหวังได้    เมื่อมรณังตายไปเกิดในวิมานแก้ว
        ไผผู้มีของล้นเงินคำอนันเนกเจ้าเอย    บ่ให้ทานพี่น้องคนนั้นบ่ห่อนดีแท้ดาย
        อันว่าไผ้ผู้มีของล้นทานไปหลายสิ่งเจ้าเอย    บาดว่าชาติหน้าพุ้นยังซิกว้างกว่าหลัง
        ตายไปเกิดชั้นฟ้าทงแท่นวิมานคำพุ้นเอย    ยูท่างนั่งเสวยความสุขอยู่เย็นหายฮ้อน
        ไผผู้ทานไปแล้วบ่มีเสียจักสิ่งเจ้าเอย    ชาตินี้บ่ได้อึดอยากไฮ้ไปหน้าก็ดั่งเดียว
        ของเฮาทานไปแล้วบ่สูญเสียดายป่าว    เจ้าอย่าได้ขี้คร้านในทานทอดกองบุญ
        คันว่าตายไปภายลุนจักบ่กินแหนงโอ้    คำสอนพุทโธเจ้าหากเป็นจิงตั้งเที่ยง
        ไผทำเพียรก่อสร้างบุญนั้นบ่ห่อนเสียเจ้าเอย 124
    ๑๓.๕)  สอนให้รู้จักการประหยัดและการพึ่งตัวเอง
        แม่นว่าทำอันใดได้ให้โดยตนดีชอบเจ้าเอย    ให้ค่อยทำเพียรเที่ยงไว้ตามคำพระเจ้าสั่ง
        คันว่ามีเงินบาทเบี้ยให้เมี้ยนหี่พอสลึง    ให้ค่อยดอมเก็บมัดใส่ถงถนอมไว้
        เมื่อเฮาหอมเก็บแพงไว้หลายทีถงซิต่ง    ใจอย่าเห็นม่อซื้อขายเหล้นจ่ายกินแท้เนอ
        คันเฮามีเงินคำแก้วเอาอันได้ได้ง่ายๆจิงดาย    แม่นซิซื้อรถเกวียนช้างม้าก็ยังได้ดั่งใจ
    ๑๓.๖)  สอนให้เรียนวิชาชีพต่างๆ
        ให้พากันเฮียนแต้มลิงลายทุกสิ่ง        เฮียนสร้างพระพุทธฮูปเจ้าบุญค้ำสู่สวรรค์
        เฮียนยาปัวพยาธิสัพพะสิ่งโรคา        จักเฮียนเป็นหมอฮูฮาเลิกยามก็ทวายคิ้ว
        ศาตรศิลป์มนต์กล้าอาคมคนได้เพิ่งก็ดี    แม่นจักเฮียนคงฆ้อนคงหลาวง้าวหอก
        เฮียนทางแปลงเฮือนซานผาสาทสูงเสาตั้ง    เฮียนในคำสอนเจ้าองค์พุทโธสอนสั่ง
        จักเป็นช่างหล่อปั้นตีหม้อแต่งไห        ชื่อว่าศาตรศิลป์ในพื้นไผเฮียนประเสริฐ
        ไผอดสาเฮียนได้แล้วผญาล้ำฮุ่งเฮืองแท้ดาย
    ๑๓.๗)  สอนหญิงให้รู้จักเรียนการเรือน
        ชาติที่เป็นหญิงนี้ให้เฮียนคองดอมเพิ่น    เป็นหญิงเจ้าอย่าได้ขี้คร้านให้เฮียนฮู้ฮีตหญิง
        เป็นหญิงนี้ให้แปงโสมอ้วนอ่อนจิงดาย    ปากกล่าวต้านให้เสียงม่วนหวานหู
        เมื่อจักเดินไปมาให้ค่อยเจียมโตเนื้อ    เฮียนดีดฝ้ายให้นวลนุ่มเป็นผง
        คันว่าเอาหลาเข็นก็จิ่งงามเลิงล้วน        แล้วเล่าเฮียนเข็นฝ้ายเสมอดีเลิงแลบดีดาย
        เฮียนต่ำผ้าพร้อมพ่ำพันแนว        ทั้งผืนดำแดงลายนุ่งทงตนเอ้
        เฮียนหยิบถักฮ้อยปักแส่วไหมคำพุ้นเอย    แต่งเป็นลายเคลือดอกดวงงามย้อย
        เก็บขิดลายผ้าแดงเหลืองไหมยอด        ผ้าควบพล้อยประสงค์ย้อมคลั่งเข
        เฮียนในพืมซาวห้าประสงค์หาไหมยอด    ทั้งหยิบหมอนลายเสื่อมพร้อม
        ตนเจ้าให้หมั่นเฮียน
    ๑๓.๘)  บั้นสอนให้รักษาศีลห้า125
        ให้ค่อยเอาใจตั้งทงศีลอันประเสริฐแท้เนอ    ให้มีศีลห้าตั้งในเนื้ออย่าได้ไลนั้นเนอ
        ตั้งแต่ปาณาให้เป็นศีลตัวที่หนึ่ง        อย่าฆ่าสัตว์หมู่เนื้อให้ตายม้วยมิ่งมรณ์
        อทินนาทานนั้นอย่าเอาของท่าน        หากเป็นศีลขนาดแท้ประมวลไว้ถ้วนสอง
        กาเมนั้นอย่าไปแสวงเล่นเที่ยวซมเมียท่าน    พระพุทธเจ้ากล่าวไว้ศีลข้อที่สามท่านเอย
        มุสานั้นอย่าไปกล่าวต้านคำพางตัวะล่าย    ศีลตัวสี่นี้ให้ตนเจ้าจื่อจำ
        สุราเมรัยนั้นเป็นศีลแก้วเบ็ญจาอันประเสริฐ อย่ากินเหล้ามัวเล่นซิบาปหนาท่านเอย
        จาในบทศีลห้าโยติกาไว้ก่อน        ต่อจากศีลห้านี้พระองค์เจ้าเทศนาแท้แล้ว
    ๑๓.๙)  บั้นสองสามีและภรรยาให้รู้จักหน้าที่ของตน
        ญิงใดเป็นเมียแล้วเอาใจผัวสองส่วน    อย่าได้จาสะหาวโอดอ้างคำฮู้กว่าผัว
        จักทำอันใดให้ถามผัวดูก่อนนางเอย    ผัวเมียกันพร่ำพร้อมตนเจ้าจิ่งค่อยทำ
        เวียกเฮือนนั้นยอมอบแปงสร้าง        ไผผู้ทำดังนี้ชายนั้นประเสริฐคนเจ้าเอย
        เป็นเมียให้ฟังผัวสอนสั่งแท้เนอ        อย่าลื่นด้ามหละหาวเว้าลื่นผัว
        ผิดถืกไว้คุณยิ่งผัวตนแท้ดาย        แสนจักทำบุญสร้างกินทานทุกสิ่ง
        ผัวเมียใจพ่ำพร้อมกันแท้ก็จิ่งดีนั้นแล้ว    ยามเมื่อผัวไปค้าหาเงินทางอื่น
        เอาสาดหมอนผัวห่อไว้บูชาแล้วจึงนอน    เถิงวันศีลให้สมมาผัวเทียนธูป
        ก้มกราบตีนแล้วไหว้เมียแก้วจิ่งนอน    ผัวนอนสูงให้เมียแพงนอนต่ำ
        เมื่อผัวนอนก่อนแล้วเมียแก้วจึงค่อยนอน    เมียตื่นก่อนแท้ผัวนั้นตื่นทีหลังนางเอย
        อดสาห์เพียรผัวแก้วแลงงายเช้าค่ำแท้เดอ    ผัวพามั่งมีเที่ยงแท้เมียแก้วให้จื่อจำ126
    ๑๓.๑๐)  บั้นสั่งสอนให้รู้ธรรมเนียมของสงฆ์ ดังนี้ คือ127
        คันเจ้าบวชแล้วให้ตั้งต่องคองวินัยแท้เนอ    ให้พ่ำเพ็งคองสงฆ์อย่าไลมายม้าง
        อดสาทำเพียรสร้างภาวนาอย่าได้ขาด        ปาริสุทธิศีลเที่ยงหมั้นแลงเช้าอย่าให้หมอง
        อันนี้จาในห้องคองสงฆ์แสวงเทศน์    เป็นบุญเขตเที่ยงแท้ในพื้นแผ่นดินเจ้าเอย

bandonradio




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons