คลองสิบสี่ มีด้วยกัน ๔ แบบ ธวัช ปุณโณทก นำมากล่าวไว้ในหนังสือวรรณกรรมภาคอีสานเป็นแบบที่ ๒ ส่วนในหนังสือมรดกอีสานของศูนย์รวมสงฆ์ภาคอีสานวัดอัมพวันมี ๓ แบบ และสาร สารทัศนานันท์กล่าวไว้ในหนังสือ ฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ มีอยู่ ๔ แบบ แต่ในที่นำมากล่าวเพียง ๒ แบบคือ
๒.๑) คลองสิบสี่แบบที่ ๑
๑) แต่งตั้งผู้ชื่อสัตย์สุจริตขยันหมั่นเพียรเป็นที่เคารพของชาวบ้านให้เป็นอุปฮาดราชมนตรี เป็นต้น
๒) หมั่นประชุมอุปฮาดราชมนตรี ช่วยกันทะนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง
๓) ให้ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม ๑๐ ประการคือ ๑ ทาน การบริจาคแก่สมณพรหามณาจารย์ยาจก คนอนาถา ๒ ศีล ดำรงมั่นในปัญจศีลและอุโบสถศีลเป็นนิตย์ ๓ บริจาคสละทรัพย์สร้างวัดวาอาราม ขุดน้ำบ่อก่อศาลาเป็นต้น ๔ อาชวะ มีใจเที่ยงตรงดำรงมั่นในศีลธรรม ๕. มัททวะ อ่อนโยนไม่แข็งกระด้าง ๖.ตะบะ ชำระความชั่วออกจากใจ ๗. อักโกธะ ไม่ดุร้าย ๘. อวิหิงสา ไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ อดทนต่อเหตุการณ์ต่างๆ ๑๐ อวิโธนะ ไม่ยินดียินร้าย ในสิ่งที่ควรยินดีและยินร้าย
๔) ถึงวันขึ้นปีใหม่ นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์และนำน้ำอบน้ำหอมมาสรงพระภิกษุสงฆ์
๕) ถึงวันขึ้นปีใหม่ให้เสนาอำมาตย์นำเครื่องบรรณาการทั้งน้ำหอมมามุธาภิเษกฮดสรงเจ้าชีวิตของตน
๖) ถึงเดือนหกให้นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาแก่เจ้าเมือง
๗) ถึงเดือนเจ็ด ให้เลี้ยงมเหสักข์หลักเมืองบูชาเทวดาทั้ง ๔ คือ(ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่อันได้แก่ ท้าวธตรัฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ ท้าวกุเวร)
๘) ถึงเดือนแปดนิมนต์พระสงฆ์มาชำฮะเบิกหว่านหินแห่ทรายตอกหลักเมือง
๙) ถึงเดือนเก้า ป่าวเตือนให้ประชาชนทำบุญข้าวประดับดิน อุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
๑๐) ถึงเดือนสิบ ป่าวประกาศให้ประชาชนทำบุญข้าวสาก อุทิศส่วนบุญให้แก่ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว
๑๑) ถึงเดือนสิบเอ็ด ให้ประชาชนทำบุญออกพรรษา
๑๒) ถึงเดือนสิบสองทำบุญทอดกฐินตามวัดวาอารามต่างๆ
๑๓) ถึงเดือนสิบสองให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินมารวมที่หน้าพระลานหลวงแห่งเจ้าชีวิต ไปสรงน้ำในแม่น้ำให้เพี้ยวัดจัดแข่งเรือวันละหนึ่งลำ และวันขึ้นสิบสามค่ำส่วงเฮือ(แข่งเรือ)
๑๔) ให้มีสมบัติคูณเมืองหรือค่าควรเมืองครบสิบสี่อย่าง87 คือ
๑๔.๑) หูเมือง คือมีทูตานุทูตฉลาดมีปัญญาดี
๑๔.๒) ตาเมือง คือมีนักปราชญ์สอนอรรถสอนธรรม
๑๔.๓) แก่นเมือง คือมีพระสงฆ์ผู้แตกฉานในพระรรมวินัย
๑๔.๔) ประตูเมือง คือมีอาวุธยุทโธปกรณ์ป้องกันอริราชศัตรู
๑๔.๕) ฮากเมือง คือมีโหราจารย์ทายเหตุร้ายและ
๑๔.๖) เหง้าเมือง คือมีเสนาอำมาตย์ผู้เที่ยงธรรม
๑๔.๗) ขื่อเมือง คือมีโยธาทหารผู้แกล้วกล้า
๑๔.๘) ฝาเมือง คือมีตากวนตาแสงผู้ชื่อสัตย์
๑๔.๙) ขาง(แป)เมือง คือมีเจ้านายตั้งอยู่ในศีลธรรม
๑๔.๑๐) เขตเมือง คือมีผู้ฉลาดดูพื้นที่ที่ตั้งเมือง
๑๔.๑๑) สติเมือง คือมีคหบดีเศรษฐีและทวยค้าขาย
๑๔.๑๒) ใจเมือง คือมีแพทย์ผู้ฉลาดเชี่ยวชาญโรค
๑๔.๑๓) ค่าเมือง คือมีภูมิภาคมีราคาค่างวด
๑๔.๑๔) เมฆเมือง คือมีเทวดาอาฮักหลักเมือง88