วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของพิณ

ชนิดของพิณ

พิณในประเทศไทยมีมากมายหลายชนิด เช่น

1. พิณน้ำเต้า เป็นพิณสายเดียวทำด้วยไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ 75 เซนติเมตร ปลายข้างหนึ่งทำด้วยโลหะ หล่อเป็นลวดลาย สำหรับขึงสายสวมติดไว้ ด้านตรงข้ามมีลูกบิด ทำด้วยไม้เนื้อแข็งสอดไว้ กล่องเสียงทำด้วยผลน้ำเต้าแห้ง มีเชือกรัดสายพิณ ซึ่งทำด้วยโลหะ ให้คอดตรงบริเวณ ใกล้กล่องเสียง ใช้บรรเลงด้วยการดีดด้วยนิ้วมือ เวลาบรรเลงจะใช้กล่องเสียงประกอบกับอวัยวะของร่างกาย เช่น หน้าอกหรือท้อง มีเสียงเบามากสามารถทำทางเสียง (Harmonic) ได้ด้วยการเทียบเสียงไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวแล้วแต่ผู้บรรเลงจะพอใจเพราะใช้บรรเลงโดยเอกเทศ พิณน้ำเต้านี้จัดอยู่ในประเภทพิณชีตเตอร์

2.พิณเพียะ มีลักษณะคล้ายพิณน้ำเต้า แต่พิณเพียะทำเพิ่มขึ้นเป็น 2 สายและ 4สายก็มีคันทวนยาวประมาณ 1 เมตรเศษลูกปิดยาวประมาณ18 เซนติเมตร ใช้เชือกคล้องสายผูกโยงไว้กับทวน สำหรับเร่งเสียงเหมือนกันพิณน้ำเต้า กะโหลกก็ทำด้วยเปลือกลูกน้ำเต้าตัดครึ่งลูกก็มี ทำด้วยกะลามะพร้าวก็มีเวลาดีดก็เอากะโหลกประกบติดไว้กับหน้าอก ขยับเปิดปิดเพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวานตามต้องการ เช่นเดียวกับดีดพิณน้ำเต้าในท้องถิ่นภาคเหนือในอดีตผู้เล่นมักจะดีดคลอขับร้องของตนเอง และนิยมเล่นในขณะที่ไปเที่ยวเกี้ยวสาวตามหมู่บ้านในเวลาค่ำคืน พิณเพียะนี้จัดอยู่ในประเภทพิณชีตเตอร์

3.กระจับปี่ เป็นเครื่องดีดประเภทพิณ กล่องเสียงทำด้วยไม้เนื้ออ่อน ขุดเป็นโพรงขนาดประมาณ25 x 40เซนติเมตร มีช่องเสียงอยู่ด้านหน้ามีคันทวนค่อนข้างยาวประมาณ 100เซนติเมตร มีลูกปิดตอนบนสำหรับขึ้นสาย 4 ลูก ขึ้นสายเป็น 2 คู่ เสียงเท่ากันมีนมตั้งเสียงติดอยู่กับด้านหน้าของคันทวน ใช้ดีดด้วยเขาสัตว์บาง ๆ สายกระจับปี่ทำด้วยไหมฟั่นเอ็น หรือ สายลวด กระจับปี่จัดอยู่ในประเภทพิณลูท

4.พิณพื้นบ้าน นิยมเล่นในภาคอีสาน เป็นเครื่องดีดทำด้วยไม้ กล่องเสียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมมน หรือคล้ายใบไม้ กว้างประมาณ 25เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-35เซนติเมตร หนาราว 7-10 เซนติเมตร มีช่องเสียงตรงกลางด้านหน้า คันพิณยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร ตอนปลายติดหัวโขนรูปต่าง ๆ ใช้สายลวด 2-4 สาย บางครั้งใช้ 2 คู่ มีนมแบ่งเสียงใช้ดีดด้วยแผ่นเบาบาง ๆ จัดอยู่ในประเภทพิณลูท

5.พิณไห พิณไหทำด้วยไหซองหรือไหกระเทียม ใช้เส้นยางหนา ๆ ขึงให้ตึงที่ปากไหเวลาเล่นใช้มือดึงเส้นยางให้สั่นเป็นเสียงทุ้มต่ำ ใช้เล่นเป็นเครื่องประกอบจังหวะ นิยมนำไปเล่นกับวงโปงลาง พิณให้จัดอยู่ในประเภทพิณซิตเตอร์

ประวัติความเป็นมาของพิณ

พิณเป็นเครื่องดนตรีในสกุลเครื่องสายซึ่งประกอบด้วย กะโหลกและคอ มีสายขึงใช้ดีด อาจดีดด้วยมือแผ่นพลาสติกหรือแม้แต่เศษวัสดุที่เป็นแผ่นถากออกมาจากเขาสัตว์หรือกระดองเต่า (Midgley.1978:167-179) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตตะ หมายถึง เครื่องดนตรีที่มีสายสำหรับดีดเป็นเสียงสันนิษฐานว่า ตตะนี้คงจะได้แบบอย่างมาจากที่ใช้สายขึ้นคันธนู เกิดการสั่นสะเทือน แต่สายธนูที่ทำหน้าที่เป็นตัวสั่นสะเทือนนั้นจะแตกต่างกันไปตามความยาว สั้นของคันธนู มีเสียงดังไม่มากนัก หาวัตถุที่ช่วยให้การเปล่งเสียงมากขึ้น จึงใช้วัตถุที่กลวงโดยเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่น ผลน้ำเต้า กะโหลกมะพร้าว กระบอกไม้ไผ่หรือไม้ที่ขุดทะลุทะลวงตลอด จึงเรียกส่วนนี้ว่า “วีณโปกขร” หรือกระพุ้งพิณ(Resonator)(อุดม อรุณรัตน์. 2526:91)

พิณของชนเผ่าสุเมเรียน ที่เรียกว่า ไลร์ มีมาแล้วก่อนคริสตศักราชถึง 3,000 ปี และใช้กันอย่างกว้างขวางในกลุ่มชนอียิปต์โบราณ กรีกโบราณและยุโรปสมัยกลาง ในแอฟริกา มันถูกใช้เล่นประกอบในพิธีกรรมบางอย่าง (Lsaacs and Martin.1982:225-226) ในลัทธิของศาสนาพราหมณ์มีความเชื่อมั่นว่าการบูชาด้วยเสียงดนตรีที่มีสายติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน เป็นวิถีอันที่จะบรรลุถึงซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระศิวะได้(เดอบาร์รี 2512:513)

ในทางพุทธศาสนานั้น วิถีพระโพธิญาณ ของสมเด็จพระมหาสัตว์ก็ได้อาศัยสายกลางแห่งพิณที่สมเด็จพระอัมรินทราธิราชทรงดีดถวายถึงได้ตรัสรู้สำเร็จสมโพธิญาณว่า การบำเพ็ญเพียรแสวงหาโมกษธรรมนั้น ถ้าเคร่งครัดนักก็เปรียบเสมือนการขึ้นสายพิณให้ตึงเกินไปดีดแล้วย่อมขาดถ้าหย่อนยานนักย่อมไม่มีเสียงไพเราะเหมือนขึ้นสายพิณหย่อน แต่ถ้าทำอยู่ในขั้นมัชฌิมาปานกลาง ก็เปรียบเสมือนการขึ้นสายแต่เพียงพอดีกับระดับเสียงย่อมจะให้เสียงดังกังวานไพเราะแจ่มใส ดังใจความในวรรณคดีเรื่อง พระปฐมสมโพธิถากลางถึงพิณไว้ในตอนทุกกิริยาปริวรรต ปริจเฉทที่ 8 ว่า

ขณะนั้น สมเด็จอมรินทราธิราชทราบในข้อปริวิตก ดังนั้น จึงทรงซึ่งพิณทิพย์ สามสายลงมาดีดถวายพระมหาสัตว์ สายหนึ่งเคร่งนัก พอดีดก็ขาดออกไป สายหนึ่งหย่อนนักดีดเข้าก็ไม่บันลือเสียงและสายหนึ่งนั้นไม่เคร่งไม่หย่อนเป็นปานกลางดีดเข้าก็บรรลือศัพท์ ไพเราะเจริญจิต พระมหาสัตว์ได้สดับเสียงพิณก็ถือเอานิมิตอันนั้นทรงพิจารณาแจ้งว่า มัชฌิมปฏิบัตินั้นเป็นหนทางพระโพธิญาณ

วรรณคดีเรื่องสักกปัญหสูตร ได้กล่าวถึงพิณที่พระปัญจสังขรดีดไว้ในสักกปัญหสูตรทีฆนิกายมหาวรรค (อุดม อรุณรัตน์.2526 :93-96) ไว้ว่า “พิณมีสีเหลืองเหมือนผลมะตูมสุก กระพุ้งพิณนั้นแล้วด้วยทองทิพย์ คัณพิณแล้วด้วยแก้วอินทนิล สายนั้นแล้วด้วยเงินงามลูกบิดแล้วด้วยแก้วประพาฬ พลางขึ้นสายทั้ง 50 ให้ได้เสียงแล้วจึงดีดพิณให้เปล่งเสียงอันไพเราะ” นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการยังพิณให้เปล่งเสียงแล้ว พระปัญจสิงขรยังคิดแต่งเพลงขับได้อย่างไพเราะไว้เป็น “คีตูปสญหิโต ธมโม” ธรรมประกอบคีตอีกด้วย บรมครูทางดนตรีไทยถึงได้ยกย่องบูชาพระปัยจรสิงขรว่า เป็นครูทางดนตรีไทยถึงได้ยกย่องบูชาพระปัญจรสิงขรว่าเป็นครูทางดนตรี (การเปล่งเสียงจากสาย) จึงได้บรรจุไว้ในโองการไหว้ครูดุริยดนตรีไทยว่า “พระปัญจสิงขร พระกรเธอถือพิณดีดดังเสนาะสนั่น”

images1ในวรรณกรรมอีสาน 7เรื่อง ได้กล่าวถึงพิณไว้ดังตัวอย่างดังนี้ (สันทนา ทิพวงศา.2535:56-153)

เรื่องขูลูนางอั่ว ได้กล่าวถึงพิณว่า

ค้อมว่าแล้ว ตีเสบนันเนือง

พิณโพนขับ หน่อพุทธโธเมืองฟ้า

เรื่องท้าวก่ำกาดำ ได้กล่าวถึงพิณว่า

ดุริยาพร้อม ดนตรีพิณพาทย์

ระบำต่อยต้อง ชอได้ต่อยสาย

เรื่องผาแดงนางไอ่ ได้กล่าวถึงพิณว่า

มีทัง สมณาเจ้า ไหลมาเดียระดาษ

ฝูงหมู่ พิณพาทย์ฆ้อง ดังก้องสนั่นเมือง

เรื่องสังข์ศิลป์ชัย ได้กล่าวถึงพิณว่า

ฝูงเคยเหล้น ตีตะโพนพิณพาทย์

ขับแข่งฮ้อง โคลงฟ้ากาพย์สาร

เรื่อง กาฬะเกษ ได้กล่าวถึงพิณว่า

เขาก็ ตึตะโพนพิณเสพสวนเสียงห้าว

ตาตีตั้ง ภาวแพรฮับราช

เรื่อง จำปาสี่ต้น ได้กล่าวว่า

ฟังยื่น ควรควนก้อง ดุริยาม่วนมี่พุ้นเยอ

พิรพาทย์ฆ้อง ยวงย้ายย่างเชิง

เรื่องพญาคันคาก ได้กล่าวว่า

คี่น ๆ ก้อง เสียงเสพนันตีพุ้นเยอ

ควน ๆ เสียง พาทย์พิณแคนได้

imagesคนไทยได้เคยใช้พิณหรือซุงเป็นเครื่องบรรเลงมาแต่ครั้งโบราณ จากหลักฐานภาพปูนปั้นประดับฐานเจดีย์ที่เมืองโบราณ บ้านคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นรูปนางทั้งห้า บรรเลงดุริยดนตรี นางหนึ่งบรรเลงพิณเพียะ นางหนึ่งดีดพิณ 5 สาย นางหนึ่งตีกรับ นางหนึ่งตีฉิ่ง และอีกนางหนึ่งเป็นนักร้องขับลำนำ ภาพปูนปั้นดังกล่าวเป็นศิลปะสมัยทวารวดี สันนิษฐานว่า คงปั้นขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16(สำเร็จ คำโมง. 2538 : 477) สันนิษฐานว่าพิณเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ 1,000 ปีมาแล้ว ซึ่งของเดิมมาจากจีนตอนใต้ โดยที่เราได้ดัดแปลงนำเข้าไปเล่นกับเครื่องดนตรีไทย เช่น ระนาด ฆ้องวง ซอ กลอง ฉิ่ง ฯลฯ เราเรียกวงนี้ว่า วงพิณพาด ต่อมาพิณได้หายไปจากวงพิณพาด ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏกลับมาใช้ปี่แทน เรียกวงพิณพาดใหม่ว่า วงปี่พาด (ประยุทธ เหล็กกล้า.2512:44)

สำหรับซุง หรือพิณของคนไทยภาคอีสานนั้น น่าที่จะวิวัฒนาการขึ้นมาจากสะนุ (หรือธนู) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีสายขึงเป็นรูปคันธนูใช้ดีดเล่นหรือผูกหัวว่าวชักขึ้นไปในท้องฟ้า ให้ลมบนพัดแล้วเกิดเสียงส่วนที่เป็นเต้าเสียงนั้น น่าที่จะมาจาก 2 ทาง คือ จากกระบอกไม้ไผ่ เพราะยังมีพิณกระบอกไม้ไผ่ให้เด็กเล่นอยู่ในสังคมไทยภาคอีสาน และอีกทางหนึ่งมาจากพิณสายเครือหญ้านาง ซึ่งขุดหลุมลงไปในดินเป็นเต้าขยายเสียง และขึงสายเครือหญ้านางเป็นสายพิณพาดบนปากหลุมนั้น มัดหัวท้ายของสายเข้ากับหลัก 2 หลัก เวลาเล่นใช้ตีหรือดีดสายเกิดเสียง ดังตึงตึงคล้ายกลอง

    
 คลิกฟังออนไลน์ :




01 - Track01 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




02 - Track02 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




03 - Track03 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




04 - Track04 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




05 - Track05 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




06 - Track06 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




07 - Track07 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




08 - Track08 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 ฟังออนไลน์ :




09 - Track09 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 ฟังออนไลน์ :




10 - Track10 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




11 - Track11 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิ๊กฟังออนไลน์ :




12 - Track12 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




13 - Track01 - แม่แบบแคน.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




14 - Track02 - แม่แบบแคน.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




15 - Track03 - แม่แบบแคน.mp3
 ฟังออนไลน์ :




16 - Track04 - แม่แบบแคน.mp3
 ฟังออนไลน์ :




17 - Track05 - แม่แบบแคน.mp3
 ฟังออนไลน์ :




18 - Track06 - แม่แบบแคน.mp3
 ฟังออนไลน์ :




19 - Track07 - แม่แบบแคน.mp3
 ฟังออนไลน์ :




20 - Track08 - แม่แบบแคน.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




21 - Track09 - แม่แบบแคน.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




22 - Track10 - แม่แบบแคน.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




23 - Track11 - แม่แบบแคน.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




24 - Track12 - แม่แบบแคน.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




25 - Track01 - บรรเลงพิณเมดเล่ย์ ผู้ไทยฟ้อ
 คลิกฟังออนไลน์ :




26 - Track02 - บรรเลงพิณเมดเล่ย์ ผู้ไทยฟ้อ
 คลิกฟังออนไลน์ :




27 - Track01 - บรรเลงพิณเมดเล่ย์ เสียงพิณ
 คลิกฟังออนไลน์ :




28 - Track02 - บรรเลงพิณเมดเล่ย์ เสียงพิณ
 ฟังออนไลน์ :




29 - Track01 - บรรเลงพิณเมดเลย์ เสียงพิณอีสาน
 ฟังออนไลน์ :




30 - Track02 - บรรเลงพิณเมดเลย์ เสียงพิณอีสาน
 คลิกฟังออนไลน์ :




31 - Track01 - บรรเลง พิณเมดเลย่ ชุดที่10.mp3
 คลิ๊กฟังออนไลน์ :




32 - Track02 - บรรเลง พิณเมดเลย่ ชุดที่10.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




33 - โหวด - บรรเลง พิณเมดเลย่.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




34 - โปงลาง - บรรเลง พิณเมดเลย่.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




35 - เซิ้งดำนา - โปงลาง คณะหนุ่มมะพร้า.mp3
 ฟังออนไลน์ :




36 - เซิ้งกาเต้นก้อน - โปงลาง คณะหนุ่ม.mp3
 ฟังออนไลน์ :




37 - เซิ้งแลงภู่ตอมดอก - โปงลาง คณะหนุ.mp3
 ฟังออนไลน์ :




38 - เซิ้งไซบินข้ามทุ่ง - โปงลาง คณะหน.mp3
 ฟังออนไลน์ :




39 - เซิ้งน้ำโตนตาก - โปงลาง คณะหนุ่มม.mp3
 ฟังออนไลน์ :




40 - เซิ้งเกี่ยวข้าว - โปงลาง คณะหนุ่ม.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




41 - เซิ้งสาวดอกคูณ - โปงลาง คณะหนุ่มม.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




42 - เซิ้งสุดสะแนน - โปงลาง คณะหนุ่มมะ.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




44 - เซิ้งกะออม - โปงลาง คณะหนุ่มมะพร้.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




45 - เซิ้งสีโคตรบูรณ์ - โปงลาง คณะหนุ่.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




46 - Track12 - โปงลาง คณะหนุ่มมะพร้าวห้าว
 คลิกฟังออนไลน์ :




47 - Track01 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




48 - Track02 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




49 - Track03 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 ฟังออนไลน์ :




50 - Track04 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 ฟังออนไลน์ :




51 - Track05 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




52 - Track06 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 คลิ๊กฟังออนไลน์ :




53 - Track07 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




54 - Track08 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




-55 - Track09 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




56 - Track10 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 ฟังออนไลน์ :




57 - Track01 - บรรเลงโปงลาง ชุดที่3.mp3
 ฟังออนไลน์ :




58 - Track02 - บรรเลงโปงลาง ชุดที่3.mp3
 ฟังออนไลน์ :




59 - Track01 - เซิ้งเมดเลย์ ประเพณีบุญบั้ง
 ฟังออนไลน์ :




60 - Track02 - เซิ้งเมดเลย์ ประเพณีบุญบั้ง
 ฟังออนไลน์ :




61 - Track01 - ผู้เฒ่าพาซิ่ง.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




62 - Track02 - ผู้เฒ่าพาซิ่ง.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




63 - Track01 - พื้นเมืองโคราช.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




64 - Track02 - พื้นเมืองโคราช.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




65 - Track01 - บรรเลงพิณเมดเล่ย์ 4 ภาค.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




66 - Track02 - บรรเลงพิณเมดเล่ย์ 4 ภาค.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




Brain Sync - 01.Slim Naturally [Guided].
 คลิกฟังออนไลน์ :




02.Slim Naturally
 คลิกฟังออนไลน์ :




Brain Supercharger - Soaring Self Confidence - Activator
 ฟังออนไลน์ :




Brain Supercharger - Super Memory - Programmer
 ฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Alpha Mind Control
 คลิกฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Deep Journeys
 คลิ๊กฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Dreamer's Journey
 คลิกฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Ecstatic
 คลิกฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Einstein's Dream 1
 คลิกฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Dreamseed 01 - Maharata Invocation
 ฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Dreamseed 02 - Kundaray Core-I-dorr
 ฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Dreamseed 03 - Temple Of Khemalohatea
 ฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Dreamseed 04 - Transharmonic Express
 ฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Dreamseed 05 - Amorarea Flame Awakening
 ฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Dreamseed 06 - A Call To The Oraphim




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons