วรรณกรรมเรื่องท้าวคำสอน
เนื้อเรื่องย่อ
ท้าวคำสอนเป็นกำพร้าอาศัยอยู่กับพระมหาเถระ เมื่อเจริญวัยพระมหาเถระจึงสอนวิธีการเลือกคู่ครอง ซึ่งท่านได้อรรถาธิบายถึงลักษณะหญิงประเภทต่างๆท้าวคำสอนก็ลาพระมหาเถระไปหาหญิงลักษณะดีเป็นคู่ครอง ในที่สุดก็พบกับนางปังคำ เป็นคนจนอยู่กระท่อมแต่ด้วยลักษณะถูกโสลกของหญิงดีเป็นเมียแก้ว ท้าวคำสอนเกี้ยวพาราสีซึ่งตอนนี้กวีท่านได้นำเอาผญาเกี้ยวใส่เข้าไปซึ่งเป็นที่กินใจจนหนุ่มสาวนำมาเป็นผญาเกี้ยวกันสนทนากันอยู่เนืองๆ ฉะนั้นถ้ารวมรวมสำนวนผญาที่หนุ่มสาวจ่ายกันนั้นก็น่าจะเป็นสำนวนที่จดจำมาจากเรื่องท้าวคำสอนเป็นส่วนใหญ่ ค่านิยมในการเลือกคู่ของชาวอีสานนั้นไม่เน้นเรื่องความสวยงามเป็นหลัก หากแต่ว่าเน้นถึงลักษณะของสตรีที่เป็นสิริมงคล ถึงแม้ว่ารูปร่างจะด้วยไปก็ตาม แต่เน้นหญิงที่มีใจบุญสุนทาน ดังนั้นวรรณกรรมท้าวคำสอนนี้ชี้ให้เห็นถึงลักษณะนิสัยการเลือกคู่ของชาวอีสานได้ดี คือเป็นเมียแก้วเมียขวัญ และควรเป็นหญิงที่นำโชคมาให้สามีและครอบครัว ใจบุญ ซื่อสัตย์ต่อสามีและเป็นแม่บ้านที่ดีเป็นแม่ศรีเรือนนั้นเอง แต่วรรณกรรมเรื่องนี้เป็นเพียงความพยายามที่จะกำหนดรูปแบบของหญิงที่ดีและไม่ดีเอาไว้เพื่อเป็นแนวทางของการเลือกอีกวิธีหนึ่งเท่านั้น ซึ่งไม่แน่ว่าจะเป็นจริงอย่างนั้นเสมอไป คือคนที่จะมาเป็นคู่ครองจริงอาจจะไม่มีลักษณะตรงกับที่พระมหาเถระสั่งสอนเอาไว้ก็ได้ ดังตอนสุดท้ายของเรื่องท่าวกล่าวว่าดังนี้คือ
คำสอนท้าวฟังนางเว้าม้วนถืกโสลกแท้นางแก้วตอบขานนางนั้นชื่อว่านางปังคำเจ้าคำสอนต้านกล่าวนางเว้าจ้อยๆคำสอนท้าวนั่งฟัง ท้าวก็มักยิ่งแท้ประสงค์แต่งเป็นเมีย ถืกโสลกมหาเถรยอดหญิงแปงสร้าง ชื่อว่าเป็นนางแก้วเคียงสองเสมอแว่น มหาเถรแต่งให้เห็นแล้วถืกกะใจถืกลักษณะแท้ทั้งโสลกหญิงดี บ่ได้มีทางติเยื่องประมาณพอน้อย เป็นเพราะสายมิ่งเกี้ยวปางก่อนสายแนน บุพพกรรมปางหลังจ่องดึงให้มาพ้อ ผัวเป็นเทวบุตรแท้แสวงหาเมียมิ่ง เมียเป็นเทวดาได้พ้อบุญกว้างส่งสนองแนนมิ่งนั้นคือดั่งวาสนา นั้นแล้ว ชาติก่อนพุ้นเคยได้ฮ่วมผัวเมีย แสนซิไปคนทางเกิดกันคนก้ำ แม่นซิปรารถนาเว้นก็ยังนำเฮียงฮ่วมกันดายหนีบ่ม้มเวรเกี้ยวชาติลุ้น แนมท่อ สองประสงค์เว้นภายลุนจิ่งจำจาก ผิว่าผัวบ่เว้นใจข้องต่อเมีย จักได้กันเที่ยงแท้บ่เหินห่างสายแนน ฯ94
ลักษณะของหญิงที่เป็นสิริมงคลแก่สามีและครอบครัว ซึ่งควรที่จะเลือกมาเป็นคู่ครองมีลักษณะสำคัญอยู่ ๓ ประการคือ
א. สตรีที่นำโชคลาภมาสู่สามีและครอบครัว ซึ่งจะมีวาสนาให้สามีให้สามีเจริญรุ่งเรืองและครอบครัวมีความสุขร่ำรวย ดังนี้
๑) หญิงใดเอเลท้องปูมหลวงอุมบาตร
หญิงนั้นลอนท่อเป็นรูปร้ายบุญเจ้าหากมีแท้ดาย
ชายใดได้เข้าอยู่ซ้อนสุขร่วมบรม
สมบัติในเรือนมีพร่ำเพ็งเต็มเหย้า หั้นแล้วฯ
๒) หญิงใดคอตกปล้องหางตาแดงพอสน่อย
เมื่อนางยกย่างย้ายพอด้ามเกิ่งเสมอ
แม่นว่าท้าวเข้าได้อยู่ซ้อนเรียงร่วมเป็นเมียเมื่อใด
ยูท่างและทรงความสุขนั่งปองเป็นเจ้า
๓) หญิงใดมีปานดำขึ้นจักกกขาดูหลาก
หญิงนั้นใผผู้ใดกล่าวต้านโอมได้โชคมี แท้แล้ว
๔) หญิงใดโปแข่งน้อยคิ้วก่องกวมตา
หัวนมเป็นปานดำก็หากมีบุญแท้
ใผผู้โอมเอาได้เป็นเมียโชคขนาดแท้ดาย
มันหากดูประเสริฐแท้เมือหน้าบ่ขวงแท้แล้ว
๕) หญิงใดขี้แมงวันจับสบเบื้องซ้ายสมบัติมั่งบุญมีท้าวเอย
ใผผู้โอมเอาได้เป็นเมียหากคูนยิ่งจริงด้าย
๖) หญิงใดใบหูห้วนหยุดปลายพดสน่อย
หญิงนั้นเป็นแม่ค้ายังซิได้มั่งมีเจ้าเอย
ยังได้ผมดำเลื่อมหางนกยูงเสมอภาค กันนั้น
ชายใดได้เข้าอยู่ซ้อนจักเป็นเจ้าเศรษฐี
๗) หญิงใดเสียงปากต้านหวานหูเว้าม่วน
ตาเชิดซ้ายคอปล้องรูปงาม
เกศาผมยาวได้วาปลายคืบหนึ่ง
หญิงนั้นควรค่าล้านคำม่วนชอบธรรม แท้ดาย
ความหมายคำศัพท์
เอเล -กางใหญ่ ลอนท่อ- หากว่า ผิว่า พร่ำเพ็ง -มากล้น ยูท่าง -สบาย มีความสุข อยู่เย็น ด้าม เพียง ประมาณ เกิ่ง - กึ่ง ครึ่ง ซ้อน – คู่ครอง
คีค้อยคีค้อย-สม่ำเสมอ ฟู –เจริญรุ่งเรือง ฟูเฟื่อง
ข.ลักษณะสตรีที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี
หญิงใดหลังตีนสูงขึ้นคือหลังเต่า
หญิงนั้นใจซื่อแท้ประสงค์ตั้งต่อผัวเจ้าเอย
ก็บ่มักเล่นชู้ชายอื่นมาชม
ก็ท่อจงใจรักต่อผัวคีค้อยคีค้อย
หญิงนั้นแม่นซิทำการสร้างอันใดก็เรืองรุ่งแท้แล้ว
แสนซิจมอยู่พื้นมาแล้วก็หากฟู
ค. ลักษณะสตรีที่เป็นแม่บ้านที่ดีคือ
หญิงใดเฮ็ดกินพร้อมพอเกลือทั้งปลาแดก
หญิงนั้นแม่นเป็นข้อยเพิ่นฮ้อยชั้นควรให้ไถ่เอา ท่านเอย
ง ลักษณะสตรีที่มีโทษหรืออัปมงคล
๑) หญิงใดหน้าผากกว้างดังใหญ่โขโมนั้นนา
หญิงนั้นเป็นหญิงขวงอย่าเอาควรเว้นฯ
๒) หญิงใดฝาตีนกว้างกกขาทึบแข่งใหญ่
หญิงนั้นใผเข้าอยู่ซ้อนสอนได้ก็บ่ฟัง
มันก็ขี้ถึ่แท้โถงโลกโลกา แท้ดายฯ
๓) หญิงใดฝีสบดำซ้ำเสมอหมากมอญสุกดังนั้น
อันว่าตัญหาในโลกาบ่อาจมีไผ่เพี้ยง
หญิงนั้นคนมีใจถ่อยร้ายเจ้าอย่าโอมเอาแท้เน้อ
ฝูงนี้หญิงอธรรมบาปเวรนำใช้ แท้แล้วฯ95
94 พระอริยานุวัตร เขมจารี,ท้าวคำสอน,(มหาสารคาม:จัดพิมพ์โดยโครงการปริวรรคหนังสือผูกอีสานมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ ) ,๒๕๒๕, หน้า ๒๔–๒๕
95 ศ.ธวัช ปุณโณทก,วรรณกรรมภาคอีสาน,(กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง) ,๒๕๓๗ ,หน้า ๒๕๒–๒๕๗