บทที่ ๑
การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างพุทธภาษิตกับผญาภาษิต
ความนำ
๑.๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัณหา
พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาผู้สัพพัญญู รู้แจ้งสัจธรรมในเรื่องชีวิต จิตวิญญาณและเอกภพนั้นคือคุณสมบัติตลอดน้ำพระทัยที่พระองค์ทรงตระหนักถึงความทุกข์ที่มนุษย์ทั้งหลายประสบอยู่ในชีวิต พระองค์ค้นพบสมุฏฐานแห่งทุกข์และวิธีการแก้ปัญหานี้เป็นผลสำเร็จ แล้วทรงนำมาประกาศเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลก
พุทธศาสนสุภาษิตไม่ว่าจะเป็นคำสอนในลักษณะใดคือพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมก็ล้วนแต่เป็นสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติได้ ยิ่งสภาวะการของสังคมในปัจจุบัน หลักพุทธศาสนสุภาษิตเป็นคำสอนที่เตื่อนสติให้ทุกคนหันกลับมาคิดถึงชีวิตของตนเองได้ดียิ่ง เช่นหลักอัตถประโยชน์๔ หลักอริสัจ ๔ มรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น
พุทธศาสนสุภาษิตที่สอนเรื่องกฏแห่งกรรม คือทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หว่านพืชเช่นใดก็ย่อมได้ผลเช่นนั้น กรรมดีหรือกรรมชั่วบางชนิดให้ผลเร็ว คือให้ผลในปัจจุบัน บุญหรือบาปบางชนิดให้ผลช้า บุญหรือบาปบางชนิดส่งผลในชาติต่อๆไป ดังนั้นพุทธศาสนาจึงเน้นให้บุคคลทั้งหลายทำแต่กรรมดีและเว้นกรรมชั่วพร้อมกันนั้นก็พยายามทำให้ผ่องใส่
นอกจากนี้พุทธศาสนายังเป็นเครื่องส่งเสริมให้มนุษย์มีสติปัญญา เข้าใจกฎเกณฑ์และขบวนการแห่งธรรมชาติ และสามารปฏิบัติตนเองให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาตินั้นๆ นอกจากนั้นพุทธศาสนายังสอนให้เลือกเฟ้นประพฤติธรรมที่ดีงามและรู้จักปล่อยวางหรือเว้นสิ่งที่เป็นบ่อเกิดของความทุกข์มาสู่ตน ทั้งนี้เพื่อความสงบสุขของบุคคลและสังคม และยิ่งไปกว่านั้นพุทธศาสนายังเป็นที่พึ่งทางจิตใจ และเป็นที่ให้ความหวังแก่มนุษย์
พระพุทธศาสนาคือแบบแผนความเชื่อของชาวไทย กล่าวคือมีคุณค่าและอุดมคติตลอดถึงเป็นหลักการดำเนินชีวิตและนำไปสู่การพัฒนาจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น ให้รู้จักการนำเอาปัญญามาวิเคราะห์ให้รู้จักเหตุและผลให้ฉลาดกว่าสัตว์เพื่อให้หนีจากสัญชาติญาณฝ่ายต่ำคือ กิเลส กรรมและวิปาก เพราะได้อาศัยคำสอนในทางศาสนามาเป็นวิถีทัศน์ในการดำรงตนให้มั่นศีลธรรมเพื่อบรรลเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิต คือการละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว และการป้องกันบาปที่ยังไม่เกิด มิไห้เกิดขึ้นมาอีก และเร่งบำเพ็ญกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นแก่ตนเองแล้วเพียรรักษาบุญที่มีแล้วให้สถาพรต่อไป นี้คือกฏเกณฑ์ทางศีลธรรมอันจะทำให้ตนเองบรรลุเป้าหมายได้แล้วแผ่ขยายไปสู่สังคมซึ่งจะเป็นการนำเอาหลักธรรมมาผสมผสานในการดำเนินชีวิตซึ่งสามารถนำพาผู้ประพฤติปฏิบัติไปสู่ความสะอาด สว่าง สงบของชีวิตทั้งกายและทางจิต แม้ว่าการประพฤติตามหลักคำสอนจะยังไม่สมบูรณ์อย่างเต็มที่ก็ยังความสันติสุขมาสู่ผู้ประพฤติดีได้ในชีวิตปัจจุบันและยังส่งผลนำไปสู่ฐานะและภพภูมิที่ดีขึ้น
ซึ่งในประเด็นนี้ชาวไทยทั้งหลายก็ยอมรับว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสัจธรรม ตลอดถึงยอมรับนับถือหลักธรรมในพระพุทธศาสนาและยกย่องเทิดทูนพระธรรมคำสั่งสอนมาเป็นหลักดำเนินชีวิตของตนเองสืบต่อกันมาเป็นระยะนับพันปี โดยมีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะอิทธิพลของธรรมะในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ที่เข้ามามีส่วนในวิถีชีวิตของชนชาวไทย และทำให้ประเทศชาติบ้านเมืองมีเอกราชและอธิปไตย์ของตนเอง คติธรรมที่ได้จากพุทธศาสนสุภาษิตมีส่วนสำคัณยิ่งที่ช่วยเป็นเครื่องเตือนสติแก่ชาวไทยตลอดมาและตลอดไป
ไม่เพียงเท่านั้นพระพุทธศาสนายังแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปสู่ชนชาวอีสานในอดีต โดยผ่านไปทางวรรณกรรมคำสอนต่างๆบ้าง โดยมีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นแกนสำคัญที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ นักปราชญ์อีสานได้นำเอาคำสอนของพระพุทธศาสนาเข้ามาประพันธ์เป็นผญาอีสาน ซึ่งเป็นคำสอนอีกอย่างหนึ่งที่เป็นคติธรรมแก่ชนชาวอีสานมานาและยังเป็นสื่อในการสั่งสอนชาวบ้านให้เข้าถึงธรรมะในพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี ตลอดหลักการดำเนินชีวิตตามธรรมของพระพุทธเจ้า คำผญาอีสานเป็นประหนึ่งว่าเป็นกุสโลบายของนักปราชญ์ชาวอีสานที่ต้องการจะสอดแทรกธรรมะของพระพุทธศาสนาให้เข้าถึงประชาชนทุกระดับชั้นและทุกเพศทุกวัย ดังนั้นคำสอนที่จัดว่าเป็นคำผญาภาษิตอีสานเหล่านี้เองที่ทำให้ชาวอีสานเป็นคนที่ยึดมั่นในศีลธรรมอันดีงามตลอดมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นทั้งคติพจน์และหลักในการดำเนินชีวิตให้พบความสงบสุข ไปจนถึงระดับธรรมชั้นสูงของพระพุทธศาสนาคือพระนิพพานอันเป็นบรมธรรม
ผู้ศึกษาวิจัยสนเป็นพิเศษยิ่งคืออิทธิพลของพุทธศาสานาที่เป็นคำสุภาษิตนั้นส่งผลอย่างไรแก่คำสุภาษิตอีสาน จนเป็นคติชนคือความเชื่อของชาวบ้านอย่างลึกซึ่งได้ กรณีอย่างนี้ยังไม่มีใครวิได้ศึษาวิจัยกันมากนัก และอีกอย่างที่สำคัญคือสนใจที่จะศึกษาเปรียบกันระหว่างพุทธภาษิตกับและผญาภาษิตอีสานมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดอย่างไรหรือไม่ ที่สะท้อนภาพวิถีชีวิตของชาวอีสานออกมาอย่างไร ตลอดถึงการประยุกต์ภาษิตทั้งสองมาเป็นหลักสำหรับใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคมจากอดีตสู่ปัจจุบัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำสอนที่ให้คติธรรมและรวมอยู่ในวัฒนธรรมเดียวกัน
สังคมท้องถิ่นอีสานเป็นแหล่งอารยธรรมอันสั่งสมมาแต่บรรพกาล วรรณกรรมแบบมุขปาฐะและวรรณกรรมลายลักษณ์อักษรต่างๆมีปรากฏเป็นจำนวนมาก ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย สิ่งที่น่าสนใจก็คือแม้ว่าทั้งสองสุภาษิตจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตนเอง แต่ก็ส่งผลต่อกันทั้งยังเกี่ยวพันกันอย่างแนบแน่นอยู่กับวิถีชีวิตของปวงชนมาช้านาน
พุทธศาสนสุภาษิตและสุภาษิตอีสานที่ผู้วิจัยเห็นว่าน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งก็คือ บทสุภาษิตที่เป็นหลักดำเนินชีวิตหรือที่เป็นหลักทางจริยธรรมในสังคมชาวบ้านท้องถิ่นอีสาน กล่าวคือชาวอีสานแต่โบราณในวัยหนุ่มสาวจะมีประเพณีในการจ่ายคำผญากันโดยใช้ภาษาที่ไพเราะและมีข้อคิดให้ดำเนินชีวิตในทางที่ชอบตามทำนองคลองธรรม มีลักษณะเป็นบทร้อยกรองที่มีทั้งเรียบง่ายและแฝงความหมายอันลึกซึ่งเอาไว้ด้วย คำสุภาษิตอีสานนี้ในท้องถิ่นอีสานเรียกว่า คำผญาภาษิต
ในปัจจุบันนี้ประเพณีการจ่ายคำผญาต่างๆของชาวบ้านได้เสื่อมสูญไปแล้วอย่างน่าเสียดายยิ่ง แต่อย่างไรก็ดีมรดกทางวัฒนธรรมทางภาษาเหล่านี้ย่งคงล่องลอยอยู่ในความทรงจำของผู้สูงอายุในชนบท ตลอดจนได้มีผู้ที่พยายามเก็บรวบรวมบันทึกข้อมูลทางวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าของอนุชนรุ่นหลัง
ผู้ศึกษาวิจัยตระหนักดีถึงคุณค่าแห่งคำสอนที่ปรากฏในพุทธศาสนาและวรรณกรรมเรื่องต่างๆของชาวอีสานกว่าจะเลือนหายไปจากความคิดของชนรุ่นหลัง ประกอบยังไม่มีผู้ใดได้ศึกษาวิจัยโดยการเปรียบเทียบคำสุภาษิตทั้งสองอย่างจริงจังมาก่อน จึงเลือกที่จะศึกษาวิจัยเรื่องนี้ขึ้นมา
๑) เพื่อศึกษาถึงคุณค่าของพุทธภาษิตและคำผญาภาษิตที่มีต่อวิถีชีวิตโดยสังเขป
๒) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์กันระหว่างพุทธภาษิตและคำผญาภาษิตอีสานที่มีต่อวิถีชีวิตตามหลักจริยธรรมโดยสังเขป
๓) เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของพุทธภาษิตและคำผญาภาษิตอีสานที่มีต่อภาพสะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยสังเขป
๔) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบบุญบาปในพุทธภาษิตและคำผญาภาษิตอีสาน
๕) เพื่อเป็นประโยชน์แก่การศีกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพุทธศนาและสุภาษิตอีสานต่อไป
๑.๓ ขอบเขตของการวิจัย
๑ ) ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวกับพุทธภาษิต ได้แก่พระไตรปิฏก และส่วนสุภาษิตอีสาน ได้แก่ คำสุภาษิตต่างๆที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสาน และของนักปราชญ์ทั้งหลาย เป็นข้อมูลทุติยภูมิในการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยสังเขป
๒) ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยธรรมซึ่งปรากฏอยู่ในพุทธศาสนสุภาษิตและสุภาษิตอีสานโดยสังเขป
๓) ศึกษาเปรียบเทียบถึงอิทธิพลของพระพุทธศาสนสุภาษิตที่มีต่อสุภาษิตอีสานในด้านคติ ความเชื้อในลักษณะที่เหมือนกันและแตกต่างกัน
๔) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันของคำสุภาษิตทั้งสองในด้านสำนวนโวหารและเนื้อหา
๑.๔ วิธีดำเนินการวิจัย
๑) ผู้วิจัยจะใช้การศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และเสนอผลการศึกษาเป็นแบบพรรณา โดยเฉพราะพุทธศาสนสุภาษิตนั้นผู้วิจัยจะศึกษาจากแหล่งข้อมูลหนังสือพระไตรปิฏกฉบับหลวง ของกรมการศาสนา โดยผู้ศึกษาจะเข้าไปเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง จากเอกสารและงานวิจัย ตลอดถึงวิทยานิพนธ์และหนังสืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยนี้
๒) ผู้วิจัยศึกษิตสุภาษิตอีสานจากเอกสารที่ได้มีการปริวรรตเป็นสำนวนภาษิตไทยแล้ว และเอกสารงานวิจัย วิทยานิพนธิ์และหนังสืออื่นๆซึ่งเป็นเอกสารของนักปราชญ์อีสานที่ได้ทำการศึกษาเอาไว้นำมาศึกษาเปรียบเที่ยบกันระหว่างพุทธศาสนสุภาษิตกับผญาภาษิตอีสาน
๑.๕ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๑) ทำให้ทราบถึงลักษณะของพระพุทธศาสนสุภาษิตและสุภาษิตอีสาน
๒) ทำให้ทราบถึงจุดประสงค์และหลักจริยธรรมซึ่งปรากฏในพุทธศาสนสุภาษิตและสุภาษิตอีสาน
๓) จะทำให้ทราบถึงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อแนวคำสอนอีสานซึ่งปรากฏในผญาอีสานต่างๆตลอดถึงขนบธรรมประเพณีอันเกิดจากแรงผลักดันของพระพุทธศาสนา
๔) จะทำให้ทราบถึงแนวคิดของนักการศาสนาและนักปรัชญาอีสานซึ่งเป็น
การสงวนมรดกเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางภาษาและวรรณกรรมเอาไว้ได้อย่างหนึ่ง
๕) วิทยานิพนธ์นี้อาจเป็นประโยชน์แก่การศึกษา ค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับคำ
สุภาษิตทั้งสองต่อไปในประเด็นอื่นๆอีก