วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

คู่แท้มีจริงหรือ




เคยบ้างไหม เราแสนจะชอบคนคนนี้ แต่เขาดันไม่ชอบเรา อ้ทีคนที่เราเฉย ๆ กับเขา เขาดันมาตามตื้อจีบแทบเป็นแทบตาย พอเราสลัดรัก ก็แทบจะไปโดดตึกตายแล้วที่เขาว่า คู่แท้(ไม่ใช่ซิมฮัทช์นะ), เนื้อคู่, soulmate มันมีจริงหรือในทางธรรมแล้ว ถ้ายึดเอาตามหลักการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร เป็นแสน เป็นล้าน เป็นแสนล้าน เป็นล้านล้านล้าน ครั้ง คู่เรามีเพียบเลยครับ น่าจะเกินแสนคน ที่เคยเป็นภรรยา เป็นสามีเรา แต่ทำไมเราหาเขาเหล่านั้นไม่เจอ
นั่นเป็นเพราะ เราทำบุญบารมีมาไม่เสมอกันครับ
สังเกตุไหมครับว่า พี่น้องกัน จะมีลักษณะนิสัยบางอย่างคล้าย ๆ กัน บางอย่างก็ต่างกันสุดขั้ว ฝาแฝดบางคนเกิดมาเหมือนกันอย่างกับแกะ ทั้งนิสัยใจคอ และรูปร่างหน้าตา บางคู่ ก็เหมือนแค่รูปร่างหน้าตา แต่นิสัยต่างกันราวฟ้ากับเหว ลูกบางคนเกิดมาปุ๊บ พ่อแม่ร่ำรวยขึ้นทันตาเห็น บางคนเกิดมาแล้ว พ่อแม่จนลงจนเข็ญใจ เหล่านี้ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักทางวิทยาศาสตร์ แต่อธิบายได้ด้วยหลักบุญทำกรรมแต่งครับ
เคยสงสัยไหมว่า ถ้าทำการโคลนนิ่งมนุษย์ เพื่อนำมาใช้เป็นอวัยวะสำรอง และมนุษย์โคลนนิ่ง จะมีชีวิตจิตใจหรือไม่ ทำเช่นนั้น จะเป็นการท้าทายพระเจ้าหรือเปล่า และผิดศีลธรรมไหมถ้าตามหลักพุทธแล้ว จิตที่ลงมาจุติ จะเป็นจิตคนละดวง กับต้นแบบครับ จิตหรือดวงวิญญาณทั้งหลายในจักรวาลนี้ ท่านเปรียบว่า มนุษย์บนโลกหกพันล้านคนนี่เหมือนหัวไม้ขีด ปริมาณจิตที่รอการเกิดนั้น เหมือนดวงอาทิตย์ ฉะนั้น เมื่อมีสภาพที่เหมาะสมกับการจุติ(เช่นการโคลนนิ่ง) ข้าพเจ้าเชื่อว่า จะมีจิตเข้าไปจับจองกายสังขารใหม่นั้น และเขาก็จะกลายเป็นคนอีกคนหนึ่ง คนละคนกับต้นแบบ ฉะนั้นถามว่า ผิดไหมที่เอาอวัยวะของโคลนมาใส่ตัวจริง ก็ต้องตัดสินเอาตามว่า ถ้าเอาอวัยวะของอีกคนหนึ่งที่มีชีวิตจิตใจมา ผิดไหม
เอ๊ะ...จะคุยเรื่องคู่แท้ ไหงโผล่มาเรื่องโคลนนิ่งได้หว่า
       จากหลักการเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่าในวัฎสงสารดังกล่าว พอจะอนุมานได้ว่า ไอ้คนที่มาปิ๊งเรา หรือ คนที่เราปิ๊ง เป็นคนที่เราเคยตุนาหงันกันมาในอดีตชาติ คำว่า ตุนาหงันนี่ อาจจะไม่ใช่แค่สามี ภรรยานะ อาจเป็นพี่ เป็นน้อง เป็นป้า เป็นน้า เป็นอา เป็นเพื่อน เป็นได้ทั้งนั้น แค่เคยมีปฏิสัมพันธ์กันมา แต่ชาติปางก่อน อมาถึงชาตินี้ ไอ้ความสัมพันธ์เดิม ๆ ก็ลืมหมด รู้แต่ว่า คนนี้เห็นแล้วสบายใจ คนนี้คุยด้วยแล้วถูกใจ คนนี้อยู่ด้วยแล้วรู้สึกคุ้นเคย ทั้งที่ชาติที่แล้ว อาจจะเคยเป็นลูก เป็นพ่อ เป็นแม่ กันมา

มาชาตินี้มาจีบกันเฉยเลย
 



      
การที่เขามาปิ๊งเรา แต่เราไม่ปิ๊งเขา หรือเราปิ๊งเขา แต่เขาไม่ปิ๊งเรา เกิดจากบุญบารมีไม่เสมอกัน เสียเป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือ ไอ้ที่เขามาปิ๊งเรา เราไม่ปิ๊งเขา ก็เพราะบุญบารมีเขาน้อยกว่าเรา ส่วนไอ้ที่เราปิ๊งเขา แต่เขาไม่ปิ๊งเรา ก็เพราะบุญบารมีเขามากกว่าเรา ซึ่งความจริงก็ดีแล้วครับ การไม่มีคู่ เป็นลาภอันประเสริฐ เพราะทุกข์สุดแสนเที่ยวแดนเนรมิต รออยู่ครับ
        เริ่มตั้งแต่ตอนยังไม่เป็นแฟนกัน ก็ต้องคอยพยายามเอาอกเอาใจ ประคับประคอง สุดฤทธิ์สุดเดช เรียกว่า ถ้าถวายชีวิตให้ได้ คงทำไปแล้ว พอได้เป็นแฟนกัน ก็มานั่งกังวลอีก เขาจะรักเราไหมน๊า เขาจะไปมีคนอื่น แอบนอกใจเราไหมน๊า ครั้นพอแต่งงานกันไป คราวนี้ทุกข์เพิ่มขึ้นหลายเท่าครับ เพราะส่วนใหญ่ การแต่งงาน ไม่ใช่เรื่องของคน แค่ ๒ คน แต่หมายถึง ๒ ครอบครัว มาดองกัน คราวนี้ละมันส์กว่าเดิมอีก แทนที่จะเอาอกเอาใจแค่คนเดียว ต้องเอาอกเอาใจทีนึงทั้งบ้านเลย แต่งกันได้สักพัก มีลูก โอ้โห....ทุกข์เสียยิ่งกว่าอะไร เมื่อก่อน ว่าเมียเราผัวเรา ดูแลยากแล้วนะ พอเจอลูกเข้าไปนี่ ความทุกข์มันแอดว้านซ์ยิ่งกว่า จีเอสเอ็ม สองวัตต์ (ไปนึกภาพต่อกันเอาเอง) แต่เชื่อไหมว่า คนเราก็พยายามวิ่งเข้าหาทุกข์ที่กล่าวมานี่แหละ
ถ้าตาซิกมุนด์ ฟรอยด์ เขาก็บอกว่า เกิดจาก sexual drive หรือ แรงขับดันทางเพศ แต่ถ้าเป็นพระพุทธเจ้าท่านทรงบอกว่า เพราะสัตว์โลก ประกอบด้วย อวิชชา-ความไม่รู้ หรือความโง่ ครอบงำ


         เห็นทุกข์ก็บอกว่า เป็นความสุข เพื่อนข้าพเจ้าคนหนึ่ง พอชวนให้เขามาทางธรรม เขาบอกว่า มันยังสุขอยู่เลย เวลากอดลูกแล้ว มันสุขอย่างบอกไม่ถูก นั่นละ ทุกข์อิ๊บอ๋ายเลย ก็เห็นเป็นความสุข นั่นละ ที่ท่านเรียกว่า "กรูโง่" คนทั่วไป มักคิดว่า ความสุข ก็เป็นอย่างหนึ่ง ความทุกข์ก็เป็นอย่างหนึ่ง ถ้าเราหาเงินไปมาก ๆ เงินก็จะซื้อความสุขได้ แล้วทุกข์ก็ไม่มี แต่พระสอนว่าว่า สุข กับ ทุกข์ มันอยู่ติดกัน ไปไหนมาไหนด้วยกันเสมอ หมายถึงว่า ถ้ายังมีสุขอยู่ ทุกข์ก็ยังมีเหมือนกัน และถ้าเราละสุขเสีย ทุกข์ก็ไม่ต้องละ หายไปเองยกตัวอย่างเช่น การกอดลูกแล้วมีความสุขนั้น สุขอยู่กี่นาทีครับ แลกกับการที่ต้องประคบประหงม เลี้ยงดูปูเสื่อ อย่างดี เป็นสิบ ๆ ปี นี่ละครับที่ท่านว่า สุขกับทุกข์มันอยู่ติดกัน สุขทางโลก เป็นสุขที่เจือด้วยทุกข์
        อะ...แต่ถ้าไม่เห็นด้วย อย่างไรแล้ว ฉันก็จะหา "คู่แท้" หรือ soulmate ของฉันให้เจอ (ให้สมกับหัวเอ็นทรี่) ขอแนะนำให้ไปทำบุญครับ มีตัวอย่างมากมายหลายกรณีมาก จะยกให้ดูสักหนึ่งกรณี เพื่อนข้าพเจ้าคนหนึ่ง เคยปิ๊งสาวคนหนึ่งมาตั้งแต่สมัยเรียนมหาลัย แต่เขาไม่ปิ๊งกลับ แล้วก็ไม่ได้เจอกันอีกเลย นานมาก ช่วงหลัง ๆ มาเพื่อนข้าพเจ้าคนนี้ ก็หันมาสนใจธรรมะ ฝักใฝ่ธรรมมากขึ้น ปฏิบัติธรรมบ้างถ้ามีโอกาส ปรากฏว่า จู่ ๆ สาวคนนี้บินกลับมาจากเมืองนอก นัดเจอเพื่อนเก่า ๆ พอพบกันอีกที เหมือนบุพเพอาละวาดครับ เขาเกิดมาปิ๊งเพื่อนของข้าพเจ้า ทั้งเพื่อน ๆ ของเขา ก็เชียร์กันยกใหญ่ แหม....ไม่อยากจะเซด เพื่อนข้าพเจ้าก็โทรมาเล่าให้ฟังว่า ไม่น่าเชื่อเลย เธอดูสูงส่งเกินเอื้อมมาก และเมื่อคุยกันไป ก็พบว่า เธอสนใจปฏิบัติธรรมเหมือนกัน ข้าพเจ้าก็เลยแนะให้ไปทำบุญร่วมกันเสียเลย ชวนเขาไปเที่ยว ก็ชวนไปเที่ยววัด ไปทำบุญ ชวนไปปฏิบัติธรรม ทำสมาธิด้วยกัน แล้วก็บอกเขาอย่างที่เขียนมานี่ละ มันเหมือนบุญบารมีเราเริ่มไล่ตามเขาทันแล้ว แต่น่าเสียดาย เพื่อนข้าพเจ้า ไม่ได้เชื่อสิ่งที่ข้าพเจ้าแนะ สุดท้ายความสัมพันธ์ก็พังพินาศ ข้าพเจ้าก็ได้แต่ปลอบใจเขาว่า "เฮ้ย...ไม่รู้หรือว่า การไม่มีคู่ เป็นลาภอันประเสริฐ"
ที่นี้ทำบุญอย่างไรดีหนอ ถึงจะไล่ตามเขา(คนที่เราหมายปอง)ทัน เพราะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย ไอ้เราเพิ่งมาเริ่มทำบุญ เขาทำบุญมาแต่ไก่โห่แล้ว บางทีอาจตุนมาแต่ชาติก่อน ๆ และธรรมดาคนที่มีจิตเป็นกุศล งดงาม ก็มักจะชอบทำบุญเป็นวัตรอยู่แล้ว ไอ้เราก็เบี้ยน้อยหอยน้อย ขืนทำมาก ก็ไปเบียนเบียนตัวเองเอาเสียอีก เป็นอันไม่ได้บุญ
     มีบุญอยู่ชนิดหนึ่งครับ ไม่ต้องใช้ตังค์ ทำได้ทุกเวลาด้วย บุญนั้นอยู่ที่ลมหายใจเรานั่นแล หายใจเข้า รู้อยู่ว่า หายใจเข้า หายใจออก รู้อยู่ว่าหายใจออก ทำจนสามารถระงับ ได้ บุญหนักยิ่งกว่า สร้างโบสถ์ร้อยหลัง ถ้าคู่ปรับเรา เขาเอาแต่ทำทาน เราอ้อมไปดักหน้าเขาเลยครับ ด้วยการเจริญสติ เจริญสมาธิ (แต่ขอโทษทีครับ ถ้าปฏิบัติ เพราะคิดหวังแอ้มเธอ ไม่ได้บุญนะครับ ต้องทำด้วยปราศจากความอยากครับ ไม่ใช่ไม่ให้อยากเสียเลยนะครับ ไม่อยากเลยนั่นเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว แต่หมายถึง ช่วงที่เราปฏิบัติอยู่ ให้ระงับความอยากเสียชั่วคราว)หรือถ้ากลัวไล่เธอไม่ทัน ไปเข้าคอร์สปฏิบัติธรรมเสียเลยครับ นั่นดูลมหายใจกันแทบตลอดเวลา ยกเว้นตอนหลับ ก็จะช่วยให้ไล่ตามเธอได้เร็วขึ้น
ถ้ามาดแม้นไล่ตามเธอไม่ทันจริง ๆ ก็จะมีคนมาชอบเรามากขึ้น จากที่เคยมีแต่ หมู เห็ด เป็ด ไก่ มาชอบเรา ก็จะเริ่มมี นางฟ้า เทพบุตร ตกสวรรค์ มาชอบเราบ้าง คราวนี้กลายเป็น บุญเยอะ เลือกได้ ครับถ้าจนแล้วจนรอด ก็ยังมีแต่ หมู เห็ด เป็ด ไก่ มาชอบเราอยู่ดี ไม่ถูกเป็คเลยสักคนเดียว บวชไปเลยครับ สิ้นเรื่องสิ้นราว เขาว่า กลิ่นอะไรก็ไม่หอมเท่า กลิ่นพรหมจรรย์ครับ กลิ่นศีลนี้หอมทวนลมนะครับ คราวนี้ พอบวช ๆ ไป พอใกล้จะข้ามโอฆะ ใกล้หลุดออกจากสังสารวัฎ มารจะเข้ามาทดลองใจครับ ส่งหนุ่มหล่อ ๆ สาวสวย ๆ มาล่อ เสร็จเราเลยครับ เราก็รีบลาสิกขา ออกมามีแฟนทันใด อิ อิ พญามารเห็นแล้ว เอาตีนก่ายหน้าผากเลยครับ เสียรู้ให้เราเสียแล้ว เหอ....เหอ....
เคดิพี่ดังตฤณ




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons