วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

รวมรวมบทผญาอีสาน

ผญาอีสาน
รวบรวม โดย บ่าวริมโขง

*******************
Untitled-7"พี่น้องเอย เพิ่นว่าเมืองอีสานนี่ดินดำน้ำซุ่ม
ปลากุ่มบ้อนคือแข้แกว่งหาง
ปลานางบ้อนคือขางฟ้าลั่น
จั๊กจั่นฮ้องคือฆ้องลั่นยาม
คนมีศีล ดินมีน้ำ บ่ห่อนขาดเขินบก
ฝูงหมู่สกุณานก บินซวนซมปลายไม้
ไทเมืองไกล เมืองใกล้ ไปมาได้จอดแว้
น้ำใจหลายดีแท้น้อ หมู่เฮาซาวอีสาน ซั่นแล้ว"
คันเจ้าได้ขี่ซ่าง อย่าลืมหมู่หมูหมา
ห่าขโมยมาลัก สิเห่าหอนให้มันย่าน
ลางเทือกวงฟานเต้น นำดงสิได้ไล่
ลางเทือได้ต่อนสิ้น ยังสิได้อ่าวคุณ...อยู่เด้
พี่น้องเอ้ย เพิ่นว่าชมรมฯอีสานจุฬาฯเฮานี่ มีดีอยู่หลายอย่าง
อยากให้ซ่อยฮักษาไว้ อย่าไลถิ่มเปล่าดาย
คั่นสิพากันสร้าง แปงทางให้มันเกี้ยง
อันว่าเรื่องปากเสียง ให้อดสาเก็บไว้
ไม้ลำเดียวอ้อมฮั่วบ่อยู่ ไหมหลายไจดึงซ้างจังสิคือ แท้นอ
ขอให้ฮักกันไว้ คือข้าวเหนียวนึ่งใหม่
อย่าสิไรซังกัน คือเข้าเหนียวถูกน้ำ
ไผว่าชมรมฯอีสานจุฬาฯสิฮ้าง ให้จูงแขนพามาเบิ่ง
คนยังแตกจ้นจ้น มันสิฮ้างแมนบ่อนได๋ นั่นแหลว
เซื้อซาติแฮ้งอย่าเหม็นสาบกุยกัน
เกิดเป็นคนอีสานให้ฮักแพงกันไว้
ไผเฮ็ดดีให้ซอยยู้ ซอยซูอย่าหย่านลืน
ไผเฮ็ดผิดให้ซอยเว้า ไขแก้ดอกซอยกัน
kanผมบ่มีหวีป้องสิเป็นฮังนกจอก
มีปากคันบ่มีแข้วพร้อมคางสิว้ำใส่ดัง
แนววังคันบ่มีขอนขวงซาวแหเขาสิหว่าน
มีเฮือนคันบ่มีพ่อเย้าโจรสิเข้าลักของ
มีกลองคันบ่มีหนังหุ้มสิเป็นฮางผักบั่ว
มีหัวคันว่าผมบ่พร้อมเขาสิเอิ้นเดิ่นเหา
มีเกวียนคันบ่มีงัวพร้อมสิเอาหยังมาแก่
เกวียนคันบ่มีไม้ค้ำหัวสิง้ำใส่ดิน
"อย่าสุไลลืมทิ้มพงศ์พันธุ์พี่น้องเก่า
อย่าสุละเซื้อเหง้าหาญ้องผู้อื่นดี
เพิ่นว่าไทไกลนี้เจงเลงน้ำแจ่วข่า
บ่ท่อใสจิ่งหลิ่งไทใกล้น้ำแจ่วขิ่ง
เพิ่นว่าสิ่งของนี้บ่ขัดสีปัดเป่า
อีกบ่โดนกะสิเศร้าเสียค่าของแพง
ให้ค่อยแหย่งเอาไว้ของไทเฮาซาวอีสาน
ฮีตเก่าของโบราณอย่าพาลข้ามทิ้มเสีย ซั่นแล้ว"
เลี้ยงซ้างเฒ่าขายงาได้กินค่า
เลี้ยงซ้างน้อยตายถิ่มค่าบ่มี
คั่นซิมักผู้บ่าวน้อยซิอดมื้อกินหยัง
มักให้มักผู้บ่าวเฒ่าคือสิได้กินมี
Untitled-4ใจประสงค์สร้างกลางดงกะหว่าถ่ง ใจขี้คร้านกลางบ้านกะหว่าดง
นอนคนกล้ำฝันเห็นสะดุงตื่น พอแต่ลุกล้างหน้าคึดฮอดเจ้าอยู่บ่ลืมแท้หน่อ
อยากซิถามข่าวเจ้าisanchula
ผู้ว่ามีปัญญาเต็มพุงเพียงปาก
ตอนนี้นั้นสำบายดีหรือบ่
ขอไห้ไขปากเว้านำตัวข้าแด่ถ่อน
พี่น้องชาวอีสานเอย...
กลับมาอีกเถื่อนี้มีเรื่องเก่ามาขอถาม
เข้ามายามไทเฮาชาวอีสานย้านไลร้าง
สินธุ์โปงลางคนเค้าจับสำเนากลอนมาเอ่ย
เผยสำนวนออกเว้าถามข่าวเจ้าเลือดข้าวเหนียว
เผิ่นหว่าถามข่าวบ้านถามข่าวเถิงเสา
ถามข่าวข้าวถามข่าวเถิงนา
ถามข่าวปลาถามหาเถิงข้อง
คันถามข่าวพี่น้อง แหม่นเจ้าอยู่สุขสำบายดีบ่อนอ
หรือแหม่นมีความทุกข์สิ่งได๋บ่อนอป้า
เฮ็ดไห่หมานปลาเฮ็ดนาเจ้าหมานฝ้าย หรือแหม่นสุขสำบายหายฮ้อนนอนอั่ง บ่อเด
หรือมีทุกข์อีหยังเงินคำหลั่งอั่งเต้าโฮมเจ้าคู่สู่คนบ่อนอโยม...
เถื่อนี้ฝากผญาไว้ซ่ำนี้ก่อนกะแล้วกันเด้อ เข้ามาอีกเถื่อหน้าจั่งสิเอามาฝากอีก
ขอให้ชาวอีสานสู่คนมีความสุขหลาย ๆ อย่าได้เจ็บเกินคน อย่าได้จนกว่าไผกะแล้วกันเนาะ
เจริญพร......
34ออนซอนดิน.....ออนซอนหญ้า
ออนซอนน้ำ.....ออนซอนปลา
ออนซอนฟ้อน.....ออนซอนแอ่น
ออนซอนพิณ.....ออนซอนแคน
กลอนผญาค่าส้ำ.....ลำเรื่องต่อกลอน
ห่างซ้อน นอนไห้ห่วงหา เถิง. แม่จันทนาเนื้อ หน้ามน คนคิดฮอด
สารนี้ชื่อว่า อักษรใช้ ลายเซ็นนำส่ง เพื่อประสงค์ข่าวข้อ
ขอซ้อนฮ่วมพระมัย ก็จึ่งแปลงสารใช้ เขียนผญาแต้มแต่ง
มาแสดงต่อน้อง ยามแค้นคลั่งกระหาย โอน้อ…เจ้าผู้จันทนาเนื้อ
แก้มอ่อนๆ ละมัยผิว เฮียมเอ้ย ขอให้แยงผญาเถิง
บ่าวพี่ชายปางนี้ เจ้าผู้จันทจรแจ้ง พี่จงใจสมสวาท
นับแต่พ้อพบน้อง บ่มีมื้อสิหล่ายลืม ได้แหล่ว อันแต่ในมโนอ้าย
ทลายลงล้มล่าว แสนสาวมานั่งล้อม บ่ปานน้องผู้อยู่ไกล
เทื่อนี้ พี่จึงลิขิตข้อ ขอขอดพระทัยฮัก ขอให้กูณาผาย
โผดเฮียมยามแค้น คันสิขังมโนไว้ อกสิเพพังมุ่น เอาแหล่ว
พี่จึงปูนแต่งแต้ม กลอนแก้ข่าวสาร ขอให้นางคราญน้อง
ยอฉลองเทียมเนตร หลิงหล่ำสารสอดฮู้ ประสงค์แจ้งฮอดชาย แด่ท่อน
พี่พ่องกลัด พ่องกลุ้ม หลงฮูปละเมอเถิง ว่าสิปองเอาอวน
ยอดนางมานอนซ้อน ขอให้ดวงสมรแก้ว กลมเกลียว ฮักห่อ พี่ถ่อน
ผายโผดอ้าย ผู้โทนโท่อยู่เดียว พี่นี่ หวังกอดเกี้ยว ผกายกอด กรกวม
ผิว่าสมความหมาย สิชื่นชมสมเยื้อน พี่สิเพียรสมสร้าง
สะพานทองเที่ยวไต่ สองฝ่ายก้ำ ให้เป็นแป้นแผ่นเดียว
เจ้าผู้ศรีเสลียวสร้อย ยอยผมดำให้นำเลี่ยม เฮียมแม้
พี่กะตั้งต่อน้อง หมายหมั่นชั่วชีวัง พี่นี้ ขันอาสาตั้ง
ถวายดอมเด็ดเดี่ยว มักเพื่อสมสู่สร้าง สินสร้อยซ่อยปอง
28พี่นี่ฮักฮูปน้อง นมนานสุดซั่ว จริงแหล้ว
หาสังปูนเปรียบด้าม เสมอเผี้ยงบ่มี พี่แหล่ว
ผัดแต่ลงโลกหล้า เอากำเนิดในมนุษย์ มานี้
พี่บ่ทันเคยฮัก ผู้ได๋ปานน้อง ผัดแต่ครองตนสร้าง
พสุธาเมืองลุ่ม บ่เคยฝักไฝ่ฝั่น กระสันดิ้นต่อไผ
เทื่อนี้ พบภาพน้อง ละเมอป่วงหลงใหล ขอแก่สายใจอวน
ฮ่ำคะนิงหวนฮู้ เจ้าผู้ตู๋หลูต้น ทองไทยพิฑูรเทศ เฮียมเอย
อดเจ้าผายผ่อเยี่ยม กระแสสิ่งสอดสาร พี่ท่อน
พี่นี่ ฮักนาถน้อง หลงฮูปละเมอหา ผิว์บ่สมเจตนา
สิมิ่งมรณาเมี้ยน อดให้สงสารถ่อน สายสมรเทียมเตร เฮียมเอ้ย
สงสารชายกำพร้า มาเว้าเหนี่ยววอน พี่นี่ จรจวบน้อง
มาพานพบจอมขวัญ คือจั่ง กาดำพบ จวบนางลุนน้อย
อันว่า สมเสลาสร้อย นางลุนผัดฮักห่อ กาดำ นั่น
ยังได้เกาะกอดเกี้ยว ผสมฝั่นฮ่วมกัน คึดเบิ่ง เงาะฮูปฮ้าย
ใบ้บ้ากะทาชาย ยังได้ชมแซมสอง รจนานางน้อย
ขอให้ สมเสลาสร้อย พิจารณ์ใจแจ้งแจบ ดูถ่อน อย่าให้ ฮักพี่นั้น
ฮามฮ้างเคิ่งทาง โอน้อ.. ขอให้กก กอดเกี้ยว
ก้านก่าย กร-กวัด ยามเมื่อ สองเฮาพลัด พรากแฮมฮามซ้อน
พี่ขอวอนเถิงไท้ พระอินทราปองซ่อย แน่แหม๋
ขอให้ ชักจ่องน่าว สองเฮาให้ฮ่วมกัน พี่นี้หากตั้งต่อน้อง
ตรงเที่ยงเป็นสัตย์ ขอให้ สายแนนซัก ฮ่วมสองเสนห์ซ้อน
พี่จัก วอนเอาน้อง นางแพงเทียมภางค์ ปฏิบัติแนบข้าง
เตียงมุ้งม่านเดียว เจ้าผู้ศรีเสลียวสร้อย เสมอพรพรหมแต่ง พี่เอย
อ้ายมักใคร่ขอขอดหมั้น นำน้องชั่วชีวัง พี่นี่ หวังสมสร้าง
เสน่หาปองปลูก ทุกข์คอบว่ามาบ่ได้ กลัวน้องบ่ปากนำ
พี่นี้ ฮักยิ่งล้ำ เสมอหินถมแผ่น คันบ่สมเพชอ้าย
อิดูหน้าหุ่นพลอย ย้านแต่ เหลือแฮงห้าม หัวใจสิมามุ่นทะลาย แหล่ว
ขอให้ ใจน้องหล่า นางน้องซ่อยปอง แน่ถ่อน โอน้อ..ให้ซ่อยปักซ่อยป้อง
ดับโศกละลายทุกข์ พี่นี่ อย่าได้ เมินตาเฉย บ่คะนิงหวนฮู้
พี่ เทียมดังนาวาน้อย ลอยนทีกลางแก่ง
มีแต่ ฟองฟาดเบื้อง สิจมหมิ่งแค่วัง
ขอให้ นงนางน้อย หลิงดูยามยาก ต้านตอบถ้อย
ผอวนอ้ายผู้อยู่คอย แด่ถ้อน พี่ กะหวังทราบข้อ
ไขต่อกระแสสาร ขอให้ ภิญโญญาณ สอดแสวงเถิงอ้าย
พี่หมาย31 มาเป็นข้า ทาสาแสนชาติ ให้นาง ไขวาทเบื้อง ผญาฮู้ส่องญาณ แม่เด้อ
แยงไป ก้ำฝ่ายบ้าน ภูมิถิ่นดินสถิต อดให้ ยอแยงคิด
ใคร่กระแสสารอ้าย อย่าให้ เสียสูญฮ้าง ฮามชมสารสวาท
พี่สิ คอยอ่านเอื้อม แยงสิ่งหล่ำสาร เจ้าผู้ จันทร์เพ็ญแจ้ง
ปุณณมีเพ็งภาคย์ แม่นสิ ลำบากบ้าง อย่าลืมโต้ตอบสาร พี่เดอ
(ชาย) .... สุขซำบายหมั้นเสมอมันเครือเก่าบ่นอ เทิงพ่อแม่พี่น้องซำบายถ้วนอยู่สู่คนบ่เด
(หญิง) .... น้องนี้ สุขซำบายหมั้น เสมอมันเครือเก่าอยู่ดอกอ้าย เทิงพ่อแม่พี่น้องซำบาย พร้อมสู่คน
(ชาย) .... อ้ายนี่อยากถามข่าวน้ำ ถามข่าวเถิงปลา ถามข่าวนา อยากถามข่าวเถิงเข้า อ้ายอยากถามข่าวน้องว่ามีผัวแล้วหรือบ่ หรือว่ามีแต่ซู้ ผัวสิซ้อนหากบ่มี
(หญิง) .... โอนอ อ้ายเอย น้องนี้ปอดอ้อยซ้อยเสมอดั่งตองตัด พัดแต่เป็นหญิงมาบ่มี ซายสิมาเกี้ยว ผัดแต่สอนลอนขึ้นบ่มีเครือสิเกี้ยวพุ่ม พผัดแต่เป็นตุ่มไม้เครือสิเกี้ยวกะบ่มี
(ชาย) .... น้องอย่ามาติแถลงเว้า เอาเลามาปลูก บ่แหม่นเซื้อซาติอ้อยกินได้กะบ่หวาน
(หญิง) .... คันบ่จริงน้องบ่เว้า คันบ่เอาน้องบ่หว่า คันบ่แม่นท่า น้องบ่ไล่ควายลง ตีลงแล้ว ถอยคืนมันสิยาก มันสิลำบากน้องเทียวหยุ่งอยู่บ่เซา
(ชาย) .... อ้ายนี่เป็นดังอาซาไนม้า เดินทางหิวหอด มาพ้อน้ำส้างแล้วในถ้ำกะส่องดาย กลายไปแล้ว ผัดคืนมาก้มส่อง อยากกินกะกินบ่ได้ เลียลิ้นอยู่เปล่าดาย
(หญิง) .... น้องนี้เป็นดังเฮือคาแก้ง เสาประดงคุงหาด หาผู้คึดซ่อยแก้ ให้หายฮ้อนกะบ่มี
16193_6797_090729104552_R7คนเฮานี้ ต้องเผิ่งอาศัยกัน
คือดังปลาอาศัยน้ำ น้ำกะเผิ่งวังปลา
ปลาอาศัยวังเวิน จึ่งล่องลอยนาน้ำ
ทามอาศัยห้วย งัวควยอาศัยแอก
ตาแฮกอาศัยไก่ต้ม จึงโดนตุ้มจากคอน
คือดังคอนอาศัยไม้ นกใส่อาศัยโกน
คนกะอาศัยคน เผิ่งกันโดยด้าม
คามอาศัยหม้อ หมอมออาศัยส่อง
ฆ้องอาศัยไม้ฆ้อน ตีต้องจึงค่อยดัง
สามัคคีกันไว้ คือข้าวเหนียวนึ่งใหม่
อย่าได้เพแตกม้าง คือน้ำถืกข้าวเหนียว
สามัคคีกันไว้ คือฝนแสนห่า
ตกลงมาจากฟ้า ไหลโฮมโห่งอยู่หนอง
น้องเอ้ย..อ้ายนี่เปรียบคือจอกอยู่น้ำ ฮากหยั่งบ่ถึงดิน ไหลเวินไป เวินมา กะบ่มีเฟือยค้าง ว่าสิไหลมาค้างตักพนางสิได้บ่ ดำข้อล่อจั่งบักอ้ายตาซ้ายให้ล่ำมองแน่เป็นหยัง....นางเอ้ย
น้องเอ้ย...ให้เจ้าอดสาหย้ำกินขิงตางข่า ก่อนถ้อน อดสาเว้านำบ่าวผู้ฮ้าย ซามพ้อบ่าวผู้ดีแน้เป็นหยัง...นางเอ้ย
น้องเอ้ย.. อ้ายสิถามข่าวข้าว ข้าวผัดอยู่ในนา อ้ายสิถามข่าวปลา ปลาผัดอยู่ในน้ำ อ้ายเลยถามข่าวน้องว่ามีผัวแล้วหรือไป่ หรือว่ามีแต่ซู้ ผัวสิซ้อนแม่นบ่มี..น้อ..นางเอ้ย
ถามข่าวน้ำ สิถามข่าวหาปลา
ถามข่าวนา สิถามข่าวหาข้าว
ถามข่าวเจ้าสเลเตว่าเจ้าเป็นผู้ใด๋หนอ
คันแม้นพอสิบอกได้ ให้เว้าแจ้งแถลงจา
ผู้ผญาเลิศล้น คนทั้งค่ายเขาออนซอน
แม้นอยู่เขตอุดร นครก้ำหรือกะสินธ์
หรือแม้นถิ่นสารคาม สิถามเจ้าบอกได้บ่อ"
http---wallpaper-hit.blogspot.com 16สิบเดือนหลำซาวเดือนหลำ
บ่เห็นเจ้ามาด๋อกมาใส่เบ็จ
บาดว่าเค้าเข้าขึ้นเลาบัตเห็นเจ้า ดอกเทือเดี่ยว ว่าสันดอกว่า.....
สิบปีกะสิถ้าซาวพรรษากะสิอยู่ คันบ่ได้เป็นคู่เห็นแต่อุแอ่งน้ำกะปานได้นั่งเทียม
ว่าสันว่า....
น้องชายสิลาจากอ้ายน้องกลับต่าวเคหัง ปาสิลาวังเวินเสิ่นไปคือฮุ้ง ทุงสิไลลาผ้า
สาหนองสิลาบวก ฮวกสิลาแม่น้ำ นางน้องค่อยอยู่ดี แด่เนอ
ไกลมื้อนี้ มื้ออื่นสิมาหา
คันแม้นชีวายัง สิด่วนมาหาเจ้า
คือดังปลาอาศัยน้ำ น้ำกะเผิ่งวังปลา
ปลาอาศัยวังเวิน จึ่งล่องลอยนาน้ำ
ทามอาศัยห้วย งัวควยอาศัยแอก
ตาแฮกอาศัยไก่ต้ม จึงโดนตุ้มจากคอน
คือดังคอนอาศัยไม้ นกใส่อาศัยโกน
คนกะอาศัยคน เผิ่งกันโดยด้าม
คามอาศัยหม้อ หมอมออาศัยส่อง
ฆ้องอาศัยไม้ฆ้อน ตีต้องจึงค่อยดัง
อันว่าโตผมนี้ เนาว์อยู่ยั้งแดนดินถิ่นไกล
ถิ่นภูไทเขาฮ้อง หนแห่งห้องเมืองนครฯ
พอได้จรจากบ้าน แดนดินถิ่นอีสาน
ไปฮ่ำเฮียนเขียนอ่าน วิชาการหลายปีได้
อยู่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยังคึดฮอดบ้านหลัง
เลยได้ฮ่วมพลังมวลมิตรของเฮาซาวลูกซ้าง
ก่อเป็นวงโปงลางมอซอ พอได้ฮ่วมสืบต่อสานศิลป์ถิ่นอีสาน
สืบตำนานเอาไว้อย่าไลทิ้มเปล่าดาย
แม้นคนหลายหรือน้อย ให้คอยตั้งประณิธาน
เพิ่นว่าเมืองอีสานนี้ มีของดีหลายอย่าง
เสียงโปงลางยังดังก้อง พิณแคนกลองกะยังม่วน
โหวดกะขอเซิญซวน ให้หมู่มวลพี่น้องมาซ้อยกันฮักษา
จบขบวนสมควรลา ผญาไว้พอซำนี้
โอกาสหน้าถ้าพอมี บ่าวภูไทคนนี้ สิโงโค้งต่าวมา ซั่นแล้ว
http---wallpaper-hit.blogspot.com 5สุขสำบายหมั่นเสมอมันเครือเก่า
เทิงหมู่พี่น้อง สุขีหมั่นเสมอด้ามดั่งกัน
ผู้เพิ่นมาจาเว้าผญานอ จั่งแม่นม่วน
อยากเชิญชวนพี่น้อง มาเว้าฮ่วมกัน
อันข้าน้อยนี่ บ่มีภูมิดอกนำเพิ่น
เว้าได้น้อย ๆ ควมเว้าบ่เป็น
จั่งได้ลองเว้าเล่น ๆ จั่งเห็นนอตอนนี่
ดีบ่ดีจั่งจั่งได๋เล่า ให้เจ้าแยงเบิ่งเด้อ
มื่อนี่เอาส่ำนี่ก่อน จบคำป้อนบ่อนผญา
คำผญานี่ดีหลายแท้ เว้าม่วนคำจา
ให้ซ่อยกันฮักษาไว้ อย่าไลถิ่มเด้อเปล่าดายดอกเด้อพี่น้องเอย
เซื้อซาติแฮ้งอย่าเหม็นสาบกุยกัน
เกิดเป็นคนอีสานให้ฮักแพงกันไว้
ไผเฮ็ดดีให้ซ่อยยู้ ซอยซูอย่าย่านเหลิน
ไผเฮ็ดผิดให้ซอยเว้า ไขแก้ดอกซอยกัน
สุขขีมั่น ยังสุขสันต์อยู่คือเก่า
เทิงพ่อแก่แม่เฒ่า กะยังอยู่ดีซำบาย
ฮีตปู่ย่าตายาย คองของไทหมู่เฮา หมู่เจ้าเห็นอยู่บ่
หมู่เฮาเคยได้พ้อ เพิ่นหายเสียไปทางใด๋
หรือว่างลงไปใต้ ทางไกลแดนห่าง
ฮีตคองเฮาเลยฮ้าง บ่มีคนล้างขัดสี
มาซ้อยกันเด้อน้องพี่ ฮีต 12 คอง 14 ประเพณีแต่รุ่นเก่า
คองคอยถ้าซุมหมู่เจ้า เข้าฮ่วมสืบสานต่อ ซั่นแล้ว
คำปากพ่อแม่นี้ หนักเกิ่งธรณี
ใผผู้ยำแยงนบ หากสิเฮืองเมื่อหน้า
ในให้เสมอน้ำ คุงคาสมุทรใหญ่
ให้เจ้าคึดถี่ถ้วน ดีแล้วจึงค่อยจา
อย่าได้เฮ็ดใจเพี้ยง เขาฮอขมขื่ม
ความคึดเจ้าอย่าตื้น เสมอหม้อปากแบน
สิบตำลึงอยู่ฟากน้ำ อย่าได้อ่าวคนิงหา
สองสะลึงแล่นมามือ ให้เจ้ากำเอาไว้
มีเงินล้นเต็มถง อย่าฟ้าวอ่งหลายเน้อ
ลางเทื่อ ทุกข์มอดไฮ้ เมื่อหน้าส่องบ่เห็น
เงินหากหมดเสียแล้ว ขวัญยังดอมไถ่
อันว่าผ้าขาดแล้ว แซงนั้นหากยัง
ฮักผัวให้ มีใจผายเผื่อ
ฮักผัวให้ฮักพี่น้อง แนวน้าแม่ผัว
ฟักเฮือไว้ หลายลำแฮท่า
หม่าข้าวไว้ หลายบ้านทั่วเมือง
กินแกงให้เจ้าซอนดูก้าง คาคำซิจิ้มยาก
ดูกมันไปอยู่ค้าง กินน้ำซิบ่ลง
ข้ามเหนือเพื่อตกได้ ไหลลงมาค้อมพอแม่น
คือดั่งอีโต้คมปู้ ให้ฟันเจ้ยแต่ไกล
มีไหมแล้ว อย่าลืมคุณม้อนคว่าง
ม้วนหากแบ่งเส้นหยุ่ง ยองให้ก่อจึงมี
อย่าได้เห็นแก่ได้ หมากแตงโมหน่วยใหญ่
ลางเทือโชคบ่ให้ เลยสิได้อ่าวหวนตัด
เยี่ยวบ่เถิงภายลุน ซิคึกมือเมื่อหน้า
เห็นว่าซอนลอนตั้ง กลางภาชน์อย่าฟ้าวอยากหลายเน้อ
ลางเทือเป็นต่อนง้วน กินแล้วซิบ่ยัง
เป็นขุนนี้ วิชาให้มีมาก
อย่าได้เป็นดั่งหนังแห้ง มาจวบพ้อไฟไหม้ไงดโง
กินให้พิจารไว้ คเณดูสามส่วน ดีดาย
นอนให้คึดสี่ด้าน คนิงถ้วนจึงค่อยนอน
ชาติที่แนวนามบ้ง แปงโตกาซิตอดกินแล้ว
เฮ็ดให้คือดั่งม้วน ใยหุ้มห่อโต นั้นท้อน
เห็นว่าได้หน่อยแก้ว อย่าปะเอิบใจหลาย
ลางเทือ ฮงๆ ใส หน่วยขวงบ่มีฮู้
กุญชโรช้าง แนวสูงสัตวใหญ่
ตายย้อนนกใส่น้อย ผะหยาแพ้ผาบคืน
ของบ่เป็นตาจ้ำ อย่าสุจุ่มลงเลิก
ของบ่เป็นตากิน อย่ากินสิพวนท้อง
044151เฮือนใดยามกินข้าว หลายพามับแมบ
เฮือนนั้นเศิกบ่มั่ว ใจน้ำบ่คล่องปลา
เฮือนใดยามกินข้าว พาเดี่ยวเป็นหมู่
คำฮักยังช่างตู้ม กันไว้หมื่นอะสง
อันว่าผัวเมียฺฮ้าย ยามเดียวก็เป็นเพิ่น เสียแล้ว
บาดว่าพี่น้องฮ้าย คือขี้บ่เหม็น
เฮือคาแก้ง เกวียนเห็นให้เกวียนแก่
บาดว่าไปฮอดน้ำ เฮือซิได้แก่เกวียน
เฮือนคันบ่มีพ่อย้าว โจรสิเข้าล่วงเฮือน
จันทร์ใสแจ้ง ดวงเดียวบ่มีคล่อง
บ่มีดาวแวดล้อม จันทร์เจ้าก็บ่อเฮือง
หนองบ่อมีขอนขั่น ชาวแหเขาสิหว่าน ลงแล้ว
มีวังบ่มีเงือกเฝ้า คนใบ้ก็บ่ยำ
ไกลมื้อนี้ มื้ออื่นสิมาหา
คันแม้นซีวายัง สิด่วนมาหาเจ้า
ไกลกันยามมื้อเซ้า ไกลกันท่อข้อมือ
ไกลกันยามมื้อฮือ ไกลกันท่อนิ้วก้อย
ไกลมื้อเล็กมื้อน้อยกะเลยซ้ำล่ำบ่เห็น
บ่อยากพลัดพรากเว้น เวรหากจ่องจำหนี
บ่อยากไกลสายคอ แม่เวรหากพาเว้น
อยากเห็นโตแม่เวรเด้ สิเป็นโตจังใด๋หนอ
คันเป็นโตคือจังหอย คันมีฮอยคือจังซ้าง
อ้ายสิไปว่าจ้าง พรานหลวงเพิ่นไล่ฆ่า
อ้ายสิไปว่าจ้าง พรานนาเพิ่นไล่ยิง
แม้นสิสิงอยู่ต้นไม้ สิเอาไฟอูดเผา
อ้ายอยากถามข่าวน้อง ถามข่าวไฮ่ผืนหนา
ถามข่าวน้อง ถามข่าวนาผืนกว้าง
ยังค่อยสวยรวยข้าว ฮวงยาวเม็ดถี่ บ่น้อ
ยังค่อยสุกเฮื้อเข้ม เหลืองกุ้มทั่วทุ่งนา อยู่บ้อ
ถามข่าวน้อง ถามข่าวฟืมซาวห้า ประสงค์สอดสมกระสวย
ถามข่าวมวยผมดำ ลูบมันมวยดั้ว
ถามข่าวบัวบานบ้าง กลางสระต้นเปลี่ยว
ยังค่อยไขกาบซ้อน หอมกลั้วกลิ่นละออง อยู่บ้อ
อ้ายอยากถามข่าวอ้อย ป้องถี่กินหวาน
ถามข่าวตาลตูมตัด ปาดงวงกินน้ำ
ถามข่าวตองปลีกล้วย เครือคำต้นต่ำ
หรือว่ากล้วยกาบแก้ว ควายเข้ายาดเขา
หรือว่ามีคนปล้ำฮานฮอนกินหมาก
ขอให้น้องตอบถ้อย ผะอวนอ้ายแอ่วถาม
ถามข่าวเจ้า สาวจุฬายังค่อยอยู่ดีบ้อ
คันแม้นมีเวลาพอ อยากให้ตอบถ้อยคำผญาได้บ่
หรือว่าพ่อเจ้าป้อนซี้นแข้ คางกระแจ ปากบ่ลั่น
หรือว่าแม่เจ้าป้อนซี้นซ้าง คางกระด้าง ปากบ่เป็น บ่น้อ
land8นกเขาตู้พรากกคู่กะยังขัน
กาเหว่าวอนพรากฮังกะยังฮ้อง
บัดว่าน้องพรากอ้ายคำเดียวบ่เอิ้นสั่ง
คันบ่เอิ้นสั่งใกล้กะให้เอิ้นสั่งไกลแน่เด้อ
หล้าน้องสาวเอ้ยไกลขอให้ไกลแต่บ้านฮั่วไฮ่นาสวน
ไกลขอให้ไกลแต่มวลหมู่เฮือนกับเล้า
ส่วนว่าวาจาเว้าสองเฮาอย่าได้ห่าง
ต่างคนแม้นสิอยู่ต่างบ้านความเว้าอย่าห่างกัน
แม้นว่าไกลมื้อนี้มื้ออื่นสิมาหา
คันแม้นชีวายังสิด่วนมาหาเจ้า
ไกลกันยามมื้อเซ้าไกลกันท่อข้อมือ
ไกลมื้อฮือไกลกันท่อนิ้วก้อย
ไกลมื้อเล็กมื้อน้อยกะเลยซ้ำล่ำบ่เห็น น้องสาวเอ้ย
ลูกเอย...ฟังพ่อเฮาแน่
อันนี้แหลว.....ท่านทั้งหลายเอ้ย
เว้าพื้นความขี้ฮ้าย ไผสิว่าให้โตเสีย
มันหากเหลือใจแฮง สังแบ่งปันไปคนก้ำ
จักไผดำไผแหล่ แลเห็นบ่เกินว่า
ประชาชนเบื่อหน้า สังมาเว้าให้เก่าใจ
.....
พี่น้องเอ้ย...
ตกมายุคต้นไม้ ใบบ่ป่งยามฝน
ตกยามคนจัญไร ได้ก่อกวนเมืองบ้าน
ตกหว่างธารบ่มีน้ำ คนผิดธรรมบ้านเมืองแป่
ธรรมชาติปรวนแปร คันบ่แลบ่ฮู้ บ่ดูแล้วฮ่ำบ่เห็น
คิดเบิ่งเด้อ..
ใต้เคยเย็นกลายเป็นฮ้อน นอนนั่งบ่เป็นสุข
พอปานไฟลามลุก ทุกข์ทนไปเทิงแคว้น
ตกหว่างแดนเหนือใต้ น้ำไหลมาปานฟ้าฮั่ว
ตกหว่างบัวไปอยู่ใต้ ขี้ตมพื้นแม่นที
ตกหว่างคนยุคนี้ อยากมีลื่นบรรดาศักดิ์
ตกหว่างคนบ่จงรัก ได้ภักดีแต่คำเว้า
ตกหว่างเอาหว่างได้ สิขายไฟ ให้ไหม้พ่อ
ตกหว่างคนสอพลอ ได้แต่ยอแลบลิ้น ถวิลได้อิ่มบ่เป็น
ตกหว่างคนสิได้เค้น แค้นคั่งนำเงินตรา
ตกหว่างปลาสิกินแมว เบิ่งอีแหลวลงบ้าน
ตกหว่างกาลตะเว็นคล้อย ถอยลงบ่อยากโผล่
ตกหว่างคนบ่อาจโส มีปากโสจาบ่ได้ จัญไรพ้อพบกัน
ตกหว่างดินสิห่างบ้าน สถานที่เคยอาศัย
ตกหว่างไฟบ่มีสี บ่ฮุ่งมีแสงได้
พี่น้องไกลความพ่อเว้า "พอสาเฮา อย่าเอาลื่น"
ได้แต่ฝันบ่มีตื่น พ่อพาบืนบากสู้ เฮาผั่นปู้ส่องบ่เห็น
พ่อบ่ให้ตื่นเต้น เห็นคนอื่นเขาเป็นหยัง
ย้านลูกพังคือเขา ได้ห่วงเงาสิไกลเนื้อ
พ่อเคยเฝือเคยตุ้ม ได้คุมงานจนล้าอ่อน
แสนหนักเหนื่อยสายอุทร ลูกมาถอนโอวาทเว้า บิดาเศร้าหม่นพระทัย
เศรษฐกิจบอกไว้ ให้เดินไต่แบบ "พอเพียง"
อย่าไปเอียงอย่าไปเซ เด่มือซาวเอิ้น
ลูกผั่นเพลินคำย้อง หลงเงินทองเขาป้องใส่
อยากได้หลายผั่นเป็นหนี้ ชีวีกลุ้มคิดบ่ทัน
พี่น้องเอ้ย....
เว้าผญาเป็นบั้น สำคัญอยู่ในดวงจิต
เฮาคงเห็นไผเป็นมิตร ให้คิดนำดูบ้าง
พ่อเฮาถาง พ่อเฮาหม่น สอนเป็นคนให้เห็นค่า
วันที่ห้าธันวา มาฟังคำพ่อสิเว้า สอนเจ้าให้ส่วงตา....
เด้อลูกเด้อ.... ฯ
T090611_02CC_rลูกได้พลัดพรากบ้านมาทำงานเมืองไกล บ่ลืมไลแม่นสิไกลเมืองบ้าน
มาทำงานรับจ้างเอาแฮงกายแลกเงินเพิ่น หวังสิได้บาทเบี้ยพอได้ส่งเมือ
ให้อีพ่อแม่ไซ้ได้อยู่เย็นเป็นสุข แม่นสิสุดแสนทุกข์สิอดทนบ่ย่นย่อ
ลูกอีสานบ่เคยท้อแม่นงานสิหนักหมื่น สิทนฝืนต่อสู้จนม้วยคืนสู่ดิน พ่อแม่เอ๋ย

ฟังวาจาบ่อนบั้นอาจารย์หว่าภาษากลอน
มาฮำฮอนแล้วเป็นทุกข์อุกกะใจนำความเว้า
คึดเห็นมาพาใจเศร้าแนวคนเฮาเป็นลายต่าง
เดินกันคนละทางย่างหนีธรรมพุทธเจ้าลืมความเว้าที่กล่าวมา
คบกันเพียงพ้อหน้าจักสิหว่าแนวได๋
ความในใจของเขาบ่ออาจเดาเองได้
อย่าใส่ใจนำความเว้ามโนเฮาสิพล้อยด่าง
ความเว้าคนมีหลายอย่าง มีเว้าดีเว้าฮ้ายอย่าไปเตื้องต่อคำ
คือโบราณเผิ่นหว่า…
อย่าไปฟังความเว้าของคนมันเกินง่าย
มีเทิงหงายและคว่ำคำเว้าบ่อยู่ความ
เขาฮักเขากะย้องเขาซังเขากะด่า
แนววาจาปิ้นได้สมัยนี้ผัดแห่งหลาย
เป็นนำยุคที่เผิ่นหว่า…
ยุคต้นไม้ใบบ่อป่งยามฝน
กะย้อนคนเทียวตัดจนหว่าเป็นเขาหัวโล้น
บาดยามฝนเทลงให้จักป่าใสใบสิป่ง
เว้ากันแบบตรงตรงป่าบ่อเหลือเสือบ่อซ้นกะคนแท้เป็นผู้ทำ
กลายเป็นยุคขาดน้ำทามขาดป่านาขาดฝน
คนขาดธรรมนำปกจั่งก่อกวนเมืองบ้าน
ยุคคนพาลเป็นเจ้ายุคเสาเมืองถูกดูหมิ่น
ตกหว่างยุคคนลืมศีลดีแต่ปากหากเว้าได้แต่ใจเพี้ยนเปลี่ยนไป
ตกหว่างยุคภาคใต้ไฟโหมลุกลามเผา
ย้อนคนเขาเอนเอียงเบี่ยงคำสอนไปคนด้าน
สถานการณ์กะเลยแย่แปลจากดีไปเป็นชั่ว
คนหวาดกลัวทั่วแค้วนชาวแดนใต้จั่งผวา
ตกหว่างยุคน้ำจากฟ้าล้นอั่งเข้าถั่งโถม
หลังคาจมธาราย้อนป่าดงพงษ์พรรณไม้
ถูกทำลายไปเสียสิ้นเหลือแต่ดินสิ้นพรรณป่า
บาดฝนเทลงมาป่าบ่อมีอุ้มน้ำ ทามบ่อมีป่าไม้คนจั่งให้ซั่วแซว
มันหากเกิดขึ้นแล้วแนวยุคคนใจมัว
มีแต่หัวเบิ๊ดความคึดย้อนยึดติดตัณหากุ้ม
เปรียบดั่งซุมบัวในน้ำเกิดอยู่ในใต้ตมเน่า
เป็นอาหารปลาเต่าคือจั่งคนถูกตุ้มตัณหาหุ้มบ่อดี
ตกหว่างคนยุคนี้อยากมีหลื่นบรรดาศักดิ์
ย้อนบ่อจักความพอจั่งสอพลอหาทางได้
บ่อหว่าไผเด้อท่านกะคือกันอยากได้หลื่น
ฝืนความโลภบ่อได้ใจเลยเลี้ยวไปเกี่ยวโกง
เว้าโจ้งโจ้งแต่ใจคดบ่อมีหลัก
บอกหว่าเฮาจงรักภักดีบ่อมีเบี้ยว
ใจดวงเดียวถวายให้พ่อของไทยไผบ่อท่อ
คดหรืองอพอเว้าได้แต่ใจแท้ส่องบ่อเห็น
ตกหว่างคนสิเต้นเล่นขายไฟให้ไหม้พ่อ
ความบ่อพอย้อนอยากได้แหม่นไฟไหม้กะส่วนยอม
เว้าให้ต้อมหมายความหว่าคนลืมคุณ
คิดนำทุนเป็นหลักบ่อตระหนักดีชั่ว
เลยเมามัวแต่แนวได้เปรียบขายไฟให้ไหม้พ่อ
ถูกบ่อนอข้อนี่ผอวญข้าหว่าแถลง
T300610_02P_rยุคต่อไปยุคใจคนสิแล้งย้อนแค้นคั่งนำเงินตรา
แสวงหาเงินคำมนุษยธรรมลืมเกลี้ยง
คิดแต่เพียงทางได้วิธีได๋กะตามอย่า
ขอแต่ได้เงินมาวิธีหาสิชั่วฮ้ายโสหาได้บ่อใส่ใจ
ยุคต่อไปปลาสิได้ไล่สวบแส่วกินแมวโพง
คนขี้โกงสิครองเมืองเรื่องวุ่นวายสิหลายล้น
ย้อนหมู่คนใจขี้ฮ้ายสิทำลายพวกเผ่า
เปรียบเต่าปลาอยู่น้ำสิไล่ปล้ำสวบแมว
ยุคตาเว็นคล้อยแล้วบ่อมีอ่วยคืนกลับ
อัสดงลงลับบ่อต่าวคืนมาแจ้ง
ยุคแห่งแสงพระธรรมเศร้าเพราะคนเฮาบ่อเตื้องต่อ
ลูกฆ่าแม่ตีพ่อหญิงข่มชายอ้ายน้องไฟสิต้องแผดเผา
ตกยุคคนมักเว้ามาพ้อพบบรรจบกัน
ปานฝนตกขี้หมูไหลคนจัญไรมาพ้อ
พวกสอพลอมักยอย้องเว้าพื้นโตโสความเผิ่น
ศีลข้อสี่ถูกเมินเว้าความจริงบ่อได้บาดยามเจ้ากล่าวขาน
ยุคของดินสิห่างบ้านสถานที่เคยอาศัย
ย้อนต้องไปหาเงินเมืองป่าปูนจนลืมบ้าน
ห่างเฮือนซานที่เคยซ้นห่างไกลคนไกลถิ่น
เปรียบคือดินห่างบ้านเฮือนซานซ้นแหม่นบ่อมี
ตกมาในยุคนี้กองไฟใหญ่บ่อมีสี
ลุกบ่อมีแสงเฮืองมีแต่เพียงความฮ้อน
เปรียบคือตอนโกธาฮ้ายไฟในใจสิครุกรุ่น
ความการุณสิมอดเกลี้ยงมีเพียงแท้ตั้งแต่สูน
ในหัวใจเจ้าสิวุ่นเคืองขุ่นโกธา
อุปมาคือกองไฟไหม้อยู่กลางตาเว็นแจ้ง
บ่อมีสีแสงได้ไหม้หัวใจคนให้หมุ่น
แตกเป็นจุณหมุ่นม้างทลายล้างห่างเพ
อีกอย่างหนึ่ง…เปรียบยุคคนมักเอ้มักแต่งแยงกระจก
แต่ทางในใจพอปานนารกฮกพอปานนาเฮื้อ
มันบ่อเหลือหยังแล้วแนวคนงามแต่ทางนอก
ปอกเข้าไปให้แข่นในแกนแท้ผัดเน่าเหม็น
เปรียบดั่งเช่นไฟบ่อฮุ่งจรุงสี
คงบ่อมีอัตถาประโยชน์หยังให้คนใช้
เป็นแต่เพียงไฟไหม้บ่อมีแสงประกายส่อง
คนยุคนี้เด้อพี่น้องสิเป็นบั้นจั่งกล่าวมา
แท้เด…
"อย่าแตกแยกกันเด้อ สงสารพ่อแน่"
----------------
ตกมาใยยุคนี้ หากมีเรื่องหลายกระแส
บ่อยากแวมาหา ย้านว่าเป็นไปลายม้วน
บทสมควรอันได๋เว้า จั่งสิเอามาเอ่ย
เขยวาจาตอนนี้ สิดีบ้างกว่าอยู่เฉย
....
T180810_03P_rท่านทั้งหลายเอ้ย..
คันสินั่งเบิดเจ้ย เฉยอยู่ในมุมอับ
มัวนัง่หลับตามอง ส่องบ่เห็นการณ์บ้าน
แนวได้ฉันข้าวแล้ว เสียดายแนวข้าวเพิ่นใส่
บ่เว้าหน่อยกะเว้าหลาย วัดด้วยใจ ความถืกต้อง อย่ามองเพี้ยนเป็นอื่นไป
....
ตอนนี้เป็นตาย้านฮ้าย หลายความซ่าภาษายิน
มาคือดินสิเอียงหงวย คนป่วยใจไปลายย้าน
ย้านแต่พาลพาม้วน ควรบ่ควรให้คิดถี่...แน่เด้อ
ฟังให้ดีถ้วนถ้วน สมควรแล้วกะจั่งทำ
เขียนกลอนมาตอกย้ำ ให้สำนึกใน "ความจริง"
อย่าฟ้าวตีงเพราะอารมณ์ สิใส่คมเจ้าของได้
เฮาทั้งหลายเคยเห็นแล้ว แนวเป็นมาเหตุการณ์เก่า
ตั้งแต่คราวกรุงกว้าง ได้ทรวงเศร้าอยู่บ่วาย
...
สามัคคีกันไว้ น้อยใหญ่อย่าไกลตา...พ่อเด้อ
พ่อสอนมาตั้งแต่เหิง ให้เบิ่งนำคำเว้า
ลูกคำเอ้ย.....พ่อของเฮาน้ำตาไห้ สอนปานได๋ลูกบ่เชื่อ
สังขี้ดื้อเอาเหลือ บ่สมเกียสมเลี้ยง ให้เพียงหน้าผู้สุคน
ฮักกันไว้ให้พ่อซ้น อย่าหม่นป่าเถียงกัน
อย่าเป็นพาลนิสัยเสีย ให้เกี่ยกันชูช่วย
พ่อบ่รวย มีเงินให้ สมบัติกายอย่าได้ฮ่ำ
พ่อมีแต่แสงธรรม มีคำสอนให้เจ้า ให้ฟังเว้าอย่าลื่นคอง...
....
ลูกคำเอ้ย...ความบ่ถืกบ่ต้อง ลูกคนป่องสังเกตเอา
บ้านของเฮาไฟสิผลาญ คันด่วนการณ์ใจฮ้อน
คำพ่อสอนให้ใจตั้ง บ้านเมืองพังใจเจ้าม่วน...สั่นบ้อ...
สิ่งได๋บ่สมควร ไผมากวนฮีตบ้าน ให้เฮากั้นผู้สุคน
....
ไผสิกิน ไผสิปล้น คนฮู้อยู่ในใจ
ไผสิหมายครองเมือง กระเดื่องดังเกินบ้าน
ไผเป็นมาร ไผเป็นฟ้า ไผบาปหนา ไผบุญลื่น
ไผผู้กินสินผู้อื่น ไผผู้บืนแบกสร้าง แม่นไผม้างทรัพย์อยู่เฮือน
ไผผู้ใจแปดเปื้อน ไผมันเปลี่ยนอุดมการณ์
ไผสังหารไทยเฮา ไผผู้เอาแต่ความได้
ไผทำลายประเทศสิ้น ไผมันกินสินอั่ง
ไผสิพังแท้แท้ แลแล้วให้ใคร่ครวญ
...
ลูกคำเอ้ย....ไผสิมาซ่อยซ้วน สมควรเบิ่งให้มันดี
ดินกรุงศรีฯของเฮา ต้องซ๋อยเอากะใจช่วย
เฮาอย่ากวยตามคำย้อง เฮาอย่ามองแต่เงินจ่าย
สังเกตุเบิ่งดีดีไว้ ดี-ฮ้าย ให้ส่องเมียง
....
อยากสิเว้าให้เกี้ยง สมได้เสี่ยงลงผญา
เขียนภาษาด้วยใจกลาง ให้ชั่งใจเด้อท่าน
อีกบ่นานธันวาใกล้ ลูกทั้งหลายถ้าฟังพ่อ...เบิ่งเด้อ
ผญาแต่งคอยรอ พ่อสิสอนลูกหล้า ให้มาเตื้องต่อคำ....
เด้อลูกทั้งหลายเด้อ...ฯ
...
ผญานี้ แต่งด้วยใจเป็นกลาง ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองที่ต้องใช้ความรอบคอบในการเข้าถึงข้อมุลข่าวสารของทุกส่วนที่เสนอออกมา....
ไม่ว่าใครจะเป็นอย่างไรก็ตามที...
ผู้ตัดสินตามระบอบประชาธิปไตยคือประชาชนพลเมือง
แต่สำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใดตอนนี้....
คือปีหน้าพ่อของชาวไทย....ได้ทำหน้าที่ของพระองค์ ปกครองบ้านเมืองให้สงบร่มเย็นมาถึง ๖๐ ปี พอดี
เราผู้อยู่ใต้ร่มพระบารมี
...สมควรได้สามัคคี และสำนึกในคุณความดี ให้พ่อได้เห็นว่า
สิ่งที่พ่อได้บำบากตรากตรำ และเหน็ดเหนื่อยมาชั่วชีวิตของพ่อนั้น
ได้ตอบแทนพ่อ สมกับเป็นลูกของแผ่นดิน สมกับเป็นลูกที่เชื่อฟังคำสอนของพ่อ อย่างแท้จริง....
...ขอให้ลูกทั้งหลายสามัคคี เพื่อมิให้ผุ้ใดมาทำลายแผ่นดินของพ่อ
....และไม่ให้ใครมาทำให้ลูกของพ่อแตกความสามัคคีกัน
สงสารพ่อเราบ้าง....ขอให้พ่อได้มองลูกอย่างสุขใจ
แทนความทุกข์ใจในวาระสำคัญเช่นนี้
T061010_06C_rสุดที่ความผญาข้อย เฮียนมาฮ้อยปี
เห็นเพิ่นจาพาที บ่มีได้เท่าเทียม
คือจังเสียมบ้องตื้น ผะสงค์ทื้นแต่โพนใหญ่
คันแม้นใจบ่เพียร เมี้ยนโพนกะบ่แปน ซั้นแล้วพี่น้องเอ๋ย
ผญาเป็นสติเตือนให้ฮู้ไว้คับ เกี่ยวกับควมเว้าคน
ชื่อว่าแนวความเว้าของคนมันเกินง่าย ได้เทิงหงายและคว่ำความเว้าบ่อยู่ความ
เขาฮักเขาก็ย่อง เขาซังเขาก็ว่า
คือดั่งบักเค้าเม้า หมาเฒ่าเห่าแต่เขา
คันเฮาทำดีแล้ว เขาซังก็ตามซ่าง
คันเฮาเฮ็ดแม่นแล้ว หยันหย่อก็ซ่างเขา
เขาสิพากันท้วง ทั้งเมืองก็บ่เงี่ยง
เขาสิติทั้งค่าย ขายหน้าก็บ่อาย
เจริญสุขวันปีใหม่
กงสุรีย์พวมเคลื่อน นภาเลื่อนลงปิด
แสงอาภาพวมมิด มืดมัวสลัวต้อง
เหลียวไปคองภูเขาเบื้อง นภาเหลืองส้มก่าย
ดำเป็นลายสอดขึ้ ดาวพวมฟื้นเปล่งสกาว
ซุมหมู่กุกกุฏาฟ้าว เข้าคอนนั่งฮังนอน
ขึ้นสู่คอนอาศัย ไก่อีลายปีกตุ้ม
ประคองซุมกุ๊กน้อย เจี๊ยบเจี๊ยบออยซ้นปีกอุ่น
ปีไก่หมุนกายแล้ว เซาขันแจ้วซุกคอน
ปี จอ มา ฮับต้อน เปิดป่อนประตูฉาย
สองพัน กายพุทธศก ให้โชคหมานประทานเจ้า
ห้าร้อย ยาววัสสาเนิ่น เตินมาประกาศป่าว
สี่สิบเก้า จวบพ้อ พอศอนี้พ่อกระพือ
สามร้อยหกสิบห้า มื้อ ขอจำจื่ออย่าลืมเลือน
สิบสองเดือนดั่งเงา เก่าเดิมบ่มีเพี้ยน
ความดีเตือนเสมือนเช่น เคยเป็นมากะคงที่
แม่นฮอดปีบ่ฮ้าง บุญทานกั้งเป็นฮ่มเงา
วัสสากายได๋เข้า ก้าวล่วงให้ทรวงใส
สิ่งได๋ได๋เคยเฮ็ดดี ตื่มทวีแฮ่งดีล้น
สิ่งได๋วนวายฮ้อน ทุกข์อุทรพาหมองหม่น
แนวพาต่ำดำกมล ถิ่มใส่โพนเลาะฮ้าง ความซังสิ้นเสื่อมสูน
แนวได๋เคยว้าวุ่น เคืองขุ่นให้คุณขม
โยนใส่ตมมิดทะเล อย่าเด่หามาคาเจ้า
ยาเคยเมาเหล้าเคยก๊ง ทิ่มใส่โลงตอกฝาสั่ง
แนวเคยชั่วพาตัวพัง ให้สั่งลาแต่มื้อนี้ เอาดีขึ้นใส่ จอ
ความบ่ทันได้พ้อ กำลังม่อมาหา
เหมิดระกาปีไก่ขัน อย่าอ่วยหันแนวกลุ้ม
ขอให้ภูมิใจซ้วน สิ่งสมควรเคยเฮ็ดผ่าน
หันหน้าสู่ใส่งาน หว่านพืชทุนบุญดีเริ่ม ชีวันเพิ่มแต่เสถียร
ฮู้เก็บจัดมัดเมี้ยน เร่งเพียรพร่ำตามคำสอน
ถือเป็นพรอันสำคัญ ผู้ประทานนั้นคือเจ้า
พรของเฮาเจ้าอยากได้ สิมีไผให้สมดั่ง
แนวพาสู่สมความหวัง เพราะพลังโตยู้ ชูขึ้นใส่เจ้าของ
ฮู้จักความถืกต้อง เป็นคนป่องกุศลธรรม
ประกอบกรรมฝ่ายขาว บ่อ่าวพาลซุมมารร้าย
หิริอายต่อบาปชั่ว กลัวตัณหาแนวพาต่ำ
เที่ยงตรงซื่อถือคองธรรม องค์สัมมาพุทธเจ้า ตามคำเว้าเพิ่นสั่งสอน
อันนี้แหลว...จั่งสิหายเดือดฮ้อน เป็นพรมิ่งมงคล
สาธุชนได้สมหวัง ดั่งประสงค์ยามนี้
T280611_10C_rบารมีพระไตรป้อง ผองภัยพาลอย่ามาผ่า
อุปสรรคนานา อย่าได้มาตำต้อง ผู้ปองร้ายให้เปลี่ยนใจ
สุขสงบไปทั่วค้าย ประเทศใหญ่เมืองสยาม
สันติธรรมเป็นบ่อนจบ ให้พบแสงบรมชั้น
สถาบันทั้งสามยู้ ชูราศีดีโดดเด่น
ขอน้องพี่จงอยู่เย็น เช่นสยามนามชื่อยิ้มฮอยพิมพ์ก้องกู่นภา
ปีจอเปิดม่านฟ้า ประชาท่านสำราญยิน
บำเพ็ญศีลไต่คอง ฮีตสิบสองครรลองเค้า
สำคัญเฮาอย่าลืมฮู้ กตัญญูแผ่นดินพ่อ
อยู่กินอย่างเพียงพอ พ้อแต่ความร่มรื่น คืนเว็นได้ฮับมิ่งพร....พุ้นตั้ว...ฯ

รำลึกสึนามิ 1
คลื่นยักษ์ ซึนามิ ถล่มภาคใต้ของไทย ๖ จังหวัด
ยามเมื่อเสิงสางฟ้า เทิงนภานกบินเซิ่น
เสียงจอแจจอกเอิ้น เพลินเล่นส่งเสียง
ใต้นภาเหลียวไปเบื้อง ทะเลอ่าวสุดสายตา
เย็นอุราลมพัด บักพร้าวตีใบเต้น
เห็นทะเลสีฟ้า อุปมาฟ้าเบื้องล่าง
ยามนี้ทางลุ่มใต้ คนพวมได้ตื่นนอน
ปี ๔๗ พวมสิข่อน จรอ่วยสิลาหนี
ปีระกาพวมขัน ๔๘ หันเข้ามาใกล้
คนทั้งหลายมาข่อน ฮับพรมื้อปีใหม่
ประเทศไกลประเทศใกล้ มาทางใต้ประเทศเฮา
การท่องเที่ยวเริ่มก้าว กระโดดแข่งขันกัน
สร้างสีสันฮับคน จนชื่อนามดังก้อง
เกาะพีพีเป็นหม่อง ลือนามงามเด่น
เป็นอันดับต้นต้น ของโลกว่างาม
อันดับสามทุกทวีป คนฮีบแล่นมาดู
เกาะกะชูชื่อเสียง เป็นดั่งนามคนย้อง
เป็นเมืองทองแหล่งท่องเที่ยว ทัวร์มาเทียวมื้อหลายเทื่อ
มาหลายครั้งกะบ่เบื่อ เหลือหัวใจพออยากย้าย มาเนาว์ยั้งอยู่ไทย
อันดามัน ทะเลใต้ หลายที่หลายจังหวัด
ชวนสัมผัสพิศมอง ส่องแยงยามเยี่ยม
เทียมสวรรค์ของคนล่าง มีพังงา ตรัง กระบี่
สตูล ระนอง หว่างนี้ มีคนเข้าแวะหลาย
ในเขตเอเชียใต้ คนพวมม่ายมาหา
จนเวลาเงินทอง ส่องใสยามนี้
ญาติโยมเอ้ย…ท้องฟ้าสีใสจ้า ตรุณาพวมเช้าใหม่
สี่โมงสายแดดเร่งจ้าคนพวมถ้ากินข้าวเช้า โฮมเต้าเอิ้นใส่กัน
จั่งว่าในตอนนั้น ไผสิอ่านมองเห็น
เป็นจั่งธรรมดาเคย บ่เปลี่ยนเลยจากเค้า
น้ำขาวขาวที่ไหลนิ่ง ทางใต้ตีงเกิดคลื่นใหญ่
บ่ทันชั่วอึดใจ ถาโถมใส่บ่ยัง พังหน้าบ่สน
พัดเอาไม้ทั้งต้น คน รถ อาคารหาย
สูบเอาไปในทะเล เด่ซาวบ่ทันช่วย
ปานยักษ์กวยแผ่นดินแกล้ง น้ำสีแดงขี้ตมหย่อง
มองไปไสแปนม้าง จมเกี้ยงมิดทะเล
บ้านตึกเพอาคารม้าง สิเหลือหยัง…ประสาคนน้อยใหญ่
สิ่งที่น่าอนาถใจ อุ้มลูกไว้แท้แท้ หนีแล้วฟั่งบ่ทัน
โศกสุดกลั้น วิโยคอย่างแสนสาหัส
กรรมหยังน้อพาพัด ซัดตำบาปเวรฮ้าย
ภัยอันเกินสิจาต้าน ทุกข์มหันต์ทุกก้ำฝ่าย
มันสุดแสนเสียใจ ลูกเมียหายพ่อแม่ฮ้อง เฮไห้ฮ่ำหา
เสียงเอิ้นกันก้องฟ้า มาหาแม่…เด้อทูนหัว
พ่อแม่คัวกอดกัน สั่นสายหทัยน้อย
แสนสิออยออดเว้า เอาหยังมาล่อให้อุ่น
มีแต่บุญซ่อยไว้ บ่ตายเพิ่มดั่งเขา
ศรีลังกา อินโดเข้า ตายเป็นหมื่นน่าสงสาร
ของเฮาพันประมาณนับ แต่เห็นในวันนี้
ความทวีแสนกลั้น เกินรำพันอันยิ่งใหญ่
น้ำตาไทยหลั่งย้อยน้ำใจไทยกะหลั่งล้น คนไทยช่วยเบิ่งกัน
จั่งว่าตอนนี้นั้น บ่ควรผ่านไปเฉย
บ่ควรเลยดูดาย ใส่ใจสมควรช่วย
มีหยังอำนวยได้ กำลังใจให้เติมตื่ม
เฮาบ่ลืมกันแท้แท้ คราวนี้เพิ่งซุคน
สรุปผลในตอนนี้ เอาความดีมาแจกแบ่ง
แม่นแฮงหยัง..สิท่อแฮงซ่อยจากเจ้าแฮงใจเข้าซ่อยภัย ฯ
แต่งไว้เมื่อหลังเกิดเหตุ วันที่ 26 ธ.ค.48



land11รำลึกสึนามิ 2
เสียง…?
เสียงคลื่นดังซ่าซ่า ไหลบ่าบ่ทันหนี
เสียงน้ำตีเรือไหว ใส่หาดทรายบ่มียั้ง
เสียงน้ำดังทะมึนคลื่น กลืนคนกำลังแล่น
เสียงหวีดฮ้องทั่วแดนควาแขนกันขวาซ้าย หนีตายขึ้นบ่อนสูง
เสียงตึกเฮือนพังล้ม บ้านถล่มแปนหาย
เสียงแล่นหนีความตาย คุบคะมำสะยานเต้น
เสียงไซเรนดังก้อง เอิ้นขึ้นมองหม่องสูงก่อ
เสียงร้องขอความช่วยเหลือไจ้ไจ้ เทิงไห้กะพ่องกัน
เสียงน้ำไหลเกินสิกั้น คูขั่นแก่นปูนหรือหิน
เสียงกลืนกินอย่างใจเย็น อิ่มบ่เป็นทะเลฮ้าย
เสียงฮ้องไห้หาพี่น้อง ผองลูกเมียคณาญาติ
เสียงต่างชาติฟังบ่แจ้ง แสดงได้แต่ท่าทาง
เสียงครวญครางบัดน้ำฮ้ายคลื่นใหญ่สงบลง
เสียงขอโลงใส่ศพ นบมือวอนไหว้
เสียงคนหายหาเอิ้น เตินกันอยู่ไสแน้
เสียงพ่อแม่ว่าลูกข้อย หายจ้อยมิดทะเล
เสียงหามแปลแบกคนฮ้อง คนเจ็บส่องแสวงหา
เสียงความเวทนาถึง อึงคะนึงวายวุ่น
เสียงอุดหนุนน้ำใจแจ้ง แสดงความสงสารซ่อย
เสียงพี่น้องคอยอยู่ใต้ วอนไหว้ให้ซ่อยกัน
เสียงหาศพตะโกนลั่น ฟันฝ่าโคลนตม
เสียงระงมไปทั้งเกาะ แก่งเขาสะเทินฟ้า
เสียงผญากะเลยเว้า ซ่อยกันเฮาทุกก้ำฝ่าย
เสียงน้ำใจทั่วฟ้า ลงมาค้ำภาคใต้เฮา
เสียงเอิ้นว่า…มาเด้อซุมหมู่เจ้า ซ่อยกันเบิ่งดูแล
ยามนี้แจมุมได๋ ต่างใจบ่ยอมนิ่ง
ซ่อยกันหลิงซ่อยกันซ้วน มวลศรัทธาผู้ใจใหญ่
ใสหรือขุ่นบาดห่านี้สิเห็นฮู้ผู้สุคน พี่น้องเอ้ย คนไทยเอ้ย ฯ
แต่งไว้เมื่อ 26 ธ.ค.48 (หลังเกิดคลื่นสินามิ)
ขอไว้อาลัยกับเหตุการณ์ความสูญเสีย ครั้งยิ่งใหญ่ในประเทศ อันเกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติฯ
..........นางเอ้ย......เจ้าผู้กินเข่าจ้าว ขายาว สูงเจินเทิน .
......................อ้ายผู้กินเข่าปั่น....ขาสั่น...ยังบ่เทิง......
.........ความมักอ้าย มันบ่สั่นคือขา......
.....................ยาวสำวา...ปานวาผ้าบุญผเวส......
.........อ้ายมักเจ่า...อยากได้มานอนเฮียง....
.....................อยากได้ยินเสียงเจ่า อยู่สุยามนั่นแล่ว......
อันว่าโพศรีสร้อย ใบบ่ดกนกบ่แก่น
หมากบ่หวานจ้อยจ้อย กาเอี้ยงบ่สงวน
บัดว่าโพศรีสร้อย ใบดกนกแก่น
หมากหากหวานจ้อยจ้อย กาเอี้ยงจั่งสงวน นั่นเด้อ
กกไม้ใหญ่ แต่ใบบ่มี
สาวผู้ดี บ่มีศีลสร้าง
เป็นแม่ฮ้าง แล่นขึ้นแล่นลง
เป็นพระสงฆ์ วินัยบ่คอบ
คือผีปอบ กินตับกินไต
แปงขัวสร้าง สะพานทองเทียวท่อง
หมายอยากเป็นพี่น้อง จังได้มาแวะหยาม"
คนเพิ่นญ้อง เถิงถิ่น แดนอีสาน
ว่ามีของโบฮาน อยู่เต็ม ภายพื้น
เฮามาพากันสร้าง ฮักษา สืบต่อ
ของดีมีอยู่แล้ว อย่าไลถิ่ม เปล่าดาย เด้อ….พี่น้อง….เด้อ
คันได้กินปลาแล้วอย่าลืมปูปะปล่อย
ลางเทือปลาขาดข้อง ยังสิได้ป่นปู เด้
คันเจ้าได้ขี่ซ่าง กั้งฮ่มสัปทน
อย่าสิลืมคนจน งอยโพนเกาฮิ้น
คันเจ้าได้ขี่ซ่าง กั้งฮ่มเป็นพญา
อย่าสิลืมชาวนา ขี่ควายคอนกล้า
คันเจ้าได้ขี่ซ่าง อย่าลืมหมู่หมูหมา
ห่ากะโมยมาลัก สิเห่าหอนให้มันย่าน
ลางเทือกวงฟานเต้น นำดงสิได้ไล่
ลางเทือได้ต่อนซิ้น ยังสิได้อ่าวคุณ .น้องเอ้ย
land5ไกลขอให้ไกลแต่บ้าน ฮั่วไฮ่นาสวน
ไกลขอให้ไกลแต่มวล หมู่เฮือนกับเล้า
ส่วนว่าวาจาเว้า สองเฮาอย่าได้ห่าง
ต่างคนแม้นสิอยู่ต่างบ้าน ความเว้าอย่าห่างกัน
"แนวอ้ายสร้างขัวเงินเจ้าบ่นำ
แนวอ้ายสร้างขัวคำเจ้าบ่ไต่
บัดว่าไทไกลบ้าน สร้างแต่ขัวไม้อ้อ
มีแต่ตอไม้แต้ เป็นเสี้ยน สิค่อยคลาน ซั่นบ่ สาวจุฬาฯ เอย...."
คันเจ้าตายเป็นขมิ้นหัวดงชน ข่อยสินำไปก่น
เกิดเป็นคนคันบ่ได้กล่อมกลิ้ง ตายเป็นขมิ้นยังสิได้กล่อมคิง ซั่นแหลว....นางเอย
"ไกลกายเจ้า ใจกะอยู่นำนาง
บ่มีทางไกลกัน ให้พรากหนีไกลข้าง
แม้นสิอยู่ฟากฟ้า สิหย่อเป็นแผ่นดินเดียว
ตรางสิบคืนซาวคืน สิหย่อเป็นคราวมื้อ
คันความฮักมันคือข้าว สิขอกินให้มันอิ่ม
คันความฮักมันคือนำบ่อแก้ว สิลงล้างอาบสรง......ซั่นแล้ว"
"อ้ายคือนกเจ่าดั่ง เรียบฝั่งแคมสระ
ผัดแต่เห็นปลามา กะอยากกินจนแดดิ้น
เห็นแต่นกเต็นเต้น บินลงกินก่อน
นกเจ่าแหงนเบิ่งฟ้า น้ำตาย้อยอาบขี้ดิน ซั่นแล้ว"
"มีแต่ความปากเว้า ใจบ่เอาอ้ายบ่ว่า
อย่ามาตั๋วให้คอยถ่า คำสัญญาบ่มั่นแก่น
แม้นว่าทางฝ่ายเจ้า มีคนเฝ้านอนเคียง
หรือว่าเพียงหลอกเว้า ให้อ้ายเฝ้าป่วงละเมอ หล้าเอย"
ครันได้กินลาบก้อยซิ้น อย่าลืมแจ่วแพวผัก
ได้กินภาช์เงินภาช์คำ อย่าสิลืมกระเบียนฮ้าง
ผู้ฟังเอย…คนเดียวนี้บ่คือคนรุ่นเก่า คนสมัยสู่มื้อนี้บ่คือกี้เก่าหลัง
แต่อดีตเก่าพุ้น คุณปู่คุณตา คนไปมาหากัน บ่รวดเร็วไวฟ้าว
การแต่งตัวสมัยนั้น ธรรมเนียมแบบเก่า ฝ้ายก็เข็นด้วยมือ เหล่นหลาเฮานั้น
มือเข็นฝ้าย พากันลงข่วง เข็นฝ้ายอยู่เดิ่นบ้าน ไฟไต้กะบ่มี
มีก็มีไฟตั้ง กองฟืนสุมต่อ เอาแสงเดือนอยู่ฟ้า มาใช้เจ้าซ่อยแสง
อยู่กันเป็นคุ้มคุ้ม ลงข่วงโฮมกัน กินข้าแลงแล้วลงโฮม หมู่ฝูงมาเต้า
บ่จักเด็กหรือเฒ่า เอาแคนลงมาเป่า ทั้งดีดซุงโอ่ยพร้อม ซออู้ก็โห่งัน
ออกข่วงนั้นแล้วก็ไปข่วงนี้ เลียนเลาะตบมือ ผู้เฒ่านอนทางซาน เหงี่ยหูฟังไว้
ประเพณีไทยแท้ บ่คือกันหลายอย่าง ทางอีสานทุกทั่วหน้า เป็นจั่งซี่คราวกี้เก่าเดิม …พี่น้องเอย

ประวัติความเป็นมาของแคน

kanประวัติความเป็นมาของแคน

คน เป็นชื่อเครื่องดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานที่เก่าแก่มีมาแต่โบราณ แคนเป็น เครื่องดนตรีที่ใช้ปากเป่าให้เป็นเพลง ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้ แต่ก็มีประวัติที่เล่า เป็นนิยายปรัมปราสืบต่อกันมา ดังต่อไปนี้

 หญิงหม้ายผู้คิดประดิษฐ์ทำแคน

าลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีพรานคนหนึ่งได้ไปเที่ยวล่าเนื้อในป่า เขาได้ยินเสียงนกกรวิก (นกการเวก) ร้องไพเราะจับใจมาก เมื่อกลับมาจากป่าถึงบ้าน จึงได้เล่าเรื่องที่ตัวเองไปได้ยินเสียง นกกรวิกร้องด้วยเสียงไพเราะนั้นให้แก่ชาวบ้านเพื่อนฝูงฟัง ในจำนวนผู้ที่มาฟังเรื่องดังกล่าวนี้ มีหญิงหม้ายคนหนึ่ง เกิดความกระหายใคร่อยากจะฟังเสียงร้องของนกกรวิกยิ่งนัก จึงได้พูดขอร้องให้นายพรานล่าเนื้อ อนุญาตให้ตนติดตามไปในป่าด้วย เพื่อจะได้ฟังเสียงร้องของนก ตามที่นายพรานได้เล่าให้ฟังในวันต่อมา

ครั้นเมื่อนายพรานล่าเนื้อได้พาหญิงหม้ายดั้นด้นไปถึงในป่า จนถึงถิ่นที่นกกรวิก และนกเหล่านั้นก็กำลังส่งเสียงร้องตามปกติวิสัยของมัน นายพรานก็ได้กล่าวเตือน หญิงหม้ายให้เงี่ยหูฟังว่า

"นกกรวิกกำลังร้องเพลงอยู่ สูเจ้าจงฟังเอาเถอะ เสียงมันออนซอนแท้ แม่นบ่"

หญิงหม้ายผู้นั้น ได้ตั้งใจฟังด้วยความเพลิดเพลิน และติดอกติดใจในเสียงอันไพเราะ ของนกนั้นเป็นยิ่งนัก ถึงกับคลั่งไคล้ใหลหลง รำพึงอยู่ในใจตนเองว่า

"เฮ็ดจั่งได๋นอ จั่งสิได้ฟังเสียงอันไพเราะ ม่วนชื่น จับใจอย่างนี้ตลอดไป ครั้นสิคอยเฝ้า ฟังเสียงนกในถิ่นของมัน ก็เป็นแดนดงแสนกันดาร อาหารก็หายาก หมากไม้ก็บ่มี" จึงได้คิดตัดสิน แน่วแน่ในใจตนเองว่า

"เฮาสิต้องคิดทำเครื่องบังเกิดเสียง ให้มีเสียงเสนาะ ไพเราะออนซอนจับใจ ดุจดังเสียง นกกรวิกนี้ให้จงได้"

เมื่อหญิงหม้ายกลับมาถึงบ้าน ก็ได้คิดอ่านทำเครื่องดนตรีต่าง ๆ ทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า หลาย ๆ อย่าง ก็ไม่มีเครื่องดนตรีชนิดใด มีเสียงไพเราะวิเวกหวานเหมือนเสียงนกกรวิก ในที่สุดนาง ได้ไปตัดไม้ไผ่น้อยชนิดหนึ่ง เอามาประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่ง แล้วลองเป่าดูก็รูสึก ค่อนข้างไพเราะ จึงได้พยายามดัดแปลงแก้ไขอีกหลายครั้งหลายครา จนกระทั่งเกิดเป็นเสียงและ ท่วงทำนองอันไพเราะเหมือนเสียงนกกรวิก

แคน เสียงจากลมไผ่

จนในที่สุด เมื่อได้แก้ไขครั้งสุดท้ายแล้วลองเป่าก็รู้สึก ไพเราะออนซอนดีแท้ จึงคิดที่จะไปทูลเกล้าถวายพระเจ้าปเสนทิโกศล ให้ทรงทราบ ก่อนที่จะได้เข้าเฝ้า นางก็ได้เพียรพยายามปรับปรุงแก้ไขเสียงดนตรีของนางให้ดีขึ้นกว่า เดิม และยังได้ฝึกหัดเป่าเป็นท่วงทำนองต่าง ๆ จนมีความชำนาญเป็นอย่างดี

ครั้นถึงกำหนดวันเข้าเฝ้า นางก็ได้เป่าดนตรีจากเครื่องมือที่นางได้คิดประดิษฐ์ขึ้นนี้ ถวาย เมื่อเพลงแรกจบลง นางจึงได้ทูลถามว่า "เป็นจั๋งได๋ ม่วนบ่ ข้าน้อย"

พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ตรัสตอบว่า "เออ พอฟังอยู่"

นางจึงได้เป่าถวายซ้ำอีกหลายเพลง ตามท่วงทำนองเลียนเสียงนกกรวิกนั้น เมื่อจบถึง เพลงสุดท้าย พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ทรงตรัสว่า "เทื่อนี่ แคนแด่" (ครั้งนี้ ดีขึ้นหน่อย)

หญิงหม้าย เจ้าของเครื่องดนตรี จึงทูลถามว่า "เครื่องดนตรีอันนี่ ควรสิเอิ้นว่าจั่งได๋ ข้าน้อย" (เครื่องดนตรีนี้ ควรจะเรียกว่าอย่างไร พระเจ้าข้า)

พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงตรัสว่า "สูจงเอิ้นดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำเว้าของเฮา อันท้ายนี้ สืบไปเมื่อหน้าเทอญ" (เจ้าจงเรียกดนตรีนี้ว่า "แคน" ตามคำพูดของเราตอนท้ายนี้ ต่อไปภายหน้าเถิด)

ด้วยเหตุนี้ เครื่องดนตรีที่หญิงหม้ายประดิษฐ์ขึ้นโดยใช้ไม้ไผ่น้อยมาติดกันใช้ปากเป่า จึงได้ชื่อว่า "แคน" มาตราบเท่าทุกวันนี้

นี่เป็นเพียงนิทานปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมา ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอน

บางท่านก็สันนิษฐานว่า คำว่า "แคน" คงจะเรียกตามเสียงเครื่องดนตรีที่ดังออกมาว่า "แคนแล่นแคน แล่นแคน แล่นแคน" ซึ่งเป็นเสียงที่ดังออกมาจากการเป่าเครื่องดนตรีชนิดนี้ แต่ บางคนก็มีความเห็นว่า คำว่า "แคน" คงเรียกตามไม้ที่ใช้ทำเต้าแคน กล่าวคือ ไม้ที่นำมาเจาะใช้ ทำเต้าแคนรวมเสียงจากไม้ไผ่น้อยหลาย ๆ ลำนั้น เขานิยมใช้ไม้ตะเคียน ซึ่งภาษาท้องถิ่นทางภาค อีสานเรียกว่า "ไม้แคน" แต่บางท่านก็ให้ความเห็นที่แตกต่างกันออกไป

แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าคิดอยู่บ้างคือ "แคน" นี้น่าจะทำขึ้นโดยผู้หญิง ซ้ำยังเป็น "หญิงหม้าย" เสียด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่า ส่วนประกอบที่ใช้ทำแคนอันสำคัญคือส่วนที่ใช้ปากเป่า ยังเรียกว่า "เต้า แคน" และมีลักษณะรูปร่างเป็นกระเปาะคล้าย "เต้านม" ของสตรีอีกด้วย ทั้งการเป่าแคนก็ใช้วิธี เป่าและดูด จนสามารถทำให้เกิดเสียงอันไพเราะ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลสนับสนุนอีกข้อคือ คำที่เป็นลักษณะนามเรียกชื่อ และจำนวนของแคนก็ใช้คำว่า "เต้า" แทนคำว่า อัน หรือ ชิ้น ฯลฯ ดังนี้ เป็นต้น ที่สำคัญคือ เสียงของแคนเป็นเสียงที่ไพเราะอ่อนหวาน ซาบซึ้งเหมือนเสียงนกการเวก ตาม นิทานเรื่องดังกล่าว เหมือนเสียงของหญิงหม้ายที่ว้าเหว่เดียวดาย ดังนั้นถ้าจะกล่าวว่า "หญิงหม้าย" เป็นผู้ประดิษฐ์คิดทำแคนขึ้นเป็นคนแรก จึงเป็นเหตุผลที่น่ารับฟังได้มากพอสมควรทีเดียว

ลักษณะของแคนมีสองชนิด คือ แคนน้อย (ยาวศอก คืบ ยาวสองศอก ยาวสองศอกคืบ) และแคนใหญ่ (ยาวสามศอก ยาวสามศอกคืบ สี่ศอก สี่ศอกคืบ) ที่เคยใช้ในปัจจุบัน แต่ที่เคยมี ยาวถึงหกศอก แคนสองขนาดนี้แบ่งเป็นสองอย่าง คือ แคนเจ็ด และแคนแปด แคนเจ็ดนั้นมีลูกเจ็คู่ ส่วนแคนแปดนั้นมีลูกแปดคู่

แคนเจ็ด

แคนเจ็ด

แคนแปด
แคนแปด

ส่วนแคนของเผ่าลาวลุ่มนั้นมีหกคู่ และแคนของเผ่าลาวสูงมีแค่สามคู่เท่านั้น และใช้ท่อต่อเต้าสำหรับการเป่าตามธรรมดา

แคนลาว
แคนลาวสูง ลาวลุ่ม ลาวเทิง

"แคน" ทำด้วยไม้อ้อ หรือไม้เหี้ยน้อย แต่เดี๋ยวนี้ไม้อ้อหาได้ยาก เขาจึงทำแคนด้วยไม้เหี้ยน้อย และจะต้องหาให้ได้ขนาดเท่านิ้วมือจึงจะใช้ได้ นอกจากไม้เหี้ยน้อย ซึ่งทำเป็นลูกแคนยาวลดหลั่นกันตามลำดับ 7 คู่ หรือ 8 คู่ ประกอบเข้ากันกับเต้า ติดสูด (ขี้สูด) ข้างบนและข้างล่างเต้า เพื่อไม่ให้ลมเป่าเข้าสูบออกรั่ว แล้วยังมีลิ้นแคน รูแพว และรูนับเสียงเป็นสิ่งสำคัญด้วย ข้างในของแต่ละลำไม้ลูกแคนประกอบด้วยลิ้นแคนหนึ่งอันที่มีหนึ่งเสียง และจะต้องเจาะรูแพวให้ถูกตามเสียงเสมอ วิธีเป่าแคนลาวลุ่มก็เหมือนกับการเป่าแคนลาวเทิง หรือ ลาวสูง คือจะต้องใช้อุ้งมือทั้งสองข้าง อุ้มเต้าแคนไว้แล้ว เป่าหรือดูดสูบลมที่รูเต้า ส่วนนิ้วมือก็นับไล่ตามเสียงไปด้วย

"แคน" เครื่องดนตรีชิ้นแรกของโลก
มอสอนศาสนาชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางไปสอนศาสนาในเมืองจีน ได้พบว่า คนจีนได้เอาดนตรีแคนของไทยไปเลียนแบบทำเป็นดนตรีของจีน และเมื่อหมอสอนศาสนาเหล่านั้นกลับไปยุโรป ก็ได้เอาแบบฉบับของแคนไปปรับปรุงให้เป็นออร์แกนในเวลาต่อมา

ศาสตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยผู้หนึ่ง ท่านได้เขียนเล่าประวัติเครื่องดนตรีไทยว่า "เมื่อตอนที่ผมอยู่นิวยอร์คนั้น ผมได้พบกับศาสตราจารย์ผู้หนึ่ง ซึ่งสนใจในการค้นคว้าเรื่องประวัติดนตรีมาก เขาบอกว่า ได้พบเครื่องดนตรีชิ้นแรกของโลกแล้ว มีลักษณะเป็นกระบอกไม้ไผ่หลาย กระบอก เอามาผูกมัดเรียงกันเข้าไป ในแต่ละกระบอกมีลิ้นโลหะ

ถ้าเป่าลมเข้าไปในกระบอก ให้ลมผ่านลิ้นนี้แล้วจะเกิดเป็นเสียงดนตรีขึ้น เขาว่าได้พบและเชื่อแน่ว่า เครื่องดนตรีชนิดนี้เป็นดนตรีโบราณที่สุด แล้วเขาก็พยายามจินตนาการวาดรูปมาหลายรูปตามที่คาดคิดว่า ของจริงคงจะมีรูปร่างลักษณะอย่างนั้น ผมดูแล้วขำแทบตาย เพราะรูปร่างที่เขาวาดนั้นพิลึกกึกกือ มิใช่น้อย เลยบอกเขาไปว่าอย่าเสียเวลาเลยจะดูให้เห็นของจริงๆ เครื่องดนตรีชนิดนี้เขาเรียกว่า "แคน" ถ้าอยากเห็นก็ไปเมืองไทยเถอะ จะเอาสักกี่ร้อยกี่พันก็ยังได้"

จากบันทึกที่ท่านศาตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ได้บันทึกไว้นี้ ผนวกเข้ากับนิทาน ปรัมปราที่กล่าวมาแล้ว ทำให้มีความเชื่อได้สนิทใจว่า "แคน" คือ เครื่องดนตรีโบราณของไทย ตั้งแต่สมัยอาณาจักรอ้ายลาว ในยุคน่านเจ้า เพราะว่าได้มีการค้นพบเครื่องดนตรีชนิดนี้ในแถบ มณฑลยูนาน และยังเชื่อกันว่า แคนเป็นเครื่องดนตรีที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 2 พันปีขึ้นไป และที่ว่าแคน เป็นเครื่องดนตรียุคน่านเจ้า แท้ที่จริงแล้วอาจจะมีก่อนหน้านั้นด้วยซ้ำไป ดังนั้นจึงน่าจะมีเหตุผล เพียงพอที่จะเชื่อได้ว่า แคน คือ เครื่องดนตรีชิ้นแรกของโลก

จากบันทึกที่ท่านศาตราจารย์ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ได้บันทึกไว้นี้ ผนวกเข้ากับนิทาน ปรัมปราที่กล่าวมาแล้ว ทำให้มีความเชื่อได้สนิทใจว่า "แคน" คือเครื่องดนตรีโบราณของไทย ตั้งแต่สมัยอาณาจักรอ้ายลาว ในยุคน่านเจ้า เพราะว่าได้มีการค้นพบเครื่องดนตรีชนิดนี้ในแถบ มณฑลยูนาน และยังเชื่อกันว่า แคนเป็นเครื่องดนตรีที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 2 พันปีขึ้นไป และที่ว่าแคน เป็นเครื่องดนตรียุคน่านเจ้า แท้ที่จริงแล้วอาจจะมีก่อนหน้านั้นด้วยซ้ำไป ดังนั้นจึงน่าจะมีเหตุผล เพียงพอที่จะเชื่อได้ว่า แคน คือ เครื่องดนตรีชิ้นแรกของโลก

สำหรับชาวอีสานแล้ว ตั้งแต่เกิดมาก็ได้เห็นแคน และได้ยินเสียงอันไพเราะดั่งนกการเวก ด้วยท่วงทำนองที่หลากหลายมานานแล้ว จนได้ชื่อว่า เป็นเมืองหมอแคน แดนหมอลำ แน่แท้ นั่นเอง

แคนเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงไพเราะมาก การเป่าแคนใช้มือทั้งสองข้าง บังคับเสียงทำ ให้เสียงแคนที่ออกมานั้น มีทั้งทำนองเพลง เสียงประสาน เสียงสอดแทรก แสดงถึงอารมณ์ และ ความรู้สึกต่างๆ อย่างพร้อมมูลทีเดียว มีความสมบูรณ์ขนาดที่ว่า ถ้าใช้เครื่องดนตรีอื่นๆ บรรเลง ก็ต้องใช้หลายเครื่องทีเดียว แต่แคนเพียงเต้าเดียวก็สามารถทำได้ ยิ่งถ้าได้นักเป่าแคนที่มีความ สามารถ มีความชำนิชำนาญ สามารถเป่าท่วงทำนองต่างๆ ซึ่งตามภาษาพื้นบ้านอีสานเรียกว่า "ลายแคน" ก็ยิ่งจะเพิ่มความไพเราะ ซาบซึ้งจับใจมากยิ่งขึ้น จนยากที่จะหาเครื่องดนตรีอื่นๆ มาเทียบได้

แคน เป็นเครื่องดนตรีสำคัญของชาวอีสาน ทำจากไม้กู่แคน แคนหนึ่งอันเรียกว่า แคนหนึ่งเต้า มีส่วนประกอบของแคน มีดังนี้

  1. ลูกแคน คือไม้ไผ่ที่นำมาประกอบเป็นแคน ทำจากไม้ซางซึ่งเป็นพืชตะกูลไม้ไผ่ลำเล็กๆ มีปล้องยาว ขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วนางตามลำดับ โดยนำมาลนไฟแล้วดัดให้ตรง ขนาดยาวตั้งแต่แปดสิบเซนติเมตรถึงสามเมตร ไม้กู่แคนทุกลำทะลุข้อออกเพื่อให้ลมผ่าน ฝังลิ้นทองเหลือง หรือลิ้นเงินห่างจากปลายข้างบนประมาณ 50 - 60 เซนติเมตร โดยบริเวณนั้นบากเป็นช่องสี่เหลี่ยมสองช่อง ห่างหรือไกล้กัน ตามลักษณะของระดับเสียง ตรงกลางของไม้กู่แคนเจาะรูกลมเล็กๆ ลำละหนึ่งรูเพื่อใช้นิ้วปิดเปิดเวลาบรรเลงเรียกว่า รูนับ รูที่บากอยู่ด้านใ เมื่อประกอบเป็นแคนแล้วจะมองไม่เห็น แคนแต่ละดวงจะมีจำนวนลูกแคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดของแคน แคนหก มีใม้กู่แคนสามคู่ แคนเจ็ด มีไม้กู่แคนเจ็ดคู่
  2. เต้าแคน คือปล้องตรงกลางแคน มีลักษณะกลมเป็นกระเปาะ หัวท้ายสอบ มีไว้เพื่อประกอบลูกแคนทุกลูกทำเข้าด้วยกันและหุ้มลิ้นลูกแคนไว้ เต้าแคนถูกเจาะรูกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณหนึ่งเซนติเมตรที่หัวเต้า เพื่อใช้ปากเป่าให้ลมผ่านลิ้นแคนทุกลิ้น ระหว่างเต้าแคนและลูกแคนนำขึ้สูดมาปิดให้แน่นป้องกันมิให้ลมที่เป่าเข้าไปนั้นรั่วออกมาข้างนอก ไม้ที่นิยมทำเต้าแคน คือไม้ประดู่ไหม ไม้พยุง ไม้แคนหรือไม้ตะเคียน ไม้หนามแท่ง ส่วนมากนิยมใช้ไม้ประดู่ส่วนที่เป็นราก
  3. หลาบโลหะ คือแผ่นโลหะบางๆ ที่สกัดออกเป็นลิ้นแคน โดยมากใช้โลหะผสมระหว่างทองแดงกับเงิน ถ้าใช้แผ่นเงินบริสุทธิ์ หรือ ทองแดงบริสุทธิ์ จะทำให้อ่อนหรือแข็งจนเกินไป แผ่นโลหะแผ่นหนึ่งยาวประมาณสามเซนติเมตร กว้างประมาณ 4 เซนติเมตร และหนาเพียง 2 มิลลิเมตร
  4. ขี้สูตหรือชันโรง เป็นขี้ผึ้งเหนียวสีดำที่ได้จากรังของแมลงชนิดหนึ่ง ตัวเล็กกว่าผึ้ง เรียกว่า แมลงขี้สูด คุณสมบัติของขี้ผึ้งชนิดนี้คือเหนียว ไม่ติดมือ และไม่แห้งกรอบ ขี้สูตใช้ผนึกช่องว่างระหว่างลูกแคนกับเต้า เพื่อไม่ให้ลมที่ผ่านเข้าทางปากรั่วไหลออกจากเต้า

การประกอบส่วนต่าง ๆ ให้เป็นแคน เริ่มจากเมื่อเตรียมลูกแคน และเต้าแคนเรียบร้อยแล้ว นำลูกแคนทั้งหมดสอดเข้าไปในเต้าแคนตามลำดับ เป็นคู่กัน

คู่ที่หนึ่ง ด้านซ้ายเรียกว่า โป้ซ้าย ด้านขวา เรียกว่า โป้ขวา

คู่ที่สอง ด้านซ้ายเรียกว่า แม่เวียงใหญ่ ด้านขวา เรียกว่า แม่เซ

คู่ที่สาม ด้านซ้ายเรียกว่า แม่แก่ ด้านขวา เรียกว่า สะแนน

คู่ที่สี่ ด้านซ้ายเรียกว่า แม่ก้อยขวา ด้านขวาเรียกว่า ฮับทุ่ง

คู่ที่ห้า ด้านซ้ายเรียกว่า แม่ก้อยซ้าย ด้านขวาเรียกว่า ลูกเวียง

คู่ที่หก ด้านซ้ายเรียกว่าสะแนนน้อย ด้านขวาเรียกว่า แก่นน้อย

คู่ที่เจ็ด ด้านซ้ายเรียกว่า เสพซ้าย ด้านขวาเรียกว่า เสพขวา

การเป่าแคน

ประเภทของแคน

การแบ่งประเภทของแคน อาจแบ่งตามขนาด หรือแบ่งตามลักษณะการบรรเลงก็ได้ การแบ่งตามขนาดแบ่งเป็นสี่ชนิด คือ

  • แคนหก คือแคนที่จำนวนลูกแคนหรือไม้กู่แคนมีสามคู่ หกลำ เป็นแคนสำหรับเด็กเป่าเล่น เป่าได้เฉพาะเพลงง่ายๆ เพลงยากที่มีเสียงสูงต่ำหลายเสียงไม่สามารถเป่าได้ เพราะลูกแคนมีเพียงหกลูก มีระดับเสียงสูง-ต่ำไม่ครบตามที่ต้องการ (มีเฉพาะเสียง ฟา ซอล ลา โด เร)
  • แคนเจ็ด คือแคนที่ประกอบด้วยไม้กู่แคนหรือลูกแคนเจ็ดคู่หรือสิบสี่ลำมีเสียง 14 เสียง นิยมใช้เป่าเป็นแคนวงมีเสียงครบทั้ง 7 เสียง (โด เร มี ฟา ซอล ลา ที)
  • แคนแปด คือแคนที่ประกอบด้วยไม้กู่แคนแปดคู่หรือสิบหกลำมีเสียง 16 เสียง ใช้เป็นแคนเดี่ยวสำหรับเป่าประสานเสียงคลอไปกับการลำ เป็นที่นิยมของหมอลำ มีเสียงครบทั้ง 7 เสียงเหมือนแคน 7 แต่เพิ่มคู่ที่ 8 เข้าไปเป็นเสียงประสานให้เกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น
  • แคนเก้า คือแคนที่ประกอบด้วยไม้กู่แคนเก้าคู่หรือสิบแปดลำ มีเสียงทั้งหมดแปดเสียง เป็นเสียงใหญ่ทุ้มต่ำใช้ประกอบการลำพื้นบ้าน โดยเพิ่มเสียงคู่ประสาน ซอล และลา เข้าไปอีก 1 คู่

เป่าแคน

การบรรเลงแคนปัจจุบันมีสามลักษณะ คือ ประเภทแคนเดี่ยว ประเภทแคนวง และประเภทแคนวงประยุกต์

  1. แคนเดี่ยว ใช้บรรเลงประกอบลการลำซิ่ง หมอลำแบบดั้งเดิม ใช้เสียงแคนเท่านั้นเป่าประสาน การร้องหมอลำจะใช้แคนขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ก็ได้
  2. แคนวง เป็นการบรรเลงหลายเต้าพร้อมกันโดยเป่าผสมกับเครื่องให้จังหวะ เช่น กลอง ฉิ่ง ฉาบ กรับ จะใช้แคนขนาดใดก็ได้โดยใช้จำนวน 6-12 เต้า

3. แคนวงประยุกต์ เป็นการนำแคนไปบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีสากลประเภทกลองชุด เบส กีต้าร์ ออร์แกน อิเล็กโทน หรือ บางครั้งก็นำเอาดนตรีไทย เช่น ซอ ขิม จะเข้ เข้ามาประกอบการบรรเลงชนิดนี้ ประกอบการร้องเพลงไทยสากล และเพลงลูกทุ่ง มีหางเครื่องเต้นโชว์ประกอบ หรือบรรเลงประกอบการแสดงหมอลำหมู่และหมอลำซิ่ง

การเก็บรักษาแคน แคนเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้าน ทำจากวัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น วัสดุที่ใช้ประกอบแคนค่อนข้างบอบบาง มีโอกาสชำรุดเสียหายได้ง่าย แคนจะอยู่ในสภาพดีหากเจ้าของเป่าเสมอต้นเสมอปลาย ปริมาณลมเข้าออกเท่าๆ กันทำให้ปลายลิ้นแคนไม่โก่ง การเก็บรักษาแคนควรเก็บไว้ในกล่องที่แข็งแรง หรืออาจเก็บไว้ในถุงผ้าที่ปิดได้สนิทกันแดดและฝุ่นได้ ไม่ควรเอาแคนไปจุ่มน้ำ เพื่อทำความสะอาดลิ้นแคนจะเป็นสนิมได้ ควรใช้ผ้าสะอาดที่แห้งปัดฝุ่นหรือเช็ดลิ้น

 

ความไพเราะและอิทธิพลของเสียงแคน
ลีลารำประกอบแคน

วามไพเราะและอิทธิพลของเสียงแคนมีมากเพียงใดนั้น สามารถดูได้จากประเพณีการละเล่นพื้นบ้านของชาวอีสานที่มีเครื่องดนตรี "แคน" มาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ รวมทั้งจากนิทานพื้นบ้านต่าง ๆ ก็ได้กล่าวถึงมนต์เสียงแคนอยู่เช่นเดียวกัน

นิทานวรรณคดีเรื่อง "ท้าวก่ำกาดำ"

(เรื่องย่อ) ท้าวก่ำ มีรูปร่างอัปลักษณ์ เป็นที่รังเกียจของคนทั่วไป แม้กระทั่ง มารดาของตนก็เกลียดชัง จึงเอาไปลอยแพล่องน้ำ พระอินทร์บนสวรรค์มีความสงสาร จึงเนรมิตส่งกาดำลงมาเป็นแม่นม คอยเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ท้าวก่ำจึงได้รับการขนานนามว่า "ท้าวก่ำกาดำ" นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เมื่อท้าวก่ำกาดำเติบโตขึ้น ก้ได้อาศัยอยู่กับย่าจำนวน คนเฝ้าสวนของกษัตริย์ วันหนึ่ง ธิดาทั้งเจ็ดของกษัตริย์มาเที่ยวชมสวน ท้าวก่ำกาดำแอบดูนางทั้งเจ็ด แล้วเกิดผูกสมัครรักใคร่ นางลุน ธิดาคนสุดท้อง

ท้าวก่ำกาดำมีความสามารถพิเศษในการร้อยดอกไม้ และเป่าแคน จึงได้ร้อยมาลัยดอกไม้เป็นสื่อความในใจ แล้วมอบให้ย่าจำนวนนำไปถวายนางลุน พอถึงเวลากลางคืน ก็เป่าแคนไปเที่ยวในเมือง เสียงแคนอันแสนไพเราะของท้าวก่ำกาดำ ในเวลากลางคืนที่เงียบสงัดนั้น ลอยลมไปไกล จนกษัตริย์และนางลุนได้ยินทุกคืน ด้วยเสียงแคนอันไพเราะนี้ กษัตริย์จึงได้รับสั่งให้ท้าวก่ำกาดำเข้าเฝ้า เพื่อถวายการเป่าแคน ท้าวก่ำกาดำมีความภูมิใจมาก ได้ตั้งใจเป่าแคนอย่างสุดฝีมือ เป็นที่โปรดปรานของกษัตริย์และนางลุน ซึ่งเป็นอานิสงฆ์ส่งให้ท้าวก่ำกาดำพ้นเคราะห์ กาดำได้ชุบร่างขึ้นใหม่ให้เป็นชายรูปร่างงดงาม และในที่สุดก็ได้นางลุนมาเป็นคู่ชีวิตสมดังปรารถนา

เพื่อให้เห็นจริงเห็นจังถึงความไพเราะของเสียงแคน ที่ท้าวก่ำกาดำได้เป่าถวายกษัตริย์และนางลุนฟัง จึงขอนำคำกลอนลำอีสาน ที่ได้พรรณนาถึงความไพเราะของเสียงแคนมาบันทึกไว้ ดังนี้

kan_2
ท้าวก็เป่า จ้อย จ้อย อ้อยอิ่ง กินนะรี
บุญมี เลยเป่าแถลง ดังก้อง
เสียงแคนดังม่วนแม่ง พอล่มหลูด ตายไปนั้น
ท้าวก็เป่า จ้อย จ้อย คือเสียงเสพ เมืองสวรรค์
ปรากฏดัง ม่วนก้อง ในเมือง อ้อยอิ่น
เป็นที่ใจ ม่วนดิ้น ดอมท้าว เป่าแคน
สาว ฮามน้อย วางหลามาเบิ่ง
เขาก็ปบ ฝั่งฟ้าว ตีนต้อง ถืกตอ
บางผ่อง ป๋าหลาไว้ วางไป ทั้งแล่นก็มี
บางผ่อง เสื้อผ้าหลุด ออกซ้ำ เลยเต้นแล่นไปก็มี
ฝูงคนเฒ่า เหงานอน หายส่วง
สาวแม่ฮ่าง คะนิงโอ้ อ่าวผัว
ฝูงพ่อฮ่าง คิดฮ่ำ คะนิงเมีย
เหลือทน ทุกข์อยู่ ผู้เดียว นอนแล้ง
เป็นที่ อัศจรรย์แท้ เสียงแคน ท้าวก่ำ
ไผได้ฟัง ม่วนแม่ง ใจสล่าง หว่างเว
ฝูง (คน) กินเข่า คาคอ ค้างอยู่
ฝูง (คน) อาบน้ำป๋าผ่า แล่นมา.... (นั่นละนา)

นี้คือความไพเราะของเสียงแคน ที่ปรากฏในวรรณคดีพื้นบ้านภาคอีสาน ซึ่งแม้จะเป็ เรื่องแต่งที่มีคติธรรมสอนใจ ให้เกิดคุณธรรม คุณงามความดี โดยไม่ได้คำนึงถึงความเป็นจริงเท่าใดนัก แต่ถ้าหากพิเคราะห์ให้ดีแล้ว ก็จะเห็นได้ว่า "เสียงแคน" นั้นยังมีมนต์ขลังอยู่เสมอ และขอจบบทนี้ด้วย กลอนลำกำเนิดของแคนด้วยครับ

แคนนี้เป็นของเลิศล้ำเก่าแก่ แต่เดิมมา
มื้อหนึ่งมีพระราชาเข้า ดงดอนนอนอยู่ในป่า
กับทั้งอำมาตย์ไท้ พวกหมู่มนตรี
ฝูงหมู่กวางฟานเม่น เห็นพระองค์โยงพ่าย
แม่งหนึ่งไปฮอดเกี้ย ตีนตาดผาสูง
เป็นขัวนัวคือเกี้ยว เขียมอารมณ์เป็นร่ม
พระองค์เลยสะมิ่ง ง่วงเหง่าเหงานอน
ฝูงหมู่เสนาเหง้า มนตรีน้อยใหญ
แต่นั้น พระหนึ่งต้น ตนผ่านพารา
ฟังยินเสียงกอย ๆ ร้องแกว ๆ กรวีก
พ้อมด้วยเสียงนกเอี้ยง เฮียงฮ้องออหอ
สัมมะปิเสียงห้าว วาวโวแววโว
ฟังแล้วเลยสะม้อย อ้อยอิ่นในพระทัย
ยินเสียงลมสะแวงต้อง นอนนันกรวีก
พระองค์คิดแม่นแม่ง มักใคร่ในเสียง
จึงได้หันตัดต้าน ถามขุนข้ามหาด
ไผจักตกแต่งตั้ง ทำสิ่งเป็นเสียงได้นอ?
เฮ็ดให้เป็นของใช้ ดนตรีสีเป่า
ยังมีอำมาตย์ชั้น กวีเอกสาขา
imagesสองก็วางคำมั่น สัญญาเด็ดขาด
พระองค็ก็พาไพร่โค้ง คืนสู่งกรุงสี
มีสนมนั่งเฝ้า เรียงปางข้างเสิ่อ
บัดนี้ จักกล่าวอำมาตย์เค้า ผู้รับอาสา
คิดจนใจหลายมื้อ บ่มีหวนเห็นหุ่ง
ลาวก็เข้าป่าไม้ ดงด่านอรัญญา
แม่ง หนึ่งถึงแดนห้วย สวยลวยกล้วยป่า
ได้ยินน้ำสะท้าน โตนตาดเสียงดัง
ยินสะออนฝูงกะเบื้อ บินเฟือแคมฝั่ง
พักหนึ่งลมล่วงเท้า อ้ออ่อนแคมชล
เลยสะออนใจเฒ่า เหงาไปเซือบหนึ่ง
แต่นั้นลมพัดป้าน อ้ออ่อนปลายกุด
ผ่องก็แจง ๆ แจ้ แวแววโว่หว่อ
อีกประสบครั้งนั้น วันบ่ายพอดี
นกเขาทอง เขาตู้ คูขันก้องสนั่น
ลาวก็สะส่วยหน้า ลุกนั่งฟังเสียง
เสียงตอยาวตอสั้น ปนกันน้อยใหญ่ ่
เฒ่าเลยคิดซวาดรู้ วิธีแต่งดนตรี
เดี๋ยวหนึงวันมัวค้อย ทดทะสูงแสงต่ำ
เลยเล่าหายเหตุร้อน นอนพ่างภรรยา
นกกาเวามันร้อง จองหองขายกอก
ตัดเอาต้นไม้อ้อ สามคู่พอดี
บ่อนหว่างทางกลางนั้น เจาะลงเป็นปล่อง
เมื่อนั้นเฒ่าก็หาเอาไม้ มาทำเต้าเป่า
พอเมื่อเฒ่าสร้างแล้ว ก็ลองเป่าฟังเสียง
ทังแลนแจน ลันแจ้ อยากคือ เสียงกรวีก
พอคิดแล้วเท่านั้น ตนพ่อเสนา
เอาดนตรีให้ถวาย ภูวนัยดั่งว่า
เฒ่าเลยนั่งตะแพยคู้ แล้งเป่าเอาถวาย
เสียงดนตรีดั่งได้ แกว ๆ ก้อง แก้วก่อ
พระราชาทรงตรัส " ใช้แคนแด่" เดี้ย
ให้ท่านทำดีขึ้น ทูลถวายรายใหม่
ในกาลครั้งนั้น คุณพ่อเสนา
ลาวจึงเพียรแปงสร้าง วางแปลนรูปใหม่
เฮ็ดไปถวายเทื่อนี้ 7 คู่ พอดี
เพราะมันมีเสียงแก้ว แกว ๆ แจ้วแน่นแน่
ขุนก็ทำอีกครั้ง เป็นเทื่อที่สาม
มีเสียงทองเสียงห้าว วาวแววแจ้วลั่นจั่น
ลูกมันมีหมดเกลี้ยง 8 คู่งามขำ
ทรงกระหายหัวย่าม เห็นงามแย้มพระโอษฐ์
มันได้มีแต่พุ้น สืบต่อกันมา
คันบ่มีคำเว้า แคนไคไกลมอ
อีกอย่างหนึ่ง ย่อน ดนตรีประเภทนี้ พาสว่างความอุก
ชื่อว่าแคน แคน แล้ว หมดทั้งมวลมีแต่หม่วน
แต่ครั้งศาสนาพระวิปัดสีเจ้า
เที่ยวหาเซ็ดเนื้อในด้าวด่านไพร
จรลีไปถึงเขตขวางเขากว้าง
จนเวลาเที่ยงค้ายหายจ้อยเครื่องเสวย
มีหมู่ยูงยางดกดู่แดงดวงดั้ว
ลมพัดมาฮ่าว ๆ เย็นจ้าวหน่วงตึง
อรชรลมโรย ล่วงโชยมาเต้า
พร้อมอาศัยที่นั้นในฮั่นสู่คน
เลยนิทรานอนหลับเซือบไปคราวน้อย
จับอยู่เทิงหง่าไม้ไฮฮ้องส่งเสียง
เสียง ออ ๆ อีๆ วี่แววแจวจี้
มีทั้งโอ่และโอ้ โออ้อยอิ่นออย
ภูวไนยนอนหลับตื่นมาฟังแจ้ง
เลยกระสันสว่างเศร้า เบาเนื้อห่างแคน
ในสำเนียงของนก ที่บรรเลงนั้น
พร้อมประกาศบอกชี้เชิญมิ่งช่วยฟัง
ให้คือสำเนียงนกเป่าฟัง กันได้
เฮาพระองค์สิให้สินจ้างค่าพัน
เข้ารับบัญชาทำถวาย ดั่งใจจงอ้าง
ในโอกาสครั้งนั้น ตะเว็นส้วยอ่อนลง
จรลีถึงเมืองนั่งปองเป็นเจ้า
พระองค์กะยังอ่าวเอื้อเสียงนั้นอยู่บ่เซา
หาตรึกตรองปัญญาท่าใดสิทำได้
เลยมุ่งออกจากฮ่องเฮือนย่าวห่าวไป
เดินดุ่งคาคาวไกล เมื่อยแคนคาวแค้น
มีสาขาหน่ออ้อ ซ่อซ้องทั่วดาน
อยู่ในวัง มีแต่ปูปลาหอย ล่องลอยชมก้อน
เฒ่าก็นั่งจ้อก้อ ลงหั่นเมื่อยเซา
ปานคนกินสุราท่าเมาเยาย้อน
ใจคนึงบ่แล้ว วิธีสร้างแต่งการ
kanlaoเสียงมันดัง วี วุด วู่ แวว แอว แอ้
เป็นเพราะปล้องไม้อ้อ ยาวสั้น บ่าข่ากัน
ฝูงแมงอีกาเลน เผ่นบินมาฮ้อง
ฝ่ายอำมาตย์ผู้นั้น นอนแล้วตื่นมา
ฟังสำเนียงลมพัด เป่าตอลำอ้อ
ทั้งเรไรต่างเชื้อ ประสมเข้าม่วนหู
ตามดั่งองค์ภูมี มอบหมายมานั้น
ลาวจึงไต่ต้าว คืนเข้าสู่นคร
จนเวลาสูนสาง สว่างมายามเช้า
ลาวก็ชอกได้พร้า ประดาเข้าสู่ไพร
ทั้งเหลา ซี แทง เลาะ ข้อเสียงหมดเกลี้ยง
เจาะรูแพงส่องแล้ว เลยเหน็บลิ้นตื่มแถม
เฮ็ดคือนมผู้เฒ่า เป็นเป้าอยู่กลาง
มีสำเนียง ออแอ วี่แวแววแว
คันว่าแม่น ผิด ก็มีเสียงเล็กน้อยพอสิได้ค่าพัน
เลยไววาเมือฮอด โฮงพระยาเจ้า
ทางมหาราชเจ้า จึงจำเฒ่าเป่าดู
ทำท่าไกวหัว หาง ย่างจำเอา ไว่ ๆ
เอาบ่น้อ สำนี้ พระองค์เจ้าว่าจั่งใด๋
ขุนเจ้ายังปุนแปงเฮ็ดเกิดเป็นปานนี้
เฮาก็ยังสิให้สินจ้างค่าพัน
ก็จึงอำลา คืนคอบเฮือน เร็วฟ้าว
ประดิษฐ์ใหญ่ขึ้นหน้า จะแจ้งยิ่งทว
องค์พระภูมี ตรัสว่า "แคน ๆ" แล้ว
เฮ็ดมาถวายอีกแม้ ให้ดีกว่าเทื่อหลัง
มีทั้งงาม จบดี ครบ กระบวน ควรย่อง
เสี้ยงทุ้มยู้ก็พ่องนั้น หันขึ้นวึ่นเสียง
ขุนเมือง นำเมื่อถวาย ทอดพระกรรวันท้าย
โปรดว่า "แคนแท้แล้ว" คราวนี้ท่านขุน
ย่อนว่าราชาตรัส ว่า "แคนแคน แล้ว"
ก็แม่นกรวีกร้อง ของแท้อีหลี
พาให้หายความทุกข์ ยากแคนแสนแค้น
เพิ่นจึงม้วนใส่หั่น คำนั้นว่า "แคน" ……………

……… จากบทความ หนังสือสูจิบัตร งานอนุรักษ์ส่งเสริมและถ่ายทอดวัฒนธรรมแคน
การประกวดเป่าแคนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ปี 2541

วงดุริยางค์แคน

"แคน" ที่กล่าวถึงในพงศาวดาร
กองทหารดุริยางค์ เมืองอุบลราชธานี (วงแคน)
ภาพจาก หนังสือประมวลภาพถ่ายเหตุการณ์เมืองอุบลราชธานีในรอบ 200 ปี (2535)

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เมื่อเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏ และได้ทำการปราบปรามจนสามารถจับเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทน์ได้ในปี พ.ศ. 2370 ก็ได้มีการกวาดต้อนครอบครัวชาวเวียงจันทน์ และชาวเมืองอื่น ๆ ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง เข้ามาอีกเป็นจำนวนมาก ดังข้อความในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 3 ความว่า

"ครอบครัวเวียงจันทน์ครั้งนั้น โปรดเกล้าให้อยู่เมืองลพบุรี เมืองสระบุรี เมืองสุพรรณบุรี บ้าง เมืองนครชัยศรีบ้าง พวกเมืองนครพนม พระอินทร์อาสาไปเกลี้ยกล่อมก็เอาไว้ที่เมืองพนัสนิคม กับลาวอาสาปากน้ำ ซึ่งไปตั้งอยู่ก่อน"

เหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ในพงศาวดารกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ 3 ดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่าครอบครัวชาวเวียงจันทน์ ชาวบ้านราษฎรฝั่งขวาแม่น้ำโขงได้ถูกกองทัพ ไทยกวาดต้อนมาเป็นเชลยถึง 2 ครั้ง 2 ครา ให้อยู่ในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ ทั้งในภาคกลางบ้าง ภาค อีสานบ้าง ตามรายทางการถูกกวาดต้อนมา ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี แม้แต่ดนตรี ต่าง ๆ ที่เป็นประจำพื้นเมืองของชาวบ้าน ก็คงจะต้องนำติดตัวมาด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย ด้วยเหตุนี้ "หมอลำ-หมอแคน" อันเป็นศิลปะการร้องรำของชาวฝั่งขวาแม่น้ำโขง จึงได้ถูกนำติดตัวมารำ-ร้อง และบรรเลง เพื่อผ่อนคลายอารมณ์ ในยามคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอนของตนอย่างแน่นอน ศิลปะ แขนงนี้ จึงได้ถูกนำมาร้องเผยแพร่ในภาคกลาง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้แต่ในเมืองหลวงเองก็ยังมี การละเล่นหมอลำ หมอแคนกันอย่างแพร่หลาย

เมื่อสิ้นรัชกาลที่ 3 แล้ว พอมาถึงรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมการเป่าแคนในตำนานเกล้าเจ้าอยู่หัว อิทธิพลของการละเล่นหมอลำ หมอแคน ยิ่งทวีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ข้าราชบริพารของ พระมหากษัตริย์หลายท่านก็มีความนิยมในการละเล่นและสนับสนุนเป็นอย่างมาก แม้แต่พระบาท สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชอนุชาในรัชกาลที่ 4 ก็ได้ทรงโปรดการแสดงหมอลำหมอแคน มาก จนถึงกับทรงลำและเป่าแคนได้เป็นอย่างดี ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร รัชกาลที่ 4 หน้า 315 มีความตอนหนึ่งได้กล่าวถึงสมเด็จพระปิ่นเกล้าว่า

"พระองค์ทรงโปรดแคน ไปเที่ยวทรงตามเมืองพนัสนิคมบ้าง ลาวบ้านลำประทวน เมือง นครชัยศรีบ้าง บ้านศรีทา แขวงเมืองสระบุรีบ้าง พระองค์ฟ้อนและแอ่วได้ชำนิชำนาญ ถ้าไม่ได้เห็น พระองค์ก็สำคัญว่า ลาว"

 

หมอลำ หมอแคน กลายเป็นมหรสพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาในสมัยนั้น จนมหรสพอื่น ๆ เป็นต้น ว่า ปี่-พาทย์ มโหรี โสภา ปรบไก่ สักวา เพลงเกี่ยวข้าว ฯลฯ ต้องแพ้การละเล่นลำแคน หรือหมอลำ หมอแคนอย่างราบคาบ จนหากินแทบไม่ได้ ครั้นประชาชนชาวกรุงเทพฯ พากันนิยมเล่นแคนหนักเข้า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 เกิดความวิตก ด้วยพระองค์เห็นว่า การละเล่น ลำแคนไม่ควรเอาเป็นพื้นเมืองของไทย จึงได้ทรงประกาศห้ามการเล่นลำแคนขึ้น ซึ่งสมัยนั้นเรียก ว่า การเล่น "แอ่วลาว" บ้าง "ลาวแคน" บ้าง ซึ่งได้แก่ การลำที่มีการเป่าแคนประสานเสียง ซึ่งเรียกว่า "หมอลำ" สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ขับร้องและออกท่ารำประกอบ และ "หมอแคน" คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป่าแคนประสานเสียงประกอบเป็นทำนองเพลงต่าง ๆ ซึ่งทำให้มีความไพเราะมากยิ่งขึ้น นักร้องจะ ร้องเพลงได้ไพเราะน่าฟัง จะต้องมีดนตรีประกอบการขับร้องฉันใด หมอลำจะขับลำได้อย่างไพเราะ ก็จะต้องมี "หมอแคน" ประกอบการขับลำ การขับลำนั้นจึงจะสมบูรณ์ก็ฉันนั้น

จากพระราชพงศาวดารดังกล่าว

การเป่าแคนในตำนาน

นี้ จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมศิลปินผู้ทำให้ "แคน" เป็นที่ รู้จักของชาวต่างชาติ จากการตระเวนไปแสดงยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก จึงมีภูมิลำเนาอยู่ในภาค กลาง ครับ... ผมกำลังหมายถึง สมัย อ่อนวงศ์ ขุนพลแคนแดนสยาม นั่นเอง แต่ถ้าจะกล่าวถึง หมอแคนที่สร้างชื่อของคนอีสาน ส่วนใหญ่จะนึกถึงหมอแคนผู้นี้ครับ สมหวัง เอวอ่อน ด้วยลีลา และท่าทางการเป่าแคนอันไพเราะจับใจ ลองดาวน์โหลดตัวอย่างเสียงแคนจากศิลปินผู้นี้ไปฟังกัน ครับ เป็นไฟล์แบบ MP3 เชิญคลิกข้างล่างครับ

 

ท่วงทำนองแคน หรือ ลายแคน
kan

ท่วงทำนองของแคนที่ถูกเป่าออกมานั้น ชาวอีสานเรียกว่า ลายแคน ซึ่งก็คือ จังหวะ ทำนองแคน นั่นเอง ลายแคนเป็นการสืบต่อกันมาจากความทรงจำหมอแคนในอดีต ไม่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ลายแคนถูกประดิษฐ์ขึ้น จากการเลียนลีลา และท่วงทำนองหรือเสียงจากธรรมชาติ ซึ่งให้ความไพเราะจับใจ

ลายในความหมายของดนตรีอีสาน หมายถึง สิ่งที่มีมากกว่า 1 ขึ้นไปผสมผสานอยู่ในสิ่งเดียวกัน จะอยู่ในแนวเดียวกันหรือตัดกันก็ได้ เรียกว่า ลาย หรือ ลวดลาย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ลายที่สามารถสมผัสได้ด้วยตา เช่น ลายของอุปกรณ์เครื่องใช้ที่เกิดจากการถักทอจักสาน เช่น ผ้า ตระกร้า กระด้ง ฝาผนังบ้านโบราณ หรือลายที่เกิดจากการวาด เป็น ต้น
  2. ลายที่สามารถสัมผัสได้ด้วยตาและหู คือลายที่ใช้สำหรับดนตรีอีสาน ดนตรีอีสาน หมายถึง เพลงหรือท่วงทำนองและลีลาการบรรเลงดนตรีอีสาน

คำว่าลาย ต่างจาก เพลง คือ

  • เพลง มีความสั้นยาวของวรรคตอนที่ชัดเจน เช่น เพลงลูกทุ่ง เพลงไทยเดิม มี 1- 4 ท่อน เป็นส่วนใหญ่ เมื่อบรรเลงครบแล้วจะย้อนจากท่อน 1 หรือท่อนใดก็ได้จนจบเพลง
  • ลาย จะมีความสั้นยาวไม่แน่นอนและอยู่กับความสามารถบวกกับความเชี่ยวชาญของผู้บรรเลง จะยาวสั้นเท่าไหร่ก็ได้

kan

ประวัติและที่มาของลายดนตรีขึ้นอยู่กับชนิด และความเหมาะสม ในการบรรเลงของเครื่องดนตรีที่ใช้ดำเนินทำนอง ตามความหมายของคำว่าลาย ผู้เชี่ยวชาญการเป่าแคนหรือหมอแคน ยังไม่สามารถแยกคำว่า ลาย และระดับเสียง ออกจากกันได้เนื่องจากมีการปลูกฝังและสืบทอดกันมายาวนาน แต่เท่าที่รับฟังคำบอกเล่าของผู้รู้และหมอแคนพอจะกล่าวได้ว่า

ดนตรีอีสานสามารถแยกระดับเสียงได้โดยยึดแคนเป็นหลัก มี 2 กลุ่มระดับเสียง คือ กลุ่มทางยาว และกลุ่มทางสั้น

  • ทางยาว หมายถึง การบรรเลงประกอบการลำที่มีท่วงทำนองเชื่องช้า เหมาะสำหรับการลำในบทเล่าเรื่อง บทพรรณา บทโศกเศร้า หวนหา
  • ทางสั้น หมายถึง การบรรเลงประกอบการลำที่มีท่วงทำนองกระชับ สนุกสนาน ร่าเริง
แคน มีลายหลักๆ อยู่ 6 ลายโดย แยกตามกลุ่มทางยาวและทางสั้นได้ดังนี้

ลายกลุ่มทางยาวมี 3 ระดับ คือ
ลายกลุ่มทางสั้นมี 3 ระดับ คือ

เสียงต่ำ หมอแคนเรียกว่า ทางใหญ่ หรือ ลายใหญ่
เสียงกลาง หมอแคนเรียกว่า ทางน้อย หรือ ลายน้อย
เสียงสูง หมอแคนเรียกว่า ทางเซ หรือ ลายเซ
เสียงต่ำ หมอแคนเรียกว่า สุดสะแนน
เสียงกลาง หมอแคนเรียกว่า ลายโป้ซ้าย (หัวแม่มือซ้าย)
เสียงสูง หมอแคนเรียกว่า ลายสร้อย

กุหลาบแดงลายแคน มีดังนี้

  1. ลายสุดสะแนน คำว่า "สะแนน" คงจะเพี้ยนมาจากคำอีสานคำหนึ่งคือ "สายแนน" มีความหมายว่า ต้นตอ หรือสายใย เช่น ถ้าคนเราเคยเกิดเป็นพ่อแม่ลูกกันหรือผัวเมียกันในอดีต ชาตินี้ได้เกิดมาเป็นดังอดีตอีก เขาเรียกว่าคนเกิดตามสาย "แนน" เนื่องจาก ลายสุดสะแนน เป็นลายครูของแคน มีความไพเราะเป็นพิเศษ จังหวะกระชับและมีลีลาท่วงทำนองตื่นเต้นเร้าใจตลอดเวลา หมอแคนทราบดีว่าจะต้องเป่าลายสุดสะแนนให้เป็นก่อน จึงจะก้าวไปสู่ลายแคนอื่นๆ ได้
    ดังนั้นคำว่า สุดสะแนน ในเรื่องของลายแคนนี้จึงหมายถึงความไพเราะจับใจ ใครได้ฟังลายนี้แล้วมักจะคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน คิดถึงบิดามารดา ญาติพี่น้อง หรือต้องใช้คำว่าเกิดความออนซอน ขึ้นมาอย่างที่สุด นั่นก็คือเขาคิดหวนกลับไปถึง สายแนน ดั้งเดิมของเขานั่นเอง
    สะแนน เป็นภาษาอีสาน หมายถึง เตียง (สำหรับผัวเมียนอน) หรือแคร่สำหรับนอนย่างไฟ (ของหญิงเมื่อคลอดบุตร) จึงหมายถึง ความยากลำบาก คนอีสานมักใช้คำนี้ หลังจากที่ผู้หญิงคลอดลูกแล้วอยู่ไฟ คนอีสานเรียกว่า อยู่กรรม ต้องอาบน้ำร้อน กินน้ำร้อน นอนผิงไฟบนไม้กระดานแผ่นเดียว ซึ่งเป็นความยากลำบากของผู้หญิง
  2. ลายอ่านหนังสือใหญ่ หรือลายใหญ่ ในความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปของคนอีสานหมายถึง "ภาษาบาลี" เช่น คนที่จะเป็นมหาเปรียญต้องเรียนหนังสือใหญ่นั้น มีความศักดิ์สิทธิ์และยุ่งยากต่อการศึกษา จะต้องเรียนกันหลายปี และมีสติปัญญาดี จึงจะเล่าเรียนได้สำเร็จ "ลายอ่านหนังสือใหญ่" เป็นลายแคนที่นิ่มนวล เสียงโหยหวล ทำนองลำยาว แสดงถึงความอบอุ่นมีเมตตา การเป่าลายนี้ผู้เป่าจะต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษไม่ให้มีเสียงเพี้ยนเลย
    ความหมายทางด้านทำนอง หมายถึง การพรรณาชีวิตของคนอีสาน ที่มีทั้งความรักและความผูกพัน ความห่วงใยหวนหา ความอดทนต่อสู้อย่างมีความหวัง และความเพลิดเพลิน บางท่วงทำนองบ่งบอกถึงความรัก และความผูกพันที่มีต่อความรักของชายหนุ่มหญิงสาว ตลอดทั้งความรักที่มีต่อครอบครัว เครือญาติ และผู้ที่รู้จักมักคุ้นที่อาศัยอยู่ด้วยกันในท้องถิ่นตนเอง และใกล้เคียง
    บางท่วงทำนองบ่งบอกถึงความผูกพัน กับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต ทั้งในด้านการประกอบอาชีพ ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนา จนสร้างสมให้เกิดความสามัคคีกลมเกลียวกันในสังคม บางท่วงทำนองบ่งบอกให้เห็นถึงความอดทนต่อสู้กับสิ่งต่างๆ ที่รุมเร้าเป็นปัญหาในการดำเนินชีวิต บางเรื่องก็หาวิธีแก้ไขได้ บางเรื่องก็ต่อสู้ไปตามยถากรรม ให้วันเวลาผ่านพ้นไป
    บางท่วงทำนองแสดงถึงการพลัดพรากจากกัน ทั้งที่จากไปแล้วไม่มีวันกลับ บางท่วงทำนองแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ความสนุกสนานเพลิดเพลินอย่างบริสุทธิ์ เสียงแคนลายใหญ่ หรือ ลายอ่านหนังสือพิมพ์ จะทำให้ผู้ฟังนึกถึงภาพคนอีสานกำลังทำงาน เช่น ทำไร่ ทำนา บางครั้งเหงื่อไหลเข้าตา บางครั้งเหงื่อค่อยๆ ไหลผ่านใบหน้าที่เต็มไปด้วยริ้วรอยอันเหี่ยวย่น แลดูแก่เกินวัยลงสู่พื้น มองดูแววตาเหน็ดเหนื่อย แต่มุ่งมั่นอดทน เพื่อความหวังและการรอคอย
  3. ลายอ่านหนังสือน้อย คล้ายคลึงกับลายอ่านหนังสือใหญ่ แต่มีจังหวะที่เร็วกว่า เสียงไม่ทุ้ม ให้ความไพเราะ ท่วงทำนองไม่สลับซับซ้อนเท่าลายอ่านหนังสือใหญ่
    ความหมายทางด้านทำนอง หมายถึงการพรรณาชีวิตของคนอีสานเช่นกัน แต่จะมีเนื้อหาน้อยกว่าลายใหญ่ เนื่องจากมีเสียงจำกัด ไม่สามารถดำเนินทำนองได้เต็มรูปแบบเหมือนลายใหญ่
  4. ลายเซ เป็นลายที่สามารถเป่า นอกเหนือจากทางใหญ่ ทางน้อยได้ เป็นทางแยกออกมาและบรรเลงได้เช่นกัน ใช้เป่าประกอบลำยาว
    ความหมายทางด้านทำนอง หมายถึง การพรรณาชีวิตของคนอีสานเช่นกัน แต่ไม่สามารถเก็บราย ละเอียดได้เท่าลายน้อยและลายใหญ่ เนื่องจากมีขีดจำกัดของเสียงมากขึ้นอีก
  5. ลายแมงภู่ตอมดอก เป็นลายที่ลอกเลียนธรรมชาติได้ดีเป็นพิเศษ คำว่า แมงภู่ ก็คือ แมลงภู่ตัวใหญ่ๆ สีน้ำเงินแก่มองดูจนเขียว เวลาบินตอมดอกไม้มีเสียงดังหึ่งๆ ลักษณะเสียงของแมงภู่จะมีทำนองลีลาช้าๆ ก่อนแล้วเร็วกะชั้นเข้าตามลำดับ ลีลาของเสียงแคนจะฟังได้เป็นเสียงเล็กเสียงน้อย สมกับเสียงของแมงภู่ตอมดอกไม้จริงๆ
  6. ลายโปงลางขึ้นภู ลายแคนนี้ก็เป็นลายดัดแปลงจากธรรมชาติเช่นกัน โปงลางนิยมทำไว้แขนคอวัวต่างๆ ซึ่งนายฮ้อย (พ่อค้า) นิยมเทียมเกวียนเที่ยวไปขายของในที่ต่างๆ เวลาวัวเดินข้ามภูเขา จะมีเสียงขึ้นๆ ลงๆ เป็นทำนอง เพราะวัวแต่ละตัวแขวนโปงลางขนาดที่แตกต่างกัน วัสดุมีความหนาบางต่างกัน เสียงประสานกันของโปงลางจากวัวแต่ละตัวผสมเข้ากับเสียงกีบวัวกระทบก้อนกรวด ก้อนหิน รวมทั้งเสียงออดแอดของล้อเกวียน ฟังแล้ววิเวกวังเวงชวนให้คิดถึงบ้านที่จากมาเป็นที่สุด หมอแคนจะดัดแปลงเลียนเสียงเหล่านี้ขึ้นเป็นลายแคน เรียกกันว่า ลายโปงลางขึ้นภู นั่นเอง
  7. ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายแคนนี้เป็นเสียงพิลาปรำพันของหญิงหม้ายที่ว้าเหว้เดียวดายของนาง สะท้อนออกมาในการกล่อมลูกในเปล นางรำพันถึงความหลังและประชดประชันในชีวิตที่ถูกสามีทอดทิ้งไป หมอแคนถอดเอาความรู้สึกนี้มาสู่ลายแคนได้อย่างน่าฟัง เป็นลายเอกอีกลายหนึ่งที่มีคนรู้จักมากหลาย

    "...นอนสาหล่าหลับตาแม่สิกล่อม นอนอู่แก้วสาแล้วแม่ซิกวย
    แม่สิไปเข็นฝ้ายเดือนหงายเว้าผู้บ่าว สิไปหาพ่อน้ามาเลี้ยงให้ใหญ่สูง
    ลุงและป้าอาวอาเพิ่นบ่เบิ่ง เพิ่นก็เพิ่งบ่ได้เฮือนใกล้เพิ่นก็ซัง"

  8. ลายลมพัดไผ่ เป็นลายแคนที่เลียนแบบเสียงธรรมชาติอีกลายหนึ่ง ต้นไผ่ในอีสานมีมากมาย และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่หน่อถึงลำต้น เวลาลมพัดมาแต่ละครั้ง กิ่งไผ่จะลู่ไปตามลมเสียดสีกันดังออดแอด กอร์ปกับลักษณะการหล่นหลุดของใบไผ่จากต้นที่มีลักษณะพิเศษ เนื่องจากใบเล็กเรียวแหลม เมื่อตกลงยังพื้นดินจะเกิดการหมุนเหมือนกังหัน เมื่อตกลงมาพร้อมๆ กันจำนวนมากจะมีความสวยงามเป็นพิเศษ หมอแคนได้จินตนาการเอาลักษณะของใบไผ่ร่วงผสมกับเสียงเสียดสีของกิ่งไผ่ยามลู่ลมมาเป็นลายแคนที่ไพเราะ หวีดหวิวน่าฟัง เรียกกันว่า ลายลมพัดไผ่ นั่นเอง
  9. ลายลมพัดพร้าว เป็นลายแคนที่จำลองแบบของใบมะพร้าวเมื่อต้องลมซึ่งผิดกันกับใบไผ่ ใบมะพร้าวเมื่อถูกลมจะโยกไหวอย่างเชื่องช้า คราใดที่พายุพัดโบกมาก็จะเอนตัวไปตามสายลมพร้อมกับสะบัดใบเสียงดังเป็นจังหวะ หมอแคนได้ถอดเสียงธรรมชาติออกมาเป็นลายแคนที่ไพเราะน่าฟัง ท่วงทำนองจะช้ากว่าลายลมพัดไผ่
  10. ลายล่องของ คำว่า ล่องของ เป็นคำเดียวกับคำว่า ล่องโขง หมายถึงท่วงทำนองลำยาว เอื่ยๆ เรื่อยๆ แต่รัญจวนใจเปรียบเหมือนกับการปล่อยเรือให้มันล่องลอยไปตามกระแสน้ำตามลำน้ำโขงโดยไม่ต้องพาย ทำนองล่องของนี้จะเป่าแคนเดี่ยวๆ ก็ไพเราะน่าฟัง จะเป่าประกอบหมอลำตอนลำกลอนยาวล่องของก็ม่วนอีหลีเด้อ
  11. ลายโป้ซ้าย เป็นลายทางสั้น มีทำนองเดียวกันกับลายสุดสะแนน จะแตกต่างก็ลายสุดสะแนนที่ความยากง่ายของการเล่น มีการติดสูดที่ลูกแคนที่อยู่ตรงตำแหน่งหัวแม่มือซ้าย หรือโป้ซ้าย จึงได้ชื่อลายว่าอย่างนั้น
  12. ลายเต้ย เป็นลายแคนที่มีจังหวะกระชับ เร็ว การลำตามปกติจะต้องมาจากลำสั้นโต้ตอบกันระหว่างหมอลำฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย เมื่อค่อนรุ่งก็จะเป็นลำลาแบบลำยาวเช่นลำล่องของ จึงจะถึงการเต้ย จังหวะเต้ยเป็นจังหวะกระชับเพื่อให้ผู้ลำได้ออกท่าฟ้อน ฉะนั้นเวลาเต้ยหมอลำจะต้องฟ้อนตลอด ไม่ยืนเฉยเหมือนการลำสั้นลำยาว คนไหนเต้ยได้ดี ฟ้อนได้สวย จะได้รับความนิยมมาก ฉะนั้นเวลาเป่าลายเต้ย หมอแคนจะเป่าเป็นตอนๆ ตามคนเต้ยแล้วมีที่ลง แต่ละตอนไม่ยาวนัก เพื่อให้เกิดความสนุกสนานน่าฟัง อาจสลับด้วยเต้ยหัวโนนตาล แล้วเป็นเต้ยพม่า ตามลำดับก็จะน่าฟังมากขึ้น
  13. ลายเซิ้ง เป็นลายง่ายๆ เป่าให้คนฟ้อนในลักษณะเซิ้ง เบื้องต้นจริงๆ มาจากเซิ้งแม่นางด้ง ซึ่งต้องใช้แคนเป่าคลอไป ภายหลังได้ดัดแปลงเป็นเซิ้งต่างๆ เช่น เซิ้งสวิง เซิ้งกะหยัง เซิ้งกระติบข้าว แต่ทำนองก็คล้ายคลึงกัน

การพัฒนาของลายแคนยังมีเพิ่มเติมมาอีกหลายลายทั้งที่พัฒนามาจากลายดั้งเดิม และลายใหม่ๆ ที่เลียนแบบมาจากเสียง หรือเหตุการณ์ของสังคมที่อยู่รอบข้าง เช่น ลายรถไฟไต่ราง ลายสาวหยิกแม่ ลายสาวสะกิดแม่ ลายภูไทครวญ เป็นต้น

ประวัติความเป็นมาของพิณ

ชนิดของพิณ

พิณในประเทศไทยมีมากมายหลายชนิด เช่น

1. พิณน้ำเต้า เป็นพิณสายเดียวทำด้วยไม้เนื้อแข็งยาวประมาณ 75 เซนติเมตร ปลายข้างหนึ่งทำด้วยโลหะ หล่อเป็นลวดลาย สำหรับขึงสายสวมติดไว้ ด้านตรงข้ามมีลูกบิด ทำด้วยไม้เนื้อแข็งสอดไว้ กล่องเสียงทำด้วยผลน้ำเต้าแห้ง มีเชือกรัดสายพิณ ซึ่งทำด้วยโลหะ ให้คอดตรงบริเวณ ใกล้กล่องเสียง ใช้บรรเลงด้วยการดีดด้วยนิ้วมือ เวลาบรรเลงจะใช้กล่องเสียงประกอบกับอวัยวะของร่างกาย เช่น หน้าอกหรือท้อง มีเสียงเบามากสามารถทำทางเสียง (Harmonic) ได้ด้วยการเทียบเสียงไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัวแล้วแต่ผู้บรรเลงจะพอใจเพราะใช้บรรเลงโดยเอกเทศ พิณน้ำเต้านี้จัดอยู่ในประเภทพิณชีตเตอร์

2.พิณเพียะ มีลักษณะคล้ายพิณน้ำเต้า แต่พิณเพียะทำเพิ่มขึ้นเป็น 2 สายและ 4สายก็มีคันทวนยาวประมาณ 1 เมตรเศษลูกปิดยาวประมาณ18 เซนติเมตร ใช้เชือกคล้องสายผูกโยงไว้กับทวน สำหรับเร่งเสียงเหมือนกันพิณน้ำเต้า กะโหลกก็ทำด้วยเปลือกลูกน้ำเต้าตัดครึ่งลูกก็มี ทำด้วยกะลามะพร้าวก็มีเวลาดีดก็เอากะโหลกประกบติดไว้กับหน้าอก ขยับเปิดปิดเพื่อให้เกิดเสียงก้องกังวานตามต้องการ เช่นเดียวกับดีดพิณน้ำเต้าในท้องถิ่นภาคเหนือในอดีตผู้เล่นมักจะดีดคลอขับร้องของตนเอง และนิยมเล่นในขณะที่ไปเที่ยวเกี้ยวสาวตามหมู่บ้านในเวลาค่ำคืน พิณเพียะนี้จัดอยู่ในประเภทพิณชีตเตอร์

3.กระจับปี่ เป็นเครื่องดีดประเภทพิณ กล่องเสียงทำด้วยไม้เนื้ออ่อน ขุดเป็นโพรงขนาดประมาณ25 x 40เซนติเมตร มีช่องเสียงอยู่ด้านหน้ามีคันทวนค่อนข้างยาวประมาณ 100เซนติเมตร มีลูกปิดตอนบนสำหรับขึ้นสาย 4 ลูก ขึ้นสายเป็น 2 คู่ เสียงเท่ากันมีนมตั้งเสียงติดอยู่กับด้านหน้าของคันทวน ใช้ดีดด้วยเขาสัตว์บาง ๆ สายกระจับปี่ทำด้วยไหมฟั่นเอ็น หรือ สายลวด กระจับปี่จัดอยู่ในประเภทพิณลูท

4.พิณพื้นบ้าน นิยมเล่นในภาคอีสาน เป็นเครื่องดีดทำด้วยไม้ กล่องเสียงเป็นรูปสี่เหลี่ยมมน หรือคล้ายใบไม้ กว้างประมาณ 25เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-35เซนติเมตร หนาราว 7-10 เซนติเมตร มีช่องเสียงตรงกลางด้านหน้า คันพิณยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร ตอนปลายติดหัวโขนรูปต่าง ๆ ใช้สายลวด 2-4 สาย บางครั้งใช้ 2 คู่ มีนมแบ่งเสียงใช้ดีดด้วยแผ่นเบาบาง ๆ จัดอยู่ในประเภทพิณลูท

5.พิณไห พิณไหทำด้วยไหซองหรือไหกระเทียม ใช้เส้นยางหนา ๆ ขึงให้ตึงที่ปากไหเวลาเล่นใช้มือดึงเส้นยางให้สั่นเป็นเสียงทุ้มต่ำ ใช้เล่นเป็นเครื่องประกอบจังหวะ นิยมนำไปเล่นกับวงโปงลาง พิณให้จัดอยู่ในประเภทพิณซิตเตอร์

ประวัติความเป็นมาของพิณ

พิณเป็นเครื่องดนตรีในสกุลเครื่องสายซึ่งประกอบด้วย กะโหลกและคอ มีสายขึงใช้ดีด อาจดีดด้วยมือแผ่นพลาสติกหรือแม้แต่เศษวัสดุที่เป็นแผ่นถากออกมาจากเขาสัตว์หรือกระดองเต่า (Midgley.1978:167-179) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตตะ หมายถึง เครื่องดนตรีที่มีสายสำหรับดีดเป็นเสียงสันนิษฐานว่า ตตะนี้คงจะได้แบบอย่างมาจากที่ใช้สายขึ้นคันธนู เกิดการสั่นสะเทือน แต่สายธนูที่ทำหน้าที่เป็นตัวสั่นสะเทือนนั้นจะแตกต่างกันไปตามความยาว สั้นของคันธนู มีเสียงดังไม่มากนัก หาวัตถุที่ช่วยให้การเปล่งเสียงมากขึ้น จึงใช้วัตถุที่กลวงโดยเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเช่น ผลน้ำเต้า กะโหลกมะพร้าว กระบอกไม้ไผ่หรือไม้ที่ขุดทะลุทะลวงตลอด จึงเรียกส่วนนี้ว่า “วีณโปกขร” หรือกระพุ้งพิณ(Resonator)(อุดม อรุณรัตน์. 2526:91)

พิณของชนเผ่าสุเมเรียน ที่เรียกว่า ไลร์ มีมาแล้วก่อนคริสตศักราชถึง 3,000 ปี และใช้กันอย่างกว้างขวางในกลุ่มชนอียิปต์โบราณ กรีกโบราณและยุโรปสมัยกลาง ในแอฟริกา มันถูกใช้เล่นประกอบในพิธีกรรมบางอย่าง (Lsaacs and Martin.1982:225-226) ในลัทธิของศาสนาพราหมณ์มีความเชื่อมั่นว่าการบูชาด้วยเสียงดนตรีที่มีสายติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนาน เป็นวิถีอันที่จะบรรลุถึงซึ่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพระศิวะได้(เดอบาร์รี 2512:513)

ในทางพุทธศาสนานั้น วิถีพระโพธิญาณ ของสมเด็จพระมหาสัตว์ก็ได้อาศัยสายกลางแห่งพิณที่สมเด็จพระอัมรินทราธิราชทรงดีดถวายถึงได้ตรัสรู้สำเร็จสมโพธิญาณว่า การบำเพ็ญเพียรแสวงหาโมกษธรรมนั้น ถ้าเคร่งครัดนักก็เปรียบเสมือนการขึ้นสายพิณให้ตึงเกินไปดีดแล้วย่อมขาดถ้าหย่อนยานนักย่อมไม่มีเสียงไพเราะเหมือนขึ้นสายพิณหย่อน แต่ถ้าทำอยู่ในขั้นมัชฌิมาปานกลาง ก็เปรียบเสมือนการขึ้นสายแต่เพียงพอดีกับระดับเสียงย่อมจะให้เสียงดังกังวานไพเราะแจ่มใส ดังใจความในวรรณคดีเรื่อง พระปฐมสมโพธิถากลางถึงพิณไว้ในตอนทุกกิริยาปริวรรต ปริจเฉทที่ 8 ว่า

ขณะนั้น สมเด็จอมรินทราธิราชทราบในข้อปริวิตก ดังนั้น จึงทรงซึ่งพิณทิพย์ สามสายลงมาดีดถวายพระมหาสัตว์ สายหนึ่งเคร่งนัก พอดีดก็ขาดออกไป สายหนึ่งหย่อนนักดีดเข้าก็ไม่บันลือเสียงและสายหนึ่งนั้นไม่เคร่งไม่หย่อนเป็นปานกลางดีดเข้าก็บรรลือศัพท์ ไพเราะเจริญจิต พระมหาสัตว์ได้สดับเสียงพิณก็ถือเอานิมิตอันนั้นทรงพิจารณาแจ้งว่า มัชฌิมปฏิบัตินั้นเป็นหนทางพระโพธิญาณ

วรรณคดีเรื่องสักกปัญหสูตร ได้กล่าวถึงพิณที่พระปัญจสังขรดีดไว้ในสักกปัญหสูตรทีฆนิกายมหาวรรค (อุดม อรุณรัตน์.2526 :93-96) ไว้ว่า “พิณมีสีเหลืองเหมือนผลมะตูมสุก กระพุ้งพิณนั้นแล้วด้วยทองทิพย์ คัณพิณแล้วด้วยแก้วอินทนิล สายนั้นแล้วด้วยเงินงามลูกบิดแล้วด้วยแก้วประพาฬ พลางขึ้นสายทั้ง 50 ให้ได้เสียงแล้วจึงดีดพิณให้เปล่งเสียงอันไพเราะ” นอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในการยังพิณให้เปล่งเสียงแล้ว พระปัญจสิงขรยังคิดแต่งเพลงขับได้อย่างไพเราะไว้เป็น “คีตูปสญหิโต ธมโม” ธรรมประกอบคีตอีกด้วย บรมครูทางดนตรีไทยถึงได้ยกย่องบูชาพระปัยจรสิงขรว่า เป็นครูทางดนตรีไทยถึงได้ยกย่องบูชาพระปัญจรสิงขรว่าเป็นครูทางดนตรี (การเปล่งเสียงจากสาย) จึงได้บรรจุไว้ในโองการไหว้ครูดุริยดนตรีไทยว่า “พระปัญจสิงขร พระกรเธอถือพิณดีดดังเสนาะสนั่น”

images1ในวรรณกรรมอีสาน 7เรื่อง ได้กล่าวถึงพิณไว้ดังตัวอย่างดังนี้ (สันทนา ทิพวงศา.2535:56-153)

เรื่องขูลูนางอั่ว ได้กล่าวถึงพิณว่า

ค้อมว่าแล้ว ตีเสบนันเนือง

พิณโพนขับ หน่อพุทธโธเมืองฟ้า

เรื่องท้าวก่ำกาดำ ได้กล่าวถึงพิณว่า

ดุริยาพร้อม ดนตรีพิณพาทย์

ระบำต่อยต้อง ชอได้ต่อยสาย

เรื่องผาแดงนางไอ่ ได้กล่าวถึงพิณว่า

มีทัง สมณาเจ้า ไหลมาเดียระดาษ

ฝูงหมู่ พิณพาทย์ฆ้อง ดังก้องสนั่นเมือง

เรื่องสังข์ศิลป์ชัย ได้กล่าวถึงพิณว่า

ฝูงเคยเหล้น ตีตะโพนพิณพาทย์

ขับแข่งฮ้อง โคลงฟ้ากาพย์สาร

เรื่อง กาฬะเกษ ได้กล่าวถึงพิณว่า

เขาก็ ตึตะโพนพิณเสพสวนเสียงห้าว

ตาตีตั้ง ภาวแพรฮับราช

เรื่อง จำปาสี่ต้น ได้กล่าวว่า

ฟังยื่น ควรควนก้อง ดุริยาม่วนมี่พุ้นเยอ

พิรพาทย์ฆ้อง ยวงย้ายย่างเชิง

เรื่องพญาคันคาก ได้กล่าวว่า

คี่น ๆ ก้อง เสียงเสพนันตีพุ้นเยอ

ควน ๆ เสียง พาทย์พิณแคนได้

imagesคนไทยได้เคยใช้พิณหรือซุงเป็นเครื่องบรรเลงมาแต่ครั้งโบราณ จากหลักฐานภาพปูนปั้นประดับฐานเจดีย์ที่เมืองโบราณ บ้านคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นรูปนางทั้งห้า บรรเลงดุริยดนตรี นางหนึ่งบรรเลงพิณเพียะ นางหนึ่งดีดพิณ 5 สาย นางหนึ่งตีกรับ นางหนึ่งตีฉิ่ง และอีกนางหนึ่งเป็นนักร้องขับลำนำ ภาพปูนปั้นดังกล่าวเป็นศิลปะสมัยทวารวดี สันนิษฐานว่า คงปั้นขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16(สำเร็จ คำโมง. 2538 : 477) สันนิษฐานว่าพิณเข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ 1,000 ปีมาแล้ว ซึ่งของเดิมมาจากจีนตอนใต้ โดยที่เราได้ดัดแปลงนำเข้าไปเล่นกับเครื่องดนตรีไทย เช่น ระนาด ฆ้องวง ซอ กลอง ฉิ่ง ฯลฯ เราเรียกวงนี้ว่า วงพิณพาด ต่อมาพิณได้หายไปจากวงพิณพาด ด้วยเหตุใดไม่ปรากฏกลับมาใช้ปี่แทน เรียกวงพิณพาดใหม่ว่า วงปี่พาด (ประยุทธ เหล็กกล้า.2512:44)

สำหรับซุง หรือพิณของคนไทยภาคอีสานนั้น น่าที่จะวิวัฒนาการขึ้นมาจากสะนุ (หรือธนู) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีสายขึงเป็นรูปคันธนูใช้ดีดเล่นหรือผูกหัวว่าวชักขึ้นไปในท้องฟ้า ให้ลมบนพัดแล้วเกิดเสียงส่วนที่เป็นเต้าเสียงนั้น น่าที่จะมาจาก 2 ทาง คือ จากกระบอกไม้ไผ่ เพราะยังมีพิณกระบอกไม้ไผ่ให้เด็กเล่นอยู่ในสังคมไทยภาคอีสาน และอีกทางหนึ่งมาจากพิณสายเครือหญ้านาง ซึ่งขุดหลุมลงไปในดินเป็นเต้าขยายเสียง และขึงสายเครือหญ้านางเป็นสายพิณพาดบนปากหลุมนั้น มัดหัวท้ายของสายเข้ากับหลัก 2 หลัก เวลาเล่นใช้ตีหรือดีดสายเกิดเสียง ดังตึงตึงคล้ายกลอง

    
 คลิกฟังออนไลน์ :




01 - Track01 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




02 - Track02 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




03 - Track03 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




04 - Track04 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




05 - Track05 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




06 - Track06 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




07 - Track07 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




08 - Track08 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 ฟังออนไลน์ :




09 - Track09 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 ฟังออนไลน์ :




10 - Track10 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




11 - Track11 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิ๊กฟังออนไลน์ :




12 - Track12 - แม่แบบเป่าโหวด (เป่าโหวดเต้น).mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




13 - Track01 - แม่แบบแคน.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




14 - Track02 - แม่แบบแคน.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




15 - Track03 - แม่แบบแคน.mp3
 ฟังออนไลน์ :




16 - Track04 - แม่แบบแคน.mp3
 ฟังออนไลน์ :




17 - Track05 - แม่แบบแคน.mp3
 ฟังออนไลน์ :




18 - Track06 - แม่แบบแคน.mp3
 ฟังออนไลน์ :




19 - Track07 - แม่แบบแคน.mp3
 ฟังออนไลน์ :




20 - Track08 - แม่แบบแคน.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




21 - Track09 - แม่แบบแคน.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




22 - Track10 - แม่แบบแคน.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




23 - Track11 - แม่แบบแคน.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




24 - Track12 - แม่แบบแคน.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




25 - Track01 - บรรเลงพิณเมดเล่ย์ ผู้ไทยฟ้อ
 คลิกฟังออนไลน์ :




26 - Track02 - บรรเลงพิณเมดเล่ย์ ผู้ไทยฟ้อ
 คลิกฟังออนไลน์ :




27 - Track01 - บรรเลงพิณเมดเล่ย์ เสียงพิณ
 คลิกฟังออนไลน์ :




28 - Track02 - บรรเลงพิณเมดเล่ย์ เสียงพิณ
 ฟังออนไลน์ :




29 - Track01 - บรรเลงพิณเมดเลย์ เสียงพิณอีสาน
 ฟังออนไลน์ :




30 - Track02 - บรรเลงพิณเมดเลย์ เสียงพิณอีสาน
 คลิกฟังออนไลน์ :




31 - Track01 - บรรเลง พิณเมดเลย่ ชุดที่10.mp3
 คลิ๊กฟังออนไลน์ :




32 - Track02 - บรรเลง พิณเมดเลย่ ชุดที่10.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




33 - โหวด - บรรเลง พิณเมดเลย่.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




34 - โปงลาง - บรรเลง พิณเมดเลย่.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




35 - เซิ้งดำนา - โปงลาง คณะหนุ่มมะพร้า.mp3
 ฟังออนไลน์ :




36 - เซิ้งกาเต้นก้อน - โปงลาง คณะหนุ่ม.mp3
 ฟังออนไลน์ :




37 - เซิ้งแลงภู่ตอมดอก - โปงลาง คณะหนุ.mp3
 ฟังออนไลน์ :




38 - เซิ้งไซบินข้ามทุ่ง - โปงลาง คณะหน.mp3
 ฟังออนไลน์ :




39 - เซิ้งน้ำโตนตาก - โปงลาง คณะหนุ่มม.mp3
 ฟังออนไลน์ :




40 - เซิ้งเกี่ยวข้าว - โปงลาง คณะหนุ่ม.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




41 - เซิ้งสาวดอกคูณ - โปงลาง คณะหนุ่มม.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




42 - เซิ้งสุดสะแนน - โปงลาง คณะหนุ่มมะ.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




44 - เซิ้งกะออม - โปงลาง คณะหนุ่มมะพร้.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




45 - เซิ้งสีโคตรบูรณ์ - โปงลาง คณะหนุ่.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




46 - Track12 - โปงลาง คณะหนุ่มมะพร้าวห้าว
 คลิกฟังออนไลน์ :




47 - Track01 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




48 - Track02 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




49 - Track03 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 ฟังออนไลน์ :




50 - Track04 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 ฟังออนไลน์ :




51 - Track05 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




52 - Track06 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 คลิ๊กฟังออนไลน์ :




53 - Track07 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




54 - Track08 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




-55 - Track09 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




56 - Track10 - บรรงเลงโปงลาง ชุดที่1.mp3
 ฟังออนไลน์ :




57 - Track01 - บรรเลงโปงลาง ชุดที่3.mp3
 ฟังออนไลน์ :




58 - Track02 - บรรเลงโปงลาง ชุดที่3.mp3
 ฟังออนไลน์ :




59 - Track01 - เซิ้งเมดเลย์ ประเพณีบุญบั้ง
 ฟังออนไลน์ :




60 - Track02 - เซิ้งเมดเลย์ ประเพณีบุญบั้ง
 ฟังออนไลน์ :




61 - Track01 - ผู้เฒ่าพาซิ่ง.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




62 - Track02 - ผู้เฒ่าพาซิ่ง.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




63 - Track01 - พื้นเมืองโคราช.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




64 - Track02 - พื้นเมืองโคราช.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




65 - Track01 - บรรเลงพิณเมดเล่ย์ 4 ภาค.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




66 - Track02 - บรรเลงพิณเมดเล่ย์ 4 ภาค.mp3
 คลิกฟังออนไลน์ :




Brain Sync - 01.Slim Naturally [Guided].
 คลิกฟังออนไลน์ :




02.Slim Naturally
 คลิกฟังออนไลน์ :




Brain Supercharger - Soaring Self Confidence - Activator
 ฟังออนไลน์ :




Brain Supercharger - Super Memory - Programmer
 ฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Alpha Mind Control
 คลิกฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Deep Journeys
 คลิ๊กฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Dreamer's Journey
 คลิกฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Ecstatic
 คลิกฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Einstein's Dream 1
 คลิกฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Dreamseed 01 - Maharata Invocation
 ฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Dreamseed 02 - Kundaray Core-I-dorr
 ฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Dreamseed 03 - Temple Of Khemalohatea
 ฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Dreamseed 04 - Transharmonic Express
 ฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Dreamseed 05 - Amorarea Flame Awakening
 ฟังออนไลน์ :




Hemi-Sync - Metamusic - Dreamseed 06 - A Call To The Oraphim




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons