ประวัติ
ต่าย อรทัย เจ้าของฉายา สาวดอกหญ้า และฉายา ราชินีเพลงลูกทุ่งอีสาน และเจ้าของผลงานเพลง โทรหาแหน่เด้อ ในอัลบั้มชุด "ดอกหญ้าในป่าปูน" สามารถทำสถิติยอดขายได้ทะลุเกินกว่า 1 ล้านชุด[1] และอีกหลายอัลบั้มต่อมาถึง 3 อัมบั้มเพลงติดต่อกันรวด ซึ่งเป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงคนแรกในประเทศไทย และประชาชนยังยกให้เธอเป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงเบอร์หนึ่งของแกรมมี่โกลด์อีกด้วย
เกิดวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2523 ที่บ้านคุ้มแสนชะนี ตำบลพรสวรรค์ อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายสาง ดาบคำ และ นางนิตยา ดาบคำ พี่น้องทั้งหมด 4 คน โดยต่ายเป็นลูกสาวคนโตและมีน้องชายอีก 3 คน อาศัยอยู่กับคุณยายทองคำ แก้วทอง ตั้งแต่เด็ก
ต่ายเกิดท่ามกลางครอบครัวที่มีปัญหา ไม่อบอุ่นเหมือนครอบครัวอื่นๆ พ่อแม่ แยกทางกันเดิน ทำให้ชีวิตของต่าย และ น้องๆต้องอาศัยอยู่กับยาย ซึ่งยาย ก็อายุประมาณ 70 ปีแล้ว แต่ต้องลำบาก เลี้ยงดูต่ายและน้อง ขณะนั้นต่ายอายุเพียง 11 ขวบ แต่ต้อง ช่วยยายดูแลน้องๆ และ ทุกอย่างในบ้าน ทั้งหาบน้ำที่อยู่ในบ่อ กลางทุ่งนา ต้อง อดทนกับระยะทางที่แสนไกล ต้องอดทน ต่อสู้กับแสงแดดที่แผดเผาเพื่อที่จะนำน้ำ มาใช้ที่บ้าน ขนฟางมาจะไป ร้องเพลงที่วง เพื่อหารายได้พิเศษ ช่วยเหลือทางบ้าน แม้จะได้รายได้ไม่มากนัก เพียง 400–500 บาท แต่มันก็เป็น ความภาคภูมิใจมากที่สุดสำหรับ เด็กผู้หญิงคนหนึ่ง
หลังจากที่จบมัธยมศึกษาปีที่ 3 วงนิวฟ้าอีสาน ยุบวงลง ต่างคนต่างแยกย้ายกันไป ในช่วงนั้น ทุกวัน หลังจากกลับจากโรงเรียน ต่าย ต้อง รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน ระหว่างการ หาบน้ำจากทุ่งนา ขนฟางข้าว ซักผ้า นึ่งข้าวให้ยาย ต่าย ก็จะร้องเพลงไปตลอด บางวันก็ ไปยืนร้องเพลงที่หลังบ้าน ซึ่งหลังบ้าน จะเป็นคันนาที่เป็นเนินสูงๆ ซึ่งทางอีสานเรียกว่า "โพน" หรือ "งอยโพน" ต่าย ก็จะยืน ร้องเพลงอยู่บนเนินนั้นเป็นประจำ ซึ่งถือได้ว่าเป็นกิจวัตรประจำวันก็ว่าได้ และในช่วงที่ต่ายกำลังศึกษาอยู่ใน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ต่ายก็ได้เป็น ตัวแทนของโรงเรียนไปประกวดวาดภาพสีน้ำ สีโปสเตอร์ รางวัลที่ได้ แม้จะไม่มีรางวัล เป็นเงินเป็นทองแต่มันมีความสำคัญทาง ด้านจิตใจ ความภาคภูมิใจ หลังจากนั้น ต่ายได้มีโอกาสประกวดร้องเพลงเป็นครั้งที่ 2 ของชีวิต การประกวดร้องเพลงครั้งนั้น เป็นการประกวดร้องเพลงที่ลำบากครั้งหนึ่ง เพราะการร้องในแต่ละรอบนั้นต้องนั่งรถ จากบ้านเกิดไปประกวดเป็นระยะทางกว่า ร้อยกิโลเมตรต้องเดินทางไปๆมาๆ เกือบ 2 เดือน อุปสรรคของต่ายในครั้งนั้นคือ เรื่องของทุนทรัพย์
จนในที่สุดความอดทนและความวิริยะอุตสาหะ จึงทำให้ได้รับรางวัลอันดับหนึ่งใน'รายการลูกทุ่งมุ่งสู่ดาว ผลตอบแทนในครั้งนั้นคือ จักรยานยนต์ 1 คัน พร้อมถ้วยรางวัล วันนั้น เป็นวันที่ต่ายยิ้มได้กว้างที่สุด และ ดีใจที่สุด ที่สามารถทำให้ “ยาย” ผู้เป็นที่รัก..มีรอยยิ้ม และ มีความสุข
หลังจากนั้นเพียงไม่นานการประกวดร้องเพลง ครั้งที่ 3 ในชีวิตของ ต่าย ก็เกิดขึ้น ครั้งนั้นได้ รับรางวัลเป็นอันดับหนึ่งอีกเช่นเคย แต่ไม่ เหมือนทุกครั้งที่เข้าประกวด เพราะ ต่าย ได้มีโอกาสพบกับครูบ้านป่า สลา คุณวุฒิ ซึ่งต่ายเคยได้ยินชื่อเสียงของครู และ ความ เป็นอัจฉริยะของครูในการเขียนเพลง ในครั้งนั้นเหมือนสวรรค์ยังไม่เปิดทางให้ ต่าย ได้มีโอกาสถ่ายทอดบทเพลงที่เกิดจาก ความอัจฉริยะของครูในการเขียนเพลง การเจอะเจอกันในครั้งนั้นจึงไม่มีผลอะไรกับ ต่าย ได้ยินเสียงจากครูเพียงแค่ว่า "เสียงดีนะ ไปฝึกเยอะๆ"
หลังจากที่เรียนจบมัธยมปลาย ต่าย ได้สมัครเข้าศึกษาที่สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี แต่ต่ายยังไม่พร้อมที่จะเรียนต่อเพราะ ขัดสน ทางด้านทุนทรัพย์ ดังนั้นจึงตัดสินใจเข้ามา ยังกรุงเทพฯ ครั้งแรกต่ายได้เข้ามาอาศัย อยู่กับแม่ช่วยแม่รับจ้างซักเสื้อผ้าให้กับ คนงานก่อสร้าง ทำได้ระยะหนึ่งรายได้ไม่เพียงพอ และที่สำคัญ ทั้งแม่ และ ต่าย ต้องส่งเงินกลับบ้าน เพื่อเลี้ยงดูยายและน้องชาย
ต่อมาได้จึงได้สมัครเข้าทำงานที่เขตอุตสาหกรรมบางปู เป็นบริษัทผลิตยาส่งออก ต่าย อดทนทำงานหนัก ประมาณ 3 เดือน แล้วเริ่มรู้สึกว่ามันไม่แตกต่าง ไปจากการทำนาเลย เพราะเหนื่อยมากรายได้ก็น้อย ดีตรงที่ทำงานในห้องแอร์เท่านั้น ในระยะนั้นต่ายก็ไม่ทิ้งงานทางด้านการร้องเพลง ยังประกวดร้องเพลงอยู่เสมอจนกระทั่งได้ เข้ารอบชิงในรายการชุมทางเสียงทอง ในขณะนั้นพี่กุ้งและพี่สาว พี่ซึ่งเคยให้ ต่าย ทำเทปในช่วงที่เรียนอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 6 ก็ตามหาตัวต่ายเพื่อจะให้เข้าห้องอัดบันทึกเสียงอีกครั้ง พี่กุ้งและพี่สาวทำเอง เปิดเอง ขายเอง ในรายการวิทยุ ชื่อเสียงของ ต่าย ตอนนั้นเริ่มมีคนรู้จักมากขึ้นเพราะพี่กุ้งและพี่สาว เปิดในรายการ
จากนั้น ต่าย จึงคิดว่าน่าจะเรียนต่อ จึงตัดสินใจสมัครเข้าเรียนในรั้วของ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เรียนไปด้วย ร้องเพลงไปด้วย แต่เงินที่ได้มาก็ไม่พอ ที่จะส่งให้ทางบ้าน ต่ายจึงคิดที่จะขายเสื้อผ้า จึงลงทุนซื้อเสื้อผ้ามาขายโดยตระเวน ไปขายตามสถานที่ต่างๆทั่วกรุงเทพฯ และชานเมือง แต่ด้วยอุปสรรคต่างๆ มากมายในช่วงฤดูฝน ช่วงนั้นบางวันขายไม่ได้เลยแม้แต่ตัวเดียว แต่ต่ายก็ไม่ย่อท้อ ทนต่อไปอีกเรื่อยๆ ใน ระยะเดียวกันนั้น พี่กุ้งและพี่สาว ก็พยายาม ที่จะนำต่ายเสนอค่ายเพลง พยายามติดต่อ ครูสลา คุณวุฒิ ซึ่งตอนนั้นติดต่อครู ได้ยากมากเพราะครูไม่ค่อยเปิดโทรศัพท์มือถือ จนในที่สุดก็ติดต่อได้…คุยกับครูสลาหลายครั้ง และทุกครั้ง ต่าย ก็ไปกับพี่กุ้งกับพี่สาวด้วย เพราะต้องคุยเกี่ยวกับตัว ต่าย ว่าถนัดร้องเพลง แบบไหน? ชอบเพลงแบบไหน? ตอนนั้น ต่าย ต้องขายเสื้อผ้า ต้องตากแดด ตากลมอยู่ตลอดเวลา ครูสลาก็แนะนำว่าต้องบำรุงผิว เก็บตัวให้ขาวใส ไม่ต้องตากแดดมาก หลังจากนั้นไม่นาน ครูสลา ก็นัดพี่กุ้งพี่สาวให้พา ต่าย ไปที่ บริษัท แกรมมี่โกลด์ เพื่อดูตัว ซึ่งตอนนั้นต่ายคิดว่าจะได้เข้ามาอยู่ ในบริษัท หรือไม่ ก็ตามแต่อย่างน้อยก็ภูมิใจแล้ว ที่ได้ย่างก้าวเข้ามายังบริษัท จากนั้น ต่าย ก็ยุ่งกับงานผ้าป่าซึ่งทางบ้าน ขอมาปีนั้นนับว่าเป็นปีที่โชคดี เพราะได้มีผ้าป่าที่บ้าน มีวงดนตรี วงหมอลำ ที่จะไปเล่นให้ชาวบ้าน แถบนั้นดู และที่สำคัญในวันงาน กลุ่มทีมงาน ของครูสลา ก็ได้ไปช่วยด้วยเช่นกัน วันนั้นเป็นวันที่ ต่าย ไม่เคยลืมเลือน จนถึงปัจจุบันนี้ เพราะครูสลา ได้ขึ้นไปพูด กับชาวบ้านบนเวที และ บอกกับชาวบ้านทุกคนว่า จะขอลูกสาวไปอยู่แกรมมี่
ในวันนั้นเป็นวันที่ ต่าย รู้สึกดีใจมากที่สุดในชีวิต หลังจากที่ได้เข้ามาอยู่ในสังกัดของแกรมมี่ แล้ว ต่าย จึงรู้ว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะออกอัลบั้ม ให้นักร้องคนใดคนหนึ่ง ต่าย ต้องฝึกร้องเพลง เป็นระยะเวลานานมาก โดยฝึกกับอาจารย์ไพรัตน์ ชูรัตน์ จากที่เคยร้องเพลงไม่ชัด ร้องเสียงขึ้นจมูก ร้องทิ้งคำ จนในที่สุดต่ายก็พยายามทำมันจนสำเร็จ หลังจากนั้นโลกใบใหม่ของสาวน้อย "ต่าย อรทัย" ก็เกิดขึ้นพร้อมกับอัลบั้ม "ดอกหญ้าในป่าปูน" กับงานเขียนของ ครูสลา คุณวุฒิ และ สวัสดิ์ สารคาม ที่ถ่ายทอดตัวตนที่แท้จริงของ "ต่าย อรทัย" ลงในเนื้อเพลงได้อย่างลงตัว ผนวกกับ ด้วยน้ำเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว พร้อมทั้งส่งเพลงแจ้งเกิด "โทรหาเหน่เด้อ" ที่โดนใจเหล่าแฟนเพลงอย่างล้นหลาม ทำให้ยอดจำหน่ายเกิน 1,000,000 ล้านตลับ
- ผู้ชักนำเข้าวงการ บ่าวข้าวเหนียว (นายสงกรานต์ แข็งฤทธิ์) , สาวบ้านเชียง (นางพรพิมล พันธ์รัตน์)
- ครูเพลง ครูสลา คุณวุฒิ
- อัลบั้มสร้างชื่อ ดอกหญ้าในป่าปูน, ขอใจกันหนาว,อยู่ในใจเสมอ
- บทเพลงสร้างชื่อ โทรหาแหน่เด้อ, ดอกหญ้าในป่าปูน,วันที่บ่มีอ้าย,ขอใจกันหนาว
- ผลงานการันตี ยอดขายเกินล้านตลับ 3 อัมบั้มรวด
[แก้] การศึกษา
- ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านคุ้มแสนชะนี อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี
- ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนนาจะหลวย อำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี
- ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกสื่อสารมวลชน (ภาคพิเศษ)