วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วรรณกรรมประเภทคำสอนทางอ้อม::ฺบ้านดอนเรดิโอออนไลน์

วรรณกรรมประเภทคำสอนทางอ้อมคือ

๑.  วรรณกรรมเรื่องเสียวสวาสดิ์
    เรื่องย่อ
       ณ  เมืองพาราณสี  มีกดุมพีสองผัวเมีย  มีลูกชายสองคน  คนพี่ชื่อศรีเฉลียวคนน้องชื่อเสียวสวาสดิ์  เมื่อเจริญวัยแล้วพ่อแม่แบ่งเรือนให้คนละหลัง  และพ่อของศรีเฉลียวและเสียวสวาสดิ์ได้อบรมสั่งสอนลูกของตนด้วยข้อวัตรปฏิบัติและจารีตประเพณีและศีลธรรม  เมื่อพ่อแม่ตายแล้วเสียวสวาสดิ์ได้ไปค้าทางเรือสำเภา  นายเรือเห็นว่าเป็นคนเฉลียวฉลาดจึงได้ให้แต่งงานกับนางสีไวลูกสาวคนเล็กของตน
       สวนเจ้าเมืองจำปานั้นปกครองบ้านเมืองไม่เป็นธรรมเกิดความเดือดร้อนทุกแห่งหน  พระองค์เกณฑ์ไพร่พลให้มาเฝ้ารักษาคืนละห้าร้อยคน  ทุกคนที่มาเฝ้าถูกเจ้าเมืองฆ่าตายทั้งหมด  ต่อมาก็เป็นวันที่เสียวสวาสดิ์ไปเฝ้ารักษาเมืองก็ไม่นอนทั้งคืนนั่งภาวนาคาถาอยู่จนสว่างวันนั้นไม่มีใครถูกฆ่า  ทำความแปลใจแก่พระราชาจึงแต่งตั้งให้เสียวสวาสดิ์เป็นอัครเสนาบดี  มีหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนเสนาอำมาตย์และไพร่ฟ้าฆ่าแผ่นดินชาวเมืองจำปา  ตลอดถึงเจ้าเมืองด้วยให้พากันตั้งอยู่ในศีลธรรม  ด้วยอุปนิสัยที่อ่อนน้อมถ่อมตนของเสียวสวาสดิ์จึงทำให้เป็นที่โปรดปรานของเจ้าเมืองจำปายิ่งนัก  เหตุการณ์บ้านเมืองทุกอย่างต้องได้รับความเห็นชอบจากเสียวสวาสดิ์ทั้งสิ้น  ทุกข์เข็ญต่างๆก็ไม่มีเมืองจำปาก็เจริญรุ่งเรืองและสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทองทั้งนี้เกิดจากเจ้าเมืองเป็นคนมีศีลธรรม  ปกครองบ้านเมืองด้วยสุจริตยุติธรรม  ทำให้ประชาชนมีความขยันหมั่นเพียร  เคารพในจารีตประเพณีและกฎหมายบ้านเมือง
       ฉบับเดิมเป็นหนังสือใบลานจารึกด้วยอักษรตัวธรรม  เป็นอักษรประเภทร้อยแก้วมี  ๒๐ ผูก  เป็นของวัดมหาวนาราม  อ.เมือง จ. อุบลราชธานี  ในปี ๒๕๑๐  ดร.ปรีชา  พิณทองและขุนพรมประศาสน์รวมกันปริวรรคจากตัวธรรมมาแต่งเป็นคำกลอนอีสาน  ไม่ปรากฏว่าผู้แต่งตั้งแต่ต้น  สันนิษฐานว่าศรีเฉลียวน่าจะชื่อว่าเฉลียว  เสียวสวาสดิ์น่าจะชื่อว่าฉลาด  เพราะเสียวสวาสดิ์เป็นคนเฉียบแหลมมีสติปัญญาและไหวพริบดี  ถึงกับได้รักตำแหน่งสูงเป็นอัครมหาเสนาเป็นรองและเป็นที่ปรึษาของเจ้าเมืองจำปา  การดำเนินเรื่องในหนังสือเสียวสวาสดิ์  เป็นสารคดีพิเศษ  ประเภทคำสอนสาธกยกนิทานมาประกอบทั้งทางโลกและทางธรรม  มีเหตุมีผลอ่านง่ายฟังง่าย  มีร้อยกว่าเรื่อง  เหมาะสมกับกาลเทศะ  ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมชมชอบของชาวอีสาน 
       ผู้แต่งนั้นน่าจะเป็นพระภิกษุเพราะได้นำเอาชาดกหลายๆเรื่องตลอดถึงธรรมบทหลายแห่งนำเข้ามาใส่ไว้ในเรื่องนี้ด้วย  ให้ตัวละครคือเสียวสวาสดิ์เป็นคนสั่งสอนเจ้าเมืองและประชาชนด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  มีทั้งที่เป็นปริศนาธรรมต่างๆที่นักปราชญ์ชาวอีสานได้เอาสุภาษิต  ผญาภาษิต  เข้ามาผสมไว้ด้วยอย่างมากหมาย  เพื่อให้ตัวละครเป็นผู้ถ่ายทอดอีกต่อหนึ่ง  ให้เห็นความยุติธรรมอยุติธรรมต่างๆ  ตลอดถึงความดีความชั่ว  ที่ตัวละครนำมาสั่งสอนเจ้าเมืองและประชาชนนั้น  เป็นหลักธรรมของพุทธศาสนาทั้งสิ้น  กวีผู้ประพันธัมักจะนำคำปริศนาต่างมาครอบหลักการเอาไว้เพื่อให้สมกับวรรณกรรมในเชิงปัญญาอย่างแท้จริง  เพราะต้องการให้คนฟังขบคิดตีปรัชญาด้วยตนเองบ้างดังจะนำมาเสนอไว้พอเป็นสังเขป  ตามประเด็นดังนี้ คือ
๑.๑)  พ่อสั่งสอนเสียวสวาสดิ์ ดังนี้คือ70
    ๑.๑)  สตรีฮ้างสามผัวอย่าสมเสพ  ชายใดสิกสามเหล่าแล้วอย่ากลั้วเกี่ยวสหาย
    ๑.๒)  จงให้ฟันเฮือไว้หลายลำแฮท่า  จงให้หม่าข้าวไว้หลายมื้อแขกสิโฮมว่าดาย
    ๑.๓)  จงให้เอาแข้วนองาฮักษาเขตเฮือนนั้นบาดห่าเกิดเหตุฮ้ายยังสิได้เพิ่งพา
    ๑.๔)  คันมีคนมาต้านคำไขสำส่ออย่าสิฟ้าวเซื่อแท้คำเว้าแห่งเขา  จงให้เอามโนน้อมคลำหาเหตุ  คันหากฮู้เลศเลี้วแล้วอย่าไข  ความระหัสไว้ในใจสงัดอยู่  อย่าให้ฮู้ฮอดเบื้องหูพุ้นเพื่อนสองลูกเอย
    ความหมายคือ
    ๑.๑)  ได้แก่คนเหล่านี้คือ  เป็นคนกลับกลอกเจ้ามายาไว้ใจไม่ได้ท่านจึงห้าคบ  ถ้าเป็นสตรีก็ไม่อิ่มในกาม  สิ่งไม่รู้จักอิ่มคือ เมถุนธรรม  การนอน  การกิน  ไฟไม่อิ่มในเชื่อเพลิงฉันใดสตรีย่อมไม่อิ่มในบุรุษ  ดังนั้นท่านจึงไม่ไว้วางใจสตรีที่อย่าร้างมาสามครั้ง  ส่วนผู้ชายที่บวชแล้วสึกนั้นเป็นคนไม่หมั่นคงในจิตใจจะทำอะไรก็ไม่สำเร็จ
    ๑.๒)  ท่านสอนให้เป็นคนอบอ้อมอารีย์เอื้อเฟื้อเผื้อแผ่แก่ญาติมิตรทั่วไป
๑.๓)  ให้เลี้ยงหมู่หมาแมวเพราะเวลาค่ำคืนจะได้เห่าไว้ป้องกันโจรขโมยได้
    ๑.๔)  ไม่ให้เชื่อคนง่ายๆต้องพิจารณาด้วยเหตุผลเสียก่อนและห้ามไม่ให้เปิดเผยความลับให้ผู้อื่นฟัง  และสิ่งควรพูดจึงพูด ไม่ควรพูดก็อย่าพูด
๑.๒)  เสียวสวาสดิ์ถามนายสำเภาว่าดังนี้คือ
    ๑) หาดเฮากลายมานี้มีหินหรือบ่
    (หมายถึงแก้วมณีทั้งหลายเช่นวิเชียร  แก้วมุกดา)
    ๒)  บ้านหม่อใกล้มีคนเฝ้าอยู่แฝงบ่เด
    (บ้านเมืองนี้มีคนรู้จารีตประเพณีและหมอยาและหมอดูทั้งมวลไหม)
    ๓)  ดงดอนนั้น มีต้นไม้ในป่าดกหนานั้นบ่ หรือบ่มีพฤกษาเปล่าแปนเป็นฮ้าง
    (บ้านเมืองนี้มีป่าไม้ยังอุดมสมบูรณ์ไหม)
    ๔)  ในเมือนั้นมีกษัตริย์สร้างปกครองตุ้มไพร่นั้นบ่ หรือมีแต่เมืองใหญ่กว้างบ่มีเจ้านั่งปอง(หมายเอามีพระมหากษัตริย์ที่ปกครองด้วยทศพิธราชธรรมมีไหมหรือว่ามีแต่ผู้ไร้ศีลธรรมปกครองบ้านเมือง)
    ๕)  ในหนห้องธานีเมืองใหญ่  วัดที่ก่อสร้างไว้มีพระเจ้าอยู่ในบ่
    (หมายเอาในบ้านเมืองนั้นมีพระสถูปเจดีย์ของพระพุทธเจ้าไหมหรือมีมหาเถรผู้ทรงศีลอยู่ไหมและไม้ศรีมหาโพธิ์มีไหม)
    ๖)  ในเมืองนั้นฝูงคนเฒ่าสามขายังมีบ่ หรือหากมีแต่เฒ่าขี้แฮ้งเต็มบ้านทั่วเมือง
    (หมายถึงมีคนแก่ถือไม้เท้าเข้าวัดฟังธรรมไหมหรือว่ามีแต่คนเฒ่าที่เข้าบ่อนการพนันหรือมีแต่คนเฒ่ากินเหล้าเมายา
๑.๓)  เจ้าเมืองถามเสียวสวาสดิ์ว่าสมบัติคูณเมืองมีอะไรบ้าง
    ๑)  หลักเมือง    ได้แก่พระรัตนตรัยแก้ว ๓ ประการเป็นที่พึ่ง
    ๒)  แก่นเมือง    ได้แก่พระยาเมืองเจ้าและหมอยา
    ๓) ใจเมือง    ได้แก่กุมาร กุมารี
    ๔)  เกณฑ์เมือง    ได้แก่หมอโหร
    ๕) ฝาเมือง    ได้แก่ขุนด่านรักษาเมือง
    ๖)  ตาเมือง    ได้แก่ฆ้องกลองและคนเฝ้าประตูทั้งสี่
    ๗)  หูเมือง    ได้แก่ประตูเมือง
    ๘)  แข่งเมือง    ได้แก่ธนูหน้าไม้ปืนไฟหอกดาบ
    ๙)  ขวัญเมือง    ได้แก่ดาวพิดานเมือง(ดาวเมือง)
    ๑๐)  มอดเมือง    ได้แก่โจรผู้ร้าย
    ๑๑)  ยอดเมือง    ได้แก่พระราชา
    ๑๒)คูณเมือง    ได้แก่แผ่นดินที่ชาวประชาอยู่อาศัยหรือหาดทรายหินทั้งหลาย
    ๑๓) คำเมือง    ได้แก่ช้างม้าวัวควายทั้งหลาย

ฺบ้านดอนเรดิโอออนไลน์




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons