วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

2.มีอิทธิพลต่อความเชื่อของสุภาพสตรี(แม่บ้าน)

ผญาภาษิตกับสตรี
           การสอนสตรีมักจะพูดถึงกริยามารยาท  การวางตัวของสตรี  การเป็นภรรยาที่ดีควรทำอย่างไร  รู้จักระเบียบของลูกสะใภ้  ควรเชื่อฟังและกตัญญูต่อพ่อแม่ตน  การเลือกคู่ครองถึงจะให้สิทธิในในการเลือกก็ตามแต่ก็ควรเลือกเอาชายที่มีการศึกษา  ไม่ควรเลือกผู้ชายที่มีจิตใจนักเลงสุราคนเจ้าชู้ชายอย่างนี้ไม่ควรเลือกเอามาเป็นคู่ครอง  เมื่อแต่งงานแล้วควรเชื่อฟังสามีไม่ควรแสดงความโกรธต่อสามี  พูดหยาบคายต่อสามี  ควรรักสามี  รักญาติฝ่ายสามี ตลอดถึงพ่อแม่ของสามีด้วย  ควรประพฤติตนตามฮีตคลองของหญิงจึงจะเป็นมงคลแก่ตนเอง  ดังนั้นจริยธรรมของสตรีที่พบในสุภาษิตอีสานพบว่ามีจริยธรรมตามสถานะภาพทางสังคม  คือสตรีในสุภาษิตอีสานมีลักษณะที่เป็นไปตามหน้าที่ของตนเองคือ  สถานะที่มีบทบาทเป็นย่าและมารดา  เป็นภรรยา   เป็นลูกสะใภ้  เป็นบุตร ดังนั้นจริยธรรมของสุภาษิตอีสานจึงมุ่งสั่งสอนให้กลุ่มสตรีเหล่านี้ควรปฏิบัติต่อหน้าของตนเองอย่างไร  และควรเว้นอย่างไร  จึงจะเหมาะสมและตั้งตัวเองให้อยู่จารีตประเพณี 
๒.๒.๓.๑.  สตรีในฐานะภรรยา
       จริยธรรมของภรรยามีมากมาย  โดยส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องความชื่อสัตย์ต่อสามี  ทำหน้าที่ของตนเองให้ดี  อบรมสั่งสอนบุตรธิดาให้ดี  สงเคราะห์เกื้อกูลญาติฝ่ายสามีดี  ดูแลเอาใจใส่ต่อพ่อแม่ของสามีตนเหมือนเป็นดั่งพ่อแม่ของตนเอง  นับว่าเป็นจริยธรรมสำหรับบริหารครอบครัวให้พบความผาสุข  ดังนั้น  ภรรยาจึงต้องให้ความเคารพยกย่องสามี  ในฐานะเป็นภรรยาพึ่งกระทำ  คือภรรยาต้องกราบเท้าสามี  ก่อนนอนและให้สามีเป็นฝ่ายนอนก่อน  ดังสุภาษิตที่ว่า
    ยามนอนนั้นให้ผัวแพงนอนก่อน    ขันดอกไม้สมมาตีนเจ้าจั่งเล่านอน
    (เมื่อถึงเวลานอนให้สามีที่รักนอนก่อน  เอาดอกไม้ใส่มาขอขมาสามีที่เท้าแล้วจึงเข้านอน)
    มีผัวให้ช่างย่อง        มีน้องให้ช่างออย
    (มีสามีให้รู้จักยกย่อง    มีน้องให้รู้จักเอาอกเอาใจ)
       จริยธรรมของสตรีในฐานะเป็นภรรยาที่ดีต่อสามี  ดังนั้นสุภาษิตอีสานได้สะท้อนถึงจริยธรรมในส่วนนี้ไว้มากมายในการปฏิบัติตัวของภรรยาที่เหมาะสมงามอย่างกุลสตรีแท้  ได้กล่าวถึงสตรีที่เป็นภรรยาต้องประพฤติตัวอย่างนี้จะทำให้ครอบครัวประสบแต่ความสุข  ความเจริญ  ดังสุภาษิตที่มาในธรรมดาสอนโลกว่า
    อันหนึ่งเป็นเมียให้ยำผัวทั้งฮักยิ่ง จริงดาย
    บัวระบัติผัวชอบแท้คือพระยาเศรษฐี นั่นแล้ว
    อันหนึ่งนอนให้นอนลุนให้ลุกก่อน
    ให้หุงหาน้ำทั้งผ้าเช็ดมือนั่นแล้ว
    อันหนึ่งเมื่อถึงวันศีลให้สมมาผัวทุกเมื่อดีดาย
    แล้วให้ปัดกวาดแผ้วเฮือนเหย้าให้ฮุ่งเฮือง
    เมื่อผัวกินข้าวอย่าให้ของกินเงื่อนตัวดาย
    อย่าได้กล่าวคำฮ้ายตอบเถียงกันเน้อ
    อย่าให้ผัวบัวระบัตยังตัวกลัวจักบาปแล้ว
    เอาแต่เพื่อนคิดเห็นฮู้ช่างอ่อนนั้นเทิน
    อันหนึ่งเทียวเฮือนให้ลีลาค่อยย่างนางเอย
    อย่าได้ปากลื่นพ้นเฮือนเหย้านั่นดาย
    ยามจักนอนอย่าได้ลืมทุกเช้าค่ำคำเฮย
    ให้เอาผมเช็ดพื้นตีนแล้วจึงค่อยนอน นั่นเน้อฯ
       นอกจากภรรยาจะต้องเคารพยกย่องสามีแล้ว  ภรรยาก็จะต้องให้ความรักและความชื่อสัตย์ต่อสามีแต่เพียงผู้เดียวด้วย  ซึ่งสุภาษิตได้สะท้อนให้เห็นสภาพสังคมอีสานว่านิยมมีครอบครัวแบบ  “ผัวเดียว  เมียเดียว”  และไม่นิยมการหย่าร้างเมื่อแต่งงานแล้วผู้หญิงควรจะร่วมทุกข์รวมสุขกับชายที่เป็นสามีไปจนกว่าจะตายจากกัน  ดังสุภาษิตกล่าวไว้ว่า
    ผัวเมียนี้คนเดียวโดยฮีต    สุขทุกข์ยังฮ่วมย้าวถนอมตุ้มต่อมกัน
    (ผัวเดียวเมียวตามจารีตประเพณี  สุขทุกข์ให้อยู่ร่วมกันคุ้มครองดูแลและลำบากด้วยกัน)  การดูแลบ้านเรือน  ก็นับว่าเป็นจริยธรรมที่สำคัญของภรรยาต้องกระทำให้สมกับคำว่า  “แม่ศรีเรือน”  สุภาษิตได้สะท้อนให้เห็นว่า  สตรีใดที่มีคุณสมบัติของความเป็นแม่ศรีเรือนเป็นสตรีที่ประเสริฐล้ำเลิศทีเดียว  โดยเฉพาะสตรีที่เพียบพร้อมไปด้วยเรือนสามน้ำสี่ ดังสุภาษิตว่า
    หญิงใดสมบูรณ์ด้วยเฮือนสามน้ำสี    เป็นหญิงดีเลิศล้ำควรแท้แม่เฮือน
    เป็นญิงนี้เฮือน  ๓ น้ำ ๔    ศรีแจ่มเจ้ากระทำถ่อนยอดเสน่ห์ 14/ยอดญาก้อม
    (หญิงใดที่มีเรือนสามน้ำสี่  เป็นหญิงประเสริฐ  สมควรกับการเป็นแม่บ้านแม่เรือน)
      เรือนสามในสุภาษิตนี้หมายถึง เรือนผม  เรือนนอน  และเรือนครัว  ซึ่งเป็นหน้าที่ของภรรยาจะต้องกระทำให้เรียบร้อย   เรือนผมนั้นรวมไปถึงการแต่งตัวด้วย  เพราะสตรีจะต้องงามตั้งแต่หัวจรดเท้า  กล่าวคือ  ต้องรักษาร่างกายให้สะอาดหมดจดอย่าปล่อยให้ผมยุ่งเหยิง  เสื้อผ้าที่สวมใส่ก็ต้องสะอาดเรียบร้อย  รวมทั้งการแต่งตัวสมฐานะและเหมาะสมกับกาลเทศะ
       เรือนนอน  ต้องรู้จักดูแลรักษาความสะอาด  ปัดกวาดเช็ดถูก  ไม่ปล่อยให้สกปรกรกรุงรัง  รวมทั้งการจัดเครื่องนอนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
       เรือนครัว   สตรีจำเป็นต้องรู้จักงานครัวทุกอย่าง  ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร  การรักษาความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ในครัวให้สะอาดน่าใช้อยู่เสมอ  และจัดเก็บให้เรียบร้อย  เป็นที่เป็นทาง  รวมทั้งการจัดการต่างๆ  เช่น  การใช้จ่าย  การจัดหา  การแบ่งปัน  กล่าวคือ  สตรีต้องรู้จักประมาณการใช้จ่ายเงินในการครัวให้เหมาะสมและพอดีกับสมาชิกในครอบครัว  สิ่งใดไม่มีก็จัดหามาไว้และควรแบ่งปันเพื่อนบ้านตามสมควร
น้ำสี่  หมายถึง  น้ำกิน  น้ำใช้  น้ำเตาปูน  และน้ำใจ
น้ำกิน  ต้องรักษาความสะอาดเป็นพิเศษ  และอย่าให้น้ำกินขาดโอ่ง
น้ำใช้  หมายถึง  น้ำที่ใช้ล้างถ้วยชาม  ล้างมือ  ล้างเท้า  ตลอดจนใช้อาบ
น้ำเต้าปูน   คนอีสานก็เหมือนคนในภาคอื่นๆที่ชอบกินหมาก  ฉะนั้นปูนที่ใช้กินหมากจึงขาดไม่ได้  ต้องมีติดเต้าปูนอยู่เสมอ  และต้องมีน้ำหล่อเลี้ยงไว้เสมอไม่ให้น้ำแห้งได้  ซึ่งสตรีใดปล่อยให้น้ำปูนแห้ง  ถือว่าขาดคุณสมบัติความเป็นแม้บ้านไปข้อหนึ่ง  เพราะปูนที่ใช้กินหมากนั้นก็มีไว้สำหรับต้อนรับแขกที่มาเยื้อนด้วย
น้ำใจ  หมายถึง  การพูดจาต้องอ่อนโยน  สุภาพ  ไพเราะ  และการมีจิตใจเมตตา  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่โอบอ้อมอารีแก่ญาติของตนและผู้อื่น  ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่สามีหลงรักภรรยาที่มีฝีมือในงานเชิงช่างไม่ว่า  จะเป็นฝีมือในการปรุงอาหาร  งานฝีมือ  และงานที่เกี่ยวกับผู้หญิง  ดังสุภาษิตสอนว่า
    แกงเพิ่นแซบปลาแดกเพิ่นนัว
        เมียเพิ่นช่างผัวเพิ่นจิ่งฮัก
    (แกงเขาอร่อยเพราะปลาร้าเขามีรสกลมกล่อม  ภรรยาเขามีฝีมือช่างสามีจึงรัก)
       นับว่าเป็นโชคดีหากชายใดได้สตรีที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นมาเป็นภรรยา  เพราะถือเป็นสิริมงคลและทำให้ชีวิตครอบครัวมีความสุขและราบรื่น  ดังสุภาษิตสอนว่า
        ได้เมียดีปานได้แก้วคูณล่าง
    ได้เมียผู้ช่างปานได้แก้วคูณเฮือน
    (ได้ภรรยาดีเหมือนได้แก้วมีค่า  ได้ภรรยาเก่งงานช่างเหมือนได้แก้วคูณบ้าน)
        ชายใดมีเมียแก้วการเฮือนเฮียงฮาบ
        ขุนใดอำนาจกล้าเมืองบ้านเฮืองฮุ่ง
    (ชายใดมีเมียที่เก่งงานบ้านรวมเรียงเคียงข้าง  ครอบครัวราบรื่น  เจ้าเมืองใดมีอำนาจกล้าแข็ง  บ้านเมืองนั้นเจริญรุ่งเรื่อง)  ดังนั้น  สตรีจึงควรปฏิบัติตนให้เหมาะสม  เพื่อเป็นการเชิดหน้าชูตาแก่สามี  การที่สามีจะเป็นคนดีได้  เพราะมีภรรยาช่วยส่งเสริมสนับสนุน  ดังสุภาษิตสอนว่า
        แหวนดีย้อนหัว        ผัวดีย้อนเมีย
        (แหวนดีเพราะมีหัวแหวนงาม  สามีดีเพราะมีภรรยาดี)    นอกจากความดีทางกายแล้วทางวาจาก็ต้องดีด้วยจึงจะมีคุณสมบัติของภรรยาที่เป็นแม่ศรีเรือน  ในเรื่องการเจรจานั้นภรรยาพึงพูดกับผู้เป็นสามีด้วยคำไพเราะต่อกัน  ซึ่งจะช่วยเป็นยาใจสมานให้ครอบครัวมีความกลมเกลียวรักใคร่กันมายิ่งขึ้น  ดังสุภาษิตสอนว่า
        ผัวเมียนี้กูมึงบ่ให้ว่า    ให้เอิ่นข้อยและเจ้าจนเท่าชั่วชีวัง46/ศูนย์
        (สามีภรรยาไม่ให้พูดกูมึง  ให้พูดฉันและเธอจนชั่วชีวิต)   จริยธรรมอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญในระบบครอบครัว  คือความละเอียดรอบคอบของภรรยาในเรื่องการงานและการเงินของครอบครัว  ภรรยาจะต้องมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเงินทองที่สามีหามาได้ด้วยความประหยัดให้เหมาะสมกับฐานะของตน  ดังสุภาษิตสอนว่า
        คันแม่นเป็นเมียแล้วให้เป็นคนถ้วนถี่
        เมียกะเมียแท้ๆเสียได้ให้ฮีนตรอง
        อย่าได้เป็นเมียลิ่นเมียกินคือลิงค่าง
        ให้เป็นเมียอยู่ข้างทางบ้านสู่ยาม70/ศูนย์
    (ถ้าเป็นภรรยาแล้วให้เป็นคนละเอียดถี่ถ้วน  ภรรยาก็เป็นภรรยาจริงๆเสียได้ให้ไตร่ตรอง)  สุภาษิตได้ชี้ให้เห็นว่าภรรยาที่ดีควรมีจริยธรรมให้การงานต่างๆและช่วยแบ่งเบาภาระกิจของสามีบ้างและให้รู้จักรับผิดชอบในงานบ้านทุกอย่างให้ดีเพราะเป็นหน้าที่โดยตรงของผู้เป็นภรรยา  ถึงจะมีความรักใคร่กันอย่างใดก็ตามสุภาษิตอีสานก็ยังสอนให้สามีไม่ควรไว้วางใจภรรยของตนเองอย่างนำความลับทางราชการบ้านเมืองมาเล่าให้ภรรยาฟัง  เพราะสตรีอาจจะไม่เก็บความลับนั้นไว้ดี  อาจจะหลงพูดให้คนอื่นรู้เพราะสตรีมีปกติชอบพูด  ดังนั้นสุภาษิตจึงเตือนสติผู้เป็นสามีว่าไม่ควรวางใจภรรยาเกินไปเดียวเธอจะนำความเดือนร้อนมาให้  ดังสุภาษิตสอนว่า
        เมียเฮียงข้างฮักฮ่วมเสน่หา
        อย่าวางใจกล่าวความบังเบื้อง46/ศูนย์
    (เมียเคียงข้างรักร่วมเสน่หา  อย่าไว้วางใจเปิดเผยความลับ)
      นอกจากนั้นผู้เป็นภรรยายังต้องเผื่อแผ่ความรักไปถึงพ่อแม่และญาติของสามีด้วย  ภรรยาจะต้องให้ความเคารพพ่อแม่และญาติของสามีดุจพ่อแม่และญาติของตน  ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาขัดแย้งในครอบครัวขึ้นได้  ดังสุภาษิตสอนว่า
        เอาลูกใภ้มาเลี้ยงแม่ย่า    ปานเอาห่ามาใส่เฮือน
        เอาลูกเขยมาเลี้ยงแม่เฒ่า    ปานเอาข้าวมาใส่เล้าใส่เยีย
    (เอาภรรยามาเลี้ยงแม่ย่าเหมือนเอาความจัญไรมาใส่เรือน  เอาสามีมาเลี้ยงแม่เหมือนเอาข้าวใส่ยุ้งฉาง)    ระบบครอบครัวในภาคอีสานเป็นครอบครัวแบบขยายคือ  เมื่อชายหญิงแต่งงานกันแล้ว  มักจะไปอาศัยอยู่กับพ่อแม่ของฝ่ายหญิงระยะหนึ่งก่อน  ต่อมาจึงจะแยกครอบครัวไปอยู่ตามลำพังแต่ก็มักจะสร้างบ้านอยู่ใกล้ๆกันกับบ้านพ่อตาแม่ยายนั่นเอง  ซึ่งการที่ลูกเขยไปอาศัยอยู่บ้านพ่อตาแม่ยาย  จะเป็นการดีกว่าพาลูกสะใภ้ไปอยู่บ้านพ่อของสามี  เพราะการที่ลูกเขยไปอยู่บ้านพ่อตาแม่ยายเท่ากับเป็นการเพิ่มแรงงานให้ครอบครัว  โดยเฉพาะในเรื่องการทำไรไถนา   แต่ถ้านำลูกสะใภ้ไปอยู่กับพ่อแม่ของสามี  มักจะเกิดความขัดแย้งระหว่างลูกสะใภ้กับแม่สามีเท่ากับเป็นการนำเอาปัญหามาสู่ครอบครัว  ดังนั้นจึงมีสุภาษิตที่สอนภรรยาให้เคารพและยกย่องพ่อแม่ของสามีไว้ว่า
    ให้นางคารวะแก้วผัวแพงทุกเซ้าค่ำ    อย่าได้คึดหล่วงล้ำใจซื่อสุจริต
    ยามผัวไปไสมาฮับของมาต้อน    เถิงเวลาแลงเซ้าซ่อยพันพลูจีบหมากฯ   
    หาหมีญาติพี่น้องสองฝ่ายให้ถนอม    มีของกินคาวหวานให้ส่งแลงงายเซ้า
    กกก่อเหง่าวงศ์สกุลโคตรย่า    ให้บูชาอ่อนน้อมถนอมไว้อย่าแหน่งฯ
    สุภาษิตนี้ชี้ให้เห็นว่าความรักฉันสามีภรรยากันนั้น  ในทัศนะของชาวอีสานที่ปรากฏในคำสอนลักษณะนี้ต้องการให้ภรรยาเคารพต่อพ่อแม่ตลอดถึงญาติของฝ่ายสามี  ซึ่งจะนำมาซึ่งความดีทั้งสองฝ่ายให้มีความรักต่อกันอย่างมั่นคงอีก  แต่กระนั้นก็ยังมีคำสอนที่กล่าวถึงสิ่งที่ภรรยาจะหนี้จากสามี  คือสามีไม่รวยทรัพย์สินเงินก็เป็นอีกส่วนให้สตรีหน่ายหนีก็ได้  หรือ  สามีแก่เฒ่าชราตลอดถึงป่วยไข้เป็นลักษณะที่จะทำให้ภรรยาตีตัวออกห่าง  ดังสุภาษิตกล่าวไว้ว่า
    เมียจักคึดคีกฮ้างแหนงหน่ายหนีผัว    เพราะว่าผัวเข็ญใจทรัพย์สินแสนสร้าง
    เห็นว่าผัวโตเฒ่าชรากาลกายแก่    เมียเลยซังส่งซ้ำบ่เหลียวหน้าล่ำแล
    เห็นว่าผัวเป็นพยาธิ์ฮ้ายเจ็บป่วยบ่จักเซา    เมียเลยซังส่งเสียบ่จาจงเอื้อ
    เห็นว่าผัวกินเหล้ามัวเมาสุรายาฝิ่น    หาแนวกินบ่ได้เมียซ้ำเหล่าซั่ง
    เห็นว่าผัวโตเฒ่าบ่ฮู้แห่งหนใด    เมียเลยไลลาหนีถ่มน้ำลายน้ำก้น
    เห็นว่าผัวเขินข้างบ่เนานอนสมสู่    เมียเหล่าอยู่บ่ได้เห็นหน้าหน่ายซัง

ฺบ้านดอนเรดิโอออนไลน์




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons