วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

๓.๔ พุทธภาษิตกับบุคคลทั่วไป

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

.๔ พุทธภาษิตกับบุคคลทั่วไป

บุคคลย่อมมีลักษณะและนิสัยต่างกัน ทั้งบุรุษและสตรี พระพุทธศาสนามีทรรศนะกับบุคคลทั่วไปในลักษณะอย่างไร ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบลักษณะของคนว่าบ้างคนชอบทำแต่ไม่ชอบพูด แต่บางคนชอบพูดมากกว่าทำ พระพุทธเจ้าทรงเปรียบคนในโลกนี้เหมือนวลาหก ๔อย่างคือ

๑) ฟ้าร้อง ฝนไม่ตก

๒) ฝนตก ฟ้าไม่ร้อง

๓) ฟ้าไม่ร้อง ฝนไม่ตก

๔) ฟ้าร้อง ฝนตก

คนที่ชอบพูด พูดเก่ง พูดน่านับถือ แต่ไม่ชอบทำ ทำไม่ได้ตามที่พูด เช่นพูดเรื่องศีลได้อย่างแจ่มชัด แต่ตนเองเป็นคนไม่มีศีล อธิบายเรื่องสัจจะได้อย่างกว้างขวางแต่ตนเองไม่รักษาคำสัจ บางคนเรียนจบนวังคสัตถุศาสน์ คือ สุตะ เคยยะ ไวยากร ถาคา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรมและเวทัลละ แต่ไม่รู้ความจริงว่านี้ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้คือวิถีดำเนินไปสู่ความดับทุก บุคคลประเภทนี้จัดเป็น ฟ้าร้อง ฝนไม่ตก ส่วนคนบางคนชอบทำแต่ไม่ชอบพูด เป็นคนมีศีลมีกัลยาณธรรมแต่ไม่พูดไม่คุยให้เป็นที่ฟุ้งซ่าน ไม่ทำความรำคาญแก่สังคม แม้ไม่ได้เล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์ แต่ก็สามารถรู้ความจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์ คนประเภทนี้เรียกว่า ฝนตก ฟ้าไม่ร้อง

คนบางคนไม่พูดและไม่ทำคือไม่ได้เรื่องอะไรเลย หาดีไม่ได้และไม่ศึกษาเล่าเรียน ไม่รู้ความจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดแห่งทุกข์ นี้ความดับทุกข์นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์ คนประเภทนี้เรียกว่า ฟ้าร้อง ฝนไม่ตก และคนอีกลักษณะหนึ่งที่สำคัญคือเป็นคนทั้งชอบพูดและชอบทำทำได้ตามที่พูด คือพูดอย่างใดก็ทำได้อย่างนั้น เช่น สอนเขาเรื่องศีลห้า ตนเองก็รักษาศีลห้าได้อย่างเคร่งครัด หรือสอนเขาเรื่องอบายมุข ตนเองก็เว้นอบายมุขได้อย่างเด็ดขาด และได้เล่าเรียนนวังคสัตถุศาสน์ ทั้งรู้ความจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์ คนประเภทนี้เรียกว่า ฟ้าร้อง ฝนตก ซึ่งเป็นที่ต้องการของสังคม ถ้ามีบุคคลในลักษณะมากก็จะทำให้สังคมมีความเจริญรุ่งเรื่อง มีความผาสุกได้ ดังภาษิตของหาริตเถระ มาในขุททกนิกาย เถรคาถาว่า “ บุคคลทำสิ่งใด จึงควรพูดสิ่งนั้น ไม่ทำสิ่งใด ก็ไม่ควรพูดสิ่งนั้น บัณฑิตย่อมกำหนดรู้คนที่ไม่ทำ ได้แต่พูด”๑๓ และบุคคลอีกลักษณะหนึ่งที่เปรียบเหมือนน้ำ ๔ ประเภท คือ

๑) น้ำตื่น เงาลึก

๒) น้ำลึก เงาตื่น

๓) น้ำตื่น เง่าตื่น

๔) น้ำลึก เง่าลึก

น้ำเป็นของเหลวโดยธรรมชาติ และสามารถแปรเปลี่ยนสถานะได้ จากของเหลวเป็นของแข็งก็ได้เมื่ออยู่ในอุณหภูมิต่ำ และในขณะเดียวกันก็เปลี่ยนเป็นไอได้เมื่อได้รับความร้อนสูง การเปรียบเทียบให้เห็นถึงลักษณะของบุคคลนั้น ได้ง่ายขึ้นเพราะการมองคนดูแต่ข้างนอกก็ไม่อาจทราบความในได้ เพราะบางคนมีกิริยาท่าทางดี การเดิน การยืน การนั่ง ดูสง่าผ่าเผย จะก้าวหน้าหรือถอยหลัง จะเหลียวจะแลหรือคู้แขนเหยียดแขน ตลอดจนการแต่งตัวก็น่าเลื่อมใสแต่ไม่มีวิชา ความรู้ไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควร ไม่มีคุณวิเศษในตัว ไม่รู้ว่านี้ทุกข์นี้คือเหตุให้เกิดทุกข์ นี้คือความดับทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์บุคคลลักษณะนี้เรียกว่า น้ำตื่น แต่เงาลึก

แต่ให้ทางที่กลับกันบุคคลที่มีลักษณะที่ปากกับใจตรงกัน เห็นอย่างไรก็พูดอย่างนั้นเป็นคนที่มีกิริยาท่าทางต่างๆไม่น่าเลื่อมใจ หรือไม่น่าไว้ใจแต่กลับเป็นคนที่มีคุณธรรมสูงส่ง ได้รับการศึกษาดีเป็นคนมีเหตุมีผล รู้จักทางเสื่อมและทางเจริญ ว่านี้คือทุกข์ นี้คือเหตุแห่งทุกข์ นี้คือทางดับทุกข์ นี้เป็นหนทางให้ถึงความดับทุกข์เรียกบุคคลลักษณะอย่างนี้ว่าเป็น คนประเภทน้ำลึก เงาตื่น

บางคนมีกิริยามารยาทไม่ดี การแต่งกายไม่เรียบร้อยทั้งไม่มีวิชาความรู้ ไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควร ไม่รู้ว่าอะไรเป็นเหตุแห่งความเสื่อม เป็นคนที่ไม่มีคุณธรรมในตัว จัดคนประเภทนี้เรียกว่า น้ำตื่น เงาตื่น แต่บางคนมีกิริยามารยาทดีงามด้วย การพูดจาไพเราะอ่อนหวาน รู้กาลควรและไม่ควร ดูน่าเคารพและภูมิฐานเป็นคนแต่งกายสุภาพเรียบร้อย ทั้งเป็นคนมีชาความรู้ ว่านี้คือทุกข์นี้คือสาเหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้เป็นหนทางให้ถึงความดับทุกข์ ลักษณะอย่างนี้จัดว่าเป็นคนประเภท น้ำลึก เงาก็ลึกด้วย การดูคนถ้ามองให้ดีจะทราบว่ามีส่วนที่จะรู้ได้ว่าคนนั้นๆมีคุณธรรมที่ลึกหรือไม่ เป็นที่เป็นบัณฑิตหรือไม่ก็จะทราบได้ด้วยวิธีการดูคนแบบพุทธวิธีนี้เช่นกัน

ต้นไม้ ก็เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่นำมาดูว่าบุคคลในสังคมมีลักษณะอย่างไร คือต้นไม้โดยธรรมชาติย่อมมีทั้งแก่นและเปลือกหรือกระพี้ซึ่งเป็นลักษณะที่สอนให้มองคนให้รอบครอบมีความระมัดระวังอย่าเชื่อใครง่ายๆ เข้ากับสำนวนไทยว่า อย่าเชื่อใจทางอย่าวางใจคน มันจะจนใจตัวเอง ซึ่งคติธรรมให้คนรู้จักรังคน พุทธเจ้าทรงเปรียบคนในโลกมีลักษณะเป็นต้นไม้ที่มีแก่นและไม้กระพี้ ดังนี้

๑) ไม้กระพี้ มีไม้กระพี้เป็นบริวาร

๒) ไม้กระพี้มีไม้แก่นเป็นบริวาร

๓) ไม้แก่นมีไม้กระพี้เป็นบริวาร

๔) ไม้แก่นมีไม้แก่นเป็นบริวาร

เป็นคติธรรมที่น่าคิดมากว่าคนเราจะเลือกคบมิตรดีบ้างหรือเลวบ้างนั้นย่อมหารู้ไม่ว่าคนที่ตนเองคบอยู่นั้นเป็นคนมีแก่นหรือว่าเป็นเพียงกระพี้ ถ้าหากได้บริวารที่น้ำแต่ทุกข์และโทษมาสู่ตนเองนั้นเป็นบริวารที่เป็นกระพี้ ดังสำนวนไทยว่าคบคนให้ดูหน้า เชื้อผ้าให้ดูเนี้อนั้นเอง คนบางคนในโลกนี้เป็นคนที่ไร้เมตตาธรรม ไม่มีความเอื้ออาทรต่อกัน ไม่มีศีลธรรมทำอะไรก็หวังจะเอาเปรียบคนอื่นอยู่ตลอดไป คือหวังแต่ได้ฝ่ายเดียว ขาดความกรุณาต่อกัน เป็นคนเห็นแก่ตัวจนเกินควร เห็นแต่ประโยชน์ของตนเป็นสำคัญกว่าประโยชน์ส่วนรวม แม้แต่มิตรสหายของเขาก็เป็นเหมือนกับนาย คือเป็นคนไร้ศีลธรรมเหมือนกัน คนที่มีลักษณะนี้จัดเป็นไม้กระพี้ มีไม้กระพี้เป็นบริวาร แต่มีอีกอย่างที่บริวารเป็นคนดี เห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นเรื่องสำคัญกว่าประโยชน์ส่วนตน แต่เจ้านายเป็นคนเห็นแก่ตัว ไม่มีเมตตาธรรมแก่คนรอบข้าง ชอบเอาเปรียบผู้อื่น คนลักษณะนี้มีมากมายในสังคม ถ้าบ้านเมืองมีบริวารอย่างมากเท่าไรก็จะดี จัดได้ว่าเป็นการควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ จัดเป็นไม้กระพี้แต่มีไม้แก่นเป็นบริวาร

บ้านเมืองจะเรื่องรุ่งต้องผดุงศาสนา คุณธรรมย่อมนำพาชาวประชาสุขเจริญ คือบางคนเป็นผู้นำรัฐ หรือผู้นำองค์การต่างๆมีศีลธรรม และมีวัฒนธรรมที่เจริญ ไม่มีอคติต่อบริวารของตน ไม่ผูกพยาบาทต่อผู้อื่น เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่ก่อความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้ร่วมงาน มุ่งทำประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองเป็นหลัก บำบัดทุกข์แก่ปวงประชาไม่เห็นแก่ประโยชน์สุขของตนเอง แต่กลับกันว่ามีบริวารเป็นคนที่ตรงกันข้าม แต่ก็ยังดีที่หัวหน้าเป็นคนดีอยู่บ้าง คนลักษณะนี้จัดเป็นคนมีแก่น แต่บริวารเป็นกระพี้

ส่วนบุคคลที่จัดว่าเป็นอุดมคติที่สุดคือ คนมีศีลธรรม มุ่งพัฒนาตนเองและชาติบ้านเมืองให้ก้าวหน้า เป็นคนมีคุณธรรมที่สมบูรณ์ ตลอดถึงบริวารของเขาก็เป็นคนมีเมตตาต่อเพื่อนร่วมประเทศ มุ่งความสุขแก่ปวงประชา คนกลุ่มนี้จัดเป็นประเภทมีไม้แก่นเป็นหัวหน้าและมีไม้แก่นเป็นบริวาร

อสรพิษ ได้ยินชื่อก็น่ากลัวแล้วสำหรับบุคคลลักษณะนี้ หมายถึงคนที่พูดดีเขาก็โกรธ เป็นคนเจ้าโทสะเมื่อโกรธมากๆก็จะผูกพยาบาทจองเวรแก่ผู้อื่นได้ง่าย ทำอะไรไม่ชอบใจก็จะโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ เป็นคนโกรธง่าย เหมือนอรพิษย่อมพ้นพิษใส่ศัตรูได้ง่าย คนอย่างนี้ควรระวังให้ดี พระพุทธเจ้าทรงตรัสเปรียบบุคคลอย่างนี้ไว้ว่า

๑) มีพิษแล่น พิษไม่ร้ายแรง

๒) มีพิษร้าย พิษไม่แล่น

๓) มีพิษแล่น และมีพิษร้าย

๔) มีพิษไม่แล่น และไม่ร้าย

มนุษย์ปุถุชนย่อมมีกิเลสคือราคะ โทสะ และโมหะเป็นสิ่งที่นอนเนื่องอยู่ในจิตสันดารมีพิษคือความโกรธซึ่งเป็นโทษแก่เจ้าของใจเองและเป็นพิษต่อบุคคลรอบตัว คนลักษณะอย่างนี้แม้เขาพูดด้วยดีแต่ถ้ามีอะไรทำให้เสียอารมณ์เพียงนิดก็โกรธ เรียกว่าเป็นคนชอบโกรธเป็นนิสัย แต่ไม่ผูกโกรธ ไม่จองเวรใครเป็นคนโกรธง่ายหายเร็ว พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่าเป็นคนมีพิษแล่น และไม่ร้ายแรง ส่วนคนที่มีพิษร้ายด้วยและไม่แล่นด้วย คนลักษณะอย่างนี้ควรหลีกให้ห่างเอาไว้จะดี เพราะเป็นคนที่มีพิษที่นอนเนื่องอยู่นานๆ ไม่เจือจางง่ายๆ แต่ก็เป็นคนที่โกรธคนอยาก ไม่จองเวรใครง่ายๆ แต่ถ้าเมื่อใดบุคคลชนิดนี้ได้โกรธใครเข้า มักจะผูกพยาบาทอาฆาตจองเวรจองกรรมกันข้ามภพข้ามชาติได้ เรียกคนอย่างนี้ว่าเป็นคนมีพิษร้าย และพิษไม่แล่น

คนบางคนมีนิสัยขี้โกรธ ใครทำอะไรให้ผิดใจนิดหน่อยก็โกรธแล้วก็ไม่ค่อยจะหายเร็วด้วย คิดอาฆาตพยาบาทจองเวรจองกรรมต่อไป คนมีนิสัยแบบนี้ไม่ควรคบด้วยจัดว่าเป็นมิตรเทียม ซึ่งน่ากลัวคนประเภทนี้จัดเป็นคนมีพิษแล่น และมีพิษร้าย ส่วนคนลักษณะสุดทายคือ เป็นคนมีจิตใจสงบเยือกเย็น มั่นคงหนักแน่นในเหตุผล เป็นคนสุขุมรอบคอบแม้จะถูกยั่วให้โกรธก็ไม่โกรธง่าย หากจะมีความโกรธเกิดขึ้น ก็ข่มเสียได้ทันไม่แสดงความโกรธออกมาให้เป็นที่น่าเกลียดน่าอาย และเป็นคนไม่เก็บความโกรธเข้าไว้ในใจ เป็นคนมีขันติธรรมและมีเมตตาเป็นหลักใจ คนประเภทนี้เรียกว่ามีพิษไม่แล่น และไม่มีพิษร้ายต่อใคร จัดว่าเป็นคนรักษาประโยชน์ทั้งสองเอาไว้ได้

หนู มีนิสัยรักความอิสระและอาศัยอยู่ใต้พื้นดินโดยธรรมชาติ จะออกจากรูมาก็เมื่อต้องการหาอาหารกินและกัดกินไปทั่ว ไปหากินที่ไหนก็ขุดดินหากินไปเรื่อย บางครั้งหนูตัวเดียวจะมีรูออกหลายช่องทาง เมื่อเวลามีภัยมาถึงตัวก็จะวิ่งออกไปอีกทางหนึ่ง นี้คือนิสัยของหนู ย่อมเปรียบได้กับคนบางคนในโลกนี้มี ๔ ลักษณะคือ

๑) ขุดรู แต่ไม่อยู่

๒) อยู่ แต่ไม่ขุดรู

๓) ไม่ขุดรู และไม่อยู่

๔) ขุดรูด้วย อยู่ด้วย

เปรียบให้เห็นว่ามนุษย์บางคนในสังคมเป็นคนศึกษาเรียนมามากเป็นคนฉลาด แต่ไม่มีศีลธรรมเป็นเครื่องกำกับจิตใจ ย่อมเป็นสาเหตุให้ก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้ เรียกฉลาดแกมโกง คนอย่างนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นคนมีการศึกษาดี แต่ไม่นำความรู้นั้นมาปรับให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง เปรียบด้วยคนเรียนสุตตะ เคยยะ ไวยากรณ์ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ แต่ไม่ได้รับประโยชน์จากการเรียน คือไม่รู้ว่านี้คือทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางแห่งความดับทุกข์ คนอย่างนี้พระพุทธเจ้าเรียกว่า ขุดรู แต่ไม่อยู่ ส่วนคนที่ไม่ได้เรียนแต่กลับรู้หลักในการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ คนลักษณะนี้จัดว่าเป็นคน อยู่แต่ไม่ได้ขุดรู และคนที่ไม่มีทั้งสองอย่างคือไม่ได้เรียนด้วยและไม่สนใจในการปฏิบัติธรรมด้วยคนกลุ่มนี้จัดเป็นคน ไม่ขุดรูและไม่อยู่ แต่คนบางคนในโลกนี้ทั้งได้ศึกษาด้วยและเพียรพยายามแสวงหาทางพ้นทุกข์ด้วย จัดเป็นคนประเภทที่สุดคือขุดรูและอาศัยอยู่ด้วย คนอีกนัยหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเปรียบเทียบเป็นดังเช่นหม้อซึ่งมีลักษณะ ๔ ประการคือ

๑) หม้อเปล่า ปิด

๒) หม้อเต็ม เปิด

๓) หม้อเปล่า เปิด

๔) หม้อเต็ม ปิด

คนบางคนในโลกนี้มีกิริยาท่าทางดี มีมารยาทเรียบร้อย การแต่งเนื้อแต่งตัวก็ดูงามสง่าน่าเลื่อมใส แต่ภายในเป็นคนไม่มีทั้งวิชชา ไม่ได้รับการศึกษาเล่าเรียนไม่รู้ความจริงว่านี้คือทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้คือความดับทุกข์ นี้ทางดำเนินให้ถึงความดับทุกข์ เป็นคนดีแต่ภายนอกเข้าในลักษณะสุภาษิตไทยว่า ข้างนอกสดใส ขางในเป็นโพง คนประเภทนี้จัดเข้าในคนหม้อเปล่า และปิด นัยตรงกันก็มีคนอีกอย่างที่ข้างนอกมองดูเป็นคนไม่เรียบร้อยแต่กับเป็นคนที่รู้จักทางแห่งความพ้นทุกข์ คนอย่างนี้จัดเป็นคนหม้อเต็มและเปิด ส่วนบุคคลที่กิริยาก็ไม่ดี ทั้งยังไม่ได้ศึกษาเล่าเรียน มารยาทไม่งดงามด้วย และไม่รู้ทางพ้นทุกข์ คนอย่างนี้จัดเป็นคนเปล่าทั้งสองส่วนคือเปรียบเหมือนหม้อเปล่าและเปิดด้วย ส่วนคนกลุ่มสุดท้ายเป็นคนงามทั้งวิชาการและมีมารยาทงดงามสง่า เป็นคนสุภาพเรียบร้อยและรู้ว่านี้คือทุกข์ นี้คือสาเหตุแห่งทุกข์ นี้คือหนทางให้ทุกข์ดับคนอย่างนี้จัดเป็นคนที่เหมือนหม้อเต็มและปิด การดูบุคคลในโลกนี้อยากที่จะทราบได้ว่าใครเป็นคนมีคุณธรรม หรือไม่มีคุณธรรมภายนเลยเพราะมนุษย์รู้จักการปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ได้ดี สามารถล้อล่วงคนโง่ให้หลงได้เสมอแต่พระพุทธเจ้าผู้ศาสดาของโลกพระองค์ทรงให้พิจารณาคนให้ดีอย่าดูแต่ภายนอกของคนให้ดูถึงภายในของเขาด้วย คนในโลกนี้มีลักษณะเหมือนดอกไม้ ๔ อย่าง คือ ๑) สีไม่งาม มีกลิ่นเหม็น ๒) สีไม่งาม มีกลิ่นหอม ๓) สีงาม มีกลิ่นเหม็น ๔) สีงาม มีกลิ่นหอม การดูคนเป็นสิ่งสำคัญมากทุกองค์ควรเลือกสรรคนที่มีความรู้ความสามารถให้ทำหน้าที่แทนเรา เช่นการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฏรก็เหมือนกัน ถ้าเลือกเอาคนที่ไม่มีวิชาความรู้ ความประพฤติไม่ดี และเป็นคนโง่ด้วยเหมือนดอกไม้สีไม่งามและมีกลิ่นเหม็น แต่ในทางกลับกันเลือกสรรคนดี มีคุณธรรม มีมารยาทงามทั้งภายในและภายนอกมุ่งทำหน้าที่เพื่อประชาชน เปรียบเหมือนมีดอกไม้ที่มีสีงามและมีกลิ่นหอมด้วย พระพุทธเจ้าทรงเปรียบมนุษย์ในโลกนี้เหมือนดอกบัว ๔ อย่าง คือ

๑) ดอกบัวที่พ้นน้ำ จักบานในวันนี้

๒) ดอกบัวที่เสมอน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้

๓) ดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ จักบานในวันต่อๆไป

๔) ดอกบัวที่อยู่ใต้โคนตม จักบานหรือไม่บานก็ได้ในวันข้างหน้า

คนในลักษณะนี้เป็นคนที่อยู่เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ได้เร็ว คือเมื่อได้ฟังพระสัทธรรมก็สามารถตรัสรู้ธรรมได้เลยจัดเป็นดอกที่พ้นน้ำ ส่วนบุคคลที่ต้องศึกษาเล่าเรียนและฝึกอบรมมาดี เพื่อได้ฟังธรรม แต่ยังไม่สำเร็จในขณะฟังแต่มีจิตเพียรพยายามจนบรรลุในวันต่อมาจัดเป็นคนที่เหมือนดอกบัวที่จักบานในวันพรุ่งนี ส่วนคนที่มีเหมือนดอกบัวที่จัดบานในวันต่อไปนั้น จะต้องให้การศึกษาและปรับอินทรีย์ต่างให้ไปก่อน เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์ดีก็จักรู้ธรรมในวันข้างหน้า ส่วนบุคคลชนิดสุดท้ายนี้ไม่มีประโยชน์ที่จะฝึกเลยปล่อยให้เป็นอาหารของปลาและเต่า คนทั้งสี่จำพวกนี้ก็ดีเป็นการใช้อุปมาอุปมัยเป็นเหมือนดอกบัวต่างวันกันบาน ทำให้คนรู้ว่ามนุษย์ในโลกนี้จะทำให้เหมือนกันนั้นเป็นไปไม่ได้ แต่จะต้องพยายามฝึกหัดขัดเกลาจิตของตนเองไปเรื่อยๆ ด้วยการสร้างบารมีต่างๆให้พร้อม แต่บางคนกลับไม่เป็นเช่นนั้นคือมีทุกอย่างพร้อมแต่กลับไม่ทำ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงลักษณะของคนเอาไว้อีก ๔ ประการคือ

๑ มืดมา มืดไป

๒) มืดมา สว่างไป

๓) สว่างมา มืดไป

๔) สว่างมา สว่างไป

คนที่มืดมานั้นเปรียบเหมือนคนที่เกิดมาในตระกูลต่ำ เช่นตระกูลจัณฑาลหรือตระกูลคนเทขยะ เป็นต้น มีความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง มีรูปร่างผิวพรรณทรามมีโรคมาก เป็นง่อยหรือพิการเพราะอำนาจแห่งกรรม ยิ่งไปกว่านั้นเป็นคนไม่ศีลธรรม ไม่มีเมตตาธรรม ถึงได้เป็นมนุษย์ก็เป็นได้แต่เพียงร่างกายแต่จิตใจไม่เป็นมนุษย์เลย เมื่อตายไปก็ไปเกิดในอบายภูมิ คนจำพวกนี้จัดเป็นคนมืดมาและมืดไป ส่วนบุคคลที่รู้ว่าตนเองเป็นเกิดในตระกูลต่ำ การเลี้ยงชีพก็ฝืดเคืองแต่กลับมีสัมมาทิฏฐิ เป็นคนจนแต่มักช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักรักษาศีลและให้ทานตามกำลังทรัพย์ของตน เมื่อถึงกาลมรณะก็ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์มีอารมณ์ที่ดีงาม จัดเป็นคนมืดมาแต่สว่างไป คนกลุ่มที่สามคือมาเกิดในโลกมนุษย์ก็เป็นคนในตระกูลสูงมีทุกอย่างสมบูรณ์แต่เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ชอบช่วยเหลือคนอื่นเป็นคนตระหนี่ในทรัพย์สมบัติ ไม่เคยรักษาศีลให้ทาน เมื่อดับกายทำลายขันธ์ก็ไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก จัดเป็นคนสว่างมาแต่มืดไป ส่วนคนกลุ่มที่สี่ก็มีทุกอย่างเหมือนคนกลุ่มที่สาม แต่เป็นคนมีศีลธรรม รู้จักให้ทานรักษาศีล รู้จักทางเสื่อมและทางเจริญ รู้ว่านี้คือทุกข์ นี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ นี้เป็นหนทางดับทุกข์ นี้เป็นทางดับทุกข์ เมื่อตายไปก็ไปเกิดในสวรรค์ จัดว่าเป็นคนสว่างมาและสว่างไป

เมื่อเป็นอย่างนี้พุทธศาสนามุ่งสอนให้คนรู้จักเลือกวิธีดำเนินชีวิตของตนให้ถูกต้องตามหลักศีลธรรม มีปัญญาประคับประคองตนเองให้เดินในทางสายกลางคือ อริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางให้ทุกข์ชีวิตได้พบกับความสันติสุข ทั้งต่อตัวเองและสังคมส่วนรวม ดังนั้นพุทธภาษิตกับบุคคลทั่วไปที่จะนำมาเสนอต่อไปนี้โดยสังเขป เพื่อเป็นแนวทางแห่งคติชีวิตต่อไป ดังนี้คือ


๑๓ ขุ. เถร. 26/309




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons