๓.๓ พุทธภาษิตกับสตรี
สังคมไทยมักจะกล่าวให้สติมักจะแทรกอยู่ในคำสอนต่าง ๆ ตามแต่จะเหมาะสมว่า การคบคนต้องดูที่หน้าตาเสียก่อน เหมือนกับการซื้อผ้าต้องดูเนื้อ รวมไปถึงการที่จะคบกับสตรี คนไทยเรานิยมการดูที่ครอบครัวด้วย มักจะมีคำโบราณพูดเสมอว่า “ดูนางให้ดูแม่ ถ้าจะดูให้แน่ดูถึงแม่ยาย”
การจะเลือกคู่ครองนั้นต้องถือว่าสำคัญยิ่ง เพราะจะต้องหาเนื้อคู่ที่อยู่ในอุดมคติของตนคือเป็นคนดี เรียกว่าให้มีเรือนสามน้ำสี่ แม้ในทางพระพุทธศาสนาก็กล่าวไว้ในเรื่องของสตรีที่บุรุษชอบใจแท้ ดังที่พุทธพจน์ตรัสไว้ว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย สตรีที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมเป็นที่พอใจโดยส่วนเดียวของบุรุษ” ผู้หญิงที่เป็นแม่ศรีเรือน เป็นผู้งามด้วยจรรยามารยาทรู้หน้าที่การงานย่อมเป็นที่หมายปองของบุรุษ สังคมไทยแม้จะยกย่องชายที่บวชแล้วเรียนแล้วว่าเป็นคนสุก สังคมไทยก็ไม่นิยมให้ชายบวชหลายครั้งจนถึงมีคำพังเพยเรื่องการบวชหลายครั้งว่า “ชายสามโบสถ์” เป็นสิ่งต้องห้าม
การเลือกคู่ครองนั้นพระพุทธศาสนาก็กล่าวสอนให้บุรุษและสตรีที่จะมีครอบครัวนั้นให้ไตร่ตรองให้ดี ให้ดูกันนานๆ และให้เว้นคู่ครอง๔ จำพวก๑ คือ ๑) ผัวผี เมียผี ๒) ผัวผี เมียเทวดา ๓ ผัวเทวดา เมียผี ๔) ผัวเทวดาและเมียเทวดา ลักษณะที่๑ คือ สามีเป็นคนไม่มีศีลธรรม ชอบฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดปด ดื่มสุรา ตระหนี่ ด่าว่าสมณพราหณ์ แม้ภรรยาของเขาก็เป็นเช่นนั้น คือมีความประพฤติเช่นเดียวกันกับสามี คือผัวผีเมียผี เรียกว่าได้สามีอย่างไรภรรยาก็ย่อมเป็นอย่างนั้นดังพุทธพจน์ว่า “คบคนใดก็เป็นเช่นคนนั้นแล ยํ เว เสวติ ตาทิโส”๕ จำพวกที่สองคือ ผัวผี เมียเทวดา คือ สามีเป็นคนไม่มีศีลธรรม แต่ภรรยาของเขาไม่เป็นคนมีศีลธรรม เป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และไม่ด่าว่าสมณพราหณ์ คู่ครองอย่างนี้เรียกผัวผีเมียเทวดา จำพวกที่สามคือ ผัวเทวดาผีเมียหมายถึงสามีเป็นคนมีศีลธรรมแต่ฝ่ายภรรยาไม่มีศีลธรรม ได้เป็นคู่ครองกันก็รั้งจะเป็นทุกข์ ดังพุทธพจน์ทรงตรัสสอนเอาไว้ว่า
“ผู้ใดเข้าไปเสพคนพาลผู้นั้นก็เป็นพาลไปด้วย ผู้หลงอาศัยคนหลง ย่อมถึงความหลงยิ่งขึ้น”๖ ความฉิบหายย่อมเจริญแก่บุคคลผู้คบคนพาล๗ “การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นทุกข์ ดังอยู่ร่วมกับศัตรู ฉะนั้น เพราะฉะนั้นอย่าสมาคมกับคนพาล เพราะการสมาคมกับคนพาลเป็นทุกข์ ผู้คบคนชั่วย่อมไม่ได้ความสุขโดยส่วนเดียว เขาย่อมทำตนให้ถึงความพินาศ๘
ส่วนคู่สามีที่สี่ คือผัวเทวดาและเมียเทวดา เป็นคู่ที่สมบูรณ์แบบคือเป็นคนที่มีเมตตาต่อผู้อื่น โอบอ้อมอารีย์ สามีเป็นคนอย่างไรภรรยาก็เป็นอย่างนั้นเรียกว่าบัณฑิตคู่กับบัณฑิตสมดังพุทธพจน์
“ ภรรยาและสามีทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความสำ
รวมเป็นอยู่โดยธรรม เจรจาคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรื่อง
มาก มีความผาสุก ทั้งสองฝ่ายมีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อ
กัน ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกันย่อมเป็น
ผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจในอยู่ในเทวโลก๘
การสมาคมกับคนดี เป็นความเจริญ๙ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในมงคลสูตร ในเรื่องการ การสงเคราะห์ภรรยาเป็นมงคลสูงสุด พุทธศาสนาเน้นกล่าวสอนถึงการที่จะเลือกคู่ชีวิตได้ ๗ ประการ ๙คือ
๑) วธกาภริยา คือภรรยาที่เป็นดังเพชฌฆาตคือคิดทำลายล้างสามีอยู่ตลอดเวลา
๒) โจรีภริยา คือภรรยาดังโจร คือคอยลักและยักยอกทรัพย์ของสามีเอาไปเที่ยวบ้าง เล่นการพนันบ้าง ตลอดถึงการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยบ้างย่อมอยู่ในกลุ่มของภรรยาอย่างโจร
๓ ) อัยยาภริยา คือภรรยาอย่างนาย คือข่มขี่สามีให้อยู่ในอำนาจเหมือนนายกับบ่าว
๔) มาตาภริยา ภรรยาดังมารดา คือ รักสามีเหมือนมารดารักบุตร ไม่ทำความเดือดร้อนรำคาญให้กับสามี
๕ ) ภคินีภริยา ภรรยาดังน้องสาว คือรักเคารพนับถือสามีเหมือนพี่ชาย ไม่กล่าวคำล่วงเกินสามี
๖ ) สขีภริยา ภรรยาดังสหาย คือเป็นเพื่อนเจ็บเพื่อนตายร่วมสุขร่วมทุกข์กับสามี ไม่คิดหน่ายหนีแม้ในยามตากยาก
๗ ) ทาสีภริยา ภรรยาดังทาสี คือมีความรักเคารพยำเกรงสามี ไม่แสดงกิริยาวาจาล่วงเกินสามีภรรยาประเภท ๑ ,๒ , ๓, ท่านกล่าวว่าไม่สมควรสงเคราะห์เพราะไม่ใช่ภรรยาที่ดี ควรสงเคราะห์ภรรยาประเภท ๔, ๕ ,๖, ๗, ด้วยวิธีสงเคราะห์ภรรยาเป็นการยึดเหนี่ยวน้ำใจกันให้มีความรักกันนานๆ สามีควรยึดเหนี่ยวใจของภรรยา ๕ อย่างคือ
๑) ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา
๒ ) ด้วยไม่ดูหมิ่น
๓ ) ไม่นอกใจภรรยา
๔ ) มอบความเป็นใหญ่ในบ้านเรือนให้
๕ ) ให้เครื่องแต่งตัว
การสงเคราะห์ภรรยา เป็นเหตุให้ครอบครัวได้รับความสุขและมีความเจริญ ก้าวหน้าส่วนภรรยาก็ควรกระทำตอบสามีดังพุทธภาษิตที่มาใน อนุรุทธสูตร ความว่า
“สภาพสตรีผู้มีปรีชา ย่อมไม่ดูหมิ่นสามี ผู้หมั่นเพียร ขวายขวายอยู่เป็นนิตย์
เลี้ยงตนอยู่ทุกเมื่อ ให้ความปรารถนาทั้งปวง ไม่ยังสามีให้ขุ่นเคือง ด้วยถ้อย
คำ แสดงความหึงหวงและย่อมบูชาผู้ที่เคารพสามีทั้งปวงของสามี เป็นผู้ขยัน ไม่
เกียจคร้านสงเคราะห์คนข้างเคียงของสามี ประพฤติเป็นที่พอใจของสามี รักษา
ทรัพย์ที่สามีหามาได้ นารีใด ย่อมประพฤติตามความชอบใจของสามีอย่างนี้ นารี
นั้นย่อมเข้าถึงความเป็นเทวดาเหล่ามนาปกายิกา๑๐
สตรีในฐานะเป็นมารดานั้น พระพุทธศาสนายกย่องไว้เป็นเอนกปริยาย ถึงคุณค่าของสตรีเหล่านี้ ว่าได้ทำหน้าที่อันยิ่งใหญ่ว่าเป็นอริยบุคคลคือ เทวดา ,พรหม, อาหุเนยย, ปฐมอาจารย์ของบุตร คำเหล่านี้ล้วนแสดงให้ทราบว่าสตรีมีความสำคัญมากต่อโลก เป็นผู้บอกทางสวรรค์ให้แก่บุตรธิดาของตน และเป็นผู้ห้ามไม่ให้บุตร ธิดาของตนทำความชั่ว นี้เพ่งมองไปสู่ความใจอันดีของสตรีที่มีให้แก่บุตรของตนเอง พระพุทธเจ้าทรงสรรญบุคคลผู้เลี้ยงดูมารดาบิดาว่าเป็นทางเจริญ เป็นมงคลสูงสุดสมดังพุทธพจน์ที่มาในพรหมสูตร ความว่า
“มารดาและบิดา เรากล่าวว่าเป็นพรหม เป็นบุพพาจารย์ เป็นอาหุเนยยบุคคลของบุตร เพราะเป็นผู้อนุเคราะห์บุตร เพราะเหตุนั้นแหละ บัณฑิตพึงนอบน้อมและพึงสักการะมารดาและบิดาทั้งสองนั้นด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การขัดสี การให้อาบน้ำและการล้างเท้าบัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญบุคคลนั้นในโลกนี้๑๑
มารดาบิดาเป็นผู้มีพระคุณต่อบุตรธิดาอย่างยิ่ง เพราะท่านเป็นพระพรหมของบุตรธิดา คือมีเมตตากรุณา มุทิตา อุเบกขา ต่อบุตรธิดา เป็นบุรพเทพของบุตรธิดา คือคอยพิทักษ์รักษาบุตรธิดาก่อนคนอื่นเป็นบุรพาจารย์ ของบุตรธิดา คือบรมสั่งสอนบุตรธิดาก่อนครูอาจารย์อื่นๆ ฉะนั้น บุตรธิดาจึงต้องบำรุงท่าน สมดังพุทธภาษิตที่มาใน ปุตตสูตร ความว่า
“มารดาบิดาผู้ฉลาด เล็งเห็นฐานะ ๕ ประการ จึงปรารถนาบุตร ด้วยหวังว่าบุตรที่เราเลี้ยงมาแล้ว จักเลี้ยงเราตอบ จักทำกิจแทนเรา วงศ์สกุลจำดำรงอยู่ได้นาน บุตรจักปกครองทรัพย์มรดก และเมื่อเราตายไปแล้ว บุตรจักบำเพ็ญทักขีณาทานให้ มารดาบิดาผู้ฉลาดเล็งเห็นฐานะเหล่านี้จึงปรารถนาบุตร ฉะนั้น บุตรผู้เป็นสัปปบุรุษ ผู้สงบ มีกตัญญูกตเวที เมื่อระลึกถึงบุพคุณของท่าน จึงเลี้ยงมารดาบิดา ทำกิจแทนท่าน เชื่อฟังโอวาท เลี้ยงสนองพระคุณท่าน สมดังที่ท่านเป็นบุพการี ดำรงวงศ์สกุล บุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมเป็นที่สรรเสริญทั่วไป๑๒
การบำรุงมารดาบิดาด้วยสถานะ ๕ อย่างนี้ย่อมได้รับยกย่องสรรเสริญจากคนทุกชั้น แม้ได้รับภัยอันตรายก็ปลอดภัย เช่น ถูกอาวุธที่อาบยาพิษก็ไม่ตาย ตกอยู่ในหมู่คนที่ดุร้ายก็พ้นมาได้แม้ถูกคุมขังถูกจองจำก็พ้นได้ เพราะเหตุที่นี้แหละ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า การบำรุงมารดาบิดา เป็นมงคลสูงสุด และมารดาบิดาก็สงเคราะห์บุตรธิดาเป็นความดี ลักษณะที่พุทธปรัชญาได้กล่าวถึงการที่บิดามารดาควรกระทำต่อบุตรธิดาของตนเองเอาไว้๕วิธีด้วยกันคือ
๑ ) ห้ามบุตรไม่ให้กระทำความชั่ว
๒ ) ให้บุตรกระทำแต่ความดี
๓ ) ให้บุตรได้ศึกษาวิชาความรู้
๔ ) หาสามีหรือภรรยาที่สมควรให้
๕ ) มอบทรัพย์สมบัติให้ในเวลาที่สมควร
ในพุทธศาสนาได้กล่าวถึงบุตรไว้ ๓ ลักษณะคือ (๑) อภิชาตบุตร ได้แก่บุตรที่ดีกว่าบิดามารดา เช่นบิดามารดาเป็นคนไม่มีศีล แต่บุตรเป็นคนมีศีล บิดามารดาชอบดื่มสุราเล่นการพนันแต่บุตรไม่มีพฤติกรรมอย่างนั้นเป็นต้น (๒) อนุชาตบุตร ได้แก่บุตรที่ทำตามบิดามารดา เช่น บิดามารดาเป็นคนมีศีลบุตรก็เป็นคนมีศีล เข้าลักษณะว่าบิดามารดาเป็นคนอย่างไรบุตรก็เป็นอย่างนั้นด้วย และ (๓) อวชาตบุตร ได้แก่บุตรที่ต่ำกว่าบิดามารดา เช่น บิดามารดาเป็นคนมีศีล แต่บุตรไม่มีศีล มารดาบิดาเป็นคนกระทำแต่กรรมดีส่วนบุตรธิดาเป็นคนชอบกระทำแต่กรรมชั่วเป็นต้น พุทธศาสนาเน้นว่าการที่สังคมครอบครัวมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันอย่างนี้ย่อมนำมาแต่ความเจริญก้าวหน้า วงศ์ตระกูลก็จะมั่นคงเป็นปึกแผ่น มีแต่ความสุขตลอดไป
สตรีทั้งหลายเมื่อมองถึงสรีระแล้วย่อมไม่เป็นคนมีอำนาจอะไรมาก แต่พระพุทธศาสนากล่าวสตรีนั้นมีกำกำลังมากกว่าบุรุษ พระอาทิตย์ที่ร้อนก็ยังไม่ร้อนเท่าอำนาจแห่งเสน่หาของสตรีส่วนพราหมณ์ผู้ทรงคุณวิเศษที่มีเวทมนต์กำลังกล้า และมหาสมุทรที่มีคลื่นอันรุนแรงนั้นยังมีกำลังน้อยกว่าสตรีดังพุทธพจน์ที่มาใน โลมสกัสสปชาดกความว่า “ พระจันทร์มีกำลัง พระอาทิตย์มีกำลัง สมณะและพราหมณ์มีกำลัง ฝั่งมหาสมุทรมีกำลัง หญิงมีกำลังยิ่งกว่ากำลังทั้งหลาย” ๑๓
๑ 32/98-99 สังวาสสูตร
๕ (ว.ว. /78 เล่ม1
๖ 45/71/อินทสมานโคต
๗ 42/386/หลิททราคชาดก
๘ 42/437/มหานารทกัสสปชาดก
๘ 32/103 สมชีวิสูตร /32/98-99 สังวาสสูตร
๙ ขุ. เถร. 26/405, ภทฺโท สปฺปุริเสหิ สงฺคโม
๙ 35/121-123 ภริยาสูตร
๑๐ 35/333 อนุรุทธสูตร
๑๑ 38/ 552-553 พรหมสูตร
๑๒ 33/60-61 ปุตตสูตร
๑๓ 42/381 โลมสกัสสปชาดก