๑๖ การประพฤติธรรม
คำว่า ธรรม แปลว่า สภาพที่ทรงไว้คือ ทรงสัตว์ไว้มิให้ตกต่ำ หรือรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว โดยใจความก็คือความดีความชอบ ความถูกต้อง และความสมควร ซึ่งหมายถึงคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนามีจำนวนมาก แต่จะนำมากล่าวโดยสังเขปคือ กุศลกรรมบถ ๑๐ ซึ่งแยกเป็น
ไม่ฆ่าสัตว์
กายสุจริต คือความประพฤติชอบทางกาย ๓ ไม่รักทรัพย์
ไม่ประพฤติผิดในกาม
ไม่พูดเท็จ
วจีสุจริต ความประพฤติชอบทางวาจา ๔ ไม่พูดคำส่อเสียด
ไม่พูดคำหยาบ
ไม่พูดคำเพ้อเจ้อ
ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น
มโนสุจริต ความประพฤติชอบทางใจ ๓ ไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น
เห็นชอบตามคลองธรรม คือเห็นว่าทำดีได้ดี
ธรรมคือกุศลกรรมบถนี้ เป็นเหตุให้ปลอดภัย เป็นเหตุให้หมดทุกข์ และเป็นทางแห่งความเจริญ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสว่า การประพฤติธรรมนำมาซึ่งความสุขดังนี้
๑๗ การสงเคราะห์ญาติ
คำว่า ญาติ แปลว่า พี่น้องที่ยังรับรู้กันได้ หมายถึงคนที่สืบเชื้อสายวงศ์วานกันทั้งฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา แม้คนที่มิได้สืบเชื้อสายวงศ์วานเดียวกัน แต่มีความรักใคร่คุ้นเคยสนิทสนมกันรู้สุขทุกข์ของกันและกัน ก็นับว่าเป็นญาติกันได้ ดังพุทธภาษิตว่า วิสาสา ปรมา ญาติ ความคุ้นเคยกันเป็นญาติอย่างดียิ่ง
คำว่า สงเคราะห์ แปลว่า ช่วยเหลืออุดหนุนการสงเคราะห์ญาติท่านจำแนกออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ (๑) อามิสสงเคราะห์ ได้แก่ให้ข้าว เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคและให้ทุนทรัพย์เพื่อสร้างฐานะครอบครัว หรือช่วยเหลือทำธุระการงานของญาติให้สำเร็จตามปรารถนา(๒) ธรรมอามิส คือการสงเคราะห์โดยธรรม ได้แก่การชักชวนญาติมิตรให้เว้นการทำความชั่ว ให้ทำแต่ความดี เช่นเว้นการดื่มสุราและเว้นการเล่นการพนัน ตลอดถึงการชักชักจูงคนให้มีความเพียร ขยันทำหน้าที่การงานโดยสุจริตไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม และช่วยให้คนมีสติปัญญามากขึ้น เพื่อการเอาตัวรอดในสังคมได้ การสงเคราะห์ญาติเช่นนี้เป็นการแสดงอัธยาศัยอันดีงามเป็นเหตุให้หมู่ญาติมีความรักใคร่เคารพนับถือ ทำให้เกิดความอบอุ่น และปราศจากศัตรู
๑๘ การงานที่ไม่มีโทษ
หมายถึงไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม มี ๔ อย่างคือ
๑) การรักษาอุโบสถศีล
๒) การขวานขวายช่วยเหลือผู้อื่นในการกุศล คือเมื่อเห็นผู้อื่นทำความดี ก็ยินดีช่วยเหลือด้วยกำลังกายและกำลังทรัพย์พร้อมทั้งกำลังปัญญา ช่วยตามกำลังความสามารถและด้วยความเต็มใจไม่นิ่งดูดาย หรือริษยาในความดีของผู้อื่น
๓) การสาธารณะกุศลต่างๆ เช่นปลูกต้นไม้ในวัดวาอาราม ขุดสระน้ำ ทำที่พักผ่อน
๔) การทำสะพาน สร้างถนน สร้างศาลาพักร้อนตามถนนหนทาง เพื่อประโยชน์ประชาชนได้พักอาศัยและได้รับความสะดวกสบายในการเดินทาง การทำความดี ๔ ลักษณะนี้ เป็นกรรมที่ไม่มีโทษมีแต่ประโยชน์ คือเป็นเหตุให้พ้นจากภัยพิบัติต่างๆ ได้รับแต่ความสุขใจ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
๑๙ การงดเว้นจากบาป
บาปในที่ทั่วไปได้แก่ความชั่ว ความเลวร้าย ความชั่วร้าย เรื่องที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนเหตุแห่งความทุกข์ แต่ให้หลักการนี้หมายเอากรรมกิเลส คือกรรมที่ทำให้เศร้าหมองมี ๔ อย่างคือ ( ๑ ) ปาณาติบาต การฆ่าสัตว์ (๒) อทินนาทาน การรักทรัพย์ (๓) กาเมสุมิจฉาจาร การประพฤติในกาม (๔) มุสาวาท การพูดเท็จ ในพุทธศาสนาได้กล่าวถึงการงดเว้นไว้ ๓ อย่างคือ
๑) สัมปัตติวิรัต คือการงดเว้นเมื่อประจวบกับเหตุนั้นๆ คือไม่คิดที่จะงดเว้นมาก่อนแต่เมื่อเหตุนั้นๆมาถึงตัวเข้า จะลวงละเมิดก็ได้แต่ไม่ล่วง เช่นเห็นสัตว์ซึ่งถึงจะฆ่าก็ฆ่าได้แต่ไม่ฆ่า เห็นทรัพย์ซึ่งถ้าจะลักก็ลักได้ แต่ไม่ลัก เห็นหญิงถ้าจะล่วงเกินก็ล่วงเกินได้ แต่ไม่ล่วงเกิน ได้โอกาสที่จะพูดเท็จ แต่ไม่พูดเพราะนึกถึงชาติ ตระกูลและฐานะของตน เกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมา เว้นความชั่วนั้นๆได้
๒) สมาทานวิรัติ คือการงดเว้นเพราะสมาทานคือ ได้ปฏิญาณไว้ว่าจะไม่ทำอย่างนั้นๆเช่น รับศีลแล้วก็รักษาได้อย่างเคร่งครัด
๓) สมุทเฉทวิรัติ คือการงดเว้นบาปได้เด็ดขาด คือไม่ทำความชั่วตลอดชีวิต เป็นการงดเว้นของพระอริยบุคคล
การงดเว้นจากบาป คือ การงดเว้นเหตุแห่งความทุกข์ ไม่ทำเรื่องที่จะให้ถึงความเดือดร้อนจึงไม่มีความทุกข์ ไม่มีความเดือดร้อนมีแต่ความสุข ความร่มเย็น
๒๐ สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
คำว่า น้ำเมา คือน้ำที่ทำผู้ดื่มให้เมาเป็นของเสพติดให้โทษ ทำผู้ดื่มให้ขาดสติสัมปชัญญะขาดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี ทำอะไรตามอารมณ์ไม่คำนึงถึงเหตุผล ทำให้เป็นคนเห็นแก่ตัว จนไม่นึกถึงศีลธรรมกลายเป็นคนชั่วไป น้ำเมามี ๒ อย่าง คือ น้ำเมาที่กลั่นแล้ว เรียกว่าสุราอย่างหนึ่ง น้ำเมาที่หมักหรือแช่ คือยังไม่ได้กลั่น เรียกว่าเมรัยอย่างหนึ่ง แม้ของเสพติดให้โทษอย่างอื่น เช่น กัญชา ฝิ่น เฮโรอิน เป็นต้น ก็จัดเข้าในข้อนี้ได้ เพราะทำผู้เสพติดให้เสียคนยิ่งกว่าสุราและเมรัยเสียอีก เป็นทางแห่งความเสื่อมเรียกว่า อบายมุข
เป็นทางแห่งความเสื่อมของชีวิต ใครก็ตามที่ชอบดื่มเหล้า ชอบเที่ยวกลางคืน เที่ยวดูมหรสพ เล่นการพนันประจำ คบกับคนชั่ว และขี้เกียจทำการงาน ชีวิตของเขาก็จะมีแต่ความเสื่อมเพราะประสบความหายนะต่าง ๆ โทษของอบายมุขทั้ง ๖(ดื่มน้ำเมา) นั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เพื่อเตือนสติให้ชาวพุทธให้รู้ถึงความหายนะจะบังเกิดขึ้นได้กับคนที่มักหลงงมงายอยู่ในเรื่องเหล่านี้
การเสพสุราที่เรียกว่าสุราปานะนั้น ได้แก่ เจตนาที่เป็นเหตุแห่งการดื่มสุรานั้น สุราปานะนี้พระพุทธองค์ทรงบัญญัติให้เป็นข้อศีลข้อหนึ่งในจำนวนศีล ๕ และได้ทรงแสดงโทษอย่างหนักของการดื่มสุราไว้ในอังคุตตรนิกายบาลีว่า “สุราเมรยปานํ ภิกฺขเว อาเสวิตํ พหุลีกตํ นิรยสํวตฺตนิกํ ติรจฺแนโยนิสํวตฺตนิกํ เปตฺติวิสยสํวตฺตนิกํ โย สพฺพลหุโก สุราเมรยปานสฺส วิปาโก โส มนุสฺสภูตสฺส อุมฺมตฺตภูตสฺส อุมฺมตฺตสํวตฺตนิโก โหตีติ” แปลว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การดื่มสุราและน้ำเมาต่าง ๆ นี้ เมื่อดื่มเสมอ ๆ ดื่มมากเข้า ดื่มหลาย ๆ ครั้งเข้า ย่อมสามารถนำเข้าไปสู่นิรยภูมิ ดิรัจฉานภูมิ เปรตรวิสัยภูมิ โทษของการดื่มสุราเมรัย อย่างเบาที่สุดนั้น เมื่อมีโอกาสได้เกิดเป็นมนุษย์ด้วยกุศลกรรมอื่น ๆ ผู้นั้นก็ย่อมเป็นบ้าง.......”(องฺ.อฎฐก)
“ยํ เว ปิวิตฺวา ทุจฺจริตํ จรนฺติ กาเยน วาจาย ว เจตสา จ
นิรยํ วชนฺติ ทุจฺจริตํ จริตฺวา ตสฺสา ปุณฺณํ กุมฺภมิมํ กิณาถ”(ขุ.ชา)
แปลว่า “บุคคลที่ดื่มสุราแล้ว ย่อมประพฤติด้วยกาย วาจาและใจครั้นประพฤติแล้วก็ต้องไปตกนรก ขอท่านจงช่วยซื้อหม้อใบนี้ซึ่งเต็มไปด้วยสุรานั้นไว้”
ในทางพระพุทธศาสนาสอนให้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา เพราะการดื่มน้ำเมา เพราะการดื่มน้ำเมานั้นถือว่าเป็นฐานของการประมาท ถ้าจะว่าตามกฎเกณฑ์ของศีลแล้ว ขึ้นชื่อว่าน้ำเมา ดื่มเข้าไปก็ต้องเมา เมื่อเมาก็ต้องเป็นฐานประมาทเช่นนั้น ต่างกนแต่ว่าประมาทน้อยหรือประมาทมากเท่านั้น(สมเด็จพระญาณสังวรฯ) การดื่มน้ำเมาจัดเป็นอบายมุขเพราะอาจมีโทษในแง่ของการผิดกฎหมาย เมื่อหลงลืมสติไปกระทำขึ้น ทางพระพุทธศาสนาจึงมีคำสอนในเรื่องการรักษาศีล ๕ ซึ่งเป็นศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นประจำ อันหมายถึงคุณธรรมของมนุษย์หรือธรรมที่ทำให้เป็นมนุษย์ ๕ ประการ(เว้นจากการปลงชีวิต)
คนที่งดการดื่มสุรา ก็หมายถึงผู้ที่ไม่ก่อเวร เนื่องจากการเป็นผู้ไม่ประมาทและมีสติอยู่ทุกเมื่อจึงได้ชื่อว่าผู้มีเจตนาขับไล่เวร ชื่อว่าเป็นมงคลเพราะตรงกันข้ามกับเจตนาของผู้ก่อเวรนั้น ในเรื่องนี้ พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า
“ความงดและความเว้นจากบาปนั้นแม้ทั้งนั้น พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุ
แห่งการละมีละภัยและเวรอันเป็นไปในทิฎฐธรรมและเป็น
ไปในสัมปรายภพเป็นต้นและบรรลุคุณวิเศษมีประการต่าง ๆ
ก็เพราะเหตุที่บุคคลผู้มักดื่มน้ำเมา ย่อมไปอรรถไม่รู้ธรรม
ย่อมทำอันตรายแก่มารดา บิดา ย่อมทำอันตรายแม้แก่พระ
พุทธะ พระปัจเจกพุทธ และสาวกของพระตถาคต ย่อม
ถูกครหาในทิฎฐธรรมถึงทุคติในสัมปรายภพ ถึงความ
เป็นบ้าในภพต่อ ๆ ไป ส่วนผู้สำรวมจาการดื่มน้ำเมาย่อม
ถึงความเข้าไปสงบ โทษเหล่านั้นและคุณสมบัติอันตรงกัน
ข้ามจากโทษนั้น เพราะฉะนั้น ความสำรวมจากการดื่มน้ำ
เมานี้ บัณฑิตพึ่งทราบว่าเป็นมงคล”(มงฺคลตทีปนี)
พุทธปรัชญากล่าวว่า เป็นทางเสื่อมและชี้ถึงโทษภัยไว้ ๖ อย่าง คือ (๑) ทำให้เสียทรัพย์ (๒) ทำให้ทะเลาะวิวาท (๓) ทำให้เกิดโรคภัย (๔) ถูกติเตียน (๕) ไม่รู้จักอาย (๖) ทอนปัญญา ดังนั้นควรระมัดระวัง และงดเว้น ไม่ดื่ม การงดเว้นของมึนเมาและของเสพติดให้โทษต่างๆได้เป็นเหตุให้พ้นจากโทษ ๖ อย่าง และทำให้เป็นคนมีสติสัมปชัญญะ มีหิริโอตตัปปะ รู้ผิดชอบชั่วดี รู้การอันควรและไม่ควร