๒. จักรพรรดิ์ธรรม
คือ ปฏิบัติหน้าที่ของนักปกครองผู้ยิ่งใหญ่ ที่เรียกว่า จักรวรรดิวัตร คือธรรมเนียมของพระเจ้าจักรพรรดิ์ 5 ประการ คือ
๑) ธรรมาธิปไตย คือถือธรรมเป็นใหญ่ มีความเคารพธรรม เชิดชูธรรม นิยมธรรมและตั้งตนอยู่ในธรรม ประพฤติธรรมด้วยตนเอง
๒) ธรรมิการักขา ให้ความคุ้มครองโดยธรรม คือจัดอำนวยการรักษาคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรมแก่ทุกคนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน คือ คนภายใน ข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายปกครอง ข้าราชการพลเรือน นักวิชาการและคนต่างอาชีพ พ่อค้า เกษตรกร ชาวนิคมชนบท พระสงฆ์และบรรพชิตผู้ทรงศีลทรงธรรม ตลอดจนสัตว์สี่เท้าเป็นต้นฯลฯ
๓) อธรรมการ ห้ามกั้นการอันอาธรรม์ คือจัดการป้องกัน แก้ไข มิให้มีการกระทำที่ไม่เป็นธรรม การเบียดเบียนข่มเหงและความผิดความชั่วร้ายเดือดร้อนเกิดขึ้นในบ้านเมือง ชักนำประชาชนให้ตั้งมั่นในสุจริตและนิยมธรรม
๔) ธนานุประทาน ปันทรัพย์เฉลี่ยให้แกชนผู้ไร้ทรัพย์ มิให้เดือดร้อนขัดสนในแผ่นดินเช่น จัดให้ราษฎร์ทั้งปวงมีทางทำมาหาเลี้ยงชีพได้โดยสุจริต
๕) ปริปุจฉา สอบถามปรึกษากับพระสงฆ์และนักปราชญ์ มีที่ปรึกษาที่ทรงวิชาการและทรงคุณธรรม ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ผู้ไม่ประมาทมัวเมา ที่จะช่วยให้เจริญปัญญาและกุศลธรรม หมั่นพบไถ่ถามหาความรู้หาความจริงและถกข้อปัญหาต่างๆอยู่โดยสม่ำเสมอตามกาลอันควร เพื่อชักซ้อมตรวจสอบตนให้เจริญก้าวหน้า และดำเนินกิจการในทางที่ถูกที่ชอบธรรมดีงามและเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนและตัวเอง192 จักรวรรดิวัตร ๑๐ ประการ คือ
๑) อันโตชน สังเคราะห์คนภายใน
๒) พลกาย บำรุงกองทัพให้เจริญรุ่งเรือง
๓) ขัตติย สงเคราะห์ชนชั้นปกครองและนักรบ
๔) อนุยันต สงเคราะห์ข้าราชการและเอื้อเฟื้อดูแลข้าราชบริพาร
๕) พราหมณคหปติก สงเคราะห์คฤหบดี
๖) เนคมชานปท สงเคราะห์ชาวนิคม
๗) สมณพราหมณ์ อุปถัมภ์สมณชีพราหมณ์คือนักบวช
๘) มิคปักขี สงเคราะห์สัตว์
๙) มา อธมฺมกาโร ปวตฺติตฺถ ไม่ทำทุจริตผิดธรรมนองคลองธรรม
๑๐) ธนํ อนุปฺปทชฺเชยฺยาสิ จ่ายทรัพย์สงเคราะห์คนอยากจน193
๓. ราชสังคหวัตถุธรรม ๔ ประการ คือ
คือ การทำนุบำรุงประชาราษฎร์ ด้วยหลักธรรมที่เรียกว่าราชสังคหวัตถุ คือหลักการสงเคราะห์ประชาชนของพระราชา 4 ประการคือ
๑) สัสสเมธะ คือการฉลาดบำรุงธัญญาหาร คือ มีพระปรีชาสามารถในนโยบายที่บำรุงพืชพันธ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์
๒) ปุริสเมธะ คือฉลาดบำรุงข้าราชการ คือมีพระปรีชาสามารถในนโยบายที่จะบำรุงข้าราชการด้วยการพระราชทานรางวัลแก่ผู้มีคุณต่อบ้านเมืองและส่งเสริมคนดีมีความสามารถเป็นต้น
๓) สัมมาปาสะ ผูกประสานปวงประชา คือผดุงผสานประชาชนไว้ด้วยนโยบายส่งเสริมสัมมาอาชีพให้แก่ทุกคนให้มีชีวิตที่สุขสบาย
๔) วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ คือรู้จักพูด รู้จักชี้แจง แนะนำ รู้จักทักทายถามไถ่ทุกข์สุขของประชาราษฎร์ทุกระดับชั้น แม้ปราศรัยก็ไพเราะน่าฟัง ทั้งประกอบด้วยเหตุผล เป็นหลักฐานมีประโยชน์ เป็นทางแห่งการสร้างสรรค์แก้ไขปัญหาเสริมความสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือของพสกนิกร194
๔. สัปปุริสธรรม ๗ ประการ คือ
๑) ธัมมัญญุตา เป็นผู้รู้จักเหตุแห่งสุขหรือเหตุแห่งทุกข์
๒) อัตถัญญุตา เป็นผู้รู้จักผลแห่งความสุข รู้ผลของความทุกข์ว่ามีสาเหตุมาจากสิ่งนี้
๓) อัตตัญญุตา เป็นผู้รู้จักตน คือรู้บริวาร ยศ สมบัติ ความรู้ คุณธรรมของตน
๔) มัญตัญญุตา เป็นผู้รู้ประมาณตนเองในการหาและใช้สองทรัพย์
๕) กาลัญญุตา เป็นผู้รู้กาลเวลาที่จะลงมือทำงานนั้นๆ
๖) ปริสัญญุตา เป็นผู้รู้จักชุมชนที่ตนอยู่อาศัย
๗) ปุคคลปโรปรัญญุตา เป็นผู้รู้จักเลือกคบคน(อัง. สัตต. 23/113
จริยธรรมในด้านความสามัคคี
คือหัวใจของการที่จะเป็นผู้นำของคนได้ พระพุทธศาสนาได้แสดงหลักการไว้ใน สาราณียธรรม 6 ดังนี้คือ
๑) เมตตากายกรรม ทำต่อกันด้วยเมตตา คือมีไมตรีต่อกันกับเพื่อนร่วมงาน ร่วมกิจการ ร่วมชุมชนด้วยการช่วยเหลือกิจธุระต่างๆด้วยความเต็มใจ นับถือกันทั้งต่อหน้าและลับหลังหรือนับถือกันตามระดับวัยวุฒิ คุณวุฒิ
๒) เมตตาวจีกรรม พูดต่อกันด้วยเมตตาธรรม คือช่วยตักเตือนกันด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพแสดงความเคารพนับถือกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๓) เมตตามโนกรรม คิดต่อกันด้วยเมตตาธรรม คือการปรารถนาดีและคิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดีทั้งต่อหน้าและลับหลัง
๔) สาธารณโภคี ได้มาแบ่งปันกันกินแบ่งกันใช้ คือแบ่งปันลาภผลที่ได้มาโดยชอบธรรมแม้เป็นของเล็กน้อยก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนในการใช้สอยบริโภคทั่วกัน
๕) สีลสามัญญตา ประพฤติให้ดีเหมือนเขา คือมีความประพฤติสุจริตดีงาม รักษาระเบียบวินัยของหมู่คณะ ไม่ทำตนเป็นที่น่ารังเกียจหรือเสื่อมเสียแก่ส่วนรวม
๖) ทิฏฐิสามัญญตา ปรับความเห็นให้ตรงกัน คือเคารพในความคิดเห็นของคนอื่นยอมรับฟังความคิดของผู้อื่น ตกลงกันได้และยึดถืออุดมคติร่วมกันเป็นจุดหมายสูงสุด201
จริยธรรมในด้านความเจริญของบ้านเมือง ๗ ประการคือ หลักความมั่นคง หลักสำหรับความเจริญของบุคคลและสังคม อปริหานิยธรรม212 มีดังนี้คือ
๑) หมั่นประชุมกันอยู่เสมอ
๒) พร้อมเพียงกันประชุมและพร้อมกันเลิกประชุม
๓) ไม่บัญญัติหรือยกเลิกบทบัญญัติที่ถือปฏิบัติมั่นอยู่ในกฎธรรมนูญ
๔) ให้ความเคารพท่านผู้ใหญ่และรับฟังความคิดของท่าน
๕) ให้เกียรติและคุ้มครองกุลสตรีมิให้มีการข่มเหงรังแก
๖) เคารพบูชาสักการะปูชนียสถาน อนุสาวรีย์ประจำชาติ
๗) ให้ความอุปถัมภ์แก่สมณะและท่านผู้ทรงศีลธรรม
จริยธรรมในการช่วยเหลือกันหรือ สังคหวัตถุธรรม
คือ หลักธรรมที่บำเพ็ญการสังเคราะห์หรือธรรมเครื่องยึดเหนี่ยวใจคน และประสานประโยชน์ของหมู่ชนให้สามัคคีกัน 4 อย่าง ดังต่อไปนี้
๑) ทาน การให้ปัน คือการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละแบ่งปันช่วยเหลือสงเคราะห์กันด้วยปัจจัยสี่ จะเป็นทั้งทรัพย์หรือความรู้ตลอดถึงศิลปวิทยา
๒) ปิยวาจา พูดให้คนรักกัน คือการกล่าวคำสุภาพ ไพเราะน่าฟัง ชี้แจ้งแนะนำประโยชน์มีเหตุมีผลประกอบหรือคำแสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ พูดสมานสามัคคีเกิดไมตรีทำให้รักใคร่นับถือและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
๓) อัตถจริยา ทำประโยชน์แก่เขา คือช่วยเหลือด้วยแรงกายหรือการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาและช่วยปรับปรุงส่งเสริมในด้านจริยธรรม
๔) สมานัตตตา เอาตัวเข้าสมาน คือทำตัวให้เข้ากับเขาได้วางตนเสมอต้นเสมอปลายและเสมอในสุขทุกข์คือ ร่วมทุกข์ ร่วมสุข ร่วมแก้ไขปัญหาเพื่อประโยชน์สุขร่วมกันกล่าวคือ ช่วยด้วยทุนทรัพย์ ช่วยด้วยถ้อยคำ ช่วยด้วยกำลังกาย200
ที่กล่าวมาข้างต้นนี้เป็นการบริหารในแนวพุทธศาสนา ในแต่ละประเทศย่อมมีการปกครองที่ต่างกันไปบ้าง หรือบางประเทศก็มีประชาชนเป็นฝ่ายบริหาร( ระบอบประชาธิปไตย) ที่มีประธานาธิบดีเป็นฝ่ายบริหารบ้าง หรือมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารบ้าง โดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์พระประมุขบ้างในการปกครองบ้านเมือง นั้นเป็นการปกครองในระบอบสมบูรณาสิทธิราชการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนั้นหลักธรรมที่กล่าวมานั้นนอกจากทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรม และหลักอคติแล้วยังมีหลักพรหมวิหารธรรมเป็นต้น
จริยธรรมของผู้บริหารทำแนวคำสอนพุทธภาษิต
๑. จริยธรรมของผู้บริหาร
ธรรมประจำใจของผู้ใหญ่หรือผู้มีจิตใจกว้างขวางดุจพระพรหม 4 อย่าง
๑) เมตตา ความรัก คือความปรารถนาดีมีไมตรีจิต ต้องการช่วยเหลือให้ทุกคนให้มีความสุขและประโยชน์ของตน
๒) กรุณา ความสงสาร คืออยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ ใฝ่ใจที่จะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์และความเดือดร้อนของคนและสัตว์ทั้งปวง
๓) มุทิตา ความพลอยยินดี เมื่อเห็นคนอื่นอยู่มีสุขก็มีใจแช่มชื่นเบิกบานกับเขา เมื่อเห็นเขาประสบความสำเร็จก็พลอยยินดีกับเขาด้วย
๔) อุเบกขา ความมีใจเป็นกลาง คือมองความเปลี่ยนแปลงชีวิตของคนอื่นทั้งที่ดีและเลวก็มีใจมั่นคงดุจตราชั่ง คือการวางตนให้เฉย198
จริยธรรมผู้บริหารควรเว้นอคติ 4
๑) ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ
๒) โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง
๓) โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลงหรือเขลา
๔) ภยาคติ ลำเอียงเพราะขลาดกลัว196