๓.๖ อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีผลต่อแรงบันดาลใจในการแต่งเพลง
ความนิยมในการแต่งเพลงลูกทุ่งของครูเพลง พระพุทธศาสนาเป็นแรงบันดาลใจ แม้ว่าเพลงลูกทุ่งจะมีเนื้อเรื่องว่าด้วยความรักและการพรัดพราก การชิงรักชิงสวาท แต่บางเพลงจะจบลงด้วยแนวคิดในเรื่อง “กฎแห่งกรรม” คนทำดีย่อมได้ดี คนชั่วย่อมได้รับโทษทัณฑ์เหตุแห่งทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้วมีที่มาจากกรรม การที่ตัวเองผ่านอุปสรรคมาได้หรือพันทุกข์ ก็เป็นเพราะกรรมดีหรือบารมีที่ทำไว้ความสมเหตุสมผลของพฤติกรรมในเพลงหรือการดำเนินเรื่องก็อธิบายได้ด้วยกรรม เพลงลูกทุ่งจึงเป็นบทเพลงที่สั่งสอนกลาย ๆ ทั้งนี้ก็เพราะเป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานภาพหรือจุดประสงค์ของกวีหรือผู้แต่งเพลงนั่นเอง โดยบางครั้งนักรองอาจจะไม่รู้ความหมายของเนื้อเพลงก็อาจเป็นได้ ดังศรเพชร ศรสุพรรณ กล่าวว่า “ในฐานะเป็นคนร้องเพลง บางครั้งอาจจะไม่รู้เรื่องเท่าคนแต่ง เพราะบทเพลงแต่ละเพลงเกิดจากความคิดของผู้ประพันธ์”(ศรเพชร)
จากการสัมภาษณ์ ธรรมรงค์ เพชรสุนทร นักจัดรายการวิทยุชื่อดังที่จัดรายการเพลงลูกทุ่งมายาวนานได้ให้ทรรศนะว่า บทเพลงลูกทุ่งเป็นบทเพลงที่สะท้อนชีวิตของชาวไทยและบทเพลงลูกทุ่งเป็นเพลงที่เป็นภาษาร้อยกรองเรียกว่าภาษากวี มีความไพเราะด้วยภาษาและเสียงร้องที่กลมกลืน อีกทั้งเพลงลูกทุ่งยังสามารถเข้าได้กับคนฟังทุกเพศทุกวัยและอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน(ธรรมรงค์) ศรชัย เมฆวิเชียร นักร้องลูกทุ่งอีกคนหนึ่งได้แสดงควงามคิดเห็นเกี่ยวกับน้องร้องลูกทุ่งกับพระพุทธศาสนาว่า นักร้องลูกทุ่งนั้นคงวนเวียนอยู่กับวัดวาอารามไม่เพียงแต่บทเพลงที่เกี่ยวเนื่องเท่านั้นหากแต่ว่าแม้แต่ตัวนักร้องเองยังยึดมั่นอยู่กับคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างเช่นตัวเขาเองในคราวมีความทุกข์นอนไม่หลับก็นั่งสมาธิและสวดบทชินบัญชรเป็นประจำ ทำให้คิดว่าตัวเองนั้นได้สร้างคุณงามความดีเหมือนกัน(ศรชัย)
คุณค่าของเพลงลูกทุ่งนั้นเป็นสิ่งที่คนไทยควรจะหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง ในประเด็นนี้ รมต. กร ทัพพรังสี ส.ส. นครราชสีมา ได้เคยกล่าวว่า “เพลงลูกทุ่งเป็นคุณค่าของความเป็นไทยที่สามารถจะนำมาเป็นสื่อแห่งการพยายามอนุรักษืวัฒนธรรมแบบไทย ๆ นี้ไว้ได้ ถ้าเราจักรู้นำคุณค่านี้มาใช้ให้ถูกวิธี ทำนองของเพลงลูกทุ่งที่เรียบง่ายและสม่ำเสมอ ทำให้เกิดความรู้สึกสนุกและเพลิดเพลินแก่ผู้ฟังในการที่จะจดจำได้ง่าย เมื่อรวมกับเนื้อเพลงที่กลั่นกรองออกมาจากความรู้สึกที่จริงใจและสะท้อนถึงความจริงในสังคมที่ไม่มีจริงของความสมัยใหม่แอบแฝงอยู่ เมื่อรวมองค์ประกอบทั้งสองเข้าด้วยกันแล้ว ทำให้เพลงลูกทุ่งมีคุณค่าด้านดนตรีสามารถใช้เป็นสื่อด้านการอนุรักษ์ความเป็นไทยไว้ได้อย่างดีเยี่ยมที่สุด
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช แสดงความคิดเห็นว่า อันที่จริงแล้วเพลงลูกทุ่งนั้นเป็นเพลงไทยที่ได้รับการปรุงแต่งให้
อยู่ในสิ่งแวดล้อมใหญ่เรารับอารยธรรมจากตะวันตกเข้ามามาก การใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงเพลงลูกทุ่งหาได้ทำให้เนื้อหาของเพลงลูกทุ่งสูญเสียเอกลักษณ์ความเป็นไทยไปแต่อย่างใดไม่ เพลงลูกทุ่งยังคงธำรงลักษณะของไทยไว้ คือ วรรณยุกต์ ทำนองเพลง เครื่องดนตรีไทย และอารมณ์ขัน(ม.ร.ว.คึกฤทธิ์)
เพลงลูกทุ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตจิตใจของชาวชนบทมานานหลายทศวรรษมีความผูกพันอยู่กับสภาพทางสังคมไทยถ่ายทอดลักษณ์วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตของคนไทยทุกสาขาอาชีพทำหน้าที่บันทึกประวัติศาสตร์ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เพลงลูกทุ่งมีเอกลักษณ์ “โดดเด่น” เฉพาะตัวทั้งด้านเนื้อหา ภาษา และอารมณ์ สะท้อนภาพออกมาให้เห็นถึงความเป็นจริงของชีวิตอย่างตรงไปตรงมา สะท้อนภาพทางธรรมชาติอันงดงามบริสุทธิ์(เดือนแรม) โดยการเรียบเรียงภาษากวีของนักแต่งที่มีประสบการณ์อย่างลึกซึ้งเพลงลูกทุ่งมักจะอาศัยครูเพลงที่มีความรู้ในเรื่องบทร้องกรอง เพราะมีการสัมผัสนอก – ในอย่างครบถ้วน และในแต่ละเพลงนั้นมักจะแฝงไปด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาเป็นแรงบันดาลใจหลายประการเช่น
๓.๖.๑ บทไหว้ครู ครูเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ กวีจึงยกย่องครู ดังนั้นก่อนจะแต่งเพลงลูกทุ่ง กวีจึงไหว้ครูก่อน ครูที่เคารพของกวีคือ “พระพุทธเจ้า” หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพ เช่น
“เธอทั้งหลายจึงตัดป่าดุจกิเลส แต่อย่าตัดต้นไม้ เพราะภัยย่อม
เกิดแต่กิเลสเป็นดุจป่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตัดกิเลสดุจป่า
และดุจหมู่ไม้ที่เกิดในป่า เพื่อจะได้เป็นผู้ไม่มีกิเลสดุจป่าอีกต่อไป”(ขุ.ธ.)
พระพุทธโฆษาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ได้อธิบายพระพุทธพจน์ส่วนนี้ไว้ว่า “คำว่าป่าในที่นี้หมายถึงต้นไม้ ซึ่งเปรียบเสมือนราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นรากเหง้าให้เกิดความชั่วร้ายนานัปการ จนกลายเป็นพัฒนาการ อันเหนียวแน่นที่ตรึงสัตว์ให้ติดอยู่ในภพ ส่วนคำว่าหมู่ไม้ หมายถึงต้นไม้เล็ก ๆ ที่ติดอยู่ในป่า ซึ่งเปรียบเสมือนกิเลสที่ให้ผลในปัจจุบัน”(ธัมมปทัฎฐกถา)
ภาษาเป็นอุปกรณ์ของวรรณกรรม และวรรณกรรมก็ช่วยให้ภาษาเจริญเติบโตอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่นเดียวกันภาษาเป็นส่วนประกอบสำคัญยิ่งของวัฒนธรรม ประเทศไทยเป็นประเทศที่รักอิสระ ประชาชนทั่วไปมักจะเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนและชอบเสียงเพลงเสียงดนตรี นักปราชญ์จีนขงจื้อได้เคยกล่าวถึงเนื้อหาของเพลงไว้ว่า “หากจะดูชีวิตความเป็นอยู่ของชนชาติในบ้านใดว่าจะมีความสุขความทุกข์เรื่องอะไร มากน้อยเพียงใด ก็ดูได้จากบทเพลงร้องของชนในชาติบ้านเมืองนั้น” ซึ่งก็เป็นคำกล่าวน่าพิจารณามาก(พิชัย ปรัชญานุสรณ์)
เพราะฉะนั้น ในทางพระพุทธศาสนา เราจะเห็นว่าในศีล ๕ ซึ่งเป็นศีลขั้นพื้นฐานจะไม่มีข้อห้าม หรือข้อกำหนดให้งดเว้นในเรื่องเหล่านี้ ท่านไม่ห้ามเรื่องดนตรี ไม่ห้ามเรื่องศิลปะ เช่น จิตรกรรมอะไรต่าง ๆ บางทีก็พุทธเจ้าบางทีทรงแต่งเพลงให้คนที่เป็นคู่รักกันด้วยซ้ำ แต่แต่งเพลงชนิดที่มีเนื้อหาทางธรรมเรียกได้ว่า เป็นดนตรีในพระธรรมวินัย(พระเทพเวที)
ในฐานะที่เป็นมรดกของชนชาติไทย เนื่องจากความสำคัญในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมนั่นเอง พระพุทธศาสนาจึงกลายเป็นเนื้อหาสาระส่วนสำคัญในบทเพลงลูกทุ่งที่ว่ากวีได้นำเอาหลักธรรมมาสอดใส่เป็นภูมิปัญญาที่สะสมสืบทอดต่อ ๆ กันมาเป็นสมบัติของชนชาติไทย และเป็นเอกลักษณ์ของชาติตน พระพุทธศาสนาจึงเป็นส่วนร่วมของคนไทยแต่ละคน แม้กระทั่งกวีผู้แต่งเพลงที่ยึดเอาธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการประพันธ์เพื่อให้เพลงมีสาระ และเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกของชาติ ดำรงรักษาเอกลักษณ์ของไทยซึ่งเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่เป็นพุทธศาสนิกชนทุก ๆ คน