วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

วิธีรับมือกับคนปากจัด กัดเก่ง

วิธีรับมือกับคนปากจัด กัดเก่ง

วิธีรับมือกับคนปากจัด กัดเก่ง

มันก็ต้องมีบ้างชิมิ ที่เราจะได้เจอกับคนที่เราไม่พึงประสงค์อย่างเช่น พวกปากจัดกัดเก่ง เอะอะ ก็เอาคำพูดมาทำร้ายเราให้เจ็บแสบจึ้กๆๆๆอยู่เรื่อยๆ การจะรับมือกับคนพวกนี้ไม่ใช่เรื่องชิลๆนะเพราะถ้าเราสู้กลับแต่ปากไม่ได้ลับคมเท่า ก็อาจจะเจ็บใจกลับมาหรือแม้แต่คมพอกัน ก็เจ็บตัวทั้งคู่ เพราะฉะนั้นพี่วารินขอนำเสนอวิธีรับมือกับคนปากจัดกัดเก่งแบบสันติวิธีเอาให้เราไม่ต้องมาอารมณ์เสียกับปากร้ายๆของพวกเขาอีก หะหะอยากรู้แล้วใช่มั๊ยล่ะว่าทำไง
1. ตีเนียนทำเป็นไม่รับรู้
ลักษณะเหตุการณ์ที่เหมาะ : การทำไม่รู้ไม่ชี้ไม่มองไม่เห็นเหมือนพวกคนปากจัดไม่มีตัวตนอยู่ในโลกนี้สามารถทำได้ในกรณีที่ฝ่ายตรงข้ามเป็นพวกดีแต่ปาก แต่ไม่กล้าจริง ทำได้แค่ส่งเสียงเป็นน้องบ็อกบ็อกไปเรื่อยๆ แต่ถ้าอีกฝ่ายไม่ตอบโต้ก็ทำอะไรไม่ถูกเพราะไม่กล้าลุยมากกว่าพูดทำนองนั้น
วิธี : ทำใจให้ชิลๆคิดซะว่าเสียงพวกนั้นเป็นแค่เสียงลมฝุ่นที่ลอยผ่านหูไปผ่านหูมาไม่ได้มีค่าให้เราต้องเมมไว้ในสมองให้เสียสุขภาพจิต ปล่อยผ่านๆไปเราก็ไม่สบายใจนะจ๊ะ
2. สุภาพใส่
ลักษณะเหตุการณ์ที่เหมาะ : กรณีที่เงียบแล้ว แต่ไม่อาจหยุดเสียงลมเหม็นๆได้หรือถูกท้าให้พูดอะไรสักอย่าง แบบตามจิกกัดไม่ปล่อยก็ลองใช้วิธีนี้ดูก็ดีนะ
วิธี : หมากัดอย่ากัดตอบ หมาในปากเห่าใส่ก็อย่าไปเห่าตอบให้เสียเครดิตเลยจ๊ะถ้าเงียบไม่ได้จำเป็นต้องพ่นอะไรกลับไปสักอย่างก็ขอให้ตอบกลับไปอย่างสุภาพแบบคนที่มีการศึกษาหรือกัดจิกแบบสองสามชั้นให้คนฟังที่สมองน้อยนิดงงกันไปเลยแบบนั้นก็สะใจดีนะ
3. พิจารณา และ ยอมรับ
ลักษณะเหตุการณ์ที่เหมาะ : กับบางคนที่ปากร้ายแต่ใจดีวัตถุประสงค์ในการกัดจิกคือปรารถนาดีต่อชีวิตเราและเราเองก็เป็นอย่างที่เขาพูดจริงๆ ณ จุดๆนี้พี่วารินขอเสนอให้เราพิจารณาตัวเองและยอมรับคำพูดของเค้าเพื่อเอามาปรับใช้และพัฒนาตัวเองนะ
วิธี : ถ้าไม่อยากให้จิตใจเราแย่เพราะรู้สึกไม่ดีกับคำกัดจิกให้มองข้ามคำพูดพวกนั้นไปแล้วพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของคนที่พูดน่าจะดีกว่าเพราะแม้คำพูดจะฟังไม่ลื่นหู แต่ถ้าวัตถุประสงค์ต้องการให้เราได้ดี เราก็จะรู้สึกโอเคมากขึ้นนะ
4. ขู่
ลักษณะเหตุการณ์ที่เหมาะ : ถ้าเจอคนที่ปากร้ายเพราะสนุกปากเห็นเราไม่ตอบโต้อะไรเลยเอาใหญ่เพราะความเมามันแบบนั้นลองขู่กลับไปสักตั้งก็อาจจะทำให้เสียงพวกนั้นเงียบลงได้บ้าง
วิธี : ขู่กลับไปว่าจะไปฟ้องครู มีหลักฐานและคลิปเสียง จะฟ้องหมิ่นประมาทอะไรก็ตาม หนักเบาแล้วแต่สถานการณ์อย่างน้อยก็แสดงให้เขาเห็นว่าเราเริ่มจะสู้แล้วนะ จะมากัดเราฝ่ายเดียวไม่ได้อีกแล้ว
5. กัดกลับ
ลักษณะเหตุการณ์ที่เหมาะ : เพื่อนปากร้ายกัดเราขำๆ และเล่นเอาเราช้ำใจไปเล็กน้อย ก็ต้องมีตอบโต้กันบ้าง ด้วยการกัดกลับให้แสบไปข้างนึงเลย
วิธี : กัดกลับไปแบบ ขำๆ จิกๆ ให้พอแสบๆ คันๆ และสร้างเสียงฮาได้แต่อย่าจริงจังในน้ำเสียง หรือสีหน้าเพราะไม่อย่างงั้นอาจจะกลายเป็นการก่อดราม่าได้ แบบนั้นมันจะไม่ใช่แค่ขำๆนะจ๊ะ ไม่เวิร์กเลยน้า
6. เปลี่ยนเรื่องคุย
ลักษณะเหตุการณ์ที่เหมาะ : เมื่อฝ่ายตรงข้ามเป็นคนที่เราต้องเกรงใจหรือรักษาน้ำใจไว้ เช่น เพื่อนพ่อหรือเป็นผู้ใหญ่ หรือเค้ากัดเราโดยที่เค้าไม่ได้ตั้งใจหรือไม่รู้ตัววิธีการที่สมานฉันท์ที่สุดคือการเปลี่ยนเรื่องคุยมันซะเลย
วิธี : หาจังหวะที่เขาเงียบเปลี่ยนเรื่องคุยเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเราอย่างเนียนๆถ้าพูดได้ด้วยน้ำเสียงปกติก็จะดีมากเลยทีเดียวเชียวแหละ
7. หาพวกมาช่วยปกป้อง
ลักษณะเหตุการณ์ที่เหมาะ : ฝ่ายตรงข้ามเริ่มไม่ไหวจะเคลียร์ คุกคามเรามากจนเกินไปแต่ถ้าให้ไปสู้แบบตัวต่อตัวเกรงว่าเราจะสู้ไม่ไหวซะงั้นแบบนี้ต้องหาเกราะป้องกันตัวเองด้วยการหาคนช่วยป้องกันน่าจะเวิร์กกว่า
วิธี : เล็งหาคนที่เรารู้ว่าเพื่อนคนนั้นจะต้องเกรงอกเกรงใจ เช่นเป็นพ่อแม่ของเพื่อนคนนั้น เป็นครู หรือเป็นเพื่อนๆที่คนๆนั้นกลัวไม่กล้าหือ แล้วพยายามเข้าไปอยู่กับคนที่จะปกป้องเราได้ให้มากๆก็จะปลอดภัยขึ้นเยอะเลยล่ะ
8. แผ่เมตตา
ลักษณะเหตุการณ์ที่เหมาะ : ไม้อ่อนก็แล้ว ไม้แข็งก็แล้ว แต่ดูเหมือนว่าเขาจะยังไม่เลิกตามจิกเราซะทีแบบนี้เห็นทีเราต้องปล่อยเบลอ ไม่สุงสิง ไม่สนใจและแผ่เมตตาเพื่อเอาชนะเค้าอย่างสร้างสรรค์แล้วล่ะนะ
วิธี : สงบสติอารมณ์ของตัวเองให้นิ่งแผ่เมตตาให้กับเขาประหนึ่งเค้าเป็นสิ่งมีชีวิตโง่เขลาบาปหนาที่กำลังเป็นทุกข์เพราะความริษยา แล้วเราสบายใจขึ้น
9. เดินหนี
ลักษณะเหตุการณ์ที่เหมาะ : เค้าปากร้ายใส่เราแบบไม่เว้นวรรค แต่เราไม่อยากมีปัญหาเพราะว่าไม่ชอบการมีปัญหากับใครและรู้ว่าไม่ต้องเจอหน้ากันบ่อยๆมั่นใจได้เลยว่าหลังจากนี้เค้าจะไม่ตามราวีเราการเดินหนีเป็นทางออกที่ดีกว่าการตอบโต้นะจ๊ะ
วิธี : ทำหูทวนลมไม่ใส่ใจ แล้วเดินเลี่ยงไปอีกทางหรือถ้ารู้ว่าไปที่ไหนจะเจอเค้าก็เลี่ยงไปอีกที่ซะไม่ต้องสนใจหรือเก็บเอาคำพูดเขามาคิดให้รกสมองหรอกจ้า
10. แสดงออกว่าเราเริ่มไม่ยอม
ลักษณะเหตุการณ์ที่เหมาะ : เพราะยอมมาตลอด ฝ่ายตรงข้ามเลยกัดจิกว่าเราไม่หยุดซะทีลองแสดงออกว่าเราไม่ยอมอีกต่อไปแล้วดูสิบางทีเขาอาจจะสะดุ้งแล้วกลัวเราง่ายๆ ซะงั้นเลยนะ เพราะเราตอนเอาจริงน่ะ น่ากลัวอยู่เหมือนกัน
วิธี : จากที่เคยเงียบๆอยู่อย่างอดทน อดกลั้นลองแสดงออกให้รู้ว่าเราไม่ยอมโดนกัดจิกฝ่ายเดียวอีกต่อไปแล้วนะอาจเริ่มจากบอกเขาไปตรงๆว่า เราจะไม่ทนแล้ว แล้วตอบกลับด้วยเหตุผลหรือคำพูดเจ็บๆ แล้วแต่สถานการณ์
11. บอกไปตรงๆว่าไม่ชอบ
ลักษณะเหตุการณ์ที่เหมาะ : บางทีการที่คนอื่นมาปากร้ายใส่เรา อาจจะเป็นเพราะความคะนองสนุกเกินไปของเค้า จนทำให้ไม่ทันสังเกตว่าเรารู้สึกอย่างไง ดีใจ เสียใจหรือนอยด์อยู่หรือเปล่า ทำให้จิกเราไม่เลิกซะทีแบบนี้ต้องตรงไปตรงมากันแล้วล่ะ
วิธี : บอกเค้าไปอย่างตรงๆและสุภาพว่าเราไม่ชอบที่เค้าทำแบบนี้และไม่ได้นึกสนุกด้วยเลย เพราะฉะนั้นอยากให้เค้าเลิกไม่อย่างนั้นจะนอยด์จริงอะไรจริง
12. ทำตัวน่าสงสาร
ลักษณะเหตุการณ์ที่เหมาะ : เพื่อขอความเห็นใจจากคนรอบข้าง บางทีเราก็ต้องทำตัวให้น่าสงสารบ้างเพื่อต่อสู้กับการกัดจิกโดยคนที่เราไม่อาจสู้กับเขาตรงๆได้และให้คนหมู่มากร่วมกันต่อต้านคนที่รังแกเราไง สู้ด้วยกำลังไม่ได้ก็ต้องใช้สมองแก้ปัญหากันบ้างล่ะ
วิธี : ไม่ต่อสู้โดยตรง ร้องไห้ หรือหลบหนีไปเสียใจอยู่คนเดียวบ้างให้คนอื่นเห็นว่าเราเป็นนางเอกอ่อนแอที่ถูกตัวอิจฉาทำร้ายพวกเค้าจะได้เห็นใจ และเข้ามาช่วยเหลือเราไงล่ะ




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons