วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

มารยาหญิง.. สักเล่มเกวียนก็พอ

มารยาหญิง.. สักเล่มเกวียนก็พอ

มารยาหญิง . . . สักเล่มเกวียนก็พอ


เชื่อเถอะค่ะคุณขา ผู้ชายร้อยทั้งร้อยน่ะต่อให้แน่แค่ไหนก็หัวปักหัวปำกับ มารยาหญิงที่เม้าท์กันมาหลายชั่วอายุคนว่ามีถึงร้อยเล่มเกวียน

หนุ่มๆ มาอ่านเจอตรงนี้จะเถียงคอเป็นเอ็นหัวเป็นลูกชิ้นศรีย่าน ก็ตามใจเขาเถอะค่ะ โธ่เอ๊ย... พอเจอเข้ากับคำหวานออดอ้อน ออเซาะ ปรนนิบัติพัดวี หยอดเสียงหัวเราะคิกคักกับตลกซ้ำซากของเขาบ่อยๆ . . . เอ๋อทุกรายค่ะ
หญิง ยุคใหม่เป็นตัวของตัวเองอย่างเรา เก่งกาจสารพัดทั้งงานนอกบ้านและในบ้าน รับผิดชอบเยี่ยม วินัยยอด มันสมองปราดเปรื่องจนน่าจะได้รางวัลโนเบล จะให้ลดศักดิ์ศรีทำตัวเป็นนางบำเรอได้ยังไง้ !! . . . ถ้ารักชั้นก็ต้อง love me love my dog farm ไม่ใช่ให้ชั้นทำตัวเป็นคนอื่น . . . พูดจบทุบโต๊ะเปรี้ยงยืนยันความเห็นเดิม แฮ่..น่ากลัวจริงเจ๊
มาดมั่นอย่างนี้อาจเป็นเพราะเราติดภาพพจน์ "ผู้หญิง" ในค่านิยมตะวันตกหรือเปล่า ที่เห็นดีเห็นงามว่าผู้หญิงควรเป็นตัวของตัวเอง มีความมั่นใจ แกร่ง กล้า และยืนบนเรียวน่องของตัวเองได้ ชีวิตไม่ได้ขึ้นอยู่กับความปรานีของสามีอีกต่อไป . . . ดีค่ะที่เป็นตัวของตัวเอง เพราะมันน่าหวาดเสียวหากมัวแต่พึ่งพาสามี เกิดวันดีคืนดีเขาบอกเธอมีค่าเป็นศูนย์จะกลับมาพึ่งพาตัวเองลำบาก
แต่ผู้หญิงเราบางครั้งก็ล้ำเส้นการเป็นตัวของตัวเองไปสู่ยึดตัวเองเป็นที่ตั้ง และ "มั่นใจ" ไปสู่ "แข็งกร้าว" จนลืม "อ่อนหวาน" (ซึ่งไม่ได้แปลว่าอ่อนแอซักหน่อย น่าจะหมายถึงความอ่อนโยน นุ่มนวล . . . นะคะ นะคะ) พอแข็งกร้าวเสียแล้ว ครั้นจะกลับมาใช้มารยาหญิง ภูมิปัญญาดั้งเดิมของเราก็ประดักประเดิด เสียฟอร์ม เนี่ย . . . ถึงได้อดใช้เครื่องมือชั้นดีในการผูกใจสามี (ปล่อยให้ผู้หญิงอื่นเขาใช้ พอได้ผลก็ไปว่าเขา)

วันนี้เลยมาชวนกันปัดฝุ่น มารยาหญิง ที่มีซุกซ่อนอยู่ แค่หยิบมาใช้ซักเกวียนสองเกวียน เริ่มจากของยากๆ ก่อนดีกว่า ถ้าผ่านจะได้ไปโลด

ออดอ้อน ออเซาะ ต้าย . . . วัยนี้มาให้ชั้นทำหน่อมแน้ม ออดอ้อนออเซาะ !! อย่าเพิ่งมองการพะเน้าพะนอในแง่ร้ายสิคะ วัยไม่เกี่ยว แล้วใครที่คิดว่าหญิงห้าวไม่สามารถ... โฮะ โฮะ ประมาทคู่ต่อสู้ไปหน่อยแล้ว คือว่าเพื่อนสาวห้าวของอิชั้นคนนึงนะคะ เธอน่ะทั้งห่าม ทั้งห้าว ตัวใหญ่ ปากกัด ไม่มีส่วนใดที่เรียกว่าหญิงหวานเลย แต่เห็นเวลาเจ้าหล่อนอ้อนเหยื่อแล้ว พวกหญิงกว่าอย่างเราถึงกับนะจังงัง เหยื่อรายนั้นก็ตกเป็นของเธอมาตลอด 10 กว่าปี ทำใจกล้าถามเธอเพราะความจำเป็น(ในการเขียนเรื่อง) เจ้าหล่อนเผยไต๋ว่า "ชั้นใช้จุดขัดแย้งในตัวมาเป็นจุดเด่น ใครจะคิดว่าชั้นทำได้ แล้วมีรึเขาจะไม่ประทับใจ แล้วชั้นน่ะอ้อนทีเล่นทีจริงตลกบ้าบอไปด้วย จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน งงอยู่ก็เสร็จเรา พูดดีด้วยน่ะเขาชอบอยู่แล้ว หล่อนก็รู้เขาน่ะกิมจิจะตาย ยังพาชั้นไปอิตาลี่มา 2 รอบ"
ความ อ่อนหวานออดอ้อนต้องหมั่นฝึกใช้เป็นประจำให้เป็นความเคยชินค่ะ ฝึกให้ใจอ่อนโยนจะได้อ่อนหวานแบบเป็นธรรมชาติ บัดเดี๋ยวดีบัดเดี๋ยวร้ายไม่จริงใจนะคะ ปกติธรรมดามีแต่... "นี่ อย่างกนักเงินทอง ให้ชั้นมั่ง ไม่ให้ก็ไปจ่ายหนี้บัตรเครดิตชั้นแสนห้าแล้วกัน" วันดีคืนดีอยากให้เขาทำอะไรให้ ก็ลุกขึ้นมาหยอดคำหวานปุบปับ นอกจากเขาไม่หลงใหลแล้วยังจะขนขัวลุก เขาสยองแน่ เพราะธรรมดายังโหดขนาดนี้ นี่ต้องเป็นเรื่องคอขาดบาดตายแน่ถึงมาออเซาะ
เอาใจในยามปกติสุข วันละเล็กวันละน้อย การทำบ่อยๆ จะช่วยให้เขาสบายใจเมื่ออยู่กับเรา แล้วคนเราจะซึ้งใจกันที่สุดในยามเจ็บป่วยนี่แหละ ถ้าได้ดูแลปรนนิบัติเขาเต็มที่ ถึงแม้คุณพี่เขาแมนมากจะล้มมิล้มแหล่แต่จะไปหาหมอคนเดียว แทนที่จะบอกเขาตามสภาพความเป็นจริงว่า “ยืนยังไม่ไหวเลยจะไปได้ไง” ก็เปลี่ยนเป็น "ไปด้วยสิคะเป็นห่วงจัง รออยู่บ้านไม่สบายใจน่ะค่ะ" เห็นมั้ยว่าเราไม่ได้ลดความแมนของเขาลง แล้วเขายังต้องแมนต่อด้วยการปกป้องความรู้สึกเราอีก
ชื่นชมให้คนทั้งโลกได้รับรู้ว่าเขาเก่ง ใครๆ ก็ชอบเป็นคนเก่ง เขาเองก็หนีไม่พ้นหรอกหรอกน่า อยากเป็นคนเก่งเนี่ย ครั้นจะชมเช้าชมเย็นทุกเรื่องกันซื่อๆ ว่าเขาเก่งอย่างโน้นอย่างนี้ มันก็ทื่อมะลื่อไปหน่อยนะว่ามั้ย เลือกชมความสามารถความดี หรือความหล่อเหลาที่เขาภูมิใจนักหนา เวลานั่งตั้งวงคุยกับคนอื่นๆ สบโอกาสก็บอกเขาว่าไหนเล่าเรื่องนั้นให้ฟังหน่อยสิ มันเป็นเรื่องเฮก็จริงจ้ะ แต่ว่าในนั้นมีสอดแทรกวีรกรรมของคุณพี่ไว้ อย่างนี้ค่อยเนียนกว่าการชงลูกให้เขาอวดสรรพคุณตัวเองโต้งๆ
หึงเล็กๆ แต่พองาม ถ้าเราไม่ใช่คนขี้หึงนะ มุขเสแสร้งแกล้งหึงหวงนานๆ ครั้งก็เข้าท่าค่ะ แหม..มันกระหยิ่มในใจยังไงไม่ทราบ รู้สึกว่าเป็นที่ต้องการและมีค่าขึ้นมาทันทีเวลาที่มีคนออกอาการหวงให้เห็น บ้างเล็กๆ น้อยๆ มุขนี้ถ้าใช้บ่อยๆ ก็จะเกิดผลเสียตามมาเหมือนกินยาเกินขนาด
ทำตัวเป็นสาวพราวเสน่ห์ ไม่ได้หมายความว่าต้องแต่งหน้าให้หนาตึ้บกว่าเก่า ลงทุนเจ็บตัวสวยด้วยแพทย์จนไม่เหลือเค้าหน้าเดิม หรือแต่งตัวหรูเริ่ดอยู่ตลอดเวลา ความพยายามที่มากเกินไปคนอยู่ด้วยสัมผัสได้ว่าเราหมกมุ่นกับมันมากจนน่ากลัว โธ่ . . . เวลาผู้หญิงวุ่นวายกับเรื่องสวยๆ งามๆ ของตัวเองมากๆ น่ารำคาญออก ทำตัวสบายๆ หน้าตาแจ่มใส แต่งตัวสวยๆ บ้าง ให้เขาเห็นว่า "เออเมียเราก็สวยแฮะ" ผมเผ้าเข้ารูปเข้าทรง ถ้าเมื่อก่อนเคยแต่งหน้าอยู่ก็อย่าปล่อยปละละเลยเสียทีเดียว มีโอกาสก็แต่งหน้าแต่งตาบ้าง เสื้อผ้าอย่าให้แก่ แต่จะกระชากวัยกันเกินงามก็จะน่าสงสารไปซะอีก คิดถึงความสวยในความหมายว่าดูดี ก็จะไม่หลงทางไปเป็นแต่งตัวจัดหรือแต่งตัวไม่สมบุคลิกไง แล้วอย่าลืมเครื่องแบบในห้องนอน ว่าต้องมีเซ็กซี่กันบ้างละค่ะที่รัก
ทำ ตัวน่าคบกับคนรอบข้าง จะพี่ๆ น้องๆ พ่อแม่ เพื่อนฝูงของเขา ก็อย่าลืมโปรยเสน่ห์ให้ทั่วถึง ถ้าเราทั้งดูดีน่ารักและน่าคบหา คนในหมู่นี้จะคอยเป็นฐานเสียง ชมเราให้เขาฟัง (ถ้าเขาไม่ขี้อิจฉา) เขาปลื้มนะคุณที่ได้ของดีมีค่ามาไว้กับตัว

credit:http://webboard.yenta4.com/topic/474896




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons