วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

5 ทริคเด็ด รักตัวเองให้เป็นเสียที

5 ทริคเด็ด รักตัวเองให้เป็นเสียที

\

.คุณรักตัวเองเป็นไหม…? คำถามง่ายๆ ที่อาจทำให้คุณ ต้องกะพริบตาปริบๆ ก่อนนิ่งไป พักใหญ่ ไม่ใช่เรื่องแปลกหากคุณไม่แน่ใจ เพราะการรักตัวเอง“เป็น” กับสัญชาตญาณรัก แบบเห็นแก่ตัวนั้น มีความหมายใกล้ กันแค่คืบ
…..ความสัมพันธ์ที่เรียกว่า “ฉันรักเขา” ดูจะเป็นตัวบ่งบอกได้ชัดเจนที่สุด ถ้าคุณอยากจะวัดปริมาณความรักที่ คุณมีต่อตัวเอง คุณสามารถ เอาเรื่องรักกุ๊กกิ๊กระหว่างเขาและคุณมาเป็นข้อชี้ชัดได้ ถ้าคุณกำลังเข้าข่ายหน้ามืด ตามัว มองว่าหนุ่มของคุณคือพ่อเทพบุตรมาโปรด กรณีนี้ขอให้คุณจงรับรู้เอาไว้ ว่าคุณกำลังเข้าข่ายไม่ซื่อสัตย์ กับตัวเองเสียแล้ว หรืออีกนัยหนึ่งคุณกำลังละทิ้งหน้าที่สำคัญที่ควรทำเป็นที่สุด นั่นคือการ “รักตัวเอง” ซึ่งมีค่า มากกว่าสิ่งไหน
…..นี่จะเป็นเพียงข้อชี้แนะ เล็กๆ เพื่อให้คุณได้ค้นพบว่า เมื่อคุณมอบ “ความรัก” ให้ใครสักคน ทัศนคติที่คุณมีต่อเขาจะต้องเปลี่ยน ไปด้วย แน่นอนว่าไม่ใช่เพื่อใคร…ก็เพื่อตัวคุณเองนั่นแหละค่ะ
ปรับทัศนคติ คิดเชิงบวกให้มากๆ
…ข้อนี้สำคัญมาก ถือว่าเป็นพื้นฐานในการที่คุณจะรักตัวเอง การปรับทัศนคติย่อมส่งผลให้ตัวคุณเป็นผู้หญิง ที่มองอะไรกว้างขึ้น เพราะการคิดในเชิงบวกคือ การหว่านพืชทางด้านความคิด มองอะไรเป็นเหตุเป็นผล แต่…ก่อนอื่นคุณต้องยินดีที่จะทำการเปลี่ยนแปลงด้วย
…..ในกรณีนี้คุณอาจเริ่มต้นด้วย มองชายหนุ่มของคุณเป็นเพียง ผู้ชายคนหนึ่ง ที่เขามีความรักให้กับคุณและคุณ ก็มีความรักให้กับเขา (ในระดับเท่าๆ กัน) อย่าได้เผลอคิดไป ว่า คุณรักเขาเหลือเกิน (พยายามอย่าคิดว่าความรักเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในชีวิต) เพราะนั่นเป็นเพียงจิตใต้สำนึก ที่กำลังออกคำสั่ง ให้คุณทำตามเท่านั้น การคิดเชิงบวกยังรวมถึงการไม่คิดเข้าข้างตัวเอง เพราะการคิดเช่นนั้น จะทำให้คุณคิดเองเออเองไปเสียทุกอย่าง และถ้าไม่ได้เป็นไปอย่างที่คุณคิด คุณก็อาจจะเจ็บตัวเจ็บใจเอาได้ ง่ายๆ
….. เลิกมองตัวเองในแง่ร้าย …หลังจากที่คุณปรับความคิดในเรื่องของความรักแล้ว สิ่งที่คุณควรกระทำต่อมาคือการหยุดมองตัวเองในแง่ร้าย ขั้นตอนนี้เราสังเกตได้ง่ายมาก เช่น ถ้าคุณกำลังวิตกว่าคุณดูอ้วนไป ผอมไป หรืออะไรก็ตามแต่ความคิด ที่จะตามมาก็คือ “แล้วเขาจะรักฉันไหม?” ลองละทิ้งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในหัวของคุณเสียหน่อยดีกว่า เพราะอย่าง น้อยๆ อาจจะทำให้คุณได้หยุดมองตัวเองอย่างที่คุณเป็น และไม่ดูถูกตัวเอง จากสถิติที่ผ่านมาผู้หญิง ถึงร้อยละ เก้าสิบคิดเอาเองก่อนทั้งนั้น ว่าเราต้องสวยเขาถึงจะรัก ทางแก้ของการมองตัวเองในแง่ร้ายก็คือ ต้องวางเป้า หมายของเราให้ชัดเจน อย่างเช่น ถ้าคุณอ้วนไปและจะลดน้ำหนักก็เพื่อสุขภาพของตัวเอง ที่สำคัญที่สุดคือ อย่าหวาดหวั่นกับคำพูดใดๆ และต้องเชื่อในคุณค่าของตัวเองอยู่เสมอ
….. จัดรูปแบบของความรัก …การจัดรูปแบบความรักที่ดี จะส่งผลให้คุณรู้คุณค่าของความรัก รวมถึงตัวคุณเอง ซึ่งอาจจะคล้ายๆ กับการ วางแผนชีวิต เหตุผลทั้งหมดคือ เพื่อป้องกันตัวเอง และทำให้คุณเห็นค่าตัวเองมากขึ้น คุณอาจจะทำข้อตกลง กับตัวเอง โดยการแบ่งหัวใจของคุณเป็นวงกลม แล้วแบ่งวงกลมนั้นเป็นสี่ส่วนเท่าๆ กัน จากนั้นให้คุณจับจอง อัตราสามในสี่ ส่วนเป็นของคุณ และหนึ่งส่วนที่เหลือคือ พื้นที่ของเขา สิ่งสุดท้ายคือการเขียนข้อตกลงของตัว คุณเอง เช่น ถ้าเราทะเลาะกันฉันจะไม่เสียใจ หรือฉันจะพูดกับเขาด้วยเหตุผลในทุกๆ ครั้ง การจัดรูปแบบจะ ทำให้คุณไม่ลดค่าตัวเองลง ซึ่งคุณจะรู้เองว่าเมื่อคุณทำตามนั้นได้จริง คุณจะดูมีค่ามากแค่ไหน
….. อย่าเอา “ความรัก” นำทาง …ตัวอย่าง เช่น ถ้าคุณกำลังเลิฟอยู่กับหนุ่ม A และเขาก็ดูรักคุณอย่างเหลือกำลัง พร้อมมี ดอกไม้ช่อใหญ่ให้ คุณในทุกๆ เช้า คุณสามารถตอบรับกับสิ่งที่หนุ่ม A ทำให้กับคุณได้ด้วยการแสดงออกแต่พองาม เช่น การ ส่งการ์ดขอบคุณให้เขา ด้วยข้อความที่ว่า ‘ขอบคุณสำหรับดอกไม้ค่ะ’ หรืออะไรสั้นๆ ทำนองนี้ จะทำให้เขา รู้ว่าคุณก็สนใจเขา แต่ก็ไม่ถึงกับคลั่งไคล้จนเกินเหตุ อย่าลืมว่าถ้าคุณมัวแต่หลงระเริงกับความสุขที่ได้จนมาก เกินไป นั่นอาจจะทำให้คุณอ่อนแอที่สุด และเมื่อคุณยับยั้งไม่ให้ความรักมาอยู่เหนือใจตัวเองแล้ว ทุกสิ่งทุก อย่างจะดูเป็นเรื่องปกติ ทั้งยังทำให้คุณดูดี ไม่เป็นที่ตำหนิในสายตาคนอื่นๆ อีกด้วย
….. หนักแน่นเข้าไว้ …ถ้าคุณเชื่อมั่นในตัวเองและได้ผ่านกระบวนการทั้งสี่ข้อที่ว่ามาแล้ว ความหนักแน่นจะเกิดกับคุณ ไม่ว่าจะ เรื่องราวใดๆ ที่ทำให้คุณผิดหวังหรือทำให้คุณเสียใจ คุณจะผ่านมันไปได้อย่างที่คุณอาจจะแปลกใจ ต้องมั่น ใจด้วยว่าไม่ว่าเรื่องอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม คุณจะเผชิญกับปัญหา นั้นไหว ความหนักแน่นเท่านั้นที่จะสามารถ ทำให้คุณยืนแล้วสู้กับทุกสิ่งได้
…..เมื่อใดก็ตามที่สติของคุณ เริ่มไม่อยู่กับตัว จำเอาไว้ว่า “ความ สามารถของการรักตัวเอง ก็จะลดลงไปด้วย” ทางที่ดีคุณควรรักษาความซื่อสัตย์ที่เกิดกับตัวเอง และควบคุมเหตุผลให้ อยู่เหนืออารมณ์ให้ได้ในทุกๆ วินาที เพียงแค่นี้คุณก็จะรักตัวเองและเข้าใจตัวเอง อย่างที่คุณก็ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะเกิดกับคุณได้ค่ะ

http://hot.ohozaa.com




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons