วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

อกหัก...เมื่อรักต้องจบ

อกหัก...เมื่อรักต้องจบ

imagesCAW5ODTBความอ้างว้างไม่ได้โหดร้ายอะไรนัก
มันก็แค่ช่วงเวลาที่เธอควรใช้มันให้กับตัวเอง
หลังจากที่วุ่นวายไปกับชีวิตคนอื่นมานานพอควร
ถ้าเธอเคยหกล้ม
เธอก็จะเดินอย่างระมัดระวังมากขึ้น
ไม่ใช่คิดจะไม่เดินอีกเลย
บางครั้งคนเรา
ก็ต้องยอม รับในสิ่งที่ตัวเองไม่เข้าใจ
และต้องยอมรับในการตัดสินใจของคนอื่น
ถึงมันจะไม่ดีกับเธอเลยก็ตาม
เพราะเราเลือกแต่เหตุการณ์นี้
ให้เกิดกับชีวิตเราไม่ได้เสมอไป
ความรักก็มีชีวิตเหมือนดอกไม้
และไม่มีแจกันใด
จะถนอมความงามของดอกไม้ไว้ได้ตลอดไปหรอก
ความเสียใจไม่ใช่เรื่องแปลก
แต่หากเสียใจไม่จบสิ้น นั่นจึงแปลก
ในขณะที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์
มันก็ต้องไม่ลืมที่จะหมุนรอบตัวเอง
ในขณะที่เธอรักใคร
เธอก็ต้องไม่ลืมที่จะรักตัวเอง
หากคนเรามีความรักได้ครั้งเดียวในชีวิต
นั่นจึงควรร่ำร้องเมื่อรักได้สูญหาย
แต่ความจริงแล้ว
คนเรามีความรักได้หลายพันครั้งตลอดทั้งชีวิต
เมื่อเธอรู้สึกว่าตัวเองไม่เหลือใคร
นั่นคือสัญญาณเตือนว่า
เธอควรให้ความสำคัญกับตัวเองได้แล้ว
คนเราสามารถจำอะไรก็ได้
แต่เมื่อจำแล้ว
กลับไม่สามารถเลือกที่จะลืมบางส่วนของมันได้
แต่เลือกที่จะนึกถึงมันให้น้อยที่สุดได้
ไม่ว่าความรักจะทำให้วันนี้ของเธอปวดร้าวยังไง
แค่ครั้งหนึ่ง เธอเคยได้รักจากคนที่อยากรัก
เธอก็โชคดีมากแล้ว
3c56d64178b45653e45973d35ddc0479_1232462653สำหรับบางคน
ถ้าจะรัก ก็ยังไม่เจ็บ ถ้าเคยรัก ก็แค่เคยเจ็บ
แต่ถ้ายังรัก ก็จะยังเจ็บ
ขึ้นอยู่กับว่า เธออยากเป็นแค่คนที่เคยเจ็บ
หรืออยากเป็นคนที่ยังเจ็บอยู่ทุกวัน
เธอเคยฝืนใจรับใบปลิว
ที่แจกตามหน้าห้างสรรพสินค้า
เพราะเกรงใจคนแจกมันและ บางที
อาจมีคนรับความรักของเธอไป
เพราะเหตุผลอย่างเดียวกัน
สุดท้าย เขาก็ทิ้งมัน
เหมือนกับที่เธอทิ้งใบปลิวนั่นแหละ
คนบางคน
เป็นเพื่อนที่ดีได้ เป็นพี่ที่ดีได้ เป็นน้องที่ดีได้
แต่เป็นคนรักที่ดีไม่ได้
ก็ควรให้เขาเป็นในสิ่งที่เขาเป็นได้ และเป็นได้ดี
หลายๆสิ่งในโลก
ล้วนถูกสร้างมาให้มีด้านตรงข้าม
มันจึงต้องมีจุดผกผันแปรเปลี่ยน
ความรักก็มีจุดเปลี่ยนของมัน
จึงเป็นเรื่องจำเป็น ที่เธอต้องยอมรับมันให้ได้
แก้วกาแฟใบโปรด แตกไปเสียแล้ว
เก็บไว้ก็บาดมือ
ความรัก จากไปเสียเสียแล้ว
เก็บไว้ก็บาดใจ
สำหรับความรักที่ผ่านมา
ควรแยกให้ได้ว่า อะไรควรจำไว้ประทับใจ
อะไรควรจำไว้เป็นบทเรียน
ค่ำคืนแห่งความเงียบเหงา
ไม่ได้ยาวนานไปกว่าคืนไหนๆ หรอก
อีกไม่นานก็เช้า ชีวิตก็วุ่นวายเหมือนเดิมแล้ว
หนังสือเล่มไหนที่อ่านแล้วไม่ถูกใจ
ก็ไม่ต้องกลับไปอ่านรอบสอง
ความทรงจำที่นึกถึงแล้วเจ็บปวด
ก็อย่าไปนึกถึงมันเป็นครั้งที่สอง
เมื่ออ่อนแอจนถึงที่สุด
5379ความเข้มแข็งจะเข้ามาแทนที่
เมื่อเธออยากให้หัวใจมีความรัก
ก็ต้องยินยอมที่จะให้มันเจ็บปวด
เหมือนเด็กที่อยากจะเดิน
ก็ต้องยินยอมที่จะล้มลุกคลุกคลาน
ความรู้สึกสูญเสีย ร้ายแรงเสมอ
สำหรับคนที่ไม่ยอมรับความจริง
ความเจ็บปวด
ไม่ได้ต้องการเวลาเพียงไม่กี่วันในการรักษา
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่า
เธอจะเลิกเจ็บปวดเมื่อไหร่
แต่มันอยู่ที่ว่า
เธอจะใช้ชีวิตในขณะที่ยังเจ็บปวดอย่างไรต่างหาก
คนที่ควรรัก อาจไม่ใช่คนที่เธอรัก
อาจไม่ใช่คนที่รักเธอ
อาจไม่ใช่คนที่รักกันมาก่อน
อาจไม่ใช่คนที่กำลังรักอยู่
อาจไม่ใช่คนที่คิดจะรัก
แต่คนที่ควรรัก
อาจเป็นคนที่เธอยังไม่เคยรักเลยก็ได้
ทำไมต้องเรียกร้องความรักจากคนๆเ ดียว
ในเมื่อเธอก็มีความรักจากคนรอบข้างมากมาย
ไม่มีความเจ็บปวดครั้งใด
ไม่ให้ประโยชน์กับชีวิต
ขึ้นอยู่กับว่า
เธอรู้จักที่จะใช้ความเจ็บปวดนั้นทำให้เธอเข้มแข็ง
หรือปล่อยให้มันทิ่มแทง จนเจ็บซ้ำแล้วซ้ำเล่า
การเปลี่ยนแปลง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นง่ายที่สุด
และยอมรับได้ยากที่สุด
แต่เมื่อเรายอมรับได้แล้ว
มันก็จะเป็นเรื่องธรรมดาที่สุด
ความรักไม่ได้ทำร้ายใคร
แต่คนเรามักใช้มันทำร้ายตัวเอง
เด็กที่เพิ่งหกล้ม
อย่าไปถามเขาว่า
เจ็บมากมั้ย หายเจ็บหรือยัง
นั่นจะทำให้เขายิ่งร้องไห้
หัวใจที่เจ็บปวด
12249ก็อย่าไปถามซ้ำๆ ถึงความเจ็บนั้นเลย
ความเจ็บปวดที่ร้ายแรงที่สุด คือ
ความเจ็บปวดที่เธอเฝ้าคิดถึงแต่มันซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ถ้าเธอเคยล้ม
เธอก็จะเดินอย่างระมัดระวังมากขึ้น
นั่นเองคือเหตุผลว่า
ทำไมคนเราจึงต้องเจ็บปวดเสียบ้าง
ถ้าความรักของเธอเหมือนดอกไม้
หัวใจเขา เหมือนทะเลทราย
คงเปล่าประโยชน์ ที่เธอจะปลูกดอกไม้ให้งดงามในทะเลทราย
ระหว่างการเดินทาง
หากมีเพื่อนร่วมทางสักคน
ก็นับว่าเป็นโชคดีของเธอแล้ว
และเมื่อเขาจำเป็นต้องแยกไป
เธอควรขอบคุณที่เขาร่วมทางมา
ไม่ใช่ตัดรอนต่อว่า ที่เขาแยกทางไป
ว่ากันว่า ช่วงชีวิตของคนเรามีจำกัด
ยิ่งใช้เวลาไปกับความเศร้าโศกนานเท่าไหร่
ก็จะเหลือช่วงเวลาที่ดี ลดน้อยลง




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons