วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มงคลคำสอนอีสาน38

T310311_10C_rมงฺคลํ อุตฺตมํ เสฏฐํ อันว่ามงคลนั้นความอุดมความประเสริฐ
พุทธองค์ทรงเทศน์ไว้ให้เฮาได้ฮ่ำเพิง
กุหลาบแดงอเสวนา จ พาลานํ อย่าได้ไปอยู่ใกล้ เป็นหมู่กับคนพาลแม่ใหญ่เอ๋ย
ชาติแต่แนวบ่ดีให้หลีกใกล้หนีเว้น
กุหลาบแดงปณฺฑิตานญฺ จ เสวนา นั้น ชาติเมธาเซื้อบัณฑิตตนนักปราชญ์
ผู้ฉลาดฮอบฮู้ให้เอาเก่อกล่อมสหายพี่น้องเอย
กุหลาบแดงปูชา จ ปูชนียานํ คนดีนั้นควรบูชาเอาแบบอย่าง หย่างตามหลังผู้จั่งซั่น มีแต่ได้สิบ่เสีย
กุหลาบแดงปฏิรูปเทสวาโส อยู่ในเขตประเทศที่สมบูรณ์ ทั้งบุคคลและสิ่งของ ล้วนแต่แนวดีพร้อม
กุหลาบแดงปุพฺเพ จ กตปุญญตา บุญคุณสร้างบารมีพร้อมพร่ำ ทำแต่ดีจั่ย ๆ ไผบ่หย่องกะซางตาม........
กุหลาบแดงอตฺตสมฺมาปณิธิ จ ตั้งตนไว้หมั่นเที่ยงในความดี บ่มีใจเอนเอียงหวั่นไหวไปทางฮ้าย
ไผสิติทั้งค้ายทั้งเมืองกะบ่เงี่ยง มีแต่ตั้งเที่ยงไว้บ่ไลถิ่มฝ่ายดี พ่อใหญ่แม่ใหญ่เอย...
กุหลาบแดงพหุสจฺจญฺจ นี้ ได้เฮียนฮ่ำมาหลายซั่นแหล๋ว ได้สดับรับฟังใส่ใจอยู่เลิงเรื่อย
กุหลาบแดงสิปฺปญฺจ พร้อม มีศิลปะศาสตร์ มีวิชาชีพครบถ้วน ชำนาญพร้อมสู่ภาย
กุหลาบแดงวินโย จ สุกฺขิโต นั้นเพิ่นบอกว่าวินัยดี ได้ฝึกฝนอบรมตน ระเบียบงามมวลพร้อม
กุหลาบแดงสุภาสิตา จ ยา วาจา อันว่าความขานเว้ามีคุณธรรมล่ำค่า
เป็นของฝากจากลุ่มฟ้ามาต้อนต่อนสะเหน พ่อใหญ่แม่ใหญ่เอย....
15กุหลาบแดงมาตาปิตุอุปฏฺฐานํ บรบัติเลี้ยงพ่อแม่ของเฮา อย่าได้เฮ็ดทำแนวขวาง ให้เพิ่นเคืองคำฮ้อน
อย่าได้วาจาเว้าให้สองเขือน้ำตาหลั่ง บาปท่อฟ้าเวรกล้ำท่อแผ่นดินพุ้นแหล๋ว
 
 
กุหลาบแดงปุตฺตทารสฺส สงฺคโห มีลูกเต้าให้แอบแต่ทางที่ดี อย่าได้ฝึกเอาแต่ใจต่ำไปมันสิยาก
ตามแต่ใจเลิงเรื่อยภายลุนสิสอนยาก บอกบ่ได้เมื่อหน้าสิบ่ดี
กุหลาบแดงอนากุลา จ กมฺมนฺตา การงานค้างอากูรบ่แล้วทั่ว ของมันพอสิแล้วอย่าป๋าไว้ให้ยากมือ
กุหลาบแดงทานํ นั้นให้เจ้าแต่งแปลงทาน ฝึกหัดจิตใจให้ปล่อยวางอยู่เลิงเรื่อย
กุหลาบแดงธมฺมจริยา จ นั้นเจ้าอย่าได้ไลลาเว้น คลองธรรมพระเจ้ากล่าว ทุกค่ำเช้าให้เฮียนฮู้เฮ็ดนำ
ทุกค่ำเช้าให้ตั้งอยู่ในธรรม สุจริตซื่อตรงซั่วซีวันเมี้ยน
กุหลาบแดงญาตกานญฺจ สงฺคโห นั้น อย่าพากันขี่ถี่ พุ้นแม่นพี่นี้แม่นน้อง ปองดองฮักแก่น
ถึงยามทุกข์ยากแค้นให้เพียรซ่วนซอยกัน อ้ายน้องเอย...
เจ้าหญิงอนวชฺชานิ กมฺมานิ เวียกเฮ็ดสร้างบ่ให้มีโทษกับไผ กิจขัดงามโทษบ่มีพอน้อย
เจ้าหญิงอารตี วิรตี ปาปา นั้น บ่มีกรรมสร้างก่อ บาปท่อก้อยเพียรเว้นหลีกไกล
เจ้าหญิงมชฺชปานา จ สญฺญโม ของเมานั้นมีโทษนานา สารพันบ่ฮอนหามากิน สูบดมอมเคี้ยว
มันสิพาเฮาล่มตกจมเป็นทาส ออกบ่ได้กะผองเฒ่าแก่ตาย
เจ้าหญิงอปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ ตั้งใจหมั่นบ่ประมาทเผลอเลอ มีสติอยู่สู่ยามมวลพร้อม
ถนอมใจไว้ในครองพุทโธวาท บ่ประมาทท่อก้อย ธรรมพระเจ้าเพิ่นสั่งสอน
เจ้าหญิงคารโว นั้น ให้เจ้าฮู้จักอ่อนน้อมเคารพย่ำแยง แสดงถึงกิริยาบอกค่าคุณควรฮู้
บุคคลพร้อมกิจการต่าง ๆ ฮู้จักคุณค่าพร้อมถนอมไว้สู่ภาย ออกจากหั่น มีคำว่า
 
 
28หัวใจสีแดงนิวาโต อย่าได้โว ๆ เสียงเหลื่อนทั้งค้าย
ให้เจ้ายอมือไหว้แสดงความนบนอบ หมอบ ๆ เข้าหัวสิเท้าง่ายางอ้ายน้องเอย.....
หัวใจสีแดงสนฺตุฏฺฐี นั้น ให้มีความสันโดษ อย่าสิโพดแต่ยากได้ จนทำให้ฮ่วนเฮ
ให้เจ้าพอใจพร้อมในสิ่งที่เฮามี ให้มีความยินดีแต่สิ่งของที่เฮาได้
มันสิพาทำให้จิตใจเฮาม่วนซื่น สุขยิ่งล้ำธรรมฮ้อนบ่ฮ่อนมี นอกจากนี้ยังมีคำว่า
หัวใจสีแดงกตญฺญุตา ให้ฮู้จักบุญคุณ อย่าได้ลืมไลหลีกเว้น
ชื่อว่าความดีนั้นกตัญญูเป็นเครื่องบอก นอกจากนี้บ่เหลือไว้ให้ส่วนดี ต่อจากนี้มีคำว่าเป็นคาถา
หัวใจสีแดงกาเลน ธมฺมสฺสวนํ ให้หายามฟังธรรม ขูดเกาสนิมฮ้าย
ในหัวใจเฮาหมองเศร้า หย่อนว่าเฮาบ่ฉลาด บ่อาจสุขอยู่ล้วน สนิมหุ่มห่อใจเจ้าเอย
หัวใจสีแดงเอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ อันนี้แหล๋วคือมงคลแท้ แนวอุดมทั้งประเสริฐ
บ่มีไผสิมาส่งให้เสริมให้เฮาได้ดังกล่าวขานพี่น้องเอย....
มีแต่เขามาต้ม ตั่วเอาเงินคนโง่ พาโลหลอกพี่น้อง ได้กินแล้วกะแซวกะแซวหนีซั่นแหล๋ว...
เขาพุ้นตี๋เป็นผู้ได้ ทั้งเสน่ห์ทั้งมงคล ได้ทั้งเงินทั้งทองของขาว แล้วหอบคืนเมือบ้าน
เป็นต๋ะสงสารหน้า อวิชชามาหุ่มห่อไทยเฮานอ ซางมาตั่วหลอกล้อ บ่กลัวหย้านบาปเวรแท้แหล๋ว....
ขนฺติ จ ว่านั้น เพิ่นบอกว่าให้อดทน ทั้งการงานหนักเบาแดดฝนให้ทนกลั้น
ทนทั้งกายใจพร้อมขมเข็มเคียดด่า หวานและส้มให้ชวนชมได้สู่ภายพี่น้องเอย.....
 
หัวใจสีแดงโสวจสฺสตา นั้นให้เจ้าเป็นคนเว้าง่าย อย่าได้เฮ็ดอึ่งตึ่งคือหม้อบ่สาง
สมณานญฺจ ทสฺสนํ การได้เห็นได้ใกล้กับท่านผู้มีศีล ผู้สงบกายใจเฮ็ดให้เฮาหายฮ้อน
เจ้าหญิงกาเลน ธมฺมสากจฺฉา นั้น สนทนาในเรื่องดีงามตามโอกาส เฮ็ดให้เฮาฉลาดฮู้ในเรื่องที่กล่าวจา
31หัวใจสีแดงเอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ อันนี้แหล๋วคือมงคลอันประเสริฐ ให้เจ้าจำจื่อไว้ธรรมพระเจ้าสั่งสอนท่านเอย....
อีกอันหนึ่งคาถาว่า ตโป จ ให้เจ้ามีความเพียรแผดเผาอูดรนความฮ้าย
บังคับกายใจพร้อมบ่ตามใจมวลกิเลส อันนี้วิเศษแท้จำไว้อย่าสิลืม
หัวใจสีแดงพรฺหมฺจริยญฺจ พร้อม ให้เจ้าประพฤติพรหมจรรย์ ฮู้ควบคุมทางกายระหว่างยามที่ควรเว้น
ทำตนให้เป็นคนผู้ประเสริฐ เฮ็ดจั่งซั่นเขาสิเอิ้นว่าพรหม
เจ้าหญิงอริยสจฺจานทสฺสนํ ความจริงแท้อยู่เหนือผลเหนือเหตุ เห็นแจ่มแจ้งจริงแท้สู่อัน
ฮู้ว่าทุกข์แท้ พร้อมทั้งเหตุของมัน ฮู้อาการของความดับ มอดลงของความฮ้อน
ฮู้จักถอนตนขึ้นตามทางอันประเสริฐ อันนี้เลิศแท้ ๆ จบสิ้นบาปเวร พ่อใหญ่แม่ใหญ่เอย...
หัวใจสีแดงนิพฺพานสจฺฉิกิริยา เฮ็ดนิพพานให้แจ้งคือความทุกข์มันดับหาย
อยู่เหนือตายเหนือเป็นบาปเวรจบสิ้น อยู่เหนือดินเหนือฟ้าเหนือดาราน้อยใหญ่
มอดดวงไฟที่ลุกไหม้ในใจเจ้าสิอยู่เย็น บ่แม่นนิพพานเล่น ๆ ที่เขามาหลอกเอาเงิน
ว่าสิพาไปทัวเมืองนิพพาน สู่สถานเมืองแก้ว โอ้ย....แวววาวเหลื่อมตามตายแต่ทางนอก ซอกแซกซอนหนอนน้อยหม่นอยู่ในพ่อใหญ่เอย...

DSC03870หัวใจสีแดงต่อไปฮั่นเพิ่นเอิ้นว่า ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ
บ่มีใจเอี่ยนโอนหวั่นไหว ต่อคำยอหย่อง นินทาพร้อมสรรเสริญกะคือเก่า
บ่มีหมองหม่นเศร้า เสมอด้ามดังแผ่นดิน
หัวใจสีแดงอโสกํ ว่านั้นจิตบ่มีโสกี มีแต่ความสงบเย็นอยู่เหนือความเศร้า
หัวใจสีแดงวิรชํ พร้อมจิตบ่มอมเกือกขี้ฝุ่น มีแต่ใสจั่งแก้วเบิดแล้วขี้ฝุ่นใจ
หัวใจสีแดงเขมํ ซ่ำ จิตอยู่เกษมสรร เบิดปัญหาชีวิตยอดมงคลแท้
ความเพิ่นวาจาต้านขานลงโค้งอ่วย ว่า
หัวใจสีแดงเอตาทิสานิ กตฺวา สพฺพตฺถมปราชิตา สพฺพโสตฺถึ คจฺฉนฺติ ตนฺเตสํ มงฺคลมุตฺตมนฺติ .
นรชนพร้อมฝูงหมู่เทวา ให้เฮ็ดนำทำตามที่ว่ามาเบิดเกลี้ยง
ย่อมบ่มีสูญเสี่ยงอัปปราชัยไปทุกที่ ความสวัสดีเที่ยงแท้ มงคลพร้อมทุกสถานอ้ายน้องเอย............




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons