วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

เหตุแห่งความรัก บุพเพสันนิวาส คือ...

ปุถุชนผู้ยังละกิเลสไม่ได้ เกิดมาก็ย่อมต้องมีความรักทั้งหญิงและชาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงเหตุที่ทำให้หญิงชายรู้สึกรักกันไว้ใน
สาเกตชาดก พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ดังนี้
“ ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุไรหนอ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้พอเห็นกันเข้าก็เฉย ๆ หัวใจก็เฉย บางคนพอเห็นกันเข้า จิตก็เลื่อมใส ”
“ ความรักนั้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยการอยู่ร่วมกัน ในกาลก่อน ๑ ด้วยความเกื้อกูลต่อกันในปัจจุบัน ๑ ”
เหมือนดอกอุบลและชลชาติ เมื่อเกิดในน้ำ ย่อมเกิดเพราะอาศัยเหตุ ๒ประการ คือน้ำและเปือกตม ฉะนั้น ”
จึง จะเห็นว่าการที่หญิงชายมารักกัน ชอบกัน และอาจได้อยู่ร่วมกันนั้นไม่ใช่เหตุบังเอิญ แต่มีปัจจัยมาจาก ๒ ประการดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงเหตุให้รู้ แต่ก็ยังมีข้อสงสัยที่เกี่ยวเนื่องกับความรัก คู่ครอง เนื้อคู่ ฯลฯ อีกมากมาย
คู่ บุพเพสันนิวาส คือ การได้เคยอยู่ร่วมกันในอดีตชาติ จนส่งผลให้ได้มาเป็นคู่ครองกันในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่จะคิดว่าเคยอยู่ร่วมกันเป็นสามีภรรยาเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วบุพเพสันนิวาสหมายถึงการที่อาจจะได้อยู่ร่วมกันในฐานะอื่นก็ ได้ เช่น พี่กับน้อง พ่อกับลูก แม่กับลูก เพื่อครูกับศิษย์ นายกับบ่าว เป็นต้น การที่มีบุพเพสันนิวาสร่วมกันนี้เมื่อเกิดมาร่วมกัน ก็มักจะสร้างบุญสร้างกุศลร่วมกันมา ทำอะไรตามกัน มีความเห็นสอดคล้องกัน ทำให้อยู่ด้วยกันแล้วมีความสุข
เนื้อคู่ คือ หญิงและชายที่เคยได้ใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นสามีภรรยากันมาก่อนในอดีตชาติ
คู่ครอง คือ หญิงและชายที่ใช้ชีวิตร่วมกัน เป็นสามีภรรยากันในชาติปัจจุบัน
คู่กรรม คือ หญิงและชายที่ใช้ชีวิตร่วมกันเป็นสามีภรรยา แต่มักไม่มีความสุข
เนื่องจากการมาอยู่ร่วมกันนั้นเกิดจากวิบากของกรรมที่ทำร่วมกันหรือวิบากกรรมที่มีต่อกันมาส่งผล
เช่น อาจเคยทำบาปร่วมกัน หรือเคยเป็นศัตรูกันมาก่อนเป็นต้น
คู่บารมี คือ เนื้อคู่ที่ได้ติดตามกันมา ส่งเสริมกันและกันในทางที่ดี ได้ใช้ชีวิตร่วมกันในฐานะสามีภรรยาร่วมกันนับชาติไม่ถ้วน และจะติดตามกันต่อไปจนกว่าจะสามารถหลุดพ้นจากวัฏสงสารได้ มักใช้คำนี้กับพระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญบารมีกับเนื้อคู่ลำดับ ๑ ที่จะได้เป็นคู่ครองกับในชาติสุดท้าย
เหตุแห่งการได้อยู่ร่วมกัน
ดังที่พระพุทธองค์ได้แสดงเหตุที่หญิงชายได้รักและได้เป็นสามีภรรยากันนั้นมี ๒ ปัจจัย คือ
• การได้อยู่ร่วมกันในกาลก่อน
• การได้เกื้อหนุนกันในชาติปัจจุบัน
เนื่อง จากวัฎสงสารยาวไกลจนหาจุดเริ่มต้นและที่สุดไม่ได้ หญิงชายแต่ละคนจึงมีเนื้อคู่มากมายเป็นแสนคน แต่ละชาติที่เกิดมาก็อาจได้พบเจอเนื้อคู่ได้หลาย ๆ คนพร้อมกัน หรืออาจไม่ได้เจอเนื้อคู่เลยสักคนก็เป็นได้ กรณีที่ไม่เจอเนื้อคู่เลยนั้น หญิงชายนั้นก็อาจมีคู่ได้กับบุคคลใกล้ชิดที่ได้เกื้อหนุนกันในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อได้เป็นคู่กันในปัจจุบันแล้วหญิงชายนั้นก็จะได้เป็นเนื้อคู่กันต่อ ไป
ลำดับของเนื้อคู่
เพราะ เหตุที่แต่ละคนมีเนื้อคู่จำนวนมากมาย จึงเป็นที่น่าสงสัยว่าแล้วใครกันเล่าที่สมควรจะได้อยู่เป็นคู่ครองกันมากที่ สุด และจะมีวิธีการเลือกอย่างไร แม้จะมีเนื้อคู่จำนวนมากมาย แต่จะมีเพียงคนเดียวเท่านั้นที่เมื่ออยู่ร่วมกันแล้วมีความสุขที่สุด เมื่อพบหน้ากันแล้วไม่อาจตัดใจรักให้ขาดจากกันได้ บุคคลนี้คือเนื้อคู่ที่ได้อยู่ร่วมกันมามากที่สุดเป็นแสนเป็นล้านชาติ เป็นเนื้อคู่ลำดับที่ ๑ กฎแห่งกรรมจะจัดสรรการมีคู่ไว้ให้เราเรียบร้อย คือ หากเรามีเนื้อคู่เกิดมาพร้อมกัน ใจเราจะเป็นผู้เลือกเนื้อคู่ลำดับต้นเสมอ
เมื่อ เลือกแล้วคู่ลำดับอื่นเขาจะหลีกทางและไปหาคู่ของเขาต่อไป แต่กฎแห่งกรรมอีกเช่นกัน ที่บางชาติ กลับทำให้คู่ลำดับต้น ๆ ได้มาพบกันทีหลังหลังจากที่อีกฝ่ายได้เลือกคู่ครองไปแล้วซึ่งแม้จะได้พบกัน ทีหลัง แต่เพราะเป็นคู่ลำดับต้น จิตใจของทั้งคู่ก็จะร้อนรนทนไม่ไหว จึงต้องรักกันอีกครั้งซึ่งความรักครั้งนี้ต้องหัก ต้องบังคับฝืนใจกันอย่างเต็มกำลัง
กล่าวกันว่าแม้พระภิกษุผู้ มั่นคงในศีล เมื่อได้เจอเนื้อคู่ลำดับต้น ๆ ยังทนไม่ได้ ต้องสึกหาลาเพศมาอยู่กับเนื้อคู่ของตนจนได้ เหตุที่เนื้อคู่ลำดับต้นมาเกิดในชาติภพเดียวกัน แต่กลับไม่สมกันนั้น มีเหตุเดียว คือ กรรมพลัดพรากได้มาส่งผลเป็นวิบากแก่ทั้งคู่อย่างร้ายแรง หากกรรมนั้นใกล้จะหมดผลเขาทั้งสองก็อาจได้เป็นคู่ครองกันในชาตินั้น แต่หากกรรมนั้นยังรุนแรงอยู่ทั้งสองก็ต้องทนทุกข์ทรมานชดใช้กรรมนั้นให้หมด แล้วจึงจะได้มีวาสนาอยู่ร่วมกันในชาติต่อ ๆ ไป


เหตุที่อกหักผิดหวังในความรัก
นอก จากการผิดหวังจากเนื้อคู่ลำดับต้น ๆ ซึ่งเกิดจากกรรมพลัดพรากแล้ว บางครั้งคนเราก็อาจต้องผิดหวังในความรัก โดยมีเหตุมาจากกรรมทั้งสิ้น คืออยู่กับคู่ครองไม่มีความสุข ทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นประจำหรือมีปัญหาให้ทุกข์ใจตลอด เหตุที่เป็นดังนี้ แสดงว่าคู่ครองนั้นไม่ใช่เนื้อคู่ลำดับที่ ๑-๕
เนื่องจากกรรม จากการเป็นคนไม่ดี ไม่มีศีลธรรมส่งผลให้ไม่ได้พบเนื้อคู่ลำดับต้น ๆ หรืออาจเป็นเพราะทั้งสองไม่ใช่เนื้อคู่กัน แต่ทั้งคู่เป็นศัตรูคู่อาฆาต ได้เคยผูกใจเจ็บกันมา ชาตินี้จึงต้องมาแก้แค้นกันเอง และแรงอาฆาตได้ผลักดันให้ทั้งสองมาอยู่ร่วมกัน และแก้แค้นกันเองตามแรงอาฆาตนั้น หรือบางคนรักเขาข้างเดียว อกหักบ่อยครั้ง โดยที่อีกฝ่ายไม่ได้สนใจด้วยเลย เหตุนี้เกิดขึ้นเนื่องจากอดีตชาติเคยอาฆาตเขาไว้ แต่เขาไม่ได้อาฆาตตอบและไม่ได้ถือโกรธด้วย ชาตินี้จึงต้องทนทุกข์ทรมานเพราะเขาอยู่เพียงฝ่ายเดียว อย่างนี้ไม่ได้เป็นเนื้อคู่ เป็นเพียงคู่กรรมเท่านั้น
ทำอย่างไรจึงจะได้อยู่ร่วมกัน
เมื่อ ความรักหวานชื่น คู่ครองทั้งหลายย่อมต้องอยากเกิดมาเป็นเนื้อคู่กันอีก ซึ่งผลกรรมก็ได้จัดสรรการเกิดมาเป็นคู่ครองกันอีกตามที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่นอกจากการรอให้กรรมเป็นตัวจัดสรรแล้ว เรายังสามารถเลือกที่จะได้พบและอยู่เป็นคู่ครองกับเนื้อคู่ของเราได้ในอนาคต
โดย การอธิษฐาน แต่แม้จะมีอธิษฐานร่วมกัน สุดท้ายการได้อยู่ร่วมกันก็ยังต้องขึ้นอยู่กับกฎแห่งกรรมอยู่ดี การอธิษฐานนั้นมีทั้งประโยชน์และโทษคือ ในด้านประโยชน์ ทำให้เนื้อคู่ทั้งสองมีโอกาสกลับมาเป็นคู่ครองกันในชาติต่อ ๆไป ได้ง่าย แต่ในแง่ของโทษ บางครั้งก็ทำให้การใช้ชีวิตไม่เป็นปกติสุข เช่น หากเนื้อคู่ที่อธิษฐานกันไว้ไม่ได้มาเกิด หรือมาเ กิดแล้วแต่ยังไม่ได้พบกัน ฝ่ายที่รออยู่จะไม่สามารถมีคู่ได้ จิตใจไม่รักใคร หรือแม้จะได้พบเนื้อคู่ลำดับต้น ๆ แต่ก็มีเหตุให้ไม่สมหวังทุกครั้งไป เนื่องจากแรงอธิษฐานนั้นฉุดรั้งไว้ หรือบางครั้งจิตใจมีสังหรณ์อยู่เสมอว่ารอคอยใครอยู่ ทั้งที่ไม่รู้ว่ารอคอยใคร
การแก้ปัญหาเรื่องอธิษฐาน
หาก แน่ใจว่าเนื้อคู่ที่อธิษฐานกันไว้คงไม่ได้พบเจอกันแน่แล้ว หรืออยากจะปล่อยวางเพื่อมีโอกาสได้ตัดสินใจกับเนื้อคู่ลำดับอื่น สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงอธิษฐานขออนุญาตเนื้อคู่ว่า ขอละคำอธิษฐานนั้น ขอให้ชีวิตได้พบเนื้อคู่ที่สมกัน และได้ใช้ชีวิตคู่อย่างปกติและมีความสุข
คู่บารมี
สุดท้ายคือเรื่องของคู่บารมี เป็นคู่สำคัญ เป็นคู่ที่ยาวนาน เพราะต้องร่วมกันสร้างบารมีขณะที่ฝ่ายหนึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ และ อีกฝ่ายหนึ่งเป็นเนื้อคู่ที่จะเคียงข้างกันไป การเป็นพระโพธิสัตว์นั้นต้องการกำลังใจที่เข้มแข็ง มั่นคง และเสียสละความสุขทั้งปวงเพื่อประโยชน์ของสัตว์โลก พระโพธิสัตว์นั้นต้องใช้เวลายาวนานมากในการสร้างบุญบารมีกว่าที่จะสามารถ ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ อย่างเร็วที่สุดก็ต้องใช้เวลาถึง ๒๐ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป และอย่างช้าก็เนิ่นนานจนถึง ๘๐ อสงไขยกับเศษแสนมหากัปเลยทีเดียว
คนที่ตั้งใจเป็นคู่บารมีจึง ต้องมีความเสียสละและเด็ดเดี่ยวไม่แพ้กันบุคคลผู้ปรารถนาเป็นคู่บารมีนั้น จะเป็นผู้ที่ได้ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมากที่สุดได้เป็นคู่ครองกันมากที่สุด และเป็นเนื้อคู่ลำดับ ๑ อย่างเที่ยงแท้ การเป็นคู่บารมีนั้นลำบากมากยิ่งนัก เพราะคนเป็นคู่บารมีนั้นจะต้องพบกับสิ่งต่อไปนี้ คือ ต้องเกิดเป็นผู้หญิง ไม่ได้เกิดเป็นผู้ชาย ต้องช่วยพระโพธิสัตว์ทำงานอย่างเต็มกำลัง ในบางชาติอาจต้องร่วมสร้างบารมีกับพระโพธิสัตว์ เช่น ต้องสละชีวิตร่วมกัน ต้องถูกบริจาคลูก หรือตัวเองเพื่อเสริมบารมีให้พระโพธิสัตว์ เป็นต้น ตราบใดที่พระโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า คู่บารมีนั้นก็ยังไม่มีโอกาสบรรลุโลกุตรธรรมได้




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons