วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ผญาสอนชายและหญิง

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วรรณกรรมเรื่องธรรมดาสอนโลก

เป็นวรรณกรรมคำสอนมีลักษณะคล้ายกับการสั่งให้รอบคอบในเรื่องทุกด้านของชีวิตทั้งที่สาเหตุของความเสื่อมและความเจริญระหว่างคู่สมรสและเป็นข้อเตือนว่าให้ประพฤติตามแบบอย่างนี้ไม่ควรปฏิบัตินอกรีตจากจารีตประเพณีอันดีงามถ้าไม่ทำอย่างนี้จะเป็นอัปมงคลหรือที่ชาวอีสานเรียกว่า “ขะลำ”แก่ผู้กระทำนั้นหรือเกิดความวิบัติ ในการเริ่มเรื่องนี้นั้นท่านได้กล่าวถึงพระจริยาวัตรอันดีงามของพระพุทธเจ้าผู้แวดล้อมด้วยพระอรหันต์ทั้งหลาย๒๘องค์ ในเรื่องธรรมดาสอนโลกนี้มี ๑๗ เรื่องใหญ่ๆแต่พอสรุปได้เป็น ๖ อย่างดังนี้คือ

เด็กชาย๑) พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้เห็นถึงโทษของการประพฤติผิดจารีตคลองธรรม ที่เรียกว่าธรรมดาสอนโลก โดยยกตัวอย่างของเศรษฐีผู้ตกยากมากล่าวเตือนประชาชนให้ตระหนักถึงความที่เศรษฐีผู้ประพฤติผิดศีลธรรม เหตุนั้นพระอรหันต์ ๒๘ องค์ก็สนทนากันในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

ดูราภิกขูเฮยจ่งฟัง เฮาเว้า

เศรษฐีนี้ผิดคลอธรรม สอนโลก จริงแล้ว

ท่านเผาผี บ่ชอบแท้ คองนั้น ก็จิ่งตาย นั้นดาย

มันก็ เอาผีย้าย เทิงขัว หามไต่ ไปนั้น

เผาจูดไหม้ ดีแล้ว จิงต่าวคืน

อันนี้ ขวางขนาดแท้เทศนาสอนสั่ง มานั้น

หากจัก ชำเขือกฮ้อน เมืองบ้าน บ่สบาย

ใผผู้ ใจหม่อตื้น ขืนล่วง คลองธรรม ดังนั้น

เงินคำ สังทาสา โคตรวงศ์ ก็หายเสี้ยง

บ่หลอแท้ ตัวตาย จมจุ่ม ไปแล้ว

พระเจ้า เทเทศน์ไขแจ้ง จื่อเอา แท้เนอ.

๒) คำสอนเรื่องการเลือกคู่สมรสได้บอกลักษณะหญิงดีหรือชั่ว ถ้าเลือกหญิงกาลกิณีจะเป็นผลร้ายแก่ตนเอง และสังคมญาติด้วยดังคำสอนดังนี้คือ

เด็กหญิงการเลือลูกสะใภ้

อันหนึ่งครั้นจักเอาหญิงให้เป็นนางใภ้ร่วมเฮือน

หญิงใดฮู้ฉลาดตั้งการสร้างก็จิ่งเอานั้นเนอ

อันหนึ่งรู้ฮีตเฒ่าสอนสั่งตามคอง

การเฮือนนางแต่งแปลงบ่มีคร้าน

หญิงนี้ควรเทาแท้เป็นนางใภ้ร่วมเฮือนแล้ว

เด็กชายการเลือกลูกเขย

ชายใดมีใจตั้งในบุญทุกเช้าค่ำ

กับทั้งใจฉลาดฮู้ความเฒ่าสั่งสอน

กับทั้งมีผญาแก้ปัญหาทุกสิ่ง

ความคึดดีสอดแส้วชู่อันแท้จิ่งให้เอา

๓) ข้อห้ามไม่พึงประพฤติซึ่งเป็นผลเพียงอัปมงคล(ขะลำ)เท่านั้นไม่ถึงกับเสียหายมาก ดังคำสอนดังนี้คือ

สาวขี้เล่นสอนพ่อบ้าน

อันหนึ่งเป็นพ่อเฮือนนั้นอย่าโกรธากริ้วโกรธ

อย่าได้ฟันเพม้างข้าวของเครื่องเฮือนนั่นดาย

ให้อิดูแท้ของเฮือนหมดทุกสิ่งจิ่งดีดาย

คันว่าใผหากฮ้ายกลายเสี้ยงซู่อันนั่นแล้ว

ฝูงหมู่ไทอยู่ใกล้เขาก็ย่อมยินซัง

บ่มีใผกูร์ณาท่อจ่มขวัญทั้งบ้าน

มันจักมีของล้นเหลือเยียหลายหมื่นก็ดี

ใผผู้ทำดังนั้นจีบหายเสี้ยงบ่ยัง แท้ดาย

เจ้าหญิงสอนแม่บ้าน

อันหนึ่งเป็นเมียให้ยำผัวทั้งฮักยิ่ง จริงดาย

บัวระบัติผัวชอบแท้คือพระยาเศรษฐี นั่นแล้ว

อันหนึ่งนอนให้นอนลุนให้ลุกก่อน

ให้หุงหาน้ำทั้งผ้าเช็ดมือนั่นแล้ว

อันหนึ่งเมื่อถึงวันศีลให้สมมาผัวทุกเมื่อดีดาย

แล้วให้ปัดกวาดแผ้วเฮือนเหย้าให้ฮุ่งเฮือง

เมื่อผัวกินข้าวอย่าให้ของกินเงื่อนตัวดาย

อย่าได้กล่าวคำฮ้ายตอบเถียงกันเน้อ

อย่าให้ผัวบัวระบัตยังตัวกลัวจักบาปแล้ว

เอาแต่เพื่อนคิดเห็นฮู้ช่างอ่อนนั้นเทิน

อันหนึ่งเทียวเฮือนให้ลีลาค่อยย่างนางเอย

อย่าได้ปากลื่นพ้นเฮือนเหย้านั่นดาย

ยามจักนอนอย่าได้ลืมทุกเช้าค่ำคำเฮย

ให้เอาผมเช็ดพื้นตีนแล้วจึงค่อยนอน นั่นเน้อฯ

บัวระบัติ -ปรนนิบัติ ยำ -ยำเกรง ลุน หลัง,ภายหลัง สมมา -ขอขมา

เงื่อน -ของเหลือเดน ลื่น ดื้อรั้น นอกคอก เฮือน -เรือน ย่าง -เดิน

เด็กชาย๔) สอนเรื่องการปลูกบ้านเรือนและวิธีเลือกไม้ที่เป็นมงคล-อัปมงคลและหาไม้ที่เป็นมงคลยิ่งมาทำเป็นเสาเอกและเสาขวัญ ดังนี้คือ

อันหนึ่งไม้เกิดตั้งจุมปวกเทิงจอมก็ดี ใผผู้เอามาแปงเฮือนก็บ่ดีจริงแท้

อันหนึ่งไม้จมดินผังอยู่ก็ดี ใผหากเอาสร้างเหย้าก็ขวงแท้เที่ยงจริงแล้ว

ไม้นอนขอนล้มบาท้าวอย่าได้เอาแท้ดาย ใผหากเอามาสร้างจิบหายขวงยิ่งจริงแล้ว

อันหนึ่งไม้อยู่น้ำก็ขวงแท้ดังเดียว มันจักเป็นลำงามก็อย่าเอามาสร้าง

ไม้ฟ้าผ่านั่นก็ขวงยิ่งแสนสนัดมากแล้ว อย่าได้เอามาเป็นเครื่องเฮือนกระทำสร้าง

อันหนึ่งไม้ตายยืนตั้งอยู่ก็ดี ก็หากขวงยิ่งล้ำคำไร้บ่เหือดคิงนั่นแล้ว

อันหนึ่งไม้ตายแล้วล้มอยู่เป็นขอน อย่าได้เอามาแปงสร้างกระทำเหย้า ฯลฯ

ความหมายคำศัพท์

จุมปอก -จอมปลวก เทิง -บน ขวง -เสนียดจัญไร,ความหายนะ แปง -สร้าง คำไร -ความยากไร คีง -ตัว ตน ร่างกาย ใผ -ใคร เหย้า -บ้าน,เรือน

เกาะที่มีต้นปาล์มไม้ที่เป็นมงคลดังนี้คือ

ลำใดตั้งเหนือดินเพียงราม บ่สูงบ่ต่ำบ่คล้อยไปแท้ฝ่ายใด

ใบมันบ่คงเคืองต้นอื่น ลำปลอดเกลี้ยงเกลากลมง่าซุ่ม

หลิ่งดูแท้คือโสมงามกางร่ม ก็บ่มีง่าคานตายค้างอยู่แกม

ให้มีมดส้มพร้อมดำแดงมาอยู่ลำนั้น มีทั้งนกพร่ำพร้อมมาอยู่นอนคอน

ลำนี้เป็นมุงคนประเสริฐดีเสาแก้ว ลำนี้ให้เอามาเป็นเสาเอก

ดีขนาดแท้เรือนแก้วเศรษฐี นั่นแล้ว ฯลฯ

ความหมายคำศัพท์

ราบ -พอดี ขนาดพอดี โสม -โฉม หญิงงาม มุงคุน -มงคล -

ง่า -กิ่งก้าน แกม -ประปน

ค้างคาวดูดเลือด๕) สอนในเรื่องข้อห้ามการเผ่าศพ คือศพที่ตายผิดปรกติถือว่าผีจะแร้งกว่าผีเรือนบ้างเมื่อเผ่าและกลัวว่าญาติพี่น้องจะถึงแก่กรรมบ้างจึงให้นำศพนั้นไปฝัง เป็นการป้องกันโรคระบาดมากกว่า ดังคำสอนดังนี้คือ

อันหนึ่งตายลงท้องตายออกตุ่มและบวม บ่ควรเอาไปเผ่าส่งสการะจริงแท้

อันหนึ่งตายดึกน้ำตายหูงตกเฮือนก็ดี บ่ควรเอาไปเผ่าซิเดือนฮ้อนขวงแท้

อันหนึ่งเป็นฟกเทาเต็มคิงตายไข่ บ่ควรเผาเที่ยงแท้นาเจ้าบ่ดี

ตายช้างฆ่าม้าดีดเสือขบก็ดี ตายวัวชนหมู่งูขบเขี้ยวตายตกไม้ก็ดี

ฝูงนี้ธรรมไขไว้บ่ควรเผาแท้ต่างดาย ตายนำมอกหอกแลแหลนหลาวก็ดี

ตายด้วยเซิกคาซีกซวนเหล็กก็ดี ตายด้วยโรคามีเลือดแดงไหลย้อย

ในธรรมห้ามบ่ควรเผาสักสิ่งพระยาเอย มันจักแพ้พ่อบ้านพงศ์เชื้อพ่อแม่นั่นดาย

ครั้นอิดูให้เผาไปที่อื่น อย่าได้รวมป่าช้าซิขวงขนาดแท้ ฯลฯ

ความหมายคำศัพท์

ส่งสการะ -พิธีปลงศพ ดึกน้ำ -จมน้ำ หูง -ตายโหง ตายไข -โรคท้องโต,บวม

ขบ -กัด เซิก คาซีก -เครื่องจองจำ อิดู -เอ็นดู,เมตตา คีง -ร่างกาย

เจ้าหญิง๖) สอนขุน เจ้าพระยาให้ยึดมั่นในครรลองแห่งธรรมะโดยยึดหลักพุทธปรัชญานั้นเองดังนี้คือ

ดูราร้อยเอ็ดตนพระยาใหญ่ฟังเน้อ เรานี้เป็นย่อนท้าวเทวดาคำซูซอย แท้ดาย

อันจักเป็นเหตุให้จิบหายจมจุ่ม แท้ดาย โลภคติสี่นี้เป็นเค้าแก่เฮา

ใผผู้โลภาพ้นผิเอาของท่าน โทโสทำโทษให้เสียแล้วจึงเอา

โมหาทำตัวร้ายผิเอาของท่านศรัทธา เห็นแก่ได้บ่มีฮู้บาปบุญ

เห็นแก่สินท่านจ้างเข้ามาสับส่อ มะนะทิฐิก็เข้าคำร้ายเกิดมี

ก็บ่ฟังคำผู้มีผญาต้านกล่าว มักลื่นได้ของแท้ก็บ่มี แท้แล้ว

เมตตากรุณาอย่าได้วางจักเมื่อ มุทิตาอุเบกขาจือไว้จำมั่นอย่าไล แท้ดาย

อันหนึ่งโกรธาร้ายอย่าได้ทำตามคำเคียด ให้พิจารณาถี่ถ้วนเสียแล้วจึงทำ

อันหนึ่งฟังหมู่ขุนเฒ่าพิจารณาคุณโทษก็ดี ให้เอาตามฮีตบ้านเมืองแท้แห่งโต นั่นเน้อ

ในโลกนี้มีฮีตห่อนเสมอกันแท้ดาย ฝูงใดเอาคองเพื่อนมาหลงเค้า

เป็นขุนให้จาความให้มั่นแน่ จริงเทิน อย่าเห็นแก่ใกล้ฝ่ายไส้โครตวงศ์แท้ดาย

โตหากเทียวทางไกลปักตูเรือนซิฮ้อน อย่าได้ปบแล่นปลิ้นคืนแท้อยู่หลังเพิ่นดาย

ครั้นว่าความให้ตัดไปด้วยซื่อ ทางงูอย่าให้เคียดทางเขียดอย่าให้ตาย

ก็จึงมิ่งมังคละเข้าขุนพิจารณ์โสภาพ จริงแล้ว 92ฯลฯ

ความหมายศัพท์

ย่อน เพราะ,เหตุว่า สับส่อ -ตลบตะแลง จุ่ม จม ปบ -รีบเร่ง ค้ำ ค้ำจุน

คนิง คำนึง คะนึง เค้า -ต้น ต้นเหตุ ต้าน -พูดจา เจรจา ไล -ลืม

ปักตู -ประตู โสภาพ สุภาพ ท่อน ไม่ จือ -จำ พู้น โน้น

โต ตัวเรา เคียด -โกรธ พี้ -นี้


92 ศ.ธวัช ปุณโณทก,วรรณกรรมภาคอีสาน,(กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง) ๒๕๓๗,หน้า ๒๓๔–๒๔๓

ผญาภาษิตสอนสาว

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

จริยธรรมของสตรีทั่วไปนั้นจะเน้นให้เห็นถึงความดีมากกว่าความงามของร่างกาย เพราะร่างกายมีการแก่ชราไปตามกาลเวลา แต่ความดีคงทนมากกว่าจะช่วยให้เจริญรุ่งเรืองได้และเน้นถึงความประพฤติและปฏิบัติตนให้มีคุณสมบัติของกุลสตรีที่ดีควรประพฤติอย่างไร ดังสุภาษิตสอนว่า

เป็นญิงนี้ธรรมเนียมให้มันคอง ตีนผมให้ลำเกี้ยงตีนซิ่นให้ลำเพียง58/ศู

(เป็นหญิงนี้จารีตให้มันงาม ผมต้องสะอาดเกลี้ยงเกล่า ชายผ้าถุงต้องเสมอกัน)

เป็นสาวนี่ธรรมเนียมคือแม่ไก่ เมี้ยนไข่ไว้ดีแล้วจั่งค่อยไป57/ศูน

(เป็นหญิงนี้ให้เหมือนแม่ไก่ เก็บไข่ไว้ให้ดีแล้วจึงค่อยไป)

เป็นญิงนี้ธรรมเนียมคือนกเจ้า ยามเมื่อบินขึ้นฟ้าขาวแจ้งจั่งค่อยเห็น

(เป็นหญิงนี้ให้เหมือนนกเจ่า เมื่อบินขึ้นฟ้าจึงเห็นเป็นสีขาว)

สุภาษิตสอนหญิงทั้งสามบทนี้ กวีได้นำเอาสัตว์ที่มีลักษณะต่างกันมาเปรียบเทียบให้เห็นว่าผู้หญิงควรกระทำตัวอย่างไร จึงจะเหมาะกับเพศภาวะของตน ชี้ให้เห็นว่าสุภาพสตรีทั้งหลายนั้น จะต้องอำใจใส่ในกริยามารยาทด้วยจึงจะสมกับเป็นสตรีที่งดงาม กล่าวคือมีน้ำใจงาม ร่างกายสะอาด แต่นั้นยังไม่พอกวีท่านยังพร่ำสอนต่อไปว่า ความกตัญญูย่อมอยู่เหนือความงามทั้งปวง ดังสุภาษิตว่า

คันว่านางหากมีผัวแล้วอย่าลืมคุณพ่อแม่ คุณเพิ่นมีมากล้นเพียรเลี้ยงให้ใหญ่มา

มารดาฮ้ายให้อดทนอย่าเคียดต่อ คุณพ่อฮ้ายให้นางน้องอย่าติง

(ถ้าเธอมีสามีแล้วอย่าลืมคุณพ่อแม่ พระคุณท่านมีมากมายที่เพียรเลี้ยงเราโตมา แม่ดุด่าให้อดทนอย่าโกรธตอบ พ่อดุด่า อย่าท้วงติง) การวังตนนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญอีกอย่างที่จะทำให้สตรีทั้งหลายมีสง่าราศรี ปราศจากราคีคราวทั้งปวง ซึ่งจะนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของพ่อแม่ ตลอดถึงบุคคลทั้งที่ได้พบเห็น คนโบราญอีสานมักจะอบรมสั่งสอนบุตรหลานของตนเองให้เข้าใจ จะห้ามไม่ให้ลูกสาวทำผิดศีลธรรม ดังสุภาษิตสอนว่า

ยามเมื่อเป็นสาวขึ้นฮักษาตนสงวนเพศนางเอย ให้นางปลอดอ้อยซ้อยเสมอแก้วหน่วยมณี

เพิ่นว่าเป็นสาวนี้คนดีม้นหายาก ไผผู้ปลอดอ้อยซ้อยมีหน่อยแม่นบ่หลายฯ 7/นางนุ่ม

คันว่าเป็นสาวแล้วครองสาวให้เหลียวเบิ่ง อย่าเป็นสาวฮีตบ้านแยงเข้าใส่แต่ทาง

อย่าได้เป็นสาวฮ้างสาวห่างบ่มีศรี สาวบ่มีราคาเพิ่นสินินทาท้วงฯ

ให้เป็นสาวครองบ้านกินทานเว้าม่วน ให้เป็นสาวเพิ่นย่องยอก้นย่างนำ

ให้เป็นสาวคนฮู้สัตย์เซื่อทรงศีล ให้เป็นสาวพญาอินทร์อ่านครองเมืองฟ้าฯ

เผิ่นผู้โลเลเล่นแนวเป็นญิงหัวใจหม่อ มันหากมีบ่แพ้เต็มด้าวทั่วแดน

อย่าได้พากันสร้างนำฮอยพวกบ่แม่น อย่าได้พากันซ้วนนำก้นพวกบ่ดีลูกเอยฯ 8/นางนุ่ม

อันว่าอิตถีเชื้อฝูงญิงน้อยหนุ่ม อย่าได้ไปนั่งใกล้ซายแท้บ่ห่อนดี

ซาติที่โจรมารฮ้ายใจหาญเห็นหม่อ ซาติที่เฮียวยอดไม้งวงซ้างหว่างสิเยี่ยวแท้แหล่ว

ซาติที่แหลวหลวงฮ้ายพานโตนโตถ่อย คันว่าเห็นไก่น้อยคอยเยี่ยมอยู่บ่เป็น

ซาติที่ไฟขางเผิ้งนานไปหากสิเสื่อม อย่าได้ปองอยู่ใกล้จ้ำจี้บ่ห่อนดี78/ศูน

เป็นญิงให้มีใจอ่อนน้อมคำเว้าอ่อนหวาน เทียมดั่งพธูเผิ้งหวานเลิงบ่ฮู้หล่า 79/ศูน

เป็นญิงอย่าได้ปากกล่าวต้านคำกล้าว่าชาย ให้ค่อยเอาใจตั้งคำโบฮาณสอนสั่ง

ให้มีใจอ่อนน้อมประสงค์ตั้งต่อผัวนั้นเนอ ให้คึดกลัวความฮ้ายใดดีให้คึดฮ่ำ

แม่นว่ามีโฉมฮ้ายฉันใดอย่าประมาท เป็นแต่ชาติก่อนพุ้นบุญสร้างแต่หลัง

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ผญาภาษิตสอนชาย

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ผญาภาษิตสอนชาย

คำสอนที่มักจะเน้นให้ผู้ชายได้รู้จักหน้าที่ และมีความรับผิดชอบต่อสังคมตนเองและครับครัว ซึ่งจะออกมาในรูปแบบสิ่งที่ควรทำ คือวิชาความรู้ การเลือกคู่ครองที่ดี การครองเรือนที่ดีงามควรมีหลักอย่างไรบ้าง สามีที่ดีควรมีคุณธรรมอย่างใด ตลอดถึงผู้เฒ่า ก็ควรกระทำตนอย่างไรบ้างจึงจะนำมาซึ่งความเคารพรักจากลูกหลาน นี้คือคำสอนที่มุ่งถึงจริยธรรมขั้นมูลฐานที่จะทำให้บุรุษได้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนให้มีความสุขได้ พอสรุปได้เป็นประเด็นดังต่อไปนี้ คือ

๑ ) ผู้ชายควรมีหน้าที่รับผิดชอบในครอบครัวทุกด้าน ผู้ชายควรแสวงหาวิชาความรู้ มีสติปัญญา ตลอดถึงเอาใจใส่ในกิจการบ้านเมือง และช่วยปกป้องประเทศชาติให้ปลอดภัยจากศัตรู ควรมีศีลสัตย์ยึดมั่นในทานศีล คำนึงถึงหลักอริยสัจสี่ ศีลห้า ศีลแปด และละเว้นการประพฤติชั่วต่างๆ เมื่อยังหนุ่มไม่ควรเพลิดเพลินกับการเล่น ควรหมั่นศึกษาวิชาการต่างๆ รีบสร้างฐานะ รู้จักประหยัดอดออมไว้ใช้ในยามแก่เฒ่า หรือยามเจ็บไข้ ไม่ควรหมกมุ่นในเรื่องชู้สาว ควรเป็นคนขยันทำงานทุกชนิด

๒) เป็นผู้ชายควรรู้จักงานด้านศีลปะด้านต่างๆ เพื่อนำมาประกอบอาชีพ วิชาที่ควรเรียนคือ ช่างเงิน ช่างทอง ช่างไม้ ช่างเหล็ก ช่างกลึง สานแห ตาข่าย กระบุง ตะกร้า ดนตรี หมอยา หมอเส้น ตลอดถึงศึกษาวิชาธรรมของพระพุทธเจ้า ฮีตบ้านครองเมือง เป็นผู้ชายควรบวชเรียนในพระพุทธศาสนา มีความรักเมตตาต่อผู้อื่นและดูแลเลี้ยงดูบุตรตามจารีตประเพณี รักบุตรให้เท่ากันทุกคนไม่ควรมีอคติต่อกัน และควรกตัญญูต่อบิดามารยกย่องท่านไว้เหนือหัว

     กุหลาบแดงให้พากันเข้า โรงเรียนเขียนอ่าน หลานเอย      อย่าได้คึดขี้คร้าน ความฮู้ให้หมั่นหาฯ

(ให้พากันเข้าโรงเรียนเขียนอ่าน หลานเอ๋ย อย่าได้คิดเกียจคร้าน ความรู้ให้ขยันหา) สอนให้ลูกหลานขยันหมั่นเพียรในการศึกษา ในวัยหนุ่มก็ใจหมั่นหาวิชาความรู้เก็บเอาไว้เมื่อถึงคราวจำเป็นมาวิชาความที่ได้ศึกษามาจะทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ดังสุภาษิตว่า

เกาะที่มีต้นปาล์มให้พากันศึกษาฮู้ วิชาการกิจชอบ      ฮีบประกอบไว้ ไปหน้าสิฮุ่งเฮืองฯ

(ให้พากันศึกษารู้วิชาการทุกอย่าง รีบประกอบไว้ไปข้างหน้าจะรุ่งเรือง) คนจะสามารถยกระดับจากคนจนมาเป็นคนรวยได้ก็ด้วยวิชาการ เพราะวิชาสามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมนุษย์ได้ จากคนยากจนก็มีเกียรติศักดิ์ศรีได้เพราะวิชา หรือเป็นเจ้าคนนายคนเพราะการศึกษาเล่าเรียนมามาก ถ้าหากว่าบุญวาสนาช่วยอาจจะได้เป็นใหญ่โตถึงขั้นนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี และกาลข้างหน้าแสวงหาทรัพย์สินได้มากมาย ดังสุภาษิตนี้คือ

กุหลาบแดงยามเมื่อเจ้าหนุ่มน้อย ให้ฮีบฮ่ำเฮียนคุณ     ยามเมื่อบุญเฮามี สิใหญ่สูงเพียงฟ้า

ไปภายหน้า สิหาเงินได้ง่าย                    ใผผู้ความฮู้ตื้น เงินล้านบ่แกว่นถงฯ

(ยามเมื่อเจ้ายังหนุ่มเยาวัย ให้รีบศึกษาให้ชำนาญ ยามเมื่อบุญเรามี จะได้เป็นเจ้านายคนไปข้างหน้า จะหาเงินได้ง่าย ใครผู้มีความรู้น้อย เงินล้านก็ไม่มี) ความรู้ที่ศึกษามากยิ่งดี เมื่อกาลข้างหน้าจะไม่ลำบาก มีอะไรก็ไม่เท่ามีวิชาติดตัว ดังสุภาษิตว่า

กุหลาบแดงใผผู้มีความฮู้ เฮียนเห็นมามาก    บ่ห่อนทุกข์ยากเยิ้น ภายท้ายเมื่อลุนฯ

(ใครผู้มีความรู้ ศึกษามามาก ไม่ค่อยลำบากในอนาคตข้างหน้า) คนเราจะได้ดีหรือไม่ดีอยู่ที่ว่ามีการศึกษามากหรือไม่ ดังนั้น จริยธรรมของย่าจึงต้องสั่งสอนให้ลูกหลานชาวอีสานได้ตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาให้มาก ดังสุภาษิตนี้ว่า

เกาะที่มีต้นปาล์มให้เจ้าเอาความฮู้หากินทางชอบ ความฮู้มีอยู่แล้วชิกินได้ชั่วชีวังฯ(ปรี/ภาษิตโบ/52

เกาะที่มีต้นปาล์มสิได้เป็นขุนขึ้น ครองเมืองตุ้มไพร่     สิได้เป็นใหญ่ชั้น แนวเชื้อชาตินาย แท้ดายฯ

(ให้เจ้าเอาความรู้หากินทางสุจริต ความรู้มีอยู่แล้วจะหากินไต้ตลอดชีวิต จะได้เป็นขุนขึ้นปกครองเมืองรักษาไพร่ จะได้เป็นใหญ่เพราะวิชาความรู้) ความรู้ให้ทั้งเกียรติยศชื่อเสียงและเงินทองอย่างมากมาย ดังสุภาษิตนี้คือ

เกาะที่มีต้นปาล์มอันว่าเงินคำแก้ว ไหลมาเอ้าอั่ง    มีแต่มูลมั่งได้ สินสร้อยมั่งมี

(อันว่าเงินทองจะหลั่งไหลมามากมาย เหมือนร่ำรวยมาแต่เดิมทรัพย์สินมากมายเพราะวิชาการที่ได้ศึกษามา) สุดท้ายย่าก็ต้องสรุปว่า การงานทุกอย่างอย่ามัวแต่ขี้เกียจ ให้รู้จักตื่นนอนแต่เช้าให้เร่งรีบทำกิจการทั้งปวงให้สำเร็จ อย่าคอยแต่จะพึ่งพาอาศัยคนอื่น ดังสุภาษิตนี้ คือ

เด็กหญิงอย่าสิได้ขี้คร้าน มัวแต่นอนหลับ       ความกินสิเพพังเสีย เวทนามีมั้ว

อย่าได้มัวเมาอ้าง เอาเขามาเพิ่ง หลานเอย      ให้เจ้าคึดต่อตั้ง ความฮู้แห่งเฮา ฯ

(อย่าได้เกียจคร้าน หลงแต่นอนหลับ การทำมาหากินจะลำบาก ความทุกข์จะประดังเข้ามา อย่าได้หลงอ้างแต่ผู้อื่น เอาเขามาพึ่งอาศัย หลายเอย ให้เจ้าคิดพึ่งปัญญาของตนเองจะดีกว่า) และสั่งสอนให้รู้จักพึงพาตนเอง อย่าได้คอยแต่จะให้คนอื่นเขามาช่วยเหลือนั้นไม่ดี ดังสุภาษิตนี้คือ

เจ้าหญิงอย่าสิหวังสุขย้อน บุญคุณคนอื่น หลานเอย

สุขกะสุขเพิ่นพุ้น บ่มากุ้มฮอดเฮา ดอกนาฯ

(อย่าได้หวังความสุขจากคนอื่น หลายเอย สุขก็สุขของเขาไม่มาถึงเราหรอก) สอนให้ลูกหลานช่วยเหลือตนเองให้ได้ก่อน ถึงว่าสภาพบ้านเมืองของอีสานจะแห้งแล้งก็อย่าได้แล้งน้ำใจ ให้หมั่นทำบุญเอาไว้ และย่ายังสอนให้รู้จักฟังเทศน์ฟังธรรม เพื่อขัดเกลาจิตใจให้ดีอีกทางหนึ่งดังสุภาษิตนี้ว่า

เกาะที่มีต้นปาล์มบัดนี้ย่าสิพาพวกเจ้า ตกแต่งกองบุญ

มื้อนี้เป็นวันศีล เวียกเฮาเซาไว้

ย่าสิพาไปไหว้ ยาครูสังฆราชเจ้า

ไปตักบาตรแลหยาดน้ำ ฟังเจ้าเทศนาฯ

(บัดนี้ย่าจะพาพวกเจ้า ตกแต่งกองบุญ วันนี้เป็นพระงานทุกอย่างหยุดไว้ก่อน ย่าจะพาไปไหว้อาจารย์พระครูและสังฆราชเจ้า ไปตักบาตรและกรวดน้ำอุทิศ และฟังเทศนาธรรม) ย่ายังสอนให้รู้ลูกหลานรู้ว่าความดีหรือบุญนั้นมีหลายอย่าง คือบุญเกิดจากการให้วัตถุเป็นทานก็มี เรียกว่า ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน และศีลมัย บุญนั้นสำเร็จจากการรักษาศีล ตลอดถึงบุญที่สำเร็จจากการเจริญภาวนา เรียกว่าภาวนัยมัย เพื่อทำทางให้ถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน ดังสุภาษิตนี้ว่า

ไปฮักษาศีลสร้าง ภาวนานำเพิ่น

ให้พวกเจ้าพี่น้อง จำไว้ย่าสิสอน

เพิ่นว่าวันศีลนั้น ให้ทำบุญตักบาตร

คันผู้ใดอยากขึ้น เมืองฟ้าให้หมั่นทานฯ

(ไปรักษาศีลสร้าง ภาวนาเหมือนคนอื่น ให้พวกเจ้าพี่น้อง จำไว้ย่าจะสอน ท่านว่าวันศีลนั้นให้ทำบุญตักบาตร ถ้าหากใครอยากขึ้นสวรรค์ให้หมั่นทำทาน)

ให้หมั่นทำขัวข้วม ยมนาให้ม้มฝั่ง

หวังนิพพานไจ้ไจ้ ปานนั้นจิ่งเผื่อพอฯ

(ให้ขยันทำทานเปรียบเหมือนทำสะพานข้ามฝั่ง หวังจะถึงฝั่งพระนิพพาน)

ให้เจ้าคึดต่อไว้ ฮีตฮ่อมทางเทียว

ทางไปนีระพาน ยืดยาวยังกว้าง

อันว่าหนทางเข้า นีระพานพ้นโศก

มีแต่บุญอ้อยต้อย หลานน้อยให้ค่อยทำฯ หน้า 6

(ให้เจ้าคิดต่อไว้ถึงทางเดินไปพระนิพพาน มันยืดยาวนักอันว่าทางจะไปพระนิพพานนั้นมีแต่บุญเท่านั้น ให้พวกหลานขยันทำบ่อยๆ) และสั่งสอนลูกหลานให้รู้จักบุญคุณของพ่อแม่และย่าตลอดถึงคุณพระรัตนตรัย ก่อนจะหลับนอนให้ลูกหลานเก็บดอกไม้มาแต่งเป็นขัน ๕ เพื่อกราบไหว้ก่อนนอน ดังสุภาษิตว่า

คันธชาติเชื้อ ดวงดอกบุปผา

มาบูชา พระยอดคุณจอมเจ้า

บูชาเถ้า อัยยิกาจอมย่า

บูชาคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมพร้อมพร่ำสงฆ์ฯ

ยามเนานอนนั้น คะนิงคุณพ่อแม่

คุณอี่นายย่าเถ้า คุณเจ้าแต่ประถม

คุณพระโคดมเจ้า องค์พุทธโธดวงยอด

เทียนธูปไต้ บูชาแล้วจิ่งนอน ฯ /8

อันนี้ก็เพื่อกุศลเจ้า อัยยิกาเถ้าย่า

หากได้สอนสั่งให้ ความฮู้แก่หลานฯ

(เทียนธูปจุดตกแต่งตามเรามี พร้อมทั้งยกมือไหว้อย่าได้ลืม ก่อนจะหลับนอนนั้นให้คำนึงถึงคุณพ่อแม่ คุณย่าเฒ่าสามอย่างนี้มีมาก่อนสิ่งใด และคุณพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสนดาเอกของโลก จุดเทียนธูปบูชาแล้วจึงค่อนนอน อันนี้เป็นทางแห่งความดีของลูกหลาน ย่าสอนให้ความรู้แก่หลานๆ) ย่าเป็นเสมือนหนึ่งผู้ส่องแสงสว่างให้ลูกหลานได้ปฏิบัติตาม ทั้งสอนให้ขยันในการศึกษา ให้รักษาศีล และทำบุญ และสอนให้รู้ว่าบุญนั้นส่งผลให้ในรูปแบบใดหรืออานิสงส์ของบุญมีลักษณะให้ผลอย่างไร ความกตัญญูต่อพ่อแม่มีอานิสงส์อย่างไร ดังสุภาษิตย่าสอนหลานดังนี้คือ

สาวขี้เล่น๓) เป็นชายควรเลือกเนื้อคู่ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นภรรยา กล่าวคือหญิงที่ทำอาหารอร่อย มีความชื่อสัตย์ต่อสามี หญิงที่มีลักษณะเป็นคนมีบุญวาสนา เจรจาอ่อนหวาน หญิงที่มีลักษณะว่ามีบุตรมากและเลี้ยงลูกดี หญิงที่เก่งการเรือน คำสอนเรื่องการเลือกคู่สมรสได้บอกลักษณะหญิงดีหรือชั่ว ถ้าเลือกหญิงกาลกิณีจะเป็นผลร้ายแก่ตนเอง และสังคมญาติด้วยดังคำสอนดังนี้คือ

อันหนึ่งครั้นจักเอาหญิงให้เป็นนางใภ้ร่วมเฮือน

หญิงใดฮู้ฉลาดตั้งการสร้างก็จิ่งเอานั้นเนอ

อันหนึ่งรู้ฮีตเฒ่าสอนสั่งตามคอง

การเฮือนนางแต่งแปลงบ่มีคร้าน

หญิงนี้ควรเทาแท้เป็นนางใภ้ร่วมเฮือนแล้ว

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

เด็กชาย๔) เป็นชายนั้นไม่ควรเป็นคนดื้อ มือไวใจบาป ชอบเล่นการพนัน และคบชู้กับเมียเพื่อนให้เป็นคนรู้จักกลัวบาปกรรม ไม่ควรประพฤติชั่วด้วยการวาจาและใจ ไม่โกง ไม่ลักลักขโมยของคนอื่นและ เมื่อได้เป็นใหญ่เป็นโตแล้วไม่ควรดูหมิ่นพวกไพร่ เพราะถ้าเขาเหล่านั้นไม่สนับสนุนบ้านเมืองก็เจริญไม่ได้ ทุกคนควรพึงพาอาศัยกันและกัน ให้มีความสามัคคีต่อกัน ศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นแก่นสารในการดำรงชีวิต

สตรีในฐานะมารดา เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในครอบครัว นั่นคือ การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนบุตรธิดา รวมทั้งการให้ความรัก ความอบอุ่นแก่บุตรธิดา สุภาษิตได้ชี้ให้เห็นว่าหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่หน้าที่ของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่เป็นหน้าที่ของบิดามารดาต้องช่วยกัน ดังสุภาษิตกล่าวไว้ว่า

พ่อแม่บ่สอนลูกเต้า ผีเป้าจกกิตตับกันไต

(พ่อแม่ไม่สั่งสอนลูก ผีกระสือล้วงกินตับไต)

แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากมารดาเป็นผู้อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนมากกว่า ดังนั้นมารดาจึงมีบทบาทหน้าที่ให้การเลี้ยงดูบุตรเหมือนแม่ไก่ โดยธรรมชาติของแม่ไก่เมื่อหาอาหารมาได้มันจะเรียกลูกๆของมันมากินอาหาร และเมื่อยามมีภัยหรือยามที่มีอากาศหนาวเย็นมันก็จะให้ความอบอุ่นและคุ้มครองลูกๆของมันเป็นอย่างดี ดังที่สุภาษิตกล่าวไว้ว่า

ขอให้เลี้ยงลูกธรรมเนียมดั่งแม่ไก่ ใหญ่เมื่อหน้ายังสิได้เพิ่งพิง

(ขอให้เลี้ยงลูกเหมือนแม่ไก่ เมื่อลูกเติบโตขึ้นก็จะได้พึ่งพิง)

เป็นญิงนี้ธรรมเนียมดอมไก่ โตหักฟักโตหักได้ดอมเลี้ยงใหญ่สูง

(เป็นหญิงนี้ให้เหมือนแก่ ฟักไข่และเลี้ยงลูกจนเติบใหญ่)

นอกจากนี้ มารดาต้องประพฤติตนให้อยู่ในกรอบของความดีงามทางจริธรรมแก่บุตรธิดาของตนเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุตร ซึ่งความประพฤติของมารดามีอิทธพลต่อการมีคู่ครองของบุตรด้วย การที่บุตรจะเป็นคนดีในสายตาของสังคมหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการอบรมสั่งสอนของมารดา ถ้ามารดาสอนแต่สิ่งที่งามให้แก่บุตร ย่อมเป็นเครื่องแสดงว่าเป็นคนดีด้วย ดังสุภาษิตกล่าวไว้ว่า

เบิ่งช้างให้เบิ่งหาง เบิ่งนางให้เบิ่งแม่ เบิ่งแท้ๆให้เบิ่งฮอดปู่ย่าตายาย

(ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ดูแน่ๆให้ดูถึงปู่ย่าตายาย)

กล่าวได้ว่า มารดาโดยทั่วไปมีจริธรรมตามที่ควรจะเป็นต่อบุตรธิดาของตนเอง ตลอดถึงผู้ที่เป็นบิดาก็มีหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนบุตรธิดาของตนเหมือนกัน แต่หน้าที่หลักก็ย่อมตกอยู่ที่แม่ซึ่งเป็นฝ่ายที่รับภาระหนักมากกว่าพ่อ

พงศ์พันธุ์เซื้อตายายพ่อแม่ ควรที่นบนอบไหว้ยอไว้ที่สูง65/ศูนย์

ผลาบุญตามค้ำแนมนำยู้ส่ง ปรารถนาอันใดคงสิลุลาภได้โดยด้ามดั่งประสงค์

คันอยากได้คู่ซ้อนมีหมู่ปรึกษา ให้ปรึกษาขุนหมู่พงศ์พันธุ์เซื้อ

ให้ปรึกษาเฒ่าขุนกวนพ่อแม่ คันพ่อแม่บ่พร้อมเซาถ้อนอย่าเอา66/ศุน

พ่อแม่พร้อมมิตรหมู่มวลสหาย ครูอาจารย์ทั้งหลายผู้มีคุณล้น

ควรที่เฮาพากันได้หาทางสนองตอบ อย่าได้ทำถ่อยฮ้ายปองขี้ใส่คุณ 69/ศูน

บิดามารดาซ้ำถือศีลบ่ได้ขาด บ่ให้ผิดพลาดพลั้งพอดี้เม็ดงา

คันบ่มีสิ่งนี้เข้าฮ่วมถนอมกัน บ่มีวันลูกเฮาสิใหญ่โตปานนี้ 70/ศูน

อิทธิพลต่อหลักการให้รู้จักทำบุญ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

เป็นคำสอนที่ปรารถนาให้ชุมชนในท้องถิ่นมีความรักสามัคคีกัน ต้องการให้คนมีความรักต่อเพื่อนบ้าน ไม่คิดโกรธเคืองพี่น้องร่วมสังคมเดียวกัน ทุกคนควรคำนึงถึงความมั่นคง ไม่ควรทำตนเองให้แก่ชุมชน คำพูดกับความคิดควรตรงกัน ไม่ควรกล่าววาจาเพ้อเจ้อ ให้รู้จักระงับความโทสะ และพิจารณาสิ่งต่างๆตามความเป็นสิ่ง มากกว่าเชื่อโดยหลงงมงาย และเคารพต่อผู้อาวุโสในบ้านเรือน ให้มีความกตัญญูต่อท่าน ทุกคนควรแสวงหาวิชาความรู้และไม่ควรลืมบุญคุณของครูอาจารย์ ให้มีความอดทนขยันหมั่นเพียรในการศึกษาทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม

ทุกคนควรยึดมั่นอยู่ในศีลธรรม หมั่นทำทานรักษาศีล ทำใจของตนให้บริสุทธิ์ รู้จักบาปบุญคุณโทษ ควรเคารพในพระรัตนตรัย สอนให้ทุกคนควรเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แบ่งปันแก่ผู้อื่นตามสมควร ซึ่งเรียกว่ารู้จักกินทาน ควรเลือกคบแต่คนดี รู้จักปรับตัวเข้ากับคนอื่น รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เป็นคนโอ้อวดตนเองว่าเก่งกว่าคนอื่น ไม่ประมาทให้รู้จักระมัดระวังตนเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรมีอคติต่อทุกคน ให้มีความซื้อสัตย์ รู้จักบริจาคทรัพย์ ละความโกรธและมีขันติธรรมมีใจหนักแน่น ห้ามไม่ให้ฆ่าสัตว์ ห้ามไม่ให้ทำลายพระพุทธรูป ศาสนสถาน ทำร้ายพ่อแม่ญาติพี่น้องตน ภิกษุสามเณร ครูอาจารย์ตลอดจนพระราชา และราชวงศ์ จะได้รับบาปกรรมหนักยิ่ง

คนเฒ่าคนแก่ควรจะเข้าวัดฟังธรรม ตลอดถึงปฏิบัติตามจารีตประเพณีของตนเอง ควรละความโกรธ ใส่ใจในการศึกษาธรรมพร้อมทั้งปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ควรคิดถึงวัตถุภายนอกมากจนเกินไป ควรแสวงหาอริยทรัพย์ภายใน เมื่อถึงเวลาแก่ชรามาแล้วควรแสวงหาบุญกุศล คือบุญในตอนเช้า ให้ตักบาตรจังหันใน บุญในตอนกลางวันให้ถวายอาหารเพล บุญตอนค่ำให้เข้าวัดฟังพระธรรมเทศนา บุญตอนมือค่ำให้แต่งขันดอกไม้ ตอนดึกให้สวดมนต์ภาวนา

สอนให้รู้จักทำบุญ

พงศ์พันธุ์เชื้อตายายพ่อแม่ ควรที่นบน้อบไหว้ยอไว้ที่สูง

ผลาบุญมาค้ำแนมนำยู้ส่ง ปรารถนาอันคงชิลุลาภได้โดยด้ามดั่งประสงค์

(พงศ์พันธุ์เชื้อพ่อแม่ควรที่จะกราบไหว้ยกไว้ที่สูง ผลาอานิสงส์มาส่งให้ ปรารถนาสิ่งใดก็ได้สมดั่งความประสงค์) บุญก็ย่อมจะส่งผลให้ทุกอย่าง คือ สวย รวย เก่ง ล้วนแต่เกิดจากคนมีบุญทั้งสิ้น ดังนั้นคำสุภาษิตจึงสะท้อนภาพรวมให้เห็นว่าคนมีบุญนั้นจะสบายในลักษณะอย่างไรดังสุภาษิตนี้คือ

บุญมีได้ เป็นนายใช้เพิ่น

คันแม่นบุญบ่ให้ เขาสิใช้ตั้งแต่เฮาฯ

(บุญมีได้เป็นนายใช้คนอื่น ถ้าใช่บุญไม่ส่งให้เขาจะใช้แต่เรา) หมายถึงความดีที่เราทำด้วยกาย วาจา และใจ ถ้าพร้อมพลั่งแล้วจะเป็นอำนาจบารมีให้คนอื่นช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ชีวิตเรามีความสุข จะทำพูดคิดสิ่งใดก็มีคนมาค่อยให้ความช่วยเหลือ เรียกว่าคนที่เคยทำบุญมาร่วมกัน เช่น เพื่อน ญาติ แม้ทั้งคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติก็ช่วยเหลือถ้าบุญบารมีเรามีแล้ว เช่น พระสงฆ์ พระมหากษัตริย์ ราชการชั้นผู้ใหญ่จะไปทางใดก็มีข้าทาสบริวารคอยรับใช้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เองที่อานิสงส์บุญจะแผ่รัศมีออกมาในรูปแบบของความดีหลายๆทาง ดังนั้นการทำความดีจึงให้ลงมีทำด้วยตัวเอง อย่ารอคอยโชควาสนาคนอื่นมาส่งเสริมให้เราดังสุภาษิตว่า

คอยแต่บุญมาค้ำ บ่ทำการมันบ่แม่น

คอยแต่บุญส่งให้ มันสิได้ฮ่อมใดฯ

(คอยแต่บุญมาช่วย ไม่ทำบุญมันก็ไม่ถูก คอยแต่บุญส่งให้มันจะได้อย่างไร) การกระทำอะไรทุกอย่างต้องทำด้วยตัวเอง บุญก็ดี บาปก็ดีย่อมเป็นของคนนั้นเองดังสุภาษิตว่า

คือจั่งเฮามีเข้า บ่เอากินมันบ่อิ่ม

มีลาบคันบ่เอาข้าวคุ้ย ทางท้องก็บ่เต็มฯ

(คือกับเรามีข้าวแต่ไม่เอากินมันก็ไม่อิ่มท้อง เหมือนมีลาบถ้าไม่ตักข้าวเข้าปากท้องก็ไม่เต็ม) การทำบุญให้กระทำด้วยตัวเองเพราะบุญและบาปนั้นจะส่งผลให้ใช้ชีวิตดีหรือชั่วเพราะอำนาจของบุญหรือบาปนี้เอง ดังสุภาษิตว่า

อันว่านานาเชื้อ คนเฮาแฮมโลก หลานเอย

บุญบาปตกแต่งตั้ง มาให้ต่างกัน

ใผผ้ทำการฮ้าย ปาปังทางโทษ

มีแต่สาโหดฮ้าย สิมาไหม้เมื่อล่นฯ

(อันว่านานาเชื้อคนเราอยู่ทั่วโลกหลานเอย บุญบาปเป็นปัจจัยปรุงแต่งมาให้ต่างกัน ใครผู้ทำบาปชั่วร้าย เป็นบาปมีโทษมีแต่ทุกข์จะมาไหม้เมื่อหลัง) สะท้อนให้เห็นว่าบาปหรือบุญเป็นสิ่งที่ติดตามมนุษย์ไปทุกภพทุกชาติ เป็นกรรมติดตัวไปตลอดจนเข้าสู่ความดับทุกข์ได้ และบาปกรรมเป็นผู้กีดกั้นหรือทำให้มนุษย์ประสบกับการพลัดพรากจากกัน หรือได้มาพบกัน ดังสุภาษิตนี้

อันว่ากุญชรช้าง พลายสารเกิดอยู่ป่า

ยังได้มาอยู่บ้าน เมืองกว้างกล่อมขุนฯ

(อันว่าช้างเผือกเกิดอยู่ในป่า ยังได้มาอยู่บ้านเมืองร่วมกับพระยา) หมายถึงบุญบารมีส่งให้สิ่งที่อยู่ไกล้อย่างไรเมื่ออำนาจบุญส่งมาถึงแล้วย่อมพบกันเปรียบเหมือนช้างสารตัวงามที่เกิดในป่าย่อมเป็นเพราะบารมีของพระมหากษัตริย์จึงทำให้ได้พบช้างคู่บ้านคู่เมือง แต่ถ้ากรรมเวรมาถึงแล้วก็ไม่มีสิ่งใดมาบังคับไม่กรรมส่งผลให้ ดังสุภาษิตนี้ว่า

ตั้งแต่พระเวสเจ้า กับนวลนาถนางมัทรี

ยังได้หนีพารา จากนครยาวเยิ้น

ไปอยู่ดงแดนด้าว ไพรสนฑ์แถวเถื่อน

มีแต่ทุกยากเยื้อน บ่เคยพ้อพบเห็นฯ

คันแม่นเป็นจั่งซี้ เฮาสิว่าฉันใด

สิว่ากรรมมาตัด หรือว่าเวรมาต้อง

ใผผู้ทำดีไว้ ความดีกระดึงจ่อง

ใผผู้สร้างบาปไว้ กรรมสิใช้เมื่อลุนฯ

(ตั้งแต่พระเวสสันดรกับพระนางมัทรียังได้หนีจากนครไปอาศัยอยู่ราวป่าแดนเถือน มีความทุกข์ลำบากมาเยื้อนไม่เคยพบเห็น คือว่ากรรมมาตัดรอนหรือว่ากรรมเวรมาส่งผลให้เป็นไปอย่างนั้น ใครผู้ทำความดีไว้ ความดีก็ตามสนอง ใครผู้ทำบาปไว้กรรมนั้นก็ตามสนอง

สอนไม่ให้หลงลืมตน

การเปรียบเทียบไม่ให้ลูกหลานลืมความหลังหรือลืมวงศ์ตระกูลของตนเอง หรือหลงลืมชาติตระสกุลตัวเอง ดังสุภาษิตว่า

คันได้กินกะปิแล้ว อย่าลืมคุณปลาแดก

ลางเทื่อเฮาแตกบ้าน ยังสิได้ใส่กินฯ

(คันได้กินกะปิแล้วอย่าลืมว่าเราเคยกินปลารา ถ้าบ้านเมืองแตกยังจะได้ทำกิน) สอนให้สำนึกในบุญคุณของเก่าที่ตัวเองเคยกินเคยใช้มาก่อน ถ้าไปเห็นสิ่งใหม่ที่อื่นคนเราก็ไม่อยากกลับมามีชีวิตอย่างเดิม เรียกหลงชาติเชื้อของตัวเองก็ได้ เหมือนสังคมทุกวันนี้แต่ก่อนเคยทำไรไถนาแต่พอพัฒนาเศรษฐกิจมาเป็นอุตสาหกรรม คนก็มาทำงานในโรงงานกันหมด ลืมว่าอาชีพเก่าตัวเองเป็นชาวไรชาวนา แต่เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำก็ทำให้โรงงานนั้นเปิดตัวลงด้วยพิษเศรษฐกิจ คนงานก็กลับบ้านเดิม แต่ทำไรไถนาไม่เป็นเหมือนเดิมแล้ว ลูกหลานชาวอีสานติดอยู่กับความสุข ติดอยู่ในแสงสีเสียงในกรุงเทพอาหารที่เคยกินตามมีตามเกิดก็กินอย่างเดิมไม่ได้เสียวแล้ว ดังสุภาษิตว่า

คนบูฮาณพุ้น เขากินข้าวก่อง

หลานได้กินข้าวเจ้า อย่าลืมปั้นข้าวเหนียวฯ

(คนโบราณแต่ก่อนนั้นเขากินข้าวในก่อง(ก่องข้าวเหนียว) หลานได้กินข้าวจ้าว อย่าลืมว่าเคยปั้นข้าวเหนียวกิน) การมีประสบการณ์เมื่อได้ไปเที่ยวถิ่นอื่นนั้นก็ดีอยู่ แต่อย่าลืมท้องถิ่นบ้านเดิมที่ตัวเองเคยอยู่มา ดังสุภาษิตว่า

คันได้เทียวไปใต้ เมืองไกลประเทศอื่น

เจ้าอย่าลืมด่านด้าว เมืองบ้านเก่าเฮาฯ

วันหนึ่งเจ้าไปพบพ้อ น้ำพริกเมืองไทย

อย่าได้ไลลืมปะ แจ่วบองทางบ้านฯ

(ถ้าได้เที่ยวไปกรุงเทพ เจ้าอย่าลืมบ้านเกิดของเรา วันหนึ่งเจ้าได้พบเจอน้ำพริกเมืองไทยอย่าลืมทิ้งปลาราสับทางบ้าน(คืออาหารที่ทำจากปลาราโดยน้ำปลาราและพริกมาสับและตำเข้าด้วยกันเรียกว่า แจ่วบอง) ย่าได้รับบทบาทหน้าที่สั่งสอนบุตรธิดามาแต่โบราณ จึงมองเห็นว่าถ้าลูกหลานไม่ถูกก็เป็นหน้าที่ของย่าจะอบรมสั่งสอน เพื่อไม่ให้ลูกหลานเดินออกนอกลู่นอกทาง ลืมอย่างอื่นนั้นยังไม่เกิดโทษอะไรมากมายแต่ถ้ามนุษย์เราหลงลืมตัวเองแล้วโทษมันก็จะตามมามากมายอย่างสุภาษิตนี้ว่า

คันเจ้าได้เป็นเจ้า อย่าลืมหมู่หมู่หมา

ห่าขโมยมาลัก สิเห่าหอนให้มันย้าน

ลางเทื่อกวางฟานเต้น ตามดงสิได้ไล่

บาดห่าได้ต่อนชิ้น ยังสิโอ้อ่าวคุณ ดอกนาฯ 14

(ถ้าหากเจ้าได้เป็นเจ้าคน อย่าลืมหมู่หมูหมา ถ้าหากมีขโมยมาจะเห่าให้เกรงกลัว เมื่อมีกวางฟานเดินผ่านมาตามป่าดงจะได้ไล่กัด เมื่อได้ก้อนเนื้อยังจะได้คิดถึงคุณของสุนัข) หมายความว่า ถ้าบุตรหลานตนเองได้เป็นเจ้าคนนายคน อย่าลืมญาติพี่น้องและเพื่อนฝูงเมื่อยามมีภัยมาถึงก็จะได้ช่วยเหลือกันหรือป้องกันภัยให้แก่กันได้ เพราะคนเราต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน เมื่อยามเรายากจนหรือเพื่อนลำบากมาก็จะได้ช่วยเหลือกัน สุภาษิตนี้สะท้อนให้เห็นว่าย่าก็ดีได้สั่งสอนปรัชญาชีวิตแก่บุตรหลานได้อย่างชาญฉลาด คือยกเอาสัตว์ต่างๆมาเปรียบเทียบให้มองเห็นภาพได้ง่าย เพราะการลืมตนเองคนนั้นหลงเอาง่ายๆเมื่อคนมีอำนาจวาสนา บ้างครั้งพ่อแม่ก็ยังหลงลืมบุญคุณเอาได้ง่ายๆ ด้วยอำนาจของการหลงตนจนลืมแก่ หลงเมียจนลืมแม่ บทบาทของย่าที่สะท้อนถึงวิถีทางของสุภาษิตว่า

คันเจ้าได้นั่งบ้าน เป็นเอกสูงศักดิ์

อย่าได้โวโวเสียง ลื่นคนทั้งค้าย

แนวว่าเป็นนายนี้ ให้หวังดีดอมไพร่

คันแม่นไพร่บ่พร้อม สิเสียหน้าบาดเดินฯ

(ถ้าหากว่าเจ้าได้นั่งบ้านเมืองเป็นคนใหญ่โตสูงศักดิ์ อย่าได้พูดอวดเก่งกว่าคนทั้งหลาย ธรรมเนียมเป็นนายนี้ให้หวังดีกับประชาชน ถ้าหากประชาชนไม่สนับสนุนจะอับอายขายหน้าเวลาเดิน)

๔.๔.๓. อิทธิคำผญาอีสานที่มีต่อพิธีบำเพ็ญทาน

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

พิธีบำเพ็ญทาน

วิธีบำเพ็ญทานนั้น ในสมัยพุทธกาลมีไม่มากวิธีนักส่วนมากจะมีเฉพาะการบำเพ็ญทานเลี้ยงพระ การทอดผ้ากฐิน การถว่ายผ้าอาบน้ำฝน ผ้าป่า เป็นต้น แต่กาลต่อมาในภายหลังเกิดพิธีกรรมต่างๆขึ้นมากมายวิธีการทำทานก็วิวัฒนาการไปมากเช่นเดียวกัน เช่นตักบาตรซึ่งแต่เดิมจริงๆแล้วก็มีเพียงการเอาข้าวสุกใส่ในบาตรถวายพระเท่านั้น แต่ปัจจุบันการใส่บาตรมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก เช่นมีการตักบาตรด้วยข้าวสารอาหารแห้ง ตักบาตรเงิน ตักบาตรวันเกิด ตักบาตรน้ำมัน ตักบาตรน้ำผึ้งเป็นต้น

การบำเพ็ญทานนั้นตามหลักทางพระพุทธศาสนาถือว่า เจตนาถือว่าสำคัญ ซึ่งจะประกอบด้วยกาลทั้ง ๓ คือ ก่อนให้ทาน ขณะให้ทาน และหลังจากการให้ทาน จึงจะถูกต้องตามพุทธวิธี ดังพระพุทธภาษิตว่า “ ทายกก่อนแต่จะให้ทานเป็นผู้ใจดี กำลังให้ทานอยู่ก็ยังจิตให้ผ่องใส่ และครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มจิต”( อง.ฉกก. 22/308/347 ฉบับ )และกล่าวถึงไทยทานหรือวัตถุทานนั้นมีถึง ๑๐ อย่างคือ “ ทานวัตถุ ๑๐ เหล่านี้คือข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม ของลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องปทีป”(อัง. อฏฐก. 23/52/50)

ในวัตถุทานทั้ง ๑๐ อย่างนี้บางอย่างก็ไม่เหมาะต่อการถวายแก่พระสงฆ์ เช่นน้ำหอม ของลูบไล้ แต่เพราะแก่บุคคลสามัญมากกว่า การบำเพ็ญทานดังกล่าวได้กลายมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวพุทธศาสนิกชนไปแล้ว การบำเพ็ญทานตามที่ชาวพุทธยึดถือกันนั้น ยึดเอาเจตนาเป็นหลักและแบ่งออกได้ ๒ ลักษณะตามฐานะของบุคคล คือ

๑) ปาฏิบุคคลิกทาน คือการถวายทานที่เจาะจงพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

๒) สังฆทาน คือการถวายแบบไม่เจาะจงแก่ผู้รับทานจะเป็นภิกษุรูปใดๆก็ได้

การบำเพ็ญทานที่ถือเอาบุคคลเป็นหลักในการรับทานนี้เรียกว่า “ปุคคลิกทาน” ส่วนการทำทานที่ไม่เจาะจงผู้รับทานคือการบำเพ็ญทานเพื่อมุ่งหวังชำระจิตใจจริงๆ ผู้รับทานหรือปฏิคคหก (เรียกว่าเขตบุญ) ต้องเป็นบุญเขตหรือเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมจึงจะทำให้ผลทานหรือสักการบูชามีผลอานิสงส์มาก ในธัมมปทัฏฐกถามีพุทธดำรัสว่า “ เมื่อจิตประณีต ทานที่ถวายแก่พระอริยบุคคลมีพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมไม่ชื่อว่าเศร้าหมอง จิตตสมึ หิ ปณีเต พุทธาทีนํ ลูขํ นาม นตถิ(ธ.อ.5/10 )คือเมื่อตั้งใจให้ทานในผู้บริสุทธิ์ ทานย่อมให้ผลเต็มที่ในพระพุทธศาสนายกย่องการเลือกให้ทาน(วิจยทาน)ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ วิเจยฺย ทานํ ทาตพฺพํ ยตฺถ ทินฺนํ มหปฺผลํ วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ ทกฺขิเณยฺยา อิธ ชีวโลเก, เอเตสุ ทินฺนานิ มหปฺผลานิ พีชานิ วุตฺตานิ ยถา สุเขตฺเตฯ (ธ.อ. 6/87 พึงเลือกให้ทานในบุญเขตที่มีผลอานิสงส์มาก ที่พระสุคตตรัสสรรเสริญ การให้แก่พระทักขิไณยบุคคล เหมือนการหว่านพืชลงในนาดีฉะนั้น”

๕.๕) สอนลูกหลานให้รู้จักการให้ทานดังนี้

เฮียนลุกเช้านึ่งข้าวใส่บาตร บูชาอาจหาแก้วทั้งสาม

ในอาฮามสถานพระเจ้า ในเค้าไม้ต้นใหญ่โพศรี

ในเจดีย์พระธาตุแก้วกู่ ในบ่อนอยู่เทิงหัวโตนอน

ลางเทื่อหลอนพ้อคนทุกข์ไฮ้ เพิ่นขอได้เจ้าให้ทานไป

ตามนิสัยของโตมีน้อย บาดสุดส้อยแม่นสามเณร

มหาเถรเถราตนใหญ่ หมูกาไก่เป็นกาเป็นเค้า

ให้ทานเข้าประเสริฐหนักหนา100

วัตถุประสงค์ของการให้ทานมีอยู่ ๒ อย่าง คือ การให้ทานเพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์สะอาดและการให้ทานเพื่อแก่ผู้รับ คือผู้รับมีคุณมากก็จะเรียกว่าบูชาคุณ ผู้เสมอกันเรียกว่าสงเคราะห์ ส่วนผู้ที่รับอ่อนกว่าเรียกว่าอนุเคราะห์ ทั้งสองนี้เป็นบุญด้วยกัน ตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในทักขิณวิภังสูตรว่า “ดูก่อนอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น เรากล่าวว่ามีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่เราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่ามีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆเลย(ม.อุ.14/380/324-325ในกรณีที่การทำทานแล้วมีผลาอานิสงส์อย่างไรนั้นมีปรากฏดังมีมาในพระสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๔ ปฐมปัณณาสก์ คัมภีร์ปัญจกนิบาตอังคุตตรนิกาย พระนางสุมนาราชกุมารีไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงถวายบังคมแล้วประทับนั่งทูลถามเรื่องผลของทาน พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบแก่พระนางสุมนาว่า บุคคลควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญย่อมมีคุณแก่ผู้เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นบรรพชิต ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสเป็นพระคาถา ซึ่งมีเนื้อความว่า

ดวงจันทร์อันปราศจากเมฆหมอก อยู่ในท้องฟ้า ย่อมรุ่งเรื่องกว่าดาวทั้งสิ้นฉันใด

บุคคลผู้มีศรัทธา มีศีล มีการบริจาค ก็รุ่งเรื่องกว่าผู้ตระหนี่ทั้งสิ้นในโลกฉันนั้น ฯ

เมฆที่ตั้งขึ้นทำให้ฝนตกลงมาใหญ่ ให้น้ำเต็มทั้งที่ดอนที่ลุ่มฉันใด สาวกของพระ

สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยความเห็น ผู้เป็นบัณฑิตก็ครอบงำผู้ตระหนี ๕

อย่าง คืออายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ฉันนั้น ผู้ที่เพียบพร้อมด้วยทรัพย์นั้น

ย่อมได้ไปรื่นเริงในสวรรค์ดังนี้ ฯ ไตร/22/34

๑๓.๔) พระยาสันทะราชสอนให้รู้จักการให้ทาน

ไผมีเงินคำแก้วหวงแหนบ่ทานทอด บ่ให้ขาดแต่ละมื้อประสงค์ได้ทอดทาน

จักทุกข์จนในสงสารชาติซิมาหากหวังได้ เมื่อมรณังตายไปเกิดในวิมานแก้ว

ไผผู้มีของล้นเงินคำอนันเนกเจ้าเอย บ่ให้ทานพี่น้องคนนั้นบ่ห่อนดีแท้ดาย

อันว่าไผ้ผู้มีของล้นทานไปหลายสิ่งเจ้าเอย บาดว่าชาติหน้าพุ้นยังซิกว้างกว่าหลัง

ตายไปเกิดชั้นฟ้าทงแท่นวิมานคำพุ้นเอย ยูท่างนั่งเสวยความสุขอยู่เย็นหายฮ้อน

ไผผู้ทานไปแล้วบ่มีเสียจักสิ่งเจ้าเอย ชาตินี้บ่ได้อึดอยากไฮ้ไปหน้าก็ดั่งเดียว

ของเฮาทานไปแล้วบ่สูญเสียดายป่าว เจ้าอย่าได้ขี้คร้านในทานทอดกองบุญ

คันว่าตายไปภายลุนจักบ่กินแหนงโอ้ คำสอนพุทโธเจ้าหากเป็นจิงตั้งเที่ยง

ไผทำเพียรก่อสร้างบุญนั้นบ่ห่อนเสียเจ้าเอย 124

การถวายทานโดยเฉพาะการทอดกฐินจัดว่าเป็นการถวายทานเพื่อสงฆ์และเป็นกาลทาน คือถวายได้เฉพาะกาลหนึ่งเท่านั้น พ้นเขตแล้วไม่จัดเป็นบุญกฐิน ดังนั้นคำสอนที่สะท้อนถึงการทำบุญทอดกฐินชาวอีสานถือว่าเป็นงานบุญที่พากันยึดถือมาแต่ในอดีตซึ่งจะปรากฏในเรื่องฮีตสิบสองในงานบุญเดือนสิบเอ็ดได้กล่าวไว้ดังนี้คือ ถึงเดือนสิบเอ็ดแรม ให้ป่าวเดินทำบุญกฐินทอดตามวัดวาอารามต่างๆ ดังคำสอนนี้คือ

คลองสร้างประเพณีจาฮีต เหตุเบื้องต้นปางก้ำเก่าหลังเดิม

ให้พากันตกแต่งแปลงกฐินทอด เมือกาลกฐินมาฮอดแล้วอย่าลืม

ถวายผ้ากฐินถือว่าเป็นจารีตประเพณีที่ชาวอีสานทำมาแต่ดังเดิม และให้ช่วยกันจัดบุญกฐินเพื่อจะทอด เมื่อถึงกาลกฐินมาถึงแล้วในเดือนสิบเอ็ดออกพรรษา อย่าได้พากันหลงลืมพระศาสนาให้ทุกคนเอาใจใส่ช่วยทะนุบำรุ่งศาสนาให้เจริญเพื่อเป็นประโชนย์แก่มวลมนุษย์ทั้งหลายนี้ก็สะท้อนภาพให้เห็นว่าการทำบุญสุนทานของชาวอีสานนั้นได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา และคำสอนที่เป็นทำรู้ว่าการทำบุญให้ทานนั้นควรทำอย่างไรและไม่ควรทำอย่างไร การถือเอาเจตนาเวลาทำบุญนั้นก็สอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนาดังคำสอนอีสานที่พ่อแม่มักจะสั่งสอนลูกว่า

“อันหนึ่งเจ้าลุกแต่เช้าประสงค์แต่งจังหัน ยามเมื่อบายของทานให้ส่วยสีสรงล้าง

ซื่อว่ากินทานนี้ทำตัวให้ประณีต อันว่าผมเกศเกล้าเคียนไว้อย่าให้มาย

ให้ค่อยทำเพียรตุ้มเสมอยุงซุมเหยือ อย่าได้เฮ็ดตู้เตื้อตีนซิ่นไขว่พานั้นเนอ

บาดว่าบาปซอกดั้นใผบ่ห่อนหวนเห็นลูกเอย”

“อันหนึ่งยามเจ้าบายของไปแจกทานนั้น ใจอย่าคิดโลดเลี้ยวเห็นใกล้แก่สมณ์

อย่าได้อคติด้วยของทานเสมอภาคกันเนอ อย่าได้เห็นแก่สังฆะเจ้าคีงเลื่อมจึงค่อยทาน

อันหนึ่งอย่าได้เข้านั่งไกล้เคี้ยวหมากนานลุก ชาติที่แนวมหาเถรดั่งกุญชโรย้อย

เพิ่นหากลือซาช้างพลายสีดอตัวอาจ ใผอยู่ลอนนั่งใกล้งาช้างซิเสียบแทงแล้ว

อันหนึ่งอย่าได้ซำเซียแวมหาเถรยามค่ำ บ่แม่นแนวลูกช้างคุมคล้องบาปซิกิน”

ผลาอานิสงส์แห่งทานที่ตนเองทำมาย่อมผลส่งให้สมความปรารถนา สิ่งใดก็ได้สมดั่งความประสงค์) บุญก็ย่อมจะส่งผลให้ทุกอย่าง คือ สวย รวย เก่ง ล้วนแต่เกิดจากคนมีบุญทั้งสิ้น ดังนั้นคำสุภาษิตจึงสะท้อนภาพรวมให้เห็นว่าคนมีบุญนั้นจะสบายในลักษณะอย่างไรดังสุภาษิตนี้คือ

บุญมีได้ เป็นนายใช้เพิ่น

คันแม่นบุญบ่ให้ เขาสิใช้ตั้งแต่เฮาฯ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

(บุญมีได้เป็นนายใช้คนอื่น ถ้าใช่บุญไม่ส่งให้เขาจะใช้แต่เรา) หมายถึงความดีที่เราทำด้วยกาย วาจา และใจ ถ้าพร้อมพลั่งแล้วจะเป็นอำนาจบารมีให้คนอื่นช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ชีวิตเรามีความสุข จะทำพูดคิดสิ่งใดก็มีคนมาค่อยให้ความช่วยเหลือ เรียกว่าคนที่เคยทำบุญมาร่วมกัน เช่น เพื่อน ญาติ แม้ทั้งคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติก็ช่วยเหลือถ้าบุญบารมีเรามีแล้ว เช่น พระสงฆ์ พระมหากษัตริย์ ราชการชั้นผู้ใหญ่จะไปทางใดก็มีข้าทาสบริวารคอยรับใช้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เองที่อานิสงส์บุญจะแผ่รัศมีออกมาในรูปแบบของความดีหลายๆทาง ดังนั้นการทำความดีจึงให้ลงมีทำด้วยตัวเอง อย่ารอคอยโชควาสนาคนอื่นมาส่งเสริมให้เราดังสุภาษิตว่า

คอยแต่บุญมาค้ำ บ่ทำการมันบ่แม่น

คอยแต่บุญส่งให้ มันสิได้ฮ่อมใดฯ

(คอยแต่บุญมาช่วย ไม่ทำบุญมันก็ไม่ถูก คอยแต่บุญส่งให้มันจะได้อย่างไร) การกระทำอะไรทุกอย่างต้องทำด้วยตัวเอง บุญก็ดี บาปก็ดีย่อมเป็นของคนนั้นเองดังสุภาษิตว่า

คือจั่งเฮามีเข้า บ่เอากินมันบ่อิ่ม

มีลาบคันบ่เอาข้าวคุ้ย ทางท้องก็บ่เต็มฯ

(คือกับเรามีข้าวแต่ไม่เอากินมันก็ไม่อิ่มท้อง เหมือนมีลาบถ้าไม่ตักข้าวเข้าปากท้องก็ไม่เต็ม) การทำบุญให้กระทำด้วยตัวเองเพราะบุญและบาปนั้นจะส่งผลให้ใช้ชีวิตดีหรือชั่วเพราะอำนาจของบุญหรือบาปนี้เอง ดังสุภาษิตว่า

อันว่านานาเชื้อ คนเฮาแฮมโลก หลานเอย

บุญบาปตกแต่งตั้ง มาให้ต่างกัน

ใผผ้ทำการฮ้าย ปาปังทางโทษ

มีแต่สาโหดฮ้าย สิมาไหม้เมื่อล่นฯ

(อันว่านานาเชื้อคนเราอยู่ทั่วโลกหลานเอย บุญบาปเป็นปัจจัยปรุงแต่งมาให้ต่างกัน ใครผู้ทำบาปชั่วร้าย เป็นบาปมีโทษมีแต่ทุกข์จะมาไหม้เมื่อหลัง) สะท้อนให้เห็นว่าบาปหรือบุญเป็นสิ่งที่ติดตามมนุษย์ไปทุกภพทุกชาติ เป็นกรรมติดตัวไปตลอดจนเข้าสู่ความดับทุกข์ได้ และบาปกรรมเป็นผู้กีดกั้นหรือทำให้มนุษย์ประสบกับการพลัดพรากจากกัน หรือได้มาพบกัน ดังสุภาษิตนี้

อันว่ากุญชรช้าง พลายสารเกิดอยู่ป่า

ยังได้มาอยู่บ้าน เมืองกว้างกล่อมขุนฯ

(อันว่าช้างเผือกเกิดอยู่ในป่า ยังได้มาอยู่บ้านเมืองร่วมกับพระยา) หมายถึงบุญบารมีส่งให้สิ่งที่อยู่ไกล้อย่างไรเมื่ออำนาจบุญส่งมาถึงแล้วย่อมพบกันเปรียบเหมือนช้างสารตัวงามที่เกิดในป่าย่อมเป็นเพราะบารมีของพระมหากษัตริย์จึงทำให้ได้พบช้างคู่บ้านคู่เมือง แต่ถ้ากรรมเวรมาถึงแล้วก็ไม่มีสิ่งใดมาบังคับไม่กรรมส่งผลให้ ดังสุภาษิตนี้ว่า

ตั้งแต่พระเวสเจ้า กับนวลนาถนางมัทรี

ยังได้หนีพารา จากนครยาวเยิ้น

ไปอยู่ดงแดนด้าว ไพรสนฑ์แถวเถื่อน

มีแต่ทุกยากเยื้อน บ่เคยพ้อพบเห็นฯ

คันแม่นเป็นจั่งซี้ เฮาสิว่าฉันใด

สิว่ากรรมมาตัด หรือว่าเวรมาต้อง

ใผผู้ทำดีไว้ ความดีกระดึงจ่อง

ใผผู้สร้างบาปไว้ กรรมสิใช้เมื่อลุนฯ

(ตั้งแต่พระเวสสันดรกับพระนางมัทรียังได้หนีจากนครไปอาศัยอยู่ราวป่าแดนเถือน มีความทุกข์ลำบากมาเยื้อนไม่เคยพบเห็น คือว่ากรรมมาตัดรอนหรือว่ากรรมเวรมาส่งผลให้เป็นไปอย่างนั้น ใครผู้ทำความดีไว้ ความดีก็ตามสนอง ใครผู้ทำบาปไว้กรรมนั้นก็ตามสนอง

ตามปกติแล้วการทำทานทุกชนิดย่อมมีอานิสงส์ของทานนั้นเสมอ ถ้าผู้ให้ทานกระทำได้ด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝงอยู่ การทำทานนั้นพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญถึงอานิสงส์ของการถวายทานว่า

“ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ

สัปบุรุษผู้สงบ ผู้สำรวมอินทรีย์ ประกอบพรหมจรรย์ ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ

สัปบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบชัด

แล้วย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ ปรินิพพานในโลกนี้ (อัง ปัญจก. 22/35/35-36

วรรณกรรมคำสอนอีสานเป็นเสมือนผู้ถ่ายทอดคำสอนของพระพุทธศาสนาให้แก่พุทธศาสนิกชนได้รู้จักบำเพ็ญบุญกุศลด้วยการบริจาคสร้างถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา หรือสร้างศาสนสถานอันเป็นสัญญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา ในกรณีอย่างนี้คำสอนอีสานเน้นหนักในการบริจาคทานตามกำลังศรัทธา ในชนบทนั้นวัดเป็นศูนย์รวมดังนั้นเมื่อวัดมีกิจกรรมอันใดชาวบ้านจึงพร้อมใจสามัคคีพากันไปช่วยกัน ดังคำสอนอีสานว่า


100 เรื่องเดียวกันหน้า ๒๗

124 เรื่องเดียวกัน หน้า ๑๔–๑๗

๒.๒.๑ พุทธภาษิตและผญาภาษิตกับบุญ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

๒.๒.๑ พุทธภาษิตและผญาภาษิตกับบุญ

สุภาษิตอีสานอิงอาศัยอยู่กับหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาทุกอย่าง ทั้งที่เป็นนิทานธรรมและคติธรรมตลอดถึงวรรณกรรมชาดกต่างๆ ล้วนมีแก่นแท้มาจากพุทธศาสนาที่มีความมุ่งหมายในการสอนหลักธรรมและจริยธรรมอันดีให้แก่คนเพื่อที่จะทำให้สังคมมีความสันติสุขและมีความสอดคล้องทางคติชน แนวทางการดำรงตนเองให้มีความเจริญและความสุขนั้นพระพุทธศาสนากับคำสอนอีสานมีคำสอนตามลักษณ์นี้คือ

๑ ความเชื่อเรื่องบุญ ตามนัยแห่งพระพุทธศาสนานั้น คำว่า “บุญ” เป็นชื่อของความสุข พระพุทธเจ้าสอนให้หมั่นประกอบเนื่องๆในเรื่องบุญกุศล เพราะว่าบุญเป็นธรรมชาติที่ชำระสันดานของตนให้สะอาด ขจัดเสียซึ่งความตระหนี่ของตนอันจะเป็นเหตุนำมาซึ่งความเดือดร้อนในภายหลัง ดังพุทธพจน์ที่ทรงตรัสกับภิกษุทั้งหลายดังความมาใน ปุญญสูตร ว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้กลัวบุญเลย

คำว่าบุญนี้เป็นชื่อแห่งความสุขอันน่าปรารถนาน่าใคร่

น่ารัก น่าพอใจ…..ที่ตนเสวยแล้วสิ้นกาลนานแห่งบุญ

ทั้งหลายที่ตนได้ทำไว้สิ้นกาลนาน1

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

บุญกุศลทั้งหลายที่บุคคลได้กระทำไว้แล้ว นอกจากจะให้ผลเป็นความสุขแก่ผู้ที่กระทำทั้งในชาตินี้ชาติหน้าต่อๆไป บุญเป็นสิ่งที่สมควรสร้างสมเพิ่มพูนให้เกิดแก่ตนเองอยู่เสมอเพราะการสั่งสมบุญย่อมนำสุขมาให้2 ซึ่งไม่เพียงเป็นความสุขในโลกนี้เท่านั้น บุญยังเป็นที่พึ่งแก่สัตว์ในโลกหน้าอีกด้วย3 ซึ่งผลบุญนั้นไปคอยต้อนรับอยู่ก่อนแล้ว เปรียบเหมือนญาติที่คอยต้อนรับญาติอันเป็นที่รักผู้มาถึง ดังพุทธภาษิตคาถาธรรมบทในปิยวรรคที่ ๑๖ ว่า

“เรากล่าวว่าผู้มีกระแสในเบื้องบน ญาติ มิตรและเพื่อนผู้มีใจดี ย่อมชื่นชม

ต่อบุรุษ ผู้จากไปสิ้นกาลนาน กลับมาแล้วโดยสวัสดี แต่ที่ไกลว่ามาแล้ว

บุญทั้งหลาย ย่อมต้อนรับแม้บุคคลผู้ทำบุญไว้ ซึ่งละจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น

ดุจญาติคอยต้อนรับญาติที่รักผู้มาแล้วแต่ไกล ฉะนั้น4

เรื่องบุญกุศลในพระพุทธศาสนาตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ยังมีอีกที่พุทธศาสนิกชนได้นำไปเป็นแนวในการสร้างบุญกุศลคือหลักบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ5 อันประกอบด้วยการบริจาคทาน ๑ การรักษาศีล ๑ การเจริญภาวนา ๑ การแสดงความนอบน้อม ๑ การขวานขวายในกิจที่ชอบ ๑ การแผ่ส่วนกุศลให้แก่ผู้อื่น ๑ การอนุโมทนาในส่วนบุญ ๑ การฟังธรรม ๑ การแสดงธรรม ๑ การทำความเห็นให้ถูกต้อง ๑ ตามนัยคำสอนอีสานมีหลักในเรื่องการสั่งสมบุญที่สอดคล้องตามหลักของพระพุทธศาสนาว่า

“คำว่าบุญๆนั้นเป็นชื่อแห่งความสุข ไผผู้กลัวความทุกข์ให้รีบมาทำไว้

ความสุขใจสบายบ้างหมายทางสิบังเกิด เพราะกุศลเลิศล้ำนำให้อยู่เกษม

ให้รีบตกแต่งเพิ่มสืบต่อยอยก จกเอามาทำทานหว่านพันธุ์ฝังไว้

เมื่อตายไปก็จักมีเมืองฟ้าวิมาทอง เกิดด้วยบุญพวกเจ้าคนเฒ่าให้ฮ่ำเพิง

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าการทำบุญนั้นส่งผลให้ชีวิตมีความสุข “ปุญญํ สุขํ ชีวิตสงฺยมฺหิ” ตรงกับแนวคำสอนอีสานว่า

คราวเมื่อเฮาเพม้างวางขันธ์ดับธาตุ บุญส่วนนี้สินำยู้ช่วงซู

บุญสิซักจ่องยู้นำสู่สุคติ มีเทวานารีแห่แหนแพนด้าม

บุญสิตามนำให้ศิวิไลซ์เฮืองฮุ่ง ให้สมความมาดมุ่งลุงป้าให้ฮ่ำฮอน

ให้พวกเจ้ารีบร้อนฝักใฝ่ทางกุศล สิ่งเป็นบุญของดีให้รีบมาทำไว้

เมื่อตายไปจักได้มีนางฟ้าเทวาแหนแห่ สิได้แลหล่ำจ้องมองหน้าหมู่คนฯ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ปุพเพกตปุญญตา แปลว่า ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว, มีพื้นฐานมาดี, ได้สร้างสมคุณความดีเตรียมไว้แต่ต้นแล้วจะส่งผลออกมาดี6 หมายความว่าได้เคยสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อนๆ อันเป็นเหตุให้ได้บรรลุผลสำเร็จในทางอันตนเองปรารถนาในชาติปัจจุบัน โดยเฉพาะเป็นปัจจัยส่งผลให้สำเร็จพระอรหันต์นั้นย่อมเป็นผลมาจากกุศลมูลอันบุคคลได้เคยทำไว้แล้วในอดีต พุทธศาสนิกชนชาวอีสานมีความเชื่อฝังแน่นเรื่องบุญกรรมที่ทำแล้วมีผลให้ถึงฝั่งพระนิพพาน ดังคำสอนว่า

ให้เจ้าคึดต่อไว้ฮีตฮ่อมทางเทียว ทางไปนีระพานยืดยาวยังกว้าง

อันว่าหนทางเข้านีระพานพ้นโศก มีแต่บุญอ้อยต้อยหลานน้อยให้ค่อยทำ7

ความเชื่อเรื่องผลของบุญที่มีในคำสอนอีสานสะท้อนให้เห็นว่า การทำกรรมดีเท่านั้นถึงจะส่งผลให้ขึ้นสวรรค์ และถ้าทำกรรมชั่วมีผลเป็นความทุกข์ในภายหลัง ดังคำสอนว่า

“ไผผู้มีบุญล้นศีลทานสร้างแผ่ อันว่าความเดือดร้อนเวรนั้นกะบ่มี

อันว่าบุญๆนี้อุปมาคือช้างพลายสารตัวอาจ หากแม่นธรรมชาติเชื้อสิพาขึ้สู่สวรรค์

คันไผมีใจเลี้ยวปาโปเป็นบาป อุปมาเหมือนดังหอกดาบง้าวสินำค้ำอยู่บ่เซา

มันจักนำสนองให้ฝูงคนได้ทุกข์ยาก หากสิลงสู่พื้นในหม้อแผ่แดง8

จากคำสอนเหล่านี้แสดงถึงความเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด เมื่อมีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็มักจะปลอบใจตนเอง9 ทำให้เกิดผลทางจิตวิทยาตามนัยคำสอนอีสานว่าบุญกรรมถ้าไม่ทำเอาไว้จะมีแต่ความลำบาก ดังนั้นคำสุภาษิตจึงสะท้อนภาพรวมให้เห็นว่าคนมีบุญนั้นจะสบายในลักษณะอย่างไร ดังคำสอนว่า

“อันนี้เป็นบุญแท้ของเฮาให้ตั้งต่อหลานเอย คันว่าบุญบ่ส่งให้เขาสิใช้แต่เฮา

บุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น คันแม่นบุญบ่ส่งให้มันสิใช้แต่เฮา

ในแนวคำสอนนี้ส่งเสริมให้คนรู้จักที่จะทำความดีเอาไว้ ถ้าความพร้อมเพียงแห่งบุญส่งผลมาให้แล้วจะเป็นอำนาจบารมีให้คนอื่นสนับสนุนให้ชีวิตมีความเจริญก้าวหน้า สิ่งเหล่านี้คืออานิสงส์ของบุญจะแผ่รัศมีออกมาในรูปแบบของความดีหลายๆทาง ดังนั้นการทำบุญจึงสอนให้ลงมือทำด้วยตัวเอง อย่านั่งรอคอยโชควาสนาจากคนอื่นมาช่วยเหลือตัวเอง ดังสุภาษิตอีสานว่า

คอยแต่บุญมาค้ำบ่ทำการมันบ่แม่น คอยแต่บุญส่งให้มันสิได้ฮ่อมใด

คือจั่งเฮากินข้าวบ่เอากินมันบ่อิ่ม คือจั่งมีลาบก้อยคันบ่เอาข้าวคุ้ยทางท้องบ่เต็ม10

มีคนไทยไม่น้อยที่เชื่อว่าความทุกข์ยากลำที่ตนประสบอยู่ในปัจจุบันชาติ เป็นผลมาจากเวรกรรมในบุพพชาติดังนั้นคนไทยอีสานจึงยอมรับผลชะตากรรมโดยไม่กล่าวโทษใคร เพราะบาปกรรมนั้นเป็นปัจจัยปรุงแต่งให้คนเรามีฐานะทางร่างกาย เศรษฐกิจต่างกัน ดังพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า “ กมฺมํ สตฺเต วิภชฺชติ” สัตว์โลกเป็นไปตามกรรม การยอมรับนั้นก็เป็นทางหนึ่งที่ดีแต่ว่าแนวคำสอนทุกระบบมุ่งสอนให้รู้จักปรับเปลี่ยนวิถีชิวิตให้เดินไปในทางที่เจริญ อย่าได้เดินไปในทางที่เสื่อม เพราะอำนาจของบาป บุญนั้นจะส่งต่อไปในภพใหม่ด้วย ดังสุภาษิตอีสานว่า

อันว่านานาเชื้อ คนเฮาแฮมโลก หลานเอย

บุญบาปตกแต่งตั้ง มาให้ต่างกัน

ไผผู้ทำการฮ้าย ปาปังทางโทษ

มีแต่สาโหดฮ้าย สิมาใหม้เมื่อล้น

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

คำสอนที่ส่งผลให้ชีวิตตกทุกข์ลำบากนั้น มันเกิดมาจากผลกรรมก็ตาม แต่ก็เป็นผลดีอย่างคือ ทำให้มนุษย์รู้จักพัฒนาชีวิตของตนเองให้พ้นไปจากความทุกข์มุ่งสู่ความสุขได้ ให้มีความมานะอดทนต่อผลของบาปกรรมที่ทำเอาไว้ดังคำสอนอีสานว่า

ตั้งแต่พระเวสเจ้า กับนวลนาถนางมัทรี

ยังได้หนีพารา จากนครยาวเยิ้นไป

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

กุศลพิธี แปลว่า บุญ ความดี ฉลาด สิ่งที่ดี กรรมดีเป็นต้น กรรมดีและการกระทำดีหรือกุศลกรรมก็คือการกระทำที่เกิดเจตนาดี ซึงต่างจากอกุศลกรรมกคือการทำชั่ว เป็นเจตนาที่เป้นไปเพือ่เบียยดเขบียนผุ้อื้นใหได้รับความทุกข์ เจตาดีและเจตนาชั่วนั้นเกิดขึ้นในใจ การพิจารณาว่าเจตนาใดเป็นเจตาดีหรือชั่วจึงต้องพิจารณาถึงสภาวะในใจว่า มีเหตุผลแห่งเจตนาเป็นกุศลหรืออกุศล เรื่องนี้พระธรรมปิฏกได้ตีความกุศลและอกุศลเอาไว้ว่า

“กุศลและอกุศลเป็นสภาวะที่เกิดในจิตใจและมีผลต่อจิตใจก่อนแล้วจึงาผลต่อบุคลิกภาพ และแสดงผลนั้นออกมาภายนอก ความหมายของกุศลและอกุศลจึงเพ่งไปที่พื้นฐาน คือเนื้องหาสาระและความเป็นไปภายในจิตใจเป็นหลัก…กุศล แปลตามศัพท์ว่า ฉลาด ชานาญ สบาย เชื่อหรือเกื้อกูล เหมาะ ดีงาม เป็นบุญ คล่องแคล่ว ตัดโรคหรือสิ่งชั่วร้านที่น่ารังเกียจ ส่วนอกุศลก็แลว่า สภาวะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกุศล หรือตรงข้างกันกับกุศล เช่นว่า ไม่ฉลาดไม่สบายเป็นต้น (พระธรรมปิฏก (ประยุทธ์ ปยุตโตป พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ(กรุงเทพฯ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย) ๒๕๓๒, หน้า ๑๖๔

จากเหตุผลข้างต้นนั้น พระธรรมปิฏกให้ทัศนะว่า การกระทำที่เป็นกุศลจะต้องเป็นการการกระทำที่มีเจตนาเป็นกุศล คำสอนอีสานกล่าวถึงพิธีกรรมอันเป็นกุศลไว้มากมาย การบวชเพื่อสนองคุณค่าน้ำนมของบิดามารดา เพื่อเชื่อว่าการบวชเรียนในพระพุทธศาสนาจะตอบแทนคุณบิดามารได้หมด ดังคำสู่ขวัญนาคก่อนบวชมักจะเป็นการพรรณนาถึงคุณพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดมา ว่าท่านทั้งสองมีความทุกข์ยากลำบากอย่างไรกว่าจะคลอดบุตรออกมาและเลี้ยงลูกให้เติมโตจนอายุได้ ๒๐ ปี ครบบวชและแสดงให้เห็นว่าการสนองคุณบิดามารดานั้นมีอย่างไร และทัศนะทางพุทธปรัชญาในเรื่องการบวชมีอะไรหมอทำขวัญจะทำหน้าพรรณนาไว้ครบเพื่อเป็นการอบรมจิตใจของเจ้านาคให้ระลึกรู้คุณบุพการีของตน และสั่งสอนให้เจ้านาคหมั่นประพฤติปฏิบัติตนเองให้เป็นบุญเป็นกุศลเพื่อสนองคุณพ่อแม่ตน สอนให้รู้ว่าแม่ลำบากอย่างไรเมื่อคลอดลูก

ก่อนสิได้มาเกิดจากท้องมารดา ได้เลี้ยงมาเป็นอันยากเลี้ยงลำบากทุกค่ำคืน

แม่ทนฝืนหนักหน่วงท้อง นอนเก้าเดือนเฮ็ดล่องง่องอยู่ในครรภ์

แสนรำพันฮักห่อลูกของพ่อดั่ง ดวงตาออกจากท้องมารดาลูกเกิดมาเลิศแล้ว

เป็นเจ้านั่งเป็นสมภาร ให้ได้เป็นอาจารย์นักบวชให้ได้สวดปาฏิโมกข์

ให้เจ้าฝังในศาสน์ฉลาดเหลือคน มาเยอขวัญเอย

ให้ลือชาศาสนาของพระพุทธเจ้า ให้นาคเจ้ามีเดชะให้ชนะฝูงมาร

เป็นอาจารย์ผู้วิเศษละกิเลสหายหนี ดั่งอินทราธิราชเจ้าภูมินทร์

ทั้งแดนดินโอยอ่อนน้อย ทุกท่านพร้อมสาธุการ

ให้เจ้ามีความรู้หลื่นสมภาร ใหว้อาจารย์ทุกเมื่อเฮืองเฮื่อแก้วเงินคำ

บูชาธรรมอย่าได้ขาด ให้ฉลาดพระวินัย

ให้สดใสปานแว่น ให้ถึงแก่นคำสอน

คนสะออนชมซื่น ให้เจ้าหลื่นมนุษย์และเทวา

อย่าได้คาขัดข้อง ให้เจ้าท่องพระบาลีให้มีหวัง

ครองสืบสร้างธุระ๒ประการ เฮียนกรรมฐานให้ถี่ถ้วนครบสิ่งล้วน

๘หมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ ด้วยปัญญาเร็วพลันตรัสส่อง

สมองปล่องเร็วไว้ศีลสดใส่ บ่ประมาทมีอำนาจในศาสนา

อย่าโสกาโศกเศร้า ให้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าสืบพระศาสนา

๔) สอนให้รู้หลักสัจธรรม

เจ้าจักพลัดพรากห้องเคหา จักได้ลาปิตามารดาออกไปบวช

สร้างผนวชในศาสนา เจ้าก็คิดเห็นสังขารเป็นทุกขัง

อนิจจังอนัตตาบ่มั่น เที่ยงฮู้บิดเงี่ยงไปมา

เป็นอนิจจาบ่เลิกแล้ว บ่ได้ว่าเฒ่าแก่แลชรา

ฮู้บังเกิดโรคาแลพยาธิ บ่ได้ขาดจากมรณา136

ในเรื่องการบวชนี้มีเรื่องเกิดขึ้นในสมัยพุทธกาลซึ่งมีปราฏในปิณโฑลยสูตร ความว่า”

พวกเธอมาบวชอยู่ในพระธรรมวินัยนี้จุดประสงค์เพื่อทำที่สุดทุกข์ ถ้ามากด้วย

อภิชฌามีความกำหนัดในกาม มีจิตพยาบาท มีความดำริชั่ว หลงลืมสติ ไร้

สัมปชัญญะ ใจไม่เป็นสมาธิ จิตหมุนไปผิดทิศทาง ไม่สำรวมอินทรีย์

จะทำที่สุดทุกข์ได้อย่างไร คนที่มีลักษณะดังนี้ เรากล่าวว่าเขาเสื่อมจากโภคะ

แห่งคฤหัสถ์ ไม่ทำความเป็นสมณะให้บริสุทธิ์ ด้วยอุปมาเหมือนดุ้นฟื้นในที่

เผาศพติดไฟทั้งสองข้าง ตรงกลางเปื้อนคูถ จะใช้เป็นฟื้นในบ้านก็ไม่ได้ในป่าก็ไม่ได้”(สังยุต.ขันธวรร

๑) สอนการเสียออกบวชของพระพุทธเจ้าดังนี้

หวังไปสวดบำเพ็ญศีล ดั่งพระอินทร์ถวายบาตร

พรหมราชยอพาน ถวายทานพระศรีธาตุ

คราวพระบาทออกไปบรรพชา อยู่ฝั่งน้ำอโนมา

พร้อมนายฉันท์และม้ามิ่ง ลายยอดแก้วปิ่งสิ่งพิมพา

ทั้งราหุลออกบวช ไปผนวชเป็นคนดี

เจ้ามีใจในธรรมอันล้ำเลิศ

สอนให้รู้จักฮีตวัดครองสงฆ์

ให้เจ้าเตรียมตัวบวช ให้มาเข้าผนวชเป็นสงฆ์

ให้เจ้าลงมาสมสู่สังฆา ปฏิมายอดแก้วใจผ่องแผ้วเหลือหลาย

ยามเดือนหงายอย่าได้ล่วง ให้เจ้าห่วงครองธรรมให้เจ้านำครองปู่

ให้มาอยู่จำศีลให้มากินข้าวบาตร มานั่งอาสน์นำสงฆ์ให้มาลงในโบสถ์

ละความโกรธและโทสา ให้เจ้าได้เทศนาสอนสั่ง

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

เมื่อใกล้วันบวชตามนิยมกันทั่วไป ผู้ที่จะบวชต้องมีดอกไม้ ธูป เทียน เที่ยวลาญาติพี่น้องและญาติผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือเป็นการแสดงความเคารพและขอขมากรรมที่ได้พลาดพลั่งล่วงเกินทั้งต่อหน้าและลับหลัง ญาติพี่น้องและญาติผู้ใหญ่นั้น ก็ขอรับขมาพร้อมให้พร ค่านิยมในการบวชลูกหลานเพื่อเป็นการสืบอายุพระศาสนาชาวอีสานเมื่อได้ลูกชายมักจะมีคตินิยมอวยพรกันว่า “ใหญ่พอบวชพ่อสิให้บวช ให้ท่องสวดคัมภีร์ เฮียนบาลีค่ำเช้าครองพระเจ้าศีลทาน”131

การบวชนาคทำให้พ่อแม่ปีติยินดีทำให้ท่านสบายใจ เพราะการบวชเป็นการสนองคุณทางจิตใจของท่าน สิ่งที่จะทำให้พ่อแม่โดยทั่งไปดีใจนั้นคงไม่มีอะไรเกินกว่าได้เห็นลูกเป็นคนดีดำเนินชีวิตในทางที่ถูกต้อง การบวชเป็นพระภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนาย่อมช่วยให้ได้รับความสุขใจ ปีติยินดี ความสุขทางใจที่ได้เห็นลูกอยู่ในร่มเงาผากาสาวพัสตร์ ย่อมช่วยต่อชีวิตอายุของพระศาสนาให้ยืนยาว ชาวอีสานมีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนอย่างแรงกล้าถึงกับจัดเป็นค่านิยมอย่างหนึ่งในจารีตประเพณีประภาคอีสานเรียกว่า ”ฮีตวัด”90 จะกล่าวว่าเป็นธรรมนูญชีวิตแบบชาวอีสานก็ได้ เพราะว่าเป็นหลักสำหรับบุคคลที่จะต้องยึดถือปฏิบัติในระหว่างชาวบ้านต่อพระศาสนา ๑๔ ประการ คือ

๑) เมื่อข้าวหรือผลไม้ผลิตดอกออกผลให้นำไปถวายพระภิกษุเสียก่อนแล้วตนเองจึงบริโภคภายหลัง

๒) อย่าทำตาชั่งปลอมหรือแปลงตาชั่ง อย่าปลอมแปลงเงินตรา(อย่าจ่ายเงินแดงแปงเงินกว้าง)และอย่ากล่าวคำหยาบต่อกัน

๓) ให้พร้อมกันทำรั้วหลักและกำแพงล้อมวัดวาอารามและบ้านเรือนของตน กับให้ปลูกหอบูชาไว้ทั้งสี่มุมบ้านเรือน

๔) ก่อนจะขึ้นบนบ้านให้ล้างเท้าเสียก่อน

๕) เมื่อถึงวันพระ ๘–๑๔–๑๕ ค่ำให้ทำการคารวะเตาไฟบันใดและประตูบ้านที่ตนอาศัยเข้าออกทุกคืน

๖) ก่อนเข้านอนให้ล้างเท้าเสียก่อน

๗) เมื่อถึงวันพระให้เมียเอาดอกไม้ธูปเทียนทำการคารวะผัวของตน(ผัวที่ดี) และเมื่อถึงวันอุโบสถให้จัดดอกไม้ธูปเทียนไปถวายแด่พระภิกษุกับให้ทำการคารวะบิดามารดาปู่ย่าตายายด้วย

๘) ถึงวันพระเดือนดับ(ข้างแรม) และวันพระเดือนเพ็ญ(ข้างขึ้น)ให้นิมนต์พระภิกษุมาสวดมนต์ที่บ้านและทำบุญตักบาตรถวายทานท่าน

๙) เมื่อพระภิกษุสามเณรมาบิณฑบาตอย่าให้ท่านคอย เวลาใส่บาตรอย่าให้ถูกตัวท่านและอย่าสวมรองเท้า กางร่ม ให้ผ้าโพกศรีษะ หรือถือศาสตราอาวุธเวลาใสบาตร

๑๐) เมื่อพระภิกษุเข้าปริวาสกรรมให้นำดอกไม้ธูปเทียนไปถวายท่าน

๑๑) เมื่อเห็นพระภิกษุผ่านมาให้นั่งลงยกมือไหว้แล้วจึงพูดจากับท่าน(ในข้อนี้ผู้วิจัยยังพบว่าชาวลาวยังยึดถือปฏิบัติอย่างมั่นคงอยู่ส่วนชาวอีสานก็มีบ้างท่านเท่านั้น)

๑๒) อย่าเหยียบเงาพระภิกษุสามเณรผู้ทรงศีล

๑๓) อย่านำเอาอาหารที่ตนเหลือกินไปถวายพระภิกษุสามเณร

๑๔) อย่าเสพกามคุณในวันพระ วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา และวันสงกรานต์ควรสำรวมในเรื่องเหล่านี้บ้าง

เทศกาลเข้าพรรษาเป็นฤดูกาลที่พุทธศาสนิกชนมีโอกาศได้บำเพ็ญกุศลมากที่สุดคือครบทั้ง ๓ พิธี ได้แก่บุญพิธี กุศลพิธี และทานพิธีพอถึงเทศกาลเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าจะมีการกระตือรือร้นเป็นพิเศษที่จะบำเพ็ญกุศล บางพวกก็บำเพ็ญกุศลพิธี คือการอบรม พัฒนาจิตใจตนเองให้มีคุณธรรมประจำใจที่สูงขึ้น ได้แก่ การบวชเป็นพระภิกษุหรือสามเณร บางพวกก็เริ่มสนทนารักษาศีล ๕ และอุโบสถศีลตลอดพรรษาบางพวกก็ตั้งสัจจะอธิษฐานของดเว้นอุบายมุข เช่น สุรา การพนัน สิ่งเสพติดบางชนิดนับว่าเทศกาลเข้าพรรษาเป็นพิธีกรรมที่สามารถลดอุบายมุขลงได้ โบราณคำสอนของชาวอีสานได้กล่าวถึง การปลูกศรัทธาในการชักชวนกันไปทำบุญที่วัดและเมื่อถึงวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนาก็ชักชวนกันไปเวียนเทียนที่วัดเพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา อันหมายถึงกุศลพิธี ดังคำสอนโบราณอีสานว่า

(…….)


1 ขุ. อิติ. 25 /200/172-173

2 ขุ. ธ. 25/118/38

3 องฺ ปญฺจก. 22/36/36

4 ขุ. ธ. 25/26/31

5 ที.ปาฏิวรรค สังคีติสูตร/เล่ม16

6 พระราชวรมุนี(ประยุทธ์ ปยุตโต) ,พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, หน้า 175

7 ดร.ปรีชา พิณทอง, ย่าสอนหลาน, อุบลราชธานี;ศิริธรรมออฟเซ็ทการพิมพ์) พ.ศ. หน้า ๖

8 ศรี วงศ์สอาด. โตงโตยธรรมกถึก,(ขอนแก่น, ) หน้า 17

9 ปรีชา คุณาวุฒิ, พุทธปรัชญาเรื่องกรรมและผลของกรรม,วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2521, หน้า 53

10 ดร. ปรีชา พิณทอง. ย่าสอนหลาน. หน้า 12

136 มหาโกวิทย์ สิริวณฺโณ,มรดกอีสาน,(กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย), ๒๕๓๓, หน้า ๑๒๕

131 เรื่องเดียวกัน หน้า ๓๙๑

90 พระมหาโกวิทย์ สิริวณฺโณ, มรดกอีสาน(กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย)๒๕๓๓,หน้า ๗๕

เปรียบเทียบการดำเนินชีวิตตามนัยแห่งพุทธภาษิตกับผญาภาษิตอีสาน

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

 

เปรียบเทียบการดำเนินชีวิตตามนัยแห่งพุทธภาษิตกับผญาภาษิตอีสาน

สังคมไทยมีความสงบร่มเย็นมาได้ทุกวันนี้ก็ด้วยได้อาศัยหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาเป็นหลักดำเนินชีวิตมานานนับพันปี เพราะว่าชาวไทยสมัยโบราณหันหน้าเข้าหาวัด ใกล้ชิดวัด สนิทกับวัดมากและวัดก็ทำหน้าที่ที่สำคัญเพื่อชาวบ้านไม่น้อย การได้อยู่ใกล้ชิดวัดนี่เอง แรงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาจึงอยู่เหนือจิตใจของชาวไทยทุกคน และเพราะคนไทยมีชีวิตแนบแน่นกับพระพุทธศาสนามากเช่นนี้ พระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยมากมาย รวมไปถึงบทผญาต่างๆที่เป็นสัญลักษณ์แบบชาวอีสาน ซึ่งวิวัฒนาการมาจากภูมิปรัชญาท้องถิ่น คำผญาต่างๆก็มีอิทธิพลในวิถีคิดของชาวอีสานเดียวกัน

การศึกษาพุทธภาษิตและผญาภาษิตอีสานนั้นความสำคัญที่สุดคือคติธรรมคำสอนของพุทธภาษิตและผญาภาษิตอีสานซึ่งมีระบบความคิดของนักปราชญ์โบราณอีสานแต่ละคนมีระบบและวิธีการในการคิดเสนอคติธรรมที่สอดคล้องกับหลักพุทธศาสนาอย่างไร หรือว่าพุทธภาษิตได้มีบทบาทอิทธิพลต่อผญาภาษิตอีสาน อันหมายถึงหลักการแยกศึกษาส่วนย่อย ในความหมายของการวิเคราะห์นี้ นอกจากวิเคราะห์แล้วผู้เขียนยังต้องมีการสังเคราะห์หมายถึง การนำเอาสิ่งที่วิเคราะห์นั้นมารวมกันซึ่งจะได้องค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้น และยังมีวิธีการอื่นๆ ที่ใช้เป็นหลักมาตรฐานในการเปรียบเทียบ ซึ่งมี ๙ วิธีการ* เช่น การใช้หลักอัตนัยหรือปรัชญาของตนเพิ่มอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลตรงตามที่ได้ตั้งจุดประสงค์เอาไว้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะพึงกระทำได้

การศึกษาเปรียบเทียบทัศนะในพุทธภาษิตและในผญาภาษิตอีสาน มิได้มีความมุ่งหมายเพื่อยกผญาภาษิตให้สูงกว่า ดีกว่า มีคุณค่ามากกว่า หรือให้ต่ำกว่า ดีน้อยกว่า และมีคุณค่าน้อยกว่าพุทธภาษิตแต่อย่างใด เพียงแต่ประสงค์จะทราบถึง ทรรศนะส่วนใดที่เหมือนกัน คล้ายหรือใกล้เคียงกัน หรือทัศนะใดที่แตกต่างกันในความเหมือนกัน เพราะทั้งความเหมือนกันและแตกต่างกันนั้น สามารถที่จะให้ทัศนะทางความคิด และความลึกซึ้งของคำสอนนั้นอย่างเท่าเทียมกัน การเปรียบเทียบนั้นย่อมจะปรากฏผลทั้งเหมือนกัน และแตกต่างกัน

ดังนั้น ในเบื้องต้นจึงต้องเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อนว่า การทำจิตให้เป็นกลางอย่างอิสระไม่เข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นคุณธรรมของทั้งผู้ศึกษาและผู้อ่านที่ถูกต้อง การนำหลักการมาเปรียบเทียบ จึงเป็นการทำหน้าที่ในการจะทำให้เหตุผลทำหน้าที่ของเหตุผลได้อย่างอิสระแท้จริง ซึ่งอาจแตกต่างหรือเหมือนกันนั้นขึ้นอยู่กับหลักของเหตุผลของสุภาษิตทั้งสองสายนั้น ๆ ในกรณีอย่างนี้ พระเมธีธรรมาภรณ์กล่าวถึงการเปรียบเทียบว่าจะต้องมีใจที่เป็นกลางนั้นต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า

การนำเอาปรัชญามาเปรียบเทียบกันไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วย ความเห็นเหมือนกันเสมอไป คนส่วนมากมีความเข้าใจผิดว่า การเปรียบเทียบปรัชญา ใด ๆ ก็ตามมุ่งที่จะค้นหาว่าปรัชญานั้น ๆ เหมือนกันอย่างไรบ้าง อันเป็นทัศนะที่ผิด ( อันเป็นความหวังที่ไม่มีทางเลือก ) เพราะแท้ที่จริงนั้น การเปรียบเทียบปรัชญาอาจเป็นการแสวงหาความแตกต่าง ในปรัชญาที่ดูเผิน ๆ แล้วเหมือนกัน

จากข้อความที่ยกมานี้ จึงต้องอาศัยความเป็นกลางโดยให้ปัญญาเดินไปพร้อมกับเหตุผล และบางครั้งจะต้องยกตัวอย่างมาอธิบายให้เกิดความเข้าใจ ผู้ศึกษาจึงต้องมีจิตใจกว้าง กล่าวคือ ถ้าได้รับรู้ ความรู้ที่ผิดไปจากความเชื่อเดิม ๆ การศึกษาที่ผ่านมาแล้วนั้น ต้องทำใจให้เป็นคนใหม่ ศึกษาของใหม่ ด้วยจิตใจใหม่ สติปัญญาใหม่ ๆ และพยายามค้นหาให้พบ หรือเข้าใจให้ได้ว่า จุดมุ่งหมายที่แท้จริงนั้นว่าด้วยเรื่องอะไร

ดังนั้น ในการเปรียบเทียบจึงต้องรู้ข้อมูลที่ลึกซึ้ง ทั้งพุทธภาษิตและผญาภาษิตอีสาน โดยเฉพาะการวางใจให้เป็นกลางในการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลให้ได้และนำมาเปรียบเทียบนั้น นับว่าเป็นปฐมเหตุที่จะทำให้รู้ความจริงแท้ ทั้งความเหมือนกันและแตกต่างกัน

ในทัศนะโดยทั่วไปของพุทธศาสนานั้น เป็นกรรมวาที กิริยาวาที และวิริยวาที คือเป็นพุทธปรัชญาที่ยืนยันหลัก กรรม คือการกระทำ และความเพียรพยายามสม่ำเสมอเป็นสาเหตุให้เกิดผลแห่งประโยชน์ และความสุข ซึ่งการกระทำนั้นจะต้องประกอบด้วยความตั้งใจหรือเจตนาจึงจะทำให้ได้รับผลสมบูรณ์อย่างเต็มที่ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ทั้งนี้สาเหตุคือผัสสะ”จากพุทธภาษตินี้แสดงว่า การกระทำที่จะก่อให้เกิดประโยชน์และความสุข มีอิทธิพลต่อหลักศีลธรรมของมนุษย์จะต้องมีความตั้งใจเป็นหลักสำคัญต่อการแสดงออกมาทางวาจา และทางกาย จะต้องเกี่ยวโยงกับสังคมในทางที่ดี

พุทธภาษิตได้ตระหนักในเรื่องของการกระทำนี้เป็นอย่างดี การกระทำกรรมหรือการแสดงออกของพฤติกรรมมนุษย์จึงต้องอาศัยหลักธรรมที่สำคัญยิ่งคือความมีสติ ที่เรียกว่า ความไม่ประมาท และใช้ความเพียรพยายาม ที่ถูกต้องเป็นธรรมจึงทำให้มนุษย์เป็นผู้ที่มีความสุขได้ เพราะความสุขนั้นไม่ได้จำกัดแต่เพียงตระกูลสูง ชนชั้นสูง มียศสูง หรือมีโภคะมากมายหามิได้ แต่ความสุขและความทุกข์นั้น เกิดจากการกระทำกรรมของบุคคลนั้น ๆ พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า “บุคคลไม่เป็นคนถ่อย (คนชั่ว)เพราะชาติ ไม่เป็นพราหมณ์( คนดี) เพราะชาติ แต่เป็นคนถ่อย (คนชั่ว )เพราะกรรม เป็นพราหมณ์(คนดี)เพราะกรรม (การกระทำ หรือ พฤติกรรม)”จากพุทธพจน์นี้ จึงเป็นการเน้นหลักจริยธรรมที่การกระทำอย่างชัดเจน และเด่นชัดยิ่ง อันเป็นเครื่องชี้ชัดเจนว่าการที่มนุษย์จะเป็นคนดีมีความสุขทั้งกายและใจนั้น อยู่ที่การกระทำ และยังต้องได้รับผลแห่งการกระทำนั้นด้วย

พระพุทธองค์ตรัสย้ำกับ สุมาณพ โตเทยบุตร ณ วัดพระเชตวันเอาไว้ความว่า “ ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลว และประณีตได้” จากพระพุทธดำรัสที่ยกมานี้ จึงเป็นการชี้ชัดว่า พุทธปรัชญาเน้นสอนให้มนุษย์มีความเข้าใจในเหตุและผล ด้วยปัญญาที่อิสระ การกระทำนั้นจะนำประโยชน์และความสุข มาสู่ตนและบุคคลอื่น ไม่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น อันเป็นการให้แนวทางที่เป็นกลางเอาไว้ มนุษย์สามารถเลือกปฏิบัติตามได้ การสอนก็มิได้บังคับให้เชื่อโดยขาดการพิจารณา การไตร่ตรอง แต่สอนให้รู้และเลือกที่จะปฏิบัติได้ด้วยสติปัญญาเองอย่างถูกต้อง

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

๔.๑ การดำเนินชีวิตของสตรีตามนัยแห่งพุทธภาษิตกับผญาอีสาน

๔.๒การดำเนินชีวิตของบุรุษตามนัยแห่งพุทธภาษิตกับผญาอีสาน

๔.๓ การดำเนินชีวิตของบุคคลทั่วไปตามนัยแห่งพุทธภาษิตกับผญาอีสาน

๔.๔ การดำเนินชีวิตในระดับพื้นฐานตามนัยแห่งพุทธภาษิตกับผญาอีสาน

๔.๕ การดำเนินชีวิตในระดับกลางตามนัยแห่งพุทธภาษิตกับผญาอีสาน

๔.๖ การดำเนินชีวิตในระดับสูงตามนัยแห่งพุทธภาษิตกับผญาอีสาน

๑ สอนรากฐานแห่งชีวิต

๒ สอนพื้นฐานชีวิต

๓ สอนเตรียมทุนแห่งชีวิต

๔ สอนรักษาความสัมพันธ์ของชีวิต

๒.๓ อิทธิพลของพุทธภาษิตมีต่อผญาภาษิต

คติคำสอนที่ได้มาจากสุภาษิตอีสานซึ่งส่วนมากก็เป็นเรื่องการดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความผาสุขและการมองเห็นชีวิตอย่างถูกต้องนั้นจะทำให้ลดความมัวเมาในชีวิตลง คำสอนที่ปรากฏในสุภาษิตอีสานล้วนแต่มีสายสัมพันธ์สืบต่อมาจากพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น เพราะพระพุทธศาสนาเป็นแกนสำคัญอย่างยิ่งที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมทางด้านความเชื่อ พฤติกรรม ประเพณี ถึงแม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเกิดที่อินเดีย แต่ว่าชาวอีสานก็ได้นำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นได้อย่างดี กล่าวโดยภาพรวมแล้วพระพุทธศาสนาเป็นกุญแจอันสำคัญที่ส่งผลให้ชาวไทยอีสานเข้าใจในระบบปรัชญา จนมีผู้กล่าวว่าปรัชญาอีสานนั้นก็คือ พุทธปรัชญานั้นเอง เนื้อหาในสุภาษิตได้สะท้อนถึงความเชื่อของคนไทยอีสานในเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุที่พระพุทธศาสนามีความเกี่ยวพันกับจิตใจของคนไทยอีสานเป็นเวลาช้านาน ซึ่งเป็นแบบฉบับและเป็นหลักที่พึงทางใจแก่ชาวไทยอีสาน ซึ่งเป็นดังประทีปที่ช่วยส่องแสงสว่างในการดำเนินชีวิต ดังนั้นการแสดงออกด้านพฤติกรรมของชาวไทยอีสาน ล้วนแต่ออกมาจากแนวคำสอนของพระพุทธศาสนาที่สอดแทรกอยู่ในวิถีทัศน์ของชาวไทยอีสาน

พิทูร มลิวัลย์ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า พระพุทธศาสนา อันหมายถึง คัมภีร์ต่างๆในทางพระพุทธศาสนา คือพระไตรปิฏก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ต่างๆมีมากที่สุดในภาคเหนือและภาคอีสาน ที่ส่งผลมากที่สุดต่อผญาภาษิตท้องถิ่นอีสานคือ นิทานชาดก ทั้งนิบาตชาดกและปัญญาชาดก ดังนั้นคำสอนต่างของอีสานเมื่ออ่านแล้วจะทราบว่าโครงสร้างหรือรูปแบบของเรื่องนั้นดำเนินไปแบบเดียวกับนิทานชาดกของพระพุทธศาสนา เช่น เรื่อง สินไซ กาละเกด เสียวสวาด ซึ่งมักจะนิยมอ้างว่าเป็นชาดกและกล่าวว่ามีในเรื่องพระเจ้าห้าสิบชาติ ซึ่งตรงกับคำว่า ปัญญาส หมายถึง ๕๐ เรื่อง แต่ในปัญญาชาดกมีมากกว่า ๕๐ เรื่อง แต่ที่มีปรากฏในปัญญาสชาดกฉบับห่อสมุดแห่งชาติมี ๖๓ เรื่อง พระพุทธศาสนาที่แผ่หลายนี้น่าจะเป็นเพราะในสมัยก่อนนิยมเผยแพร่ศาสนาทางนิทานเพื่อให้คนเข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีๆ ซึ่งปรากฏในชาดก

วรรณกรรมท้องถิ่นในอีสานมีจำนวนมากแต่ก็พอแบ่งออกได้ ๒ ลักษณะ ได้แก่ทางโลกและทางธรรม เรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาหรือเป็นเรื่องแปลออกจากพุทธศาสนาจะเรียกว่า วรรณกรรมทางธรรม ส่วนที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาของนักปราชญ์ทางด้านศาสนา และของชาวบ้านซึ่งจะมีด้านประวัติศาสตร์ โบราณนิทาน จะเรียกว่า วรรณกรรมทางโลก ทั้งสองลักษณะนี้ล้วนแต่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น

ในภาษิตอีสานจะพบว่าสิ่งที่ส่งผลมาจากพระพุทธศาสนาคือวรรณคดีบาลีมี ๒ ลักษณะ คือ อิทธิพลจากระเบียบนิยมในการแต่ง ถ้าเป็นพระไตรปิฏกไม่มีบทไหว้ครูเหมือนอรรถกถา แต่จะกล่าวคำว่า นะโมเท่านั้น แล้วก็จะดำเนินเรื่องไปเลย หรือบ้างเรื่องจะมี นะโมแล้วก็นิยมแปลตาม หรือมีคำว่า นะโม ตัสสะถ หรือ นะโม รนัดตะยะสะ หรือเป็นคำบาลีไว้ก่อน ดังตัวอย่างวรรณคดีเรื่องสินไซ มีบทไหว้ครูว่า

“ สีสุ มังคละเลิศล้ำ สิททิเดชลือชา

นาโถสุด ยอดยานไตรแก้ว

สวัสดีน้อม ในทัมม์พุททะบาท

คุณย่อมยอใส่เกล้า ชุลีล้ำยอดยาน

ฮารัลด์ ฮุนดีอุส ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อคำภาษิตอีสานนั้นก็เพราะว่าผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นพระสงฆ์นั้นเอง ดังนั้นจึงรับเอาคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เป็นภาษาบาลีมาก่อนแล้วมีขบวนการแปลออกเป็นอักษรตัวธรรมหรือภาษาธรรมและมีอรรถกถาช่วยอธิบาย ซึ่งต่อมานักปราชญ์ชาวอีสานก็สร้างสรรวรรณคดีขึ้นมาเป็นของตัวเองทั้งที่เป็นภาษาธรรมและภาษาพื้นเมือง โดยเฉพาะวรรณคดีท้องถิ่นเรื่องต่างๆล้วนแต่มีโครงสร้างมาจากนิทานชาดกทั้งสิ้นซึ่งก็เป็นเช่นกับภาคอื่นๆหรือประเทศอื่นๆที่รับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามาในสงคมย่อมจะส่งผลต่อวัฒนาความเชื่อดังเดิมของท้องถิ่น ภาคอีสานก็หนี้ไม่พ้นระบบความเชื่อแบบนี้เช่นกัน วรรณคดีท้องถิ่นอีสานนี้ได้รับอิทธิพลมาจากล้านนา โดยเฉพาะชาดกนอกนิบาตซึ่งมีประมาณ ๒๐๐ กว่าเรื่อง ซึ่งเป็นปัญญาสชาดกของช้าวล้านนาแพร่อิทธิพลกระจายไปยังประเทศใกล้เคียงต่างๆทั้งเขมร พม่า ลาว เซียงตุง วรรณคดีท้องถิ่นอีสานก็ได้เนื้อเรื่องมาจากปัญญาสชาดก แม้ปัจจุบันก็ยังเห็นร่องรอยอยู่กล่าวคือเมื่อเป็นภาษาพื้นบ้านก็มีคำบาลีปะปนอยู่ด้วย “ดังตัวอย่างที่ปรากฏในปัญญาสชาดกฉบับหอสมุดแห่งชาติเรื่องสุบินชาดก ได้กล่าวประพันคาถาความตอนหนึ่งว่า

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

“ความรักใคร่อันเกิดขึ้นแล้วย่อมเกิอขึ้นด้วยเหตุสองประการคือ

ด้วยความที่เคยอยู่ร่วมกันมาในชาติปางก่อน ๑ ด้วยเหตุเกื้อ

กูลในปัจจุบัน ๑ อุปมาเหมือนอุบลชาติอันเกิดแล้ว(ต้องอาศัย

ด้วยเหตุสองประการคือ น้ำ ๑ เปือกตม๑)”

กวีท้องถิ่นของชาวอีสานในอดีตมาล้วนแต่ได้รับอิทธิพลมาจากวัด ซึ่งเป็นเสมือนสถานบันเป็นแหล่งศูนย์กลางการศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านตลอดถึงได้ศึกษาสรรพวิชาการต่างๆจากวัด ดังนั้นวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อผู้สร้างสรรงานวรรณกรรมต่างๆของท้องถิ่น อยากที่จะแยกออกได้ว่าวรรณกรรมไหนเป็นของท้องถิ่นแท้ๆ โดยเฉพาะวรรณคดีพุทธศาสนาที่เป็นมูลบาลี(คัมภีร์พระไตรปิฏก) และอมูลบาลี(อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และปกรณ์พิเศษ) รวมเป็นผลิตผลทางวรรณคดีที่อิงอาศัยหลักพระพุทธศาสนาเป็นต้น

วรรณกรรมท้องถิ่นอีสานทั้งประเภทลายลักษณ์อักษรและแบบมุขปาฐะที่มีหลักฐานอยู่ล้วนแต่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งและกว้างขวางโดยเฉพาะวรรณกรรมลายลักษณ์อักษรจะมีการแต่งที่อิ่งอาศัยหลักทางฉันทลักษณ์ในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น วรรณคดีทั้งของพระพุทธศาสนาและของชาวอีสานล้วนแต่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันสำคัญยิ่งที่ชี้ให้เห็นระดับความเจริญของชนในชาติ ซึ่งชาติที่มีอารยธรรมที่เจริญและมีการวิวัฒนาการทางสงคมที่เป็นปึกแผ่นมั่นคงต่างก็มีวรรณคดีทั้งที่ถ่ายทอดโดยปากเปล่าหรือวรรณคดีมุขปาฐาน และวรรณคดีที่เป็นภาษาเขียนที่เรียกว่าวรรณคดีลายลักษณ์ ชาวอีสานมีก็มีวรรณคดีทั้งสองแบบ กล่าวคือวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาและวรรณคดีท้องถิ่น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและคติชนวิทยาแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยอีสานได้รับเอาวัฒนธรรมพุทธศาสนามาใช้เป็นแนวทางดำเนินชีวิตไม่น้อยกว่าพันปี ชาวอีสานมีความศรัทธาอย่างแรงต่อพระพุทธศาสนาซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมต่างๆทั้งด้านจิตนิสัย และคติชนของสังคม ซึ่งแสดงออกมาในรูปแบบของพิธีกรรม จารีตธรรมเนียมต่างๆล้วนรับมาจากพุทธศาสนา

คตินิยมของพุทธศาสนิกชนในภาคอีสานที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การอุทิศตนเองกระทำคุณความดีเป็นพุทธบูชาตามกำลังความรู้ความสามารถ ตามฐานะของแต่ละคนจะพึงมีในเมื่อมีโอกาส อาทิเช่น การสร้างวัด การอุทิศแรงงานถวายวัด ตลอดถึงการสร้างและบริจาคมรดกมีค่าถวายวัดเป็นพุทธบูชา คติอันนี้เด่นชัดมากในเรื่อง การผูกพัทธสีมา(การขอดสิม) และยังมีสร้างสิ่งที่เป็นวัตถุบูชา คือการสร้างหนังสือไว้ในพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นพุทธบูชา อันเป็นจุดเริ่มต้นให้วรรณกรรมท้องถิ่นภาคอีสานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและวรรณคดีประเภทอื่นๆรุ่งเรืองไปด้วย

ความศรัทธาเรื่องอานิสงส์จากการสร้างหนังสือ ชาวอีสานมีที่มีความเข้าใจพระพุทธศาสนาในระดับสูงกว่าพุทธศาสนิกชนสามัญ จะมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการสร้างหนังสือ เพื่อให้ธรรมะของพระพุทธเจ้าเผยแผ่ไปสู่บุคคลอื่นตลอดถึงใช้เป็นประโยชน์ในการศึกษาของพระสงฆ์และยังใชเป็นหนังสืออ่านในงานพิธีต่างๆ เพราะเป็นการให้ทานประเภทธรรมะเป็นทานชื่อกันว่าได้บุญมาก ดังพุทธภาษิตว่า “สพฺพทานํ ธมฺทานํ ชินาติ” การให้ธรรมะเป็นทานย่อมชนะการให้ทั้งปวง และยังมีความเชื่อว่ามีอานิสงส์มากกว่าวัตถุทาน คติเช่นนี้เป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวไทยอีสานนิยมสร้างหนังไว้ในพระพุทธศาสนา เป็นพุทธบูชา และถ้ายิ่งได้สร้างหนังสือประเภทมูลบาลี หรืออมูลบาลีที่แต่งด้วยภาษาบาลีจารด้วยอักษรขอมก็จะยิ่งได้กุศลผลบุญแรง เพราะเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีแต่บุญเท่านั้นที่จะนำติดตัวไปสู่ปรโลกได้ ดังสุภาษิตอีสานว่า

ซื่อว่าบุญกุศลสร้าง สมควรคนเฮาเฮ็ดใส่

ถ้าหากว่าผู้ใดบ่สร้าง หาบุญไว้กลิ่นบ่อหอม

เกิดเป็นคนเฮาควรสร้าง ในทางดีนั้นละแม่น

ไผผู้หลงไปหาโลกเลี้ยว ยามตายเจ้าซิเพิ่งหยั่ง2

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ผลกระทบจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยขึ้นในหัวเมืองต่างๆ จนทำให้ผู้รู้หนังสือขอมและหนังสือธรรม และหนังสือไทยน้อยของชาวอีสานลดน้อยลง ความเชื่อเรื่องอานิสงส์จากการสร้างหนังสือไว้ในพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นพุทธบูชา พอจำแนกได้เป็น ๕ ลักษณะดังนี้คือ

(๑) มีอานิสงส์ให้เกิดผลบุญทั้งแก่ผู้สร้างและผู้เกี่ยวข้อง

(๒) มีอานิสงส์ให้เข้าสุคติโลกสวรรค์

(๓) มีอานิสงส์ให้ได้พบกับยุคศาสนาของพระศรีอาริยเมตตรัย

(๔) มีอานิสงส์ให้เกิดรู้แจ้งในธรรมของพระพุทธเจ้า

(๕) มีอานิสงส์ให้ถึงพระนิพพาน

การสร้างหนังสือถวายแก่วัดก็เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาและยังเป็นพุทธบูชา ล้วนแต่สร้างไว้ในพระพุทธศาสนาโดยมีวัดเป็นที่เก็บคัมภีร์เหล่านี้ จนมีการสร้างหอเก็บหนังสือไว้กลางนำเรียกว่า หอไตรหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่มีต่อคำสอนอีสานด้วยเหตุที่พระพุทธศาสนามีความเกี่ยวข้องกับจิตของคนอีสานมาเป็นเวลาช้านานซึ่งเป็นแบบฉบับตลอดถึงเป็นที่พึ่งทางจิตใจและเป็นปทีปให้ความสว่างในการดำเนินชีวิต ดังนั้น การแสดงออกทั้งทางด้านพฤติกรรมต่างๆของคนอีสานจะได้รับอิทธิพลจากพิธีกรรมในทางพระพุทธศาสนาและความเชื่อทุกอย่างก็ได้รับแรงอิทธิพลมาจากหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาซึ่งสอดคล้องกับบุคคลิกนิสัยของชาวอีสานเป็นอย่างดี ฉะนั้นอิทธิพลของวรรณกรรมจากพระพุทธศาสนาจึงปรากฏอยู่ในวรรณกรรมคำสอนอีสาน

ชาวอีสานยอมรับคำสอนทุกอย่างในพระพุทธศาสนาแต่กระนั้นก็ยังมีแนวความเชื่อดังเดิมอยู่เป็นจำนวนมากที่เปลี่ยนแปลงไปจากคำสอนในพุทธศาสนา คือความโน้มเอี้ยงไปในระบบวิญญาณนิยมอยู่มากเหมือนกัน แต่เมื่อมาได้รับคำสอนที่ถูกต้องแล้วชาวอีสานก็หันกับมาสู่หลักปรัชญาของตนเอง ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลทั้งต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชาวอีสานมากมาย รวมไปถึงคำสุภาษิตอีสานก็ได้รับมาด้วยเช่นกัน ถือว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวอีสานที่ยอมรับและเชื่อกันมา จนกลายเป็นหนึ่งเดียวกันกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีผลดังต่อไปนี้คือ

อิทธิพลต่อลักษณะนิสัยจิตใจ เพราะชาวอีสานมีนิสัยโอบอ้อมอารีมีเมตากรุณา เคารพ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความกตัญญูกตเวที ขยันอดทน และมีความสุภาพตลอดถึงไม่เห็นแก่ตัวเป็นลักษณะนิสัยที่สะท้อนให้เห็นว่าอิทธิพลของหลักสุภาษิตทั้งสองมีส่วนสำคัญยิ่งที่ส่งเสริมให้คนอีสานมีบุคคลิกอย่างนี้ แผ่อิทธิพลต่อวรรณกรรม ต่างๆของอีสานที่สำคัญๆก็มีบ่อเกิดจากพุทธศาสนาเป็นส่วนมาก ฉะเพาะหลักจริยธรรมในหลักธรรมทางพุทธศาสนาล้วนมีโครงเรื่องและการดำเนินเรื่องล้วนแต่เกิดมาจากชาดกในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ส่งผลต่อขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆของชาวอีสาน สืบเนื่องจากวรรณกรรมทุกเรื่องในภาคอีสานก็ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาโดยตรง จึงส่งผลมาเป็นแนวประพฤติและหลักปฏิบัติแก่ชาวอีสานทั้งหลักจริยธรรมและหลักธรรมตลอดมา

อิทธิพลจากชาดกในพุทธศาสนาที่มีต่อวรรณกรรมอีสาน พระพุทธศาสนามุ่งสอนให้คนกระทำความดีเว้นการกระทำความชั่วและชำระจิตใจให้สะอาดผ่องใส ผู้ใดประกอบกรรมดี กรรมดีย่อมตอบสนอง และผู้ใดประกอบกรรมชั่ว กรรมชั่วย่อมตอบสนองเช่นกัน ผู้ใดกระทำกรรมไว้ย่อมเกิดผลแห่งการกระทำนั้น ดังที่พระพุทธเจ้าพระองค์ททรงไว้ในสคาถวรรค สังยุตตนิกายว่า “ บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว”( สํ. ส. 15/256/273) ไม่มีใครหลีกหนีผลกรรมพ้นไปได้ ในกรณีเองนักปราชญ์อีสานมักจะสั่งสอนลูกหลานของตนเองให้ดำรงชีวิตให้ห่างจากทางแห่งความชั่ว เพราะมีความเชื่อในเรื่องของกรรม และผลกรรมตามส่งผลให้ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนในภายหลัง ดังนั้นจึงพยายามสอดแทรกหลักจริยธรรมพร้อมทั้งหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาเข้าไปในเนื่อหาของวรรณกรรมทุกเรื่อง เพื่อเป็นการสอนด้านจริยธรรมแก่คนทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อให้คนเกรงกลัวความชั่ว พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่า “บุคคลทำชั่วแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง เป็นผู้มีหน้าอันชุ่มด้วยน้ำตา ร้องให้ เสวยผลของกรรมอันใดอยู่ กรรมอันนั้นอันบุคคลทำแล้วไม่ดี นั้นคือกรรมชั่ว( ขุ.ธ. 25/76/28(…………………..)

พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าใจเรื่องกรรมว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเองเป็นทายาทแห่งกรรมของตน มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง กรรมใดก็ตามที่เขาทำลงไป ดีหรือชั่วก็ตาม เขาย่อมจะเป็นทายาทแห่งกรรมนั้น (อง. ฉกก 22/161/176 ) อิทธิพลของหลักคำสอนเช่นนี้ได้ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมอีสาน(………)

วรรณกรรมหลายเรื่องๆ ได้แสดงถึงสาระของหลักคำสอนแทรกอยู่ในเรื่องเสมอ เพราะผู้ที่แต่งได้รับอิทธิพลจากการได้ศึกษาหลักธรรมมาอย่างชัดเจนแล้วก็นำหลักการประพันธ์ตามหลักของพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่วรรณกรรมอีสาน คือมีการดำเนินเรื่องที่ส่งผลให้ตัวเอกของเรื่องเป็นผู้แสดงหลักคำสอนต่างๆแทนตัวผู้ประพันธ์ซึ่งได้ถ่ายทอดเอาสิ่งที่อยู่ในท้องถิ่นขึ้นมาเป็นตัวอย่างในการสอนคนให้เข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น นับว่าเป็นกุสโลบายของนักปราชญ์ชาวอีสานที่ผสมผสมคำสอนที่ยากๆ ให้เกิดการเข้าใจง่าย ด้วยเหตุนี้วรรณกรรมส่วนหนึ่งจึงมีหลักษณะของการแฝงคติธรรมแนวปริศนาธรรมไว้เสมอๆ (……………….)

วรรณกรรมไม่เพียงให้คติธรรม แต่ก็ยังกล่าวถึงธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยเบญจขันธ์ และยังกล่าวถึงความทุกข์อันมีมูลฐานมาจากตัณหาต่างๆ(…..) สุภาษิตอีสานที่ปรากฏในวรรณกรรมต่างๆนั้นจึงได้สะท้อนให้เห็นคติธรรมตลอดถึงหลักการปฏิบัติให้พ้นทุกข์ ที่อิงอาศัยหลักปฏิบัติตามพุทธวิธี(…….อริมรรคมีองค์ 8) อิทธิพลต่างๆที่เกิดจากแรงผลักดันจากวิถีชีวติมนุษย์ที่มีแต่ความทุกข์นั้น แต่สุภาษิตทั้งสองก็ยังส่งเสริมให้มนุษย์มีการต่อสู่เพื่อเอาชนะความทุกข์ที่จรมา ( ….. แต่สำหรับความทุกข์ที่เกิดมาประจำสังขาร กล่าวคือ ความแก่ ความเจ็บ ความชราและความตายนั้นสุภาษิตที่มีในวรรณกรรมอีสานก็เน้นให้รู้ว่า………..วรรณกรรมพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อวรรณกรรมอีสานนั้นพอกล่าวสรุปได้ดังนี้

ชาดก เป็นลักษณะคำสอนอีกวิธีหนึ่งในนวังคสัตถุศาสตร์(298/ลูกทุ่ง) ของพระพุทธเจ้าเป็นลักษณะของคำสอนที่เล่าเป็นนิทานสอนใจมีคติธรรมแฝงอยู่ในเรื่องตลอด ส่วนมากจะเป็นนิบาตชาดก กวีอีสานมักนิยมเอาชาดกมาแต่งเป็นวรรณกรรมอีสานเรื่องต่างๆ เพื่อดึงดูดศรัทธาของประชาชนให้หันเข้าหาหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งจะเป็นแนวคำสอนที่ง่ายๆและมุ่งสู่สังคมให้มีความสุขสงบ ซึ่งเป็นพื้นฐานทางสังคมของชาวอีสานตลอดมา

นำนิทานชาดกเป็นเครื่องนำมาเล่าในเชิงเปรียบเทียบให้เห็นคติธรรมและหลักธรรมต่างๆ โดยเฉพาะการนำเอานิทานชาดกอิงธรรมะมาผูกเป็นคำกลอนหรือประพันธ์เป็นผญาภาษิตเพื่อที่ใช้สอดแทรกธรรมะซึ่งเป็นแก่นของเรื่องนำไปเพื่อมุ่งสอนให้คติธรรมต่าง(…….กตัญญู) พุทธศาสนิกชนชาวอีสานโดยทั่วไปรู้จักเบญจศีลเป็นอย่างดี เนื่องจากสุภาษิตมักจะเน้นให้รักษาศีลทั้งศีลห้าและศีลแปด(………)หลักพุทธภาษิตก็เน้นให้รู้อานิสงส์ของศีลว่า……

หลักคำสอนอีสานนั้นมีนัยมากมายที่กวีหรือนักปราชญ์ในทางศาสนาชาวอีสานนั้นได้รวมกันประพันธ์ขึ้น การนำเสนอผลการศึกษาทั้งสองสุภาษิตในเชิงวิเคราะห์หาความมุ่งหมายของคำสอนในลักษณะอย่างไร และนำแนวคำสอนทางจริยธรรมซึ่งนักปราชญ์ชาวอีสานนำมาเพื่อประโยชน์ในการปลูกฝังคุณธรรมให้แก่ชาวอีสาน แบ่งได้เป็น ๔ ประการ คือ ๑) ผญาอีสานกับความเจริญของชีวิต ๒) ผญาภาษิตที่มีต่อการปฏิบัติต่อตนเองและคนอื่น ๓) ผญาภาษิตที่มีต่อความสุขและความดี ๔) ผญาภาษิตที่มีต่อการครองตน ๕) ผญาภาษิตที่มีต่อทางของความเสื่อมของชีวิต


๒ พระเมธีธรรมาภรณ์ ( ประยูร ธมฺมจิตฺโต ),เปรียบเทียบแนวคิดพุทธทาส-ซาตร์, (กรุงเทพฯ: ศยาม บริษัทเคล็ดไทยจำกัด,๒๕๓๖ ) หน้า ๓-๔.

๓ พุทธทาสภิกขุ,. สูตรเว่ยหล่าง,. ( กรุงเทพฯ:ธรรมสภา,๒๕๓๐ ) หน้า คำ-อนุโมทนา.

๔ องฺ ฉกฺก. ๒๒ / ๓๓๔ / ๓๖๘.

๕ ขุ.สุ. ๒๕ / ๓๐๖ / ๒๗๒.

๖ ม.อุ. ๑๔ / ๕๗๙–๕๘๑ / ๒๘๗.

พิทูรย์ มลิวัลย์. อิทธิพลวรรณคดีพุทธศาสนาต่อวรรณคดีท้องถิ่นอีสาน,(กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) พ.ศ. ๓๕๓๘ ,หน้า ๕๑

ฮารัลด์ ฮุนดีอุส. อิทธิพลพุทธศาสนาต่อวรรณดีล้านนา. (กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) พ.ศ. ๓๕๓๘ ,หน้า ๔๖

ศิลปากร, กรม, ปัญญาสชาดก (กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร) พ.ศ. ๒๔๙๙ , หน้า ๕๕๑

2 เรื่องเดียวกัน ,อ้างแล้ว , หน้า ๑๐๙

อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีผลต่อแรงบันดาลใจในการแต่งเพลง

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

.๖ อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีผลต่อแรงบันดาลใจในการแต่งเพลง

ความนิยมในการแต่งเพลงลูกทุ่งของครูเพลง พระพุทธศาสนาเป็นแรงบันดาลใจ แม้ว่าเพลงลูกทุ่งจะมีเนื้อเรื่องว่าด้วยความรักและการพรัดพราก การชิงรักชิงสวาท แต่บางเพลงจะจบลงด้วยแนวคิดในเรื่อง “กฎแห่งกรรม” คนทำดีย่อมได้ดี คนชั่วย่อมได้รับโทษทัณฑ์เหตุแห่งทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้วมีที่มาจากกรรม การที่ตัวเองผ่านอุปสรรคมาได้หรือพันทุกข์ ก็เป็นเพราะกรรมดีหรือบารมีที่ทำไว้ความสมเหตุสมผลของพฤติกรรมในเพลงหรือการดำเนินเรื่องก็อธิบายได้ด้วยกรรม เพลงลูกทุ่งจึงเป็นบทเพลงที่สั่งสอนกลาย ๆ ทั้งนี้ก็เพราะเป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานภาพหรือจุดประสงค์ของกวีหรือผู้แต่งเพลงนั่นเอง โดยบางครั้งนักรองอาจจะไม่รู้ความหมายของเนื้อเพลงก็อาจเป็นได้ ดังศรเพชร ศรสุพรรณ กล่าวว่า “ในฐานะเป็นคนร้องเพลง บางครั้งอาจจะไม่รู้เรื่องเท่าคนแต่ง เพราะบทเพลงแต่ละเพลงเกิดจากความคิดของผู้ประพันธ์”(ศรเพชร)

จากการสัมภาษณ์ ธรรมรงค์ เพชรสุนทร นักจัดรายการวิทยุชื่อดังที่จัดรายการเพลงลูกทุ่งมายาวนานได้ให้ทรรศนะว่า บทเพลงลูกทุ่งเป็นบทเพลงที่สะท้อนชีวิตของชาวไทยและบทเพลงลูกทุ่งเป็นเพลงที่เป็นภาษาร้อยกรองเรียกว่าภาษากวี มีความไพเราะด้วยภาษาและเสียงร้องที่กลมกลืน อีกทั้งเพลงลูกทุ่งยังสามารถเข้าได้กับคนฟังทุกเพศทุกวัยและอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน(ธรรมรงค์) ศรชัย เมฆวิเชียร นักร้องลูกทุ่งอีกคนหนึ่งได้แสดงควงามคิดเห็นเกี่ยวกับน้องร้องลูกทุ่งกับพระพุทธศาสนาว่า นักร้องลูกทุ่งนั้นคงวนเวียนอยู่กับวัดวาอารามไม่เพียงแต่บทเพลงที่เกี่ยวเนื่องเท่านั้นหากแต่ว่าแม้แต่ตัวนักร้องเองยังยึดมั่นอยู่กับคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างเช่นตัวเขาเองในคราวมีความทุกข์นอนไม่หลับก็นั่งสมาธิและสวดบทชินบัญชรเป็นประจำ ทำให้คิดว่าตัวเองนั้นได้สร้างคุณงามความดีเหมือนกัน(ศรชัย)

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

คุณค่าของเพลงลูกทุ่งนั้นเป็นสิ่งที่คนไทยควรจะหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง ในประเด็นนี้ รมต. กร ทัพพรังสี ส.ส. นครราชสีมา ได้เคยกล่าวว่า “เพลงลูกทุ่งเป็นคุณค่าของความเป็นไทยที่สามารถจะนำมาเป็นสื่อแห่งการพยายามอนุรักษืวัฒนธรรมแบบไทย ๆ นี้ไว้ได้ ถ้าเราจักรู้นำคุณค่านี้มาใช้ให้ถูกวิธี ทำนองของเพลงลูกทุ่งที่เรียบง่ายและสม่ำเสมอ ทำให้เกิดความรู้สึกสนุกและเพลิดเพลินแก่ผู้ฟังในการที่จะจดจำได้ง่าย เมื่อรวมกับเนื้อเพลงที่กลั่นกรองออกมาจากความรู้สึกที่จริงใจและสะท้อนถึงความจริงในสังคมที่ไม่มีจริงของความสมัยใหม่แอบแฝงอยู่ เมื่อรวมองค์ประกอบทั้งสองเข้าด้วยกันแล้ว ทำให้เพลงลูกทุ่งมีคุณค่าด้านดนตรีสามารถใช้เป็นสื่อด้านการอนุรักษ์ความเป็นไทยไว้ได้อย่างดีเยี่ยมที่สุด

ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช แสดงความคิดเห็นว่า อันที่จริงแล้วเพลงลูกทุ่งนั้นเป็นเพลงไทยที่ได้รับการปรุงแต่งให้

อยู่ในสิ่งแวดล้อมใหญ่เรารับอารยธรรมจากตะวันตกเข้ามามาก การใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงเพลงลูกทุ่งหาได้ทำให้เนื้อหาของเพลงลูกทุ่งสูญเสียเอกลักษณ์ความเป็นไทยไปแต่อย่างใดไม่ เพลงลูกทุ่งยังคงธำรงลักษณะของไทยไว้ คือ วรรณยุกต์ ทำนองเพลง เครื่องดนตรีไทย และอารมณ์ขัน(ม.ร.ว.คึกฤทธิ์)

เพลงลูกทุ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตจิตใจของชาวชนบทมานานหลายทศวรรษมีความผูกพันอยู่กับสภาพทางสังคมไทยถ่ายทอดลักษณ์วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตของคนไทยทุกสาขาอาชีพทำหน้าที่บันทึกประวัติศาสตร์ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เพลงลูกทุ่งมีเอกลักษณ์ “โดดเด่น” เฉพาะตัวทั้งด้านเนื้อหา ภาษา และอารมณ์ สะท้อนภาพออกมาให้เห็นถึงความเป็นจริงของชีวิตอย่างตรงไปตรงมา สะท้อนภาพทางธรรมชาติอันงดงามบริสุทธิ์(เดือนแรม) โดยการเรียบเรียงภาษากวีของนักแต่งที่มีประสบการณ์อย่างลึกซึ้งเพลงลูกทุ่งมักจะอาศัยครูเพลงที่มีความรู้ในเรื่องบทร้องกรอง เพราะมีการสัมผัสนอก – ในอย่างครบถ้วน และในแต่ละเพลงนั้นมักจะแฝงไปด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาเป็นแรงบันดาลใจหลายประการเช่น

๓.๖.๑ บทไหว้ครู ครูเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ กวีจึงยกย่องครู ดังนั้นก่อนจะแต่งเพลงลูกทุ่ง กวีจึงไหว้ครูก่อน ครูที่เคารพของกวีคือ “พระพุทธเจ้า” หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพ เช่น

“เธอทั้งหลายจึงตัดป่าดุจกิเลส แต่อย่าตัดต้นไม้ เพราะภัยย่อม

เกิดแต่กิเลสเป็นดุจป่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตัดกิเลสดุจป่า

และดุจหมู่ไม้ที่เกิดในป่า เพื่อจะได้เป็นผู้ไม่มีกิเลสดุจป่าอีกต่อไป”(ขุ.ธ.)

พระพุทธโฆษาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ได้อธิบายพระพุทธพจน์ส่วนนี้ไว้ว่า “คำว่าป่าในที่นี้หมายถึงต้นไม้ ซึ่งเปรียบเสมือนราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นรากเหง้าให้เกิดความชั่วร้ายนานัปการ จนกลายเป็นพัฒนาการ อันเหนียวแน่นที่ตรึงสัตว์ให้ติดอยู่ในภพ ส่วนคำว่าหมู่ไม้ หมายถึงต้นไม้เล็ก ๆ ที่ติดอยู่ในป่า ซึ่งเปรียบเสมือนกิเลสที่ให้ผลในปัจจุบัน”(ธัมมปทัฎฐกถา)

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ภาษาเป็นอุปกรณ์ของวรรณกรรม และวรรณกรรมก็ช่วยให้ภาษาเจริญเติบโตอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่นเดียวกันภาษาเป็นส่วนประกอบสำคัญยิ่งของวัฒนธรรม ประเทศไทยเป็นประเทศที่รักอิสระ ประชาชนทั่วไปมักจะเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนและชอบเสียงเพลงเสียงดนตรี นักปราชญ์จีนขงจื้อได้เคยกล่าวถึงเนื้อหาของเพลงไว้ว่า “หากจะดูชีวิตความเป็นอยู่ของชนชาติในบ้านใดว่าจะมีความสุขความทุกข์เรื่องอะไร มากน้อยเพียงใด ก็ดูได้จากบทเพลงร้องของชนในชาติบ้านเมืองนั้น” ซึ่งก็เป็นคำกล่าวน่าพิจารณามาก(พิชัย ปรัชญานุสรณ์)

เพราะฉะนั้น ในทางพระพุทธศาสนา เราจะเห็นว่าในศีล ๕ ซึ่งเป็นศีลขั้นพื้นฐานจะไม่มีข้อห้าม หรือข้อกำหนดให้งดเว้นในเรื่องเหล่านี้ ท่านไม่ห้ามเรื่องดนตรี ไม่ห้ามเรื่องศิลปะ เช่น จิตรกรรมอะไรต่าง ๆ บางทีก็พุทธเจ้าบางทีทรงแต่งเพลงให้คนที่เป็นคู่รักกันด้วยซ้ำ แต่แต่งเพลงชนิดที่มีเนื้อหาทางธรรมเรียกได้ว่า เป็นดนตรีในพระธรรมวินัย(พระเทพเวที)

ในฐานะที่เป็นมรดกของชนชาติไทย เนื่องจากความสำคัญในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมนั่นเอง พระพุทธศาสนาจึงกลายเป็นเนื้อหาสาระส่วนสำคัญในบทเพลงลูกทุ่งที่ว่ากวีได้นำเอาหลักธรรมมาสอดใส่เป็นภูมิปัญญาที่สะสมสืบทอดต่อ ๆ กันมาเป็นสมบัติของชนชาติไทย และเป็นเอกลักษณ์ของชาติตน พระพุทธศาสนาจึงเป็นส่วนร่วมของคนไทยแต่ละคน แม้กระทั่งกวีผู้แต่งเพลงที่ยึดเอาธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการประพันธ์เพื่อให้เพลงมีสาระ และเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกของชาติ ดำรงรักษาเอกลักษณ์ของไทยซึ่งเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่เป็นพุทธศาสนิกชนทุก ๆ คน

พุทธศาสนสุภาษิตมีสะท้อนถึงการแต่งเพลงลูกทุ่ง

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

.๒.๔ พุทธศาสนสุภาษิตมีต่อเพลงลูกทุ่ง กวีมักจะนำมากล่าวให้สติมักจะแทรกอยู่ในคำสอนต่าง ๆ ตามแต่จะเหมาะสม เช่นในบทเพลงความรัก ความผิดหวัง ก็จะแทรกไว้แล้วแต่เนื้อความและสถานการณ์ เช่น บทเพลงเปรียบเทียบการคบคนต้องดูที่หน้าตาเสียก่อน เหมือนกับการซื้อผ้าต้องดูเนื้อ รวมไปถึงการที่จะคบกับสตรี คนไทยเรานิยมการดูที่ครอบครัวด้วย มักจะมีคำโบราณพูดเสมอว่า “ดูนางให้ดูแม่ ถ้าจะดูให้แน่ดูถึงแม่ยาย”

การจะเลือกคู่ครองนั้นต้องถือว่าสำคัญยิ่ง เพราะจะต้องหาเนื้อคู่ที่อยู่ในอุดมคติของตนคือเป็นคนดี เรียกว่าให้มีเรือนสามน้ำสี่(เรือน ๓) แม้ในทางพระพุทธศาสนาก็กล่าวไว้ในเรื่องของสตรีที่บุรุษชอบใจแท้ ดังที่พุทธพจน์ตรัสไว้ว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย สตรีที่ประกอบด้วยองค์ ๕ ย่อมเป็นที่พอใจโดยส่วนเดียวของบุรุษ” ผู้หญิงที่เป็นแม่ศรีเรือน เป็นผู้งามด้วยจรรยามารยาทรู้หน้าที่การงานย่อมเป็นที่หมายปองของบุรุษ

สังคมไทยแม้จะยกย่องชายที่บวชแล้วเรียนแล้วว่าเป็นคนสุก สังคมไทยก็ไม่นิยมให้ชายบวชหลายครั้งจนถึงมีคำพังเพยเรื่องการบวชหลายครั้งว่า “ชายสามโบสถ์” เป็นสิ่งต้องห้าม(ลักขณา)

๓.๒ อิทธิพลของหลักคำสอนที่สะท้อนถึงการแต่งบทเพลงลูกทุ่งต่างๆ

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาคือจริยธรรมนั่นเอง จริยธรรมอิทธิพลเหนือจิตใจมนุษย์อย่างยิ่ง จริยธรรมเป็นทั้งข้อความปฏิบัติและข้อห้ามจริยธรรมมีอิทธิพบต่อกวีมากเช่นกัน(นิพนธ์) ในขณะเดียวกันผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาจึงแยกพระพุทธศาสนาในสังคมไทยเป็น ๒ แบบ คือ พระพุทธศาสนาตามหลักธรรมของพระศาสดา (Doctrinal Buddhism) อีกอย่างหนึ่ง คือ พระพุทธศาสนาแบบชาวบ้าน (Popular Buddhism)

ฉะนั้น ผู้ศึกษาจึงต้องพิจารณาความเชื่อทางด้านพระพุทธศาสนาแบบชาวบ้านมากกว่าพุทธศาสนาแบบทฤษฎีหลักธรรมของพระศาสดา(ธวัช) บทเพลงลูกทุ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นวัฒนธรรมทางคติธรรม เป็นบทเพลงที่มีจุดประสงค์ที่จะสอนประชาชนในด้านจริยธรรม ความประพฤติตลอดจนการดำรงชีวิตในสังคม ซึ่งเป็นลักษณะของการสะท้อนศีลธรรม และนักกวีเหล่านั้นเป็นผู้มีกุศโลบายอันดี จึงนำคำสอนเหล่านี้มาร้อยกรองให้กะทัดรัดสละสลวยและสะดวกต่อการจดจำ โดยสรุปรวมยอดแล้ว มีความหมายเป็นเหมือนคติธรรมโดยทั่วไป คือ

๑) มุ่งให้ละชั่วล

๒) มุ่งให้ทำความดี(สุวรรณ)

ด้วยเหตุนี้กวีจึงนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาสอดแทรกในบทเพลงลูกทุ่งไทยเท่าที่จะมีโอกาส จึงกลายเป็นภาษิตและคำสอนต่าง ๆ เช่น

๑) โลกธรรม

๒) มงคลสูตร

๓) ไตรลักษณ์

๔) อบายมุข

๕) ทิศหก

.๒.๑ โลกธรรม ๘

ธรรมดาของโลก หรือความเป็นไปตามคติธรรมดา ซึ่งหมุนเวียนมาหาชาวโลก และชาวโลกก็หมุนเวียนตามมัน

ไป บุคคลที่ไม่ประมาทมัวเมาจนตกเป็นทาสของโลกและชีวิตอย่างที่เรียกได้ว่า หลงโลกเมาชีวิตเพราะมีสติ รู้จักมองพิจารณา รู้จักวางตัววางใจต่อความจริงต่าง ๆ อันมีประจำอยู่กับโลกและชีวิตนั้นเป็นคติธรรม(พระเทพเวที) หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาสอนให้รู้ทันโลกธรรมคือรู้จักพิจารณาเท่านั้นตั้งสติให้ถูกต้องต่อสภาวะอันหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในชีวิตที่อยู่ท่ามกลางโลก ซึ่งเรียกว่า “โลกธรรม”(ได้ลาภ)

เพลงลูกทุ่งหลาย ๆ เพลงมีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอยู่เป็นจำนวนมากโดยเฉพาะเรื่องโลกธรรมทั้ง ๘ ประการที่สอดแทรกในเนื้อหาสาระของบทเพลง แม้ครูเพลงบางคนอาจจะไม่ตั้งใจที่จะเขียนบทเพลงในทำนองนี้ก็จริง แต่เนื้อหาเหล่านั้นกลับเชื่อมโยงเข้าหาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาโดยไม่ตั้งใจ เป็นเครื่องยืนยันในส่วนลึกของจิตใจของครูเพลงนั้น มีความรู้เกี่ยวกับหลักธรรมอยู่แล้ว ไม่มากก็น้อย เนื้อหาสาระจึงปรากฏออกมาเช่นนั้น จึงถือได้ว่าความละเอียดอ่อนนั้นได้ปรากฏมีอยู่ในเพลงลูกทุ่ง ทำให้ผู้ฟังนอกจากได้รับความเพลิดเพลินจากเสียงเพลงแล้วยังได้ประโยชน์ โดยเสียงเพลงซึมลึกและสื่อความหมายของหลักธรรมได้อย่างไม่รู้ตัว

ก. มีลาภ เป็นโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ ที่เกิดมีแก่ใครแล้วย่อมเป็นที่พอใจ จนไม่อยากให้เสื่อมสลายไป ถ้าไม่รู้เท่าทันก็จะตกเป็นทาจนเกิดการแสวงหาไม่มีคำว่าพอดี ซึ่งถือว่าเป็นโลกธรรมที่มีอยู่คู่โลกมายาวนานเพลงลูกทุ่งถึงการเก็บเงินแต่งงานถือว่าเป็นการหาทรัพย์หาได้โดยสุจริตประเพณีในชนบทฝ่ายชายจะต้องเตรียมพร้อม

ค่านิยมของคนไทยสมัยปัจจุบันนี้วัดกันที่ฐานะ โดยจะแข่งขันกันรวย ไม่ยอมน้อยหน้าซึ่งกันและกัน การมีรถ

หรือเครื่องเทคโนโลยีต่าง ๆ อยู่ในบ้านอย่างเพียงพร้อมถือว่าเป็นคนมีฐานะ สิ่งเหล่านี้ถ้าจะคิดให้ดีก็ถือว่าตกอยู่ใต้อำนาจของโลกธรรมนั่นเอง เพราะคนทั่วไปมักยอมรับทรัพย์สินทั้งหมดนั่นคือลาภ ที่ได้มากอย่างภาคภูมิใจ

เมื่อมีรถมักจะโอ้อวด แสดงตนเป็นเศรษฐี ชอบขี่อวดสาว ๆ เพื่อหวังผลคือเป็นสื่อเรียกร้องความสนใจ เพื่อมุ่งหวังจะให้ผู้หญิงสนใจตนและสุดท้ายก็ขึ้นไปนั่งเป็นตุ๊กตาหน้ารถ

ข.ไม่มีลาภ เป็นโลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ไม่น่าปรารถนาของคนทั่วไป ผู้กำลังประสบอยู่เพลงลูกทุ่งหลายเพลงที่กล่าวถึงการสูญเสียหรือการขาดลาภซึ่งเป็นเรื่องของชาวโลกที่มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นเรื่องของโลกธรรม และถือว่าเป็นธรรมดาของชาวโลกที่มักประสบพบทุกคน ขึ้นอยู่ว่าใครจะอยู่เหนือโลกธรรมเหล่านี้ได้ ลีลาและอารมณ์เพลงเป็นไปในทางล้อเลียนสังคมกลายแต่ก็ทำให้เราเห็นคนอีกพวกหนึ่งที่ไม่ยอมใช้แรงงานของตนให้คุ้มค่า โดยการคอยรับการทำงานทำเป็นหลักแหล่ง(ลักขณา)

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ค่านิยมในเรื่องเงินและทรัพย์สมบัตินี้เป็นสิ่งที่คู่กับสังคมไทยจนมีคำพังเพยที่กล่าวว่า “เรือล่มในหนองทองจะไปไหน” ซึ่งหมายความว่าชายหญิงที่มีฐานะและสมบัติทัดเทียมกันถ้าได้แต่งงานกันก็จะทำให้มั่นคงยิ่งขึ้นไป เพลงลูกทุ่งกล่าวถึงคำพังเพยข้างต้นไว้(จินตนา)

ค. ยศ เป็นสิ่งที่ทุก ๆ คนปรารถนาด้วยกันทั้งนั้น เพราะการมียศถาบรรดาศักดิ์นั้นทำศักดิ์ศรีของตนเองสูงขึ้น ชาวโลกทั้งหลายจึงติดอยู่ที่ยศถาบรรดาศักดิ์ ไม่สามารถที่จะนำให้ตนอยู่เหนือโลกธรรมก็ได้ ซึ่งต่างกับพระโสดาบันหรือบุคคลโสดาบันได้ก้าวหน้าแน่วดิ่งไปแล้วในทางแห่งการตรัสรู้เขาย่อมเข้าใจโลกและชีวิตมากพอที่จะไม่หลงตีราคาโลกธรรมต่าง ๆ ไปตามแรงปลุกปั่นของกิเลส(พระเทพเวที) บทเพลงลูกทุ่งกล่าวถึงเรื่องในของยศถาบรรดาศักดิ์ไว้อย่างมากมายแม้ตำแหน่งที่กล่าวนั้นเป็นตำแหน่งระดับชาวบ้านก็ตาม แต่นั่นหมายถึงการครองตำแหน่งที่สูงเกียติของชาวชนบทเหมือนกัน

ง. เสื่อมยศ เป็นฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คืออารมณ์ที่ไม่นานปรารถการเปลี่ยนแปลงของโลกธรรมนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่จะต้องเป็นเช่นนั้น ตราบเท่าที่โลกยังหมุนเปลี่ยนไปอยู่เมื่อชีวิตของมนุษย์มีความเกี่ยวข้องกับโลกธรรม แน่นอนที่สุดโลกธรมทั้ง ๘ ประการดังกล่าวจะต้องติดตาม หรือหมุนตามเราไปตลอดเช่นนั้น เพียงแต่ว่าโลกธรรมฝ่ายไหนจะมาก่อนหรือหลังเท่านั้นเอง และบทเพลงลูกทุ่งนั้น ครูเพลงได้เรียบเรียงไว้อย่างมากมาย ในทำนองของการเสื่อมจากยศที่มีอยู่ซึ่งอาจจะหมายเอาประเด็นธรรมะตรง ๆ แต่ก็พอจะอนุโลมได้บ้างในฐานะเป็นการสูญเสียเหมือนกัน อย่างน้อยผู้ที่ตกอยู่ในภาวะกำลังเสื่อมจากยศหรืออะไรก็ตามก็ล้วนแล้วแต่ประสบทุกข์ติดตามมาเช่นเดียวกัน

เพลิน พรหมแดน ได้ร้องเพลง “คนไม่มีดาว” ไว้เป็นบทเพลงที่เปรียบเทียบระหว่างคนจนกับคนรวย คนมีศักดิ์ศรีกับคนที่ไม่มีศักดิ์ศรี ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นและเข้าใจว่า การมีฐานะต่างกันนั้น มันหมายถึงการไม่คู่ควรกันโดยประการทั้งปวง เพลงประเภทนี้ก็คงสรุปลงในธรรมะข้อที่ว่าการเสื่อมลาภได้เช่นเดียวกัน เพราะคนไม่มีดาวก็หมายถึงคนไม่มียศนั้นเอง

ง. สรรเสริญ โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ เป็นธรรมที่ทุก ๆ ปรารถนา เป็นธรรมดาอยู่เองที่มนุษย์ทุกคนมักชอบพูดหวาน ๆ ด้วยกันทั้งนั้น ยิ่งในสังคมปัจจุบันบางคนบริจาคทรัพย์ทำบุญเพียงเพื่อหวังคำเยินยอสรรเสริญเท่านั้น จนมีคำพูดตามมาเสมอ ๆ ว่า “ทำบุญเอาหน้า” หรือแม้กระทั่งบางคนทำดีก็แค่หวังให้คนอื่นสรรเสริญเท่านั้นเอง หลักธรรมข้อนี้มีอยู่ประจำโลก

การบริจาคทรัพย์ของตนเพียงเพื่อหวังแค่คำสรรเสริญมีอยู่มากมายในสังคมทั่วไป ในกรณีเช่นนี้ย่อมผิดแผกไปจากพระโสดาบัน ซึ่งเมื่อทำการเสียสละบริจาคในการช่วยเหลือแก่ผู้อื่น (จาคะ) ก็ตาม เขาจะไม่หวังผลตอบแทน ไม่หวังได้ลาภ เกียติ ยศ สรรเสริญ สุข สวรรค์ อย่างโลกียปุถุชนทั้งหลาย(พระราชวรมุนี)

คำสรรเสริญ ถ้าใครได้ประสบก็มักจะฟูใจ แต่ในขณะเดียวกันถ้าใครผิดหวังก็เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงให้ทุกคนมีสติรู้เท่าทันโลกธรรมที่มีอยู่ประจำโลก ทุก ๆ คนถ้าต้องการคำสรรเสริญเพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงความเป็นจิง คนประเภทนี้จัดว่าเป็นคนพาล ดังปรากฏในพระไตรปิฎกว่า

“ภิกษุพาลปรารถนาคำสรรเสริญที่ไม่เป็นจริง ความ

เด่นออกหน้าในหมู่ภิกษุ ความเป็นใหญ่ในอาวาสทั้งหลาย

และการบูชาในตระกูลคนอื่น (เขาคิดว่า) ขอให้คนทั้งหลาย

ทั้งพวกคฤหัสถ์และบรรพชิตจงสำคัญว่าสิ่งที่ทำสำเร็จแล้ว

ก็เพราะอาศัยเราคนเดียว ขอให้ทั้งสองพวกนั้น จงอยู่ใน

อำนาจของเราเท่านั้น ในกิจน้อยใหญ่ไม่ว่าอย่างใด ๆ คน

พาลมีความดำริ ดังนี้ ความริษยามานะ (ความถือตัว) จึงมีพอกพูน”(ขุ.ธ.)

จากการค้นคว้าเพลงลูกทุ่งทั้งหลาย ส่วนมากมักจะเป็นบทเพลงที่เกี่ยวกับความรักแต่ในเนื้อหาเพลงเหล่านั้นมีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาแฝงอยู่ ซึ่งถ้าคนไม่สนใจเพลงลูกทุ่งอย่างจริง ๆจัง ๆ แล้ว มักจะมองไม่เห็นและอาจมองข้ามไป

ดังนั้น คำสรรเสริญจึงมีปรากฏอยู่มากพอสมควร แม้นหลาย ๆ เพลงอาจจะกล่าวถึงเรื่องของหนุ่มสาวที่ต้องการความสนุกสนานรื่นเริงเท่านั้นก็ไม่ได้หมายความว่าสาระไม่มี แท้ที่จริงแล้วนั้นสาระและความหมายย่อมสอดแทรกอยู่ในบทเพลงนั้น ๆ

เพลงลูกทุ่งที่ใช้คำไพเราะมักเป็นเพลงที่แสดงถึงความรัก และชมธรรมชาติที่สวยงาม พร้อมทั้งความคิดฝันซึ่งเป็นบทเพลงสรรเสริญ

ฉ. นินทา คือโลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ที่เป็นธรรมประจำคู่โลกมาตลอด ซึ่งตรงกันข้ามกับคำว่าสรรเสริญ ผู้ถูกนินทามักไม่ชอบใจและอาจกลายเป็นความผูกโกรธพยาบาทได้ การนินทามิใช่ของใหม่เป็นเรื่องเก่าแก่มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์พร้อมกันกับโลก (โลกธรรม แปลว่า ธรรมประจำโลก) ส่วนนี้มิได้หมายความว่า โลกขาดจากการนินทาไม่ได้ แต่การนินทาต่างหากที่ไม่ขาดไปจากโลก เพราะเมื่อคนยังมีกิเลสอยู่ สิ่งที่ชอบใจก็มักจะถูกยกย่องสรรเสริญ สิ่งที่ไม่ชอบใจก็มักจะนินทา ก็เพราะไม่เป็นที่สบอารมณ์นั่นเอง กล่าวได้ว่าทุกคนย่อมจะหนีการนินทาไปไม่พ้น พังพุทธสุภาษิตว่า “นิตฺถิ โลเก อนินฺทิโต คนไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก”(ขุ.ธุ.)

ห้ามไฟไว้อย่าให้ มีควัน

ห้ามสุริยแสงจันทร์ ส่องไซร้

ห้ามอายุให้หัน คืนเล่า

ห้ามดั่งนี้ไว้ได้ จึ่งห้ามนินทา

(โคลงโลกนิมิต)

หรือ อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ

ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน

แม้แต่องค์พระปฏิมายังราคิน

มนุษย์เดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา

(พระอภัยมณี)

ช. สุข ขึ้นชื่อว่าความสุขนั้นย่อมเป็นที่ปรารถนาของคนทุก ๆ คนและทุก ๆ คนย่อมเคยประสบความสุขมาแล้วด้วยกันทั้งนั้น ความสุขเป็นอย่างไรจึงเป็นที่รู้จักกันอยู่ในเวลาที่กายและจิตใจอิ่มเอิบสมบูรณ์สบายดีกล่าวกันว่าเป็นสุข ความสุขจึงเกิดขึ้นที่กายและจิตใจนี่เอง

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

อย่างไรก็ตาม ความสุขที่แท้จริงในทางพระพุทธศาสนาท่านหมายเอาความสุขคือพระนิพพาน แต่ในขณะเดียวกันความสุขสำหรับสังคมปัจจุบัน ท่านหมายเอาสุขที่เป็นไปตามโลกธรรม อันหมายการมีเงิน ทอง ยศ ชื่อ เสียง เป็นต้น อันเป็นอุปกรณ์แห่งความสุข แต่สำหรับพระพุทธศาสนาไม่ได้มองความสุขเช่นนี้เป็นความสุขที่แท้จริง เพราะปัจจัยภายนอกเป็นเหตุแห่งความสุข ผู้ที่มีสิ่งภายนอกบริบูรณ์เป็นสุขทุกคน แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น ผู้ที่บริบูรณ์ด้วยสิ่งภายนอกแต่เป็นทุกข์ถมไป เพราะเหตุนี้ สิ่งภายนอกจึงมิใช่เป็นตัวของความสุข เป็นเพียงเครื่องแวดล้อมอุดหนุนความสุขเท่านั้น (สมเด็จพระญาณสังวร)

ความสุขมีความสำคัญมากในการปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนอาจกล่าวได้ว่า พุทธจริยธรรมไม่แยกต่างหากจากความสุข เริ่มแต่ขั้นในการทำความดีหรือกรรมดีทั่ว ๆ ไปที่เรียกว่าบุญ (พระราชวรมุนี) ก็มีพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า “บุญเป็นเรื่องของความสุข”(ขุ.อิติ.) เป็นความสุขที่ทุกคนปรารถนาและได้รับหลังจากการกระทำลงไป

อีกประการหนึ่ง ความสุขที่แท้จริงสำหรับผู้ครองเรือนนั้นอาจแบ่งได้ ๔ ประการ คือ

๑) อัตถิสุข สุขเกิดจากการมีทรัพย์

๒) โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์

๓) อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้

๔) อนวัชชสุข สุขเกิดจากการทำงานสุจริตไม่มีโทษ โดยไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น(องฺ.จตุกฺก.)

จากการศึกษาในบทเพลงลูกทุ่งส่วนมาก จะกล่าวถึงในแง่ของความเป็นจริงที่ประสบในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสุขของ

ตนเองและผู้อื่นแม้กระทั่งการปรารถนาให้คนอื่นเป็นสุขด้วย ในทางพระพุทธศาสนาอาจจะสงเคราะห์เข้ากับคำว่า “เมตตา” เมตตาเป็นข้อธรรมที่รู้จักกันทั่วไปแต่มีปัญหาเกี่ยวกับความเข้าใจถูกบ้าง คำแปลสามัญของเมตตา คือ ความรัก ความมีไมตรี ความปรารถนาความอยากให้ผู้อื่นเป็นสุขและประสบแต่สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์(พระราชวรมุนี)

ทุก ๆ คนย่อมไม่ปฏิบัติเลยว่าความสุขที่ได้รับนั้นจะมาในรูปแบบใดก็ตาม แต่ผลที่ได้รับความยินดีของผู้สัมผันนั้นเป็นสิ่งที่อธิบายไม่ได้สาระของเนื้อเพลงลูกทุ่งในยุคนี้มีทุกประเภทที่เกิดขึ้น ในชีวิตประจำวันของสังคมไทยทั้งเมืองหลวงและชนบท นับตั้งแต่การตัดพ้อของหนุ่มบ้านนา การ

ฌ. ทุกข์ เป็นธรรมะฝ่ายอนิฎฐารมณ์ที่มนุษย์ทุกคนไม่ปรารถนาแต่มนุษย์ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในชีวิตของตนส่วนหนึ่ง ต้องเผชิญกับความทุกข์ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่ชอบ แต่ก็หลีกไม่พ้น ในเพลงลูกทุ่งต่อไปนี้ ผู้วิจัยจะยกให้เห็นว่ามนุษย์นั้นแยกออกจากความทุกข์ไม่ได้ เพราะถือว่าธรรมชาติที่เป็นโลกธรรมทุกคนจะต้องประสบอย่างแน่นอน

ทุกข์นั้นแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่

๑) ทุกข์ทางกาย (กายิกทุกข์) หมายถึงความทุกข์ที่เกิดในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์ เช่น เจ็บขา เจ็บมือ ปวดหัวเป็นต้น

๒) ทุกข์วางใจ (เจตสิกทุกข์) หมายถึงทุกข์ที่เกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์ เมื่อมีทุกข์ตรัสถึงสิ่งที่เป็นเหตุผลแก่กันคือผลย่อมมาจากเหตุ เมื่อมีผลก็ต้องมีเหตุทำให้เกิดผลนั้น ดังที่พระอัสสชิกล่าวถึงพระพุทธองค์ว่า

“ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตตรัสเหตุและความ

ดับของธรรมเหล่านั้นพระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้”(เย.ธมฺมา)

เมื่อพระองค์ตรัสเรื่องทุกข์ ก็ตรัสเรื่องสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ด้วยซึ่งพระองค์ทรงเรียกว่าทุกขสมุทัย ซึ่งเป็นความจริงอันประเสริฐอย่างหนึ่งดังปรากฎในปฐมเทศนาและสติปัฎฐานสูตรว่า

“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจเป็นไฉน ตัณหานี้ใดอันมีความเกิดอีกประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินเพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้น ๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหานี้นั้นเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่ไหน เมื่อจะตั้งอยู่ย่อมตั้งอยู่ที่ไหน ที่ใดเป็นที่รักเจริญใจในโลก ตัณหานั้น เมื่อจะเกิดย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ อะไรเป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ฯลฯ รูปวิจาร สัทวิจาร คันธวิจาร รสวิจาร โผฏฐัพพวิจาร ธัมมวิจาร เป็นที่รักที่เจริญใจในโลก ตัณหาเมื่อจะเกิด ย่อมเกิดในที่นี้ เมื่อจะตั้งอยู่ ย่อมตั้งอยู่ในที่นี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัยอริยสัจ

ในทัศนะทางพระพุทธศาสนานั้นได้ชี้ให้เห็นว่า จริง ๆ แล้วสุขไม่มี มีแต่ความทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ดังปรากฏในวชริสูตรว่า

“ความจริงทุกข์เท่านั้นเกิด ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่ และทุกข์เท่านั้นเสื่อมสิ้นไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ”(ทุกฺขเมว)




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons