วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พุทธศาสนสุภาษิตเบื้องต้น

DSC08302

พุทธศาสนสุภาษิตเบื้องต้น

.๑ ความเบื้องต้น

พุทธศาสนสุภาษิตเกิดจากพระปัญญาคุณของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผลอันเกิดมาจากการค้นพบความจริงแท้ของสรรพสิ่ง จนรู้ถึงความเป็นเหตุและผลของเหตุปัจจัยต่างๆอย่างแท้จริง ตลอดระยะเวลา ๖ ปีที่พระองค์ทรงแสวงหาคำตอบทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเปิดสิ่งที่ปิดบัง (อวิชชา) อันเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์หลงอยู่ในวัฎฎสงสาร วิชชาที่พระองค์ทรงค้นพบและนำมาประกาศแก่ชาวโลกนั้นควรแต่ควรนำมาเป็นแบบแผนในการดำเนินชีวิตให้พบความสุขได้ทั้งสิ้น

การหลีกเว้นสิ่งอันเป็นโทษต่อตัวเอง กล่าวคือความโลภ ความโกรธ และความหลง เป็นทางแห่งความทุกข์ ทางสายนี้ไม่ควรดำเนินตาม เพราะเป็นเหตุให้ชีวิตตกอยู่ในวังวนของความทุกข์ตลอดกาล แต่กระนั้นพระองค์ทรงแนะให้ชาวโลกดำเนินรอยตามทางที่พระองค์ทรงแสดงเอาไว้นั้นคือ อริยมรรคมีองค์แปด ซึ่งเป็นเส้นทางของชีวิตที่โปร่งใส่และมีความสุขได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

พุทธศาสนาสอนเสมอว่าผลทั้งหลายย่อมออกมาจากเหตุเสมอ กล่าวคือชีวิตจะสุขหรือเป็นทุกข์ย่อมมีหลายปัจจัยส่งผลมาให้เสมอ ดังนั้นผลอันดีย่อมเกิดจากเหตุที่ดีด้วยเพระาฉะนั้นพระพุทธศาสนเน้นให้ชาวโลกมองชีวิตตามความเป็นจริง ตลอดถึงการปรับเปลี่ยนชีวิตที่ไม่ดีให้เดินไปในเส้นทางที่ดีและปลอดภัย นี้คือคุณค่าที่แท้จริงของพุทธภาษิตว่ากันแล้วพุทธภาษิตเสนอแนะให้ชาวโลกได้รู้ว่าชีวิตมนุษย์นั้นไม่มีใครมาลิขิตเส้นทางเดินให้มนุษย์ได้ หากแต่เป็นเพราะมนุษย์นั้นเองลิขิตวิถีชีวิตของตัวเอง ถ้ามนุษย์มีความปรารถนาสิ่งใดก็ควรเลือกสรรหลักการที่ดีให้กับตนเองได้ เพราะหลักการต่างๆของพุทธธรรมย่อมยืนอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามตลอดถึงกฏเกณฑ์อย่างเคร่งครัด ชีวิตทั้งหลายในสากลโลกนี้ ย่อมหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปตามแรงกรรมของตนเอง จากสูงลงสู่ต่ำหรือจากมียศกลับเสื่อมยศ จากมนุษย์สู่สวรรค์ย่อมเกิดจากการกระทำของเจ้าของชีวิตนั้นเอง

DSC08300.๑ ความหมายของคำว่า “ภาษิต”

ภาษิต คือถ้อยคำ,คำพูดที่ออกมาดี เป็นคำพูดที่ถือเป็นคติได้หมายถึงความที่เป็นคติสอนใจให้กระทำความดี คำพูดถ้อยคำที่กล่าวออกมาสุภาษิตนั้นเป็นคำพูดดี ตามนัยแห่งพุทธภาษิตนั้นได้กล่าวถึงลักษณะแห่งคำพูดที่ดี จะต้องเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น คำภาษิตทั้งหลายยังเป็นคติเตือนใจ สำหรับนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน คำพูดที่เรียก “สุภาษิต” มีคุณลักษณะของวาจา ๔ ประการ คือ

(๑) พูดดี

(๒) พูดเป็นธรรม

(๓) พูดน่าฟัง

(๔) พูดเป็นจริง

วาจาสุภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษบัณฑิตไม่ตำหนิ คำพูดที่ดีและมีประโยชน์นั้นประกอบด้วยองค์คุณ ๕ ประการ คือ

๑) พูดถูกกาล

๒) พูดคำจริง

๓) พูดไพเราะอ่อนหวาน

๔) พูดมีประโยชน์

๕) พูดด้วยจิตเมตตา

๑) พูดถูกกาลเวลา ในอภัยราชกุมารสูตร๑๒๘ ได้แสดงวาจาที่ควรพูดและไม่ควรพูด และคำพูดที่ควรพูดนั้นต้องพูดอย่างไร โดยแสดงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการพูดไว้ ๕ ประการ ดังนี้

๑.) วาจาใด ไม่จริงไม่แท้ ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของคนอื่น วาจานั้นไม่ควรพูด

๒.) วาจาใด จริงแท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของคนอื่นวาจานั้นไม่ควรพูด

๓.) วาจาใด จริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของคนอื่น วาจานั้นต้องรู้กาลเวลาเสียก่อนแล้วจึงกล่าววาจานั้น

๔.) วาจาใด ไม่จริงไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่ชอบใจของคนอื่น วาจานั้นไม่ควรพูด และ

๕.) วาจาใด จริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ และเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของคนอื่น วาจานั้นต้องรู้กาลเวลาเสียก่อนจึงกล่าว

DSC08812๒) พูดคำจริง หรือวาจาสัตย์ เป็นคำพูดที่เป็นจริงและพูดถูกกาลอันควรย่อมมีแต่ประโยชน์ ซึ่งตรงข้ามกับคำพูดเท็จย่อมมีแต่ความเดือดร้อนเป็นผล คนพูดจริงถ้าไม่เลือกกาลเทศะบุคคลชุมชนและโยชน์แล้วอาจกลายเป็นการพูดคำเพ้อเจ้าและก้าวร้าวอันจะเป็นอันตรายแก่ผู้พูดได้ ผู้มีปกติพูดจริง มีอานิสงส์ที่จะเห็นได้ในปัจจุบันก็คือ เป็นคนน่าเชื่อถือ มีกิริยาวาจาน่าไว้วางใจ แม้จะโผงผางไปบ้างในบางคราวคนอื่นก็ยังเคารพเกรงใจเป็นมีจิตมั่นคง ปากกับใจตรงกันดังพุทธพจน์ตรัสว่า “สจฺจํ เว อมตา วาจา สัจจวาจาไม่ตายตรงนี้หมายถึงสัจธรรมเป็นธรรมเก่า สัตบุรุษย่อมตั้งอยู่ในสัจจะที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมคือยุติธรรม”

๓) พูดคำไพเราะอ่อนหวาน คือการพูดนุ่มนวล น่ารัก ฟังแล้วสบายหูใคร่ได้ยินย่อมชื่นชอบ ตรงกันข้ามกับคำหยาบ การพูดคำอ่อนหวาน เป็นคุณสมบัติสำคัญอย่างหนึ่งของการพูดดีหรือสัมมาวาจา หมายถึงวาจาชอบ วาจาหมายถึงคำพูหรือการพูด เป็นคำกลาง ๆ ซึ่งอาจจะหมายถึงการพูดผิดไม่ถูกต้อง (มิจฉาวาจา) ก็ได้ หรืออาจจะหมายถึงการพูดถูก (สัมมาวาจา) ก็ได้สัมมาวาจาในพระบาลีนั้น มีความหมาย ดังนี้ “ภิกษุทั้งหลาย สัมมาวาจาเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย เจตนางดเว้นการพูดเท็จเจตจำนงเว้นการจากการพูดส่อเสียด เจตนางดเว้นจากการพูดคำหยาบ เจตนางดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่าสัมมาวาจา”๑๒๕

องค์ประกอบของสัมมาวาจาตามนัยสูตรนี้ แบ่งส่วนประกอบของวาจาได้เป็น ๔ ประการ คือ (๑) จริงหรือแท้ (๒) มีประโยชน์ (๓) เป็นที่รักเป็นที่พอใจของคนอื่น และ (๔) เหมาะกับกาลเวลา ในองค์ประกอบของสัมมาวาจาทั้ง ๔ ประการนี้ องค์ประกอบคือ มีประโยชน์มีความสำคัญมากที่สุด ส่วนประการอื่นมีความสำคัญรองลงไป แต่ถึงอย่างไรก็ตาม วาจาแม้จะเป็นคำจริงมีประโยชน์ เป็นทีพอใจของคนอื่นแล้วก็ตาม แต่การพูดวาจาเช่นนั้นก็ต้องคำนึงถึงกาลเวลา คือให้เหมาะสมกับกาลเวลาด้วย ควรเหมาะสมกับกาลเวลานั้นนับว่าเป็นองค์ประกอบที่ช่วยให้การพูดนั้นเกิดผลหรือประโยชน์ได้อย่างเต็มสมบูรณ์

๔ พูดมีประโยชน์ คือประสานสามัคคี ตรงกันข้ามกับพูดส่อเสียด ทำให้คนที่กำลังจะแตกกันสมานกัน ประสานผู้ที่แตกกันแล้วให้เข้ากันได้ใหม่ คนชั่วเหมือนหม้อดินแตกแล้วประสานกันได้ยาก ส่วนคนดีกับคนดีเหมือนหม้อทองเหลือง แตกแล้วประสานให้เข้ากันได้ง่าย คุณค่าของการพูดมีประโยชน์นี้เป็นที่รักของคนทั้งหลาย มีคนต้องการคบหาสมาคม และไม่แตกจากมิตรโดยง่าย มีคนด้วยกันแม้จะขาดไมตรีกันบ้างในบางครั้งบางคราว ก็ยังมีจิตเมตตาต่อกัน เหมือนก้านบัวแม้จะหักออกจากกันก็ยังมีใยติดอยู่

๕ พูดด้วยจิตเมตตา มีกล่าวไว้ในทสกนิบาต อังคุตตรนิกาย๑๒๙ ได้แสดงถึงคำพูดที่พูดไว้ ๑๐ อย่าง คือ (๑) อัปปิจฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย (๒) สันตำฐิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สันโดษยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ (๓) ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัดกายสงัดใจ (๔) อสังสัคคกถา ถ้อยคำที่ชักนำไม่ให้ระคนด้วยหมู่ (๕) วิริยารัมภกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้กระทำความเพียร (๖) สีลกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล (๗) สมาธิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้สงบ (๘) ปัญญากถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดปัญญา (๙) วิมุตติกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลส

DSC08813ในดิรัจฉานกถาสูตร๑๓๐ ได้แสดงถึงคำพูดที่ไม่ควรพูด เพราะเป็นเรื่องที่ทำให้เสียเวลาไม่ได้ประโยชน์อะไร และไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในด้านจริยธรรมแต่อย่างไร คำพูดดังกล่าวในพุทธปรัชญาเรียกว่าดิรัจฉานกถา ดิรัจฉานกถานั้นมีหลายอย่าง เช่น การพูดถึงเรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรืองกองทัพ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้ เรื่องของหอม เรื่องนิคม เรื่องชนบท เรื่องท่าน้ำ เรื่องบุรุษ เรื่องสตรี เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องทะเล เป็นต้น

ลักษณะวาจาทุพภาษิต ๔ อย่าง

๑) มุสาวาท การพูดไม่ตรงตามความจริง คือ คนทั้งหลายย่อมกล่าวแต่สิ่งที่ไม่เป็นจริง ให้เห็นว่าเป็นจริงด้วยเจตนานั้น ฉะนั้นเจตนาที่เป็นเหตุให้กล่าวไม่จริงนั้นชื่อว่ามุสาวาท ซึ่งมีลักษณะ ๔ อย่าง คือเรื่องนั้นเป็นเรื่องไม่จริง มีจิตคิดจะกล่าวเท็จ มีความพยายามเพื่อพูดเท็จโดยวิธีใดก็ตาม คนฟังเชื่อตามที่ตนพูดออกไป การตัดสิน

ลักษณะทั่วไปของพุทธศาสนสุภาษิตนั้นจัดแบ่งได้ ๒ ลักษณะ คือ ๑. ลักษณะทางฉันทลักษณ์ ๒. ลักษณะทางเนื้อหา

DSC01083๑. ลักษณะทางฉันลักษณ์ เป็นคำร้อยกรองในภาษาบาลีเรียกว่า ฉันทลักษณะ เป็นคำประพันธ์ที่กำหนด ครุ ลหุ กำหนดจำนวนคำตามข้อบังคับของฉันท์แต่ละชนิด ฉันท์ ๑ บท เรียกว่า ๑ คาถา ฉันท์ ๑ คาถา มี ๔ บาท ฉันท์ ๑ บาทมี ๘ คำ ไม่เกิด ๑๑ คำ หรือ ๑๔ คำ ตามประเภทของฉันท์ นี้เป็นฉันท์ประเภทหนึ่งที่เรียนรู้และรู้จักกันเป็นอย่างดีในวงการภาษาบาลีในประเทศไทย ๖ ชนิด คือ (๑ ) ปัฐยาวัตรฉันท์ (๒) อินทรวิเชียรฉันท์ (๓) อุเปนทรวิเชียรฉันท์ (๔) อินทรวงศ์ฉันท์ (๕) วังสัฏฐฉันท์ (๖) วสันตดิลกฉันท์

อีกนัยหนึ่งแบ่งตามลักษณะของวิธีการสอนของพระพุทธเจ้า ลักษณะเนื้อหาของพุทธศาสนสุภาษิต ผู้เชียวชาญทั้งหลายได้แบ่งเนื้อหาของสุภาษิตในพระพุทธศาสนาออกเป็นประเภทต่างๆ ตามลักษณะของรูปแบบคำสอนในพุทธศาสนาเรียกอีกอย่างว่า “นวังคสัตถุศาสตร์” คือคำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง คือ

๑ ) สุตะ คือคำสั่งสอนที่เป็นพระสูตรและพระวินัย รวมทั้งคัมภีร์ทั้งสองด้วยโดยมีลักษณะเป็นสูตร ซึ่งประกอบไปด้วยระเบียบแบบแผนมีลำดับขั้นตอนต่างๆ อันมีข้อธรรมเป็นลักษณะคือ จากข้อหนึ่งถึงสิบข้อ

๒ ) เคยยะ คือ คำสอนที่เป็นลักษณะทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด

๓ ) เวยยากรณะ (ไวยากรณ์) คือคำสอนเป็นแบบร้อยแก้วล้วนได้แก่พระอภิธรรมปิฏกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถา

DSC01086๔ ) คาถา คือ คำสอนแบบร้อยกรองล้วนๆ เช่น ธรรมบท, เถรคาถา, เถรีคาถา

๕ ) อุทาน คือ คำสอนที่เปล่งออกมาเป็นคำที่มีความหมายต่างๆตามสถานการณ์นั้นๆ เช่น สมัยเกิดความสังเวช , สมัยเกิดความปีติยินดีบ้าง ซึ่งเป็นพระคาถา ๘๒ สูตร

๖. ) อิติวุตตกะ เป็นเรื่อง อ้างอิง คือการยกมากล่าวอ้างของพระสังคีติกาจารย์ผู้รวบรวมโดยไม่บอกว่าพระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องเหล่านี้แก่ใคร ที่ไหนชื่อพระสูตรเหล่านี้มักขึ้นต้นด้วยคำว่า วุตตัง เหตัง ภควตา (พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้) เหมือนกันหมด จึงเรียกว่า อิติวุตตกะ แบ่งเป็น ๔ นิบาตมีทั้งหมด ๑๑๒ สูตร

๗ ) ชาดก คือ คำสอนที่กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตทั้งที่เป็นเรื่องราวในอดีตของพระพุทธเจ้าบ้าง สาวกบ้าง เป็นธรรมภาษิตในลักษณะการเล่านิทานธรรมอยู่ในเรื่อง ส่วนมากจะเป็นนิบาตชาดก

๘. ) อัพภูตธรรม คือคำสอนที่เป็นเรื่องราวอันน่าอัศจรรย์ใจหรือเรื่องปาฏิหาริย์

๙. ) เวทัลละ คือคำสอนที่สูงขึ้นไปตามลำดับ อาศัยการวิเคราะห์แยกแยะความหมายอย่างละเอียด เช่นพระอภิธรรมเป็นต้น


เสฐียนพงษ์ วรรณปก. พุทธศาสนสุภาษิต (กรุงเพทฯ ธรรมสภาจัดพิมพ์เผยแพร่) , ๒๕๓๔ , หน้า คำนำ

ขุ. สุ ๒๕ / ๔๑๑/๓๕๗ , สํ. ส. ๑๕ /๒๗๗/๗๓๘

องฺ ปญฺจก. ๑๒ / ๑๙๘ / ๒๒๙

๑๒๘ ม.ม. ๑๓ / ๙๔ / ๘๒

๑๒๕ ที. ม. ๑๐ /๒๙๙ / ๒๘๗ ม. มู. ๑๒ / ๑๙๔ / ๙๙ ม. อุ. ๑๔ / ๗๐๔ / ๓๘๕ อภิ. วิ. ๓๕ / ๑๖๕ ๑๒๒,

๑๒๙ องฺ. ทสก. ๒๔ / ๖๙ / ๑๓๔

๑๓๐ สํ. มหา. ๑๙ / ๑๖๖๓ / ๕๐๙

พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัตต์. ฉันทปรารมภ์ . (กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์เลียงเชียง) , ๒๕๔๒ , หน้าคำนำ

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ประยุตโต) . พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. (กรุงเทพฯ โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ) , ๒๕๓๓ , หน้า ๑๑๖ -๑๑๗




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons