วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

๑.๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัณหา

โลโก2

บทที่ ๑

การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างพุทธภาษิตกับผญาภาษิต

ความนำ

๑.๑ ความเป็นมาและความสำคัญของปัณหา

พระพุทธเจ้าทรงเป็นศาสดาผู้สัพพัญญู รู้แจ้งสัจธรรมในเรื่องชีวิต จิตวิญญาณและเอกภพนั้นคือคุณสมบัติตลอดน้ำพระทัยที่พระองค์ทรงตระหนักถึงความทุกข์ที่มนุษย์ทั้งหลายประสบอยู่ในชีวิต พระองค์ค้นพบสมุฏฐานแห่งทุกข์และวิธีการแก้ปัญหานี้เป็นผลสำเร็จ แล้วทรงนำมาประกาศเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลก

พุทธศาสนสุภาษิตไม่ว่าจะเป็นคำสอนในลักษณะใดคือพระวินัย พระสูตร พระอภิธรรมก็ล้วนแต่เป็นสามารถนำไปประพฤติปฏิบัติได้ ยิ่งสภาวะการของสังคมในปัจจุบัน หลักพุทธศาสนสุภาษิตเป็นคำสอนที่เตื่อนสติให้ทุกคนหันกลับมาคิดถึงชีวิตของตนเองได้ดียิ่ง เช่นหลักอัตถประโยชน์๔ หลักอริสัจ ๔ มรรคมีองค์ ๘ เป็นต้น

พุทธศาสนสุภาษิตที่สอนเรื่องกฏแห่งกรรม คือทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หว่านพืชเช่นใดก็ย่อมได้ผลเช่นนั้น กรรมดีหรือกรรมชั่วบางชนิดให้ผลเร็ว คือให้ผลในปัจจุบัน บุญหรือบาปบางชนิดให้ผลช้า บุญหรือบาปบางชนิดส่งผลในชาติต่อๆไป ดังนั้นพุทธศาสนาจึงเน้นให้บุคคลทั้งหลายทำแต่กรรมดีและเว้นกรรมชั่วพร้อมกันนั้นก็พยายามทำให้ผ่องใส่

นอกจากนี้พุทธศาสนายังเป็นเครื่องส่งเสริมให้มนุษย์มีสติปัญญา เข้าใจกฎเกณฑ์และขบวนการแห่งธรรมชาติ และสามารปฏิบัติตนเองให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาตินั้นๆ นอกจากนั้นพุทธศาสนายังสอนให้เลือกเฟ้นประพฤติธรรมที่ดีงามและรู้จักปล่อยวางหรือเว้นสิ่งที่เป็นบ่อเกิดของความทุกข์มาสู่ตน ทั้งนี้เพื่อความสงบสุขของบุคคลและสังคม และยิ่งไปกว่านั้นพุทธศาสนายังเป็นที่พึ่งทางจิตใจ และเป็นที่ให้ความหวังแก่มนุษย์

34พระพุทธศาสนาคือแบบแผนความเชื่อของชาวไทย กล่าวคือมีคุณค่าและอุดมคติตลอดถึงเป็นหลักการดำเนินชีวิตและนำไปสู่การพัฒนาจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น ให้รู้จักการนำเอาปัญญามาวิเคราะห์ให้รู้จักเหตุและผลให้ฉลาดกว่าสัตว์เพื่อให้หนีจากสัญชาติญาณฝ่ายต่ำคือ กิเลส กรรมและวิปาก เพราะได้อาศัยคำสอนในทางศาสนามาเป็นวิถีทัศน์ในการดำรงตนให้มั่นศีลธรรมเพื่อบรรลเป้าหมายสูงสุดแห่งชีวิต คือการละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว และการป้องกันบาปที่ยังไม่เกิด มิไห้เกิดขึ้นมาอีก และเร่งบำเพ็ญกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นแก่ตนเองแล้วเพียรรักษาบุญที่มีแล้วให้สถาพรต่อไป นี้คือกฏเกณฑ์ทางศีลธรรมอันจะทำให้ตนเองบรรลุเป้าหมายได้แล้วแผ่ขยายไปสู่สังคมซึ่งจะเป็นการนำเอาหลักธรรมมาผสมผสานในการดำเนินชีวิตซึ่งสามารถนำพาผู้ประพฤติปฏิบัติไปสู่ความสะอาด สว่าง สงบของชีวิตทั้งกายและทางจิต แม้ว่าการประพฤติตามหลักคำสอนจะยังไม่สมบูรณ์อย่างเต็มที่ก็ยังความสันติสุขมาสู่ผู้ประพฤติดีได้ในชีวิตปัจจุบันและยังส่งผลนำไปสู่ฐานะและภพภูมิที่ดีขึ้น

ซึ่งในประเด็นนี้ชาวไทยทั้งหลายก็ยอมรับว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งสัจธรรม ตลอดถึงยอมรับนับถือหลักธรรมในพระพุทธศาสนาและยกย่องเทิดทูนพระธรรมคำสั่งสอนมาเป็นหลักดำเนินชีวิตของตนเองสืบต่อกันมาเป็นระยะนับพันปี โดยมีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องขัดเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะอิทธิพลของธรรมะในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ที่เข้ามามีส่วนในวิถีชีวิตของชนชาวไทย และทำให้ประเทศชาติบ้านเมืองมีเอกราชและอธิปไตย์ของตนเอง คติธรรมที่ได้จากพุทธศาสนสุภาษิตมีส่วนสำคัณยิ่งที่ช่วยเป็นเครื่องเตือนสติแก่ชาวไทยตลอดมาและตลอดไป

ไม่เพียงเท่านั้นพระพุทธศาสนายังแผ่ขยายอิทธิพลเข้าไปสู่ชนชาวอีสานในอดีต โดยผ่านไปทางวรรณกรรมคำสอนต่างๆบ้าง โดยมีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นแกนสำคัญที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ นักปราชญ์อีสานได้นำเอาคำสอนของพระพุทธศาสนาเข้ามาประพันธ์เป็นผญาอีสาน ซึ่งเป็นคำสอนอีกอย่างหนึ่งที่เป็นคติธรรมแก่ชนชาวอีสานมานาและยังเป็นสื่อในการสั่งสอนชาวบ้านให้เข้าถึงธรรมะในพระพุทธศาสนาได้เป็นอย่างดี ตลอดหลักการดำเนินชีวิตตามธรรมของพระพุทธเจ้า คำผญาอีสานเป็นประหนึ่งว่าเป็นกุสโลบายของนักปราชญ์ชาวอีสานที่ต้องการจะสอดแทรกธรรมะของพระพุทธศาสนาให้เข้าถึงประชาชนทุกระดับชั้นและทุกเพศทุกวัย ดังนั้นคำสอนที่จัดว่าเป็นคำผญาภาษิตอีสานเหล่านี้เองที่ทำให้ชาวอีสานเป็นคนที่ยึดมั่นในศีลธรรมอันดีงามตลอดมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นทั้งคติพจน์และหลักในการดำเนินชีวิตให้พบความสงบสุข ไปจนถึงระดับธรรมชั้นสูงของพระพุทธศาสนาคือพระนิพพานอันเป็นบรมธรรม

T020410_03P_rผู้ศึกษาวิจัยสนเป็นพิเศษยิ่งคืออิทธิพลของพุทธศาสานาที่เป็นคำสุภาษิตนั้นส่งผลอย่างไรแก่คำสุภาษิตอีสาน จนเป็นคติชนคือความเชื่อของชาวบ้านอย่างลึกซึ่งได้ กรณีอย่างนี้ยังไม่มีใครวิได้ศึษาวิจัยกันมากนัก และอีกอย่างที่สำคัญคือสนใจที่จะศึกษาเปรียบกันระหว่างพุทธภาษิตกับและผญาภาษิตอีสานมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดอย่างไรหรือไม่ ที่สะท้อนภาพวิถีชีวิตของชาวอีสานออกมาอย่างไร ตลอดถึงการประยุกต์ภาษิตทั้งสองมาเป็นหลักสำหรับใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคมจากอดีตสู่ปัจจุบัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นคำสอนที่ให้คติธรรมและรวมอยู่ในวัฒนธรรมเดียวกัน

สังคมท้องถิ่นอีสานเป็นแหล่งอารยธรรมอันสั่งสมมาแต่บรรพกาล วรรณกรรมแบบมุขปาฐะและวรรณกรรมลายลักษณ์อักษรต่างๆมีปรากฏเป็นจำนวนมาก ด้วยรูปแบบที่หลากหลาย สิ่งที่น่าสนใจก็คือแม้ว่าทั้งสองสุภาษิตจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตนเอง แต่ก็ส่งผลต่อกันทั้งยังเกี่ยวพันกันอย่างแนบแน่นอยู่กับวิถีชีวิตของปวงชนมาช้านาน

พุทธศาสนสุภาษิตและสุภาษิตอีสานที่ผู้วิจัยเห็นว่าน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งก็คือ บทสุภาษิตที่เป็นหลักดำเนินชีวิตหรือที่เป็นหลักทางจริยธรรมในสังคมชาวบ้านท้องถิ่นอีสาน กล่าวคือชาวอีสานแต่โบราณในวัยหนุ่มสาวจะมีประเพณีในการจ่ายคำผญากันโดยใช้ภาษาที่ไพเราะและมีข้อคิดให้ดำเนินชีวิตในทางที่ชอบตามทำนองคลองธรรม มีลักษณะเป็นบทร้อยกรองที่มีทั้งเรียบง่ายและแฝงความหมายอันลึกซึ่งเอาไว้ด้วย คำสุภาษิตอีสานนี้ในท้องถิ่นอีสานเรียกว่า คำผญาภาษิต

ในปัจจุบันนี้ประเพณีการจ่ายคำผญาต่างๆของชาวบ้านได้เสื่อมสูญไปแล้วอย่างน่าเสียดายยิ่ง แต่อย่างไรก็ดีมรดกทางวัฒนธรรมทางภาษาเหล่านี้ย่งคงล่องลอยอยู่ในความทรงจำของผู้สูงอายุในชนบท ตลอดจนได้มีผู้ที่พยายามเก็บรวบรวมบันทึกข้อมูลทางวัฒนธรรมเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าของอนุชนรุ่นหลัง

ผู้ศึกษาวิจัยตระหนักดีถึงคุณค่าแห่งคำสอนที่ปรากฏในพุทธศาสนาและวรรณกรรมเรื่องต่างๆของชาวอีสานกว่าจะเลือนหายไปจากความคิดของชนรุ่นหลัง ประกอบยังไม่มีผู้ใดได้ศึกษาวิจัยโดยการเปรียบเทียบคำสุภาษิตทั้งสองอย่างจริงจังมาก่อน จึงเลือกที่จะศึกษาวิจัยเรื่องนี้ขึ้นมา

T060910_05P_r.๒. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

๑) เพื่อศึกษาถึงคุณค่าของพุทธภาษิตและคำผญาภาษิตที่มีต่อวิถีชีวิตโดยสังเขป

๒) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์กันระหว่างพุทธภาษิตและคำผญาภาษิตอีสานที่มีต่อวิถีชีวิตตามหลักจริยธรรมโดยสังเขป

๓) เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของพุทธภาษิตและคำผญาภาษิตอีสานที่มีต่อภาพสะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดยสังเขป

๔) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบบุญบาปในพุทธภาษิตและคำผญาภาษิตอีสาน

๕) เพื่อเป็นประโยชน์แก่การศีกษาค้นคว้าเกี่ยวกับพุทธศนาและสุภาษิตอีสานต่อไป

.๓ ขอบเขตของการวิจัย

๑ ) ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวกับพุทธภาษิต ได้แก่พระไตรปิฏก และส่วนสุภาษิตอีสาน ได้แก่ คำสุภาษิตต่างๆที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสาน และของนักปราชญ์ทั้งหลาย เป็นข้อมูลทุติยภูมิในการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยสังเขป

๒) ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยธรรมซึ่งปรากฏอยู่ในพุทธศาสนสุภาษิตและสุภาษิตอีสานโดยสังเขป

๓) ศึกษาเปรียบเทียบถึงอิทธิพลของพระพุทธศาสนสุภาษิตที่มีต่อสุภาษิตอีสานในด้านคติ ความเชื้อในลักษณะที่เหมือนกันและแตกต่างกัน

๔) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคล้ายคลึงและความแตกต่างกันของคำสุภาษิตทั้งสองในด้านสำนวนโวหารและเนื้อหา

.๔ วิธีดำเนินการวิจัย

๑) ผู้วิจัยจะใช้การศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์และเสนอผลการศึกษาเป็นแบบพรรณา โดยเฉพราะพุทธศาสนสุภาษิตนั้นผู้วิจัยจะศึกษาจากแหล่งข้อมูลหนังสือพระไตรปิฏกฉบับหลวง ของกรมการศาสนา โดยผู้ศึกษาจะเข้าไปเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง จากเอกสารและงานวิจัย ตลอดถึงวิทยานิพนธ์และหนังสืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยนี้

๒) ผู้วิจัยศึกษิตสุภาษิตอีสานจากเอกสารที่ได้มีการปริวรรตเป็นสำนวนภาษิตไทยแล้ว และเอกสารงานวิจัย วิทยานิพนธิ์และหนังสืออื่นๆซึ่งเป็นเอกสารของนักปราชญ์อีสานที่ได้ทำการศึกษาเอาไว้นำมาศึกษาเปรียบเที่ยบกันระหว่างพุทธศาสนสุภาษิตกับผญาภาษิตอีสาน

.๕ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

๑) ทำให้ทราบถึงลักษณะของพระพุทธศาสนสุภาษิตและสุภาษิตอีสาน

๒) ทำให้ทราบถึงจุดประสงค์และหลักจริยธรรมซึ่งปรากฏในพุทธศาสนสุภาษิตและสุภาษิตอีสาน

๓) จะทำให้ทราบถึงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่อแนวคำสอนอีสานซึ่งปรากฏในผญาอีสานต่างๆตลอดถึงขนบธรรมประเพณีอันเกิดจากแรงผลักดันของพระพุทธศาสนา

๔) จะทำให้ทราบถึงแนวคิดของนักการศาสนาและนักปรัชญาอีสานซึ่งเป็น

การสงวนมรดกเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางภาษาและวรรณกรรมเอาไว้ได้อย่างหนึ่ง

๕) วิทยานิพนธ์นี้อาจเป็นประโยชน์แก่การศึกษา ค้นคว้า วิจัยเกี่ยวกับคำ

สุภาษิตทั้งสองต่อไปในประเด็นอื่นๆอีก




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons