วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เปรียบเทียบการดำเนินชีวิตตามนัยแห่งพุทธภาษิตกับผญาภาษิตอีสาน

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

 

เปรียบเทียบการดำเนินชีวิตตามนัยแห่งพุทธภาษิตกับผญาภาษิตอีสาน

สังคมไทยมีความสงบร่มเย็นมาได้ทุกวันนี้ก็ด้วยได้อาศัยหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาเป็นหลักดำเนินชีวิตมานานนับพันปี เพราะว่าชาวไทยสมัยโบราณหันหน้าเข้าหาวัด ใกล้ชิดวัด สนิทกับวัดมากและวัดก็ทำหน้าที่ที่สำคัญเพื่อชาวบ้านไม่น้อย การได้อยู่ใกล้ชิดวัดนี่เอง แรงอิทธิพลของพระพุทธศาสนาจึงอยู่เหนือจิตใจของชาวไทยทุกคน และเพราะคนไทยมีชีวิตแนบแน่นกับพระพุทธศาสนามากเช่นนี้ พระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยมากมาย รวมไปถึงบทผญาต่างๆที่เป็นสัญลักษณ์แบบชาวอีสาน ซึ่งวิวัฒนาการมาจากภูมิปรัชญาท้องถิ่น คำผญาต่างๆก็มีอิทธิพลในวิถีคิดของชาวอีสานเดียวกัน

การศึกษาพุทธภาษิตและผญาภาษิตอีสานนั้นความสำคัญที่สุดคือคติธรรมคำสอนของพุทธภาษิตและผญาภาษิตอีสานซึ่งมีระบบความคิดของนักปราชญ์โบราณอีสานแต่ละคนมีระบบและวิธีการในการคิดเสนอคติธรรมที่สอดคล้องกับหลักพุทธศาสนาอย่างไร หรือว่าพุทธภาษิตได้มีบทบาทอิทธิพลต่อผญาภาษิตอีสาน อันหมายถึงหลักการแยกศึกษาส่วนย่อย ในความหมายของการวิเคราะห์นี้ นอกจากวิเคราะห์แล้วผู้เขียนยังต้องมีการสังเคราะห์หมายถึง การนำเอาสิ่งที่วิเคราะห์นั้นมารวมกันซึ่งจะได้องค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้น และยังมีวิธีการอื่นๆ ที่ใช้เป็นหลักมาตรฐานในการเปรียบเทียบ ซึ่งมี ๙ วิธีการ* เช่น การใช้หลักอัตนัยหรือปรัชญาของตนเพิ่มอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลตรงตามที่ได้ตั้งจุดประสงค์เอาไว้ให้ดีที่สุดเท่าที่จะพึงกระทำได้

การศึกษาเปรียบเทียบทัศนะในพุทธภาษิตและในผญาภาษิตอีสาน มิได้มีความมุ่งหมายเพื่อยกผญาภาษิตให้สูงกว่า ดีกว่า มีคุณค่ามากกว่า หรือให้ต่ำกว่า ดีน้อยกว่า และมีคุณค่าน้อยกว่าพุทธภาษิตแต่อย่างใด เพียงแต่ประสงค์จะทราบถึง ทรรศนะส่วนใดที่เหมือนกัน คล้ายหรือใกล้เคียงกัน หรือทัศนะใดที่แตกต่างกันในความเหมือนกัน เพราะทั้งความเหมือนกันและแตกต่างกันนั้น สามารถที่จะให้ทัศนะทางความคิด และความลึกซึ้งของคำสอนนั้นอย่างเท่าเทียมกัน การเปรียบเทียบนั้นย่อมจะปรากฏผลทั้งเหมือนกัน และแตกต่างกัน

ดังนั้น ในเบื้องต้นจึงต้องเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อนว่า การทำจิตให้เป็นกลางอย่างอิสระไม่เข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนั้น เป็นคุณธรรมของทั้งผู้ศึกษาและผู้อ่านที่ถูกต้อง การนำหลักการมาเปรียบเทียบ จึงเป็นการทำหน้าที่ในการจะทำให้เหตุผลทำหน้าที่ของเหตุผลได้อย่างอิสระแท้จริง ซึ่งอาจแตกต่างหรือเหมือนกันนั้นขึ้นอยู่กับหลักของเหตุผลของสุภาษิตทั้งสองสายนั้น ๆ ในกรณีอย่างนี้ พระเมธีธรรมาภรณ์กล่าวถึงการเปรียบเทียบว่าจะต้องมีใจที่เป็นกลางนั้นต้องมีความเข้าใจที่ถูกต้องว่า

การนำเอาปรัชญามาเปรียบเทียบกันไม่จำเป็นต้องลงเอยด้วย ความเห็นเหมือนกันเสมอไป คนส่วนมากมีความเข้าใจผิดว่า การเปรียบเทียบปรัชญา ใด ๆ ก็ตามมุ่งที่จะค้นหาว่าปรัชญานั้น ๆ เหมือนกันอย่างไรบ้าง อันเป็นทัศนะที่ผิด ( อันเป็นความหวังที่ไม่มีทางเลือก ) เพราะแท้ที่จริงนั้น การเปรียบเทียบปรัชญาอาจเป็นการแสวงหาความแตกต่าง ในปรัชญาที่ดูเผิน ๆ แล้วเหมือนกัน

จากข้อความที่ยกมานี้ จึงต้องอาศัยความเป็นกลางโดยให้ปัญญาเดินไปพร้อมกับเหตุผล และบางครั้งจะต้องยกตัวอย่างมาอธิบายให้เกิดความเข้าใจ ผู้ศึกษาจึงต้องมีจิตใจกว้าง กล่าวคือ ถ้าได้รับรู้ ความรู้ที่ผิดไปจากความเชื่อเดิม ๆ การศึกษาที่ผ่านมาแล้วนั้น ต้องทำใจให้เป็นคนใหม่ ศึกษาของใหม่ ด้วยจิตใจใหม่ สติปัญญาใหม่ ๆ และพยายามค้นหาให้พบ หรือเข้าใจให้ได้ว่า จุดมุ่งหมายที่แท้จริงนั้นว่าด้วยเรื่องอะไร

ดังนั้น ในการเปรียบเทียบจึงต้องรู้ข้อมูลที่ลึกซึ้ง ทั้งพุทธภาษิตและผญาภาษิตอีสาน โดยเฉพาะการวางใจให้เป็นกลางในการศึกษา ค้นคว้าหาข้อมูลให้ได้และนำมาเปรียบเทียบนั้น นับว่าเป็นปฐมเหตุที่จะทำให้รู้ความจริงแท้ ทั้งความเหมือนกันและแตกต่างกัน

ในทัศนะโดยทั่วไปของพุทธศาสนานั้น เป็นกรรมวาที กิริยาวาที และวิริยวาที คือเป็นพุทธปรัชญาที่ยืนยันหลัก กรรม คือการกระทำ และความเพียรพยายามสม่ำเสมอเป็นสาเหตุให้เกิดผลแห่งประโยชน์ และความสุข ซึ่งการกระทำนั้นจะต้องประกอบด้วยความตั้งใจหรือเจตนาจึงจะทำให้ได้รับผลสมบูรณ์อย่างเต็มที่ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม บุคคลคิดแล้วจึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ ทั้งนี้สาเหตุคือผัสสะ”จากพุทธภาษตินี้แสดงว่า การกระทำที่จะก่อให้เกิดประโยชน์และความสุข มีอิทธิพลต่อหลักศีลธรรมของมนุษย์จะต้องมีความตั้งใจเป็นหลักสำคัญต่อการแสดงออกมาทางวาจา และทางกาย จะต้องเกี่ยวโยงกับสังคมในทางที่ดี

พุทธภาษิตได้ตระหนักในเรื่องของการกระทำนี้เป็นอย่างดี การกระทำกรรมหรือการแสดงออกของพฤติกรรมมนุษย์จึงต้องอาศัยหลักธรรมที่สำคัญยิ่งคือความมีสติ ที่เรียกว่า ความไม่ประมาท และใช้ความเพียรพยายาม ที่ถูกต้องเป็นธรรมจึงทำให้มนุษย์เป็นผู้ที่มีความสุขได้ เพราะความสุขนั้นไม่ได้จำกัดแต่เพียงตระกูลสูง ชนชั้นสูง มียศสูง หรือมีโภคะมากมายหามิได้ แต่ความสุขและความทุกข์นั้น เกิดจากการกระทำกรรมของบุคคลนั้น ๆ พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างชัดเจนว่า “บุคคลไม่เป็นคนถ่อย (คนชั่ว)เพราะชาติ ไม่เป็นพราหมณ์( คนดี) เพราะชาติ แต่เป็นคนถ่อย (คนชั่ว )เพราะกรรม เป็นพราหมณ์(คนดี)เพราะกรรม (การกระทำ หรือ พฤติกรรม)”จากพุทธพจน์นี้ จึงเป็นการเน้นหลักจริยธรรมที่การกระทำอย่างชัดเจน และเด่นชัดยิ่ง อันเป็นเครื่องชี้ชัดเจนว่าการที่มนุษย์จะเป็นคนดีมีความสุขทั้งกายและใจนั้น อยู่ที่การกระทำ และยังต้องได้รับผลแห่งการกระทำนั้นด้วย

พระพุทธองค์ตรัสย้ำกับ สุมาณพ โตเทยบุตร ณ วัดพระเชตวันเอาไว้ความว่า “ ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลว และประณีตได้” จากพระพุทธดำรัสที่ยกมานี้ จึงเป็นการชี้ชัดว่า พุทธปรัชญาเน้นสอนให้มนุษย์มีความเข้าใจในเหตุและผล ด้วยปัญญาที่อิสระ การกระทำนั้นจะนำประโยชน์และความสุข มาสู่ตนและบุคคลอื่น ไม่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น อันเป็นการให้แนวทางที่เป็นกลางเอาไว้ มนุษย์สามารถเลือกปฏิบัติตามได้ การสอนก็มิได้บังคับให้เชื่อโดยขาดการพิจารณา การไตร่ตรอง แต่สอนให้รู้และเลือกที่จะปฏิบัติได้ด้วยสติปัญญาเองอย่างถูกต้อง

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

๔.๑ การดำเนินชีวิตของสตรีตามนัยแห่งพุทธภาษิตกับผญาอีสาน

๔.๒การดำเนินชีวิตของบุรุษตามนัยแห่งพุทธภาษิตกับผญาอีสาน

๔.๓ การดำเนินชีวิตของบุคคลทั่วไปตามนัยแห่งพุทธภาษิตกับผญาอีสาน

๔.๔ การดำเนินชีวิตในระดับพื้นฐานตามนัยแห่งพุทธภาษิตกับผญาอีสาน

๔.๕ การดำเนินชีวิตในระดับกลางตามนัยแห่งพุทธภาษิตกับผญาอีสาน

๔.๖ การดำเนินชีวิตในระดับสูงตามนัยแห่งพุทธภาษิตกับผญาอีสาน

๑ สอนรากฐานแห่งชีวิต

๒ สอนพื้นฐานชีวิต

๓ สอนเตรียมทุนแห่งชีวิต

๔ สอนรักษาความสัมพันธ์ของชีวิต

๒.๓ อิทธิพลของพุทธภาษิตมีต่อผญาภาษิต

คติคำสอนที่ได้มาจากสุภาษิตอีสานซึ่งส่วนมากก็เป็นเรื่องการดำเนินชีวิตอย่างไรให้มีความผาสุขและการมองเห็นชีวิตอย่างถูกต้องนั้นจะทำให้ลดความมัวเมาในชีวิตลง คำสอนที่ปรากฏในสุภาษิตอีสานล้วนแต่มีสายสัมพันธ์สืบต่อมาจากพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น เพราะพระพุทธศาสนาเป็นแกนสำคัญอย่างยิ่งที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมทางด้านความเชื่อ พฤติกรรม ประเพณี ถึงแม้ว่าพระพุทธศาสนาจะเกิดที่อินเดีย แต่ว่าชาวอีสานก็ได้นำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นได้อย่างดี กล่าวโดยภาพรวมแล้วพระพุทธศาสนาเป็นกุญแจอันสำคัญที่ส่งผลให้ชาวไทยอีสานเข้าใจในระบบปรัชญา จนมีผู้กล่าวว่าปรัชญาอีสานนั้นก็คือ พุทธปรัชญานั้นเอง เนื้อหาในสุภาษิตได้สะท้อนถึงความเชื่อของคนไทยอีสานในเรื่องหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุที่พระพุทธศาสนามีความเกี่ยวพันกับจิตใจของคนไทยอีสานเป็นเวลาช้านาน ซึ่งเป็นแบบฉบับและเป็นหลักที่พึงทางใจแก่ชาวไทยอีสาน ซึ่งเป็นดังประทีปที่ช่วยส่องแสงสว่างในการดำเนินชีวิต ดังนั้นการแสดงออกด้านพฤติกรรมของชาวไทยอีสาน ล้วนแต่ออกมาจากแนวคำสอนของพระพุทธศาสนาที่สอดแทรกอยู่ในวิถีทัศน์ของชาวไทยอีสาน

พิทูร มลิวัลย์ ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า พระพุทธศาสนา อันหมายถึง คัมภีร์ต่างๆในทางพระพุทธศาสนา คือพระไตรปิฏก อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ต่างๆมีมากที่สุดในภาคเหนือและภาคอีสาน ที่ส่งผลมากที่สุดต่อผญาภาษิตท้องถิ่นอีสานคือ นิทานชาดก ทั้งนิบาตชาดกและปัญญาชาดก ดังนั้นคำสอนต่างของอีสานเมื่ออ่านแล้วจะทราบว่าโครงสร้างหรือรูปแบบของเรื่องนั้นดำเนินไปแบบเดียวกับนิทานชาดกของพระพุทธศาสนา เช่น เรื่อง สินไซ กาละเกด เสียวสวาด ซึ่งมักจะนิยมอ้างว่าเป็นชาดกและกล่าวว่ามีในเรื่องพระเจ้าห้าสิบชาติ ซึ่งตรงกับคำว่า ปัญญาส หมายถึง ๕๐ เรื่อง แต่ในปัญญาชาดกมีมากกว่า ๕๐ เรื่อง แต่ที่มีปรากฏในปัญญาสชาดกฉบับห่อสมุดแห่งชาติมี ๖๓ เรื่อง พระพุทธศาสนาที่แผ่หลายนี้น่าจะเป็นเพราะในสมัยก่อนนิยมเผยแพร่ศาสนาทางนิทานเพื่อให้คนเข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีๆ ซึ่งปรากฏในชาดก

วรรณกรรมท้องถิ่นในอีสานมีจำนวนมากแต่ก็พอแบ่งออกได้ ๒ ลักษณะ ได้แก่ทางโลกและทางธรรม เรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาหรือเป็นเรื่องแปลออกจากพุทธศาสนาจะเรียกว่า วรรณกรรมทางธรรม ส่วนที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาของนักปราชญ์ทางด้านศาสนา และของชาวบ้านซึ่งจะมีด้านประวัติศาสตร์ โบราณนิทาน จะเรียกว่า วรรณกรรมทางโลก ทั้งสองลักษณะนี้ล้วนแต่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น

ในภาษิตอีสานจะพบว่าสิ่งที่ส่งผลมาจากพระพุทธศาสนาคือวรรณคดีบาลีมี ๒ ลักษณะ คือ อิทธิพลจากระเบียบนิยมในการแต่ง ถ้าเป็นพระไตรปิฏกไม่มีบทไหว้ครูเหมือนอรรถกถา แต่จะกล่าวคำว่า นะโมเท่านั้น แล้วก็จะดำเนินเรื่องไปเลย หรือบ้างเรื่องจะมี นะโมแล้วก็นิยมแปลตาม หรือมีคำว่า นะโม ตัสสะถ หรือ นะโม รนัดตะยะสะ หรือเป็นคำบาลีไว้ก่อน ดังตัวอย่างวรรณคดีเรื่องสินไซ มีบทไหว้ครูว่า

“ สีสุ มังคละเลิศล้ำ สิททิเดชลือชา

นาโถสุด ยอดยานไตรแก้ว

สวัสดีน้อม ในทัมม์พุททะบาท

คุณย่อมยอใส่เกล้า ชุลีล้ำยอดยาน

ฮารัลด์ ฮุนดีอุส ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อคำภาษิตอีสานนั้นก็เพราะว่าผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นพระสงฆ์นั้นเอง ดังนั้นจึงรับเอาคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่เป็นภาษาบาลีมาก่อนแล้วมีขบวนการแปลออกเป็นอักษรตัวธรรมหรือภาษาธรรมและมีอรรถกถาช่วยอธิบาย ซึ่งต่อมานักปราชญ์ชาวอีสานก็สร้างสรรวรรณคดีขึ้นมาเป็นของตัวเองทั้งที่เป็นภาษาธรรมและภาษาพื้นเมือง โดยเฉพาะวรรณคดีท้องถิ่นเรื่องต่างๆล้วนแต่มีโครงสร้างมาจากนิทานชาดกทั้งสิ้นซึ่งก็เป็นเช่นกับภาคอื่นๆหรือประเทศอื่นๆที่รับเอาพระพุทธศาสนาเข้ามาในสงคมย่อมจะส่งผลต่อวัฒนาความเชื่อดังเดิมของท้องถิ่น ภาคอีสานก็หนี้ไม่พ้นระบบความเชื่อแบบนี้เช่นกัน วรรณคดีท้องถิ่นอีสานนี้ได้รับอิทธิพลมาจากล้านนา โดยเฉพาะชาดกนอกนิบาตซึ่งมีประมาณ ๒๐๐ กว่าเรื่อง ซึ่งเป็นปัญญาสชาดกของช้าวล้านนาแพร่อิทธิพลกระจายไปยังประเทศใกล้เคียงต่างๆทั้งเขมร พม่า ลาว เซียงตุง วรรณคดีท้องถิ่นอีสานก็ได้เนื้อเรื่องมาจากปัญญาสชาดก แม้ปัจจุบันก็ยังเห็นร่องรอยอยู่กล่าวคือเมื่อเป็นภาษาพื้นบ้านก็มีคำบาลีปะปนอยู่ด้วย “ดังตัวอย่างที่ปรากฏในปัญญาสชาดกฉบับหอสมุดแห่งชาติเรื่องสุบินชาดก ได้กล่าวประพันคาถาความตอนหนึ่งว่า

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

“ความรักใคร่อันเกิดขึ้นแล้วย่อมเกิอขึ้นด้วยเหตุสองประการคือ

ด้วยความที่เคยอยู่ร่วมกันมาในชาติปางก่อน ๑ ด้วยเหตุเกื้อ

กูลในปัจจุบัน ๑ อุปมาเหมือนอุบลชาติอันเกิดแล้ว(ต้องอาศัย

ด้วยเหตุสองประการคือ น้ำ ๑ เปือกตม๑)”

กวีท้องถิ่นของชาวอีสานในอดีตมาล้วนแต่ได้รับอิทธิพลมาจากวัด ซึ่งเป็นเสมือนสถานบันเป็นแหล่งศูนย์กลางการศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านตลอดถึงได้ศึกษาสรรพวิชาการต่างๆจากวัด ดังนั้นวัฒนธรรมพระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลต่อผู้สร้างสรรงานวรรณกรรมต่างๆของท้องถิ่น อยากที่จะแยกออกได้ว่าวรรณกรรมไหนเป็นของท้องถิ่นแท้ๆ โดยเฉพาะวรรณคดีพุทธศาสนาที่เป็นมูลบาลี(คัมภีร์พระไตรปิฏก) และอมูลบาลี(อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา และปกรณ์พิเศษ) รวมเป็นผลิตผลทางวรรณคดีที่อิงอาศัยหลักพระพุทธศาสนาเป็นต้น

วรรณกรรมท้องถิ่นอีสานทั้งประเภทลายลักษณ์อักษรและแบบมุขปาฐะที่มีหลักฐานอยู่ล้วนแต่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้งและกว้างขวางโดยเฉพาะวรรณกรรมลายลักษณ์อักษรจะมีการแต่งที่อิ่งอาศัยหลักทางฉันทลักษณ์ในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น วรรณคดีทั้งของพระพุทธศาสนาและของชาวอีสานล้วนแต่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันสำคัญยิ่งที่ชี้ให้เห็นระดับความเจริญของชนในชาติ ซึ่งชาติที่มีอารยธรรมที่เจริญและมีการวิวัฒนาการทางสงคมที่เป็นปึกแผ่นมั่นคงต่างก็มีวรรณคดีทั้งที่ถ่ายทอดโดยปากเปล่าหรือวรรณคดีมุขปาฐาน และวรรณคดีที่เป็นภาษาเขียนที่เรียกว่าวรรณคดีลายลักษณ์ ชาวอีสานมีก็มีวรรณคดีทั้งสองแบบ กล่าวคือวรรณคดีทางพระพุทธศาสนาและวรรณคดีท้องถิ่น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเจริญทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีและคติชนวิทยาแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยอีสานได้รับเอาวัฒนธรรมพุทธศาสนามาใช้เป็นแนวทางดำเนินชีวิตไม่น้อยกว่าพันปี ชาวอีสานมีความศรัทธาอย่างแรงต่อพระพุทธศาสนาซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมต่างๆทั้งด้านจิตนิสัย และคติชนของสังคม ซึ่งแสดงออกมาในรูปแบบของพิธีกรรม จารีตธรรมเนียมต่างๆล้วนรับมาจากพุทธศาสนา

คตินิยมของพุทธศาสนิกชนในภาคอีสานที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การอุทิศตนเองกระทำคุณความดีเป็นพุทธบูชาตามกำลังความรู้ความสามารถ ตามฐานะของแต่ละคนจะพึงมีในเมื่อมีโอกาส อาทิเช่น การสร้างวัด การอุทิศแรงงานถวายวัด ตลอดถึงการสร้างและบริจาคมรดกมีค่าถวายวัดเป็นพุทธบูชา คติอันนี้เด่นชัดมากในเรื่อง การผูกพัทธสีมา(การขอดสิม) และยังมีสร้างสิ่งที่เป็นวัตถุบูชา คือการสร้างหนังสือไว้ในพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นพุทธบูชา อันเป็นจุดเริ่มต้นให้วรรณกรรมท้องถิ่นภาคอีสานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและวรรณคดีประเภทอื่นๆรุ่งเรืองไปด้วย

ความศรัทธาเรื่องอานิสงส์จากการสร้างหนังสือ ชาวอีสานมีที่มีความเข้าใจพระพุทธศาสนาในระดับสูงกว่าพุทธศาสนิกชนสามัญ จะมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการสร้างหนังสือ เพื่อให้ธรรมะของพระพุทธเจ้าเผยแผ่ไปสู่บุคคลอื่นตลอดถึงใช้เป็นประโยชน์ในการศึกษาของพระสงฆ์และยังใชเป็นหนังสืออ่านในงานพิธีต่างๆ เพราะเป็นการให้ทานประเภทธรรมะเป็นทานชื่อกันว่าได้บุญมาก ดังพุทธภาษิตว่า “สพฺพทานํ ธมฺทานํ ชินาติ” การให้ธรรมะเป็นทานย่อมชนะการให้ทั้งปวง และยังมีความเชื่อว่ามีอานิสงส์มากกว่าวัตถุทาน คติเช่นนี้เป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวไทยอีสานนิยมสร้างหนังไว้ในพระพุทธศาสนา เป็นพุทธบูชา และถ้ายิ่งได้สร้างหนังสือประเภทมูลบาลี หรืออมูลบาลีที่แต่งด้วยภาษาบาลีจารด้วยอักษรขอมก็จะยิ่งได้กุศลผลบุญแรง เพราะเชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีแต่บุญเท่านั้นที่จะนำติดตัวไปสู่ปรโลกได้ ดังสุภาษิตอีสานว่า

ซื่อว่าบุญกุศลสร้าง สมควรคนเฮาเฮ็ดใส่

ถ้าหากว่าผู้ใดบ่สร้าง หาบุญไว้กลิ่นบ่อหอม

เกิดเป็นคนเฮาควรสร้าง ในทางดีนั้นละแม่น

ไผผู้หลงไปหาโลกเลี้ยว ยามตายเจ้าซิเพิ่งหยั่ง2

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ผลกระทบจากที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยขึ้นในหัวเมืองต่างๆ จนทำให้ผู้รู้หนังสือขอมและหนังสือธรรม และหนังสือไทยน้อยของชาวอีสานลดน้อยลง ความเชื่อเรื่องอานิสงส์จากการสร้างหนังสือไว้ในพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นพุทธบูชา พอจำแนกได้เป็น ๕ ลักษณะดังนี้คือ

(๑) มีอานิสงส์ให้เกิดผลบุญทั้งแก่ผู้สร้างและผู้เกี่ยวข้อง

(๒) มีอานิสงส์ให้เข้าสุคติโลกสวรรค์

(๓) มีอานิสงส์ให้ได้พบกับยุคศาสนาของพระศรีอาริยเมตตรัย

(๔) มีอานิสงส์ให้เกิดรู้แจ้งในธรรมของพระพุทธเจ้า

(๕) มีอานิสงส์ให้ถึงพระนิพพาน

การสร้างหนังสือถวายแก่วัดก็เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยเผยแผ่พระพุทธศาสนาและยังเป็นพุทธบูชา ล้วนแต่สร้างไว้ในพระพุทธศาสนาโดยมีวัดเป็นที่เก็บคัมภีร์เหล่านี้ จนมีการสร้างหอเก็บหนังสือไว้กลางนำเรียกว่า หอไตรหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่มีต่อคำสอนอีสานด้วยเหตุที่พระพุทธศาสนามีความเกี่ยวข้องกับจิตของคนอีสานมาเป็นเวลาช้านานซึ่งเป็นแบบฉบับตลอดถึงเป็นที่พึ่งทางจิตใจและเป็นปทีปให้ความสว่างในการดำเนินชีวิต ดังนั้น การแสดงออกทั้งทางด้านพฤติกรรมต่างๆของคนอีสานจะได้รับอิทธิพลจากพิธีกรรมในทางพระพุทธศาสนาและความเชื่อทุกอย่างก็ได้รับแรงอิทธิพลมาจากหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาซึ่งสอดคล้องกับบุคคลิกนิสัยของชาวอีสานเป็นอย่างดี ฉะนั้นอิทธิพลของวรรณกรรมจากพระพุทธศาสนาจึงปรากฏอยู่ในวรรณกรรมคำสอนอีสาน

ชาวอีสานยอมรับคำสอนทุกอย่างในพระพุทธศาสนาแต่กระนั้นก็ยังมีแนวความเชื่อดังเดิมอยู่เป็นจำนวนมากที่เปลี่ยนแปลงไปจากคำสอนในพุทธศาสนา คือความโน้มเอี้ยงไปในระบบวิญญาณนิยมอยู่มากเหมือนกัน แต่เมื่อมาได้รับคำสอนที่ถูกต้องแล้วชาวอีสานก็หันกับมาสู่หลักปรัชญาของตนเอง ดังนั้นพระพุทธศาสนาจึงมีอิทธิพลทั้งต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมชาวอีสานมากมาย รวมไปถึงคำสุภาษิตอีสานก็ได้รับมาด้วยเช่นกัน ถือว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวอีสานที่ยอมรับและเชื่อกันมา จนกลายเป็นหนึ่งเดียวกันกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีผลดังต่อไปนี้คือ

อิทธิพลต่อลักษณะนิสัยจิตใจ เพราะชาวอีสานมีนิสัยโอบอ้อมอารีมีเมตากรุณา เคารพ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความกตัญญูกตเวที ขยันอดทน และมีความสุภาพตลอดถึงไม่เห็นแก่ตัวเป็นลักษณะนิสัยที่สะท้อนให้เห็นว่าอิทธิพลของหลักสุภาษิตทั้งสองมีส่วนสำคัญยิ่งที่ส่งเสริมให้คนอีสานมีบุคคลิกอย่างนี้ แผ่อิทธิพลต่อวรรณกรรม ต่างๆของอีสานที่สำคัญๆก็มีบ่อเกิดจากพุทธศาสนาเป็นส่วนมาก ฉะเพาะหลักจริยธรรมในหลักธรรมทางพุทธศาสนาล้วนมีโครงเรื่องและการดำเนินเรื่องล้วนแต่เกิดมาจากชาดกในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ส่งผลต่อขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆของชาวอีสาน สืบเนื่องจากวรรณกรรมทุกเรื่องในภาคอีสานก็ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนาโดยตรง จึงส่งผลมาเป็นแนวประพฤติและหลักปฏิบัติแก่ชาวอีสานทั้งหลักจริยธรรมและหลักธรรมตลอดมา

อิทธิพลจากชาดกในพุทธศาสนาที่มีต่อวรรณกรรมอีสาน พระพุทธศาสนามุ่งสอนให้คนกระทำความดีเว้นการกระทำความชั่วและชำระจิตใจให้สะอาดผ่องใส ผู้ใดประกอบกรรมดี กรรมดีย่อมตอบสนอง และผู้ใดประกอบกรรมชั่ว กรรมชั่วย่อมตอบสนองเช่นกัน ผู้ใดกระทำกรรมไว้ย่อมเกิดผลแห่งการกระทำนั้น ดังที่พระพุทธเจ้าพระองค์ททรงไว้ในสคาถวรรค สังยุตตนิกายว่า “ บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผลเช่นนั้น ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว”( สํ. ส. 15/256/273) ไม่มีใครหลีกหนีผลกรรมพ้นไปได้ ในกรณีเองนักปราชญ์อีสานมักจะสั่งสอนลูกหลานของตนเองให้ดำรงชีวิตให้ห่างจากทางแห่งความชั่ว เพราะมีความเชื่อในเรื่องของกรรม และผลกรรมตามส่งผลให้ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนในภายหลัง ดังนั้นจึงพยายามสอดแทรกหลักจริยธรรมพร้อมทั้งหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาเข้าไปในเนื่อหาของวรรณกรรมทุกเรื่อง เพื่อเป็นการสอนด้านจริยธรรมแก่คนทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อให้คนเกรงกลัวความชั่ว พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนว่า “บุคคลทำชั่วแล้ว ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง เป็นผู้มีหน้าอันชุ่มด้วยน้ำตา ร้องให้ เสวยผลของกรรมอันใดอยู่ กรรมอันนั้นอันบุคคลทำแล้วไม่ดี นั้นคือกรรมชั่ว( ขุ.ธ. 25/76/28(…………………..)

พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าใจเรื่องกรรมว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเองเป็นทายาทแห่งกรรมของตน มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง กรรมใดก็ตามที่เขาทำลงไป ดีหรือชั่วก็ตาม เขาย่อมจะเป็นทายาทแห่งกรรมนั้น (อง. ฉกก 22/161/176 ) อิทธิพลของหลักคำสอนเช่นนี้ได้ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมอีสาน(………)

วรรณกรรมหลายเรื่องๆ ได้แสดงถึงสาระของหลักคำสอนแทรกอยู่ในเรื่องเสมอ เพราะผู้ที่แต่งได้รับอิทธิพลจากการได้ศึกษาหลักธรรมมาอย่างชัดเจนแล้วก็นำหลักการประพันธ์ตามหลักของพระพุทธศาสนาเข้ามาสู่วรรณกรรมอีสาน คือมีการดำเนินเรื่องที่ส่งผลให้ตัวเอกของเรื่องเป็นผู้แสดงหลักคำสอนต่างๆแทนตัวผู้ประพันธ์ซึ่งได้ถ่ายทอดเอาสิ่งที่อยู่ในท้องถิ่นขึ้นมาเป็นตัวอย่างในการสอนคนให้เข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น นับว่าเป็นกุสโลบายของนักปราชญ์ชาวอีสานที่ผสมผสมคำสอนที่ยากๆ ให้เกิดการเข้าใจง่าย ด้วยเหตุนี้วรรณกรรมส่วนหนึ่งจึงมีหลักษณะของการแฝงคติธรรมแนวปริศนาธรรมไว้เสมอๆ (……………….)

วรรณกรรมไม่เพียงให้คติธรรม แต่ก็ยังกล่าวถึงธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ซึ่งประกอบด้วยเบญจขันธ์ และยังกล่าวถึงความทุกข์อันมีมูลฐานมาจากตัณหาต่างๆ(…..) สุภาษิตอีสานที่ปรากฏในวรรณกรรมต่างๆนั้นจึงได้สะท้อนให้เห็นคติธรรมตลอดถึงหลักการปฏิบัติให้พ้นทุกข์ ที่อิงอาศัยหลักปฏิบัติตามพุทธวิธี(…….อริมรรคมีองค์ 8) อิทธิพลต่างๆที่เกิดจากแรงผลักดันจากวิถีชีวติมนุษย์ที่มีแต่ความทุกข์นั้น แต่สุภาษิตทั้งสองก็ยังส่งเสริมให้มนุษย์มีการต่อสู่เพื่อเอาชนะความทุกข์ที่จรมา ( ….. แต่สำหรับความทุกข์ที่เกิดมาประจำสังขาร กล่าวคือ ความแก่ ความเจ็บ ความชราและความตายนั้นสุภาษิตที่มีในวรรณกรรมอีสานก็เน้นให้รู้ว่า………..วรรณกรรมพุทธศาสนาที่มีอิทธิพลต่อวรรณกรรมอีสานนั้นพอกล่าวสรุปได้ดังนี้

ชาดก เป็นลักษณะคำสอนอีกวิธีหนึ่งในนวังคสัตถุศาสตร์(298/ลูกทุ่ง) ของพระพุทธเจ้าเป็นลักษณะของคำสอนที่เล่าเป็นนิทานสอนใจมีคติธรรมแฝงอยู่ในเรื่องตลอด ส่วนมากจะเป็นนิบาตชาดก กวีอีสานมักนิยมเอาชาดกมาแต่งเป็นวรรณกรรมอีสานเรื่องต่างๆ เพื่อดึงดูดศรัทธาของประชาชนให้หันเข้าหาหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งจะเป็นแนวคำสอนที่ง่ายๆและมุ่งสู่สังคมให้มีความสุขสงบ ซึ่งเป็นพื้นฐานทางสังคมของชาวอีสานตลอดมา

นำนิทานชาดกเป็นเครื่องนำมาเล่าในเชิงเปรียบเทียบให้เห็นคติธรรมและหลักธรรมต่างๆ โดยเฉพาะการนำเอานิทานชาดกอิงธรรมะมาผูกเป็นคำกลอนหรือประพันธ์เป็นผญาภาษิตเพื่อที่ใช้สอดแทรกธรรมะซึ่งเป็นแก่นของเรื่องนำไปเพื่อมุ่งสอนให้คติธรรมต่าง(…….กตัญญู) พุทธศาสนิกชนชาวอีสานโดยทั่วไปรู้จักเบญจศีลเป็นอย่างดี เนื่องจากสุภาษิตมักจะเน้นให้รักษาศีลทั้งศีลห้าและศีลแปด(………)หลักพุทธภาษิตก็เน้นให้รู้อานิสงส์ของศีลว่า……

หลักคำสอนอีสานนั้นมีนัยมากมายที่กวีหรือนักปราชญ์ในทางศาสนาชาวอีสานนั้นได้รวมกันประพันธ์ขึ้น การนำเสนอผลการศึกษาทั้งสองสุภาษิตในเชิงวิเคราะห์หาความมุ่งหมายของคำสอนในลักษณะอย่างไร และนำแนวคำสอนทางจริยธรรมซึ่งนักปราชญ์ชาวอีสานนำมาเพื่อประโยชน์ในการปลูกฝังคุณธรรมให้แก่ชาวอีสาน แบ่งได้เป็น ๔ ประการ คือ ๑) ผญาอีสานกับความเจริญของชีวิต ๒) ผญาภาษิตที่มีต่อการปฏิบัติต่อตนเองและคนอื่น ๓) ผญาภาษิตที่มีต่อความสุขและความดี ๔) ผญาภาษิตที่มีต่อการครองตน ๕) ผญาภาษิตที่มีต่อทางของความเสื่อมของชีวิต


๒ พระเมธีธรรมาภรณ์ ( ประยูร ธมฺมจิตฺโต ),เปรียบเทียบแนวคิดพุทธทาส-ซาตร์, (กรุงเทพฯ: ศยาม บริษัทเคล็ดไทยจำกัด,๒๕๓๖ ) หน้า ๓-๔.

๓ พุทธทาสภิกขุ,. สูตรเว่ยหล่าง,. ( กรุงเทพฯ:ธรรมสภา,๒๕๓๐ ) หน้า คำ-อนุโมทนา.

๔ องฺ ฉกฺก. ๒๒ / ๓๓๔ / ๓๖๘.

๕ ขุ.สุ. ๒๕ / ๓๐๖ / ๒๗๒.

๖ ม.อุ. ๑๔ / ๕๗๙–๕๘๑ / ๒๘๗.

พิทูรย์ มลิวัลย์. อิทธิพลวรรณคดีพุทธศาสนาต่อวรรณคดีท้องถิ่นอีสาน,(กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) พ.ศ. ๓๕๓๘ ,หน้า ๕๑

ฮารัลด์ ฮุนดีอุส. อิทธิพลพุทธศาสนาต่อวรรณดีล้านนา. (กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) พ.ศ. ๓๕๓๘ ,หน้า ๔๖

ศิลปากร, กรม, ปัญญาสชาดก (กรุงเทพฯ โรงพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร) พ.ศ. ๒๔๙๙ , หน้า ๕๕๑

2 เรื่องเดียวกัน ,อ้างแล้ว , หน้า ๑๐๙




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons