วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นานาสุภาษิต

T090211_02C
มะโนนอบพระผู้ เสวยสวรรค์ แขนมอบถวายทรงธรรม์ เทอดหล้า
ดวงใจมอบเมียขวัญ และแม่ เกียรติศักดิ์รักข้า มอบไว้แก่ตัว.
แม้ใจไม่คร้ามต่อ มรณะ ภัยฤา  ใจก็โล่งแลจะ สุขแท้
ยิ้มหัวบ่มัวละ เลยกิจ  บ่มิสิ้นหวังแม้ ป่วยเพียงปางตายฯ."ดุสิตสมิต"
อันกำเนิดเกิดมาในสากล ใครจะพ้นมรณาก็หาไม่
จงระงับดับความอาลัย ถึงโศกไปใช่ที่จะเป็นมาฯ อิเหนา"
ใครจะไว้ใจอะไรไว้ใจเถิด แต่อย่าเกิดไว้ใจในสิ่งห้า
หนึ่งอย่าไว้ใจทะเลทุกเวลา สองสัตว์เขี้ยวเล็บงาอย่าไว้ใจ
สามผู้ถืออาวุธสุดจักร้าย สี่ผู้หญิงทั้งหลายอย่ากรายใกล้
ห้ามหากษัตริย์ทรงฉัตรชัย ถ้าแม้ใครประมาทอาจถึงตาย "นิทานเวตาล"
แมลงภู่เป็นคู่ของบุษบา โบราณว่ามีจริงทุกสิ่งสม
หญิงกับชายเป็นคู่ชูอารมณ์ ทั้งปฐมกัปป์กัลป์พุทธันดร. "พระแท่นดงรัง"
http---wallpaper-hit.blogspot.com 5บุษบาบานเบิกสร้อย เสาวคนธ์
ฝูงภมรมัววน หวี่ร้อง
นารีแรกรุ่นยล กำดัด สวาทนา
ชายแต่ตอมจักต้อง ไต่เต้าตามหาฯ
"นิทานชาคริต"
เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม ดนตรี
อักขระห้าวันหนี เนิ่นช้า
สามวันจากนารี เป็นอื่น  วันหนึ่งเว้นล้างหน้า อับเศร้าหมองศรีฯ
                       "โลกนิติ"
เนื้อ ในไตตับต้ม แกงยำ   ไม่ ประสบสักคำ ที่ลิ้น
ได้ ยากลากโครงทำ เสียเปล่า   กิน แต่เข้าเราชิ้น หนึ่งได้ไม่มี
                                   "โลกนิติ"
ความรู้เปรียบคู่ด้วย กำลัง กายเฮย
สุจริตคือเกาะบัง ศาสตร์พ้อง  ปัญญาประดุจดั่ง อาวุธ
กุมสติต่างโล่ห์ป้อง อาจแกล้วกลางสนามฯ รัชกาลที่6"
เมื่อยามยิ้มยิ้มไว้แต่ในพักตร์ อย่ายิ้มนักเสียสง่าทาสฉาย
อย่าท้าวแขนท้าวคางให้ห่างกาย อย่ากรีดกรายกรอมเพราะเที่ยวเราะเริง
                                       "สุนทรภู่"
รู้หลบพบศึกเสี้ยน ผู้ใด ใดเฮย   แต่ผูกไม่ตรีไป รอบข้าง
31ทำคุณอุดหนุนใน การชอบ ทำนา
ไร้ศัตรูปองล้าง กลับซร้องสรรเสริญ
"รัชกาลที่6"
ห้ามเพลิงไว้ไม่ได้ มีควัน
ห้ามสุริยะแสงจันทร์ ส่องไซร้
ห้ามอายุให้หัน คืนเล่า
ห้ามดังนี้ไว้ได้ จึงห้ามนินทาฯ
โลกนิติ"
รู้จักสิ่งกอบโทษ และคุณ เพื่อนเอย
รู้จักพูดไพเราะ จับจิต   รู้จักสนุกงาน เพื่อนร่วม งานแฮ
รู้จักมิตรไซร้ เลิศดี   อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
ถึงเจ็บอื่นหมื่นแสนไม่แคลนคลาย เจ็บเจียรตายเพราะเหน็บให้เจ็บใจฯ.
"สุนทรภู่"
แม่น้ำคุ้งคดเคี้ยวก็ควรจร ไม้ที่คดเข้าทำศรก็เชื่อได้
เหล็กที่คดทำเคียวเกี่ยวข้าวได้ อันคนคดนี้เห็นไม่ต้องการงาน.
"สุนทรภู่"
ยามจนคนเคียดแค้น ชิงชัง   ยามมั่งมีคนประนัง นอบน้อม
เฉกพฤกษ์ดกนกหวัง เวียนสู่ เสมอมา  ปางหมดผลนกพร้อม พรากสิ้นบินหนีฯ.
"โลกนิติ"
ประเพณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง
จรเข้ใหญ่ไปถึงน้ำมีกำลัง เหมือนเสือขังเข้าถึงดงก็คงร้าย
อันแม่ทัพจับได้แล้วไม่ฆ่า ไปข้างหน้าศึกจะใหญ่ขึ้นใจหาย
ต้องคำรับจับให้มั่นคั้นให้ตาย จะทำภายหลังยากลำบากครัน.
T190810_03C_r"สุนทรภู่"
ไปเรือนท่านไซร้อย่า เนานาน   พูดแต่พอควรการ กลับเหย้า
ริเริ่มเรียนการงาน เรือนอาต-มานา   ยากเท่ายากอย่าเศร้า เสื่อมสิ้นความเพียร.
"โลกนิติ"
คืนและวันพลันดับก็ลับล่วง ท่านทั้งปวงจงอุตส่าห์หากุศล
พลัยชีวิตคิดถึงรำพึงตน อายุคนนั้นไม่ยืนถึงหมื่นปี. "อิศรญาณภาษิต"
ใช่ญาติมิตรสนิทเนื้อเขาเกื้อหนุน ควรคิดคุณท่านกว่าจะอาสัญ
ถึงไม่มีสิ่งใดจะให้ปัน อุตส่าห์หมั่นสรรเสริญเจริญพรฯ.
"สุนทรภู่"
ตีงูงูไซร้หาก เห็นทัน    นมไก่ไก่สำคัญ ไก่รู้
หมู่โจรต่อโจรหัน เห็นเล่ห์ กันนา   เชิงปราชญ์ฉลาดกล่าวผู้ ปราชญ์รู้เชิงกันฯ.
T020410_02P_r"โลกนิติ"
ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร    มรรยาทส่อสันดาน ชาติเชื้อ
โฉดฉลาดเพราะคำขาน ควรทราบ   หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ บอกร้ายแสลงดินฯ
"โลกนิติ"
อันรักษาศีลสัยต์กัตเวที ย่อมเป็นที่สรรเสริญเจริญตน
ทรลักษณ์อกตัญญูต่อเขา เทพเจ้าก็จะแช่งทุกแห่งหนฯ
"สุนทรภู่"
เวลาใดทำใจให้ผ่องแผ้ว เหมือนได้แก้วมีค่าเป็นราศี
เวลาใดทำใจให้ราคี เหมือนมณีแตกหมดลดราคาฯ.
"อุทานธรรม จ.ศ."
อันรักกันอยู่ไกลถึงขอบฟ้า เหมือนชายคาเข้ามาเบียดดูเสียดสี
อันชังกันอยู่ใกล้สักองคุลี ก็เหมือนมีแนวป่าเข้ามาบังฯ.
"สุภาษิตสอนหญิง
อันรสปากหากหวานก็หวานเด็ด บรเพ็ดก็ไท่ทากเท่าปากขม
มีดว่าคมก็ไม่คมเท่าปากคม รสหวานขมคมไม่มากเหมือนปากคนฯ.
T201010_04P_rสุภาษิตสอนหญิง"
ร้อนอะไรในมนุษย์ที่จุดจบ ไม่ร้อนลบแรงราดซ้ำยากเผา
เพลิงโมโหโทสามิซาเซา ร้อนลุ่มเราลุกลนไปจนตาย
อันร้อนกายไข้หนักพอรักษา ใช้หยูกยาถูตรงก็คงหาย
แต่ร้อนจิตติดแน่นสุดแคลนคลาย เป็นโรคร้ายเรื้อรังไม่ฟังยาฯ
"ไวทยาคุณ"
รสใดไม่เหมือนรสรัก หวานนักหวานใดจะเปรียบได้
แต่มิได้เชยชมสมใจ ชมใดไม่เทียบเปรียบปาน
"ท้าวแสนปม"
คนงงหลงไขว่คว้า จูบเงา   สุขก็เพียงฉายา แต่สุขฯ
"เวนิสวานิช"
อันผู้ใดมรงธรรมเที่ยงสถิตย์ ชนย่อมอยากเป็นมิตรเป็นนักหนา
ความใจดีมีจิตมากเมตตา ย่อมแนะนำสัตว์นานาไว้วางใจฯ.
"สาวิตรี"
จงดูแยบแบบโบราณท่านสอนไว้ ให้กอบกิจโดยไม่นึกประสงค์
ยิ่งบำเพ็ญเจตนาและพะวง ตรงอยู่ที่จะกอปกรณีย์
"ตามใจท่าน"
อันว่าผู้มั่นอยู่ในธรรม์ เหมือนมีเครื่องคุ้มกันกายาอุ่น
พระธรรมานิสงส์คงค้ำจุ้น บำรุงบุญบำรามบาปมลายฯ
"พระเกียรติยศ"
T051010_02P_rปราชญ์สรรเสริญว่าธรรมเป็นล้ำเลิศ สุดประเสริฐกว่าทรัพย์ทั้งน้อยใหญ่
ธรรมคุ้มผู้ประพฤติธรรมเป็นธรรมไซร์ คงต้องได้ผลงามตามตำรา
"สาวิตรี"
นักพรตผู้ประพฤติสมปากสอน เป็นผู้ประเสริฐเลิศสุนทรควรอภิวาทฯ.
"เวนิสวานิช"
เป็นผู้หญิงแท้จริงแสนลำบาก เป็นผู้ชายยิ่งยากกว่าหลายเท่า
หญิงต้องเจียมกายามาแต่เยาว์ ชายต้องเฝ้าวิงวอนให้หล่อนรักฯ
"วิวาหพระสมุทร"
ผีมันหลอกช่างผีตามที่เถิด อย่าให้เกิดหลอกกันเองเร่งเกรงขาม
คนสามัญมีปัญญาไม่เลวทราม ที่ควรถามเร่งถามดูลาดเลา
เดินตามรอยผู้ใหญ่หมาไม่กัด ไปพูดขัดเขาทำไมขัดใจเขา
ใครทำตึงเราต้องหย่อนผ่อนลงเอา นักเลงเก่าเขาไม่หาญราญนักเลง
"ฝึกฝนตนเอง"
มะโนนอบพระผู้ เสวยสวรรค์
แขนมอบถวายทรงธรรม์ เทอดหล้า
ดวงใจมอบเมียขวัญ และแม่
เกียรติศักดิ์รักข้า มอบไว้แก่ตัว.
T090211_02C




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons