วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีผลต่อแรงบันดาลใจในการแต่งเพลง

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

.๖ อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีผลต่อแรงบันดาลใจในการแต่งเพลง

ความนิยมในการแต่งเพลงลูกทุ่งของครูเพลง พระพุทธศาสนาเป็นแรงบันดาลใจ แม้ว่าเพลงลูกทุ่งจะมีเนื้อเรื่องว่าด้วยความรักและการพรัดพราก การชิงรักชิงสวาท แต่บางเพลงจะจบลงด้วยแนวคิดในเรื่อง “กฎแห่งกรรม” คนทำดีย่อมได้ดี คนชั่วย่อมได้รับโทษทัณฑ์เหตุแห่งทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้วมีที่มาจากกรรม การที่ตัวเองผ่านอุปสรรคมาได้หรือพันทุกข์ ก็เป็นเพราะกรรมดีหรือบารมีที่ทำไว้ความสมเหตุสมผลของพฤติกรรมในเพลงหรือการดำเนินเรื่องก็อธิบายได้ด้วยกรรม เพลงลูกทุ่งจึงเป็นบทเพลงที่สั่งสอนกลาย ๆ ทั้งนี้ก็เพราะเป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานภาพหรือจุดประสงค์ของกวีหรือผู้แต่งเพลงนั่นเอง โดยบางครั้งนักรองอาจจะไม่รู้ความหมายของเนื้อเพลงก็อาจเป็นได้ ดังศรเพชร ศรสุพรรณ กล่าวว่า “ในฐานะเป็นคนร้องเพลง บางครั้งอาจจะไม่รู้เรื่องเท่าคนแต่ง เพราะบทเพลงแต่ละเพลงเกิดจากความคิดของผู้ประพันธ์”(ศรเพชร)

จากการสัมภาษณ์ ธรรมรงค์ เพชรสุนทร นักจัดรายการวิทยุชื่อดังที่จัดรายการเพลงลูกทุ่งมายาวนานได้ให้ทรรศนะว่า บทเพลงลูกทุ่งเป็นบทเพลงที่สะท้อนชีวิตของชาวไทยและบทเพลงลูกทุ่งเป็นเพลงที่เป็นภาษาร้อยกรองเรียกว่าภาษากวี มีความไพเราะด้วยภาษาและเสียงร้องที่กลมกลืน อีกทั้งเพลงลูกทุ่งยังสามารถเข้าได้กับคนฟังทุกเพศทุกวัยและอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน(ธรรมรงค์) ศรชัย เมฆวิเชียร นักร้องลูกทุ่งอีกคนหนึ่งได้แสดงควงามคิดเห็นเกี่ยวกับน้องร้องลูกทุ่งกับพระพุทธศาสนาว่า นักร้องลูกทุ่งนั้นคงวนเวียนอยู่กับวัดวาอารามไม่เพียงแต่บทเพลงที่เกี่ยวเนื่องเท่านั้นหากแต่ว่าแม้แต่ตัวนักร้องเองยังยึดมั่นอยู่กับคำสอนของพระพุทธศาสนาอย่างเช่นตัวเขาเองในคราวมีความทุกข์นอนไม่หลับก็นั่งสมาธิและสวดบทชินบัญชรเป็นประจำ ทำให้คิดว่าตัวเองนั้นได้สร้างคุณงามความดีเหมือนกัน(ศรชัย)

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

คุณค่าของเพลงลูกทุ่งนั้นเป็นสิ่งที่คนไทยควรจะหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง ในประเด็นนี้ รมต. กร ทัพพรังสี ส.ส. นครราชสีมา ได้เคยกล่าวว่า “เพลงลูกทุ่งเป็นคุณค่าของความเป็นไทยที่สามารถจะนำมาเป็นสื่อแห่งการพยายามอนุรักษืวัฒนธรรมแบบไทย ๆ นี้ไว้ได้ ถ้าเราจักรู้นำคุณค่านี้มาใช้ให้ถูกวิธี ทำนองของเพลงลูกทุ่งที่เรียบง่ายและสม่ำเสมอ ทำให้เกิดความรู้สึกสนุกและเพลิดเพลินแก่ผู้ฟังในการที่จะจดจำได้ง่าย เมื่อรวมกับเนื้อเพลงที่กลั่นกรองออกมาจากความรู้สึกที่จริงใจและสะท้อนถึงความจริงในสังคมที่ไม่มีจริงของความสมัยใหม่แอบแฝงอยู่ เมื่อรวมองค์ประกอบทั้งสองเข้าด้วยกันแล้ว ทำให้เพลงลูกทุ่งมีคุณค่าด้านดนตรีสามารถใช้เป็นสื่อด้านการอนุรักษ์ความเป็นไทยไว้ได้อย่างดีเยี่ยมที่สุด

ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช แสดงความคิดเห็นว่า อันที่จริงแล้วเพลงลูกทุ่งนั้นเป็นเพลงไทยที่ได้รับการปรุงแต่งให้

อยู่ในสิ่งแวดล้อมใหญ่เรารับอารยธรรมจากตะวันตกเข้ามามาก การใช้เครื่องดนตรีสากลบรรเลงเพลงลูกทุ่งหาได้ทำให้เนื้อหาของเพลงลูกทุ่งสูญเสียเอกลักษณ์ความเป็นไทยไปแต่อย่างใดไม่ เพลงลูกทุ่งยังคงธำรงลักษณะของไทยไว้ คือ วรรณยุกต์ ทำนองเพลง เครื่องดนตรีไทย และอารมณ์ขัน(ม.ร.ว.คึกฤทธิ์)

เพลงลูกทุ่งมีอิทธิพลต่อชีวิตจิตใจของชาวชนบทมานานหลายทศวรรษมีความผูกพันอยู่กับสภาพทางสังคมไทยถ่ายทอดลักษณ์วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตของคนไทยทุกสาขาอาชีพทำหน้าที่บันทึกประวัติศาสตร์ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เพลงลูกทุ่งมีเอกลักษณ์ “โดดเด่น” เฉพาะตัวทั้งด้านเนื้อหา ภาษา และอารมณ์ สะท้อนภาพออกมาให้เห็นถึงความเป็นจริงของชีวิตอย่างตรงไปตรงมา สะท้อนภาพทางธรรมชาติอันงดงามบริสุทธิ์(เดือนแรม) โดยการเรียบเรียงภาษากวีของนักแต่งที่มีประสบการณ์อย่างลึกซึ้งเพลงลูกทุ่งมักจะอาศัยครูเพลงที่มีความรู้ในเรื่องบทร้องกรอง เพราะมีการสัมผัสนอก – ในอย่างครบถ้วน และในแต่ละเพลงนั้นมักจะแฝงไปด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาเป็นแรงบันดาลใจหลายประการเช่น

๓.๖.๑ บทไหว้ครู ครูเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ กวีจึงยกย่องครู ดังนั้นก่อนจะแต่งเพลงลูกทุ่ง กวีจึงไหว้ครูก่อน ครูที่เคารพของกวีคือ “พระพุทธเจ้า” หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ตนเคารพ เช่น

“เธอทั้งหลายจึงตัดป่าดุจกิเลส แต่อย่าตัดต้นไม้ เพราะภัยย่อม

เกิดแต่กิเลสเป็นดุจป่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตัดกิเลสดุจป่า

และดุจหมู่ไม้ที่เกิดในป่า เพื่อจะได้เป็นผู้ไม่มีกิเลสดุจป่าอีกต่อไป”(ขุ.ธ.)

พระพุทธโฆษาจารย์ นักปราชญ์ชาวอินเดีย ได้อธิบายพระพุทธพจน์ส่วนนี้ไว้ว่า “คำว่าป่าในที่นี้หมายถึงต้นไม้ ซึ่งเปรียบเสมือนราคะ โทสะ โมหะ ที่เป็นรากเหง้าให้เกิดความชั่วร้ายนานัปการ จนกลายเป็นพัฒนาการ อันเหนียวแน่นที่ตรึงสัตว์ให้ติดอยู่ในภพ ส่วนคำว่าหมู่ไม้ หมายถึงต้นไม้เล็ก ๆ ที่ติดอยู่ในป่า ซึ่งเปรียบเสมือนกิเลสที่ให้ผลในปัจจุบัน”(ธัมมปทัฎฐกถา)

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

ภาษาเป็นอุปกรณ์ของวรรณกรรม และวรรณกรรมก็ช่วยให้ภาษาเจริญเติบโตอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เช่นเดียวกันภาษาเป็นส่วนประกอบสำคัญยิ่งของวัฒนธรรม ประเทศไทยเป็นประเทศที่รักอิสระ ประชาชนทั่วไปมักจะเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนและชอบเสียงเพลงเสียงดนตรี นักปราชญ์จีนขงจื้อได้เคยกล่าวถึงเนื้อหาของเพลงไว้ว่า “หากจะดูชีวิตความเป็นอยู่ของชนชาติในบ้านใดว่าจะมีความสุขความทุกข์เรื่องอะไร มากน้อยเพียงใด ก็ดูได้จากบทเพลงร้องของชนในชาติบ้านเมืองนั้น” ซึ่งก็เป็นคำกล่าวน่าพิจารณามาก(พิชัย ปรัชญานุสรณ์)

เพราะฉะนั้น ในทางพระพุทธศาสนา เราจะเห็นว่าในศีล ๕ ซึ่งเป็นศีลขั้นพื้นฐานจะไม่มีข้อห้าม หรือข้อกำหนดให้งดเว้นในเรื่องเหล่านี้ ท่านไม่ห้ามเรื่องดนตรี ไม่ห้ามเรื่องศิลปะ เช่น จิตรกรรมอะไรต่าง ๆ บางทีก็พุทธเจ้าบางทีทรงแต่งเพลงให้คนที่เป็นคู่รักกันด้วยซ้ำ แต่แต่งเพลงชนิดที่มีเนื้อหาทางธรรมเรียกได้ว่า เป็นดนตรีในพระธรรมวินัย(พระเทพเวที)

ในฐานะที่เป็นมรดกของชนชาติไทย เนื่องจากความสำคัญในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมนั่นเอง พระพุทธศาสนาจึงกลายเป็นเนื้อหาสาระส่วนสำคัญในบทเพลงลูกทุ่งที่ว่ากวีได้นำเอาหลักธรรมมาสอดใส่เป็นภูมิปัญญาที่สะสมสืบทอดต่อ ๆ กันมาเป็นสมบัติของชนชาติไทย และเป็นเอกลักษณ์ของชาติตน พระพุทธศาสนาจึงเป็นส่วนร่วมของคนไทยแต่ละคน แม้กระทั่งกวีผู้แต่งเพลงที่ยึดเอาธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการประพันธ์เพื่อให้เพลงมีสาระ และเพื่อเป็นการสืบทอดมรดกของชาติ ดำรงรักษาเอกลักษณ์ของไทยซึ่งเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่เป็นพุทธศาสนิกชนทุก ๆ คน




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons