วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

๔.๔.๓. อิทธิคำผญาอีสานที่มีต่อพิธีบำเพ็ญทาน

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

พิธีบำเพ็ญทาน

วิธีบำเพ็ญทานนั้น ในสมัยพุทธกาลมีไม่มากวิธีนักส่วนมากจะมีเฉพาะการบำเพ็ญทานเลี้ยงพระ การทอดผ้ากฐิน การถว่ายผ้าอาบน้ำฝน ผ้าป่า เป็นต้น แต่กาลต่อมาในภายหลังเกิดพิธีกรรมต่างๆขึ้นมากมายวิธีการทำทานก็วิวัฒนาการไปมากเช่นเดียวกัน เช่นตักบาตรซึ่งแต่เดิมจริงๆแล้วก็มีเพียงการเอาข้าวสุกใส่ในบาตรถวายพระเท่านั้น แต่ปัจจุบันการใส่บาตรมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก เช่นมีการตักบาตรด้วยข้าวสารอาหารแห้ง ตักบาตรเงิน ตักบาตรวันเกิด ตักบาตรน้ำมัน ตักบาตรน้ำผึ้งเป็นต้น

การบำเพ็ญทานนั้นตามหลักทางพระพุทธศาสนาถือว่า เจตนาถือว่าสำคัญ ซึ่งจะประกอบด้วยกาลทั้ง ๓ คือ ก่อนให้ทาน ขณะให้ทาน และหลังจากการให้ทาน จึงจะถูกต้องตามพุทธวิธี ดังพระพุทธภาษิตว่า “ ทายกก่อนแต่จะให้ทานเป็นผู้ใจดี กำลังให้ทานอยู่ก็ยังจิตให้ผ่องใส่ และครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มจิต”( อง.ฉกก. 22/308/347 ฉบับ )และกล่าวถึงไทยทานหรือวัตถุทานนั้นมีถึง ๑๐ อย่างคือ “ ทานวัตถุ ๑๐ เหล่านี้คือข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม ของลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องปทีป”(อัง. อฏฐก. 23/52/50)

ในวัตถุทานทั้ง ๑๐ อย่างนี้บางอย่างก็ไม่เหมาะต่อการถวายแก่พระสงฆ์ เช่นน้ำหอม ของลูบไล้ แต่เพราะแก่บุคคลสามัญมากกว่า การบำเพ็ญทานดังกล่าวได้กลายมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวพุทธศาสนิกชนไปแล้ว การบำเพ็ญทานตามที่ชาวพุทธยึดถือกันนั้น ยึดเอาเจตนาเป็นหลักและแบ่งออกได้ ๒ ลักษณะตามฐานะของบุคคล คือ

๑) ปาฏิบุคคลิกทาน คือการถวายทานที่เจาะจงพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง

๒) สังฆทาน คือการถวายแบบไม่เจาะจงแก่ผู้รับทานจะเป็นภิกษุรูปใดๆก็ได้

การบำเพ็ญทานที่ถือเอาบุคคลเป็นหลักในการรับทานนี้เรียกว่า “ปุคคลิกทาน” ส่วนการทำทานที่ไม่เจาะจงผู้รับทานคือการบำเพ็ญทานเพื่อมุ่งหวังชำระจิตใจจริงๆ ผู้รับทานหรือปฏิคคหก (เรียกว่าเขตบุญ) ต้องเป็นบุญเขตหรือเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมจึงจะทำให้ผลทานหรือสักการบูชามีผลอานิสงส์มาก ในธัมมปทัฏฐกถามีพุทธดำรัสว่า “ เมื่อจิตประณีต ทานที่ถวายแก่พระอริยบุคคลมีพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมไม่ชื่อว่าเศร้าหมอง จิตตสมึ หิ ปณีเต พุทธาทีนํ ลูขํ นาม นตถิ(ธ.อ.5/10 )คือเมื่อตั้งใจให้ทานในผู้บริสุทธิ์ ทานย่อมให้ผลเต็มที่ในพระพุทธศาสนายกย่องการเลือกให้ทาน(วิจยทาน)ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ วิเจยฺย ทานํ ทาตพฺพํ ยตฺถ ทินฺนํ มหปฺผลํ วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ ทกฺขิเณยฺยา อิธ ชีวโลเก, เอเตสุ ทินฺนานิ มหปฺผลานิ พีชานิ วุตฺตานิ ยถา สุเขตฺเตฯ (ธ.อ. 6/87 พึงเลือกให้ทานในบุญเขตที่มีผลอานิสงส์มาก ที่พระสุคตตรัสสรรเสริญ การให้แก่พระทักขิไณยบุคคล เหมือนการหว่านพืชลงในนาดีฉะนั้น”

๕.๕) สอนลูกหลานให้รู้จักการให้ทานดังนี้

เฮียนลุกเช้านึ่งข้าวใส่บาตร บูชาอาจหาแก้วทั้งสาม

ในอาฮามสถานพระเจ้า ในเค้าไม้ต้นใหญ่โพศรี

ในเจดีย์พระธาตุแก้วกู่ ในบ่อนอยู่เทิงหัวโตนอน

ลางเทื่อหลอนพ้อคนทุกข์ไฮ้ เพิ่นขอได้เจ้าให้ทานไป

ตามนิสัยของโตมีน้อย บาดสุดส้อยแม่นสามเณร

มหาเถรเถราตนใหญ่ หมูกาไก่เป็นกาเป็นเค้า

ให้ทานเข้าประเสริฐหนักหนา100

วัตถุประสงค์ของการให้ทานมีอยู่ ๒ อย่าง คือ การให้ทานเพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์สะอาดและการให้ทานเพื่อแก่ผู้รับ คือผู้รับมีคุณมากก็จะเรียกว่าบูชาคุณ ผู้เสมอกันเรียกว่าสงเคราะห์ ส่วนผู้ที่รับอ่อนกว่าเรียกว่าอนุเคราะห์ ทั้งสองนี้เป็นบุญด้วยกัน ตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในทักขิณวิภังสูตรว่า “ดูก่อนอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น เรากล่าวว่ามีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่เราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทานว่ามีผลมากกว่าทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆเลย(ม.อุ.14/380/324-325ในกรณีที่การทำทานแล้วมีผลาอานิสงส์อย่างไรนั้นมีปรากฏดังมีมาในพระสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๔ ปฐมปัณณาสก์ คัมภีร์ปัญจกนิบาตอังคุตตรนิกาย พระนางสุมนาราชกุมารีไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงถวายบังคมแล้วประทับนั่งทูลถามเรื่องผลของทาน พระพุทธองค์ทรงตรัสตอบแก่พระนางสุมนาว่า บุคคลควรให้ทาน ควรทำบุญ เพราะบุญย่อมมีคุณแก่ผู้เป็นเทวดา เป็นมนุษย์ เป็นบรรพชิต ครั้นตรัสดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสเป็นพระคาถา ซึ่งมีเนื้อความว่า

ดวงจันทร์อันปราศจากเมฆหมอก อยู่ในท้องฟ้า ย่อมรุ่งเรื่องกว่าดาวทั้งสิ้นฉันใด

บุคคลผู้มีศรัทธา มีศีล มีการบริจาค ก็รุ่งเรื่องกว่าผู้ตระหนี่ทั้งสิ้นในโลกฉันนั้น ฯ

เมฆที่ตั้งขึ้นทำให้ฝนตกลงมาใหญ่ ให้น้ำเต็มทั้งที่ดอนที่ลุ่มฉันใด สาวกของพระ

สัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมบูรณ์ด้วยความเห็น ผู้เป็นบัณฑิตก็ครอบงำผู้ตระหนี ๕

อย่าง คืออายุ วรรณะ สุข ยศ ความเป็นใหญ่ฉันนั้น ผู้ที่เพียบพร้อมด้วยทรัพย์นั้น

ย่อมได้ไปรื่นเริงในสวรรค์ดังนี้ ฯ ไตร/22/34

๑๓.๔) พระยาสันทะราชสอนให้รู้จักการให้ทาน

ไผมีเงินคำแก้วหวงแหนบ่ทานทอด บ่ให้ขาดแต่ละมื้อประสงค์ได้ทอดทาน

จักทุกข์จนในสงสารชาติซิมาหากหวังได้ เมื่อมรณังตายไปเกิดในวิมานแก้ว

ไผผู้มีของล้นเงินคำอนันเนกเจ้าเอย บ่ให้ทานพี่น้องคนนั้นบ่ห่อนดีแท้ดาย

อันว่าไผ้ผู้มีของล้นทานไปหลายสิ่งเจ้าเอย บาดว่าชาติหน้าพุ้นยังซิกว้างกว่าหลัง

ตายไปเกิดชั้นฟ้าทงแท่นวิมานคำพุ้นเอย ยูท่างนั่งเสวยความสุขอยู่เย็นหายฮ้อน

ไผผู้ทานไปแล้วบ่มีเสียจักสิ่งเจ้าเอย ชาตินี้บ่ได้อึดอยากไฮ้ไปหน้าก็ดั่งเดียว

ของเฮาทานไปแล้วบ่สูญเสียดายป่าว เจ้าอย่าได้ขี้คร้านในทานทอดกองบุญ

คันว่าตายไปภายลุนจักบ่กินแหนงโอ้ คำสอนพุทโธเจ้าหากเป็นจิงตั้งเที่ยง

ไผทำเพียรก่อสร้างบุญนั้นบ่ห่อนเสียเจ้าเอย 124

การถวายทานโดยเฉพาะการทอดกฐินจัดว่าเป็นการถวายทานเพื่อสงฆ์และเป็นกาลทาน คือถวายได้เฉพาะกาลหนึ่งเท่านั้น พ้นเขตแล้วไม่จัดเป็นบุญกฐิน ดังนั้นคำสอนที่สะท้อนถึงการทำบุญทอดกฐินชาวอีสานถือว่าเป็นงานบุญที่พากันยึดถือมาแต่ในอดีตซึ่งจะปรากฏในเรื่องฮีตสิบสองในงานบุญเดือนสิบเอ็ดได้กล่าวไว้ดังนี้คือ ถึงเดือนสิบเอ็ดแรม ให้ป่าวเดินทำบุญกฐินทอดตามวัดวาอารามต่างๆ ดังคำสอนนี้คือ

คลองสร้างประเพณีจาฮีต เหตุเบื้องต้นปางก้ำเก่าหลังเดิม

ให้พากันตกแต่งแปลงกฐินทอด เมือกาลกฐินมาฮอดแล้วอย่าลืม

ถวายผ้ากฐินถือว่าเป็นจารีตประเพณีที่ชาวอีสานทำมาแต่ดังเดิม และให้ช่วยกันจัดบุญกฐินเพื่อจะทอด เมื่อถึงกาลกฐินมาถึงแล้วในเดือนสิบเอ็ดออกพรรษา อย่าได้พากันหลงลืมพระศาสนาให้ทุกคนเอาใจใส่ช่วยทะนุบำรุ่งศาสนาให้เจริญเพื่อเป็นประโชนย์แก่มวลมนุษย์ทั้งหลายนี้ก็สะท้อนภาพให้เห็นว่าการทำบุญสุนทานของชาวอีสานนั้นได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา และคำสอนที่เป็นทำรู้ว่าการทำบุญให้ทานนั้นควรทำอย่างไรและไม่ควรทำอย่างไร การถือเอาเจตนาเวลาทำบุญนั้นก็สอดคล้องกับหลักพระพุทธศาสนาดังคำสอนอีสานที่พ่อแม่มักจะสั่งสอนลูกว่า

“อันหนึ่งเจ้าลุกแต่เช้าประสงค์แต่งจังหัน ยามเมื่อบายของทานให้ส่วยสีสรงล้าง

ซื่อว่ากินทานนี้ทำตัวให้ประณีต อันว่าผมเกศเกล้าเคียนไว้อย่าให้มาย

ให้ค่อยทำเพียรตุ้มเสมอยุงซุมเหยือ อย่าได้เฮ็ดตู้เตื้อตีนซิ่นไขว่พานั้นเนอ

บาดว่าบาปซอกดั้นใผบ่ห่อนหวนเห็นลูกเอย”

“อันหนึ่งยามเจ้าบายของไปแจกทานนั้น ใจอย่าคิดโลดเลี้ยวเห็นใกล้แก่สมณ์

อย่าได้อคติด้วยของทานเสมอภาคกันเนอ อย่าได้เห็นแก่สังฆะเจ้าคีงเลื่อมจึงค่อยทาน

อันหนึ่งอย่าได้เข้านั่งไกล้เคี้ยวหมากนานลุก ชาติที่แนวมหาเถรดั่งกุญชโรย้อย

เพิ่นหากลือซาช้างพลายสีดอตัวอาจ ใผอยู่ลอนนั่งใกล้งาช้างซิเสียบแทงแล้ว

อันหนึ่งอย่าได้ซำเซียแวมหาเถรยามค่ำ บ่แม่นแนวลูกช้างคุมคล้องบาปซิกิน”

ผลาอานิสงส์แห่งทานที่ตนเองทำมาย่อมผลส่งให้สมความปรารถนา สิ่งใดก็ได้สมดั่งความประสงค์) บุญก็ย่อมจะส่งผลให้ทุกอย่าง คือ สวย รวย เก่ง ล้วนแต่เกิดจากคนมีบุญทั้งสิ้น ดังนั้นคำสุภาษิตจึงสะท้อนภาพรวมให้เห็นว่าคนมีบุญนั้นจะสบายในลักษณะอย่างไรดังสุภาษิตนี้คือ

บุญมีได้ เป็นนายใช้เพิ่น

คันแม่นบุญบ่ให้ เขาสิใช้ตั้งแต่เฮาฯ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

(บุญมีได้เป็นนายใช้คนอื่น ถ้าใช่บุญไม่ส่งให้เขาจะใช้แต่เรา) หมายถึงความดีที่เราทำด้วยกาย วาจา และใจ ถ้าพร้อมพลั่งแล้วจะเป็นอำนาจบารมีให้คนอื่นช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ชีวิตเรามีความสุข จะทำพูดคิดสิ่งใดก็มีคนมาค่อยให้ความช่วยเหลือ เรียกว่าคนที่เคยทำบุญมาร่วมกัน เช่น เพื่อน ญาติ แม้ทั้งคนอื่นที่ไม่ใช่ญาติก็ช่วยเหลือถ้าบุญบารมีเรามีแล้ว เช่น พระสงฆ์ พระมหากษัตริย์ ราชการชั้นผู้ใหญ่จะไปทางใดก็มีข้าทาสบริวารคอยรับใช้ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เองที่อานิสงส์บุญจะแผ่รัศมีออกมาในรูปแบบของความดีหลายๆทาง ดังนั้นการทำความดีจึงให้ลงมีทำด้วยตัวเอง อย่ารอคอยโชควาสนาคนอื่นมาส่งเสริมให้เราดังสุภาษิตว่า

คอยแต่บุญมาค้ำ บ่ทำการมันบ่แม่น

คอยแต่บุญส่งให้ มันสิได้ฮ่อมใดฯ

(คอยแต่บุญมาช่วย ไม่ทำบุญมันก็ไม่ถูก คอยแต่บุญส่งให้มันจะได้อย่างไร) การกระทำอะไรทุกอย่างต้องทำด้วยตัวเอง บุญก็ดี บาปก็ดีย่อมเป็นของคนนั้นเองดังสุภาษิตว่า

คือจั่งเฮามีเข้า บ่เอากินมันบ่อิ่ม

มีลาบคันบ่เอาข้าวคุ้ย ทางท้องก็บ่เต็มฯ

(คือกับเรามีข้าวแต่ไม่เอากินมันก็ไม่อิ่มท้อง เหมือนมีลาบถ้าไม่ตักข้าวเข้าปากท้องก็ไม่เต็ม) การทำบุญให้กระทำด้วยตัวเองเพราะบุญและบาปนั้นจะส่งผลให้ใช้ชีวิตดีหรือชั่วเพราะอำนาจของบุญหรือบาปนี้เอง ดังสุภาษิตว่า

อันว่านานาเชื้อ คนเฮาแฮมโลก หลานเอย

บุญบาปตกแต่งตั้ง มาให้ต่างกัน

ใผผ้ทำการฮ้าย ปาปังทางโทษ

มีแต่สาโหดฮ้าย สิมาไหม้เมื่อล่นฯ

(อันว่านานาเชื้อคนเราอยู่ทั่วโลกหลานเอย บุญบาปเป็นปัจจัยปรุงแต่งมาให้ต่างกัน ใครผู้ทำบาปชั่วร้าย เป็นบาปมีโทษมีแต่ทุกข์จะมาไหม้เมื่อหลัง) สะท้อนให้เห็นว่าบาปหรือบุญเป็นสิ่งที่ติดตามมนุษย์ไปทุกภพทุกชาติ เป็นกรรมติดตัวไปตลอดจนเข้าสู่ความดับทุกข์ได้ และบาปกรรมเป็นผู้กีดกั้นหรือทำให้มนุษย์ประสบกับการพลัดพรากจากกัน หรือได้มาพบกัน ดังสุภาษิตนี้

อันว่ากุญชรช้าง พลายสารเกิดอยู่ป่า

ยังได้มาอยู่บ้าน เมืองกว้างกล่อมขุนฯ

(อันว่าช้างเผือกเกิดอยู่ในป่า ยังได้มาอยู่บ้านเมืองร่วมกับพระยา) หมายถึงบุญบารมีส่งให้สิ่งที่อยู่ไกล้อย่างไรเมื่ออำนาจบุญส่งมาถึงแล้วย่อมพบกันเปรียบเหมือนช้างสารตัวงามที่เกิดในป่าย่อมเป็นเพราะบารมีของพระมหากษัตริย์จึงทำให้ได้พบช้างคู่บ้านคู่เมือง แต่ถ้ากรรมเวรมาถึงแล้วก็ไม่มีสิ่งใดมาบังคับไม่กรรมส่งผลให้ ดังสุภาษิตนี้ว่า

ตั้งแต่พระเวสเจ้า กับนวลนาถนางมัทรี

ยังได้หนีพารา จากนครยาวเยิ้น

ไปอยู่ดงแดนด้าว ไพรสนฑ์แถวเถื่อน

มีแต่ทุกยากเยื้อน บ่เคยพ้อพบเห็นฯ

คันแม่นเป็นจั่งซี้ เฮาสิว่าฉันใด

สิว่ากรรมมาตัด หรือว่าเวรมาต้อง

ใผผู้ทำดีไว้ ความดีกระดึงจ่อง

ใผผู้สร้างบาปไว้ กรรมสิใช้เมื่อลุนฯ

(ตั้งแต่พระเวสสันดรกับพระนางมัทรียังได้หนีจากนครไปอาศัยอยู่ราวป่าแดนเถือน มีความทุกข์ลำบากมาเยื้อนไม่เคยพบเห็น คือว่ากรรมมาตัดรอนหรือว่ากรรมเวรมาส่งผลให้เป็นไปอย่างนั้น ใครผู้ทำความดีไว้ ความดีก็ตามสนอง ใครผู้ทำบาปไว้กรรมนั้นก็ตามสนอง

ตามปกติแล้วการทำทานทุกชนิดย่อมมีอานิสงส์ของทานนั้นเสมอ ถ้าผู้ให้ทานกระทำได้ด้วยใจบริสุทธิ์ ไม่มีเจตนาอื่นแอบแฝงอยู่ การทำทานนั้นพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญถึงอานิสงส์ของการถวายทานว่า

“ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักของชนเป็นอันมาก ชื่อว่าดำเนินตามธรรมของสัปบุรุษ

สัปบุรุษผู้สงบ ผู้สำรวมอินทรีย์ ประกอบพรหมจรรย์ ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ

สัปบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมเป็นที่บรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา เขาได้ทราบชัด

แล้วย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ ปรินิพพานในโลกนี้ (อัง ปัญจก. 22/35/35-36

วรรณกรรมคำสอนอีสานเป็นเสมือนผู้ถ่ายทอดคำสอนของพระพุทธศาสนาให้แก่พุทธศาสนิกชนได้รู้จักบำเพ็ญบุญกุศลด้วยการบริจาคสร้างถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา หรือสร้างศาสนสถานอันเป็นสัญญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา ในกรณีอย่างนี้คำสอนอีสานเน้นหนักในการบริจาคทานตามกำลังศรัทธา ในชนบทนั้นวัดเป็นศูนย์รวมดังนั้นเมื่อวัดมีกิจกรรมอันใดชาวบ้านจึงพร้อมใจสามัคคีพากันไปช่วยกัน ดังคำสอนอีสานว่า


100 เรื่องเดียวกันหน้า ๒๗

124 เรื่องเดียวกัน หน้า ๑๔–๑๗




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons