วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

::วรรณกรรมอีสานประเภททั่วไป:บ่าวริมโขง:bandonradio

วรรณกรรมประเภททั่วไป
       คือวรรณกรรมที่ไม่อาจจะจัดกลุ่มในประเภทหนึ่งประเภทใดได้  เพราะการสร้างสรรค์วรรณกรรมเหล่านี้ขึ้นมาด้วยมีจุดประสงค์เฉพาะด้าน  คือส่วนใหญ่จะใช้ในด้านพิธีกรรม  ดังนั้นวรรณกรรมประเภททั่วไปนี้จึงเป็นลักษณะคำสู่ขวัญต่างของชาวอีสานที่ยึดถือปฏิบัติกันมานานเพื่อสืบสานวัฒนธรรมและประเพณีตลอดถึงคติความเชื่อพื้นเมืองของอีสาน  แสดงถึงความห่วงใยและความหวังดีในโอกาสที่มีผู้มาเยือนถิ่นของตนเอง  หรือมีคนในท้องถิ่นนั้นที่จากกันไปนานๆก็จะมีพิธิบายศรีสู่ขวัญให้  เพื่อเป็นจิตวิทยาในการสร้างกำลังใจให้แก่กันและกัน  ส่วนผู้ที่ทำเรียกว่า  หมอขวัญชึ่งจะเป็นผู้ที่ชาวบ้านเคารพนับถือและสามารถกล่าวคำสู่ขวัญได้ยาวๆและไพเราะให้คติธรรมแก่ผู้สู่ขวัญและญาติสนิทมิตรสหาย  บทสู่ขวัญส่วนมากจะผสมผสานระหว่างพุทธปรัชญากับอีสานปรัชญาเข้าด้วยกัน  โดยลักษณะคำสู่ขวัญก็แบ่งไปตามลักษณะบุคคล  คือสู่ขวัญเด็ก  สู่ขวัญหนุ่มสาวหรือบ่าวสาวและคนเฒ่าคนแก่ที่ไม่สบายเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตัวผู้สู่ขวัญนั้นเอง  ดังนี้คือ
๑)  การสู่ขวัญเด็ก
       เป็นพิธีกรรมที่หมอขวัญสู่ขวัญให้เด็กนั้นเป็นลักษณะการยกเอาบุคคลสำคัญๆในวรรณกรรมอีสานมาเป็นแบบเพื่อให้เด็กทำตามแบบอย่างก็ได้หรือปลูกฝังค่านิยมตลอดถึงความเชื้อในเรื่องเทวนิยมให้แก่เด็ก  เพราะเด็กเปรียบเหมือนผ้าขาวจะย้อมสีอะไรก็ได้ง่าย  ดังนี้คือ
        เจ้าอ่อนน้อยมาแต่แถน        มาแต่แดนเมืองฟ้า
        พระหน่อหล้าจอมไตร        ภวนัยตกแต่งมาแต่แห่งดุสิต
        จุติมาถือดาวฤกษ์        ลูกมาถืกยามราชาจุติมามนุษย์โลก
        นับเป็นโชคของบิดามารดา    เจ้าเป็นเอกในโลกาดั่งสีดาพระราม
        มีฤทธิ์ดังพระอุปราชฤทธีอาจ    ดั่งนารายณ์ไปทางใด๋คนอ่อนน้อม
        ให้มีพร้อมดั่งพระอิศวร        บรบวรคับคั่งให้ได้นั่งวิมานทอง
        มีแนวฮองเป็นแท่น        มีปัญญาแหล่นดั่งศรีธนญชัย
        ปัญญาไวดั่งเสียวสวาสดิ์        ให้ฉลาดดั่งพระเวสสันดรฯ
    ๑)  การสร้างค่านิยมในเรื่องความมีอำนาจแก่บุตรหลานดั่งนี้
        ให้เจ้านั่งเป็นพระยา        ให้เจ้าเป็นราชาครองราช
        ให้เจ้าได้ปราสาทสามหลัง    อยู่ในวังเจ็ดชั้นมีผู้ปั้นแต่งนำมา
        คนไหลมาโฮมห่อเป็นต้นหน่อ    พระบรมมีคนชมพอหมื่น
        ให้หลื่นคนทั้งหลาย        ทั้งหญิงชายนบนอบ130
    ๒)  ค่านิยมในด้านผู้สืบศาสนาว่า
        ใหญ่พอบวชพ่อสิให้บวช        ให้ท่องสวดคำภีร์
        เฮียนบาลีค่ำเช้า            ครองพระเจ้าศีลทาน131
๒)  การสู่ขวัญบ่าวสาว
       การสู่ขวัญบ่าวสาวในพิธีแต่งงานนับว่ากวีผู้ประพันธ์เป็นผู้ฉลาดนำเอาหลักฮีตผัวคองเมียเข้ามาใส่ไว้ด้วยตลอดถึงผญาภาษิตในการสอนอย่างเหมาะแก่กาลเวลาเพราะบ่าวสาวสามารถจดจำนำเอาไปใช้ได้เลย  เป็นการวางหลักการเป็นสามีภรรยากันด้วยหลักศีลธรรม  เพราะความรักจะหยั่งยืนไปได้ทั้งสองฝ่ายย่อมปรับทัศนะคติของตนเองให้เข้ากันได้ด้วยหลักฮีตผัวคองเมีย   เป็นการสั่งสอนของหมอขวัญที่กล่าวให้สติแก่คู่บ่าวสาวในการครองเรือนนั้นมีอย่างไร  ควรปฏิบัติต่อญาติทั้งสองฝ่ายอย่างไร  และการที่ได้เป็นสามีภรรยากันนั้นก็ด้วยบุพเพสันนิวาส  ดังนี้คือ
    ๑)  กล่าวถึงหลักบุพเพสันนิวาสว่า
        เป็นบุญเก่าเฮาทั้งสอง        จั่งมาครองเป็นคู่
        ได้มาอยู่โฮมกัน            อยู่หลายวันตกแต่ง
        พระบรมเพิ่นตกแต่ง        เกิดคนแห่งมาเห็นกัน
        สายสัมพันธ์บุพเพสันนิวาส    ลงมาจากเครือเขากาด132
    ๒)  กล่าวสอนให้รู้จักฮีตผัวคองเมีย
        ผัวเมียกันฮักห่อ            คือผัวก่อเมียพาย
        ไปทางใด๋ให้เจ้าบอก        ให้เจ้าออกทางประตู
        อย่าซูลูเขยสะใภ้ให้เจ้าได้บุตตา    คนตามมาบุตตีดอก
        คำสอนบอกจงจดจำ        เอาพระธรรมมาซู่ส่วย
        ให้เจ้าเว้าค่อยๆอย่าเว้าแฮง    สองจอมแพงให้ฮักเลิศ 133
    สอนหน้าที่ของสามีที่ดี
        ทุกคนในครอบครัว        หวังเผิ่งผัวผู้ออกหน้า
        เจ้าอย่าได้ตามหลังเมีย        เฮ็ดเอียเคียเอียเคียคือผู้แม่
        ชายบ่แท้ครอบครัวจน        ให้เจ้าเป็นชายแท้ให้ผาบแพ้ทุกประการ
        ใจห้าวหาญคือจอมปราชญ์    สร้างเคหาสน์ให้ฮุ่งเฮือง
        สิบหัวเมืองมาช่วยค้ำ        ทุกค่ำเช้าให้เจ้าอยู่สวัสดิ์
        เป็นเศรษฐีบ่ไฮ่            ให้เจ้าได้ดังคำปรารถนา
    สอนหน้าที่ของภรรยาที่ดี
        อย่าประมาทชายที่เป็นผัว        ให้เกรงกลัวคือพ่อคือแม่
        อย่าข้องแหว่ชายอื่นบ่ดี        หน้าที่มีให้เจ้าตกให้แต่ง
        ให้เจ้าแต่งภาชน์แลงภาชน์งาย    อย่าเบิ่งดายนิสัยขี้คร้าน
        ให้ชาวบ้านติฉินนินทา        สมบัติมาหนีไปเหมิดจ้อย134
    ๓)  สอนให้รู้จักคองลูกเขย
         ผู้เป็นผัวอย่าแข็งคำเว้า        เห็นพ่อเฒ่าแม่เฒ่าให้ยำเกรง
        ผู้เป็นเขยอย่าเสงเสียง        ปากอย่าไปคากคำจา
        ผู้เป็นผัวให้ฮักเมียจนแก่        ให้คือแม่ของโต
        อย่าพาโลเลาะบ้าน        อย่าขี้คร้านนอนเว็น
        อย่าไปเห็นสาวแก่        อย่าไปแก่กว่าวงศ์
        อย่าไปโกงใส่โคตร        อย่าเว้าโพดคันเห็น
        เฮ็ดบ่เป็นให้ถามไถ่        อย่าไปใหญ่กว่าลุง
        อย่าไปสูงกว่าป้า            อย่าไปด่าวงศ์วาน
        อย่าไปพาลพี่น้อง        อย่าไปฟ้องซุ่มแซง
    ๔)  สอนให้รู้จักฮีตสะใภ้
        ผู้เป็นเมียอย่าแข็งปากเว้า        ตื่นแต่เช้าก่อนผัวโต
        อย่าเสียงโวสุยเสียด        อย่าไปเคียดไววา
        คันไปไฮ่กะฮีบมา        คันไปนากะฮีบต่าว
        เห็นผู้บ่าวอย่าแซนแลน        ยินเสียงแคนอย่าไปฟ้อน
        อย่าไปย้อยใส่เสียงกลอง        อย่าจองหองใส่ปู่ย่า
        อย่าไปด่าอาวอา            คันไปมาให้คมเขี่ยม
        อย่าให้เสื่อมซุมแซง        อย่าไปแฮงฟืดฟาด
        อย่าประมาทปู่ย่าโต        อย่าไปโส่ความเก่า
        อย่าไปเล่าความเดิม        อย่าไปเสริมผู้อื่น
        อย่าไปตื่นเสียงคน        อย่าไปวนของเผิ่น
        คันเผิ่นเอิ้นจั่งขาน        คันเผิ่นวานจั่งส่อย
        ให้ไปค่อยมาค่อย        เห็นโคตรเห็นวงศ์
        อย่าไปโกงเถียงพ่อเถียงแม่    เห็นคนแก่ปากเว้าจาไข
        อย่าจัญไรป้อยผีป้อยห่า        อย่าไปด่าพี่น้องทั้งผัว
        อย่าเมามัวสุราเบี้ยโบก        ยามขึ้นโคกหาฟื้นหาตอง
        อย่าเสียงหองร้องเพลงแอ๋นแอ่น    อย่าได้แล่นป๋าหมู่ป๋าฝูง
        คันเห็นลุงให้ว่ากะบาด        อย่าได้ขาดความเว้าขานไข
        ไปทางใด๋อย่าได้ช้า        คันเห็นป้าให้ว่าคือลุง
        อย่าหัวสูงไปหมอบมาหมอบ    อย่าซู่ลูเอาของบ่บอก
        อย่ากลับกลอกปู่ย่าวงศา        ยามไปมาให้วนเวียนแว่
        ฮักคือพ่อคือแม่ปู่ย่าของโต    อย่าพาโลต๋อแหลหลอนหลอก
        อย่าไปบอกใช้สิ่งเอาของ        ผิดูธรรมนองครองของลูกใภ้
        กว่าสิใดลูกเผิ่นมาแยง        อย่าเว้าแข็งคำหวานโอนอ่อน
        ว่ามาเยอขวัญเอย 135

bandonradio




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons