วันพุธที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คำผญาที่สะท้องเรื่องความเชื่อในชาติหน้า ::bandonradio

         ๓.๑.๔  ความเชื่อในเรื่องชาติหน้า หรือการเวียนว่ายตายเกิด ชาวอีสานยึดถือมานาน เชื่อว่ามีผลทางการประพฤติปฏิบัติของคนในปัจจุบันและอนาคต  เช่น
“ สงสารนี้คือกันทั้งโลก เกิดชาติใด๋
ขอให้คืนพบพ้อนาม่องเก่าเดิม
ขอให้หงส์หินพร้อมตาดำคิ้วคาด
ขอให้ใด๋เกิดฮ่วมชาติพระเจ้าเมตไตรโย
โพธิสัตว์เจ้าลงมาผายโผด แน้ท้อน
บาปแต่น้อยของข้าให้เล่าหายฯ
      

         ๓.๑.๕  ความเชื่อในเรื่องการอยู่ในศีลกินในธรรม  โดยเฉพาะนักบวชและเชื่อในการสร้างโบสถ์วิหารและวัดตลอดทั้งสาธารณะสมบัติต่างๆ เช่น
    ใผผู้ใด๋บวชอยู่ได้         ตั้งเที่ยงในสิกขา เมื่อใด
    ลูกศิษย์ยังเกรงกลัว    ดั่งองค์พุทโธเจ้า
    ใผผู้จำศีลสร้าง    ภาวนาบ่ประมาท ก็ดี
    บุญหากชูซ่อยค้ำ    คนย้องทั่วแผ่นดินแท้แล้ว
    ใผผู้จำศีลสร้าง    กินทานตักบาตร ก็ดี
    เพลจังหันบ่ขาดเว้น    ประสงค์ตั้งต่อบุญ ดั่งนั้น
    คนก็โมทนาย้อง    เทวาก็ชมชื่น
    บ่ห่อนตกต่ำต้อย    เป็นข้อยคอบให้ทาน เจ้าเอย
    เถิงแม่นพากันสร้าง    กระทำบุญกันเป็นการใหญ่
    คือว่าสร้างพระธาตุ    ฝูงหมู่เจดีย์
    สร้างวิหาร        โบสถ์วาอาฮามกว้าง
    สร้างที่สงฆ์เจ้า    ประชุมพร้อมสวดมนต์
    สร้างที่คนประชุมพร้อม    ศาลาพระเจ้าใหญ่
    สร้างสระสร้างบ่อน้ำ    ศาลาพร้อมที่สำราญ
    สร้างถนนหนทางพร้อม    ศาลาให้เจ้าไต่
    หรือว่าปลูกต้นไม้ใหญ่    น้อยใหญ่ไว้ฮิมทาง ก็ดี
    หวังให้คนไปมา    ได้เพิ่งเงากันฮ้อน
    ใผผู้ทำบุญสร้าง    ตามทางที่เฮากล่าวมานี้
    บุญยิ่งยู้        ชูค้ำให้ฮ่างมี เจ้าเอยฯ

      ๓.๑.๖    ความเชื่อในเรื่องของศาสนาเริ่มเสื่อมในราวพุทธศักราชสามพันปี จะเกิดภัยพิบัติต่าง ๆนา นา เช่น
    คำที่อาจารย์เจ้า    โบราณเพิ่นชี้บอก มานั้น
    คือว่าสังกาสล้ำ    เข้าเขตสามพันปีเมื่อใด
    จักเกิดมีภัย        พยาธิเดิมมาต้อง
    แม่นว่าครองสมณ์สร้าง    ในธรรมพระพุทธบาท ก็ดี
    ก็บ่ตั้งเที่ยงหมั้น    ในแห่งสิกขาบท
    ศิษย์บ่ฟังคำครู    ซิเสื่อมทรามเพม้าง
    แม่นว่าองค์กษัตริย์ไท้    ทะรงเมืองตุ้มไพร่ ก็ดี
    ก็บ่ตั้งเทียงหมั้น    ในฮีตคลองธรรม
    คนบ่ยำแยงย้าน    ครูบาพ่อแม่
    จักเกิดเป็นเหตุฮ้าย    ขี่ยุคโพยภัย๑
     

     ๓.๑.๗  ความเชื่อในด้านหลักธรรม
    กาลสิมาภายหน้าอนิจจามันบ่เทียง     ต่างคนต่างสิหัวหงอกหวั้วคือด้าวนกยาง
    แขนขานับมื้อฮ้ายหูตานับมือบอด     ของสิ่งนี้มีแท้ขู่คนแท้แล้ว ฯ
    “ ตัณหาฮักลูกนี้คือดั่งเชือกผูกคอ
    ตัณหาฮักเมียนี้คือดั่งปอผูกศอก
    ตัณหาฮักสมบัติข้าวของนี้คือดั่งปอกสุบตีน
    ตัณหาสามอันนี้มาขีนให้เป็นเซือก
    ให้เกลิ้งเกลือกในวัฏฏะสงสารฯ ๒

        อย่าสิพากันไห้ฮ่ำเพิงหาคนเขาตกป่า
        ไห้ต่อยายย่าเฒ่ายังสิได้เผิ่งบุญ
        อย่าได้พากันให้นำผีผู้ตายจาก
        ไห้ต่อหม้อกระเบื้องยังสิได้อุ่นแกงฯ(๓๓)
    ชาติที่ความตายนี่เปิงเป็นกันทั้งโลก
    มันหากเป็นแบบตั้งประจำแท้เที่ยงจริง
    ทังหากเป็นเบิงเฒ่ามาตั้งแต่บูฮาน
    คันหากไผเถิงคราวสิแหล่นหนีบ่มีพ้นฯ๓๔
        กายสังขารแต่งตั้งทุกอย่างปัจจัยปรุง
        ตับหรือพุงสู่อันในเนื้อ
        หูตาแข่วแนวใดปัจจัยแต่ง
        บ่อแจงแรงอยู่ได้ถึงฟ้าชั่วกัลป์
        ฟันเคยกัดกินได้เสียไปหลมหล่อน
        เกิดโยกคลอนปวดจ้าวปานฆ้อนต่อยตี
        ทั้งแขนขานหมู่นี้ปวดแล่นถึงกัน
        จักขุหันมัวลงมือบ่อมีวันแจ้งฯ(ผญาย่อย)/๑๒/
    ทุกข์แต่ในโลกนี้ล้นหมื่นเหลือวิสัย
    ทุกข์แต่ในโลกีย์บ่อเปรียบปุนปานอ้าย
    ทุกข์เพราะสังขารย้ายแปรจากอนัตตา
    ทุกข์เพราะโรคาขับปวดอุทรหนาวฮ้อน
    ทุกข์เพราะนอนเฝ้าติดอยู่เรือนจำ
    ธัมมะโรงเขาตีค่าสกุลทั้งป้อย
    ทุกข์ยามเป็นเด็กน้อยกำเนิดซักซางแดง
    ทุกข์นำทั้งสวนแตงสวนหม่อนสวนปาน
    ทุกข์เพราะไปทำนาตากฝนตากแดด
    ทุกข์เพราะโรคติดแปดขี้จาดขี้จาย(น้อยผิวผัน)
    นี้จั่งแม่นทุกข์หลายเกิดมาในโลกฯ๑๘

               ๓.๑.๘  ความเชื่อในด้าน  บุญ, ศีล ,ภาวนา,
     คำว่าบุญๆนี้องค์มุนีสอนกล่าวให้แก่ชาว 
พี่น้องตรองฮู้ได้แต่งตามหวังอยากให้เฮานี้
ข้ามถึงฝั่งพระนิพพาน มีให้ทานฮักษาศีลฮีนตรองครองแก้ว
ให้มีแวววงไว้กระทำไปให้ถูกช่อง เดินตามคลองพระเจ้าองค์เหง่าหน่อพุทโธ
ไสไปทางธรรมพุ้นให้ทำบุญตกแต่ง
แปลงวิมานชั้นฟ้าคราวหน้าบาดฮ่าตาย
เพราะว่าบุญบาปฮ้ายไผบ่อส่องเห็นโต
เพราะโมโหอวิชชามาปิดมิดบ่เห็นแจ้ง   
เพิ่นแสดงสอนไว้เป็นแต่อุปไมยบ่ทันแจ้งให้เห็นฮ่อม
บ่ทันมีบอ่นฮอมพอสิเห็นแจบแจ้งบุญนั้นอยุ่ไส
แม่นอันใดเป็นเหง่ากกมันให้บังเกิด       
ความข้อนี้เพิ่นยังชี้บอกไว้ได้แก่กุศลมูล
    ให้เพิ่มพูนทำทานหว่านผลทำไว้       
และทำใจเฮาให้บริสุทธิ์จากกิเลส
    เหตุถึงสุขบ่อนนั้นแม่นบุญท่านเอ๋ย
   

            ๑.๕.๒)  สอนเรื่องบาป-บุญ นรก-สวรรค์  นับว่าเป็นความเชื่อที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวอีสานมากที่สุด  และดูเหมือนว่าจะเป็นจุดเด่นของวรรณกรรมเรื่องนี้  ซึ่งจะชี้ให้เห็นว่าใครทำกรรมอย่างไรก็จะได้รับผลกรรมอย่างนั้น เช่น
        บ่มีใผหนีได้        เวรังหากเทียมอยู่
        เวรมาฮอดแล้ว    ซิไปเว้นที่ใด
        บ่มีใผเถียงได้        เวรังหากเป็นใหญ่
        เวรตายวายเกิดขึ้น    หนีเว้นหลีกบ่เป็น
        มันก็    ตายไปตกอเวจี อยู่นานในหม้อ
            นาฮกไหม้    ทั้งคิงจมอยู่
            ทนทุกข์ฮ้อน    แถมซ้ำเวทนา
        เจ้าก็    ฮักษาศีลไว้    ผองซีวังเท้าชั่ว
        คันว่า    บรมิ่งเมี้ยน    เมือฟ้าสู่สวรรค์

      ๑.๖  สอนให้เคารพพระรัตนตรัย  คือพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์ ดังคำกลอนดังนี้คือ
        อันหนึ่งคำผู้เฒ่า    เว้าแต่โบราณ
        เชือกสามวาล่ามช้าง    อ้างโอดว่าโตดี
        ท่านหาอุปมาแก้ว    สามประการคือเชือก
        ช้างเปรียบได้        โดยด้ามดั่งชี
        คือว่าสมณาสเจ้า    ฮักษาฮีตครองสงฆ์
        ทรงสิกขา        หมั่นเพียรระวังล้อม
        บ่ได้สำหาวกล้า    วาจาอวดอ่ง
        คันว่าหลงเม่ามั่ว    เสียเป้เมื่อลุน
        ปุนดั่งสัตว์สิ่งเชื้อ    ชื่อว่าจินาย
        จาความหาญ        ซิรบเล็วชนช้าง
        บาดห่ากุญชโรได้    ยอยังตีนเหยียม
        มันก็มรณ์มิ่งเมี้ยน    มีได้ยียยาม72

              

๑.๙)  สั่งสอนให้มองเห็นโทษภัยของการพนัน
                ใผผู้มัวเมาเล่น    เบี้ยโบกเบอร์หวย
        ฮุกสะกากับ        คว่างคีตีฆ้อน
        สุราเหล้า        ญิงเกกางกาด
        หมกมอกมั้ว        เฮือนย้าวบ่ลำเพอ
        แม้นจักมีคู่ซ้อน    ผัวมิ่งเมียแพง
        บุตราตน        ฮักหอมทอมเลี้ยง
        ก็เล่าไลวางเว้น    ปะไปดายเปล่า
        ลางผู้เททอดให้    ขายได้ลูกเมีย
        แม้นว่าเป็นเจ้าช้าง    ม้ามิ่งวัวควาย
        เงินคำของ        โกฏิกือแสนตื้อ
        ครันว่าการพนันเข้า    สิงใจจงจอด
        ลอนท่อมุดมอดเมี้ยน    จิบหายแท้เที่ยงจริงฯ

2 ) การบริจาคทาน
๑๓.๔)  พระยาสันทะราชสอนให้รู้จักการให้ทาน
    ไผมีเงินคำแก้วหวงแหนบ่ทานทอด    บ่ให้ขาดแต่ละมื้อประสงค์ได้ทอดทาน
    จักทุกข์จนในสงสารชาติซิมาหากหวังได้     เมื่อมรณังตายไปเกิดในวิมานแก้ว
    ไผผู้มีของล้นเงินคำอนันเนกเจ้าเอย    บ่ให้ทานพี่น้องคนนั้นบ่ห่อนดีแท้ดาย
    อันว่าไผ้ผู้มีของล้นทานไปหลายสิ่งเจ้าเอย    บาดว่าชาติหน้าพุ้นยังซิกว้างกว่าหลัง
    ตายไปเกิดชั้นฟ้าทงแท่นวิมานคำพุ้นเอย    ยูท่างนั่งเสวยความสุขอยู่เย็นหายฮ้อน
    ไผผู้ทานไปแล้วบ่มีเสียจักสิ่งเจ้าเอย    ชาตินี้บ่ได้อึดอยากไฮ้ไปหน้าก็ดั่งเดียว
    ของเฮาทานไปแล้วบ่สูญเสียดายป่าว    เจ้าอย่าได้ขี้คร้านในทานทอดกองบุญ
    คันว่าตายไปภายลุนจักบ่กินแหนงโอ้    คำสอนพุทโธเจ้าหากเป็นจิงตั้งเที่ยง
    ไผทำเพียรก่อสร้างบุญนั้นบ่ห่อนเสียเจ้าเอย 124

                     3)  มีศีล
๕.๓)  สอนให้ตั้งอยู่ในศีลธรรม
        ตั้งเที่ยงไว้มีศีลสี่ตัว        บ่ฆ่าสัตว์มากินกับเข้า
        ของมีเจ้าบ่ได้ข่มเหง        เมียของเขาบ่ได้จับต้อง
        บ่เกี่ยวข้องคำล่ายตั๋วพราง    ศีลสี่ตัวอันนี้เป็นเค้า
    ปู่สิเว้าชักออกในธรรม        ให้ลูกหลานจื่อไว้ในอก99

                    6)  มีบุญ

๑๓.๒)  สอนให้แผ่เมตตาไปในสัตว์โดยไม่มีประมาณ  ดังนี้คือ
    ให้หยาดน้ำไปฮอดสัพพะสัตว์แท้เนอ    ให้มันถองเถิงห้องอบายภูมิทั้งสี่
    ฝูงสัตว์ตกอยู่ในอเวจีให้เกิดในเมืองฟ้า    ให้หยาดน้ำไปเถิงเซื้อวงสาพ่อแม่แท้เนอ
    เทวดาอยู่เทิงชั้นฟ้าอินทร์พรหมพร้อมซู่องค์  สัตว์ฝูงมีกระดูกแลไม่มีกระดูกพร้อม
    กับทั้งเจ้าแม่นางธรณีฝูงหมู่ดินทรายไม้    ฝนลมฟ้ากลางหาวอากาศก็ดี
    เมฆขลานางแก้วอสูรครุฑนาคก็ดีถ้อน    อีกทั้งเผดยักษ์ฮ้ายฝูงหมู่ผีสางก็ดี
    หิมพานต์สัพพะสัตว์หยาดน้ำไปเถิงถ้วน    จิ่งอธิษฐานไปให้ยมภิบาลกุณฑ์ใหญ่
    แผ่ไปฮอดสัตว์อยู่ใต้ในหม้อแผ่นแดงนั้น    ทั้งสิบหกชั้นฟ้าเทวดาได้ซูซ่อย
    แผ่ไปเถิงศัตรูเสี่ยวแก้วประสงค์ได้ฮ่วมบุญ    ศีลทานสร้างกองบุญผายแผ่ แท้เนอ
    เทียมดั่งแม่น้ำใหญ่กว้างบ่เขินขาดวังหั้นแล้ว  ไผได้ทำบุญสร้างศีลทานทุกเช้าค่ำ
    ยำแยงทานน้อมไหว้ตนเจ้าซิฮุ่งเฮืองแท้แล้ว  ทานนั้นเฮาก็เคียงสอนให้ราชาฟังสน่อย
๑๒.๖)  สอนให้ตั้งอยู่ในพรหมวิหารธรรมดังคำสอนนี้คือ
    อุเบกขาให้ไมตรีติดต่อ    กรุณาจงอย่าได้หวังฮ้ายต่อไผ
    เมตตานั่นมีความแพงทุกสิ่ง    อันว่าสัตว์อยู่ใต้หลุ่มฟ้ากะแพงไว้ดังกัน
    อย่าได้ทำลายม้างปาปังมันบาป    นีรพานตั้งต่อไว้เด้อท่านอย่าสิไลฯ
    ให้เอาเมตตาตั้งกรุณามุทิตาสืบต่อ    อุเบกขาต่อท้ายจ้ำอย่าสิไล
    พรหมวิหารของค่ำจอมธรรมเผิ่นสอนสั่ง    ทศพิธราชธรรมขอให้จำจื่อไว้

bandonradio




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons