วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

::กาพย์หลานสอนปู่::bandonradio

๗.  กาพย์หลานสอนปู่
       วรรณกรรมเรื่องหลานสอนปู่ที่มากล่าวแก้กันกับกาพย์ปู่สอนหลาน  ให้ผู้เป็นผู้เฒ่าทั้งหลายให้รู้จักจารีตประเพณี
    ๑)  หลานสอนปู่ให้รู้จักฮีตเฒ่า
        ฮีตผู้เฒ่ามีแท้บ่หลาย        อธิบายหลานจำจื่อได้
        ให้ผู้เฒ่าชวนลูกหลาน        ชวนกินทานทำบุญอย่าค้าน
        ชวนลูกบ้านใส่บาตรสู่วัน        ชวนลูกหลานฟังธรรมอย่าขาด
    ๒)  หลานปู่ให้รู้จักวัตรของคนเฒ่า
        ผู้เถ้ากล่าวคำหาญก็บ่นับ            ปูมหลวงบอกยาป้างก็บ่นับ
        แม่ฮ้างบอกยาเสน่ห์ก็บ่นับ        คนโลเลสั่งสอนความฮู้ก็บ่นับ
        คนลบหลู้ชี้บอกทางคุณก็บ่นับ        คนเป็นขุนชี้บอกทางค้าก็บ่นับ
        คนเป็นข้าชี้ช่องหาเงินก็บ่นับ        คนมั่งมีกินทานบ่ได้ก็บ่นับ
        คนขี้ไฮ้อวดอ้างมั่งมีก็บ่นับ        คนเป็นชีหาเงินฮับจ้างก็บ่นับ
        คนมักอ้างย้องแต่โตดีก็บ่นับ        เป็นอาจารย์หากินแต่เหล้าก็บ่นับ
        เป็นผู้เฒ่าความฮู้บ่ถามนี้ก็บ่นับ        เป็นสมภารลูกวัดบ่ย้านนี้ก็บ่นับ
        เป็นพ่อบ้านปากบ่เป็นธรรมนี้ก็บ่นับ     ความฮู้มากการบาปบ่ยำก็บ่นับ
        คนเฮียนธรรมอวดแต่ความเว้าก็บ่นับ    คนผู้เฒ่าขาดเมตตาจิตก็บ่นับ
        เป็นนักเลงพาเมียทุกข์ไฮ้ก็บ่นับ        คนมักได้ขี้คร้านทำงานก็บ่นับ
        คนเป็นกวนข่มเหงชาวบ้านก็บ่นับ        คนขี้คร้านหาฮีตคลองธรรมก็บ่นับ
        คนบ่ยำพระสงฆเจ้าก็บ่นับ        คนโทโสอวดตนเก่งกล้าก็บ่นับ
        คนขี้ตั๋วหาศีลบ่ได้ก็บ่นับ            เถ้าแก่แล้วหลงโลภเมียสาวก็บ่นับ
        เถ้าหัวขาวมักเฝือนหาชู้ก็บ่นับ        เถ้าซู้หลู้นอนส้วมนำเมียก็บ่นับ
        เฒ่าซำเซียนำสาวส่ำน้อยก็บ่นับ        เถ้ามักป้อยเอิ้นห่าเอิ้นหูงก็บ่นับ
        เถ้าหัวสูงศีลทานบ่สร้างก็บ่นับ        เถ้าอัปรีย์ฆ่าสัตว์กินเหล้าก็บ่นับฯ
        ฮีตผู้เถ้ามีแท้บ่หลาย            อธิบายหลานจำจื่อได้
        ให้ผู้เถ้าชวนลูกหลาน            ชวนกินทานทำบุญอย่าคร้าน
        ชวนลูกบ้านใส่บาตรซู่วัน            ชวนลูกหลานฟังธรรมอย่าขาด103
    ๓)  หลานสอนปู่ให้ตั้งอยู่ในศีลธรรม
        ปู่ฮากฮู้ตั้งแต่สอนหลาน            ทำปาณาฆ่าสัตว์เลี้ยงลูก
        เป็นบาปฮ้ายฝูงนี้บ่ควร            อทินนาลักเอาของท่าน
        ให้ปู่ย้านภายหน้าส้วยแหลม        กาเมแถมเมียเขาให้เว้น
        ใผลอบเหล้นลงสู่อบาย            โทษมุสาตั๋วพลางยัวะเย้า
        ใผช่างเว้าเป็นบาปเป็นกรรม        ใผช่างทำปากเหม็นปากกืก
        โทษสุรามัวเมาคอบเหล้า            เป็นผู้เถ้าควรเว้นซู่คน
        จักให้ผลเกิดไปภายหน้า            เป็นผีบ้าใจตื้นโง่เขลา104

            ๘.  กาพย์ย่าสอนหลาน
       การอบรมแนะนำสั่งลูกหลานในอดีตและปัจจุบัน  คุณย่าได้รับเกียรติให้เป็นคนปลูกฝังจริยธรรมให้แก่หลานๆทั้งหลาย  เพราะย่านั้นเป็นที่เคารพของลูกหลานและงานที่ถนัดของย่าคืองานอบรมสั่งสอนลูกหลาน  ดังนั้น  ลูกหลานสมัยโบราณจึงเป็นคนสุภาพ  เรียบร้อยมีศีลธรรมเป็นคนขยันหมั่นเพียรสอนลูกหลานให้รู้จักสรรพสิ่งทั้งปวงในโลก  ดังตัวอย่างต่อไปนี้คือ
    ๑)  สอนให้ศึกษาเล่าเรียน
        ให้ฮีบพากันเข้าโรงเรียน            เขียนอ่าน  หลานเอย
        อย่าได้คึดขี้คร้าน                ความฮู้ให้หมั่นหา
        ให้ฮีบพากันศึกษาฮู้วิชาการกิจชอบ    ฮีบประกอบไว้ไปหน้าสิฮุ่งเฮือง
        ยามเมื่อเจ้าหนุ่มน้อยให้ฮีบฮ่ำเฮียนคุณ    ยามเมื่อบุญเฮามีสิใหญ่สูงเพียงฟ้า
        ไปภายหน้าสิหาเงินได้ง่าย        ใผผู้ความฮู้ตื้นเงินล้านบ่แก่นถง
        ใผผู้มีความฮู้เฮียนเห็นมาก        บ่ห่อนทุกข์ยากเยิ้นภายท้ายเมื่อลุ่น105
        สิได้เป็นขุนขึ้นครองเมืองตุ้มไพร        สิได้เป็นใหญ่ชั้นแนวเชื้อชาตินาย แท้ดาย
    ๒)  สอนให้รู้จักทำบุญรักษาศีล
        บัดนี้ย่าสิพาพวกเจ้าตกแต่งกองบุญ    มื้อนี้เป็นวันศีลเวียกเฮาเซาไว้
        ย่าสิไปไหว้ยาครูสังฆราชเจ้า        ไปตักบาตรแลหยาดน้ำฟังเจ้าเทศนา
        ไปฮักษาศีลสร้างภาวนานำเพิ่น        ให้พวกเจ้าพี่น้องจำไว้ย่าสิสอน
        เพิ่นว่าวันศีลนั้นให้ทำบุญตักบาตร    คันผู้ใดอยากขึ้นเมืองฟ้าให้หมั่นทาน
        ให้หมั่นทำขัวข้วมยมนาให้ม้มฝั่ง        หวังนิพพานไจ้ไจ้ปานนั้นจิ่งเผื่อพอ106
        อันนี้เป็นบุญแท้ของเฮาให้ตั้งต่อหลายเอย    คันว่าบุญบ่ให้เขาสิใช้แต่เฮา
        บุญมีได้เป็นนายใช้เพิ่น            คอยแต่บุญมาค้ำบ่ทำการมันบ่แม่น
        คอยแต่บุญส่งให้มันสิได้ฮ่อมใด        คือจั่งเฮามีข้าวบ่เอากินมันบ่อิ่ม
        มีลาบคันบ่เอาข้าวคุ้ยทางท้องก็บ่เต็ม107
    ๓) สอนให้รู้จักพึ่งพาอาศัยกัน
        อันว่าแนวคนนี้ฉันเดียวบ่มีต่างหลานเอย    ข้อยเพิ่งเจ้า  เจ้าเพิ่งข้อยเลิงเรื้อยสืบมา
        บัวอาศัยเพิ่งน้ำปลาเพิ่งวังตม        ไพร่กับนายเพิ่งกันโดยด้าม
        เสือสางช้างกวางฟานอาศัยป่า        ป่าอาศัยสัตว์สิ่งฮ้ายจึงหนาแหน้นมืดมุ่ง
        เฮาอาศัยพวกพ้องน้องนุ่งสหายเกลอ    เขาก็อาศัยเฮาจึงเป็นเมืองบ้าน
        ซู่คนซู่ได้อาศัยกันทุกหมู่            บ่มีใผอยู่ยั้งทอนท้อผู้เดียว หลานเอย108
    ๔)  สอนให้รู้จักการใช้วาจาให้เหมาะสม
        คันสิปากกล่าวต้านให้ตามฮีตครองขุน    ให้มันจริงมันจังจั่งนำมาเว้า
        ให้มันเห็นกกเหง้าเห็นแกนฮากแก่น    ให้มันแม่นจิ่งต้านประมาณแล้วจิ่งจา
        คันแม่นเว้าถืกข้อเขาสิน่ำกอลอนำ        เขาสิแถมสมภารผ่านครองเมืองบ้าน
        เขาสิเอาหลานขึ้นคานหามแอะแอ่น    คันแม่นเว้าแม่นแล้วสิดังขึ้นดั่งบั้งไฟ109

bandonradio




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons