วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เฮือน 3 น้ำ 4

 15

เฮือน 3 น้ำ 4 เป็นคำสอนของคนโบราณอีสานได้อบรมสั่งสอนให้ลูกหลานได้ประพฤติปฏิบัติ เพื่อความเป็นอยู่ที่สะอาด สุขภาพอนามัยที่ดี ผู้ใดนำไปประพฤติปฏิบัติครอบครัวก็จะอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งปราชญ์โบราณท่านได้สอนเป็นคำกลอนดังนี้

เฮือน 1 นั้นได้แก่ เฮือนครัว ของในครัวให้เรียบร้อยบายเมี้ยนแจบจม อย่าประสมประเสบ่วงจองไหหม้อ ให้มีทอเก็บถ้วยสวยดีมีตู้ใส่ อย่าสุเก็บไขว่ไว้ดูได้บ่งาม ชามหรือหม้อเกลือไหปลาแดก หม้อแตกและบ่วงซ้อนบายได้ให้หม่อมือ อย่าให้ดำปื้อๆ ถ้วยบ่วงเป็นกะหลืน เวลากลืนอาหารโรคสิไหลลงท้อง ของแนวใช้ในครัวให้เกลี้ยงหมื่น อย่าให้ปลาแดกจื้นแมงวันสิแตกวื้นมาขี้ใส่ครัว อย่าให้หมาไก่กั้วเข้าอยู่เฮือนไฟ ถืกห่าหมาจังไฮสิคาบไหเลียซ้อน อย่าให้หนอนไปคั้วแมงวันเข้าคั่ว รักษาครัวให้เรียบร้อยดูละห้อยสู่ทาง อย่าให้มีกระดูกก้างค้างอยู่ในครัว คนสิหัวขวนนางว่าบ่เคยบายเมี้ยน เฮาต้องเพียรปัดแพ้วเฮือนครัวอย่าให้เก่า เป็นดั่งคำเพิ่นเว้า เบิ่งวัดให้เบิ่งฐานเบิ่งบ้านให้เบิ่งครัว หากว่าครัวสะอาดแล้ว ไผก็ย่องว่าดี

T060910_03P_rเฮือน 2 นั้นได้แก่ เฮือนนอน ทั้งแพรหมอนเสื่อเตียงเพียงพื้น อย่าให้เฮือนเอาจื้นหมองมัวลั้วขี้ฝุ่น เฮาต้องปุนกวาดแผ้วทั้งพื้นนอกใน ให้เจ้าปัดหาดไว้เกลี้ยงหมื่นงามตา ทั้งแจฝานอกในใสเกลี้ยง เตียงหมอนมุ้งสนานอนฟูกเสื่อ เสื้อและผ้าบายเมี้ยนคล่องมือ ให้เจ้าเฮ็ดคู่มื้อปัดกวาดเฮือนนอน ตอนกลางคืนให้แต่งแปลงหมอนมุ้ง อย่าให้ผัวเฮายุ่งยามแลงแต่งบ่อน นอนตื่นแล้วบายเมี้ยนเช็ดถู โต๊ะตั่งตู้อย่าให้ไขว่เกะกะ อย่าให้ของเฮาซะทั่วเฮือนเบียนด้ง ให้เจ้าจงใจเมี้ยนเฮือนนอนให้สง่า สะอาดหูสะอาดตาหาอันใดกะได้ เวลาหายกะฮู้เวลาดูกะโก้เป็นน่านั่งนอน จ่อและแค่งม้อนอย่าให้กีดขวางเฮือน บุง เบียน เขิง ตาทอ บอเมี้ยน อย่าสิได้เอาสิ่นไปวางเทิงหัวบ่อน ผัวสินอนบ่ได้สิสูนขึ้นหยั่งคืน ของต่ำพื้นอย่าไปพาดเทิงหัว มันสิผิดครองคูบ่แม่นแนวเด้เจ้า ให้เจ้าเอาใจเมี้ยนจัดเฮือนนอนให้เป็นบ่อน จังสินอนฮอดแจ้งสิแฝงซอดเซ้าคันเจ้าแต่งดี

T010411_10Cเฮือน 3 นั้นได้แก่ เฮือนกาย ให้มีความละอายอย่าสิป๋านมโต้น คนสิเห็นผางฮ้ายเฮือนกายน้องฮั่ว รักษากายให้กุ้มกายหุ้มห่อแพร เสื้อกะอย่าสิแก้ปะปล่อยไว้หลาย ให้รักษาเฮือนกายอย่าให้เฮือนเฮาฮ้าง ให้เจ้าปุนปองล้างเฮือนกายให้สะส่วย ให้มันสวยอยู่เรื่อยดูได้สู่ยาม ให้เจ้าหมั่นอาบน้ำชำระตนโต หัวของนางให้หมั่นสระสรงน้ำ ให้มันงามเหลือล้ำดำดีอยู่คือเก่า ผมให้งามฮอดเฒ่าหวีเรื่อยอย่าเซา อย่าว่าเป็นผู้เฒ่าขายขาดมีผัว ปะให้หัวแดงหยองกะบ่งามเด้เจ้า ว่าโตมีผัวแล้วบ่สระหัวจักเถื่อ เกิดขี้คร้านนุ่งเสื้อแนวนั้นบ่ดี ครั้นพิถีพิถันไว้รักษากายให้โก้คล่อง ผัวกะมองอยู่เรื่อยเห็นหน้ากะว่างาม เฮือน 3 นี้ นารีควรฮ่ำ ธรรม 3 ข้อนี้ จำไว้อย่าหลง

น้ำ 4 นั้นให้หมั่นเพียรทำ จำคำสอนฮ่ำฮอนเด้อเจ้า

น้ำ 1 นั้นแม่น น้ำอาบสรงศรี อย่าให้มีทางอึดให้หมั่นหามาไว้ เมื่อเวลาเฮาใช้สระสีล้างส่วย อย่าให้มวยขาดแห้ง อย่าให้แอ่งขาดเกลี้ยง เมืองบ้านสิกล่าวขวัญ

น้ำ 2 นั้นแม่น น้ำดื่มเฮากิน ขอให้ยินดีหาใส่เติมเต็มไว้ รักษาไห หรือหม้อ ถัง ออม อุแอ่ง อย่าให้แมงง้องแง้งลงเล่นแอ่งกิน ขัดให้เกลี้ยงอย่าให้เกิดมีไคล ดูให้ใสซอนแลนแอ่งกินดูเกลี้ยง อย่าให้มีกะหลึนเหมี่ยงสนิมไคลใต้ก้นแอ่ง อย่าให้น้ำขอดแห้งแลงเช้าให้เกื่อยขน ก้นแอ่งน้ำอย่าให้เกิดมีตม อย่าให้มีแนวจมอยู่เนาในน้ำ อย่าให้ไผเอาข้าว ของไปหว่านใส่ บาดมันไข่พุขึ้นสิปานน้ำฮากหมา ให้รักษาแอ่งน้ำยามดื่มอย่ามีอึด คึดอยากกินยามใด๋ก็เล่าตักกินได้ มีแขกไปไทยค้าคนมาเซาแหว่ ก็ได้แวใส่ได้เอาน้ำรับรอง

น้ำ 3 นั้นได้แก่ น้ำเต้าปูน ผู้ที่เป็นแม่เฮือนให้เหล่าหามาพร้อม ให้คอยดอมเด้อหล่า หาปูนใส่กระบอก อย่าให้ซอกขาดแห้งหาไว้ใส่ขัน พันพลูพร้อมพันยาไว้ถ้าพี่ พันดีๆ ให้เรียบร้อยคอยต้อนแขกคน

น้ำ 4 นั้นแม่น น้ำกลั่นอมฤต คือน้ำจิตน้ำใจแห่งนางหนูน้อย ให้เจ้าคอยหาน้ำในใจใสแจ่ม เพียงดั่งน้ำเต้าแก้วใสแล้วบ่ขุ่นมัว อย่าให้มีหมองมัว ผัวว่าอย่าโกรธา รักษาน้ำใจดีอย่าให้มีแข็งกระด้าง ขอให้นางคานน้อยใจดีอยู่อ่องต่อง คือดั่งน้ำหมากพร้าวบ่มีเปื้อนแปดตม อย่าให้มีคำขมต่อไผพอน้อย อย่าได้คอยหาข้องอแงฮ้อยแง่ เคียดข่อหล่อแข่แหล่แนวนั้นบ่ดี คันเฮ็ดได้จั่งสี้สิมีแต่ความสุข ผัวกะสุขเมียกะสุขสิค่อยมีเงินล้าน ผัวกะหวานเมียกะอ้อยออยกันเข้าบ่อน เมียกะนอนอยู่ใกล้ผัวได้ผ่างพา ขอให้นางคานหล้าทำตามโบราณเก่า จังสิมีขึ้นได้ความไฮ้บ่แล่นเถิง

ถ้าผู้ใดนำไปประพฤติปฏิบัติจักมีชีวิตที่รุ่งเรือง แม้ว่าบางสิ่งจะพ้นสมัยไปแล้วแต่เราก็ยังสามารถประยุกต์นำมาใช้ได้เสมอ อย่าพึ่งไปคิดว่านี่เป็นของโบราณไม่เห็นจะต้องไปตักหาบน้ำหรือเตรียมเต้าปูนกินหมากแต่อย่างใด เราก็ยังสามารถประยุกต์ของใหม่ให้รับกับคำสอนของเก่าได้อยู่มิใช่หรือ?




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons