วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

25. เพลงลูกทุ่งกับปูชนียวัตถุสถาน

ผญาอีสานกับปูชนียวัตถุสถาน
    ในสมัยพุทธกาลนั้นปรากฎว่า  มีแต่บุคคลที่นับถือพระรัตนตรัยคือ  นับถือแต่พระพุทธเจ้า  พระธรรม  พระสงฆ์สาวกทั้งหลายเป็นหลักพระพุทธศาสนา  หามีวัตถุเป็นเจดีย์  คือสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการเคารพบูชาในพระพุทธศาสนาไม่  บรรดาเจดีย์ในพระพุทธศาสนา  นอกจากพระไตรสรณคมน์แล้ว   เป็นของเกิดขึ้นเมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วทั้งนั้น(สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ)  และในขณะเดียวกันพระพุทธองค์ก็ได้มีพุทธฎีกาแก่เหล่าพุทธสาวกทั้งหลายให้ยึดถือพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทนพระองค์และเป็นหลักแห่งพระพุทธศาสนา  ดังปัจฉิมโอวาทของพระพุทธองค์ว่า  “ดูกรอานนท์ธรรมและวินัยที่เราได้แสดงแล้ว  บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลายนั้นคือศาสนดาของเธอเมื่อเราล่วงลับไปแล้ว(ที.ม.)
    อย่างไรก็ตาม    จากการศึกษาก็คงพอจะทราบเค้าแห่งการเกิดขึ้นของปูชนียวัตถุซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา  ในประเด็นนี้พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาติไว้เหมือนกัน  ในตอนที่พระพุทธศาสนาก็ทรงอนุญาตไว้เหมือนกัน  ในตอนที่พระพุทธองค์ทรงประชวรใกล้จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน  พระอานนท์เถระทูลปรารถว่า  แต่ก่อนมาเหล่าภิกษุบริษัทได้เคยใกล้ชิดและเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่เนื่องนิตย์  เมื่อพระองค์เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานแล้ว  ไม่สามารถเห็นพระองค์อีก  คงจะพากันว้าเหว่โศกาอาดูร  พระพุทธเจ้าจึงตรัสอนุญาตที่สังเวชนียสถานไว้  ๔  แห่งสำหรับพุทธสาวกที่ใคร่จะเห็นพระองค์   ก็ให้ไปปลงธรรมสังเวช ณ  สถานที่ดังกล่าว  คือ  สถานที่ประสูติ  ตรัสรู้  แสดงปฐมเทศนา และสถานที่ปรินิพพานสถานที่ทั้ง ๔  เหล่านี้  จึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์
    เป็นที่น่าสังเกตว่า  ในช่วงระยะเวลาหลังจากที่พระพุทธองค์ปรินิพพานแล้วประมาณ  ๓๐๐  ปีแรก  หรือตั้งแต่พุทธศตวรรษที่  ๒-๓ ก็ยัง  ไม่พบหลักฐานทางด้านศิลปวัตถุที่ถือว่า  เป็นรูปเคารถหรือรูปสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า  สันนิษฐานว่า  พุทธศานิกชนในสมัยนั้น  เมื่อระลึกถึงพระศาสดาใคร่เห็นพระพุทธองค์  ต่างก็พากันไปทำพุทธบูชาปลงธรรมสังเวช ณ  สังเวชียสถานทั้ง  ๔  แห่ง  เพื่อให้เกิดพุทธานุสติและยึดเอาวัตถุสิ่งของเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า  ที่ปรากฎอยู่  ณ  สถานที่นั้นเป็นสัญลักษณ์ด้วย  เช่น  ไม้สาละที่ประสูติ  ไม้โพธิบัลลังก์ที่ตรัสรู้  ไม้รังที่ปรินิพพาน  เป็นต้น(พัชรินทร์)
    พระพุทธศาสนาเมื่อแรกเข้ามาสู่ประเทศไทยนั้น  รูปเคารพต่าง ๆ ยังไม่มี  ครั้นเมื่อจำนวนพุทธศาสนิกชนมีมากขึ้น  จึงได้มีการนำแบบอย่างการสร้างสิ่งเคารพมาเผยแพร่  เช่น  การสร้างพุทธเจดีย์บรรลุพระบรมธาตุ(อันมีพระปฐมเจดีย์เป็นหลักสำคัญ)  ธรรมจักรกับรูปกวางซึ่งหมายถึงพุทธประวัติตอนทรงแสดงปฐมเทศนา  กระทั่งถึงในยุคอินเดียนิยมสร้างพระพุทธรูปแพร่หลายมากแล้ว  ประเทศไทยจึงได้รับแบบอย่างการสร้างพระพุทธรูปตามพระอารามต่าง ๆ  กันมากขึ้น  ในบทเพลงลูกทุ่งกล่าวถึงพระพุทธรูปที่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่มากมายในประเทศไทย
    เพลงลูกทุ่งที่กล่าวถึง  พระปฐมเจดีย์ในแง่ของคู่บ่าวสาวที่มีความรักแล้วเอ่ยถึงองค์พระปฐมเจดีย์ในคราวที่อยู่ห่างไกลกัน  อบค์พระอุทเทสิกเจดีย์  ซึ่งเจดีย์ในพระพุทธศาสนานั้นแบ่งออกเป็น  ๔  คือ
1.    ธาตุเจดีย์  คือที่บรรจุพระบรมธาตุ
2.    บริโภคเจดีย์  คือสถูปที่บรรจุทะนานดวง3.    พระบรมธาตุ
4.    อุทเทสิกเจดีย์  คือพระพุทธปฏิมา
5.    ธรรมเจดีย์  คือสถูปที่บรรจุใบลานหรือสิ่ง6.    ที่จารึกพระธรรม(คู่มือพุทธประวัติ)
ส่วนพระปฐมเจดีย์  ถือว่าเป็นธาตุเจดีย์ แต่เจดีย์แรกดั้งเดิมนั้นคือธรรมเจดีย์อันหมายถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า  ซึ่ง
ประเสริฐสุดแต่พอพระองค์เสด็จดับขันปรินิพพานแล้ว  คนก็นับถือธาตุเจดีย์เป็นพระบรมสารีริกธาตุ  แต่ผู้ที่นับถือพระบรมสารีริกธาตุชั้นต้นนั้นเป็นเพียงอุบาสกอุบาสิกานับถือไม่เกี่ยวกับพระเพราะพระเข้ามาบวชเพื่อเข้าสู่ความหลุดพ้นมุ่งปฏิบัติบูชามากกว่าอมิสบูชา
    ระยะแรกไม่มีธาตุเจดีย์เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์จะเห็นได้ชัดในขั้นต้น  ภายหลังจึงเข้าสู่วัดและพระ   ทีหลังจึงมาอุเทสิกเจดีย์ซึ่งอุทิศถวายพระพุทธเจ้า  อะไรก็ได้ที่อุทิศถวายพระพุทธเจ้า  เช่น  ต้นโพธิ์   ก็เป็นสัญลักษณ์  เพราะพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์
    เพราะฉะนั้น  ในการศึกษาถึงความหมายของปูชนียวัตถุสถานนั้นจึงควรแยกประเด็นให้ถูกต้อง  ความมุ่งหมายและความสำคัญของปูชียวัตถุสถาน  คือมองทั้งในแง่รูปธรรมและนามธรรมควบคู่กันไป  เพื่อจะได้เข้าใจถึงบทเพลงลูกทุ่งที่มีเนื้อหาสาระกล่าวถึงปูชนียวัตถุเหล่านี้  แม้ในความคิดของคนไทยนั้นอาจจะคิดไม่ถึงว่าเพลงเหล่านี้จะมีศาสนสมบัติปรากฎอยู่ในบทเพลง   ซึ่งถ้าผู้ที่ไม่สนใจจริง ๆ  แล้วย่อมไม่ทราบ อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกต่อการค้นคว้า  ผู้ศึกษาได้แยกแยะออกเป็นหมวดหมู่ไว้  ๒  ประเภทด้วยกัน คือ
              

                  บทเพลง   ประเภทเจติยสถาน
  บทเพลงซึ่งรายละเอียดนั้น  จะได้แยกแยะให้เห็นเป็นลำดับไป  ดังนี้
    ก.  ประเภทเจติยสถาน
    เจดียสถาน  คือสิ่งก่อสร้างที่ไม่ได้ใช้เพื่อการประกอบกิจกรรมทางด้านสังฆกรรมแต่เพื่อเป็นเจติยสถาน  คือ สถานที่มีความสำคัญควรแก่การเคารพหรือเป็นอนุสรณ์สถานที่ควรน้อมระลึกถึง  เช่น  พระสถูปเจดีย์แบบต่าง ๆ  พระพุทธปรางค์  พระมหาธาตุเจดีย์  พระมณฑปที่ประเสริฐฐานรอยพระพุทธบาท  เป็นต้น(วันดี) 
    พระธาตุซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนา   คือ ที่บรรจุพระบรมธาตุ  ในตอนต้นมี  ๘  แห่ง  ตามเมื่อที่ได้รับแบ่งพระบรมธาตุในประเทศไทยนั้นมีอยู่หลายแห่งที่มีความเชื่อถือว่าเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ
    บทเพลงลูกทุ่งที่กล่าวถึงพระธาตุนั้นมีอยู่หลายเพลง  เพราะคำว่าพระธาตุนั้นมีอยู่หลายจังหวัด  อาจจะตั้งชื่อแปลกกันไปบ้าง  นั้นคือความเชื่อของท้องถิ่นที่มีความเลื่อมใสต่อพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว  บ้างก็กล่าวถึงครั้งเคยเที่ยวงานพระธาตุ  ดังบทเพลงลูกทุ่งว่า
    “เย็นลมเหมันต์ผ่านผันยิ่งพาสะท้อนโอ้น้องบังอร
    ก่อนนั้นเคยคลอเคียงข้าง  ครั้งเที่ยวชมงานพระธาตุพนม
    ยามหน้าหนาว  พี่ยังไม่ลืมนงเยาว์  โอ้แม่สาวเรณู..”
        (หนาวลมที่เรณู :  สุรินทร์  ภาคศิริ)
    “จากสกลเมืองหนองหานล่ม  จากนครพนม หนี
    ไร่หนีมา  ทิ้งพระธาตุที่เคยได้บูชา  จากอีสานบ้านนา  เจ้าลืม
    สัญญาเฮาเคยเว้ากัน...”
    (หนุ่มนานครพนม  :  สุมทุม  ไผ่ริมบึง)
    “น้ำตาหล่นเสียแล้วละคนอีสาน  เมื่อสมบัติคู่บ้าน
    ของชาวอีสานมาถล่ม สุดเสียดายองค์พระธาตุพนม ก่อนนี้
    เคยกราบก้มกลับมาถล่มจมพสุธา
    เหตุเกิดวันทีสิบเอ็ดสิบหา  เมื่อตอนเวลาเอ้ยตึกสงัด
    สายฝนกระหน่ำลมซ้ำสะบัด  จนพระเณรต้องตื่นผวาโอ
    อะนิจจัง   วะตะ  สังขารา  ฟ้าได้บัญชาอาญาโทษทัณฑ์  คล้ายดัง
    สายฟ้า...เอ้ย....คล้ายดังสายฟ้าฟาดเปรี้ยง   ลงมาองค์พระธาตุทันใด....”
        (อาลัยพระธาตุพนม  :  เทพพร  เพชรอุบล)
    “...สาวอุบลคนทันสมัย  อยู่ในเมืองใหญ่ราชธานี
    กราบพระธาตุนครพนมดลใจเอวกลมรับรักสักที  กาฬสินธุ์
    กลิ่นสาวโสภี  งานล้ำนารีมหาสารคาม...”
    (หนุ่มเหนือแอ่วอีสาน  :  เทอดไทย  ชัยนิยม)
    บางครั้งองค์พระปฐมเจดีย์  ก็เป็นที่พึงของหนุ่มสาวผู้ที่กำลังตกอยู่ในห้วงแห่งความรัก  โดยการฝากคู่รักไว้กับองค์พระปฐมเจดีย์ แสดงให้เห็นถึงพื้นฐานของจิตใจนั้นมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา  และเพลงสะท้อนให้เห็นถึงของมีค่าในถิ่นนั้นด้วย เช่น องค์พระปฐมเจดีย์   ข้าวเปรียบ  น้ำตาล   พร้อมทั้งเทศกาลงานเขางูออกร้าน  บทเพลงลูกทุ่งกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ  ดังบทเพลงว่า
    “ฝากอนงค์ไว้กับองค์ปฐมเจดีย์   ขอให้ช่วย
    คุ้มครองน้องพี่อย่าให้มีใครลอบมาชม   ย้อนมาคราวหน้า
    จะมาหอมแก้วเอวกลม  จะหิ้วข้าวเกรียบที่เขานิยม  มา
    ฝากคนสวยพร้อมพร้อมด้วยน้ำตาล
    รถเมล์รับจ้าง  ประจำทางสายเพชรบุรี  จากองค์ปฐม
    เจดีย์ลับตาพาเสียวใจซ่าน  ผ่านราชบุรี  เห็นมีงานเขางู
    ออกร้าน  เหลืองเห็นเจ้าข้าวหลามตาหวาน  คิดถึงนงคราญ
    นครปฐม”
        (นิราศรักนครปฐม : ไพบูลย์  บุตรขัน)
    บทเพลงลูกทุ่งเอ่ยถึงรอยพระพุทธบาทจำลอง  ในฐานะที่เป็นสถานที่ศักด์สิทธิ์ของชาวไทย  ออกพรรษาในแต่ละปีจะมีการตักบาตรดอกไม้  และปิดทองพระพุทธบาทจำลองดังบทเพลงว่า
    “....เคยเที่ยวชมน้ำตกสามชั้น  นมัสการพระพุทธ
    บาทงานปีมีเธอเคียงกายออกพรรษาตักบาตรดอกไม้  สองเรา
    ได้ทำบุญร่วมกัน
    สระบุรี  รักพี่ต้องเสียสละ  ใจเธอมาผละจากพี่ไปมี
    ใหม่ผูกพัน  เหลือเพียงรอยรักสองเราเอาไว้ที่นั่น  ผ่านไปใจ
    ยิ่งโศกศัลย์  ไม่เจอจอมขวัญสาวเมืองหินกอง....”
        (สละรักสระบุรี :   ขับร้องโดย  สังคม  แสงดารา)
    อุทเทสิกเจดีย์  คือพระพุทธปฏิมา ซึ่งชนทั้งหลายสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องสักการะระลึกถึงพระพุทธองค์  การสร้างพระพุทธรูปในสมัยแรก  เป็นการสร้างเพื่อถือเป็นสรณะถึงพระพุทธเจ้า  โดยประดิษฐานไว้ตามพระเจดีย์  ต่อมามีการสร้างโบสถ์สร้างวิหารขึ้น  ก็สร้างพระประธานประดิษฐ์ไว้  เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของพระสงฆ์  และพุทธศาสนิกชนที่ไปประชุมรวมกันอยู่ในนั้น
    ในเรื่องนี้  ส.ศิวรักษ์  ได้ให้ข้อคิดว่าการสร้างพระพุทธรูปในสมัยแรกนั้นพวกกรีกเป็นคนสร้างขึ้น  หลังจากที่พวกกรีกนับถือพระพุทธแล้ว    เมื่อเกิดปัญหาพระยามิลินท์ซึ่งเป็นชาวกรีก  พวกชาวกรีกก็เอาแนวคิดที่บุคคลคิดมาทำเป็นพระพุทธรูป  ระยะแรกฝ่ายพระถือเป็นเรื่องใหญ่เกือบจะเกิดสังฆเภทที่เอาพระพุทธรูปเข้ามา  พอพระพุทธรูปเข้ามาคนโบราณก็เห็นว่าเป็นทั้งคุณและโทษ  เป็นคุณคืออาจจะทำให้เกิดศรัทธาปสาทะ   ถือว่าเป็นพุทธคุณ  ส่วนเป็นโทษคือกลัวจะไปติดวัตถุ  ดังที่ท่านพุทธทาสกล่าวว่าพระพุทธรูปนั้นเป็นภูเขากั้นพุทธธรรม  เพราะในสมัยราณนั้นการสร้างพุทธรูปนั้นจึงมุ่งที่ความงามและไม่ได้มุ่งที่ตัวบุคคล  อย่างเชื่อว่าพระพุทธชินราชมีชีปะขาวมาสร้างและสร้างไว้ในสถานที่ซึ่งถือว่าศักดิ์สิทธิ์ไม่เอามาไว้เป็นเด็ดขาด  จนสมัยราชกาลที่  ๓  พระองค์ได้มีพระราชปุจฉาถามกันว่าเอาพระพุทธรูปไว้บ้านนั้นผิดหรือไม่  เพราะเป็นเรื่องต่ำ – สูง  โดยถือว่าในบ้านนั้นเป็นที่บริโภคกาม  เอาตัวแทนของพระพุทะองค์มาอยู่ย่อมไม่ถูกต้องนัก
    คนที่ถือพุทธะมากเท่าใด  เข้าใจเนื้อหาสาระมากเท่าใดก็ติดในพระพุทธรูปน้อยเท่านั้น  เข้าใจเนื้อหาสาระของพระพุทธศาสนาน้อยเท่าใด  ก็ติดในพระพุทธรูปมากเท่านั้นและหนักเข้าก็กลายเป็นวัตถุมงคลและกลายเป็นของขลังของศักดิ์สิทธิ์   จนกลายเป็นเรื่อยไสยศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง(ส.ศิวรักษ์)
    เป็นอย่างไรกก็ตามสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่น  ในแต่ละท้องถิ่นนั้นย่อมไม่เหมือนกัน  โดยแต่ละท้องถิ่นนั้นปรากฎนามไม่เหมือนกัน  แต่ก็ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของท้องถิ่นซึ่งมีศักดิ์สิทธิ์  อันเป็นที่เคารถบูชา  อนุสาวรีย์ของบุคคลสำคัญ  ที่เรียกว่าปูชนียสถาน  เพลงลูกทุ่งได้นำมากล่าวในแต่ท้องถิ่นนั้น
    จังหวัดพิษณุโลกมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารถบูชาของชาวเมืองเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป  คือ  “พระพุทธชินราช”  ซึ่งมีงานฉลองทุกปีและพระเครื่องที่ขึ้นชื่อของชาวพิษณุโลกก็คือ “พระนางพญา”  ซึ่งอยู่ที่วัดนางพญา  อำเภอเมือง  จังหวัดพิษณุโลก(ลักขณา)  ดังบทเพลงว่า
    “...มาลัยดอกรักจากสาวสวยนัยนาโศกได้รับที่
    พิษณุโลกยังวิโยคครวญหา  ที่ยังอาวรณ์ใคร่ย้อนกลับมาอยู่
    เยือนพระนางพญาเมื่อเห็นหน้าเจ้าของมาลัย
    เคยมาเที่ยวงานออกร้อนทุกปีไม่ขาด  ไหว้หลวงพ่อ
    พุทธชินราช  ชาวพุทะศาสน์เลื่อมใส...”
        (มาลัยจากพิษณุโลก :  ไพบูลย์   บุตรขัน)
    ในแต่ละท้องถิ่น  การตั้งชื่อก็ไม่เหมือนกัน และการปฏิบัติก็ทำแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ละภาค พุทธศาสนิกชนย่อมให้ความเคารพสักการะเพราะมีความเลื่อมใสต่อพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว  บางท้องที่ก็นำองค์พระมาแห่  บางท้องที่เมื่อถึงเทศกาลงานประจำปีก็นำลงมาปิดทอง  ดังบทเพลงว่า
    “..อยุธยาดินแดนที่แสนศักดิ์สิทธิ์  หลวงพ่อมงคล
    บพิตรศักดิ์สิทธิ์เราเคยเลื่อมใส   อีกพระเจดีย์แม่ศรีสุริโยทัย
    เรเคยขอพรวอนไหว้  ให้ดวงใจเรารักมั่นคง...”
        (ซากรักบึงพระราม  :  โรม  ศรีธรรมราช)
    “...เมื่องานเดือนสิบสองน้องเอ๊ย  เคยเที่ยวกับพี่
    ชักพระทุกที  ปีนี้น้องไปอยู่ไหน...”
    (ไอ้หนุ่มสวนยาง  :   ขับร้องโดย  สุดรัก  อักษรทอง)
    “...เคยเที่ยวสุขสันข์  งานวันแห่พระ  น้องยังสละขาย
    ข้าวขนม  แต่แล้วความฝันดังลม  นวลน้องคู่ชมหนีหน้าจากจร”
        (ไอ้หนุ่มชุมพร :  ประจวบ  วงศ์วิชา)
    แม้นว่าบทเพลงลูกทุ่งจะกล่าวถึงความรักระหว่างหนุ่มสาวอยู่เป็นจำนวนมาก็ตาม  แต่ในความรักนั้นก็แฝงด้วยคุณธรรมที่ยึดถือเอาหลักทางพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว  จะเห็นได้ว่า  ในคราวที่พรัดพรากจากรักก็ยังรำลึกถึงองค์พระที่ตนเองนับถือ  อ้อนวอนให้เจอคู่รัก  ดังบทเพลงว่า
    “...บางประกง  น้ำคงขึ้น ๆ ลง ๆ  ใจอนงค์ก็คงเลอะ
    เลือนกะล่อน  ปากน้ำเค็ม  ไหลขึ้นก็จืดก็จาง  ใจน้องนาง
    รักนานเลยจางจากจรใจนารีสวยสด  คงคดดั่งลำน้ำ  พี่ขืน
    พายจ้ำคงต้องช้ำแน่นอน  ต้องจอดเรือขอลาก่อนแม่กานดา
    งามงอน  งอนหลวงพ่อโสธร  จงดลใจยอดชู้  เจ้าอยู่แห่ง
    ไหนอยู่ใกล้หรือไกลสุดกู่  ได้ยินเพลงร้อง  น้องจงคืนสุ่  พี่
    ยังคอยพธูอยู่ที่บางประกง”
        (รักจางที่บางประกง  :  สดใส   ร่มโพธิ์ทอง)
    พระพุทธรูปบางอค์  ชาวบ้านสร้างไว้เพื่อที่จะเอาไว้บนบานในเวลามีงานบ้านมักจะเชื่อ  จะสังเกตได้จากการบนบาน  บวงสรวงแม้กระทั่งหาเงินเพื่อจะไปสู่ขอเจ้าสาว  ดังบทเพลงว่า
    “.....งานวัดท่าหลวง  บวงสรวงพ่อเพชร  แล้วงหน้านา
    เสร็จลูกใคร่จะไปสู่ขอ  ทำนาหาทุน  บนบานพึ่งบุญหลวงพ่อ
    ขายข้าวในนา  เก็บหาเงินพอ  จะขอแต่งงานกับน้อง
    สาวงามพิจิตร  อดีตชาลวน  เธอลูกใครกันเล่าจ๊ะ แม่
    จันทร์แสงส่องหรือเป็นเชื้อชาติทายาทตะเภาทอง  อยากเป็น
    ตะเข้  ว่ายเร่คาบน้องพากลับวังทอง  เคล้าครองแนบนอน”
        (สาวงามเมืองพิจิตร  :  สดใส   ร่มโพธิ์ทอง)
    “พรุ่งนี้พี่ต้องจำจากจร  ตื่นจากนอนไปตอนไก่โห่
    สั่งลาเข้าสู่กรมกองลำยองนั่งร้องไห้โฮ  กราบหลวงพ่อ
    โตวัดป่าก่อนไปพี่จากลำยอง  ไปสองปีจะรอพี่ได้ไหม  มีไอ้หนุ่ม
    เมียงมองหมายปองกลัวลำยองจะนอกใจ ยามเมื่อพี่จากไกล
    ไปเป็นทหารลากลับมาบ้านใจหาย...”
        (เสียดาย  :  ขับร้องโดย  ศรเพชร  ศรสุพรรณ)

bandonradio




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons