วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฺ1.ส่งผลต่อวิธีคิดของสุภาพบุรุษ

ผญาภาษิตกับบุรุษ
    เป็นคำสอนที่มักจะเน้นให้ผู้ชายได้รู้จักหน้าที่  และมีความรับผิดชอบต่อสังคมตนเองและครับครัว  ซึ่งจะออกมาในรูปแบบสิ่งที่ควรทำ  คือวิชาความรู้  การเลือกคู่ครองที่ดี  การครองเรือนที่ดีงามควรมีหลักอย่างไรบ้าง  สามีที่ดีควรมีคุณธรรมอย่างใด  ตลอดถึงผู้เฒ่า  ก็ควรกระทำตนอย่างไรบ้างจึงจะนำมาซึ่งความเคารพรักจากลูกหลาน  นี้คือคำสอนที่มุ่งถึงจริยธรรมขั้นมูลฐานที่จะทำให้บุรุษได้ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนให้มีความสุขได้  พอสรุปได้เป็นประเด็นดังต่อไปนี้  คือ
    ๑  )  ผู้ชายควรมีหน้าที่รับผิดชอบในครอบครัวทุกด้าน  ผู้ชายควรแสวงหาวิชาความรู้  มีสติปัญญา ตลอดถึงเอาใจใส่ในกิจการบ้านเมือง  และช่วยปกป้องประเทศชาติให้ปลอดภัยจากศัตรู  ควรมีศีลสัตย์ยึดมั่นในทานศีล  คำนึงถึงหลักอริยสัจสี่  ศีลห้า  ศีลแปด  และละเว้นการประพฤติชั่วต่างๆ  เมื่อยังหนุ่มไม่ควรเพลิดเพลินกับการเล่น  ควรหมั่นศึกษาวิชาการต่างๆ  รีบสร้างฐานะ  รู้จักประหยัดอดออมไว้ใช้ในยามแก่เฒ่า  หรือยามเจ็บไข้  ไม่ควรหมกมุ่นในเรื่องชู้สาว  ควรเป็นคนขยันทำงานทุกชนิด
    ๒)  เป็นผู้ชายควรรู้จักงานด้านศีลปะด้านต่างๆ  เพื่อนำมาประกอบอาชีพ  วิชาที่ควรเรียนคือ  ช่างเงิน ช่างทอง  ช่างไม้  ช่างเหล็ก  ช่างกลึง  สานแห  ตาข่าย  กระบุง  ตะกร้า  ดนตรี  หมอยา  หมอเส้น  ตลอดถึงศึกษาวิชาธรรมของพระพุทธเจ้า  ฮีตบ้านครองเมือง  เป็นผู้ชายควรบวชเรียนในพระพุทธศาสนา  มีความรักเมตตาต่อผู้อื่นและดูแลเลี้ยงดูบุตรตามจารีตประเพณี  รักบุตรให้เท่ากันทุกคนไม่ควรมีอคติต่อกัน  และควรกตัญญูต่อบิดามารยกย่องท่านไว้เหนือหัว
    อาจกล่าวได้ว่าจริยธรรมสำหรับคนทั่วไปที่ปรากฎในคำสุภาษิต  คือคนทุกชนชั้นไม่ว่าไพร่หรือเจ้านายก็ต้องยอมรับข้อปฏิบัติเช่นเดียวกันกับชาวบ้าน  นั้นคือ ความยุติธรรม  ความสามัคคี  ความอ่อนน้อมต่อผู้อาวุโส  ความกตัญญู  ความดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม  ความเมตตารู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ความเป็นคนไม่ประมาท  ไม่มีอคติทั้งสี่  มีสัจจะ  มีบริจาค ให้ทานและไม่เบียนเบียนผู้อื่น  ละความโกรธและมีขันติธรรม  มีใจหนักแน่น  รู้จักช่วยเหลือกันและกันระหว่างเพื่อนบ้าน  ฯลฯ
ความสามัคคีสอนให้คนเรารู้รักเพื่อนบ้านและญาติพี่น้องกันช่วยเหลือกันและกันทั้งในยามทุกข์และยามสะบาย  เหมือนป่าไม้ได้ต้องมีต้นไม้จึงจะเป็นป่าขึ้นมาได้  เช่นเดียวกับคนเราต้องมีญาติ เพื่อนจึงจะเป็นชุมชนขึ้นมาได้  ดังสุภาษิตนี้ว่า

    ในดงบ่มีไม้        สิเอายังมาเป็นป่า
    มีหนองบ่มีเหย้าป้อง    ปลาสิบ้อนอยู่บ่อนได๋  37/บุญเกิด
    (ถ้าดงไม่มีต้นไม้จะเรียกป่าไม่ได้  เหมือนในน้ำไม่มีปลาก็ไม่เรียกว่าหนองน้ำได้เป็นหนองแต่ไม่มีหญ้าป้องปลาจะไปอาศัยหุบเหยืออยู่ที่ใด  สอนให้คนเรารู้จักพึ่งพาอาศัยกันและกันจึงจะเจริญก้าวหน้าไปได้ทุกกรณี  ดังสุภาษิตนี้ว่า

    เฮือคาแก้ง        เกวียนเห็นให้เกวียนแก่
    บาดว่าไปฮอดน้ำ    เฮือสิได้แก่เกวียน 37/บุญเกิด
    (เรือติดค้างแก่งหินให้เกวียนช่วยลากไปด้วย  เผื่อว่าพอไปถึงน้ำเรือจะได้ช่วยบรรทุกเกวียน  สอนให้รู้จักพึ่งอาศัยกัน เป็นการนำเอาเรือและเกวียนมาเป็นเชิงเปรียบเทียบให้เห็นเป็นรูปธรรม เหมือนคนเราต้องช่วยกันเมื่อมีเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมา  เหมือนพระจันทร์ที่สองแสงสว่างในยามราตรีเพียงดวงเดียว  แสงย่อมไม่สว่างเท่าใดหนัก  แต่ถ้าไม่มีดวงดาวช่วยส่องแสงอันระยิบระยับเป็นบริวารแวดล้อมแล้วย่อมทำให้ท้องฟ้าสดสวยงามได้  ดังสุภาษิตอีสานว่าดังนี้คือ

    จันทร์ใสแจ้ง        ดวงเดียวบ่มีค่อง
    ดาวบ่มีแวดล้อม    จันทร์เจ้าก็บ่เฮือง  38/บุญเกิด
    (ดวงจันทร์ส่องแสงสว่างดวงเดียวไม่มีบริวาร  คือดวงดาวไม่แวดล้อม  ดวงจันทร์ก็ไม่สวยงาม)  หมายถึงว่าสอนให้คนเรารู้ว่าจะเด่นดังคนเดียวไม่ได้ถ้าไม่มีบริวารคอยช่วยเหลือหรือสนับสนุนในกิจการนั้นๆภาระหน้าที่ย่อมต้องอาศับคนรอบข้างช่วยเหลือจึงจะสำเร็จผล  ให้รู้จักผูกมิตรไมตรีกับผู้อื่นเอาไว้ดังสุภาษิตนี้คือ

        ให้เจ้าเฮ็ดยาวๆไว้    คือสินไซฟันไฮ่
        ปีนี้ได้แต่ปล้ำ        ปีหน้าจั่งค่อยฮอน  38/บุญเกิด
    (ให้คุณทำยาวๆไว้คือสินไซฟ้นไร่นา  ปีนี้ได้เพียงแต่ฟันต้นไม้  ปีหน้าจึงค่อยเก็บและเผาฟืนปรับพื้นที่ทำไรทำนาต่อไป)  สอนให้เป็นคนรู้จักผูกมิตรกับคนรอบข้างเอาไว้เมื่อกาลข้างหน้าอาจจะได้ช่วยเหลือกัน  กวีบทนี้ก็สะท้อนถึงการที่ทำให้คนอีสานนั้นชอบผูกเสี่ยว(เพื่อน)กันมากหรือมีเพื่อนๆมาก  เพราะการมีเพื่อนมากๆย่อมมีประโยชน์ช่วยอะไรได้หลายอย่างดังสุภาษิตนี้ว่า
        อย่าได้ไขปักตูไว้    โจรขโมยสิฮู้เมื่อ
        อย่าได้ปะป่องถ้าง    ปาสิฮู้เมื่อคิง 38/บุญเกิด
    (อย่าได้เปิดประตูไว้ให้พวกโจรขโมยมันจะรู้ช่องทางเข้าออก  อย่าเป็นเหมือนประตูไขน้ำทิ้งไว้  ปลาจะรู้สึกตัว(แล้วพากันหนีไป)  เป็นการสอนเพื่อให้อนุสติเตือนใจให้รู้จักรอบคอบ อย่าให้มีจุดอ่อนหรือช่องโหว่ได้ อาจจะเกิดความผิดพลาดขึ้นมาได้ การช่วยกันระหว่างคนในท้องถิ่นอีสานยังแสดงออกมาได้หลายวิธีเช่นการช่วยกันลงแขกเอาแรงกันเหมือนการทำท่าเรือเอาไว้หลายๆท่าและการหม่าข้าวไว้หลายๆบ้านดังสุภาษิตนี้คือ
        ฟันเฮือไว้        หลายลำแฮท่า
        หม่าเข้าไว้        หลายบ้านทั่วเมือง 6/ของดีอีสาน/อดิศร
    (ให้รู้จักต่อไว้เอาไว้หลายลำเพื่อจอดรอไว้ที่ท่าน้ำ  และรู้จักแซ่ข้าวเหนียวไว้เพื่อหุ่งเป็นการแจกจ่ายให้ได้หลายบ้านทั่วทั้งเมือง) เป็นการสอนให้รู้จักการต่อเรือไว้เมื่อยามเกิดสงครามจะได้มีเรือใช้  และให้รู้จักหุ่งข้าวนั้นหมายเอาการทำตนให้มีจิตใจโอบอ้อมอารีย์แก่คนทั่วไป  จะได้มีมิตรทั่วบ้านเป็นการผู้มิตรภาพกับคนอื่นๆเอาไว้เมื่อยามตัวเองลำบากจะได้มีคนคอยช่วยเหลือ  และกวีอีสานยังสอนให้คนเราให้เห็นประโยชน์ส่วนรวม  ดังสุภาษิตที่ว่า

        เฮือนได๋ยามกินเข้า    พาเดียวเป็นหมู่
        คำฮักยังซ่างตุ้ม        กันไว้หมื่นอะสง  6/อดิศร
    (เรือนใดเวลารับประทานอาหารภาชนะเดียวกันเป็นกลุ่ม(รวมญาติ)บ้านย่อมมีความสุขเพราะสมาชิกทุกคนรักใคร่กันชอบกัน )สอนให้รู้จักว่าคนในบ้านเดียวกันให้รักสามัคคีกันครอบครัวจึงจะมีความผาสุขเหมือนสุภาษิตนี้ว่า

        ฮั้วหลายหลักจั่งหมั่น    พี่น้องหลายชั้นจั่งดี
        พี่น้องบ่หลาย        ให้หาสหายมาตื่ม 7/อดีศร
    (รั้วหลายต้นจึงหมั่นคงถาวรได้  เหมือนพี่น้องมากๆไว้แล้วจะดี  ถ้าพี่น้องไม่มากให้หาเพื่อนบ้านมาเพิ่มเติม) สอนให้รู้จักความสามัคคีอย่างยิ่งเพราะแม้ว่าญาติพี่น้องจะมีน้อยแต่ถ้าหากว่ามีเพื่อนมากๆแล้วย่อมช่วยเหลือในยามมีกิจธุระ  ดังสุภาษิตนี้ว่า
        หนักหนาซ่อยกันได้    ยามเจ็บไข้เบิ่งกันดาย
    (หนักช่วยกันยกเวลาเจ็บป่วยช่วยดูแลกันได้)  เป็นหลักสามัคคีธรรมที่แยบยนต์ยิงหนักคืออะไรที่มันมีน้ำหนักมากๆก็ช่วยกันยกของหนักก็เบาได้ เหมือนภาระหน้าที่มีมากๆเมื่อช่วยกันทำงานนั้นก็เป็นงานที่เบาได้  แต่เวลาไม่สะบายก็ช่วยมาดูแลกันพึ่งพาอาศัยกันยามจนเท่านั้นคนเราจึงจะเห็นใจกันได้ดีเหมือนเวลาไม่สะบายจึงจะรู้ว่าใจคนเรานั้นเป็นอย่างไรเช่นเดียวกันกับบ้านเมืองถ้าไม่มีข้าราชการย่อมเจริญก้าวหน้าไม่ได้ ดังสุภาษิตว่า
    คันเป็นเมืองใหญ่กว้าง    พันโยชน์ก็ดีพันวาก็ดี
    คันบ่มีพญาทงก็บ่เป็นเมืองบ้าน      แม้นว่ามีพญาแล้วบ่มีเสนาตุ้มไพร่
    คันไพร่บ่พร้อม    แปลงบ้านบ่ฮุ่งเฮือง 61/มรดก/ศูยน
    (ถ้าหากว่าเป็นบ้านเมืองกว้างใหญ่เป็นพันโยชน์ก็หากดี  ถ้าหากไม่มีพญาครองเมืองก็เป็นเมืองไม่ได้  ถึงแม้ว่ามีพญาผู้ปกครองบ้านเมืองแต่ถ้าหากเสนาอำมาตย์ไม่สนับสนุนบ้านเมืองก็เจริญไม่ได้)ดังนั้นความสามัคคีจึงเป็นพลังการสร้างบ้านเมืองอย่างแท้จริงทุกอย่างต้องผสมผสานกันอย่างดีจึงจะก้าวหน้าได้  ดังสุภาษิตนี้ว่า  นางนุ่น/32
    เฮาอาศัยเพิ่งบ้านซ้ำเพิ่นอาศัยเฮา    คันหากเฮาหนีเสียสิเกิดเป็นดงฮ้าง
    คันเฮาหนีไกลบ้านเฮือนซานสิเป็นป่า    บ้านสิเป็นเหล่าเฮื้อเครือสิเกี้ยวมืดม่ง
    (เราอาศัยพึ่งบ้านท่านก็อาศัยเรา  ถ้าหากเราหนีไปเสียแล้วจะเป็นบ้านร้าง  ถ้าหากเราหนีไปไกลต่างถิ่นบ้านเรือนก็เป็นเหมือนป่า  บ้านจะเป็นเหมือนเถาวัลย์เกี้ยวทั่วไป)  สุภาษิตนี้เน้นให้มองเห็นว่าทุกอย่างต้องอาศัยกันและกันหากสิ่งหนึ่งไม่มีก็จะเป็นเป็นเหมือนสุภาษิตว่าไว้

    เฮาอาศัยพวกพ้องน้องนุ่งสหายเกลอ            เขากะอาศัยเฮาจั่งค่อยเป็นเมืองบ้าน
    คนหากอาศัยด้วยดอมคนเป็นหมู่             บ่มีผู้อยู่ค้ำฟ้าโทนโท่อยู่ผู้เดียว 31/นาง
    (เราอาศัยพวกเพื่อนและญาติมิตร  เขาก็อาศัยเราจึงค่อยเป็นบ้านเมือง  คนก็เช่นเดียวกันต้องอาศัยเพื่อนบ้าน  ไม่มีใครอยู่คนเดียวได้)  ความสามัคคีกันระหว่างบ้านกับบ้านหรือระหว่างเมืองกับเมืองหรือระหว่างประเทศต่อประเทศ  ต้องอาศัยทุกอย่างเพราะมนุษย์จะอยู่คนเดียวไม่ได้ต้องอาศัยกันและกันทุกอย่างเพราะมนุษย์เราไม่สมบูรณ์ในภาวะของตัวมันเอง  ปัจจัย  ๔  อันมีความจำเป็นต่อชีวิตยังต้องอาศัยคนอื่นทำให้  ดังสุภาษิตนี้ว่า

    บัวอาศัยเพิ่งน้ำปลาซ้ำเพิ่งวังตม    บ่าวกับนายกะเพิ่งกันโดยด้าม  นางนุ่น
    เสือสิงห์ซ้างกวางฟานอาศัยป่า    ป่าอาศัยสัตว์สิ่งฮ้ายป่าไม้จึงค่อยมี 31
(บัวอาศัยเกิดจากน้ำปลาก็อาศัยเกิดจากหนองน้ำ  เหมือนบ่าวกับนายก็พึ่งกัน  เสือ สิงโตช้าง  กวาง  ฟาน  ก็อาศัยป่าไม้  ป่าไม้ที่ยังมีมากก็ได้อาศัยสัตว์ดุร้ายเหล่านี้)  เป็นการช่วยเหลือกันแบบระบบนิเวศทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่กวีต้องการสื่อให้เห็นว่าคนเราตั้งอาศัยกันเช่นเดียวกับสัตว์ที่อาศัยป่าไม้นั้นเอง
จริยธรรมสอนให้รู้จักการช่วยเหลือกัน  หรือการพึ่งพาอาศัยกันไม่ว่าชายหรือหญิง  ไพร่ผู้ดีมีหรือจนต่างต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน  คนมีก็ช่วยเหลือคนจนด้วยการแบ่งปัน  ผู้ใหญ่ก็ช่วยเหลือเด็กด้วยการคุ้มครองป้องกัน  ท่านอุปมาไว้เหมือนดังน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า  ดังคำกลอนดังนี้คือ
    มวงพี่น้องต้องเพิ่งพากัน        คราวเป็นตายช่วยกันปองป้าน
    ยามมีให้ปุนปันแจกแบ่ง        คราวทุกข์ใฮ้ปุนป้องช่วยปอง
    เทียมดังดงป่าไม้ได้เพิ่งยังเสือ    คนบ่ไปฟังตัดคอบเสือเขาย้าน
    เสือก็อาศัยไม้ในดงคอนป่า    ฝูงหมู่คนบ่ฆ่าเสือได้คอบดง203

    ให้พากันเข้า        โรงเรียนเขียนอ่าน  หลานเอย
    อย่าได้คึดขี้คร้าน    ความฮู้ให้หมั่นหาฯ
    (ให้พากันเข้าโรงเรียนเขียนอ่าน  หลานเอ๋ย  อย่าได้คิดเกียจคร้าน  ความรู้ให้ขยันหา)  สอนให้ลูกหลานขยันหมั่นเพียรในการศึกษา  ในวัยหนุ่มก็ใจหมั่นหาวิชาความรู้เก็บเอาไว้เมื่อถึงคราวจำเป็นมาวิชาความที่ได้ศึกษามาจะทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง  ดังสุภาษิตว่า
        ให้พากันศึกษาฮู้    วิชาการกิจชอบ
        ฮีบประกอบไว้    ไปหน้าสิฮุ่งเฮืองฯ
    (ให้พากันศึกษารู้วิชาการทุกอย่าง  รีบประกอบไว้ไปข้างหน้าจะรุ่งเรือง)  คนจะสามารถยกระดับจากคนจนมาเป็นคนรวยได้ก็ด้วยวิชาการ  เพราะวิชาสามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมนุษย์ได้  จากคนยากจนก็มีเกียรติศักดิ์ศรีได้เพราะวิชา  หรือเป็นเจ้าคนนายคนเพราะการศึกษาเล่าเรียนมามาก  ถ้าหากว่าบุญวาสนาช่วยอาจจะได้เป็นใหญ่โตถึงขั้นนายกรัฐมนตรี  หรือรัฐมนตรี  และกาลข้างหน้าแสวงหาทรัพย์สินได้มากมาย  ดังสุภาษิตนี้คือ
    ยามเมื่อเจ้าหนุ่มน้อย    ให้ฮีบฮ่ำเฮียนคุณ
    ยามเมื่อบุญเฮามี    สิใหญ่สูงเพียงฟ้า
    ไปภายหน้า        สิหาเงินได้ง่าย
    ใผผู้ความฮู้ตื้น    เงินล้านบ่แกว่นถงฯ
    (ยามเมื่อเจ้ายังหนุ่มเยาวัย  ให้รีบศึกษาให้ชำนาญ  ยามเมื่อบุญเรามี  จะได้เป็นเจ้านายคนไปข้างหน้า  จะหาเงินได้ง่าย  ใครผู้มีความรู้น้อย  เงินล้านก็ไม่มี)  ความรู้ที่ศึกษามากยิ่งดี  เมื่อกาลข้างหน้าจะไม่ลำบาก  มีอะไรก็ไม่เท่ามีวิชาติดตัว  ดังสุภาษิตว่า
    ใผผู้มีความฮู้    เฮียนเห็นมามาก
    บ่ห่อนทุกข์ยากเยิ้น    ภายท้ายเมื่อลุนฯ   
    (ใครผู้มีความรู้  ศึกษามามาก  ไม่ค่อยลำบากในอนาคตข้างหน้า)  คนเราจะได้ดีหรือไม่ดีอยู่ที่ว่ามีการศึกษามากหรือไม่  ดังนั้น  จริยธรรมของย่าจึงต้องสั่งสอนให้ลูกหลานชาวอีสานได้ตระหนักถึงคุณค่าของการศึกษาให้มาก  ดังสุภาษิตนี้ว่า
    ให้เจ้าเอาความฮู้หากินทางชอบ    ความฮู้มีอยู่แล้วชิกินได้ชั่วชีวังฯ(ปรี/ภาษิตโบ/52
    สิได้เป็นขุนขึ้น    ครองเมืองตุ้มไพร่
    สิได้เป็นใหญ่ชั้น    แนวเชื้อชาตินาย แท้ดายฯ
    (ให้เจ้าเอาความรู้หากินทางสุจริต  ความรู้มีอยู่แล้วจะหากินไต้ตลอดชีวิต  จะได้เป็นขุนขึ้นปกครองเมืองรักษาไพร่  จะได้เป็นใหญ่เพราะวิชาความรู้)  ความรู้ให้ทั้งเกียรติยศชื่อเสียงและเงินทองอย่างมากมาย  ดังสุภาษิตนี้คือ
    อันว่าเงินคำแก้ว    ไหลมาเอ้าอั่ง
    มีแต่มูลมั่งได้    สินสร้อยมั่งมี
    (อันว่าเงินทองจะหลั่งไหลมามากมาย  เหมือนร่ำรวยมาแต่เดิมทรัพย์สินมากมายเพราะวิชาการที่ได้ศึกษามา)  สุดท้ายย่าก็ต้องสรุปว่า การงานทุกอย่างอย่ามัวแต่ขี้เกียจ  ให้รู้จักตื่นนอนแต่เช้าให้เร่งรีบทำกิจการทั้งปวงให้สำเร็จ  อย่าคอยแต่จะพึ่งพาอาศัยคนอื่น  ดังสุภาษิตนี้ คือ
    อย่าสิได้ขี้คร้าน    มัวแต่นอนหลับ
    ความกินสิเพพังเสีย    เวทนามีมั้ว
    อย่าได้มัวเมาอ้าง    เอาเขามาเพิ่ง  หลานเอย
    ให้เจ้าคึดต่อตั้ง    ความฮู้แห่งเฮา ฯ
    (อย่าได้เกียจคร้าน  หลงแต่นอนหลับ  การทำมาหากินจะลำบาก  ความทุกข์จะประดังเข้ามา  อย่าได้หลงอ้างแต่ผู้อื่น  เอาเขามาพึ่งอาศัย หลายเอย  ให้เจ้าคิดพึ่งปัญญาของตนเองจะดีกว่า)  และสั่งสอนให้รู้จักพึงพาตนเอง  อย่าได้คอยแต่จะให้คนอื่นเขามาช่วยเหลือนั้นไม่ดี  ดังสุภาษิตนี้คือ
    อย่าสิหวังสุขย้อน    บุญคุณคนอื่น  หลานเอย
    สุขกะสุขเพิ่นพุ้น    บ่มากุ้มฮอดเฮา  ดอกนาฯ
    (อย่าได้หวังความสุขจากคนอื่น  หลายเอย  สุขก็สุขของเขาไม่มาถึงเราหรอก)  สอนให้ลูกหลานช่วยเหลือตนเองให้ได้ก่อน  ถึงว่าสภาพบ้านเมืองของอีสานจะแห้งแล้งก็อย่าได้แล้งน้ำใจ  ให้หมั่นทำบุญเอาไว้  และย่ายังสอนให้รู้จักฟังเทศน์ฟังธรรม เพื่อขัดเกลาจิตใจให้ดีอีกทางหนึ่งดังสุภาษิตนี้ว่า
    บัดนี้ย่าสิพาพวกเจ้า    ตกแต่งกองบุญ
    มื้อนี้เป็นวันศีล    เวียกเฮาเซาไว้
    ย่าสิพาไปไหว้    ยาครูสังฆราชเจ้า
    ไปตักบาตรแลหยาดน้ำ    ฟังเจ้าเทศนาฯ
    (บัดนี้ย่าจะพาพวกเจ้า  ตกแต่งกองบุญ  วันนี้เป็นพระงานทุกอย่างหยุดไว้ก่อน  ย่าจะพาไปไหว้อาจารย์พระครูและสังฆราชเจ้า  ไปตักบาตรและกรวดน้ำอุทิศ  และฟังเทศนาธรรม)  ย่ายังสอนให้รู้ลูกหลานรู้ว่าความดีหรือบุญนั้นมีหลายอย่าง  คือบุญเกิดจากการให้วัตถุเป็นทานก็มี  เรียกว่า  ทานมัย  บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน  และศีลมัย  บุญนั้นสำเร็จจากการรักษาศีล  ตลอดถึงบุญที่สำเร็จจากการเจริญภาวนา  เรียกว่าภาวนัยมัย  เพื่อทำทางให้ถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน ดังสุภาษิตนี้ว่า
        ไปฮักษาศีลสร้าง    ภาวนานำเพิ่น
        ให้พวกเจ้าพี่น้อง    จำไว้ย่าสิสอน
        เพิ่นว่าวันศีลนั้น    ให้ทำบุญตักบาตร
        คันผู้ใดอยากขึ้น    เมืองฟ้าให้หมั่นทานฯ
    (ไปรักษาศีลสร้าง  ภาวนาเหมือนคนอื่น  ให้พวกเจ้าพี่น้อง  จำไว้ย่าจะสอน  ท่านว่าวันศีลนั้นให้ทำบุญตักบาตร  ถ้าหากใครอยากขึ้นสวรรค์ให้หมั่นทำทาน)
        ให้หมั่นทำขัวข้วม    ยมนาให้ม้มฝั่ง
        หวังนิพพานไจ้ไจ้    ปานนั้นจิ่งเผื่อพอฯ
    (ให้ขยันทำทานเปรียบเหมือนทำสะพานข้ามฝั่ง  หวังจะถึงฝั่งพระนิพพาน)
        ให้เจ้าคึดต่อไว้    ฮีตฮ่อมทางเทียว
        ทางไปนีระพาน    ยืดยาวยังกว้าง
        อันว่าหนทางเข้า    นีระพานพ้นโศก
        มีแต่บุญอ้อยต้อย    หลานน้อยให้ค่อยทำฯ  หน้า 6
    (ให้เจ้าคิดต่อไว้ถึงทางเดินไปพระนิพพาน  มันยืดยาวนักอันว่าทางจะไปพระนิพพานนั้นมีแต่บุญเท่านั้น  ให้พวกหลานขยันทำบ่อยๆ)  และสั่งสอนลูกหลานให้รู้จักบุญคุณของพ่อแม่และย่าตลอดถึงคุณพระรัตนตรัย  ก่อนจะหลับนอนให้ลูกหลานเก็บดอกไม้มาแต่งเป็นขัน  ๕  เพื่อกราบไหว้ก่อนนอน  ดังสุภาษิตว่า
        คันธชาติเชื้อ        ดวงดอกบุปผา
        มาบูชา        พระยอดคุณจอมเจ้า
        บูชาเถ้า        อัยยิกาจอมย่า
        บูชาคุณพระพุทธเจ้า    พระธรรมพร้อมพร่ำสงฆ์ฯ
        ยามเนานอนนั้น    คะนิงคุณพ่อแม่
        คุณอี่นายย่าเถ้า    คุณเจ้าแต่ประถม
        คุณพระโคดมเจ้า    องค์พุทธโธดวงยอด
        เทียนธูปไต้        บูชาแล้วจิ่งนอน ฯ  /8
        อันนี้ก็เพื่อกุศลเจ้า    อัยยิกาเถ้าย่า
        หากได้สอนสั่งให้    ความฮู้แก่หลานฯ
    (เทียนธูปจุดตกแต่งตามเรามี  พร้อมทั้งยกมือไหว้อย่าได้ลืม  ก่อนจะหลับนอนนั้นให้คำนึงถึงคุณพ่อแม่  คุณย่าเฒ่าสามอย่างนี้มีมาก่อนสิ่งใด  และคุณพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสนดาเอกของโลก  จุดเทียนธูปบูชาแล้วจึงค่อนนอน  อันนี้เป็นทางแห่งความดีของลูกหลาน  ย่าสอนให้ความรู้แก่หลานๆ)  ย่าเป็นเสมือนหนึ่งผู้ส่องแสงสว่างให้ลูกหลานได้ปฏิบัติตาม  ทั้งสอนให้ขยันในการศึกษา  ให้รักษาศีล  และทำบุญ  และสอนให้รู้ว่าบุญนั้นส่งผลให้ในรูปแบบใดหรืออานิสงส์ของบุญมีลักษณะให้ผลอย่างไร ความกตัญญูต่อพ่อแม่มีอานิสงส์อย่างไร ดังสุภาษิตย่าสอนหลานดังนี้คือ

    ๓)  เป็นชายควรเลือกเนื้อคู่ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้เป็นภรรยา  กล่าวคือหญิงที่ทำอาหารอร่อย  มีความชื่อสัตย์ต่อสามี  หญิงที่มีลักษณะเป็นคนมีบุญวาสนา  เจรจาอ่อนหวาน  หญิงที่มีลักษณะว่ามีบุตรมากและเลี้ยงลูกดี  หญิงที่เก่งการเรือน  คำสอนเรื่องการเลือกคู่สมรสได้บอกลักษณะหญิงดีหรือชั่ว  ถ้าเลือกหญิงกาลกิณีจะเป็นผลร้ายแก่ตนเอง และสังคมญาติด้วยดังคำสอนดังนี้คือ
    อันหนึ่งครั้นจักเอาหญิงให้เป็นนางใภ้ร่วมเฮือน
    หญิงใดฮู้ฉลาดตั้งการสร้างก็จิ่งเอานั้นเนอ
    อันหนึ่งรู้ฮีตเฒ่าสอนสั่งตามคอง
    การเฮือนนางแต่งแปลงบ่มีคร้าน
    หญิงนี้ควรเทาแท้เป็นนางใภ้ร่วมเฮือนแล้ว
    ๔)  เป็นชายนั้นไม่ควรเป็นคนดื้อ  มือไวใจบาป  ชอบเล่นการพนัน  และคบชู้กับเมียเพื่อนให้เป็นคนรู้จักกลัวบาปกรรม  ไม่ควรประพฤติชั่วด้วยการวาจาและใจ  ไม่โกง  ไม่ลักลักขโมยของคนอื่นและ  เมื่อได้เป็นใหญ่เป็นโตแล้วไม่ควรดูหมิ่นพวกไพร่  เพราะถ้าเขาเหล่านั้นไม่สนับสนุนบ้านเมืองก็เจริญไม่ได้  ทุกคนควรพึงพาอาศัยกันและกัน  ให้มีความสามัคคีต่อกัน  ศรัทธาในหลักธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นแก่นสารในการดำรงชีวิต
สตรีในฐานะมารดา  เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในครอบครัว  นั่นคือ  การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนบุตรธิดา  รวมทั้งการให้ความรัก  ความอบอุ่นแก่บุตรธิดา  สุภาษิตได้ชี้ให้เห็นว่าหน้าที่ดังกล่าวไม่ใช่หน้าที่ของมารดาแต่เพียงฝ่ายเดียว  แต่เป็นหน้าที่ของบิดามารดาต้องช่วยกัน  ดังสุภาษิตกล่าวไว้ว่า
    พ่อแม่บ่สอนลูกเต้า    ผีเป้าจกกิตตับกันไต
    (พ่อแม่ไม่สั่งสอนลูก    ผีกระสือล้วงกินตับไต)
       แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากมารดาเป็นผู้อยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือนมากกว่า  ดังนั้นมารดาจึงมีบทบาทหน้าที่ให้การเลี้ยงดูบุตรเหมือนแม่ไก่  โดยธรรมชาติของแม่ไก่เมื่อหาอาหารมาได้มันจะเรียกลูกๆของมันมากินอาหาร  และเมื่อยามมีภัยหรือยามที่มีอากาศหนาวเย็นมันก็จะให้ความอบอุ่นและคุ้มครองลูกๆของมันเป็นอย่างดี  ดังที่สุภาษิตกล่าวไว้ว่า
    ขอให้เลี้ยงลูกธรรมเนียมดั่งแม่ไก่    ใหญ่เมื่อหน้ายังสิได้เพิ่งพิง
    (ขอให้เลี้ยงลูกเหมือนแม่ไก่  เมื่อลูกเติบโตขึ้นก็จะได้พึ่งพิง)
    เป็นญิงนี้ธรรมเนียมดอมไก่     โตหักฟักโตหักได้ดอมเลี้ยงใหญ่สูง
    (เป็นหญิงนี้ให้เหมือนแก่    ฟักไข่และเลี้ยงลูกจนเติบใหญ่)
       นอกจากนี้  มารดาต้องประพฤติตนให้อยู่ในกรอบของความดีงามทางจริธรรมแก่บุตรธิดาของตนเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่บุตร  ซึ่งความประพฤติของมารดามีอิทธพลต่อการมีคู่ครองของบุตรด้วย  การที่บุตรจะเป็นคนดีในสายตาของสังคมหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการอบรมสั่งสอนของมารดา  ถ้ามารดาสอนแต่สิ่งที่งามให้แก่บุตร  ย่อมเป็นเครื่องแสดงว่าเป็นคนดีด้วย  ดังสุภาษิตกล่าวไว้ว่า
    เบิ่งช้างให้เบิ่งหาง  เบิ่งนางให้เบิ่งแม่ เบิ่งแท้ๆให้เบิ่งฮอดปู่ย่าตายาย
    (ดูช้างให้ดูหาง  ดูนางให้ดูแม่  ดูแน่ๆให้ดูถึงปู่ย่าตายาย)
       กล่าวได้ว่า  มารดาโดยทั่วไปมีจริธรรมตามที่ควรจะเป็นต่อบุตรธิดาของตนเอง  ตลอดถึงผู้ที่เป็นบิดาก็มีหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนบุตรธิดาของตนเหมือนกัน  แต่หน้าที่หลักก็ย่อมตกอยู่ที่แม่ซึ่งเป็นฝ่ายที่รับภาระหนักมากกว่าพ่อ
    พงศ์พันธุ์เซื้อตายายพ่อแม่    ควรที่นบนอบไหว้ยอไว้ที่สูง65/ศูนย์
    ผลาบุญตามค้ำแนมนำยู้ส่ง    ปรารถนาอันใดคงสิลุลาภได้โดยด้ามดั่งประสงค์
    คันอยากได้คู่ซ้อนมีหมู่ปรึกษา    ให้ปรึกษาขุนหมู่พงศ์พันธุ์เซื้อ
    ให้ปรึกษาเฒ่าขุนกวนพ่อแม่    คันพ่อแม่บ่พร้อมเซาถ้อนอย่าเอา66/ศุน
    พ่อแม่พร้อมมิตรหมู่มวลสหาย    ครูอาจารย์ทั้งหลายผู้มีคุณล้น
    ควรที่เฮาพากันได้หาทางสนองตอบ    อย่าได้ทำถ่อยฮ้ายปองขี้ใส่คุณ 69/ศูน

    บิดามารดาซ้ำถือศีลบ่ได้ขาด        บ่ให้ผิดพลาดพลั้งพอดี้เม็ดงา
    คันบ่มีสิ่งนี้เข้าฮ่วมถนอมกัน        บ่มีวันลูกเฮาสิใหญ่โตปานนี้ 70/

ฺบ้านดอนเรดิโอออนไลน์




กำเนิดโยคะ [ Origins of YOGA ]


โยคะ เกิดขึ้นที่อินเดียเมื่อประมาณ 4 - 5 พันปีที่ผ่านมา เดิมจะเป็นการฝึกเฉพาะโยคีและชนชั้นวรรณะพราหมณ์
เพื่อเอาชนะความเจ็บป่วย ต่อมาโยคะได้พัฒนาผ่านลัทธิฮินดู มายุคพุทธศาสนา ถึงยุคลัทธิเซนในประเทศจีน
โดยแท้จริงแล้ว โยคะไม่ได้เป็นศาสตร์ของศาสนาใดศาสนาหนึ่ง แต่เป็นศาสตร์สากลที่ศาสนาต่าง ๆ สามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่ง
ในการปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุดแห่งศาสนานั้น ๆ โยคะจึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก โดยเฉพาะ หะฐะโยคะ( Hatha Yoga )
ซึ่งจัดว่าเป็น Modern Yoga ที่พัฒนามาจากการรวมแบบโยคะดั้งเดิม กับวิธีปฏิบัติของพระพุทธศาสนา



ความหมายของโยคะ [ Meaning Of YOGA ]

โยคะ หมายถึง การสร้างความสมดุลของร่างกาย-จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยรวมให้เป็นหนึ่งเดียว
หะฐะโยคะ (HATHA YOGA) เป็น 1 ในสาขาโยคะทั้งหมด หะฐะโยคะ จะใช้ศิลปการบริหารร่างกาย ภายใต้การควบคุมของจิตใจ
เกิดความสมดุลของพลังด้านบวกและด้านลบ โยคะจึงช่วยบรรเทาและบำบัดโรคได้
หะฐะโยคะ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนเห็นความสำคัญของ สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี



โยคะท่าพื้นฐาน

ท่านมัสการ




ความหมาย


• นมัสการ หมายถึง ทำความเคารพ



วิธีปฏิบัติ


• ยืนหันหน้าไปทางพระอาทิตย์ เท้าชิด พนมมือ

• หายใจเช้าและยกแขนขึ้น ค่อยๆ เอนตัวไปข้างหลัง ยื่นแขนเหนือศีรษะ

• หายใจออกช้าๆ เอนตัวไปข้างหน้า ให้มือที่พนมอยู่สัมผัสพื้นจนกระ ทั่งมืออยู่ในแนวเดียวกับเท้าศีรษะสัมผัสหัวเข่า

• หายใจเข้า ก้าวเท้าขวาถอยหลังมา 1 ก้าว ให้มือและเท้า ยังคงอยู่กับพื้น เท้าซ้ายอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• ขณะหายใจออก ยกเท้าซ้ายเข้ามาชิดเท้าขวา แขนตรงยกสะโพกขึ้นให้ศีรษะ และแขนอยู่ในแนวเดียวกัน ทำท่าเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าและค่อยๆ ลดสะโพกลงมาที่พื้น (ให้สะโพกอยู่เหนือพื้นเล็กน้อย) ก้มตัวลงไปข้างหลังให้มากที่สุด

• หายใจออก และลดตัวลงมาที่เท้า เข่า มือ และอก สัมผัสพื้น

• หายใจเข้า และค่อยๆยกศีรษะขึ้น เงยศีรษะไปข้างหลังให้ได้มากที่สุด และโค้งกระดูกสันหลังไปให้ได้มากที่สุด เหมือนท่านาคอาสนะ

• ขณะหายใจออกช้าๆ และให้แขนอาสนะ ยกสะโพกขึ้น และให้ศีรษะอยู่ในแนวเดียวกับแขน ทำเป็นรูปโค้งขึ้น

• หายใจเข้าช้าๆ และงอเข่าซ้าย ก้าวไปข้างหน้าหนึ่งก้าว มือยังคงอยู่ที่พื้น วางเท้าซ้ายลงบนพื้นระหว่างมือทั้งสองข้าง ยกศีรษะขึ้น

• หายใจออกช้าๆ ให้มืออยู่ที่เดิม ดึงเท้าทั้งสองเข้ามาชิดกัน ให้อยู่แนวเดียวกับมือถ้าเป็นไปได้ ให้ศีรษะสัมพันธ์กับหัวเข่า

• หายใจเข้าช้าๆ และยกแขนขึ้น ค่อยๆเอนตัวไปข้างหลัง โดยยื่นแขนขึ้นเหนือศีรษะ ย้อนกลับไปตำแหน่งยังข้อ 1



ท่าชวังคอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต ชว หมายถึง ทั้งหมด หรือ ทุกๆ อังคะ หมายถึง ร่างกาย ชวังคะ จึงหมายถึง ทำทั้งร่างกาย

ที่เรียกเช่นนี้เพราะเป็นท่าที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายทุกส่วน ท่านี้มักเรียกกันว่า ท่ายืนบนไหล่

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงายในท่า ศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำลงบนพื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้นขณะงอเข่าและดึงเข่าเข้ามาที่ท้อง หายใจออก

• หายใจเข้าช้าๆ กดฝ่ามือลง ยกลำตัวตั้งแต่ส่วนเอวขึ้นจากพื้น งอกระดูกสันหลังไปข้างหลัง และทำท่อนแขนให้ตรง ให้สะโพกอยู่บนพื้น

• หายใจเข้าแล้วในขณะหายใจออก ให้ยกขาตั้งฉากกับพื้น อาจใช้มือพยุงสะโพกไว้ หรือวางแขนไว้ลงกับพื้นตามถนัด

• ขาดชิด เข่าตรง นิ้วเท้าชี้ขึ้น ศีรษะตรงไม่หันไปด้านใดด้านหนึ่ง เก็บคางให้ชนหน้าอก

• หายใจเข้า ออก ช้าๆ ขณะคงท่านี้ไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 6 จนกลับสู่ท่าศพอาสนะ



ท่าตรีโกณอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ตรี ในภาษาสันสกฤตหมายถึง สาม โกณ หมายถึง เหลี่ยมหรือมุม

ดังนั้น ท่านี้จึงเรียกว่า ท่าสามมุม หรือท่าสามเหลี่ยม

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิดแขนแนบลำตัว

• แยกเท้าออกจากกัน ให้ระยะห่างมากกว่าหนึ่งช่วงไหล่เล็กน้อย

• หายใจเข้าและยื่นแขนทั้งสองข้างออกให้ขนานกับพื้น ฝ่ามือคว่ำลง

• หายใจออกช้าๆ หันลำตัวไปทางซ้าย งอตัวที่ช่วงเอว ให้มือขวาลงไปที่แข้งซ้าย ฝ่ามือขวา วางไว้ข้างนอกของหน้าแข้งซ้าย

แขนซ้ายควรยื่นออกไปด้านบนขาและแขนทั้งสองข้างตรง โดยไม่ต้องงอเข่าและข้อศอก


• หันศีรษะขึ้นไปทางซ้าย มองไปที่ปลายนิ้วมือซ้าย หายใจเข้า และกลับไปสู่ท่าเดิม คือท่ายืน ให้แขนกางออก

• คงท่านี้ไว้ เท่ากับช่วงหายใจออก หายใจออกและทำซ้ำ ขั้นตอนที่ 4-7 สลับซ้าย



ศีรษะอาสนะ



ความหมาย

• คำว่า ศีรษะ หมายถึง หัว ในภาษาสันสกฤต ท่านี้คือ ท่ายืนด้วยศีรษะ ซึ่งได้รับความนิยมมากในการฝึกอาสนะ ไม่แพ้ท่าปทมอาสนะ

ด้านบนคือภาพโมกุลในศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นภาพโยคีขณะทำท่าศีรษะอาสนะ

วิธีปฏิบัติ


• นั่งคุกเข่า ให้สะโพกอยู่บนส้นเท้า

• เอนตัวไปข้างหน้า วางแขนลงบนพื้น ให้ศอกห่างกัน 1 ช่วงไหล่ ประสานนิ้วมือเข้าไว้ด้วยกัน

• วางศีรษะลงบนพื้น ให้ท้ายทอยสัมผัสมือที่ประสานไว้

• ให้ปลายเท้าจิกพื้น ขณะยกส้นเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น

• คงท่านี้ไว้เป็นระยะเท่ากับการหายใจเข้า ถ้าไม่สามารถกลั้นหายใจได้ ให้ค่อยๆ หายใจออก และนอนราบกับพื้น กางขาออก กลับไปสู่ท่าศพอาสนะ



หลอาสนะ



ความหมาย

• หล แปลว่า คันไถ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย แบบท่าศพอาสนะ

• หายใจเข้า วางฝ่ามือคว่ำที่พื้น ให้สะโพกอยู่บนพื้น งอเข่าเข้ามาจรดท้องขณะหายใจออก

• หายใจเข้า ขณะหายใจออกให้ยกขาขึ้นตั้งฉากกับพื้น คุณอาจใช้มือพยุงสะโพก หรือวางแขนราบไปกับพื้นแล้วแต่ถนัด

• หายใจออก แล้วยกขาขึ้นเหนือศีรษะ งอขาตั้งแต่ช่วงเอวลงมา ยกหลังและสะโพก จนนิ้วเท้าสัมผัสพื้นด้านหลังของศีรษะ รักษาเท้าให้ชิดกัน

หากใช้มือพยุงหลังให้ลองวางแขนราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง ถ้าไม่สามารถวางแขนลงที่พื้นได้ให้ใช้มือพยุงหลังส่วนล่างไว้


• เข่าตรง หายใจช้าๆ และคงท่านี้ไว้สักครู่ ถ้านิ้วเท้าสัมผัสพื้นไม่ได้ ก็พยายามให้นิ้วเท้าอยู่ต่ำที่สุด

• ทำท่าย้อนกลับตั้งแต่ข้อ 5 ถึง 1 จนกลับไปสู่ท่าศพอาสนะเหมือนเดิม




ธนูอาสนะ




ความหมาย

• คำว่าธนู ในภาษสันสกฤต หมายถึง มีรูปร่างเหมือนคันศร โค้ง หรือ งอ คันศร

ในที่นี้หมายถึง คันศรที่ใช้กับลูกธนู ท่าอาสนะนี้ มีชื่อแบบนี้เนื่องจาก ร่างกายมีท่าทางคล้ายคันศรที่โก่งพร้อมยิงธนู

วิธีปฏิบัติ


• นอนคว่ำหน้าไปข้างใดข้างหนึ่ง แขนราบไปกับลำตัว หงายฝ่ามือขึ้น

• หันหน้ามาเพื่อวางคางไว้บนพื้น หายใจออก งอเข่า เอื้อมแขนไปข้างหลัง จับข้อเท้าขวาไว้ด้วยมือขวา จับข้อเท้าซ้ายด้วยมือซ้าย

• ขณะหายใจเข้า ค่อยๆ ยกขาขึ้นโดยดึงข้อเท้าขึ้น ยกเข่าขึ้นจากพื้น และยกอกขึ้นจากพื้นในเวลาเดียวกัน

กลั้นลมหายใจเข้าเอาไว้ ทิ้งน้ำหนักทั้งหมดลงบนหน้าท้อง


• ยื่นศีรษะให้ไกลที่สุด คงท่านี้ไว้ขณะกลั้นหายใจ

• หายใจออกช้าๆ วางเข่าลงบนพื้น ปล่อยข้อเท้า ค่อยๆ วางขาและแขนลงบนพื้น หันหน้าไปข้างหนึ่ง ทำเหมือนท่าเริ่มต้น



ท่าพิจิกอาสนะ



ความหมาย

• ท่าพิจิกหรือท่าแมงป่อง ในท่านี้ ร่างกายจะดูเหมือนแมลงป่อง ที่ยกหางโค้งขึ้นเหนือหัว พร้อมจะต่อยคู่ต่อสู้

แม้ท่านี้จะดูยากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่ก็ไม่ยากเกินไปนัก

วิธีปฏิบัติ


• คุกเข่าลงที่พื้น โน้มตัวไปข้างหน้า วางศอกและแขนด้านในราบไปกับพื้น ให้ฝ่ามือคว่ำลง แขนควรห่างกันประมาณ 1ช่วงไหล่

• ยื่นศีรษะไปข้างหน้าและยกให้สูงที่สุด

• ยกสะโพกขึ้น วางเท้าให้มั่นคง

• หายใจเข้าและแกว่งขาขึ้นไปเหนือศีรษะ รักษาสมดุลของร่างกายไว้ ยกขาตรงขึ้นเหนือศีรษะ

• ค่อยๆ งอเข่าและปล่อยขาลงมาทางด้านศีรษะ ระวังอย่าเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และอย่าทิ้งขาลงไปไกลเกินไปขณะรักษาสมดุลของร่างกายไว้

• ทำย้อนกลับจากข้อ 5 จนกลับไปสู่ท่าคุกเข่า

* ข้อควรระวัง ไม่ควรลองท่าแมงป่อง จนกว่าคุณจะสามารถทำท่าที่ต้องใช้สมดุลของร่างกายอื่นๆ และไม่เหมาะกับสตรีมีรอบเดือน



ท่าพฤกษอาสนะ




ความหมาย

• ในภาษาสันสกฤต พฤกษะหมายถึง ต้นไม้ ท่านี้จึงเรียกว่าท่าต้นไม้

"ยืนตรงบนขาซ้าย งอขาขวาและวางขาขวาไว้บนโคนขาซ้าย ยืนเหมือนต้นไม้ ยืนอยู่บนพื้นดิน นี่คือท่าพฤกษอาสนะ"

วิธีปฏิบัติ


• ยืนเท้าชิด แขนแนบลำตัว

• งอเข่าขวา ยกต้นขาขวา และยก ส้นเท้าขวาไปบนต้นขาซ้ายด้าน ในให้โกร่งที่สุดเท่าที่จะทำได้

• ทรงตัว บนเท้าซ้าย ยกแขนทั้งสอง ข้างขึ้นเหนือศีรษะ อย่าให้ข้อศอกงอ และให้ฝ่ามือประชิดกัน

คงท่านี้ไว้ขณะค่อยๆ หายใจ ประมาณ 10 ช่วงหายใจเข้าออก


• ลดแขนและขาขวาลง และกลับไปสู่ตำแหน่งในข้อ 1 คือการยืนหน้าชิด แขนแนบลำตัว หยุดพักสักครู่ และทำซ้ำด้วยขาข้างหนึ่ง



ศพอาสนะ



ความหมาย

• ความหมาย คำว่า ศพ ในภาษาสันสกฤต หมายถึง ร่างที่ตายไปแล้ว

"การนอนลงที่พื้นเหมือนศพ เรียกว่า ศพอาสนะ ช่วยกำจัดความเหนื่อยล้าและให้จิตใจได้พักผ่อน" จากหัตถโยคะปฏิบัติ

วิธีปฏิบัติ


• นอนหงาย อย่าให้ขาแตะกัน แขนราบไปกับลำตัว ฝ่ามือหงายขึ้น

• หลับตาลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อใบหน้า หายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ

• งอข้อศอก วางฝ่ามือบนพื้นใต้ไหล่ ให้นิ้วชี้ไปด้านหลัง

• มุ่งความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนของร่างกาย จากหัวถึงเท้า แล้วค่อยๆ ผ่อนคลายทีละส่วน

• คงท่านี้ไว้ 10-15 นาที หากรู้สึกง่วงนอนขณะทำท่านี้ ให้หายใจเร็วและลึกขึ้น

• ครั้งแรกที่ฝึก ให้คงท่าศพอาสนะไว้ 10 หรือ 15 นาที กลับมาทำซ้ำเป็นระยะๆ ในช่วงฝึกท่าต่างๆ เพื่อผ่อนคลายและกระตุ้นร่างกาย / จิตใจ

คำแนะนำ

บางคนคิดว่าท่านี้ง่ายมาก แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น จุดประสงค์ของศพอาสนะ คือ ให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย

นอกจากร่างกายจะต้องนิ่งและผ่อนคลายแล้ว จิตใจยังต้องนิ่งราวกับผิวน้ำที่ปราศจากการรบกวนอีกด้วย

ผลที่ได้คือการผ่อนคลายอย่างล้ำลึกและนิ่ง อันจะส่งผลให้เกิดสมาธิต่อไป

การฝึกศพอาสนะนั้นต้องใช้เวลา การกำหนดความสนใจไปที่อวัยวะแต่ละส่วนและ กำหนดลมหายใจล้วนแต่มีประโยชน์ต่อการฝึกท่านี้อย่างยิ่ง

อุปสรรค 2 อย่างที่อาจลดคุณค่าการฝึกศพอาสนะ ก็คือ ความง่วงและจิตใจที่ฟุ้งซ่าน หากรู้สึกง่วงขณะฝึก ให้กำหนดลมหายใจให้ลึกขึ้น

หากจิตใจไม่นิ่ง ให้มุ่งความสนใจไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย กำหนดจิตไปที่พื้นหรือที่จังหวะลมหายใจของคุณเอง

การฝึกศพอาสนะควรทำก่อนและหลังการฝึกอาสนะเป็นประจำ


ข้อมูลจาก
Practice 01





------------------------------------------------------------------------------

 
Design by Wordpress Templates | Bloggerized by Free Blogger Templates | Web Hosting Comparisons